กรณีศึกษาการประมูลคลื่นความถี่ ในประเทศสหรัฐอเมริกา โดย พันเอก ดร. เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ ประธานกรรมกา



สหรัฐอเมริกาในปี 1996 FCC จัดการประมูลคลื่นความถี่ สำหรับบริการ Personal Communications Services (PCS) โดยได้กำหนดคลื่นความถี่บางส่วนไว้สำหรับผู้ประกอบการรายเล็ก ในการประมูลครั้งนั้นทำให้ผู้ประกอบการบางรายเกิดปัญหาสภาพคล่องทางด้านการเงิน เช่น บริษัท Nextwave และ Urban Comm. เป็นต้น

Nextwave เป็นบริษัทซึ่งเป็นผู้ประกอบการรายเล็ก ที่ชนะการประมูลคลื่นความถี่ PCS จำนวนมากที่สุด โดยการประมูลในครั้งนั้น Nextwave ได้รับใบอนุญาต 63 ใบ มูลค่ารวมทั้งสิ้น 4.74 พันล้านเหรียญสหรัฐ โดย FCC มอบใบอนุญาตในช่วง C-Block ให้แก่ Nextwave เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 1997 ซึ่ง Nextwave ต้องชำระเงินขั้นต่ำร้อยละ 10 ของราคาประมูล คิดเป็นจำนวนเงินประมาณ 500 ล้านเหรียญสหรัฐ และส่วนที่เหลือสามารถแบ่งจ่ายเป็นเวลา 10 ปี แต่ Nextwave ประสบปัญหาทางด้านการเงิน ไม่สามารถชำระเงินที่เหลือได้ จนกระทั่งเกิดภาวะล้มละลาย ซึ่ง FCC พยายามเรียกใบอนุญาตคืน แต่ Nextwave ขอความคุ้มครองจากศาลล้มละลาย และหวังว่าศาลจะช่วยลดภาระหนี้ที่มีต่อ FCC ให้มีมูลค่าเทียบเท่ากับมูลค่าทรัพย์สินที่ได้รับ โดยอ้างว่า FCC ประพฤติมิชอบ เนื่องจากราคาใบอนุญาตในช่วง C-Block กับราคาใบอนุญาต D-Block และ F-Block (ที่เกิดจากการประมูลในภายหลัง) นั้นมีมูลค่าที่แตกต่างกันอย่างมาก โดยราคาคลื่นความถี่ในช่วง C-Block นั้นสูงกว่าราคาในช่วง D-Block และ F-Block กว่า 4 เท่า แต่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าการกระทำของ FCC นั้นไม่ได้เป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบแต่อย่างใด แต่ภาระหนี้ของ Nextwave เกิดขึ้นในเวลาใกล้เคียงกับการประมูลใบอนุญาตในช่วง C-Block นี้เอง ดังนั้นศาลอุทธรณ์จึงตัดสินให้ FCC ยกเลิกใบอนุญาตของ Nextwave ทั้งหมด 63 ใบ และให้ FCC นำใบอนุญาตมาประมูลใหม่

ส่วนการตัดสินคดีในชั้นศาลฎีกา พิจารณาว่าการที่ FCC เพิกถอนใบอนุญาตของ Nextwave นั้น ฝ่าฝืนมาตรา 525 ที่เพิกถอนใบอนุญาตของลูกหนี้ที่ล้มละลาย เพียงเพราะว่าผิดนัดชำระหนี้ ในที่สุด Nextwave สามารถชนะคดีในศาลฎีกา และมีสิทธิดำเนินกิจการตามใบอนุญาต PCS ได้ต่อไป หลังจากใช้เวลาต่อสู้ในศาลประมาณ 8 ปี โดยสามารถชำระหนี้เดิมได้ทั้งหมดและสามารถขายคลื่นความถี่บางส่วน ให้แก่ Verizon Wireless, Cingular (ปัจจุบันคือ AT&T) และ MetroPCS ในปี 2004 ซึ่งมีมูลค่ามากกว่าที่ประมูลมาได้ ต่อมา Nextwave ได้มาจัดตั้งเป็นบริษัทใหม่ คือ NextWave Wireless ด้วยทุนจดทะเบียน 550 ล้านเหรียญสหรัฐ แต่เนื่องจากปัญหาทางการเงิน Nextwave จึงต้องทะยอยปิดบริษัทย่อยต่างๆลง ต่อมาเมื่อวันที่ 2 สิงหาคม 2012 AT&T ตัดสินใจซื้อ Nextwave พร้อมภาระหนี้สินทั้งหมด ในมูลค่า 600 ล้านเหรียญสหรัฐ เพราะต้องการนำคลื่นความถี่ของ Nextwave มาใช้

ส่วน Urban Comm. ชนะการประมูลใบอนุญาต C-Block จำนวน 10 ใบ ซึ่ง Urban Comm. ได้ชำระเงินค่าใบอนุญาตเป็นจำนวนร้อยละ 10 และส่วนจำนวนเงินที่เหลืออีก 67.2 ล้านเหรียญสหรัฐ จะแบ่งชำระภายในเวลา 10 ปี แต่ก่อนที่จะถึงกำหนดชำระเงินงวดที่สอง บริษัท Urban Comm. เกิดการล้มละลาย FCC จึงเรียกใบอนุญาตคืน ต่อมาเมื่อศาลฎีกา ตัดสินคดีของ Nextwave สิ้นสุดลง ศาลจึงมีคำสั่งให้ FCC คืนใบอนุญาตให้แก่ Urban Comm. ด้วย ต่อมา Urban Comm. ได้ขายใบอนุญาตให้แก่ Verison Wireless และ Leap Wireless

หมายเหตุ

กฎหมายไทย ห้ามมิให้มีการขายต่อคลื่นความถี่ (Spectrum trading)

Reference

-    Owen D. Kurtin, “Nextwave Supreme Court victory ends five-year struggle over u.s. wireless spectrum auction rules,” March 2003.

-    Analysis group, “Spectrum Auctions Around the World: An Assessment of International Experiences with Auction Restrictions,” July 2013.

ที่มา thaitribune



Create Date : 12 เมษายน 2559
Last Update : 12 เมษายน 2559 13:04:03 น. 0 comments
Counter : 271 Pageviews.

p_chusaengsri
Location :
สมุทรปราการ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 52 คน [?]




Group Blog
 
<<
เมษายน 2559
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
 
12 เมษายน 2559
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add p_chusaengsri's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.