Happy day with me by เชฟตูน บ้านหวานเย็น Page : at TOON cafe'

Group Blog
 
<<
เมษายน 2552
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
2627282930 
 
6 เมษายน 2552
 
All Blogs
 

ประวัติวันสำคัญของไทย "วันจักรี"

วันจักรี : ปฐมกษัตริย์ ราชวงศ์จักกรี แห่งกรุงรัตนโกสินทร์


วันจักรี หมายถึง วันที่ระลึกมหาจักรีบรมราชวงศ์ เป็นวันที่พระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีศรีสินทรมหาจักรี บรมนาถ พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก มหาราช ได้เสด็จดำรงอาณาจักรสยามเป็นวันแรกนับตั้งแต ่ปี พ.ศ. ๒๔๖๒ เป็นต้นมา พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานโอกาสให้ ประชาชน ชาวไทยได้แสดงกตเวทิคุณ ต่อพระมหากษัตริ ยาธิราช ในพระบรมราชจักรีวงศ์ทุกรัชกาล โปรดเกล้า ฯ ให้มีการถวายบังคมพระมหากษัตริ ยาธิราชเจ้า ในวันที่ ๖ เมษายน เป็นประจำทุกปี

พระราชประวัติพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก พระนามเดิม ทองด้วง ประสูติเมื่อพ.ศ. ๒๒๗๕( รัชกาลพระเจ้าบรมโกษฐ ) ได้รับราชการในรัชกาลพระเจ้าอุทุมพร ต่อมาได้เป็นหลวงยกบัตรเมืองราชบุรี พร้อมกับนายสิน ได้เป็นหลวงยกบัตรเมืองตาก เมื่อคราวพระเจ้ากรุงธนบุร ีตั้งตัวอยู่ที่เมืองระยองนั้น หลวงยกบัตรได้แนะนำให้นายสุดจินดา ผู้น้องนำมารดาเจ้าตาก ซึ่งหนีพม่าไปอยู่แขวงเมืองเพชรบุรี ไปถวายพระเจ้าตากด้วย จึงมีความชอบได้รับบรรดาศักดิ์ เป็นพระมหามนตรี ต่อมานายสุดจินดา ได้ไปรับหลวงยกบัตรพี่ชายเข้ามารับราชการอีก ทรงได้รับแต่งตั้งให้เป็น พระราชวรินทร์ และได้เลื่อนเป็นพระยาอภัยรณฤทธิ์ พระยายมราช เจ้าพระยาจักรี และสมเด็จพระยากหากษัตริย์ศึกเป็นลำดับมา

จนกระทั่งเมื่อสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ทรงมีพระสัญญาวิปลาส มีขุนนางหลายฝ่ายแย่งชิงอำนาจ หวังความเป็น ใหญ่ พระองค์ก็เสด็จจากการศึกเขมร เข้ามาปราบปรามการจลาจลในกรุง และทำพิธีปราบดาภิเษกเป็น ปฐมกษัตริย์ ์แห่งราชวงศ์จักรี เมื่อวันที่ ๖ เมษายน พ.ศ. ๒๓๒๕ ทรงพระนามตามที่ พระสังฆราชาคณะ ฝ่ายคามวสี พร้อมกันถวายว่า "พระบาทสมเด็จพระบรมราชาธิราชรามาธิบดี ศรีสินทร บรมมหาจักรพรรดิ ราชาธิบดินทร์ ธรณินทรา ธิราช รัตนาภาศกร วงศ์องค์ ปรมาธิเบศร์ ตรีภูวเนศวรนาถนายก ดิลกนพรัตน์ราช ชาติอาชาวไศรย สมุทยุตโรมลสกลจักรวาฬาธเบนทร์ สุริเยนทราธิบดินทร์ หรินทราธาดาธิบดี ศรีสุวิบุลคุณอักนิฐ ฤทธิราเมศวร ธรรมิกราชาธิราช เดโชชัย พรหมเทพาดิเทพ ตรีภูวนาธิเบศ โลกเชฐวิสุทธิ์มกุฏ ประเทศคตา มหาพุทธางกูรบรมนาถบรมบริพิตร พระพุทธเจ้าอยู่หัว " โดยที่ทรงพระนามยืดยาว และมิได้กำหนดว่า จะให้เรียกพระนามสั้น ๆ ว่ากระไร ราษฎรจึงเรียกกันตามสะดวกปากว่า " แผ่นดินต้น " "แผ่นดินนี้ " รัชกาลที่ ๓ ทรงเกรงว่าแผ่นดินของพระองค์จะถูกเรียกว่า "แผ่นดินปลาย" จึงได้บัญญัติพระบรมนามาภิไธยใหม่ ดังจะได้ทรายต่อไปในรัชกาลที่ ๓

พระราชกรณียกิจสำคัญ เมื่อเสด็จขึ้นเสวยราชสมบัติแล้ว ก็ได้ปูนบำเหน็จรางวัลผู้ที่มีความชอบ ในการช่วยให้ พระองค์ได้ขึ้นเสวยราชย์ นั้นตามประเพณี ที่มีควรกล่าวก็คือ สถาปนาเจ้าพระยาสุรสีห์พิษณุวาธิราช พระอนุชาขึ้นเป็น กรมพระราชวังบวรสถานมงคล และพระยาสุริยอภัยราชนัดดา เป็นกรมพระราชวังหลัง ต่อจากนั้นจึงได้ดำเนินการสำคัญ ดังนี้คือ
๑. การสร้างกรุงรัตนโกสินทร์ เมื่อสมเด็จพระพุทธยอดฟ้า ฯ เสด็จขึ้นเสวยราชสมบัติแล้วก็โปรดให้ย้ายราชธานีจากกรุงธนบุรี มาตั้งยังฝั่งตะวันออก ของแม่น้ำเจ้าพระยา ซึ่งเป็นที่ตั้งจังหวัดพระนครบัดนี้ เหตุที่ย้ายราชธานี จากกรุงธนบุรีมาตั้งที่กรุงเทพ ฯ นั้น ด้วยเหตุผลต่อไปนี้คือ

ก. กรุงธนบุรีแต่เดิมนั้นมีอาณาเขตข้ามมาถึงฝั่งตะวันออก ติดฟากจังหวัดพระนครบัดนี้ด้วย มีแม่น้ำเจ้าพระยาผ่านกลาง มีลักษณะเป็นเมืองอกแตก แบบเมืองพิษณุโลก ซึ่งพระองค์ประทับสู่พม่ามาแล้ว ทรงเห็นว่าการที่มีแม่น้ำ อยู่กลางเมืองนั้นไม่สะดวกแก่การต่อสู้ข้าศึก ยิ่งแม่น้ำเจ้าพระยา เป็นแม่น้ำกว้างด้วยแล้วความไม่สะดวกนั้น ย่อมทวีขึ้น หลายเท่า เพราะทำสะพานข้ามไม่ได้ แม่น้ำลึก คลื่นมาก แม้จะมีเรือข้ามก็ข้ามไม่สะดวก เวลามีข้าศึกมาล้อม พระนคร จะส่งทหารถ่ายเทกันไปช่วยคนละฟากแม่น้ำเป็นการยาก

ข. ถ้าหากย้ายพระนครมาตั้งฝั่งตะวันออกฝั่งเดียว จะได้อาศัยแม่น้ำเจ้าพระยาเป็นคูพระนคร ๒ ด้านเพราะที่ตรงรี้เป็นแหลม ยื่นออกไป คงทำคูเมืองอีก ๒ ด้านเท่านั้น ย่อมเป็นการสะดวกแก่การป้องกันพระนครมาก

ค. ที่ตั้งพระราชวังเดิม ( คือที่เป็นโรงเรียนนายเรือเดี๋ยวนี้ ) เป็นท้องคุ้ง น้ำเซาะตลิ่งพังลงเรื่อย ไม่เหมาะแก่การจะสร้างพระราชวังให้เป็นการถาวรได้

ง. พระราชวังเดิมมีวัดขนาบสองข้าง คือวัดอรุณราชวรารามวัดหนึ่ง และวัดท้ายตลาดอีกวัดหนึ่งจะขยายพระราชวังออกไปในกาลภายหน้าย่อมทำไม่ได้ เพราะการรื้อวัดเพื่อขยายวังนั้นไม่เป็นเรื่องที่พุทธมามกะชนจะพึงกระทำการสร้างกรุงเทพ ฯ คราวนี้ แสดงว่าได้วินิจฉัยเด็ดขาดแล้วว่า จะไม่ย้ายราชธานีขึ้นไปยังพระนครศรีอยุธยาอีก จะเห็นได้ว่าโปรดเกล้า ฯ ให้รื้ออิฐจากกำแพงของเก่าที่พระนครศรีอยุธยา ลงมาเพิ่มเติม ในการก่อสร้างนี้เป็นอันมากการสร้างพระนครนี้ใช้เวลา ๗ ปี เมื่อเสร็จแล้วได้พระราชทานนามว่า กรุงเทพมหานคร อมรรัตนโกสินทร์ มหินทรายุธยา มหาดิลกภพ นพรัตน์ราชธานีบุรีรมย์ อุดมราชนิเวศน์มหาสถาน พอสมโภชน์เสร็จในต้นปี พ.ศ. ๒๓๒๘ พม่าก็ยกทัพใหญ่มาตีเมืองไทย ดังจะได้กล่าวต่อไป สิ่งสำคัญที่สร้างพร้อม กับพระนครนี้ก็คือ พระบรมมหาราชวังและ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ซึ่งสร้างขึ้นภายในพระบรมมหาราชวัง เป็นวัดที่ประดิษฐาน พระพุทธมณีรัตนปฏิมากร แก้วมรกต ซึ่งเป็นพระพุทธรูปคู่เมือง วัดนี้ไม่มีกุฏิสงฆ์ เป็นเพียงสถานที่ใช้ประกอบ พระราชพิธี ส่วน วังหน้า คือวังของกรมพระราชวัง บวร สถานมงคลนั้น สร้างขึ้นในที่ บัดนี้เป็นมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ ตลอดถึงวัดพระแก้ววังหน้า ด้วย บริเวณที่ตั้งพระบรม มหาราชวังนั้น เดิมเป็นที่อยู่ของพวกจีน พระยาราชาเศรษฐี ทรงโปรดให้ย้ายไปอยู่ในบริเวณที่เป็นสำเพ็งบัดนี้ (คำว่า สำเพ็ง นั้น มาจากคำว่า สามแปลง พวกจีนเรียกเพี้ยนไป เป็นสามเพ็งแล้วกลายเป็นสำเพ็ง )

๒. วางระเบียบการปกครอง การบริหารราชการแผ่นดินในรัชกาลนี้ คงดำเนินรอยตามที่จัดมาแต่ครั้ง พระนคร ศรีอยุธยาให้เป็นระเบียบรัดกุมขึ้น คือมี อัครมหาเสนาบดี ๒ คือ สมุหกลาโหม ว่าการฝ่ายทหารสมุหนายก ว่าการฝ่ายพล เรือน ราชการฝ่ายพลเรือนแบ่งเป็น ๔ กรม เรียกว่าจตุสดมภ์ คือ เวียง วัง คลัง และ นาและในการนี้ได้จัด แบ่ง หัวเมือง ขึ้นใหม่ คือหัวเมืองฝ่ายเหนือขึ้นแก่สมุหนายก หัวเมืองฝ่ายใต้ขึ้นแก่สมุหกลาโหมส่วนหัวเมืองชายทะเล ฝั่งตะวันออก กับหัวเมืองริมอ่าว ให้ขึ้นแก่กรมท่า ทั้งนี้เพราะในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย สมุหกลาโหมคนหนึ่ง ไปทำความผิด ขึ้นถูกริบหัวเมือง ขึ้นหมด เลยเป็นธรรมเนียบต่อกันเรื่อยมา

๓. ชำระกฎหมาย ในปี พ.ศ. ๒๓๔๗ ทรงพระราชดำริเห็นว่า ประเทศไทยมีกฎหมายเป็นหลักในการชำระอรรถคดี ีมาแต่โบราณกาล แต่ได้สูญหายไปเมื่อคราวเสียกรุงเป็นอันมาก ที่เหลืออยู่ก็ฟั่นเฟือนวิปริต เพราะมีผู้แก้ไขเปลี่ยนแปลง ตัวบทกฎหมายให้เป็นประโยชน์แก่ตนเอง จึงทรงพระกรุณาโปรดให้ตั้งข้าราชการ ขึ้นชำระบทกฎหมายต่าง ๆ ให้ถูกต้อง แล้วจัดไว้เป็นหมวดหมู่เพื่อสะดวก และเป็นธรรมแก่การวินิจฉัยอรรถคดีต่าง ๆ เมื่อชำระเสร็จแล้ว ก็ให้อาลักษณ์ชุบเส้น หมึก ๓ ฉบับ ไว้ห้องเครื่องฉบับหนึ่ง ไว้หอหลวงฉบับหนึ่ง ไว้ศาลหลวง สำหรับลูกขุนฉบับหนึ่ง ปิดตราพระราชสีห์ ตราพระ คช สีห์และตราบัวแก้ว ทุกเล่มเป็นสำคัญ กฎหมายฉบับนี้จึงเรียกว่า กฎหมายตรา ๓ ดวง ให้มาจนถึงต้นรัชกาลที่ ๕

๔. ฟื้นฟูพระราชประเพณี ทรงเห็นว่าโบราณราชประเพณีเป็นสิ่งพึงสงวนไว้ จึงโปรดให้ฟื้นฟูราชประเพณี ที่จำเป็น ขึ้นใหม่ เช่น พระราชพิธีพระบรมราชาภิเษก พิธีพืชมงคล พิธีถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยาเป็นต้น

การสงครามกับพม่าในรัชกาลนี้มีการสงครามกับพม่าหลายครั้งแต่การสงครามครั้งสำคัญที่สุด ซึ่งเป็นเครื่องตัดสิน โชคชะตาของประเทศไทย และทำให้ไทยดำรงอิสรภาพสืบมาได้กระทั้งปัจจุบันนี้มีเพียงครั้งเดียว จึงจะกล่าวไว้ ้อย่างละเอียดเฉพาะสงครามครั้งนี้เท่านั้น

สงครามครั้งแรก เริ่ม เมื่อสถาปนาพระนครได้ ๓ ปี ในพ.ศ. ๒๓๒๘ พอสมโภชพระนครเสร็จแล้วพม่ายกทัพใหญ่มาตีกรุงเทพ ฯ การที่ไทยได้มีโอกาสสร้างเมืองหลวงอยู่ถึง ๓ ปีนั้น เพราะทางพม่าจลาจลแย่งราชสมบัติกัน ในที่สุดสมบัติตกแก่ พระเจ้าปดุง ผู้เป็นอาของพระเจ้าจิงกูจา พระเจ้าปดุงสร้างราชธานีใหม่ ชื่อ อมรปุระปราบปรามบ้านเมืองใกล้เคียงราบคาบแล้วก็คิดจะยกมาตีกรุงศรีอยุธยาให้เป็นเกียรติยศเช่นกษัตริย์
องค์ก่อน ๆบ้างจึงระดมผู้คนจากเมืองหลวง เมืองขึ้นและเมืองประเทศราช รวมเป็น ๑๔๔,๐๐๐ คน จัดเป็น ๙ทัพเข้าตีกรุงเทพ๕ ทัพ ตีเมืองเหนือ ๒ ทัพ ตีเมืองปักษ์ใต้ ๒ ทัพ ให้เข้าตีพร้อมกันในเดือนอ้ายปีนั้นทัพที่จะตทางปักษ์ใต้นั้น ทัพที่ ๑ ตั้งฐานทัพที่มะริด ให้กองทัพบกตีตั้งชุมพรถึงสงขลา กองทัพเรือตีหัวเมืองชายฝั่งตะวันตก ตั้งแต่ตะกั่วป่าถึงเมืองถลาง ทัพที่ ๒ ตั้งฐานทัพที่ทวาย ตีตั้งแต่ราชบุรีถึงชุมพร เพื่อมาประจบทัพที่ ๑

ส่วนกองทัพที่จะมาตีเมืองเหนือนั้นให้กองทัพที่ ๑ ยกมาทางเชียงแสน ตีลำปาง สวรรคโลก สุโขทัยและประจบทัพหลวงที่กรุงเทพ ฯ ทัพที่ ๒ เข้ามาทางด่านแม่ละเมา เมืองตาก ตีเมืองตามลำน้ำพิง เช่น กำแพงเพชรเรื่อยเข้ามาประจบทัพหลวงที่กรุงเทพ ฯทัพหลวงที่จะมาตีกรุงเทพ ฯ นั้น พระเจ้าปดุงเป็นจอมทัพ ตั้งฐานทัพทเมาะตะมะ เข้าทางด้านเจดีย์ ๓ องค์มี ๕ กองทัพ รวมทั้งสิ้น เป็น ๙ กองทัพด้วยกันทางกรุงเทพ ฯ ได้ทราบข่าวทุกทางว่า กองทัพพม่าจะเข้าตีเมืองไทย จึงให้สำรวจพลปรากฏว่ามีกำลัง ๗ หมื่น คือราวครึ่งหนึ่ง ของพม่าเท่านั้น จึงโปรดให้ประชุมแม่ทัพ นายกองเห็นว่า ถ้าแบ่งกำลังต่อสู้น่ากลัวแพ้จึงคิดรวมกำลังสู้ในเฉพาะทัพ ที่สำคัญ คือทัพหลวง ซึ่งมีพระเจ้าปดุงเป็นจอมทัพจึงแบ่งกำลังออกเป็น ๔ กองทัพ ทัพที่ ๑ ให้กรมหลวงอนุรักษ์เทเวศร์ กรมราชวังหลังถือพล ๒๕,๐๐๐ ไปตั้งขัดตาทัพพม่าที่นครสวรรค์ ทัพที่ ๒ กรมพระราชวังบวรถือพล ๓๐,๐๐๐ เป็นจอมทัพไปตั้งรับที่กาญจนบุรี ทัพที่ ๓ ให้เจ้าพระยาธรรมากับพระยายมราช ถือพล๕,๐๐๐ ไปตั้งที่ราชบุรี รักษาทางลำเลียงของกองทัพที่ ๒ และเพื่อต่อสู้พม่าที่จะมาจากทวาย ปักษ์ใต้กองทัพที่ ๔ คือ กองทัพหลวง ตั้งที่กรุงเทพ ฯ มีกำลัง ๒๐,๐๐๐ เป็นกองหนุน ถ้าหากศึกหนักทางไหนจะไปช่วย ทางนั้นศึกพม่า ครั้งนี้ใหญ่กว่าทุกคราวในประวัติการณ์ แต่มีข้อบกพร่อง ๒ ประการ คือ

๑. พม่าแยกกำลังพลยกมาหลายทางด้วยกัน ทำให้ไทยสู้ได้ง่าย
๒. พม่ายกกองทัพมามาก หมายจะโจมตีไทยให้แตกในคราวเดียว แต่ไม่ได้คิดถึงการลำบากเรื่องการส่งเสบียง ทำให้กองทัพขาดแคลน ผู้คนระส่ำระสาย

๑. การรบที่ลาดหญ้า พ.ศ. ๒๓๒๘ การรบครั้งนี้อยู่ที่ตำบลลาดหญ้าเชิงเขาบรรทัด จังหวัดกาญจนบุรีที่ไทยไปรบพม่าที่ทุ่งนั้น ก็ประสงค์จะให้พม่าอยู่บนภูเขาอันเป็นที่กันดารเปรียบเหมือนอยู่ในตรอกไทยสกัดคอยที่ปากตรอก แม้กำลังน้อยก็สู้ได้ ผลของการรบก็คือทัพพม่าที่มาประชิดไทยนั้น ต้องรับเสบียงอาหารจากกองทัพหลวงที่เมาะตะมะ ซึ่งต้องเดินทางผ่านมาทางช่องแคบซึ่งเป็นทางลำบาก และยังถูกกองโจรของไทยดักแย่ง กลางทางด้วยนอกจากนั้นไทยใช้วิธีลวงให้เห็นว่ามีพลมาก คือตอนกลางคืนให้กองทัพออกจากค่าย มาตั้ง
ให้ห่างพอสมควร ถึงเวลาเช้าถือธงทิวเดินกลับเข้าค่าย ทำเช่นนี้ทุกวันเพื่อให้พม่าเห็นว่าทัพไทยมาไม่ขาดสาย ทำให้พม่าครั่นคร้ามมาก

อีกอย่างหนึ่งไทยใช้ลูกปืนทำด้วยไม้อย่างครั้งเจ้าตากยิงข้าศึก ให้พม่าเห็นว่า ป่าไม้ไม่หมดตราบใดไทย
ไม่หมดลูกปืนตราบนั้น ครั้นวันที่ ๑๗ กุมภาพันธ์ ๒๓๒๘ กรมพระราชวังบวร ฯ เห็นว่า ทหารพม่าอดอยากอิดโรย ลงและเกิดความครั่นคร้ามแล้ว ก็ให้กองทัพไทยระดมตีค่ายพม่าพร้อมกัน ก็เข้าค่ายพม่าได้ทุกค่าย พระเจ้าปดุง เห็นจะทำการไม่สำเร็จ ก็ให้เรียกทัพหลวงกลับ

ส่วนทัพพม่าที่ ๒ ที่เข้าทางราชบุรีและเพชรบุรีนั้น มาตั้งค่ายอยู่ที่นอกเขางูและลำพาชี เมื่อปะทะกับทัพกรมพระราชวังบวร ฯ ตอนกลับพระนครหลังจากมีชัยชนะแล้วก็แตกหนีไปทัพพม่าที่เข้ามาเชียงแสนตีได้เชียงใหม่ ลำปาง สวรรคโลก สุโขทัย แล้วมาตั้งอยู่ที่ปากพิง พม่าที่เข้ามาทางแม่ละเมา ตีได้เมืองตาก และตั้งทัพที่บ้านระแหง ขณะนั้นทัพไทยตีทัพพม่าที่ลาดหญ้าแตกไปแล้วสมเด็จพระพุทธยอดฟ้า จึงยกทัพหลวง จากพระนครเคลื่อนไปตั้งที่เมืองอินทร ให้กรมพระราชวังหลังไปตีพม่าที่ปากพิง แตกแล้วไล่ต้อนไปจนถึงลำปาง ตั้งล้อมพม่าอยู่ได้หน่อยหนึ่ง พม่าเลยยกกองทัพกลับเชียงใหม่ ฝ่ายพม่าทัพที่ ๙ ที่เข้ามาทางด้านแม่ละเมา เมื่อทราบว่าที่ปากพิงแตก และพระเจ้าปดุงเลิกทัพแล้วก็ถอยกลับไป

ส่วนพม่าที่มาทางแหลมมลายูนั้น ได้แยกออกไป ๒ กอง คือ กองทัพบกและกองทัพเรือ ยกไปตีเมือง ถลางส่วนกองทัพบก ยกออกมาจากมะริด ตีเรื่อยลงไปแต่กระบุรี ระนอง ชุมพร ไชยา จนถึงนครศรีธรรมราชไปหลอกเจ้าพระยานครพัดว่า กรุงเทพ ฯ แตกแล้ว เจ้าพระยานครพัดสำคัญว่าจริง เพราะตั้งแต่บอกข่าวศึก ไปยังกรุงนานแล้วยังไม่ได้ตอบรับประการใด จึงพาครอบครัวหนีไปซุ่มอยู่เชิงเขาพม่าเข้าเมืองได้ และตั้งใจจะไปตีถึงพัทลุง สงขลาแต่มีพระภิกษุรูปหนึ่งชื่อพระมหาช่วยได้รวบรวมผู้คน ต่อสู้ป้องกัน พอดีกับกองทัพกรมพระราชวังบวร ฯ ยกลงไปถึงไชยา พม่าต้องย้อนกลับมาสู้อีกแต่เสียทีไทยจึงยกกลับมาทางเมืองกระบี่ แล้วออกนอกเขตแดนไปเมื่อได้ชัยชนะพม่าแล้ว กรมพระราชวังบวร ฯ เลยยกไปตีปัตตานี ได้ปืนใหญ่ชื่อพระยาตานีเข้ามาฝ่ายพระยาไทรบุรี พระยาตรังกานู และกลันตัน ทราบข่าวว่าไทยได้ปัตตานี ก็รีบนำต้นไม้เงินทอง เข้ามาสวามิภักดิ์ ขอเป็นเมืองขึ้นเกาะปีนังหรือเกาะหมากเวลานั้น ขึ้นอยู่กับพระยาไทรบุรี ๆ เกรงว่าไทยจะแผ่อำนาจไปทางปีนังด้วยก็ยกปีนังให้บริษัทอีสต์อินเดียกัมปะนีเช่า เสีย เป็นค่าเช่าปีละ ๔๐๐ เหรียญ แต่นั้นมาไปปรากฏว่าปีนังได้กลับมาขึ้นกับพระยาไทรบุรีอีกเลย

ส่วนทัพเรือพม่าที่ออกจากมะริด ได้ยกไปตีตะกั่วป่า ตะกั่วทุ่งแล้วข้ามไปตีถลาง ( คือเกาะภูเก็ตเดี๋ยวนี้ ) เวลานั้นประจวบกับเจ้าเมืองถลาง ถึงแก่ความตาย คุณหญิงถลาง ( จันทร์ ) กับนางมุกน้องสาว เป็นหัวหน้าช่วยป้องกันบ้านเมือง พม่าล้อมอยู่เดือนเศษ ขัดสนเสบียงอาหารต้องเลิกทัพกลับเมืองถลางก็ไม่เสียแก่พม่าเมือความนี้ทราบมาถึงกรุง ก็ได้โปรดตั้งให้คุณหญิงจันทร์เป็น ท้าวเทพกษัตรี และนางมุกเป็น
ท้าวศรีสุนทร

๒. สงครามท่าดินแดงและสามสบ พ.ศ. ๒๓๒๙ เมื่อพระเจ้าปดุงแตกทัพกลับไปครั้งสงครามลาดหญ้าแล้วก็รู้สึกละอายพระทัยมาก เพราะตั้งแต่ทำสงครามมาไม่เคยแพ้ใคร จึงในปีรุ่งขึ้นก็เตรียมมาตีเมืองไทยอย่างใหญ่หลวงอีกคราวนี้เข้าตีทางด่านพระเจดีย์ ๓ องค์ แห่งเดียว และรวบรวมกำลังทั้งเก่าและใหม่ตั้งที่เมืองเมาะตะมะ ให้พระมหาอุปราชาเป็นกองทัพหน้าถือพล ๕๐,๐๐๐ ยกล่วงหน้ามาตั้งที่ดินแดงและที่สามสบ
แขวงกาญจนบุรี ตั้งค่ายรายรอบถึงกันหมด ขุดสนามเพลาะปักขวากป้องกันแน่นหนา แล้วสร้างยุ้งฉาง เก็บเสบียงที่เป็นห้วยธาร ก็ทำสะพานข้ามและตั้งโรงทำการต่อเรือรบเตรียมไว้

ฝ่ายไทยเมื่อได้ข่าวศึกจึงยกกองทัพออกเป็น ๒ ทัพ ให้กองทัพกรมพระราชวังบวร ฯ ยกล่วงหน้าขึ้นไปตั้งที่ไทรโยค แล้วกองทัพหลวงก็ยกตามไป เมื่อไปพร้อมกันแล้ว ก็กำหนดกำลังกันให้ทัพหลวงไปตีพม่าที่ท่าดินแดง ทัพกรมพระราชวังบวรไปตีพม่าที่สามสบ ครั้นได้กำหนดก็ระดมตีพร้อม ๆ กัน รบอยู่ ๓ วัน พม่าแตกกระจัดกระจายไปพระมหาอุปราชาหนีรอดไปได้อย่างหวุดหวิด ไทยได้ช้างม้าและอาวุธยุทธภัณฑ์เป็นอันมาก

นอกจากสงครามทั้ง ๒ คราวดังกล่าวมาแล้ว ยังมีการรบขั้นรอง ๆ ลงมาอีกถึง ๕ ครั้งซึ่งจะกล่าว
แต่เพียงสั้น ๆ คือ
๑. ใน พ.ศ. ๒๓๓๐ พระเจ้าปดุงยกทัพเข้ามาตีเชียงตุง เชียงรุ้ง ซึ่งเป็นเมืองขึ้นของพม่าแล้วยกเลยเข้ามาในเขตลานนา เข้าล้อมเมืองลำปาง และป่าซางไว้ กรมพระราชวังบวรฯ เสด็จเป็นแม่ทัพยกไปตีพม่าแตกพ่าย ไปขากลับได้อัญเชิญ พระพุทธสิหิงค์ จากเชียงใหม่ลงมาประทับ ณ กรุงเทพ ฯ ด้วย

๒. ใน พ.ศ. เดียวกันนั้น สมเด็จพระพุทธยอดฟ้าเสด็จเป็นจอมทัพยกไปตีเมืองทวาย แต่ทัพไทยไม่ชำนาญในหนทาง ประกอบกับขาดเสบียงอาหาร ต้องยกทัพกลับแต่พม่าก็ครั่นคร้ามไม่กล้าติดตาม

๓. ใน พ.ศ.๒๓๓๘ สมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก มีพระประสงค์จะไปตีเมืองทวายให้ได้แต่ก็พบกับอุปสรรคเช่นเดียว กับคราก่อน จึงต้องเลิกทัพกลับกรุง

๔. ใน พ.ศ. ๒๓๔๐ พระเจ้าปดุงยกกองทัพมาตีเชียงใหม่ เพื่อต้องการเขตลานนาคืนกรมพระราชวังบวรเสด็จยกกองทัพขึ้นไปปราบ พม่าถอยกลับไป

๕. ในปี พ.ศ. ๒๓๔๕ พม่ายกกองทัพใหญ่มาถึง ๗ ทัพ หวังจะตีลานนาคืนอีก กรมพระราชวังบวรสถานมงคลทรงเป็นแม่ทัพใหญ่ ขึ้นไปต่อสู้กับพม่าเช่นเคย แต่คราวนนี้ กรมพระราชวังบวร ฯ ไปประชวรพระโรคนิ่วเสียที่เมืองเถิน ให้แม่ทัพนายกองยกขึ้นไป และทางกรุงได้สั่งกรมพระราชวังหลังขึ้นไปด้วย ทหารไทยได้แสดงความสามารถยอดเยี่ยม ขับไล่พม่าออกไปจากลานนาหมดสิ้น ลานนามีหัวเมือง ๕๗ หัวเมือง ก็ตกเป็นของไทยโดยสมบูรณ์พระยากาวิละ เจ้าเมืองเชียงใหม่ได้รับตำแหน่งเป็น พระบรมราชาธิบดีศรีสุริยวงศ์ ฯ หรือเรียกอย่างสั้นว่า เจ้าขันธสีมา ครองเมืองเชียงใหม่กรมพระราชวังบวรเมื่อเสด็จกลับถึงกรุงเทพ ฯ ก็สิ้นพระชนม์ เมื่อ พ.ศ.๒๓๔๖ การติดต่อกับประเทศญวน

ตอนปลายรัชสมัยพระเจ้ากรุงธนบุรีต่อรัชสมัยสมเด็จพระพุทธยอดฟ้า ทางญวนเกิดกบฏขึ้นเรียกว่ากบฏไกเซิน ขับไล่เจ้านายราชวงศ์เดิมของญวน ออกไปหมด มีเจ้านายญวนหนีมาพึ่งไทย ๒ องค์ คือองคเชียงซุน เป็นอา แต่ถูกพระเจ้ากรุงธนบุรีสงสัยว่าขโมยเพชร ซึ่งเป็นพระราชทรัพย์จึงผ่าท้อง พิสูจน์และถึงแก่ความตายส่วนองเชียงสือ ผู้หลานตามเข้ามาภายหลัง ก็ได้รับความช่วยเหลือจาก สมเด็จพระพุทธยอดฟ้า เป็นอย่างดี ีแต่บังเอิญไทยติดสงครามด้านพม่าอยู่ จึงช่วยเหลือไม่ได้เต็มที่ พอดีสมัครพรรคพวกขององเชียงสือได้รับความช่วยเหลือจากบาทหลวงฝรั่งเศส ซึ่งไปนำทหารอาสาสมัครชาวยุโรปมาช่วย ๔ ลำเรือ องเชียงสือ จึงหนีออกไปแต่ก็มีหนังสือมาขอพระราชทานโทษ และขอความช่วยเหลือ สมเด็จพระพุทธยอดฟ้าก็พระราชทานเสบียงอาหารเรือรบและอาวุธยุทธภัณฑ์ไปช่วยปราบ กบฏจนสำเร็จ องเชียงสือ ตั้งตัวขึ้นเป็นเจ้าทรงนามว่า พระเจ้าเยียลอง ส่งดอกไม้เงินทองเข้ามาถวายสมเด็จพระพุทธยอดฟ้า เป็นการตอบแทนพระมหากรุณาธิคุณการติดต่อกับประเทศเขมร

ในปลายรัชกาลสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีนั้น ทางเขมรเกิดแตกเป็นสองพวก พวกหนึ่งหันไปฝักใฝ่กับญวนสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีจึงให้ยกทัพไปปราบ แล้วรับสั่งว่าเมื่อปราบเขมรได้แล้ว ให้ปราบดาภิเษกกรมขุนอินทรพิทักษ์พระโอรสของพระองค์ให้เป็นกษัตริย์ครองเขมรต่อไป แต่สมเด็จเจ้าพระยา มหากษัตริย์ยังทำงานไม่สำเร็จ ก็ พอดีทางกรุงศรีอยุธยาเกิดจลาจลจึงต้องยกทัพกลับ ถึงรัชกาลสมเด็จ พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ในปี พ.ศ. ๒๓๓๗ ได้ทรงตั้งนักองเองโอรสของกษัตริย์เขมรที่หนีเข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภาร ให้ออกไปเป็นกษัตริย์เขมร ทรงพระนามว่า สมเด็จพระนารายณ์รามาธิบดี ีศรีสุริโยพรรณ ครองราชสมบัติอยู่ได้ ๓ ปี ก็สิ้นพระชนม์ สมเด็จพระพุทธยอดฟ้า ฯ ทรงแต่งตั้ง นักองจันทร์ โอรสองค์ใหญ่ ของสมเด็จพระนารายณ์ ฯ เป็นกษัตริย์ต่อไป ทรงพระนามว่า สมเด็จพระอุทัยราชาสมเด็จพระอุทัยราชาองค์นี้ ทรงเติบโตขึ้นในเขมร จึงได้รับคำยุยงจากเขมร ฝ่ายที่ไม่นิยมไทยให้เอนเอียงไปทำให้สัมพันธ์ไมตรีไทย - เขมรเสื่อมถอยลง และเกิดความยุ่งยากขึ้นในรัชกาลต่อไป

ทางด้านมลายู ในรัชกาลนี้ปรากฏว่าอังกฤษมาได้เกาะหมากหรือเกาะปีนังไปจากพระยาไทรบุรี โดยไทยมิได้รู้เห็นด้วยเลย มิหนำซ้ำยังบังคับเช่าผืนดินตรงข้ามเกาะหมากไปอีก แต่เหตุการณ์ก็เรียบร้อย สืบมาจนสิ้นแผ่นดินสมเด็จพระพุทธยอดฟ้า ฯ

การทำนุบำรุงบ้านเมือง
๑. การวรรณคดี ทั้ง ๆ ที่มีการสงครามครั้งใหญ่ ๆ เกือบตลอดรัชกาล สมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกก็ทรงโปรดให้การอุปถัมภ ์ในด้านวรรณคดีเป็นอย่างมาก ได้โปรดให้แต่งบทละครที่ถูกเผาและสูญหาย เมื่อกรุงแตกขึ้นใหม่๔ เรื่อง คือ รามเกียรติ์ ดาหลังหรืออิเหนาใหญ่ อุณรุต และอิเหนา รัชสมัยนี้วรรณคดี เริ่มขึ้นยุคใหม่คือหันมานิยมทางร้อยแก้วมากขึ้น มีการแปลพงศาวดารจีนเป็นภาษาไทยหลายเล่ม วรรณกรรมร้อยแก้วชิ้นเอก คือ สามก๊ก และราชาธิราช ของเจ้าพระยาพระคลัง ( หน ) ยังจัดเป็นยอดความ เรียงมาถึงสมัยปัจจุบัน

กวีมีชื่อในรัชกาลนี้ นอกจากเจ้าพระยาพระคลัง ( หน ) แล้ว ก็มีพระธรรมปรีชา ( แก้ว ) แต่งไตรภูมิโลกวินิจฉัย พระเทพโมลี ( กลิ่น ) แต่งร่ายยาวมหาชาติกัณฑ์มหาพน๒. การพระศาสนา สมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก โปรดให้มีการสังคายนาพระไตรปิฎกเป็นครั้งที่ ๑๐ ในพระพุทธศาสนา โดยพระองค์เองทรงเป็นองค์ศาสนูปถัมภก แล้วให้จารึกลงในใบลานเป็นอักษรขอม และทรงโปรดให้คัดไปไว้ตามพระอารามต่าง ๆ เพื่อเป็นที่ศึกษาค้นคว้า

โปรดให้สร้างพระเจดีย์ศรีสรรเพชญขึ้นในวัดพระเชตุพนบรรจุซากพระพุทธรูปศรีสรรเพชรญดาญานที่พม่าเผาลอกเอาทองหุ้มไป ได้มีการบูรณะปฏิสังขรณ์พระอารามหลวงขึ้นหลายอาราม เช่น วัดพระเชตุพน วัดสุทัศน์ วัดอรุณ วัดสระเกษ วัดระฆังและอัญเชิญพระพุทธรูป หล่อตามวัดร้างในต่างจังหวัดลงมาประดิษฐานตามวัดที่ได้สร้างขึ้น เช่น พระศรีสากยมุนี ไว้วัดสุทัศน์ พระโลกนาถไว้วัดพระเชตุพน พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้า จุฬาโลก ครองราชสมบัติอยู่ได้ ๒๘ ปี เสด็จสวรรคต ณ วันพฤหัสบดี เดือน ๙ แรม ๑๓ ค่ำ ปีมะเส็ง พุทธศักราช ๒๓๕๒ พระชนมายุได้ ๗๔ พรรษา


ขอบคุณข้อมูลดีๆ จาก //www.geocities.com







ขอให้ทุกๆ วัน มีแต่ความสุขน๊า ...




 

Create Date : 06 เมษายน 2552
5 comments
Last Update : 6 เมษายน 2552 9:34:19 น.
Counter : 667 Pageviews.

 

แวะมาอ่านข้อมูลดีๆค่ะ ได้ความรู้กลับไปเพียบเลย ขอบคุณค่า

 

โดย: sailamon 6 เมษายน 2552 11:31:54 น.  

 

แวะมาอ่านข้อมูลวันจักรีด้วยคนค่ะ

 

โดย: KaPookLook (pook_sb ) 6 เมษายน 2552 12:28:32 น.  

 

ชอบจังเลย ประวัติศาสตร์อย่างนี้อ่านแล้วสนุกจัง

 

โดย: จอมยุทธเฮง 6 เมษายน 2552 19:28:50 น.  

 

หวัดดียามเช้า วันจันทร์ค่ะ ไม่ได้แวะเขามาช่วงวุนหยุด คิดถึงมากมายค่ะ
สบายดีใหมคะ

 

โดย: praewa cute 6 เมษายน 2552 20:10:16 น.  

 

มะวานนี้เป็นวันจักรีหรือนี้ เหอๆ เรามาอยู่ที่ S'pore ก็แบบว่าลืมวันลืมคืนไปเลยอะค่ะขอบคุณที่หาอะไรดีๆมาแบ่งปันกันเสมอเลยนะคะ

ปล. อย่าลิมแวะไปกินแหนมเนืองที่บ้านพิ้งค์อีกน๊าจ๊า

 

โดย: PrettyPinky 7 เมษายน 2552 1:12:00 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


เชฟตูน บ้านหวานเย็น
Location :
ปทุมธานี Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 41 คน [?]




สวัสดีค่ะเพื่อนๆ ทุกท่าน .. ดีใจที่แวะมาทักทายกันนะคะ

สูตรที่มีและลงไว้ในบล็อกเชฟตูน บ้านหวานเย็นนี้ ส่วนใหญ่จะเป็นสูตรที่คิดว่าอร่อยและคัดมาแล้วประมาณนึงค่ะ
และบางสูตรนี้ใช้ทำขายจริงด้วยนะคะ

สูตรทั้งหมดที่มีในบล็อกนี้ เชฟตูน บ้านหวานเย็นไม่หวงเลยค่ะ และยินดีที่เพื่อนๆ จะหยิบไปทดลองทำกัน แต่เชฟตูน บ้านหวานเย็นขอเสียงเม้นต์หรือรูปขนมที่เพื่อนๆ ทำไว้มาเติมกำลังใจให้กันหน่อยได้รึเปล่าคะ จะได้เอาไว้เป็นแรงใจในการสรรหาสูตรของกินอร่อยๆ มาฝากกันเรื่อยๆ .. อย่างน้อยจะได้รับรู้ด้วยว่าเพื่อนๆ เอาไปทำแล้วอร่อยกันบ้างมั๊ย? ที่สำคัญ เราจะได้มีเพื่อนใหม่ และจะได้รู้จักเพื่อนที่รักในการทำของกินอร่อยๆ กันมากขึ้นอีกนิดด้วยนะคะ

ยินดีที่รู้จักเพื่อนใหม่ และยินดีต้อนรับเพื่อนๆ สู่บล็อก "เชฟตูน บ้านหวานเย็น" ทุกคนๆ ค่ะ



Friends' blogs
[Add เชฟตูน บ้านหวานเย็น's blog to your web]
Links
 

MY VIP Friends


 
 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.