สู้มะเร็งเม็ดเลือดขาวด้วยโภชนาการ
โดย : นิตยสารชีวจิต
ประมาณ 55-60 เปอร์เซ็นต์ของเลือดเป็นส่วนที่เรียกว่า พลาสมา หรือน้ำเลือด ที่เหลือเป็นส่วนของเม็ดเลือด ในส่วนที่เป็นเม็ดเลือดยังแบ่งออกเป็นชนิดใหญ่ๆได้ 3 ชนิด คือ เม็ดเลือดแดง มีหน้าที่นำออกซิเจนไปเลี้ยงส่วนต่างๆของร่างกาย...

เม็ดเลือดขาว ทำหน้าที่คล้ายตำรวจคอยต่อสู้กับเชื้อโรค และเกล็ดเลือด มีหน้าที่ห้ามเลือดเวลาที่ร่างกายมีเลือดออก ซึ่งในภาวะปรกติเม็ดเลือดทั้งสามชนิดสร้างจากเซลล์ในไขกระดูก ซึ่งเป็นเนื้อเยื่อที่อยู่ในแกนกลางของกระดูก
โดยเม็ดเลือดแต่ละชนิดจะมีอายุขัยในร่างกายคนแตกต่างกันไป เมื่อเจริญเติบโตเต็มที่แล้วก็จะถูกปล่อยออกมาจากไขกระดูก เข้าเส้นเลือดออกไปทำหน้าที่ต่างๆกัน ตามชนิดของเม็ดเลือดนั้นๆ เมื่อเม็ดเลือดหมดอายุก็จะถูกทำลายไป แล้วจะมีเม็ดเลือดที่เกิดขึ้นใหม่มาทำหน้าที่ทดแทนเป็นเช่นนี้ไปเรื่อยๆ ตามปรกติแล้วการสร้างและการทำลายเม็ดเลือดนี้จะอยู่ภายใต้กลไกการควบคุมของร่างกายเพื่อให้เกิดความสมดุลกัน เมื่อใดก็ตามที่กลไกการควบคุมดังกล่าวเสียไป ทำให้การสร้างและการทำลายไม่สมดุลก็จะเกิดโรคตามมา
ดังนั้นเมื่อเกิดภาวะมะเร็งเม็ดเลือดขาวขึ้นจะรบกวนการแบ่งตัวของเซลล์เม็ดเลือดปรกติ ทำให้เม็ดเลือดแดง เม็ดเลือดขาว และเกล็ดเลือดถูกสร้างได้น้อยลง
สาเหตุ
สาเหตุของการเกิดมะเร็งชนิดนี้ยังไม่ทราบแน่ชัด แต่พบว่าปัจจัยทางพันธุกรรม การติดเชื้อไวรัสบางชนิด และการได้รับสารเคมีบางอย่าง เช่น ยาฆ่าแมลงและสารกัมมันตภาพรังสี สามารถทำให้เกิดมะเร็งเม็ดเลือดได้
อาการ
ในรายที่เป็นชนิดเฉียบพลัน (Acute Leukemia) จะมีอาการซีด มีจ้ำเลือดตามตัว และมีเลือดออกตามที่ต่างๆ (เช่น เลือดกำเดาไหล เลือดออกตามไรฟัน) เนื่องจากเกล็ดเลือดต่ำ และมีไข้เนื่องจากการติดเชื้อ เช่น ทอนซิลอักเสบ ปอดอักเสบ บางคนอาจมีแผลเปื่อยในปาก บางคนอาจมีไข้เรื้อรังเป็นเดือน ผู้ป่วยส่วนมากจะมีตับโต ม้ามโต และต่อมน้ำเหลืองโตพร้อมกันหลายแห่ง (ส่วนมากที่บริเวณคอ รักแร้ และขาหนีบ) บางคนอาจมีอาการเฉพาะที่บางอย่าง เช่น ตาโปน เหงือกบวม ปวดกระดูกและข้อ เป็นต้น
ในรายที่เป็นชนิดเรื้อรัง (Chronic Leukemia) มักมีอาการตับโต ม้ามโต ต่อมน้ำเหลืองโตพร้อมกันหลายแห่ง โดยในระยะแรกมักจะไม่มีอาการซีดหรือเลือดออกแบบที่พบในผู้ป่วยชนิดเฉียบพลัน บางคนอาจมีไข้ เหงื่อออกตอนกลางคืน เบื่ออาหาร น้ำหนักลด
การรักษา
แพทย์อาจใช้ยาเคมีบำบัด การปลูกถ่ายไขกระดูก และรังสีรักษา ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับชนิดของมะเร็งเม็ดเลือดขาว การตอบสนองต่อการรักษาด้วยยาเคมีบำบัด และอายุของผู้ป่วยด้วย
มะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดเรื้อรัง : ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ด้วยการใช้ยาเคมีบำบัดเพียงอย่างเดียว วิธีที่อาจผลดีคือการปลูกถ่ายไขกระดูก
มะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดเฉียบพลัน : มีเป้าหมายในการรักษา คือให้โรคเข้าสู่ระยะสงบ ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะอยู่ในระยะนี้ได้ประมาณ 3-9 เดือน หลังจากนั้นจะกลับเป็นโรคใหม่
โภชนาการต้านมะเร็งเม็ดเลือดขาว
แม้จะไม่มีอาหารที่รักษาโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวให้หายได้ แต่การกินอาหารที่หลากหลายและมีประโยชน์ต่อสุขภาพจะช่วยบรรเทาอาการข้างเคียงบางอย่างได้
· ผู้ป่วยควรกินผักสดและผลไม้ให้มาก รวมทั้งข้าวที่ขัดสีน้อย เช่น ข้าวกล้อง
· ควรกินอาหารที่ให้โปรตีนและกรดไขมันไม่อิ่มตัว เช่น ปลา เนื้อแดง และถั่วเมล็ดแห้ง
· กินผักและผลไม้ที่มีวิตามินซีสูง เช่น คะน้า บร็อคเคอลี กะหล่ำดอก ส้ม มะนาว ฝรั่ง และมะขามป้อม จะช่วยลดการติดเชื้อของผู้ป่วยได้
· ควรได้รับวิตามินบีชนิดต่างๆอย่างเพียงพอ เพื่อให้ร่างกายดูดซึมพลังงานจากอาหารไปใช้ได้ อาหารที่อุดมด้วยวิตามินบี ได้แก่ ข้าวกล้อง จมูกข้าวสาลี ธัญพืช ถั่วเมล็ดแห้ง และเมล็ดพืช
· เนื่องจากผู้ป่วยมีความต้านทานต่อการติดเชื้อน้อยลงจึงต้องระวังเรื่องความสะอาดของอาหารมากเป็นพิเศษ พึงหลีกเลี่ยงอาหารทะเล ไข่ดิบ ผลิตภัณฑ์นมที่ไม่ผ่านการฆ่าเชื้อ และเนื้อสัตว์ที่ปรุงสุกๆดิบๆ เพราะอาจมีเชื้อโรคที่เป็นอันตรายต่อผู้ป่วย
· ห้ามสูบบุหรี่ เพราะนิโคตินในบุหรี่จะเข้าไปทำลายสารอาหารบางอย่างในร่างกาย
· งดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทุกชนิด เพราะยาบางชนิดที่รักษามะเร็งอาจมีผลกระทบต่อการเผาผลาญแอลกอฮอล์ แอลกอฮอล์ยังทำให้ปริมาณวิตามินซีที่ร่างกายสะสมไว้ลดลงอีกด้วย
แม้จะไม่มียารักษาให้หายขาด แต่หากหมั่นออกกำลังกายและรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ พร้อมทั้งไปพบแพทย์ตามเวลานัด ก็สามารถดำเนินชีวิตได้อย่างมีความสุขได้





Create Date : 10 มีนาคม 2554
Last Update : 10 มีนาคม 2554 23:55:41 น.
Counter : 984 Pageviews.

0 comments
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

caballus
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]



Group Blog
มีนาคม 2554

 
 
1
2
3
4
5
6
7
8
9
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31