"ทรัพย์เครื่องปลื้มใจอย่างใดอย่างหนึ่งในโลกนี้หรือในโลกอื่น หรือรัตนะใดอันประณีตในสวรรค์ ทรัพย์และรัตนะนั้นเสมอด้วยพระตถาคตย่อมไม่มี พระพุทธเจ้าแม้นี้เป็นรัตนะอันประณีต ด้วยการกล่าวคำจริงนี้ ขอความสวัสดีจงมี....." "พระไตรปิฏก เป็นตาที่วิเศษยิ่ง, เป็นหูที่วิเศษยิ่ง, เป็นจมูกที่วิเศษยิ่ง, เป็นลิ้นที่วิเศษยิ่ง, เป็นกายที่วิเศษยิ่ง, เป็นใจที่วิเศษยิ่ง, เป็นครู-อาจารย์ที่วิเศษยิ่ง, เป็นพ่อ-แม่ที่วิเศษยิ่ง, เป็นมิตรและเข็มทิศที่วิเศษยิ่ง, เป็นแผนที่และป้ายบอกทางที่วิเศษยิ่ง, เป็นแสงสว่างส่องทางสู่นิพพานที่วิเศษยิ่ง"จากวัดสามแยก
Group Blog
 
 
กุมภาพันธ์ 2555
 
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
26272829 
 
18 กุมภาพันธ์ 2555
 
All Blogs
 
เรียนรู้เรื่อง ทาน จากพระไตรปิฏก 2

ควรทำบุญอุทิศให้เทวดาในที่อยู่อาศัย (สุนีธ-วัสสการพราหมณ์) เล่ม7 หน้า 118
[๗๓] บัณฑิตชาติอยู่ในประเทศใด เลี้ยงดูท่านผู้มีศีล ผู้สำรวม ประพฤติพรหมจรรย์ในประเทศนั้น และได้อุทิศทักษิณาแก่เหล่าเทพดาผู้สถิตในสถานที่นั้นเทพดาเหล่านั้นอันบัณฑิตชาติบูชาแล้ว ย่อมบูชาตอบอันบัณฑิตชาตินับถือแล้วย่อมนับถือตอบ ซึ่งบัณฑิตชาตินั้น แต่นั้น ย่อมอนุเคราะห์บัณฑิตชาตินั้น ดุจมารดาอนุเคราะห์บุตรผู้เกิดแต่อก. ฉะนั้น คนที่เทพดาอนุเคราะห์แล้ว ย่อมพบเห็นแต่สิ่งที่เจริญทุกเมื่อ.

เมื่อให้ส่วนบุญ....ได้บุญมากขึ้น (อ.สูตรที่5 ) เล่ม 32หน้า310
ดูก่อนบัณฑิต ข้าวยาคูกระบวยหนึ่ง หรือข้าวสวยทัพพีหนึ่งจงยกไว้
เมื่อท่านให้ส่วนบุญแก่คนเหล่าอื่นในบิณฑบาตของตน พันคนหรือแสนคนก็ตาม ให้แก่คนเท่าใด บุญก็เพิ่มขึ้นแก่ตนมีประมาณเท่านั้น เมื่อท่านให้ก็ให้บิณฑบาตอันเดียวนั่นแหละ ต่อเมื่อให้ส่วนบุญแก่สุมนเศรษฐีอีกเล่า บิณฑบาตก็ขยายไปเป็น ๒ คือของท่านส่วนหนึ่ง ของเศรษฐีส่วนหนึ่ง ดังนี้..

ให้อาหารปลา.....แล้วอุทิศบุญได้ (มัจฉทานสูตร) เล่ม58หน้า 304-307
ว่าด้วยบุญที่ให้ทานแก่ปลา

[๔๖๓] ปลาทั้งหลายมีราคาถึงหนึ่งพันกหาปณะกับ ๗ มาสก ย่อมจะไม่มีผู้เชื่อถือเลย และในที่นี้เราก็มี ๗ มาสกเท่านั้น แต่เราก็ซื้อปลาพวงนั้นได้.

[๔๖๔] ท่านได้ให้โภชนะแก่ปลาทั้งหลาย แล้วอุทิศส่วนบุญให้แก่เรา เราระลึกถึงส่วนบุญอันนั้น และความนอบน้อมที่ท่านได้กระทำแล้ว จึงรักษาทรัพย์ของท่านนี้ไว้.

[๔๖๕] บุคคลผู้มีจิตคิดประทุษร้าย ย่อมไม่มีความเจริญเลย ใช่แต่เท่านั้น เทวดาทั้งหลายไม่บูชาผู้นั้น ผู้ใดทำกรรมอันชั่วช้า ยักยอกเอาทรัพย์มรดกของบิดา ไม่ต้องการจะให้พี่ชาย เทวดาทั้งหลายย่อมไม่บูชาผู้นั้น.

จบ มัจฉทานชาดกที่ ๘
.......................................................
-ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัตครองราชสมบัติอยู่ในพระนครพาราณสี
พระโพธิสัตว์บังเกิดในตระกูลกฎุมพี พอรู้เดียงสาก็รวบรวมทรัพย์สมบัติไว้.
และพระโพธิสัตว์นั้นมีน้องชายอยู่คนหนึ่ง.

ในกาลต่อมา เมื่อบิดาของคนทั้งสองนั้นทำกาลกิริยาไปแล้ว วันหนึ่ง พี่น้องทั้งสองนั้นคิดกันว่า พวกเราจักชำระสะสางการค้าขายอันเป็นของบิดาให้เรียบร้อยเสียที จึงไปยังบ้านหนึ่งได้ทรัพย์พ้นกหาปณะแล้วกลับมา บริโภคอาหารห่อแล้วรอเรืออยู่ที่ท่าแม่น้ำ.

พระโพธิสัตว์ได้ให้อาหารที่เหลือแก่ปลาทั้งหลายในแม่น้ำคงคาแล้วให้ส่วนบุญแก่เทวดาประจำแม่น้ำ. เทวดาพออนุโมทนาส่วนบุญเท่านั้นก็เจริญพอกพูนด้วยยศอันเป็นทิพย์ จึงรำพึงถึงความเจริญยศของตนก็ได้รู้ถึงเหตุนั้น. ฝ่ายพระโพธิสัตว์ลาดผ้าห่มลงบนทรายนอนหลับไป.ส่วนน้องชายของพระโพธิสัตว์นั้น มีปกตินิสัยค่อนข้างเป็นโจรอยู่บ้าง

เขาจึงทำห่อกรวดเข้าห่อหนึ่งให้เหมือนห่อกหาปณะ แล้ววางทั้งสองไว้รวมกัน เพราะประสงค์จะไม่ให้กหาปณะเหล่านั้นแก่พระโพธิสัตว์ จะถือเอาเสียเองคนเดียว.เมื่อพี่น้องทั้งสองนั้นขึ้นเรือไปถึงกลางแม่น้ำคงคา น้องชายทำเรือให้โคลงแล้วคิดว่าเราจะโยนห่อกรวดทิ้งน้ำ กลับโยนห่อทรัพย์พันกหาปณะลงไปเก็บช่อนห่อกรวดไว้ แล้วกล่าวว่า คุณพี่ ห่อทรัพย์พันกหาปณะตกน้ำไปแล้ว เราจะทำอย่างไรกัน.

พระโพธิสัตว์กล่าวว่า เมื่อมันตกน้ำไปแล้ว พวกเราจักกระทำอย่างไรได้ อย่าคิดมันเลย. เทวดาประจำแม่น้ำคิดว่า เราอนุโมทนาส่วนบุญที่พระโพธิสัตว์นี้ให้ จึงเจริญด้วยยศทิพย์ เราจักรักษาทรัพย์อันเป็นของพระโพธิสัตว์นี้ไว้ จึงบันดาลให้ปลาปากกว้างตัวหนึ่ง กลิ่นห่อทรัพย์นั้นไว้ด้วยอานุภาพของตน ตนเองถือการอารักขาอยู่. ฝ่ายน้องชายผู้เป็นโจรแม้นั้นแล
ไปถึงเรือนแล้วคิดว่า เราลวงพี่ชายได้แล้ว จึงแก้ห่อออกเห็นแต่กรวด มีหัวใจเหี่ยวแห้ง นอนกอดแม่แคร่เตียงอยู่.

ในกาลนั้น พวกชาวประมงได้ทอดแหเพื่อจับปลา.ปลาตัวนั้นได้เข้าไปติดแหด้วยอานุภาพของเทวดา. พวกชาวประมงจับปลานั้นได้แล้วจึงเข้าไปยังพระนครเพื่อจะขายปลา. คนทั้งหลายเห็นปลาใหญ่จึงถามราคา. ชาวประมงกล่าวว่า ท่านให้ทรัพย์หนึ่งพันกหาปณะกับเจ็ดมาสก แล้วจงถือเอาปลานั้นไป.
พวกประชาชนทำการหัวเราะเยาะว่า แหมปลาราคาทั้งพันไม่เคยเห็น. พวกชาวประมงจึงถือเอาปลาไปยังประตูเรือนของพระโพธิสัตว์กล่าวว่า ท่านจงถือเอาปลาตัวนี้. พระโพธิสัตว์ถามว่า ปลานี้ราคาเท่าไร ? ชาวประมงกล่าวว่า ท่านให้เจ็ดมาสกแล้วเอาไปเถอะ. พระโพธิสัตว์ถามว่า พวกท่านเมื่อให้แก่คนอื่นให้อย่างไร ? พวกชาวประมงกล่าวว่า ให้แก่คนอื่น ๑ พันกับ ๗มาสก แต่ท่านให้ ๗ มาสก แล้วเอาไปเถิด.

พระโพธิสัตว์ให้พวกชาวประมงไป ๗ มาสก แล้วส่งปลาให้แก่ภรรยา. ภรรยาผ่าท้องปลาเห็นห่อทรัพย์พันกหาปณะ จึงมอบแก่พระโพธิสัตว์.พระโพธิสัตว์ตรวจดูห่อทรัพย์นั้นเห็นตราของตน ก็รู้ว่าเป็นของตน จึงคิดว่าบัดนี้ ชาวประมงเหล่านี้เมื่อให้ปลาตัวนี้แก่คนอื่น ก็ให้ถึง ๑ พันกหาปณะกับ ๗ มาสก แต่พอมาถึงเราเข้าไม่พูดถึงพันเลย ได้ให้เอาเพียง ๗ มาสกเท่านั้น เพราะพันกหาปณะนั้นเป็นของของตน เราไม่อาจให้ใคร ๆ ผู้ไม่รู้เหตุการณ์นี้เชื่อถือได้.

ทิ้งของโสโครกก็ยังไ้ด้บุญ (ชัปปสูตร) เล่ม 34หน้า
เราตถาคตกล่าวอย่างนี้ต่างหาก วัจฉะ ว่า แม้สัตว์ทั้งหลายที่อยู่ใน
หลุมโสโครกหรือท่อโสโครก ผู้ใดเทน้ำล้างหม้อก็ดี น้ำล้างชามก็ดี ลงไปใน
หลุมและท่อโสโครกนั้น ด้วยเจตนาให้สัตว์ในนั้นได้เลี้ยงชีพ อย่างนี้เราตถาคตยังกล่าวการได้บุญอันมีกิริยาที่ทำอย่างนั้นเป็นมูล จะกล่าวอะไร (ถึงการให้ทาน) ในผู้ที่เป็นมนุษย์เล่า.

ยินดีในบุญของผู้อื่นได้บุญมาก (อ.วิหารวิมาน) เล่ม 48หน้า 360
นางวิสาขาใช้เงินฉลองวิหารถึงเก้าโกฏิเหรียญ นางพร้อมด้วยหญิง
สหายประมาณ ๕๐๐ คนขึ้นปราสาท ได้เห็นสมบัติของปราสาทนั้น ดีใจ
กล่าวกะพวกเพื่อนหญิงว่า เมื่อฉันสร้างปราสาทหลังนี้งามถึงเพียงนี้ ขอ
เธอทั้งหลายจงอนุโมทนาบุญที่ฉันขวนขวายนั้น ฉันขอให้ส่วนบุญแก่พวก
เธอ. เพื่อนหญิงทั้งหมดมีใจเลื่อมใสต่างอนุโมทนาว่า อโห สาธุ อโห
สาธุ ดีจริง ๆ ดีจริง ๆ.

บรรดาเพื่อนหญิงเหล่านั้น เพื่อนอุบาสิกาคนหนึ่งได้ใส่ใจถึงการ
แผ่ส่วนบุญให้นั้นเป็นพิเศษ ต่อมาไม่นาน นางได้ตายไปบังเกิดในภพ
ดาวดึงส์ ด้วยบุญญานุภาพของนางได้ปรากฏวิมานหลังใหญ่ ยาวกว้าง
และสูงสิบหกโยชน์ ประดับประดาด้วยห้องรโหฐาน กำแพงอุทยาน
และสระโบกขรณีเป็นต้นมิใช่น้อย ล่องลอยอยู่ในอากาศ แผ่รัศมีของตน
ไปได้ร้อยโยชน์ อัปสรนั้น เมื่อจะเดินก็เดินไปพร้อมกับวิมาน สำหรับ
มหาอุบาสิกาวิสาขา เพราะมีจาคะไพบูลและมีศรัทธาสมบูรณ์จึงบังเกิดใน
สวรรค์ชั้นนิมมานรดี ได้ดำรงตำแหน่งอัครมเหสีของท้าวสุนิมมิตเทวราช.

ยินดีในบุญของผู้อื่น...ช่วยให้รอดตาย (อ.สีลานิสังสชาดก) เล่ม57 หน้า220-221
ในอดีตกาล ครั้งศาสนาพระกัสสปสัมมาสัมพุทธเจ้าพระอริยสาวกผู้เป็นโสดาบัน โดยสารเรือไปกับกุฎุมพีช่างกัลบกคนหนึ่ง. ภรรยาของช่างกัลบกนั้นมอบหมายช่างกัลบกแก่เขาว่า นาย สุขทุกข์ของสามีของดิฉัน ขอมอบให้เป็นภาระของท่านครั้นถึงวันที่เจ็ดเรือของกุฎุมพีช่างกัลบกอับปางลงในกลางสมุทรชนทั้งสองเกาะแผ่นกระดานแผ่นหนึ่ง ลอยมาถึงเกาะแห่งหนึ่ง.

ช่างกัลบกนั้นจึงฆ่านกปิ้งกินแล้วให้อุบาสก.อุบาสกไม่ยอมบริโภค โดยกล่าวว่า อย่าเลยสำหรับเรา.อุบาสกคิดว่า ในที่นี้นอกจากพระรัตนตรัยแล้ว ไม่มีที่พึ่งอื่นสำหรับเรา. เขาจึงระลึกคุณของพระรัตนตรัย.

ลำดับนั้น เมื่อเขากำลังระลึกถึงพญานาคซึ่งเกิดในเกาะนั้น จึงเนรมิตร่างของตนเป็นเรือลำใหญ่มีเทวดาประจำสมุทรเป็นมาณพต้นหนเรือ. เรือเต็มไปด้วยรัตนะเจ็ดประการ.เสากระโดงทั้งสาม สำเร็จด้วยแก้วมณีสีอินทนิล ใบเรือสำเร็จด้วยทอง เชือกสำเร็จด้วยเงิน คันใบสำเร็จด้วยทอง.

เทวดาประจำสมุทรยืนอยู่บนเรือประกาศว่า ผู้จะไปชมพูทวีปมีไหม. อุบาสกตอบว่า เราจะไป. ถ้าเช่นนั้นจงมาขึ้นเรือเถิด. อุบาสกขึ้นเรือแล้วเรียกช่างกัลบกขึ้นด้วย. เทวดาประจำสมุทรกล่าวว่า ได้แต่ท่านเท่านั้น คนนั้นไม่ได้. อุบาสกถามว่า เพราะเหตุไรเล่า. เทวดาประจำสมุทรตอบว่า เขาไม่มีคุณ คือศีลและอาจาระ

เหตุเป็นดังนั้น ข้าพเจ้านำเรือมาเพื่อท่าน มิใช่ผู้นี้. เอาละเราให้ส่วนแก่คนนี้ด้วยทานที่ตนให้ด้วยศีลที่ตนรักษา ด้วยภาวนาที่ตนอบรม. ช่างกัลบกตอบว่า "ข้าพเจ้าขออนุโมทนา“.

เทวดากล่าวว่า ข้าพเจ้าจักพาไปเดี๋ยวนี้แล้วอุ้มเขาพาไปทั้งสองคนออกจากสมุทรไปถึงกรุงพาราณสีทางแม่น้ำ บันดาลให้ทรัพย์อยู่ในเรือนของเขาทั้งสอง ด้วยอานุภาพของตนเมื่อจะกล่าวถึงคุณของการสังสรรค์กับบัณฑิตว่า ควรทำความสังสรรค์กับบัณฑิตทั้งหลาย หากว่าช่างกัลบกคนนี้ไม่ได้สังสรรค์กับอุบาสกนี้ จักพินาศในท่ามกลางสมุทร.

ยินดีในบุญของผู้อื่น....ช่วยให้พ้นภัย(อ.สังขชาดก) เล่ม 59หน้า812-813
ก่อนนางเทพธิดา เมื่อเป็นเช่นนั้น ขอท่านจงเนรมิตเรือลำ ๑ แก่ข้าพเจ้าด้วยเถิด แต่ขอจงเนรมิตเรือเล็ก ๆ ลำ ๑ ประมาณเท่าเรือโกลน

อนึ่ง เรือที่ท่านจักเนรมิตขอให้เป็นเรือที่ต่อด้วยแผ่น กระดานหลาย ๆ แผ่น ที่ตรึงดีแล้ว ที่ชื่อว่า น้ำไม่รั่ว เพราะไม่มีช่องที่จะให้น้ำไหลเข้าไปได้ ประกอบด้วยใบที่จะพาแล่นไปได้อย่างสะดวกเพราะในสมุทรนี้ พื้นที่ที่จะใช้ยานพาหนะอื่น เว้นเรือทิพย์มิได้มี ขอท่านได้ฟังข้าพเจ้าให้ถึงเมืองโมลินีด้วยเรือลำนั้น ในวันนี้เถิด.

นางเทพธิดาได้ฟังคำของพระโพธิสัตว์นั้นแล้ว มีจิตยินดี
เนรมิตเรือขึ้นลำ ๑ ซึ่งแล้วไปด้วยแก้ว ๗ ประการ เรือลำนั้นยาว
๘ อุสภะ กว้าง ๔ อุสภะ ลึก ๒ วา มีเสากระโดง ๓ เสา แล้วไป
ด้วยแก้วอินทนิล มีสายระโยงระยาง แล้วไปด้วยทอง มีรอกกว้าน
แล้วไป ด้วยเงิน มีหางเสือ แล้วไปด้วยทอง เทวดาเอารัตนะ ๗ ประการ
มาบรรทุกเต็มเรือ แล้วอุ้มพราหมณ์ขึ้นบนเรือที่ประดับแล้ว แต่มิได้
เหลียวแลบุรุษอุปัฏฐากของพระโพธิสัตว์เลย พราหมณ์ได้ให้ส่วนบุญ
ที่ตนได้การทำไว้แก่อุปัฏฐาก "อุปัฏฐากก็รับอนุโมทนา" ทันใดนั้น เทวดา
ก็อุ้มอุปัฏฐากนั้นขึ้นเรือด้วย ลำดับนั้น เทวดาก็นำเรือไปสู่โมลินีนคร
ขนทรัพย์ขึ้นเรือนพราหมณ์ แล้วจึงไปยังที่อยู่ของตน.

พระศาสดา ผู้ตรัสรู้แล้ว ได้ตรัสพระคาถานี้เป็นที่สุดว่า:-

นางเทพธิดานั้น มีจิตชื่นชมโสมนัสปราโมทย์ เนรมิตเรืออันงามวิจิตร แล้วพาสังขพราหมณ์กับบุรุษคนใช้มาส่งถึงเมือง อันเป็นที่สำราญรื่นรมย์.

ทานของไม่ดี.....มีผลน้อย (ปายาสิราชัญญสูตร) เล่ม 14หน้า400
ถามว่า ผู้มีอายุ ท่านอุตตรมาณพผู้จัดการในทานของท่านแล้ว เขาไปเกิดเสียที่ไหน.

ตอบว่า ท่านเจ้าข้าอุตตรมาณพผู้จัดการทานของข้าพเจ้าให้ทานโดยเคารพ
ให้ทานด้วยมือของตนเอง ให้ทานโดยนอบน้อม ให้ทานโดยไม่ทิ้ง ๆ ขว้าง ๆครั้นตายแล้วก็เข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ เป็นสหายของเหล่าเทพชั้นดาวดึงส์ ท่านเจ้าข้า

ส่วนข้าพเจ้า ให้ทานโดยไม่เคารพ ให้ทานโดยมิใช่โดยมือของตนเอง ให้ทานโดยม่นอบน้อม ให้ทานทิ้ง ๆ ขว้าง ๆ ครั้นตายแล้ว เข้าถึงความเป็นสหายของเหล่าเทพชั้นจาตุเสรีสกวิมานอันว่างเปล่า ท่านพระควัมปติ เจ้าข้า

ถ้าอย่างนั้นพระคุณเจ้ากลับมนุษยโลกแล้ว โปรดบอกกล่าวคนทั้งหลายอย่างนี้ว่า พวกท่านจงให้ทานโดยเคารพ จงให้ทานโดยมือของตนเอง จงให้ทานโดยนอบน้อมจงให้ทานอย่าทิ้ง ๆ ขว้าง ๆ พระยาปายาสิให้ทานโดยไม่เคารพ ให้ทานไม่ใช้ด้วยมือของตนเอง ให้ทานโดยไม่นอบน้อม ให้ทานทิ้ง ๆ ขว้าง ๆ ตายแล้วก็เข้าถึง ความเป็นสหายของเหล่าเทพชั้นจาตุมหาราช มีเสรีสกวิมานอันว่างเปล่า

ส่วนอุตตรมาณพผู้จัดการทานของพระยาปายาสินั้น ให้ทานโดยเคารพ ให้ทาน ด้วยมือของตนเอง ให้ทานโดยนอบน้อม ให้ทานไม่ทิ้ง ๆ ขว้าง ๆ ตายแล้วก็เข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ เป็นสหายของเหล่าเทพชั้นดาวดึงส์. ครั้งนั้น ท่านควัมปติกลับมนุษยโลกแล้วก็บอกกล่าวแก่คนทั้งหลาย อย่างที่ปายาสิเทพบุตรส่งเสียทุกประการแล.

ทานของไม่ดี....มีผลมาก (เวลามสูตร) เล่ม37 หน้า777
ว่าด้วยการให้ทานที่มีผลมาก

ดูก่อนคฤหบดี แต่ท่านไม่ควรเห็นอย่างดี สมัยนั้นเราเป็นเวลาพราหมณ์
เราไปให้ทานนั้นเป็นมหาทาน ก็ในทานนั้น ไม่มีใครเป็นพระทักขิเณยยบุคคล ใคร ๆ ไม่ชำระทักขิณานั้นให้หมดจด

ดูก่อนคฤหบดี ทานที่บุคคลเชื้อเชิญท่านผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิผู้เดียวบริโภค มีผลมากกว่าทานที่เวลาพราหมณ์ให้แล้ว

ทานที่บุคคลเชื้อเชิญให้ท่านผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิร้อยท่านบริโภค มีผลมากกว่าทานที่บุคคลเชื้อเชิญให้ท่านผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิร้อยท่านบริโภค มีผลมากกว่าทานที่บุคคลเชื้อเชิญให้ท่านผู้ถึงพร้อมด้วย ทิฏฐิผู้เดียวบริโภค

ทานที่บุคคลเชื้อเชิญให้พระสกทาคามีเดียวบริโภค มีผลมากกว่าทานที่บุคคลเชื้อเชิญให้ท่านผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิร้อยท่านบริโภค

ทานที่บุคคลเชื้อเชิญให้พระสกทาคามีร้อยท่านบริโภค มีผลมากกว่าทานที่บุคคลเชื้อเชิญให้พระสกทาคามีเดียวบริโภค

ทานที่บุคคลเชื้อเชิญให้พระอนาคามีผู้เดียวบริโภค มีผลมากกว่าทานที่บุคคลเชื้อเชิญให้พระสกทาคามีร้อยท่านบริโภค

ทานที่บุคคลเชื้อเชิญพระอนาคามีร้อยท่านบริโภค มีผลมากกว่าทานที่บุคคลเชื้อเชิญพระอนาคามีเดียวบริโภค

ทานที่บุคคลถวายให้พระอรหันต์ผู้เดียวบริโภค มีผลมากกว่าทานที่บุคคลเชื้อเชิญให้พระอนาคามีร้อยท่านบริโภค

ทานานที่บุคคลถวายให้พระอรหันต์ร้อยท่านบริโภค มีผลมากกว่าทานที่บุคคลถวายให้พระอรหันต์ผู้เดียวบริโภค

ทานที่บุคคลถวายให้พระปัจเจกพุทธิเจ้ารูปเดียวบริโภค ผลมากกว่าทานที่บุคคลถวายให้พระอรหันต์ร้อยรูปบริโภค

ทานที่บุคคลถวายให้พระปัจเจกพุทธเจ้าร้อยรูปบริโภคมีผลมากกว่าทานที่บุคคลถวายให้พระปัจเจกพุทธเจ้ารูปเดียวบริโภค

ทานที่บุคคลถวายให้พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าบริโภคมีผลมากกว่าทานที่บุคคลถวายให้พระปัจเจกพุทธเจ้าร้อยรูปบริโภค

ทานที่บุคคลถวายให้ภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุขบริโภค มีผลมากกว่าทานที่บุคคลถวายให้พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าบริโภค

การที่บุคคลสร้างวิหารถวายสงฆ์ผู้มาจากจาตุรทิศมีผลมากกว่าทานที่บุคคลถวายให้ภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุขบริโภค

การที่บุคคลมีจิตเลื่อมใสถึงพระพุทธเจ้า พระธรรมและพระสงฆ์เป็นสรณะ มีผลมากกว่าทานที่บุคคลสร้างวิหารถวายสงฆ์อันมาจากจาตุรทิศ

การที่บุคคลมีจิตเลื่อมใสสมาทานสิกขาบท คือ งดเว้นจากปาณาติบาต ฯลฯ จากการดื่มน้ำเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท มีผลมากกว่าการที่บุคคลมีจิตเลื่อมใสถึงพระพุทธเจ้า พระธรรมและพระสงฆ์เป็นสรณะ

การที่บุคคลเจริญเมตตาจิตโดย ที่สุดแม้เพียงเวลาสูดดมของหอม มีผลมากกว่าการที่บุคคลมีจิตเลื่อมใสสมาทานสิกขาบทคือ งดเว้นจากปาณาติบาต ฯลฯ

ดูก่อนคฤหบดี ทานที่บุคคลเชื้อเชิญให้ท่านผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิผู้เดียวบริโภค มีผลมากกว่ามหาทานที่เวลามพราหมณ์ให้แล้ว ... การที่บุคคลเจริญเมตตาจิตโดยที่สุดแม้เพียงเวลาสูดดมของหอม มีผลมากกว่าการที่บุคคลมีจิตเลื่อมใส

สมาทานสิกขาบท คือ งดเว้นจากปาณาติบาต... และการที่บุคคล
เจริญอนิจจสัญญาแม้เพียงเวลาลัดนิ้วมือ มีผลมากกว่าการที่บุคคล
เจริญเมตตาจิตโดยที่สุด แม้เพียงเวลาสูดดมของหอม.

จบ เวลามสูตรที่๑๐

วัดป่าสามแยก ศึกษาพระธรรมวินัย เบิกบุญ โอนบุญ อกหัก โดนของ ธรรมะ ธรรมทาน คลายเครียด เจริญรุ่งเรือง//www.samyaek.com




Create Date : 18 กุมภาพันธ์ 2555
Last Update : 18 กุมภาพันธ์ 2555 22:01:52 น. 0 comments
Counter : 463 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

Budratsa
Location :
พิจิตร Switzerland

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 11 คน [?]




สวัสดีค่ะ ยินดีต้อนรับทุกๆคนค่ะ
"ดูก่อนอานนท์ บางทีพวกเธอจะพึงมีความคิดอย่างนี้ว่า ปาพจน์ (พุทธพจน์) มีพระศาสดาล่วงแล้ว พระศาสดาของพวกเราไม่มี ข้อนี้พวกเธอไม่พึงเห็นอย่างนั้น ธรรมก็ดี วินัยก็ดีอันใดอันเราแสดงแล้ว ได้บัญญัติไว้แล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาแห่งพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา" เล่มที่ ๑๓ : พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ หน้าที่ ๓๒๐
Friends' blogs
[Add Budratsa's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.