"ทรัพย์เครื่องปลื้มใจอย่างใดอย่างหนึ่งในโลกนี้หรือในโลกอื่น หรือรัตนะใดอันประณีตในสวรรค์ ทรัพย์และรัตนะนั้นเสมอด้วยพระตถาคตย่อมไม่มี พระพุทธเจ้าแม้นี้เป็นรัตนะอันประณีต ด้วยการกล่าวคำจริงนี้ ขอความสวัสดีจงมี....." "พระไตรปิฏก เป็นตาที่วิเศษยิ่ง, เป็นหูที่วิเศษยิ่ง, เป็นจมูกที่วิเศษยิ่ง, เป็นลิ้นที่วิเศษยิ่ง, เป็นกายที่วิเศษยิ่ง, เป็นใจที่วิเศษยิ่ง, เป็นครู-อาจารย์ที่วิเศษยิ่ง, เป็นพ่อ-แม่ที่วิเศษยิ่ง, เป็นมิตรและเข็มทิศที่วิเศษยิ่ง, เป็นแผนที่และป้ายบอกทางที่วิเศษยิ่ง, เป็นแสงสว่างส่องทางสู่นิพพานที่วิเศษยิ่ง"จากวัดสามแยก
Group Blog
 
 
กุมภาพันธ์ 2555
 
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
26272829 
 
18 กุมภาพันธ์ 2555
 
All Blogs
 
เรียนรู้เรื่อง ทาน จากพระไตรปิฏก 1

บุญกิริยาวัตถุ 10 ประการ (อ.จิตตุปปาทกัณฑ์) เล่ม 75 หน้า 427
ชื่อบุญกิริยาวัตถุ๑๐ เหล่านี้ คือ

๑. ทานมัย บุญกิริยาวัตถุสำเร็จด้วยทาน
๒. สีลมัย " " ด้วยศีล
๓. ภาวนามัย " " ด้วยภาวนา
๔. อปจิติสหคตะ บุญที่สหรคตด้วยนอบน้อม
๕. เวยยาวัจจสหคตะ " ด้วยการขวนขวาย
๖. ปัตตานุปทานมัย บุญสำเร็จด้วยการแผ่ส่วนบุญ
๗. อัพภานุโมทนมัย บุญสำเร็จด้วยการอนุโมทนา
๘. เทศนามัย บุญสำเร็จด้วยการแสดงธรรม
๙. สวนมัย บุญสำเร็จด้วยการฟังธรรม
๑๐. ทิฏฐุชุกรรม.

ทาน 2ประเภท : อามิส / ธรรม (พราหมณสูตร) เล่ม 75หน้า 634-635

ว่าด้วยการให้ทาน ๒ อย่าง

[๒๘๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราตถาคตเป็นพราหมณ์ผู้ควรด้วยการขอ
มีมืออันล้างแล้วทุกเมื่อ ทรงไว้ซึ่งร่างกายอันมีในที่สุด เป็นหมอผ่าตัดกิเลส
เธอทั้งหลายเป็นบุตรผู้เนื่องในอกเรา เกิดแต่ปาก เกิดแต่ธรรม อันธรรม
นิรมิตแล้ว เป็นทายาทแห่งธรรม ไม่เป็นทายาทแห่งอามิส

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ทาน ๒ อย่างนี้ คือ อามิสทาน ๑ ธรรมทาน ๑ บรรดาทาน ๒ อย่างนี้ ธรรมทานเป็นเลิศ

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การแจกจ่าย ๒ อย่างนี้ คือการแจกจ่ายอามิส ๑ การแจกจ่ายธรรม ๑ บรรดาการแจกจ่าย ๒ อย่างนี้ การแจกจ่ายธรรมเป็นเลิศ

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การอนุเคราะห์ ๒ อย่างนี้
คือ การอนุเคราะห์ด้วยอามิส ๑ การอนุเคราะห์ด้วยธรรม ๑ บรรดาการอนุเคราะห์ ๒ อย่างนี้ การอนุเคราะห์ด้วยธรรมเป็นเลิศ

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การบูชา ๒ อย่างนี้ คือ การบูชาด้วยอามิส ๑ การบูชาด้วยธรรม ๑ บรรดาการบูชา ๒ อย่างนี้ การบูชาด้วยธรรมเป็นเลิศ.

พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสเนื้อความนี้แล้ว ในพระสูตรนั้น พระ-
ผู้มีพระภาคเจ้าตรัสคาถาประพันธ์ดังนี้ว่า;

สัตว์ทั้งหลายย่อมนอบน้อมพระตถาคตผู้ได้บูชาธรรม ผู้ไม่มีความตระหนี่
ผู้มีปกติอนุเคราะห์สัตว์ทุกหมู่เหล่า ผู้ประเสริฐสุดในเทวดาและมนุษย์ ผู้ถึงฝั่งแห่งภพเช่นนั้น.

จบพราหมณสูตรที่ ๑

ธรรมทานชนะการให้ทั้งปวง (เรื่องท้าวสักกะ) เล่ม43 หน้า325
พระศาสดาทรงแก้ปัญหา
พระศาสดาตรัสว่า " ดีละ มหาบพิตร(ท้าวสักกะ)ตถาคตบำเพ็ญบารมี ๓๐ทัศ
บริจาคมหาบริจาค๑ แทงตลอดพระสัพพัญญุตญาณแล้ว ก็เพื่อตัด
ความสงสัยของชนผู้เช่นพระองค์นี่แหละ, ขอพระองค์จงทรงสดับปัญหาที่
พระองค์ถามแล้วเถิด: บรรดาทานทุกชนิด ธรรมทานเป็นเยี่ยม, บรรดา
รสทุกชนิด รสแห่งพระธรรมเป็นยอด, บรรดาความยินดีทุกชนิด ความ
ยินดีในธรรมประเสริฐ, ส่วนความสิ้นไปแห่งตัณหาประเสริฐที่สุดแท้.

เพราะความเป็นเหตุให้สัตว์บรรลุพระอรหัต" ดังนี้แล้ว ตรัสพระคาถานี้ว่า :-

" ธรรมทาน ย่อมชนะทานทั้งปวง,
รสแห่งธรรม ย่อมชนะรสทั้งปวง,
ความยินดีในธรรมย่อมชนะความยินดีทั้งปวง,
ความสิ้นไปแห่งตัณหาย่อมชนะทุกข์ทั้งปวง."

พระพุทธเจ้าสรรเสริญบุคคลที่เลือกให้ทาน (อังกุรเทพบุตร) เล่ม 43หน้า 335
ทานที่เลือกให้พระพุทธเจ้าตรัสสรรเสริญ

" ได้ยินว่า อินทกเทพบุตรนั้นยังภิกษาทัพพีหนึ่ง ที่เขานำมาเพื่อตน
ให้ถึงแล้วแก่พระอนุรุทธเถระผู้เข้าไปสู่ภายในหมู่บ้านเพื่อบิณฑบาต.
บุญนั้นของอินทกเทพบุตรนั้น มีผลมากกว่าทานที่อังกุรเทพบุตร
ทำระเบียบแห่งเตาประมาณ ๑๒ โยชน์ ถวายแล้วสิ้นหมื่นปี"
เพราะเหตุนั้น อินทกเทพบุตร จึงกล่าวอย่างนั้น. เมื่ออินทกเทพบุตร
กล่าวอย่างนั้นแล้ว

พระศาสดาจึงตรัสว่า " อังกุระ ชื่อว่าการเลือกให้ทาน
ย่อมควร, ทาน (ของอินทกะ) นั้น เป็นของมีผลมาก ดังพืชที่หว่านดีแล้ว
ในนาดี อย่างนั้น, แต่ท่านไม่ได้ทำอย่างนั้น,เพราะฉะนั้น ทานของท่าน
จึงไม่มีผลมาก "

เมื่อจะทรงประกาศเนื้อความนี้ จึงตรัสว่า :-
"บุคคลควรเลือกให้ทาน ในเขตที่ตนให้แล้วจะมีผลมาก. เพราะการเลือกให้
พระสุคตทรงสรรเสริญแล้ว: ทานที่ให้ในท่านผู้เป็นทิกขิไณยบุคคลในชีวโลกนี้ เป็นของมีผลมากเหมือนพืชที่หว่านในนาดีฉะนั้น."

"นาทั้งหลายมีหญ้าเป็นโทษ, หมู่สัตว์นี้ก็มีราคะเป็นโทษ; ฉะนั้นแล ทานที่ให้ในท่านผู้ปราศจาก ราคะ จึงมีผลมาก. นาทั้งหลายมีหญ้าเป็นโทษ,หมู่สัตว์นี้มีโทสะเป็นโทษ; ฉะนั้นแล ทานที่ให้ใน ท่านผู้ปราศจากโทสะ จึงมีผลมาก. นาทั้งหลายมีหญ้าเป็นโทษ, หมู่สัตว์นี้ก็มีโมหะเป็นโทษ; ฉะนั้น
แล ทานที่ให้ในท่านผู้ปราศจากโมหะ จึงมีผลมาก.นาทั้งหลายมีหญ้าเป็นโทษ, หมู่สัตว์นี้ก็มีความอยากเป็นโทษ; ฉะนั้นแล ทานที่ให้ในท่านผู้ปราศจากความอยาก จึงมีผลมาก."

ทำบุญกับพระทุศีลไม่มีบุญให้อุทิศ(อ.ทักขิณาวิภังคสูตร) เ่ล่ม 23หน้า 409
จริงอยู่เมื่อบุคคลอาจเพื่อทำความยำเกรงในสงฆ์ ให้ทานแม้ในภิกษุทุศีล
ซึ่งเจาะจงถือเอา มีผลมากกว่าทานที่บุคคลถวายในพระขีณาสพนั้นแล.ก็คำใดที่กล่าวว่า ดูก่อนมหาบพิตร ทานที่ให้แก่ผู้มีศีลแล มีผลมาก ทานที่ให้ในผู้ทุศีลหามีผลมากอย่างนั้นไม่

ได้ยินว่า นายพรานนั้นเมื่อให้ทุกขิณาอุทิศถึงผู้ตายได้ให้แก่ภิกษุผู้ทุศีลรูปหนึ่งนั้น แลถึง ๓ ครั้ง. ในครั้งที่ ๓ อมนุษย์ร้องขึ้นว่า ผู้ทุศีลปล้นฉัน ดังนี้. ในเวลาที่พรานนั้นถวายแก่ภิกษุผู้มีศีลรูป หนึ่งมาถึง ผลของทักขิณาก็ถึงแก่เขา.พึงแสดงอสทิสทานในคำนี้ว่า ทักขิณาบางอย่างบริสุทธิ์ ฝ่ายทายกเท่านั้น.

ทำบุญกับพระทุศีลโยมมีนรกรอ (อ.วสภเถระคาถา) เ่ล่ม 51หน้า 47

เปรียบเหมือนนายพรานนก
ลวงนกเหล่าอื่นไปฆ่าด้วยนกต่อนั้น ชื่อว่า ย่อมฆ่าตนแม้ในโลกนี้ เพราะเป็น
กรรมที่ท่านผู้รู้ตำหนิ และเป็นกรรมที่มีโทษเป็นสภาพเป็นต้น ส่วนในสัมปรายภพ ชื่อว่า ย่อมฆ่าตนด้วยความมืดมน มัวหมองของทุคติทีเดียว แต่ในภายหลัง ก็ไม่สามารถจะฆ่านกเหล่านั้นได้อีก ฉันใด คนโกหกก็ฉันนั้น ลวงโลกด้วยความเป็นคนโกหก ชื่อว่า ย่อมฆ่าตนเองแม้ในโลกนี้ เพราะวิปฏิสารและถูกตำหนิจากวิญญูเป็นต้น.

แม้ในปรโลก ก็ชื่อว่าฆ่าตน เพราะความมืดมน มัวหมองของทุคติ ใช่แต่เท่านั้น ยังชื่อว่า ทำทายกผู้ถวายปัจจัยเหล่านั้นให้ถึงทุกข์ในอบาย อีกด้วย.

ของที่ไม่ควรนำไปถวายพระ (วัตถุอนามาส) เล่ม 3หน้า173-174
พระผู้มีพระภาคเจ้าปรับอาบัติทุกกฏ
เหมือนกันทั้งนั้น แก่ภิกษุผู้จับต้อง ด้วยความรักอาศัยเรือนว่า ผู้นี้
เป็นมารดาของเรา นี้เป็นธิดาของเรา นี้เป็นพี่น้องสาวของเรา เพราะ
ขึ้นชื่อว่าผู้หญิงแม้ทั้งหมด จะเป็นมารดาก็ตาม เป็นธิดาก็ตาม เป็นข้าศึก
แก่พรหมจรรย์ทั้งนั้น.

ก็เมื่อภิกษุระลึกถึงพระอาญานี้ ของพระผู้มีพระภาคเจ้า ถ้าแม้นว่า
เห็นมารดาถูกกระแสน้ำพัดไป ไม่ควรจับต้องด้วยมือเลย. แต่ภิกษุผู้ฉลาด
พึงนำเรือ หรือแผ่นกระดาน หรือท่อนกล้วย หรือท่อนไม้เข้าไปให้
เมื่อเรือเป็นต้นนั้นไม่มี แม้ผ้ากาสาวะนำไปวางไว้ข้างหน้า แต่ไม่ควร
กล่าวว่า จงจับที่นี้. เมื่อท่านจับแล้ว พึงสาวมาด้วยทำในใจว่า เราสาว
บริขารมา. ก็ถ้ามารดากลัว พึงไปข้างหน้า ๆ แล้วปลอบโยนว่า อย่ากลัว
ถ้ามารดาถูกน้ำพัดไปรีบขึ้นคอ หรือจับที่มือของภิกษุผู้เป็นบุตร ภิกษุ
อย่าพึงสลัดว่า หลีกหนีไป หญิงแก่ พึงส่งไปให้ถึงบก. เมื่อมารดาติดหล่มก็ดี ตกลงไปในบ่อก็ดี มีนัยเหมือนกันนี้. อธิบายว่า ภิกษุพึงฉุดขึ้น แต่อย่าพึงจับต้องเลย.

[อธิบายวัตถุที่เป็นอนามาส]
ก็มิใช่แก่ร่างกายของมาตุคามอย่างเดียวเท่านั้น เป็นอนามาส แม้
ผ้านุ่งและผ้าห่มก็ดี สิ่งของเครื่องประดับก็ดี จนชั้นเสวียนหญ้าก็ตาม
แหวนใบตาลก็ตาม เป็นอนามาสทั้งนั้น. ก็แลผ้านุ่งและผ้าห่มนั้นตั้งไว้
เพื่อต้องการใช้เป็นเครื่องประดับเท่านั้น. ก็ถ้าหากว่ามาตุคามวางผ้านุ่ง
หรือผ้าห่มไว้ในที่ใกล้เท้า เพื่อต้องการให้เปลี่ยนเป็นจีวร ผ้านั้นสมควร.

ก็บรรดาเครื่องประดับ ภัณฑะที่เป็นกัปปิยะ มีเครื่องประดับศีรษะ
เป็นต้น อันมาตุคามถวายว่า ท่านเจ้าคะ ขอพระคุณท่านโปรดรับสิ่งนี้
เถิด ภิกษุควรรับไว้ เพื่อเป็นเครื่องใช้ มีฝักมีดโกนและเข็มเป็นต้น.

ส่วนภัณฑะที่ทำด้วยทอง เงิน และแก้วมุกดาเป็นต้น เป็นอนามาสแท้
ถึงแม้เขาถวาย ก็ไม่ควรรับ..

ไม่จำเป็นต้องถวายของใส่มือพระ (อ.มหาปทานสูตร) เล่ม 13หน้า159
ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า
ขอพระองค์ทรงให้รับพวงดอกไม้นี้เถิด พระเจ้าข้า. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแลดูคนใช้ของเสนาบดีคนหนึ่งให้รับพวงดอกไม้. นางถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว ตั้งความปรารถนาว่า เมื่อข้าพเจ้ามีอันต้องเกิดในภพน้อยภพใหญ่ ขอจงอย่ามีชีวิตหวาดสะดุ้งเลย ขอให้ข้าพเจ้าจงเป็นที่รัก เป็นที่ชอบใจ และขอให้ชื่อว่าสุมนาในที่ที่เกิด ดุจพวงดอกมะลิเถิด แล้วพระศาสดาตรัสว่า ขอนางจงมีความสุขเถิด แล้วนางถวายบังคมกระทำประทักษิณหลีกไป..

ความปราถนาของผู้มีศีลย่อมสำเร็จในเกิดแห่งทาน 8ประการ(ทานูปปัตติสูตร) เ่ล่ม37หน้า481-483
[๑๒๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เหตุเกิดขึ้นแห่งทาน ๘ ประการนี้ ๘ ประการเป็นไฉน

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ ให้ทาน คือ ข้าว น้ำ ผ้า ยาน ดอกไม้ ของหอม เครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่พัก และเครื่องประทีปแก่สมณะหรือพราหมณ์ เขาให้สิ่งใด ย่อมหวั่งสิ่งนั้น เขาเห็นกษัตริย์มหาศาล พราหมณ์มหาศาล หรือคฤหบดีมหาศาล ผู้เอิบอิ่มพรั่งพร้อมบำเรออยู่ด้วยกามคุณ ๕ เขามีความปรารถนาอย่างนี้ว่า โอหนอ เมื่อตายไป ขอเราพึงเข้าถึงความเป็นสหายของกษัตริย์มหาศาล พราหมณ์มหาศาล หรือคฤหบดีมหาศาล เขาตั้งจิตอธิษฐาน นึกภาวนาอยู่ จิตของเขานึกน้อมไปในทางเลว ไม่เจริญยิ่งขึ้น เมื่อตายไป เข้าย่อมเข้าถึงความเป็นสหายของกษัตริย์มหาศาล พราหมณ์มหาศาล หรือคฤหบดีมหาศาล แต่ข้อนั้นเรากล่าวว่าเป็นของมีศีล ไม่ใช่ของผู้ทุศีล

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความปรารถนาแห่งใจของบุคคลผู้มีศีล ย่อมสำเร็จได้เพราะจิตบริสุทธิ์

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ส่วนบุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมให้ทาน คือ ข้าว น้ำ...เครื่องประทีป แก่สมณะหรือพราหมณ์ เขาให้ส่งใดย่อมหวังสิ่งนั้น เขาได้สดับมาว่า เทวดาชั้นจาตุมมหาราชมีอายุยืน มีผิวพรรณงาม มีความสุขมาก เขาจึงมีความปรารถนาอย่างนี้ว่า โอหนอ เมื่อตายไป ขอเราพึงเข้าถึงความเป็นสหายแห่งเทวดาชั้นจาตุมมหาราช เขาตั้งจิตอธิษฐาน นึกภาวนาอยู่ จิตของเขานึกน้อมไปในทางที่เลว ไม่เจริญยิ่งขึ้น เมื่อตายไป เขาเข้าถึงความ
เป็นสหายแห่งเทวดาชั้นจาตุมมหาราช แต่ข้อนั้นเรากล่าวว่าเป็นของมีศีล ไม่ใช่ของทุศีล ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความปรารถนา แห่งใจของบุคคลผู้มีศีล ย่อมสำเร็จได้เพราะจิตบริสุทธิ์.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ส่วนบุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมให้ทาน คือ ข้าว น้ำ... เครื่องประทีป แก่สมณะหรือพราหมณ์ เขาให้สิ่งใด ย่อมหวังสิ่งนั้น เขาได้สดับมาว่า เทวดาชั้นดาวดึงส์...ชั้นยามา...ชั้นดุสิต...ชั้นนิมนานรดี...ชั้นปรนิมมิตววัตตี มีอายุยืน มีผิวพรรณงาม มีความสุขมาก เขาจึงมีความปรารถนาอย่างนี้ว่า โอหนอ เมื่อตายไป ขอเราพึงเข้าถึงความเป็นสหายแห่งเทวดาชั้นปรนิมมิตวสวัตตี เขาตั้งจิตอธิษฐาน นึกภาวนาอยู่ จิตของเขา นึกน้อมไปในทางเลว ไม่เจริญยิ่งขึ้น เมื่อตายไป เขาเข้าถึงความเป็นสหายแห่งเทวดาชั้นปรนิมมิตวสวัตตี แต่ข้อนั้นเรากล่าวว่าเป็นของผู้มีศีล ไม่ใช่ของผู้ทุศีล ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความปรารถนาแห่งใจของคนผู้มีศีล ย่อมสำเร็จได้เพราะจิตบริสุทธิ์.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ส่วนบุคคลบางคนในโลกนี้ ให้ทาน คือ ข้าว น้ำ...เครื่องประทีป แก่สมณะหรือพราหมณ์ เขาให้สิ่งใด ย่อมหวังสิ่งนั้น เขาได้สดับมาว่า เทวดาชั้นพรหม มีอายุยืน มีผิวพรรณงาม มีสุขมาก เขาจึงมีความปรารถนาอย่างนี้ว่า โอหนอ เมื่อตายไป ขอเราพึงเข้าถึงความเป็นสหายแห่งพรหม เขาตั้งจิตอธิษฐาน นึกภาวนาอยู่ จิตของเขานึกน้อมไปในทางที่เลว ไม่เจริญยิ่งขึ้น เมื่อตายไป เขาเข้าถึงความเป็นสหายแห่งพรหม แต่ข้อนั้น
เรากล่าวว่า เป็นของผู้มีศีล มิใช่ของผู้ทุศีล ของผู้ปราศจากราคะ ไม่ใช่ของผู้มีราคะ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความปรารถนาแห่งใจของบุคคลผู้ศีล ย่อมสำเร็จได้เพราะจิตปราศจากราคะ.

ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย เหตุเกิดขึ้นแห่งทาน ๘ ประการนี้แล.

จบ ทานูปปัตติสูตรที่ ๕

วัดป่าสามแยก ศึกษาพระธรรมวินัย เบิกบุญ โอนบุญ อกหัก โดนของ ธรรมะ ธรรมทาน คลายเครียด เจริญรุ่งเรือง
//www.samyaek.com


Create Date : 18 กุมภาพันธ์ 2555
Last Update : 18 กุมภาพันธ์ 2555 20:13:51 น. 0 comments
Counter : 516 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

Budratsa
Location :
พิจิตร Switzerland

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 11 คน [?]




สวัสดีค่ะ ยินดีต้อนรับทุกๆคนค่ะ
"ดูก่อนอานนท์ บางทีพวกเธอจะพึงมีความคิดอย่างนี้ว่า ปาพจน์ (พุทธพจน์) มีพระศาสดาล่วงแล้ว พระศาสดาของพวกเราไม่มี ข้อนี้พวกเธอไม่พึงเห็นอย่างนั้น ธรรมก็ดี วินัยก็ดีอันใดอันเราแสดงแล้ว ได้บัญญัติไว้แล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาแห่งพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา" เล่มที่ ๑๓ : พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ หน้าที่ ๓๒๐
Friends' blogs
[Add Budratsa's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.