พระเครื่อง : แหล่งข้อมูลบทความพระเครื่อง เครื่องรางของขลัง และวัตถุมงคล
Group Blog
 
<<
กรกฏาคม 2555
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
293031 
 
13 กรกฏาคม 2555
 
All Blogs
 

พระภควัมบดี พระปิดตา สุดยอดทางคงกระพัน แคล้วคลาด เมตตามหานิยม

พระภควัมบดี พระปิดตา สุดยอดทางคงกระพัน แคล้วคลาด เมตตามหานิยม



ถ้าพูดถึงบรรดานักนิยมพระเครื่องนั้นส่วนมากเพียงแต่เรียนรู้ว่า  พระภควัมบดีหรือที่เรา ๆ นิยมเรียกกันว่าพระปิดตา  หรือปิดทวารทั้งเก้านั้น  ท่านเป็นพระวัดไหน?  คณาจารย์องค์ใดเป็นผู้สร้าง? ลักษณะสำคัญเป็นอย่างไร เนื้อหาและราคาควรจะเล่นและให้เช่าในราคาเท่าไร  เรารู้จักกันดีด้วยกันทุกคน  แต่ถ้าใครจะมาถามเราถึงความเป็นมาและเป็นไปถึงกำเนิดการสร้างการถือรูปคติ  มาจากไหน ความเป็นมาและเป็นไปอย่างไร  เราส่วนมากเก้าในสิบคนนั้น  ตอบไม่ได้  และยิ่งไปกว่านั้นอีก เมื่อพบกับปัญหาที่ว่า  พระปิดตา ปิดทวารทั้งเก้านั้น  เขาห้ามเอาเข้าบ้านโดยเฉพาะผู้ที่ทำการค้า  และหญิงที่มีครรภ์แล้วก็ยิ่งไปกันใหญ่  เกรงว่าท่านจะปิดกั้นความร่ำรวย  และปิดอะไรต่อมิไรเสียหมดสิ้น  คำถามเหล่านี้เข้าใจว่า  ท่านนักนิยมพระเครื่องส่วนมากคงได้ยินได้ฟังตามความเชื่อถือ  ตามคติโบราณผิด ๆ นี้มาด้วยกันทุกคน  ครั้นจะตอบปัญหาข้อข้องใจให้กระจ่างนั้น 

         ถ้าเราในฐานะนักนิยมพระเครื่องไม่ทราบถึงสาเหตุ กำเนิดการถือรูปตามนัยคติ เอามาสร้างนั้นเป็นมาอย่างไรก็อยากจะตอบให้ผู้ถามคลายความเชื่อตามคติโบราณ  ดังกล่าว ผู้เขียนจึงได้ถามนักเขียนรุ่นอาวุธโสซึ่งมีความรู้แตกฉานในวิชาไสยศาสตร์ผู้หนึ่ง  ได้บอกเล่าถึงความเป็นมาของพระภควัมบดี หรือ พระปิดทรวารตามตำรับโบราณมาเสนอท่านผู้อ่านดังนี้

         ในกระบวนเครื่องรางของขลังตั้งแต่โบราณกาลมาแล้วพระภควัมบดีนับว่าเป็นยอดที่สุดในบรรดาเครื่องรางของขลังทั้งหลาย  แต่ที่ทุกวันนี้พระภควัมบดีแทบจะถูกลืมไปเสียก็ได้  จะมีรู้จักก็อยู่ในวงแคบ  เนื่องจากการสร้างพระภควัมบดีนั้น  ถ้าจะสร้างให้ถูกวิธีการแบบโบราณที่แท้จริงแล้ว  เป็นการยากยิ่งนอกจากต้องหาวันที่บังคับไว้ตามตำราแล้ว  เมื่อเวลาปลุกเสกจะต้องใช้เวลาหลายวัน  และปลุกเสกด้วยคาถาบังคับเป็นพัน ๆ จบ  ท่านโบราณาจารย์ท่านบังคับไว้ว่าต้องปลุกไปจนกว่าพระจะลุกขึ้นมานั่ง  จึงจะถือว่าสำเร็จตามพิธี  เมื่อทำได้ดังนี้แล้วเป็นอันเชื่อได้ว่า  ย่อมเป็นของขลังที่สามารถคุ้มภยันตรายให้กับผู้ที่มีไว้แน่นอน 

         ก่อนที่จะแนะนำ  ให้ท่านผู้อ่านนิยมพระภควัมบดี  ผู้เขียนใคร่จะแนะนำให้ท่านผู้อ่านทราบถึงประวัติความเป็นมาของพระภควัมบดีเสียก่อน  เพื่อจะได้เกิดศรัทธาแก่ท่านผู้มีสักการะพระภควัมบดีให้ยิ่งขึ้นไปอีก

         “ควัมปติ  มหาเถโร”  ตามบาลีกล่าวว่า  พระภควัมบดีท่านได้รับการยกย่องจากสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าของเราว่า  เป็นอัครสาวกผู้เป็นเอกทัคคะผู้หนึ่งในการทรงไว้ซึ่งความเฉลี่ยวฉลาด  ในการอธิบายความแห่งธรรมที่ย่อให้พิศดารได้ยอดเยี่ยมกว่าสาวกองค์อื่นใด

         ประวัติเดิมของท่าน  ตามพระบาลีว่าท่านกำเนิดมาจาก  ตระกูลพราหมณ์ – ปุโรหิต  กัจจายนะโคตร์ของกรุงอชเชนี  นามเดิมของท่านคือ  “กาญจน์”  ที่ท่านได้ชื่อดังนี้เพราะท่านมีวรรณะงดงามดังทอง  ได้ศึกษาเล่าเรียนไตรเพทตามตระกูลจนเจนจบ  ได้เป็นพราหมณ์ปุโรหิตแทนบิดาในสมัยพระเจ้าจันทรปัตโชติ  เมื่อท่านได้ฟังธรรมเทศนาในสำนักพระศาสดาของเราแล้วก็ได้บรรลุพระอรหันต์  ต่อเมื่อภายหลังท่านได้อุปสมบทด้วยอหิภิกขุอุปสัมปทา

พระมหากัจจายนะ  เป็นผู้ที่มีพรรณ์และวรรณะ  งดงามตามพระบาลีกล่าวว่า  สุวรรณโณจวนณณัง  คือ มีผิวเหลืองดั่งทองคำ  มิว่าท่านจะไป  ณ  สถานที่ใด  เทพยดาและมนุษย์ทั้งหลายต่างพากันสรรเสริญว่า  ท่านคือพระศาสดาเสด็จมาแล้ว  เพราะเหตุที่ท่านมีรูปโฉมละม้ายเหมือนพระศาสดานั้นเอง  เมื่อเป็นดังนี้ท่านก็คิดว่า  การที่เทพยดาและมนุษย์ทั้งหลายพากันสรรเสริญท่านครั้งนี้เป็นการไม่สมควรอย่างยิ่ง  ท่านจึงกระทำอิทธิฤทธิ  นิมิตกายให้เตี้ยงลงจึงดูคล้ายท้องพลุ้ย  ปฐมเหตุครั้งนี้เองท่านโบราณาจารย์จึงได้ถือเอาปางกระทำอิทธิฤทธิเป็นรูประลึก  เช่นพระปิดตา  และพระสังกระจาย จึงก่อนกำเนิดขึ้นมา  ด้วยประการฉะนี้ 

         อันความงามแห่งวรรณะของท่านในธรรมบทยังได้กล่าวถึงความเป็นผู้มีความงามและมีเสน่ห์นิยมของท่านว่า  เมื่อครั้งพระผู้มีพระภาคเจ้าประทับแรมอยู่  ณ กรุงสารวัตถีนั้นพระมหากัจจายนะได้เดินทางไปสู่เมือโสเรยยะ  ในขณะที่ท่านกำลังเดินทางอยู่นั้นได้เดินสวนทางกับบุตรชายเศรษฐีแห่งเมืองนั้น  บุตรชายเศรษฐีได้เห็นความงามมีเสน่ห์และผิวพรรณอันเปล่งปลั่งประดุจดังทองคำมาทาบทาของพระมหากัจจายนะ  จึงรำพึงขึ้นในใจว่า  “เราอยากได้ภรรยาที่มีผิวพรรณงดงามดังพระสงฆ์สาวกองค์นี้”  แม้กระทั่งผิวพรรณควรจะงามเช่นนี้  “เพียงแต่บุตรเศรษฐีรำพึงเพียงเท่านี้  ด้วยอำนาจและอภินิหารของพระมหากัจจายนะ  บันดาลให้บุตรเศรษฐีมีนามว่า  “โสเรยยะ”  มีอันเป็นไปถึงกลายร่างเป็นเพศหญิงไปในขณะนั้นเอง

         เมื่อนายโสเรยยะรู้สึกตัวว่าได้กลายเป็นเพศหญิงไปแล้ว  มีความละอายใจจึงหลีกหนีไปจากหมู่สหายในขณะนั้น  นี้เป็นเพราะผลบาปที่ได้มีจิตล่วงเกินต่อพระมหากัจจายนะนั่นเอง  และภายหลังนายโสเรยยะเมื่อได้กลายเพศเป็นหญิง  (ไม่ใช่การผ่าตัดแปลงเพศตามข่าวในหน้าหนังสือพิมพ์)  และได้เป็นภริยาของเศรษฐี  แห่งเมืองตักศิลา
จนกระทั่งเกิดบุตรด้วยกันสองคน

         กาลต่อมาเมื่อได้พบสหายเก่าและได้ทบทวนความหลังให้ฟังจนสหายยอมเชื่อถือและแนะนำให้นายโสเรยยะไปหาพระมหากัจจายะ  ซึ่งขณะนั้นอยู่  ณ  เมืองตักศิลาพอดี  เมื่อได้สารภาพผิดถึงอกุสลจิตของตนแต่เมื่อครั้งเป็นเพศชายต่อท่านแล้ว

พระมหากัจจายนะ ได้ทราบท่านได้กล่าวอภัยให้นายโสเรยยะจึงกลายเพศกลับเป็นชายดังเดิม  ณ  บัดนั้นเองเมื่อนายโสเรยยะเห็นอณิสงฆ์ของพระมหากัจจายนะจึงเกิดศรัทธาประสาทะขอบรรพชาในสำนักของท่านมหากัจจายนะนั่นเองนี่เป็นเพียงประวัติที่ผู้เขียนย่อมาจากพระธรรมบทเท่านั้น  ถ้าจะพรรณนาให้เต็มตามพระธรรมบทแล้วเกรงว่าท่านผู้อ่านจะเข้าใจว่าผู้เขียนมาเล่านิทานชาดกให้ท่านฟังเสียมากกว่า 

         จะขอกล่าวถึงอิทธิฤทธิ์ของพระภควัมบดีตามหัวเรื่องที่แนะนำไว้  แต่ต้องขอกล่าวอีกสักนิด  เพราะเหตุที่พระมหากัจจายนะมีรูปงามเป็นเสน่ห์นิยม – เมตตาต่อผู้พบเห็นจนต้องเป็นเหตุให้นายโสเรยยะบุตรเศรษฐีต้องกลายเพศเป็นหญิงดังกล่าวแล้ว  ชนทั้งหลายจึงขนานนามท่านว่า  “ภควัมปติ”  ซึ่งมีความหมายว่ามีความงามคล้ายพระผู้มีพระภาคเจ้า

         บางท่านอาจจะเข้าใจว่าพระภควัมบดีนั้นเป็นพระอรหันต์อีกองค์หนึ่งและพระมหากัจจายนะเป็นอีกองค์หนึ่งนั้น  แท้จริงแล้วก็คือองค์เดียวกันนั่นเอง  เพราะในพระคาถาต่าง ๆ ใช้  “ควัมปติ”  ทั้งนั้นไม่มีกล่าวนามมหากัจจายนะเลย  เมื่อเป็นเช่นนี้จึงเป็นปฐมเหตุให้เข้าใจสับสนไปก็ได้  ฉะนั้นจึงขอผู้อ่านได้โปรดเข้าใจตามนัยนี้ด้วย

แนะนำประวัติโดยย่อของพระมหากัจจายนะหรือพระภควัมปติ  หรือที่เรียกกันว่าทั่ว ๆ ไปว่า  “พระภควัม”ต่อท่านแล้วต่อไปนี้ผู้เขียนใคร่ขอจะกล่าวถึงความเป็นมาวิธีการสร้างและอิทธิฤทธิ์  และวิธีบูชาขอบารมีจากพระภควัมนะตรัย

         ตามที่ผู้เขียนได้ศึกษาค้นคว้าและได้รับประสิทธิ์ประสาทมาจากอาจารย์เพื่อแนะนำให้ท่านผู้ที่สนใจในเรื่องเครื่องรางของขลังได้ทราบว่า  ยังมีเครื่องรางของขลังอีกชนิดหนึ่ง  ซึ่งโบราณาจารย์ได้สรรเสริญคุณานุภาพของพระภควัมบดีไว้ในวรรณดีไทยเรื่องขุนช้างขุนแผนหลายตอนด้วยกัน  พอจะยกมาเล่าสู่ท่านผู้อ่านฟังดังนี้

           “กล่าวถึงทัพอัสดรตรีเพ็ชรกล้า
            อันแม่ทัพคนนี้มีศักดา
            อยู่คงศาสตราวิชชาดี
            แขนขวาสักธงเป็นองค์นารายณ์
            แขนซ้ายสักชาติเป็นราชสีห์
            แขนขวาหมึกสักพยัคฆี 
            ขาซ้ายสักหมีมีกำลัง
            สักอุระรูปพระโมคคลา
            ภควัมปิดตานั้นสักหลัง
            สีข้างสักอักขระนะจังงัง
            ศีรษะฝังพลอยนิลเม็ดจินดา
            ฝังเข็มเล่มทองไว้สองไหล่
            ฝังเพชรเม็ดใหญ่ไว้แสกหน้า”

         ตามตำราที่ได้กล่าวถึงการสร้างพระภควัมบดีและบังคับไว้ว่า  ต้องสร้างด้วยรากรักซ้อนหรือรากหิงหายผีเท่านั้น  ถ้าจะสร้างด้วยรากรักซ้อนแล้วจะต้องมีพระธาตุตามบังคับไว้ว่า  ให้บรรจุในองค์พระภควัมบดีหรือ  พระธาตุสาริบุตรเจ้าและพระธาตุพระสิวลีเถระเจ้า บางท่านอาจจะสงสัยว่า  ทำไมจึงจะต้องเอาอรหันต์ธาตุทั้งสององค์นั้นมาบรรจุอยู่ในองค์พระภควัมบดีด้วยเราไทยแต่โบราณนั้นมักมีคติยึดถือต่าง ๆ ดังนั้นเมื่อคิดสร้างพระภควัมบดีแล้วจึงให้มีความยอดเยี่ยมสามประการมารวมอยู่เป็นหนึ่งคือ

            1.ความงาม
            2.ความมีสติ  มีปัญญาหยั่งรู้
            3.ความร่ำรวยไม่ขาดลาภ

          ความงามของพระภควัมบดีท่านได้รับการยกย่องจาก  Hisosiete  ของยุคนั้นว่ามีความงาม  มีเสน่ห์นิยมชวนให้หลงใหล  จนบางคนเมื่อผ่านพบเห็นท่านเกิดอกุศลจิตไปต่าง ๆ นานาดังกล่าวแล้ว ความมีสติปัญญาของพระสารีบุตรเถระเจ้าท่านได้รับการยกย่องจากพระบรมศาสดาของเราว่า  เป็นเอกทัคคะเนด้านมีสติปัญญาเฉลียวฉลาดหาผู้รู้เสมอเหมือนมิได้

         ความร่ำรวยไม่ขาดลาภของพระสิวลีเถระเจ้าพระองค์นี้  ในสมัยนี้ยังมีผู้ต้องการบารมีของท่านมาเป็นที่พึ่งมากขึ้นดังจะขอแทรกประวัติการท่านมาลงสักเล็กน้อยเพื่อบางท่านอาจจะมีรูปหรือพระธาติของท่านไว้บูชาจะได้เพิ่มศรัทธาให้ยิ่งขึ้นไปอีก

         พระสิวลีเถระเจ้าหรือเรียกอย่างเราๆว่า “พระฉิม” บ้าง “พระฉิมพลี” บ้าง พระอรหันต์เจ้าองค์นี้เมื่อยังไม่บรรพชาในสำนักพระศาสดานั้น ท่านอยู่ในราชสกุลศากยราช พระมารดาคือ พระนางสุปปวาสา  ซึ่งเป็นพระราชธิดาแห่งสกุลโกลิยะวงศ์อภินิหารของพระสิวลีเถระเจ้ามีมาตั้งแต่ถือปฏิสนธิในครรภ์พระมารดานั้น  มีฝูงชนนำลาภสักการมาถวายพระมารดาเสมอ ๆ ทำให้พระมารดาอุดมสมบูรณ์มากแม้จะบริจาคทานวัตถุสิ่งใดก็ตาม  วัตถุแห่งทางนั้นก็มิได้สิ้นไปกลับอุดมสมบูรณ์เช่นเดิม 

         เมื่อได้ปฏิสนธิอยู่ในครรภ์พระมาดาได้ครบ  7  ปี  7  เดือน  7  วัน  จึงประสูติ  พระคณาญาติทั้งหลายได้ขนานนามว่า  “สิวลีกุมาร”  และเมื่อเจริญอายุขึ้นได้ทรงผนวชอยู่ในสำนักพระสาริบุตร  ท่านได้บรรลุอรหันตผลในขณะปลงผมอยู่  ท่านเป็นผู้บริบูรณ์ด้วยปัจจัยสี่ประการ  พระภิกุทั้งหลายที่อยู่รวมกับท่านก็พลอยบริบูรณ์ด้วยปัจจัยลาภเพราะบารมีของท่านไปด้วย  แม้แต่องค์พระศาสดาก็ยังทรงยกย่องว่า  ท่านเป็นเลิศด้วยลาภไม่มีสาวกองค์ใดเสมอเหมือน

         ดังนั้นเมื่อโบราณาจารย์คิดสร้างพระภควัมบดีจึงถือคติตามนัยนี้  โดยบรรจุพระธาตุของท่านไว้ในองค์พระภควัมบดีด้วยองค์หนึ่ง การสร้างพระภควัมบดีนี้ควรจะทำให้ถูกต้องตามพิธีกรรมของโบราณสืบมา จึงจะทรงความศักดิ์สิทธิ์มีคุณภาพอเนกประการ การสร้างพระภควัมบดีนั้น  ประการแรกท่านจะต้องหารากรักซ้อนมาแกะเป็นรูปพระปิดตาสูงประมาณ องค์คุลีหนึ่ง  แล้วคว้านใต้ฐานองค์พระให้กว้างมีขนาดพอจะบรรจุวัสดุที่กำหนดไว้คือ 1. ยอดรักซ้อน  3  ดอก  2. ยอดสวาท  3  ยอด  3. ยอดกาหลง  3  ยอดนำมาบดรวมกันให้ละเอียด  4. พระ-
ธาตุพระสารีบุตรและสิวลี  5. กระดาษว่าวลงยันต์ตามตำราบังคับไว้ 

         จึงนำผงยอดไม้ทั้ง  3 ประการและธาตุที่กล่าวแล้วมาห่อด้วยกระดาษว่าวที่ลงอักขระเลขยันต์ไว้แล้ว  บรรจุเข้าไปใต้ฐานองค์พระภควัมบดี  แล้วอุดด้วยชันโรงใต้ดินให้แน่น เมื่อเวลาจะทำการสร้างและบรรจุควรหากฤษ์ยามที่ดีจะได้ทรงความศักดิ์สิทธิ์ยิ่งขึ้น  และตั้งเครื่องกยาสังเวยบูชาเทพยดาและบูรพาจารย์ผู้ประสิทธิ์ประสาทสรรพวิทยาคมเสียก่อน  เมื่อไดเวลาตามฤกษ์กำหนดแล้วอาราธนาพระสงฆ์  9  รูป  มาเจริญชัยมงคลคาถาในขณะบรรจุ  เสร็จเรียบร้อยแล้วจึงตั้งพิธีปลุกเสกโดยแช่องค์พระภควัมบดีลงในน้ำมันหอม  9  รส  ในพระอุดบสถอีก  3  วัน  3  คืน  จนเกิดอุคคหะนิมิตรหรือปลุกเสกจนองค์พระภควัมบดีลุกขึ้นนั่งหมดทุกองค์แล้วนั้นแหละจึงจะสำเร็จตามพิธี  รู้สึกเต็มไปด้วยความยากไม่เหมือนท่านสารพัด  “อาจาน”

         ในยุคนี้ท่านทำเป็นของง่าย ๆ เสียหมด  จึงมีแต่ปริมาณไร้คุณภาพ เมื่อท่านได้สร้างและบรรจุถูกต้องตามพิธีกรรมที่ผู้เขียนกล่าวมานี้แล้ว  ย่อมทรงคุณานุภาพนับประการทีเดียว สิทธิการิยะ  ท่านกล่าวไว้ว่า  “ผู้ใดได้สร้างพระภควัมบดีที่กล่าวมาแล้วจะเป็นผู้ที่จำเริญด้วยสวัสดิมงคลที่สุดมิได้จะเป็นผู้เลิศล้ำปราศจากโรคภัยภยันตรายทั้งปวง  และสมบูรณ์ด้วยลาภยศ  เมื่อเข้ารณรงค์สงครามแม้ลูกปืนจะมาเป็นห่าฝนมิอาจจะระคายผิวผู้นั้นเลย  ถ้ากำหราบศัตรูให้เขียนชื่อศัตรูนั้นลงบนกระดาษเอาพระภควัมบดีตั้งทับไว้และจำเริญด้วยพระคาถาพระภควัมบดี  ศัตรูนั้นมิอาจคิดร้ายเราได้เลย 

         ถ้าเข้าหาเจ้านายให้เอาน้ำมันหอมที่แช่ปลุกเสกพระภควัมบดีนั้นมาทาหน้าอธิษฐานจงดีแล้วไปเถิด  เจ้านายเห็นหน้าแล้วเกิดเมตตายิ่งนัก  เวลาค่ำให้จุดธูป
เทียนบูชาทุกวันจะคุ้มกันภัยสารพัด  อันพระภควัมบดีนี้ผู้ที่เป็นสัมมาชนจึงจะรักษาไว้ได้และจะได้พระบารมีแห่งพระภวัมบดีคุ้มครองผู้มีสักการะจะที่สุด ก่อนที่จะทำการบรรจุพระภควัมบดีท่านให้ใช้พระคาถานมัสการพระรัตนไตรและครูบาอาจารย์  เพื่อความประสิทธิในการกระทำดังนี้

         อรหัง  สัพเพ  เทวตา  ( 3 จบ)  พุทธายะ  ธัมมายะ  สังฆายะ  สหัสสะโกฏิเทวานัง  มังรักขันตุ  สัพพะทา  วันทิตวา  สิระสาพุทธัง  ชัยยะลาภัง  ภวันตุเม  วันทิตวา  สิระสาสังธัมมัง  ชัยยะสุขัง  ภวันตุเม  วันนิตวา  สิริสาสังฆัง  โสตถี  สัพพะลาภัง  ภวันตุเม  (  3  จบ)  อนุตตะโร  พระคาถานี้ให้ภาวนาตามกำลังวันที่ภาวนาพระคาถาทั้งปวง  นะมะตีติ  นะลิราชา  ติยาอะมะ  สัดคะเตโย  สัพพะนิรัน  ตะระลาภา  สัพพะสุกขา  สัมมาวะหา

พระคาถานี้ภาวนาขณะบรรจุ

         นะสุวัณโณ  นมัสวิตวา  โมกาโรมะ  ณิโชตะกัง  พุทธกาโร  สังขะเมวะจะ  ธากาโรสุริยังเอวะ  ยะกาโร  มุกขะเมวะจะ  สะทะมะฆัง  มังมะทะสะ  กะระณี  ยะเมตตัง  สัตตา  เมตตา  กรุณา  มุฑิตา  อุเบกขา  จิตตั้ง  จิตตั้ง  ชัยยะนารี  จักกะอัตติราชา  มะโนโจรัง  ไมตรีจิตตัง

พระคาถานี้เศก 108 คาบ

         ทิสาวาติปาโมกขัง  ฆะเฎสิฆะเฎสิ  กิงการะณาฆะเฎสิ  อะหังปีตัง  ชานามิ  หัตเถหิ  อัตเถหิ  มาระพันธัง  มาระพันธัง  มาระปาทัง  มาระปาทัง  ติฎฐาหิ  ติฎฐาหิ  ภัคคะภัคคา  อิติภควา  พุทโธโลเก

พระคาถานี้ใช้สำหรับปลุกเสกพระภควัมบดี

         ธัมมะจักกัง  ปะทังสุตาวา  พุทฌิติวา  อัตตังปะทัง  สันติเก  อะระหาโลเก  โลกานัง  หิตะการะณา  ภันเตควัมปติ  นามะตีสุโลเกสุปากะโต  พรหมปุตโตมหาเถโรอะระโห เชฎฐะโกมุนี  นัตถิเถโร  สะโมอินทะคันทัพพา  อะสุราเทวา  สักโกพรหมาภิปูชิโต  นะโมพุทธัสสะควัมปะติสะ  นะโม  ธัมมัสสะควัมปะติสะ  นะโมสังฆัสสะควัมปะติสะ
สุกขา  สุขะวะรัง  ธัมมังธัมมะจักกัง  ปะวะรัง  วะรัง  นิฎฐิตัง  สิวลีจะมหาเถโร  ยักขา  เทวาภิปูชิโต  โสระโหปัจจะยาทิมหิ  อะหังวันทามิตังสะทา  สิวลีจะมหาเถโร  เทวะตานะระปูชิโต  โสระโหปัจจะยาทิมหิ  มหาลาภภังกะโรนตุเม  ลาเภนะ  อุตตะโมโหติ  โสระโหปัจจะยาทิมหิ  มหาลาภัง  สะทา  โสตถีภวันตุเม  ราชะปุตโตจะโยกะโร  สิวะลีอิติสุคะโต  ลาเภนะอุตตะโมโหติ  ยังยังชนะปะทัง  ยาติ  นิคคะ  เมราชะธานิโย  สัพพัตกะปูชิโรโหติ  เถรัสสาปาเทวันทามิ  เถรัสสานะภาเวนะ  สัพพะลาโภภวันตุเม  สิวลีนันนทะ  สิวะลีเถรัสสะ  เอตคะตังคุณัง  สัพพะธะนัง  สุปติฎฐิตัง  สาริกะธาตุ  พุทธรูปัง  อะหังวันทามิ  สัพพะทานะมามิ  สัตถะเถรัง  มหาเตชัง  มหาตัปปัง

        พระคาถาทั้ง  4  บทนี้ใช้สวดบูชาพระภควัมบดีทุกเช้าค่ำ  จะจำเริญด้วยลาภยศสักการะหาที่สุดมิได้เลย ขอเดชานุภาพทั้งมวลของพระภควัมบดี  จงบังเกิดมีกับผู้มีจิตศรัทธาบูชาพระภควัมบดีจงทุกทิวาราตรีกาลเทอญ

พระภควัมบดี หรือ พระปิดทวารทั้งเก้านั้นจะเห็นได้ว่า  ตามตำรับตำราโบราณช่างเต็มไปด้วยความยุ่งยากลำลากเป็นที่สุด  นอกจากผู้ที่มีศรัทธาประสาทจริง ๆ เท่านั้นจึงจะสร้างได้สำเร็จ  ในยุครัตนโกสินทร์นี้คณาจารย์ที่ได้สร้างพระภควัมบดีไว้นั้นพอมีอยู่บ้างแต่ก็น้อยเต็มที  เช่น  สมเด็จพระสังฆราช  (อยู่)  ญาโนทัย,  พระพุฒาจารย  (มา)  สังฆวารา  (ชุ่ม)  วัดพลับ  และอาจารย์เทพ  สาริกบุตร  เป็นต้น 

         เมื่อความยุ่งยากในการสร้างพระภควัมบดีเช่นดังกล่าวแล้ว  คณาจารย์ต่างก็พากันย่นย่อวิธีและวัสดุให้สั้นเข้า  เช่น  พระธาตุสารีบุตรและพระสิวลีหาไม่ได้เอากระดาษว่าวมาลงพระนามบรรจุแทน  ตลอดจนกระทั่งเอาผงมหาราช,ปัทมัง,  อิถิเจ  และผงพระพุทธคุณต่าง ๆ ผสมน้ำมันผสมรักเป็นตัวประสานอัดเป็นพิมพ์พระภควัมแทนการสร้าง  ตามตำรับตำรา  แต่โบราณดังกล่าวแล้วแทน  ตลอดจนสร้างขึ้นจากทัพสัมภาระต่าง ๆ เช่น  นวโลหะ, ปัญจะโลหะ, สำริด,  เมฆพัด, เมฆสิทธิ์, ตะกั่ว ฯลฯ  เท่าที่เราท่านเห็นและนิยมสะสมกันอยู่ตราบเท่าทุกวันนี้






 

Create Date : 13 กรกฎาคม 2555
0 comments
Last Update : 13 กรกฎาคม 2555 0:35:56 น.
Counter : 15369 Pageviews.


amulet108
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 96 คน [?]








Friends' blogs
[Add amulet108's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.