พระเครื่อง : แหล่งข้อมูลบทความพระเครื่อง เครื่องรางของขลัง และวัตถุมงคล
Group Blog
 
<<
กรกฏาคม 2555
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
293031 
 
23 กรกฏาคม 2555
 
All Blogs
 

ประคำ ประวัติลูกประคำ ตำนานการสร้างเม็ดประคำ


ประคำ เมตตา แคล้วคลาด คุ้มครองป้องกันภัย

         “ลูกประคำ”  มีความหมายตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน  พ.ศ.  2493  ว่า  ลูกกลม ๆ ที่ร้อยด้วยเชือกเป็นสิ่งสำหรับชักเป็นคะแนนในเวลานั่งบริกรรมภาวนา แต่ทว่า  “ลูกประคำ”  ตามความหมายและความรู้สึกของนักนิยมสะสมพระเครื่อง -เครื่องรางของขลังนั้นจะมีความหมายที่นอกเหนือไปจากคำจำกัดความ  ดังกล่าวแล้ว  นั่นก็คือ  “ลูกประคำ”  ยังเป็นเครื่องรางของขลังอีกชนิดหนึ่งที่นิยมพกพา  หรือคล้องคอ  เพื่อขอพุทธานุภาพในการคุ้มครองป้องกันภัย

         สำหรับในด้านศาสนา  ถือกันว่าเป็นเครื่องยังจิตใจ  ให้เข้าสู่ภาวนาสมธิ  เพื่อฝึกจิตตานุภาพให้แข็งแรง  อดทนต่อการก่อกวนแห่งกิเลสทั้งปวง  ที่มีให้พ้นไป ในทางพระเวทย์  ถือว่า  “ลูกประคำ”  เป็นเครื่องกำหนดคาบการภาวนาในการฝึกจิตหรือร่ายพระเวทย์วิทยาคมทั้งหลาย  ให้เกิดพลังอำนาจขึ้นอีกเป็นทวีคูณ  และในด้านวิชายุทธโบราณของจีนหรือกำลังภายในนั่นเอง  ซึ่ง  “ลูกประคำเหล็ก”  ของหลวงจีนวัดเส้าหลินเอามาเป็นเครื่องป้องกันตัวจากคมอาวุธได้  และยังใช้ในการสวดภาวนารวมไปกับบักเต้า  (เครื่องเคาะจังหวะ)  ได้อีกด้วย

         ผู้อ่านคงจะเห็นด้วยกับผู้เขียนว่า  พระกิ่งธิเบต  และพระกิ่งนอก  มักจะสร้างพระไภสัชยะ  คุรุมีประคำรอบพระศอไว้ด้วย  ส่วนพระกิ่งของไทยเราได้ดัดแปลงเม็ดประคำให้เป็นริ้วจีวรเป็นเส้นลวดเกลี้ยงแทนเพราะประคำเป็นคตินิยม  มหายาน  และพราหมณ์  จะสังเกตเห็นพระบรมศาสดานั้น  ไม่ทรงชักและใช้ประคำ  เหตุเพราะพระองค์ทรงสำเร็จและหยั่งรู้เหนือกว่าการภาวนาชักประคำมากมายนัก

        “ลูกประคำ”  นั้นแพร่หลายมาตั้งแต่กรุงศรีอยุธยาในตำรับวัดป่าแก้ว  ของสมเด็จพระนพรัตน์นั้นระบุว่า  “ได้มีการสร้างประคำดาบปราบหงสาวดี  ถวายแด่พระบาทสมเด็จพระนเรศวรมหาราชเพื่อทรงออกศึกกู้ชาติในยามที่ทรงสิ้นพระชนม์ชีพ  ณ  เมืองหาง  ก็ทรงมีประคำคล้องติดพระศอ  อยู่อย่างแนบแน่น  เพราะทรงนับถือสมเด็จพระนพรัตน์เป็นอาจารย์องค์สำคัญ”

         “ลูกประคำ”  มีมาตรฐานกำหนดเม็ดประคำ  นับจากลูกปลายล่างสุดจนจรดปมที่ผูกมัดร้อยด้วยประคำรวมกันได้  108  เม็ด  จำนวน  108  เม็ดนี้ถือว่าเป็นเลขมงคลทั้งพุทธ  และพราหมณ์ไปจนถึงอาถรรพณ์เวทย์  พระอรหันต์  108  รูป  สวดสาธยายพระคาถา  108  จบ  ว่า  108  ชนิด  ถ้าพูดถึงอะไรก็ตามที่ลงด้วย  108  แล้วจะขลังดีขึ้นอีกเป็นทวีคูณ

         “ลูกประคำ”  นั้นตามตำรับโบราณจะต้องใช้ว่านมงคล  108  มาบดผสมกับเครื่องยาจินดามณีเสียครั้งหนึ่งก่อน  จึงจะโยงยึดด้วยรักหรือปูนนั้น  และจึงเจาะรูตรงกลาง  ด้วยการเอาแผ่นเงินหรือแผ่นทองมาลงอักขระม้วนเป็นตะกรุด เสียบเข้าไปเป็นแกนกลางสำหรับร้อยเชือกส่วนเชือกนั้นต้องใช้ไหมเจ็ดสีมาควั่นเป็นเชือกร้อยตรงปลายสุด  ปั่นให้ฟูและถักเป็นพู่ให้สวยงามแต่ต่อมาได้เปลี่ยนมาเป็นการใช้ผงใบลาน  เผาคลุกรัก  และวัสดุอื่นจนในปัจจุบันนี้กลายเป็นประคำชนิดต่าง ๆ ทั้งไม้จันทน์  ทั้งพลาสติก  และลูกประคำสำเร็จรูป

          ยังมีประคำอีกอย่างหนึ่ง  ซึ่งมีขนาดเล็กเรียกกันว่า  “ประคองแขน”  คือขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง  พอที่จะสวมข้อมือ  แล้วรูดขึ้นไปไว้บนต้นแขนคล้ายกับเชือกคาด  และประคำมือ  คือมีขนาดเล็กสวมที่มือไม่ได้  แต่เอาสวมไว้กับตัวนิ้วโป้ง  ใช้สำหรับนักดาบ  ท่านผู้อ่านท่านใดได้เคยไปนมัสการ  หลวงพ่อเนื่อง  วัดจุฬามณี  จะสังเกตเห็นว่าท่านมีอยู่พวงหนึ่ง  และติดมือของท่านอยู่เสมอใช้นั่งทำภาวนาของท่านและยังมีของ  สำนักวัดมะขามเฒ่า  หลวงปู่ศุข  นั่นเองที่ขึ้นชื่อลือชามากเพราะมีข้าราชการขอให้ท่านสร้างให้อย่างมากมายถือได้ว่าเป็นเครื่องรางที่สร้างยากและมีอานุภาพมาก

ส่วนใหญ่ประกอบด้วยวัสดุที่ใช้ทำ  ดังนี้

         1. กะลามะพร้าวตาเดียว  กลึงเป็นรูปกลมเจาะรูตรงกลาง
         2. งาช้าง  (งากำจัด)  กลึงเป็นรูปกลม  เจาะรูตรงกลาง
         3. เขี้ยวหมู  เขี้ยวเสือ  เขี้ยวหมูตัน  และเขี้ยวจระเข้  นำมากลึกเป็นรูปกลมเจาะรูตรงกลาง

         เมื่อนำสรรพสิ่งที่ว่ามารวมกันแล้วท่านว่ามีศิริอานุภาพของประคำใช้ป้องกัน  เขี้ยวงาศาตราวุธ  และป้องกันการกระทำคุณไสยใช้ภาวนาเป็นคาถาแคล้วคลาด  และนำติดตัวเป็นเสน่ห์ ส่วนการร้อยเรียงจะมีกะลาเป็นส่วนใหญ่  คั่นด้วยงาเขี้ยวจนครบ  108  เม็ด  จะคั่นเหมือนกันทุกพวง  และได้รับความนิยมจากนักสะสมพระเครื่องของขลังเป็นอย่างยิ่งจนทุกวันนี้  ส่วนราคาเป็นหลักหมื่นขึ้นไป  ของเทียมก็มีแต่งา  และความแห้งของกะลาไม่มี  ต้องพิจารณาหน่อย  และที่ปลายพวงส่วนใหญ่จะเป็นงากลึง

         คาถาอาราธนาไม่มีเฉพาะเจาะจง  แต่อาจจะใช้แบบรวม  คือ  ตั้งนะโม  3  จบ  และระลึกถึง  คุณพระพุทธ  พระธรรม  พระสงฆ์  และบิดามารดา  ครูบาอาจารย์  ก่อนจะนำติดตัวให้ว่า  สาธุพุทธยัง  อาราธนานัง  ธัมมังอาราธนานัง  สังฆังอาราธนานัง  อุกาสะ  อาราธนานัง  อิมังกายะพันธะนัง  อธิษฐาน  มิ”




 

Create Date : 23 กรกฎาคม 2555
0 comments
Last Update : 23 กรกฎาคม 2555 0:13:54 น.
Counter : 16263 Pageviews.


amulet108
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 96 คน [?]








Friends' blogs
[Add amulet108's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.