Group Blog
 
 
ตุลาคม 2548
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
3031 
 
6 ตุลาคม 2548
 
All Blogs
 
ปัญญาชนสยาม

จิตร ภูิมิศักดิ์
เกิดเมื่อวันที่ ๒๕ กันยายน พ.ศ. ๒๔๗๓ ที่ตำบลประจันตคาม จังหวัดปราจีนบุรี เป็นบุตรของนายศิริ ภูมิศักดิ์ และนางแสงเงิน

พ่อของจิตรมีอาชีพเป็นนายตรวจสรรพสามิต ในวัยเด็กจิตรจึงย้ายที่อยู่และที่เรียนบ่อย จิตรเข้าเรียนชั้นประถมที่โรงเรียนประจำจังหวัดกาญจนบุรี ในปี พ.ศ. ๒๔๘๔ - ๒๔๘๙ บิดาย้ายไปรับราชการที่จังหวัดพระตะบอง จิตรได้เข้าเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔ ที่นั่น และได้มีโอกาสศึกษาภาษาฝรั่งเศสและเขมรจนเชี่ยวชาญ

เรียน ต่อมาบิดาและมารดาของจิตรได้แยกทางกัน ภายหลังสงครามอินโดจีน ไทยต้องคืนจังหวัดพระตะบองให้กับเขมร มารดาของจิตรได้ย้ายไปทำงานที่ลพบุรีและหาเงินส่งลูกเรียนที่กรุงเทพฯ จิตรเข้าเรียนต่อที่โรงเรียนวัดเบญจมบพิตร ระหว่างเรียนที่โรงเรียนวัดเบญจมบพิตรนี้ จิตรมักถูกตราหน้าว่าเป็นเขมรจากครูอยู่เสมอ หลังจากนั้น จิตรได้เข้าเรียนที่โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาและสอบไล่ได้เตรียมสอง (ม.ศ. ๕) ในปี พ.ศ. ๒๔๙๓ และในปีเดียวกันนั้นเอง จิตรสอบเข้าเรียนต่อที่คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ขณะเรียนอยู่ีที่คณะอักษรศาสตร์ จิตรได้รับตำแหน่งเป็นสาราณียกรของมหาวิทยาลัย มีหน้าที่จัดทำหนังสือมหาวิทยาลัยฉบับ ๒๓ ตุลาฯ จิตรได้จัดทำหนังสือในรูปแบบที่แหวกแนวกว่าที่เคยทำมาทุกปี โดยพยายามชี้ให้เห็นสภาพที่แท้จริงของประชาชน และค่านิยมอันไม่ถูกต้อง จากเหตุนี้ ทำให้เกิดการสอบสวนจิตร จิตรถูกกลุ่มนิสิตคณะวิศวกรรมศาสตร์จับ "โยนบก" ลงจากเวทีหอประชุม ทำให้ได้รับบาดเจ็บ คณะกรรมการมหาวิทยาลัยยังได้มีมติลงโทษจิตร โดยให้พักการเรียนเป็นเวลา ๑ ปี ระหว่างถูกพักการเรียน จิตรได้ไปสอนหนังสือและทำงานกับหนังสือพิมพ์ "หนังสือพิมพ์ไทยใหม่" ช่วงเวลานี้ เป็นเวลาที่จิตรได้สร้างสรรค์ผลงานอันมีคุณค่าต่อประชาชน และวงวิชาการไทย

ในปี พ.ศ. ๒๔๙๘ จิตรกลับเข้าเรียนต่อที่จุฬาฯ จิตรได้รวมกลุ่มกับเพื่อนนิสิตที่มีแนวคิดก้าวหน้า ทำกิจกรรมที่เน้นหนักไปในการศึกษาและต่อมานำไปสู่การปฏิบัติ แนวทางการเคลื่อนไหวของกลุ่มกิจกรรมนิสิตของจิตร คือการกระตุ้นให้นักเรียนนักศึกษามีความรักชาติ รักประชาธิปไตย สนใจการเมือง พิทักษ์และส่งเสริมวัฒนธรรมอันดีงามของชาติ ค้านระบบอาวุโส ลัทธินิยมคณะ และกระตุ้นให้นักศึกษาในมหาวิทยาลัยและวิทยาลัยต่าง ๆ เกิดความสามัคคี โดยได้พยายามจัดตั้ง "สหพันธ์นักเรียนนิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย" ขึ้น

งาน ในปี พ.ศ. ๒๕๐๐ จิตรจบการศึกษาจากคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จากนั้นได้เข้าทำงานเป็นอาจารย์สอนหนังสือที่วิทยาลัยครูเพชรบุรี และเป็นอาจารย์สอนวิชาภาษาอังกฤษที่มหาวิทยาลัยศิลปากร ในขณะเดียวกัน จิตรเข้าเรียนต่อปริญญาโทที่สถาบันค้นคว้าเรื่องเด็กของยูเนสโก ที่มหาวิทยาลัยประสานมิตร จากแนวความคิดของจิตร หนังสือรับน้องใหม่ของศิลปากรจึงออกมาแหวกแนวเช่นเดียวกับหนังสือของจุฬาฯ ในหนังสือเล่มนี้ บทความของจิตร "ศิลปเพื่อชีวิต" ภายใต้นามปากกาว่า "ทีปกร" ได้รับการตีพิมพ์เป็นครั้งแรก

วันที่ ๒๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๐๑ จิตรถูกจับพร้อมกับบุคคลอื่น ๆ ที่ต่อสู้เืพื่อประชาชนในข้อหา "มีการกระทำอันเป็นคอมมิวนิสต์" และ "สมคบกันกระทำความผิดต่อความมั่นคงของรัฐ ทั้งภายในและภายนอกราชอาณาจักร" เป็นผลมาจากการยึดอำนาจและการใช้นโยบายปราบปรามของจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ในปี พ.ศ. ๒๕๐๗ จิตร ภูมิศักดิ์ได้ัรับการปล่อยตัว เนื่องจากศาลกลาโหมยกฟ้อง จิตรถูกคุมขังอยู่นานถึง ๖ ปี โดยไม่มีความผิด ระหว่างที่อยู่ในคุก จิตรได้ทุ่มเวลาเขียนหนังสือ ผลงานเด่นที่สุดของจิตรขณะที่อยู่ในคุกคือ "ความเป็นมาของคำสยาม ไทย ลาวและขอม และลักษณะทางสังคมของชื่อชนชาติ" ซึ่งเป็นผลงานทางวิชาการที่ยิ่งใหญ่แห่งศตวรรษ

เดือนตุลาคม ปี พ.ศ. ๒๕๐๘ จิตรได้เดินทางสู่ชนบทอิสาน เพื่อเข้าร่วมต่อสู้กับพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยในนาม "สหายปรีชา" สหายปรีชาเดินทางมุ่งสู่ที่มั่นกลางดงพระเจ้า สหายปรีชาใช้ชีวิตอยู่ที่ดงพระเจ้าได้ไม่นาน กองทหารป่าก็ถูกกำลังเจ้าหน้าที่ำตำรวจเข้ากวาดล้าง นับเป็นครั้งแรกที่มีการแตกเสียงปืนในดงพระเจ้า

สหายปรีชาและพวกได้ถอยทัพไปสู่ "ภูผาตั้ง" ซึ่งเป็นที่ตั้งแห่งใหม่ของทัพใหญ่ สหายปรีชาได้ปฏิับัติงานมวลชนที่นี่ และได้แต่งเพลง "ภูผาปฏิวัติ" ซึ่งกลายเป็นเพลงต่อต้านอันโด่งดังของขบวนการคอมมิวนิสต์ในประเทศไทย

วันที่ ๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๐๙ ระหว่างการปฏิบัติงานมวลชน จิตร ภูมิศักดิ์ได้ถูกล้อมยิงเสียชีวิตที่บ้านหนองกุง ตำบลคำบ่อ อำเภอวาริชภูมิ จังหวัดสกลนคร



เพื่อลบรอยคราบน้ำตาประชาราษฎร์
สักพันชาติจักสู้ม้วยด้วยหฤหรรษ์
แม้นชีพใหม่มีเหมือนหวังอีกครั้งครัน
จักน้อมพลีชีพนั้นเพื่อมวลชน

บทกวีของอาเวตีก อีสากยัน กวีประชาชนแห่งอาร์เมเนีย
แปลโดย จิตร ภูมิศักดิ์ บทกวีนี้ได้กลายเป็นสัญลักษณ์ของจิตร ภูิมิศักดิ์ในที่สุด





Create Date : 06 ตุลาคม 2548
Last Update : 6 ตุลาคม 2548 7:58:25 น. 19 comments
Counter : 697 Pageviews.

 
จิตร ภูมิศักดิ์ ใช้ชื่อและนามสกุลจริง ในงานเขียนวิชาการด้านภาษาศาสตร์ เช่น หนังสือ "ภาษาและนิรุกติศาสตร์" หนังสือ"ความเป็นมาของคำสยาม ไทย ลาวและขอมฯ" และใช้ในงานเขียนที่ไม่แสดงความคิดเห็นทางการเมืองเด่นชัดนัก เช่น ฉันท์ "วจีจากน้อง" และจดหมายที่เขียนไปถาม ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช เป็นต้น



โดย: malijauna วันที่: 6 ตุลาคม 2548 เวลา:8:02:45 น.  

 
นาคราช นามปากกานี้ จิตรใช้เพียงครั้งเดียว เมื่อเขียนวิจารณ์ศาสนาในบทความที่ชื่อว่า "พุทธปรัชญาแก้สภาพสังคมตรงกิเลสวัตถุนิยมไดอะเล็กติกแก้สภาพ สังคม ที่ตัวสังคมเอง และแก้ได้ด้วยการปฏิวัติ ไม่ใช่ปฏิรูปตามแบบสิทธารถ ปรัชญาวัตถุนิยมไดอะเล็กติกกับปรัชญาของสิทธารถผิดกันอย่าง ฉกรรจ์ที่ตรงนี้" หรือที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกันในชื่อ "ผีตองเหลือง"
ซึ่งบทความชิ้นนี้ แต่เดิมจิตรตั้งใจจะลงใน หนังสือมหาวิทยาลัย ฉบับ 23 ตุลาคม ประจำปี พ.ศ.2496 ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แต่ขณะที่ลงพิมพ์บทความชิ้นนี้ได้ถูกส่งต่อ ไปให้ตำรวจ ตำรวจได้เรียกปรึกษาอาจารย์บางท่านของจุฬาในสมัยนั้น จึงได้มีการเรียกนิสิตประชุมชี้แจง สาเหตุที่ยับยั้งการออกหนังสือ "23 ตุลาฯ" ประจำปีนั้น เพราะมีบทความที่ไม่พึงประสงค์ตามทัศนะของอาจารย์
แต่พอจิตรจะขึ้นชี้แจงบ้าง พูดไปยังไม่ได้เท่าไรก็ถูกนิสิตกลุ่มหนึ่งจับ "โยนบก" ลงมาจากเวทีหอประชุม กลายเป็นเหตุการณ์ที่เรียกว่า "โยนบก" เป็นข่าวพาดหัวทางหน้าหนังสือพิมพ์เกือบทุกฉบับ ในสมัยนั้น



โดย: malijauna วันที่: 6 ตุลาคม 2548 เวลา:8:05:33 น.  

 
ศูลภูวดล นามปากกานี้ พบเพียงครั้งเดียวใน บทกวีชื่อ "เธอคือหญิงรับจ้างแท้ใช่แม่คน"
ศรีนาคร นามปากกานี้ จิตรใช้ไปในการเขียนบทกวี เช่น "ศิลป์ทั้งผองต้องเกื้อเพื่อชีวิต" "สู้อย่างไร?นักปรัชญาบอกข้าที" "สร้างสวรรค์ขึ้นที่ในโลกด้วยสองมือ" และ "เพื่อลบรอยคราบน้ำตาประชาราษฎร์"


โดย: malijauna วันที่: 6 ตุลาคม 2548 เวลา:8:06:17 น.  

 
ทีปกร นามปากกานี้ จิตรใช้ในการเขียนบทความทางศิลปวรรณคดี และวิเคราะห์ทางวรรณคดี เช่น บทความเรื่อง "โมราวียาและนวนิยายต้องห้าม" "เปรมจันทร์ วิศกร ผู้สร้างวิญญาณมนุษย์แห่งอินเดีย" "บทบาททางวรรณคดีของพระมหามนตรี(ทรัพย์)" และหนังสือ "ศิลปเพื่อชีวิต ศิลปเพื่อประชาชน"



โดย: malijauna วันที่: 6 ตุลาคม 2548 เวลา:8:08:03 น.  

 
สมสมัย ศรีศูทรพรรณ นามปากกานี้ จิตรใช้เพียงครั้งเดียวในการเขียนหนังสือ "โฉมหน้าศักดินาไทย"



โดย: malijauna วันที่: 6 ตุลาคม 2548 เวลา:8:09:16 น.  

 
ศิลป์ พิทักษ์ชน นามปากกานี้ โดยมากจิตรใช้เขียนลงในหนังสือพิมพ์ "ปิตุภูมิ" ในคอลัมน์ "ศิลปวิจารณ์" ซึ่งมีบทความ บทกวีที่เด่นๆ เช่น "ชัยชนะของศิลปเพื่อชีวิต ของประชาชน" "กวีประชาชน" "กวีไร้สมองและกวีกิ้งก่า" และ "โองการแช่งน้ำ" ส่วนบทกวีแปลที่เด่นๆ ก็มีที่แปลมาจากของหลู่ชิ่น เช่น "แม้คนพันบัญชาชี้หน้าเย้ย"


โดย: malijauna วันที่: 6 ตุลาคม 2548 เวลา:8:11:16 น.  

 
สมชาย ปรีชาเจริญ นามปากกานี้ โดยมากจิตรใช้เขียนในคอลัมน์ "ชีวิตและศิลป" ของหนังสือพิมพ์ "สารคดี" และใช้นามปากกานี้วิจารณ์งานศิลปวัฒนธรรมกับใช้เขียน บทกวี "เรียนใช่เพื่อตนเองโหน่งเหน่งไป" นอกจากนั้นยังใช้นามปากกานี้ เขียนบทความเกี่ยวกับการศึกษา เช่น "กุญแจแห่งมหาทวาร" ด้วย


โดย: malijauna วันที่: 6 ตุลาคม 2548 เวลา:8:13:34 น.  

 
สุธรรม บุญรุ่ง นามปากกานี้จิตร ใช้ในการเขียนเพลงเช่น เพลง "แสงดาวแห่งศรัทธา" "เสียงเพรียกจากมาตุภูมิ" "ฟ้าใหม่" "รำวงวันเมย์เดย์" และ "มาร์ชเยาวชนไทย" เป็นต้น

ขวัญนรา นามปากกานี้ โดยมากจิตรใช้เขียนบทกวี เช่น "การทำบุญเพื่อตัวกูดูชอบกล" และ "จึงหมู่เขาเอ่ยอ้า โอษฐ์พร้องพธูไทย"

สิทธิ ศรีสยาม นามปากกานี้ พบใช้เพียงครั้งเดียวในหนังสือ "นิราศหนองคาย วรรณคดีที่ถูกสั่งเผา"


โดย: malijauna วันที่: 6 ตุลาคม 2548 เวลา:8:15:27 น.  

 
กวีการเมือง/กวี ศรีสยาม นามปากกาทั้งสองนามนี้ จิตรใช้เขียนลงในหนังสือพิมพ์ "ประชาธิปไตย" ในยุคจอมพลสฤษดิ์ มีทั้งที่เป็นบทความและเป็นบทกวี เช่น บทความที่เด่นๆ คือ "โคลงห้า มรดกทางวรรณคดีไทย" "โคลงสรรเสริญเกียรติกรุงเทพมหานครยุคไทยพัฒนา" "จิ้งเหลนกรุง" "วิญญาณหนังสือพิมพ์" และ "วิญญาณสยาม"



โดย: malijauna วันที่: 6 ตุลาคม 2548 เวลา:8:17:40 น.  

 
บุ๊คแมน นามปากกานี้ จิตร ใช้ในการวิจารณ์หนังสือ เคยปรากฎในหนังสือพิมพ์ "ไทยใหม่" ที่ดุเดือดที่สุดก็เมื่อวิจารณ์ "แสงทอง" และถูก "แสงทอง" วิจารณ์กลับมา (นิตยสารโลกหนังสือ ปีที่ 1 ฉบับที่ 7)



โดย: malijauna วันที่: 6 ตุลาคม 2548 เวลา:8:18:59 น.  

 
มูวี่แมน นามปากกานี้ จิตรใช้ในการวิจารณ์ภาพยนต์

ศิริศิลป์ อุดมทรรศน์ นามปากกาน จิตรใช้ในการเขียนเรื่องสั้นชื่อ "ณ ที่ซึ่งไม่มีความรัก" ตีพิมพ์ในนิตยสาร "กะดึงทอง" ในยุคที่สาทิศ อินทรกำแหง เป็นบรรณาธิการคนแรกและคนเดียว เรื่องสั้นเรื่องนี้ ตีพิมพ์ในฉบับเดือนสิงหาคม พ.ศ.2497 อันเป็นปีที่จิตร ถูกพักการเรียน และเริ่มมีความฝักใฝ่ในแนวทาง สังคมนิยม


โดย: malijauna วันที่: 6 ตุลาคม 2548 เวลา:8:19:31 น.  

 
คำนำ

ด้วยความเป็นจริง
คุณจิตร ภูมิศักดิ์ เป็นบุคคลตัวอย่างที่น่านับถือ และยกย่อง ในเชิงภาษาศาสตร์ ประวัติศาสตร์ มาลีได้ติดตามผลงานของท่านบางส่วน แต่เพราะเวลาและสภาพแวดล้อมไม่เอื้ออำนวย จึงไม่ได้ศึกษาอย่างจริงจัง

ด้วยความเป็นจริงของความเคารพ ที่ได้นำประวัติบางส่วนและนามปากกา มาแปะไว้ที่บล๊อกเผื่อบางท่านที่แวะเวียนมาจะสนใจและศึกษาค้นคว้า


โดย: malijauna วันที่: 6 ตุลาคม 2548 เวลา:8:24:04 น.  

 
นึกไม่ถึงค่ะว่าจะมีใครเขียนถึงปัญญาชนสยาม "จิตร ภูมิศักดิ์" ในบล็อก.......ขอบคุณเจ้าของบล็อกสำหรับสิ่งดีดีที่นำมาฝาก
ในวันที่ 6 ตุลาคม ค่ะ....ชื่นชมจิตร ภูมิศักดิ์มากในฐานะที่เป็นปราชญ์ในเกือบทุกๆด้าน....ขอบคุณอีกครั้งค่ะ...ด้วยจิตคารวะต่อคุณูปการของท่านผู้นี้....


โดย: สเลเต วันที่: 6 ตุลาคม 2548 เวลา:9:33:33 น.  

 
ทำให้ผมมีความรู้รอบตัวขึ้นเยอะเลยครับ


โดย: ครีเอทีฟ หัวเห็ด วันที่: 6 ตุลาคม 2548 เวลา:9:54:50 น.  

 


โดย: oryzaja วันที่: 6 ตุลาคม 2548 เวลา:11:02:32 น.  

 
สวัสดีค่ะ คุณสเลเต,คุณครีเอทีฟ หัวเห็ด
และคุณ oryzaja ขอบคุณที่แวะมาเยี่ยมค่ะ


โดย: มาลี ฯ IP: 203.156.44.62 วันที่: 7 ตุลาคม 2548 เวลา:1:26:53 น.  

 
พอเข้าได้ ดีใจมาก
เพราะต้องการรู้เรื่องความเป็นมาของคำสยามไทย ลาว และขอม และตำราลักษณะทางสังคมของชื่อชนชาติของประเทศเรามาก ผมอยากรู้ว่าคนไทยสยาม และไทยลาว มีความเป็นมาอย่างไรนะครับ


โดย: ต้อม IP: 203.114.126.72 วันที่: 7 พฤศจิกายน 2549 เวลา:17:54:13 น.  

 
ขอบคุณมานะครับ

ถ้าจะช่วยให้ความรู้เรื่อง

ไทยลาว
ไทยสยาม
witoo_17@hotmail.com


โดย: ต้อม IP: 203.114.126.72 วันที่: 7 พฤศจิกายน 2549 เวลา:17:56:52 น.  

 
witoon_17@hotmail.com

พิมพ์ตกนะครับ

วันนี้ผมไปหาหนังตำรา
คุณจิตร ภูมิศักดิ์
ความเป็นมาของคำสยาม ไทย ลาว และขอม และลักษณะทางสังคมของชื่อชนชาติ กรุงเทพฯ
ไม่มีขายนะครับ

ผมจึงต้องมาที่นี้ และดีใจที่เข้าได้

ก็ขอฝากไว้ด้วยนะครับ


โดย: ต้อม IP: 203.114.126.72 วันที่: 7 พฤศจิกายน 2549 เวลา:18:01:59 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

malijauna
Location :
สระแก้ว Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




Friends' blogs
[Add malijauna's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.