Group Blog
 
 
ตุลาคม 2548
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
3031 
 
7 ตุลาคม 2548
 
All Blogs
 
ประวัติศาสตร์เลขศูนย์

หนังสือ The Nothing that is: A Natural History of Zero ตีพิมพ์ครั้งแรกในปี ค.ศ. ๑๙๙๙ ได้รับความนิยมและถูกแปลในหลายภาษา ฉบับภาษาเยอรมัน Die Geschichte der Null ก็ได้รับการตีพิมพ์ในปีถัดมา โรเบิร์ต แคปแลน ได้พยายามอธิบายความหมายของ “0” สิ่งที่ดูง่ายดายที่สุด และธรรมดาที่สุดในคณิตศาสตร์ ด้วยวิธีการเขียนเล่าอย่างเรียบง่าย


เราได้เดินทางผ่านมิติทางประวัติศาสตร์ของคณิตศาสตร์ ซึ่งเริ่มจากการนับ และถือได้ว่าเป็นสิ่งพื้นฐานในอารยธรรมเก่าแก่ของมนุษย์ ตั้งแต่ยุคเมโสโปเตเมีย และอารยธรรมของเผ่ามายา อย่างไรก็ดี แม้ชาวกรีกจะมีความเจริญก้าวหน้าทางคณิตศาสตร์ แต่ก็ไม่อาจอธิบาย “ความว่าง” – Nothing ได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในยุคโรมันและช่วงแรกของคริสต์จักร ราวกับว่า ความว่าง หรือความไร้ นั้น เป็นสิ่งต้องห้าม ชาวตะวันตกไม่อาจยอมรับได้ว่า มีสิ่งที่เรียกว่าความว่างอยู่ เพราะไม่อาจตอบคำถามว่าด้วยจุดเริ่มต้นและจุดสิ้นสุดได้ ด้วยเหตุนี้ ความรู้ทางคณิตศาสตร์ในฝั่งตะวันตกจึงได้หยุดชะงักอยู่หลายศตวรรษ เพราะปราศจากความรู้เกี่ยวกับศูนย์


ตรงข้ามกับฝั่งตะวันออก คุรุทางอินเดียใช้เลขศูนย์และจำนวนลบอยู่นานแล้ว เพราะทัศนะทางตะวันออก ซึ่งมีพื้นฐานอยู่ในความเชื่อทางศาสนาฮินดู เลขศูนย์ปรากฎตนอยู่ในรูปของศิวนาฏราช บุคลาธิษฐานของทัศนะความเชื่อเรื่องความต่อเนื่องไม่ขาดสาย ปราศจากจุดเริ่มต้นและจุดจบ และการปรากฎตนในรูปของความว่าง ที่มิได้หมายถึง “ความไร้” ชาวตะวันออกตีความหมายเรื่องความว่าง แตกต่างไปจากชาวตะวันตกอย่างสิ้นเชิง การตั้งคำถามว่าด้วยจุดเริ่มต้นและจุดสิ้นสุดจึงปราศจากความหมาย ศูนย์จึงเป็นสัญลักษณ์แห่งจุดสิ้นสุดและจุดเริ่มต้น และเป็นความต่อเนื่อง ด้วยเหตุนี้ ชาวอินเดียจึงได้พัฒนาความคิดเรื่องจำนวนลบ และมีความก้าวหน้าทางคณิตศาสตร์เหนือทางตะวันตก


เมื่ออารยธรรมโลกขยายตัว พ่อค้าชาวอาหรับก็ทำหน้าที่เป็นทูตสื่อสารทางวัฒนธรรมร่วมด้วย ในช่วงคริสตศตวรรษที่ ๑๕ ความรู้เกี่ยวกับเลขศูนย์ จำนวนลบ และอินฟินิตี-คู่แฝดของศูนย์ จากฝั่งตะวันออก ก็ได้ถ่ายทอดไปยังฝั่งตะวันตก ตั้งแต่นั้นคณิตศาสตร์ทางฝั่งตะวันตกก็เบ่งบาน และเป็นฐานรากอันมั่นคงของวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ (natural science)

“เมื่อมองที่เลขศูนย์ คุณจะไม่เห็นสิ่งใด แต่เมื่อมองอย่างลึกซึ้ง คุณจักมองเห็นโลก” แคปแลนได้นำเรามาสู่ความเข้าใจในความหมายของตัวเลขธรรมดา การตีความหมายของจุดเริ่มต้นและจุดสิ้นสุด ที่แนบแน่นกับปรัชญาความคิดในระดับฐานราก เมื่อเข้าใจเลขศูนย์ เข้าใจความคิดเบื้องหลัง ศรัทธาที่แตกต่างกันทางฝั่งตะวันตกและตะวันออก ยิ่งมองเห็นประวัติศาสตร์ ก็จะยิ่งมองเห็นความเชื่อมโยงของสิ่งมากหลาย จากตัวเลขแสนธรรมดานี้



ที่มา //www.geocities.com/siamintellect/writings/b_zero_kaplan.htm

แวะเอามาฝากค่ะ
แต่ก่อนเห็นหนังสือฉบับนี้เป็นภาษาอังกฤษตามร้านหนังสือเก่า แถวเมืองพัทยาใต้ น่าสนใจดี แต่ไม่กล้าอ่านเพราะกลัวแปลเองแล้ว คงลงทุ่งไปทิศไหนก็มิอาจทราบได้ แหะ แหะ ภาษาอังกฤษไม่แข็งแรง
ประกอบกับวิชาคณิตศาสตร์ได้เกรดไม่เกิน เกรด 2 เลยมิบังอาจจะทำความเข้าใจโดยการตีขลุมได้เจ้าค่ะ
แต่ถ้ามีการแปลเป็นภาษาไทยแล้วก็กรุณาบอกบ้างนะเจ้าค่ะ จะได้ซื้อหามาไว้ครอบครอง
หรือท่านใดเคยอ่านแล้ว ก็สามารถนำมุมมองมาแบ่งปันได้นะเจ้าค่ะ




Create Date : 07 ตุลาคม 2548
Last Update : 7 ตุลาคม 2548 5:00:53 น. 2 comments
Counter : 561 Pageviews.

 
จะหาอ่านได้จากใหนคะอยากอ่านมากๆๆๆ


โดย: pupae IP: 124.121.136.88 วันที่: 28 ตุลาคม 2550 เวลา:0:01:14 น.  

 
รบกวนบอกรายละเอียดว่าจะซื้อได้จากที่ใหนด้วยค่ะที่khunasar_pupae@hotmail.comอยากอ่านมากๆๆค่ะ


โดย: pupae IP: 124.121.136.88 วันที่: 28 ตุลาคม 2550 เวลา:0:03:43 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

malijauna
Location :
สระแก้ว Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




Friends' blogs
[Add malijauna's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.