" การเป็นผู้ให้ ย่อมสุขใจ กว่าการเป็นผู้รับ "
Group Blog
 
 
สิงหาคม 2553
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
293031 
 
23 สิงหาคม 2553
 
All Blogs
 
การใช้เฝือก

โดย ราชวิทยาลัยแพทย์ออร์โธปิดิกส์แห่งประเทศไทย
//www.otat.org/index.php?lay=show&ac=article&Id=538666098&Ntype=3


การใช้เฝือก

เฝือกคือ เครื่องดามที่ใช้ดามกระดูกและข้อ อวัยวะส่วนที่ถูกหุ้มด้วยเฝือกนั้นจะอยู่นิ่งๆ การเคลื่อนไหว ของอวัยวะนอกบริเวณเข้าเฝือกสามารถทำได้ตามปกตินอกจากนี้การเข้าเฝือกยังสามารถใช้เพื่อปกป้องเนื้อเยื่ออื่นๆที่ได้รับบาดเจ็บได้

เฝือกนิยมใช้ในการรักษาโรคต่อไปนี้

1. ใช้ดามกระดูกหัก หรือข้อที่ได้รับบาดเจ็บ

2. ใช้ดามส่วนของร่างกายที่มีการอักเสบได้หยุดพัก เช่นภาวะกระดูกติดเชื้อ เป็นหนอง

3. ใช้ป้องกันความวิกลรูปของข้อต่างๆ จากการหดเกร็งของกล้ามเนื้อ หรือ เนื้อเยื่ออื่นๆ เช่นในผู้ป่วยอัมพาต แผลไฟไหม้ หรือน้ำร้อนลวกเป็นต้น

4. ใช้ป้องกันกระดูกหักในกรณีที่กระดูกเป็นโรค เช่น ในผู้ป่วยที่เป็นเนื้องอกกระดูก หรือโรคอื่นๆ ของกระดูก

5. ใช้ดัดแก้ความวิกลรูปของร่างกาย โดยการใส่เฝือกหลายๆ ครั้งค่อยๆ ยึดให้อวัยวะส่วนนั้นกลับมาสู่ลักษณะปกติ เช่น ในภาวะกระดูกสันหลังหักคด

การดูแลเฝือก

เฝือกใช้เวลาแข็งตัวประมาณ 3 ถึง 5 นาที หลังจากที่แพทย์ใส่เฝือกให้ แต่เฝือกที่แข็งตัวแล้วนี้ก็ยังมีสภาพเปียกอยู่มาก และน้ำหนักจะเบาลงถ้าเรารู้จักทะนุถนอมก็จะสามารถใช้เฝือกนั้นได้นานจนถึงเวลาที่จะเปลี่ยน หรือถอดออก ดังนั้นผู้ป่วยจำต้องทราบถึงการดูแลเฝือกดังนี้

ในระยะ 3 วันแรก

1. ป้องกันเฝือกหักหรือยุบในระหว่างที่เฝือกยังชื้นอยู่ด้วยการ

1.1 ให้วางเฝือกบนวัสดุนุ่มนิ่ม เช่นหมอนหรือฟองน้ำ

1.2 หลีกเลี่ยงการวางเฝือกบนวัสดุแข็ง เช่น การว่างส่วนของสันเท้าบนพื้นปูน หรือใช้ส่วนของข้อศอกเท้าพนักเก้าอี้ เป็นต้น

1.3 ควรประคองเฝือกในระหว่างการเคลื่อนย้ายอย่างระมัดระวัง

1.4 หลีกเลี่ยงการใช้มือกดหรือ บีบเฝือกเล่น

2. การทำให้เฝือกแห้งเร็ว

2.1 วางเฝือกบนผ้าเพื่อดูดความชื้นได้ดี และให้วางบนที่ๆ อากาศถ่ายเทสะดวก

2.2 การใช้พัดลมเป่าจะช่วยให้เฝือกแห้งเร็วขึ้น

2.3 ไม่ควรใช้ผ้าห่มหรือสิ่งอื่นใดปกคลุมบนเฝือก



การปฏิบัติเมื่อเฝือกแห้งดีแล้ว

1. อย่าให้เฝือกได้รับความเปียกชื้น เช่นการเดินในสนามหญ้าตอนเช้าๆ หรือถูกน้ำจนเปียก เวลาอาบน้ำควรใช้ถุงพลาสติกหุ้มเฝือกไว้เพื่อกันน้ำ อาจใช้ถุงสวมทับหลายๆ ชั้น โดยทำการมัดปากถุงที่คนละระดับ ก็จะช่วยกันน้ำได้ดียิ่งขึ้น

2. ไม่ควรลงน้ำหนัก หรือเดินบนเฝือก ถ้าแพทย์ยังไม่อนุญาต

3. แม้เฝือกจะแห้งดีแล้วก็ไม่ควรให้เฝือกรับน้ำหนักอย่างเต็มที่ ยกเว้น ส้นยางเป้นตัวรับน้ำหนัก

คำแนะนำ

1. พยายามเคลื่อนไหวส่วนที่อยู่ภายนอกเฝือกเพื่อช่วยลดอาการบวม

2. ห้ามดัดเฝือกออกเองทั้งหมดหรือบางส่วน

3. ห้ามทำให้เฝือกเปียกน้ำ หรือลนด้วยความร้อนเพื่อให้แห้งเร็ว

4. อย่าให้เฝือกได้รับแรงกดจนแตก หรือยุบ เช่น เหยียบ หรือวางลงบนพื้นแข็งโดยตรง

5. ห้ามใช้ของแข็งแหย่เข้าไปใต้เฝือกเพื่อแก้อาการคัน เพราะอาจทำให้ผิวหนังถลอกและมีแผล

6. อย่าดึงสำลีหรือวัสดุรองเฝือกออก

7. ยกส่วนแขน หรือขาที่ได้รับการใส่เฝือกให้อยู่เหนือระดับหัวใจขณะพักผ่อนสมอ เพื่อลดอาการปวด

8. ให้มาพบแพทย์โดยเร็วที่สุดเมื่อ

8.1 มือหรือเท้าส่วนที่ใส่เฝือกบวมมาก

8.2 รู้สึกเจ็บปวดหรือแสบร้อนทั้งๆ ที่ได้ยกส่วนที่ใส่เฝือกไว้สูงเหนือระดับหัวใจและไม่สามารถระงับด้วยการรับประทานยาแก้ปวดธรรมดา

8.3 สังเกตว่าปลายนิ้ว หรือ เล็บมือเขียวคล้ำกว่าข้างปกติ

8.4 รู้สึกชาหรือเป็นเหน็บเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ

8.5 กำลังในการขยับอวัยวะส่วนที่โผล่ออกมาทางปลายเฝือกลดน้อยลงเรื่อยๆ เช่นไม่มีแรงกำหรือแบนิ้วมือ

8.6 คลำชีพจรซึ่งเคยคลำได้ปกติ (ตามที่แพทย์อาจจะแนะนำ) นั้นเบาลง หรือคลำไม่พบ

9. ให้มาพบแพทย์โดยเร็วเมื่อ

9.1 มีหนอง หรือสารเหลวผิดปกติซึมเปื้อนเฝือก ไหลออกมาจากใต้เฝือก หรือส่งกลิ่นเหม็น

9.2 เฝือกหักหรือแตกร้าว

9.3 เฝือกหลวมหรือหลุด



Create Date : 23 สิงหาคม 2553
Last Update : 23 สิงหาคม 2553 18:09:41 น. 0 comments
Counter : 505 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

อลิซ ในดินแดนไม่มหัศจรรย์
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 3 คน [?]




การเป็นผู้ให้ ย่อมสุขใจกว่าการเป็นผู้รับ : )
Friends' blogs
[Add อลิซ ในดินแดนไม่มหัศจรรย์'s blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.