" การเป็นผู้ให้ ย่อมสุขใจ กว่าการเป็นผู้รับ "
Group Blog
 
<<
พฤศจิกายน 2553
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
282930 
 
6 พฤศจิกายน 2553
 
All Blogs
 
ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับโรคหอบหืด

ท่านเป็นโรคหอบหืดหรือเปล่า ? ท่านที่เป็นโรคนี้ และรักษาแล้วยังมีอาการของโรคอยู่ บทความคงช่วยให้ท่านเข้าใจโรคและปฏิบัติรักษาตัวเองได้ดีขึ้น

โรคหอบหืด เป็นโรคที่พบบ่อยโรคหนึ่งในเมืองไทย ผลของโรคทำให้เกิดการกระทบกระเทือนถึงสุขภาพชีวิตประจำวัน และการทำงานของผู้ป่วย ผู้ป่วยอาจต้องขาดงาน หรือทำงานได้ไม่เต็มที่ เสียเวลาและเงินไปหาแพทย์โดยเฉพาะเมื่อมีอาการกำเริบอย่างเฉียบพลัน บางคราวอาการหนักต้องเข้ารับการรักษาตัวในโรงพยาบาล บางรายอาการหนักมากต้องเขารับการรักษาตัวในห้องผู้ป่วยหนัก (ไอ.ซี.ยู) อาจต้องเครื่องช่วยหายใจ หรือบางรายอาจถึงแก่กรรม การปฏิบัติรักษาตัวที่ถูกต้อง จะช่วยลดการแทรกซ้อนต่างๆ ที่กล่าวมาของโรคได้



โรคหอบหืดคืออะไร ?
โรคหอบหืด เป็นโรคที่เกิดจากการอักเสบของหลอดลม และมีการหดเกร็งของกล้ามเนื้อบุหลอดลม เมื่อถูกกระตุ้นด้วยสารที่ตนแพ้ (ภูมิแพ้) หรือสารทีเป็นพิษต่อหลอดลม ทำให้มีการตีบของหลอดลมทั่วไปในปอด ผู้ป่วยจะมีอาการไอ มีการหายใจลำบาก หายใจมีเสียงหืด (Wheezing) โรคนี้เกิดจากหลอดลมของผู้ป่วยมีความไวกว่าปกติต่อการรับสนองตอบสารที่ตนแพ้ หรือเป็นสารที่เป็นพิษที่เราหายใจเข้าไป หรือรับประทานเข้าไป พูดง่ายๆ ว่าเป็นอาการของโรคภูมิแพ้โรคหนึ่ง



บรรยากาศรอบข้างเรา และสารต่างๆ ที่ลอยอยู่ในอากาศ ที่เราแพ้หริอเป็นพิษ อาจทำให้เกิดอาการหอบหืดเมื่อเราหายใจเข้าไป หรือทำให้เกิดกำเริบของโรคหอบหืดได้ การติดเชื้อในหลอดลมและปอด โดยเฉพาะเชื้อไวรัส เช่นไข้หวัด ไข้หวัดใหญ่ อาจทำให้มีอาการโรคหอบหืดตามมา ซึ่งอาจมีอาการอยู่ได้เป็นเดือนๆ หรือทำให้โรคหอบหืดมีอาการกำเริบได้ ผลของการอักเสบทำให้หลอดลมบวมและตีบ กล้ามเนื้อบุหลอดลมจะมีการตอบสนองไวกว่าปกติต่อสารที่เราหายใจเข้าไป ผลเกิดมีการตีบตันของหลอดลมเพิ่มขึ้นจากการหดเกร็งของกล้ามเนื้อบุหลอดลม ผู้ป่วยจะมีอาการไอ หายใจลำบาก แน่นหน้าอก โดยเฉพาะเวลากลางคืน และเช้ามืด



อาการของโรคจะรุนแรงหรือไม่ แล้วแต่ว่าหลอดลมตีบตันมากหรือน้อย กล้ามเนื้อบุหลอดลมอาจคลายตัวได้เอง แม้จะไม่ได้รับการรักษา แต่การรักษาที่ถูกวิธีจะช่วยทำให้อาการดีเร็วขึ้น และป้องันการเกิดอาการของโรคกำเริบ หรือแม้แต่ทำให้อาการของโรคค่อยๆดีขึ้น และหายเป็นปกติได้

ผลของการเกิดโรค และอาการที่เกิดขึ้น
อาการของโรคเกิดจากการตีบตันของหลอดลม เนื่องจากการบวม และการหดเกร็งของกล้ามเนื้อบุหลอดลม การกำเริบของอาการเป็นผจากกล้ามเนื้อบุหลอดลมหดตัวทันที ทำให้การตีบตันของหลอดลมรุนแรงขึ้น ซึ่งทำให้ผู้ป่วยมีอาการไอ และมีเสมหะออกมา และเหนื่อยหอบ ผลของการอักเสบทำให้มีอาการบวมของเยื่อบุหลอดลม และมีเสมหะออกมาเพิ่มขึ้น เสมหะจะเหนียว ไอออกมายาก และยิ่งเสมหะไอออกมาไม่ได้ ยิ่งทำให้ไปอุดตันหลอดลม ทำให้โรคมีอาการรุนแรงเพิ่มขึ้นไปอีก ในกรณีผู้ที่เป็นนานๆจะมีการหนาของเยื่อบุหลอดลม และกล้ามนเอบุหลอดลมนานขึ้น ยิ่งทำให้หลอดลมมีขนาดเล็กลง การหดเกร็งของหลอดลม จะทำให้หลอดลมที่ตีบอยู่แล้วตีบมากขึ้นไปอีก ผู้ป่วยจะหายใจลำบาก เหนื่อย หอบมากขึ้น บางรายมีการขาดออกซิเจนในเลือด หรือในกรณีผู้ที่เป็นมีอาการรุนแรง ผู้ป่วยจะหายใจไม่พอเกิดภาวะการหายใจล้มเหลว ซึ่งหากการรักษาไม่ถูกวิธีอาจถึงแก่กรรมได้

การเป็นโรคหอบหืดนานๆ หลอดลมจะมีการเปลี่ยนแปลง ผนังหลอดลมหนาขึ้น มีผังพืดไปเกาะ และจะไม่คลายตัว แม้จะได้รับการรักษาอย่างดี ก็จะไกลับมาเป็นหลอดลมที่ปกติ ซึ่งจะทำให้ผู้ป่วยมีอการเหนื่อยง่ายขณะออกกำลังเมื่อผู้ป่วยมีอายุมากขึ้น ที่เรียกว่ามี Remodeling ของหลอดลม




ความมุ่งหวังในการรักษา

• ในการรักษาเรามุ่งหวังที่จะให้ผู้ป่วย

• ไม่ต้องทนทุกข์ทรมานจากการหายใจลำบาก เนื่องจากหลอดลมตีบ ปราศจากอาการของโรค คือ ไอ อาการเหนื่อย และหลอดลมกลับมาสู่สภาพปกติ

• ให้ผู้ป่วยมีสุขภาพแข็งแรง ทำงานและมีชีวิตได้ปกติ

• ไม้ต้องหาแพทย์บ่อย โดยเฉพาะไม่ต้องเขารับการรักษาที่แผนกฉุกเฉิน
ของโรงพยาบาล เมื่อมีอาการกำเริบของโรคอย่างเฉียบพลัน เป็นการประหยัดเงินค่ารักษา โดยเฉพาะไม่ต้องเข้ารับการรักษาตัวในโรงพยาบาล ไม่ต้องขาดงาน และสามารถทำงานได้เต็มที่เหมือนคนปกติ

• ป้องกันไม่ให้หลอดลมเกิดการตีบอย่างถาวร ให้หลอดลมกลับมาปกติ คือป้องกันการเกิด Remodeling ของหลอดลม ซี่งจะมีผลต่อการหายใจ เมื่อผู้ป่วยอายุมากขึ้น
การปฏิบัติตัวของผู้ป่วยมีความสำคัญ ผู้ป่วยจำเป็นรักษาสุขภาพของตนเองให้แข็งแรงโดย

• การบริโภคอาหารที่เหมาะสม มีประโยชน์กับร่างกาย ไม่ให้อ้วนไปหรือผอมไป

• หลีกเลี่ยงการใช้ยาโดยเฉพาะยาพวกแอสไพริน และยาแก้ปวดข้อต่างๆ ซึ่งอาจทำให้หืดกำเริบอย่างรุนแรงได้ และหลีกเลี่ยงอาหารที่ตนเคยแพ้

• มีการบริหารร่างกายออกกำลังที่ถูกต้อง เพื่อให้ร่างกายแข็งแรง มีการหายใจที่ถูกวิธี เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการหายใจ

• หลีกเลี่ยงมลภาวะอากาศรอบตัวเป็นพิษ และหลีกเลี่ยงสารที่ตนแพ้ หรือสารเคมีที่เป็นพิษ โดยเฉพาะละอองก๊าซที่ลอยอยู่ในอากาศ

• หลีกเลี่ยงการติดเชื้อในหลอดลม และปอดโดยเฉพาะจากเชื้อไวรัส เช่นไข้หวัด ไข้หวัดใหญ่ เมื่อเกิดการติดเชื้อขึ้น ต้องรีบรักษาตัวโดยเร็ว มิฉะนั้นอาการหอบหืดจะกำเริบ

การพักผ่อนหย่อนใจต้องเพียงพอ การพักผ่อน คือ การนอน การหย่อนใจ คือ ทำให้จิตใจสบาย (Relaxation) การพักผ่อนไม่พอ และความเครียดกังวล มีส่วนอย่างมากที่ทำให้อาการของโรคหอบหืดกำเริบ การใช้ยาที่เหมาะสม เพื่อรักษาและคุมอาการของโรคหอบหืด การดูแลตัวเอง โดยรับประทายาสม่ำเสมอตามแพทย์สั่ง และใช้ยาให้ถูกวิธี และตรวจสอบอาการของโรคด้วยตัวเองเป็นระยะๆ เพื่อพิจารณาการแรับยาในการรักษา



ยาที่ใช้รักษาโรค การรักษาโรคหอบหืด การรักษาแบ่งเป็น 2 แบบคือ

1. การรักษาโรคระยะยาว เพื่อป้องกันอาการกำเริบของโรค และหวังว่าเมื่อผู้ป่วยไม่มีอาการนานๆไปจะทำให้ปฏิกิริยาในการเกิดโรคน้อยลงไปเรื่อยๆ จนมนที่สุดผู้ป่วยอาจหายจากโรคได้

2. การรักษาระยะสั้น คือ รักษาการกำเริบของอาการตีบตันของหลอดลม ยาที่ใช้ทั่วไปแบ่งเป็น 3 กลุ่มใหญ่ๆ ยาอื่นอยู่ในการทดลอง และไม่ถือเป็นยามาตราฐานในการรักษาโรค จะไม่กล่าวถึง

ยาลดการอักเสบของหลอดลม ได้แก่ยาพวก Corticosteroid



ยาขยายหลอดลม ซึ่งแบ่งเป็น 3 กลุ่มใหญ่ๆ คือ

• ยากระตุ้นประสาทซิมป์เตติค (Adrenergic Agonist) โดยที่ประสาทนี้ควบคุมระบบอื่นๆ ในร่างกายโดยเฉาพะหัวใจ และประสาท ยาพวกนี้ที่ออกมาในระยะแรกๆ จะทำให้มีอาการแทรกซ้อนระบบสมอง และหัวใจ ทำให้ผู้ป่วยระบประทานยาไม่ได้ เช่นมีใจสั่น แน่นหน้าอก มือสั่น ยาในระยหลังเป็นยาที่มีฤทธิ์ต่อปอดเป็นส่วนใหญ่ ผลต่อระบบอื่นน้อยลงไปมาก ได้แก่ยาพวกBeta2 – Adrenegic Agonist หรือเรียกสั้นๆว่า Beta2-Agonist ยาพวกนี้ก็แบ่งได้เป็น 2 กลุ่ม คือ 1. ยาที่ออกฤทธิ์เร็ว แต่ฤทธิ์อยู่ช่วงสั้นๆ 2. ยาพวกออกฤทธิ์ช้า แต่ฤทธิ์อยู่ได้นาน

• ยาพวกออกฤทธิ์ต่อต้านประสาท พาราซิมป์เตติค (Anticholinergic Drug) ยาพวกนี้ จะมีผลคลลายการหดเกร็งขอกล้ามเนื้อบุหลอดลม และลดการหลั่งของเสมหะ แต่ทำให้ปากแห้ง คอแห้งได้

• ยาพวก Methylxanthines ยาพวกนี้ออกฤทธิ์ขยายหลอดลมมีทั้งแบบให้ยาทางปาก ยาฉีด หรือยาสอดเหน็บทวาร เนื่องจากฤทธิ์ของยาอ่อน ยาพวกนี้จึงใช้เป็ฯยาเสริม เมื่อใช้ยา 2 ชนิดแรกแล้วยังไม่พอ ไม่ใคร่มีใครใช้เป็นยาหลัก

ยาต่อต้านหรือเปลี่ยนแปลงปฏิกิริยาภูมิแพ้ โดยที่โรคนี้เป็นโรคเกิดจากภูมิแพ้ซึ่งได้มีการพยายามค้นหาวิธีที่จะหยุด หรือเปลี่ยนแปลงวปฏิกิริยาตอบสนองต่อร่างกายต่อภูมิแพ้ ยาพวกแอนตี้ฮิสตามีน เป็นยาที่ใช้กันมานาน และก็ยังคงนิยมใช้กันอย่างแพร่หลายโดยเฉพาะผู้ป่วยที่มีอาการคัดจมูก จากโรคภูมิแพ้ หลังจากนั้นก็มียาและวิธีต่างๆเพื่อลดปฏิกิริยานี้ใช้ตามกันมา แต่ผลที่ได้ไม่ดีมากและไม่แน่นอน การตรวจดูว่าผู้ป่วยแพ้อะไร แล้วฉีดยาเพื่อลดปฏิกิริยานี้ หรือที่เรียกว่า ฉีด Vaccine มีการทำกันมานาน และทำกันมาก ซึ่งก็ได้ผลดีในผู้ป่วยเด็กที่เป็นโรคหอบหืด ในผู้ใหญ่ผลไม่แน่นอน และยังมีการถกเถียงกันทางการแพทย์ว่า การฉีด Vaccine จะได้ผลแค่ไหน ในปัจจุบันยาที่ออกมาใหม่ และยอมรับกันในวงการแพทย์อย่างทางการว่าได้ผลดีในโรคหอบหืด ก็คือยาพวก Leukotrene Modifier ซึ่งก็ได้แก่ยา Zafirlukast และ Zieuton ปัจจุบันมีแพทย์หลายคนเริ่มใช้ยานี้แทน Corticosteroid ชนิดพ่นสดหายใจ และอ้างว่าได้ผลดีไม่แพ้กัน

การเลือกใช้ยาและวิธีใช้ การรักษาโรคหอบหืด ควรแบ่งเป็นขั้นๆ ตามความรุนแรงของโรค โดยที่โรคนี้เป็นโรคเรื้อรัง ต้องใช้เวลารักษานาน การให้ยาทางปากอาจมีอาการแทรกซ้อนของระบบอื่นของร่างกายได้ โดยเฉพาะยาพวก Corticosteroid ซึ่งถือว่าเป็นอันตราย ในปัจจุบันการใช้ยาพวกนี้ รวมทั้งพวก Beta2 Agonist และพวก Anticholinergic จึงนิยมใหทางพ่นสูดหายใจเข้าไป (Inhaler Form) มากกว่า แต่การใช้ยาพ่นสูดหายใจเข้าไป จำเป็นต้องใช้ให้ถูกวิธี มิฉะนั้นยาจะเข้าไปไม่ถึงหลอดลมส่วนปลาย และปอด ซึ่งก็เหมือนกับเราไม่ได้รับยา

• ผู้ที่เป็นมีอาการขั้นน้อยๆ เรามักให้ยาพวก Corticosteroid แบบสูดหายใจเข้าไปประจำอาจจะเป็นวันละ 1 ครั้ง, 2 ครั้ง หรือ 4 รั้ง แล้วแต่ชนิดของยา และความรุนแรงของโรค ถ้ามีอาการจะให้ยาพวก Beta2 Agonist ชนิดออกฤทธิ์สั้นร่วมเข้าไป โดยให้เป็ฯครั้งคราวตามมการหดเกร็งของหลอดลมที่เกิดขึ้น
• ผู้ป่วยที่มีอาการปานกลาง อาจให้ยา Corticosteroid และ Beta 2 Agonist ที่ออกฤทธิ์นานร่วมกัน ถ้ามีอาการกำเริบเราก็ให้ Beta 2 Agonist ที่ออกฤทธิ์สั้นเสริมเป็นครั้งคาวตามอาการ
• ถ้ายังคุมอาการไม่ได้ดี อาจเพิ่มยาพวก Anticholinergic เข้าไปด้วย มีหลายบริษัทที่มียาพ่นผสมระหว่าง Beta 2 Agonist และ Anticholinergic
• ผู้ป่วยที่มีอาการมาก อาจเพิ่มยาพวก Methylxanthines และ / หรือ Beta 2 Agonist อย่างให้ทางปากร่วมด้วย อาจให้ยาพวก Leukotrene Modifier ร่วมด้วย
• ถ้ายังคุมอาการดีไม่ได้ อาจต้องให้ Corticosteroid รูปรับประทานร่วมด้วย แต่ควรให้ระยะเวลาสั้นๆเท่าที่จำเป็นแล้ว รีบลดและหยุดยาโดยเร็ว



การดูแลตัวเอง การดูแลตัวเองของผู้ป่วยมีความสำคัญมาก ผู้ที่มีอการหืดกำเริบบ่อยมักเป็นผู้ป่วยประเภทที่ไม่ได้ดูแลตัวเองดีพอ

• นอกจากการรับประทานยาให้ครบตามวลาที่แพทย์สั่งแล้ว ต้องใช้ยาให้ถูกวิธีโดยเฉพาะยาพ่นสูดหายใจเข้าไป

• ปฏิบัติตนตามที่กล่าวมาข้างต้น

• มีการตรวจสมรรถภาพปอดเป็นครั้งคราวโดยเฉพาะการตีบตันของหลอดลม ซึ่งอาจทำได้ง่ายๆ โดยใช้เครื่องมือซึ่งราคาไม่แพงมาก ผู้ป่วยไปตรวจวัดเองได้ที่บ้าน คือ เครื่องวัดหาความเร็วของอากาศที่ผ่านหลอดลมขณะหายใจออก (Peak Expiratory Flow Rate) ซึ่งผู้ป่วยจะรู้ว่าหลอดลมจองตนตีบมากน้อยแค่ไหน และปรับยาตามความรุนแรงของการอุดตันของหลอดลม

• ผู้ป่วยควรต้องสังเกตอาการของตนเอง และควรบันทึกประจำไว้เพื่อให้แพทย์ดูประกอบการรักษา
อาการของผู้ป่วยที่แพทย์ควรรับทราบเพื่อปรับการรักษา ผู้ป่วยควรสังเกตอาการใน 1 ปี ที่ผ่านมา

• มีอาการกำเริบของโรคบ่อยแค่ไหน ทั้งที่รักษาตัวเองด้วยยามาตลอด

• มีการขาดงานบ้างหรือไม่ บ่อยแค่ไหน เป็นเวลานานเท่าไหร่

• ต้องตื่นเวลากลางคืนเพราะหืดจับ บ้างหรือไม่

• เป็นหวัดแล้วหายช้า (เกิน 10 วัน) บ่อยแค่ไหน

• อาการกำเริบของโรค หรืออาการไอ ขึ้นอยู่กับฤดูกาลหรือไม่

• มีอาการ หรือโรคกำเริบ เมื่อเข้าไปในสถานที่ ที่มีสารภูมิแพ้ เช่นมีสัตว์เลี้ยง, มีมลภาวะเป็นพิษ ที่มีควันหรือควันไฟ หรือไม่

• เมื่อมีอาการแล้วใช้ยาพ่น ใช้นานเท่าไรกว่าจะรู้สึกสบายขึ้น และสบายอยู่นานเท่าไร

สำหรับอาการในช่วง 1 เดือนที่ผ่านมา

• ดูอาการหืดจับ คืออาการไอ เหนื่อยง่าย บ่อยแค่ไหน

• ต้องตื่นกลางคืนเพราะหืดจับบ่อยแค่ไหน

• ออกกำลังกายแล้วหืดจับไหม

• ขาดงาน และทำงานไม่ได้เต็มที่บ่อยแค่ไหน
เมื่อไรท่านต้องมาหาแพทย์

• เมื่อมีอาการกำเริบของโรคบ่อย และรุนแรง โดยมากจะแสดงโดย มีอาการกืดจับ พ่นยาแล้วไม่ใคร่ดีขึ้น ต้องพ่นยาถี่ขึ้น

• ใช้ยามากจนมีอาการข้างเคียงของยา

• หายใจลำบากมาก โดยเฉพาะริมฝีปาก และปลายนิ้ว ปลายเท้าเขียว

• หัวใจเต้นเร็ว โดยเฉาพะการเต้นผิดจังหวะ

• ความดันสูงขึ้นมาก หรือลดลงมาก



ท่านต้องรักษาโรคนานเท่าไร ผู้ป่วยควรได้รับการรักษาติดต่อกันจนไม่มีอาการของโรค เป็นระยะเวลานานพอสมควรและต้องตรวจดูว่า
• หลอดลมเป็นปกติ ไม่ตีบแล้ว
• หลอดลมไม่มีความไวต่อการเราของ สารภูมิแพ้แล้ว (Hypersensitiviness)
ถ้าตรวจได้ครบถ้วนดังกล่าว ก็อาจจะหยุดการรักษาได้ ถ้ายังมีหลอดลมตีบอยู่ หรือยังมีความไวต่อสารภิแพ้อยู่ การหยุดยาเร็วไป อาจทำให้โรคกำเริบกลับมาใหม่ หรืออาจทำให้มี Remodeling ของหลอดลม ซึ่งต่อไปอาจแก้ไขให้กลับมาเป็นปกติไม่ได้

ที่มา : //www.healthcorners.com/new_read_article.php?category=generalhealth&id=1914



Create Date : 06 พฤศจิกายน 2553
Last Update : 6 พฤศจิกายน 2553 15:21:34 น. 0 comments
Counter : 396 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

อลิซ ในดินแดนไม่มหัศจรรย์
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 3 คน [?]




การเป็นผู้ให้ ย่อมสุขใจกว่าการเป็นผู้รับ : )
Friends' blogs
[Add อลิซ ในดินแดนไม่มหัศจรรย์'s blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.