Group Blog
 
<<
กรกฏาคม 2555
 
24 กรกฏาคม 2555
 
All Blogs
 
7 เรื่องน่ารู้ น้ำมัน ที่มันไม่ธรรมดา

 

คุณเคยสงสัยมั๊ยว่า  น้ำมันพืชหลากหลากชนิดที่วางจำหน่ายในปัจจุบันมีความเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไรและควรจะใช้เกณฑ์อะไรในการเลือกน้ำมันพืชสักขวด  7 เรื่องต่อไปนี้  น่าจะให้คำตอบที่ชัดเจนแก่คุณได้

1. ทุกๆ  น้ำหนัก 1 กรัมของน้ำมันพืชทุกชนิดให้พลังงาน 9 กิโลแคลอรี  เท่ากัน

2. ไม่ว่าขวดไหน…ก็ไร้คอเรสเตอรอล  เพราะพืชไม่สามารถสังเคราะห์คอเลสเตอรอลได้  น้ำมันพืชจึงไม่มีคอเลสเตอรอล

3. สีของนำมันไม่เกี่ยวกับเรื่องคุณภาพ  สีที่อ่อนหรือสีเข้มของน้ำมันมาจากสีของวัตถุดิบที่นำมาผลิตไม่ได้เป็นตัวบ่งบอกคุณภาพหรือประโยชน์ของน้ำมัน  เช่น  ผลมะกอกสีเขียว – น้ำมันมันมะกอกจึงมีสีเหลืองอมเขียวรำข้าวมีสีน้ำตาล – น้ำมันรำข้าวจึงมีสีเหลืองอมน้ำตาล  เมล็ดทานตะวันมีสีขาวนวล-น้ำมันทานตะวันจึงมีสีเหลืองอ่อน

4. น้ำมันทุกชนิดประกอบไปด้วยกรดไขมันทั้ง 3 ชนิดเหมือนกัน  คือ  กรดไขมันอิ่มตัว (SFA) กรดไขมันไม่อิ่มตัวตำแหน่งเดียว (MUFA)  และกรดไขมันไม่อิ่มตัวหลายตำแหน่ง (PUFA) ในสัดส่วนที่ต่างกันปัจจุบันองค์การอนามัยโลก (WHO) สมาคมโรคหัวใจแห่งประเทศสหรัฐอเมริกา (AHA) และมูลนิธิหัวใจแห่งประเทศ  ในพระบรมราชชูปถัมภ์  แนะนำทำให้บริโภคนำมันและไขมันที่มีสัดส่วนของกรดไขมัน MUFA สูงเพราะจะช่วยลดแต่คอเลสเตอรอลตัวร้าย (LDL – C) โดยไม่ไมลดคอเลสเตอรอลตัวดี (HDL –C) ในร่างกายซึ่งจะช่วยลดปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดได้  น้ำมันพืชที่จัดอยู่ในกลุ่ม MUFA  สูง  ได้แก่ น้ำมันมะกอก  น้ำมันคาโนลา  และน้ำรำข้าว

5. ไขข้อสงสัยเรื่อง  โอเมก้า 3 โอเมก้า 6 โอเมก้า 9  โอเมก้า 3,6  ที่มีในน้ำมันพืชก็คือกรดไขมันกลุ่ม PUFA  นั้นเอง  และโอเมก้า 9 ก็คือกรดไขมันกลุ่ม  MUFA ดังนั้นจากข้อมูลในข้อ 4 จึงสรุปได้ว่า  นำมันพืชส่วนใหญ่มีทั้งโอเมก้า 3,6,9 เหมือนกัน  จะต่างกันที่สัดส่วนของโอเมก้าแต่ละชนิด  ถ้าจะเลือกน้ำมันพืชที่ดีต่อสุขภาพ  ก็ควรเลือกน้ำมันพืชที่มีโอเมก้า 9 สูง  หรือมีกรดไขมัน MUFA สูงนั่นเอง  สำหรับโอเมก้า 3 ทีมี 3 ที่มีในน้ำมันพืช  เป็นคนละตัวกับโอเมก้า 3 ที่มีอยู่ในน้ำมันตับปลา (EPA และ DHA) เพราะมีโครงสร้างในเลกุลต่างกัน

6. วิตามันและสารอาหาร…ของดีที่มีในน้ำมันพืช  นำมันพืชทุกชนิดจะมีวิตามินอีเป็นพื้นฐาน  ถ้าอยากได้วิตามินและสารอาหารอื่นเพิ่มเติม  ก็เลือกได้จากตารางนี้

ชนิดของน้ำมัน

วิตามันอี

โพลีฟีนอล

โอรีซานอล

ไฟโตสเตอรอล

โทโคฟีรอล

โทโคไตนอีนอล

น้ำมันมะกอก

153

-

62

-

2,210

น้ำมันรำข้าว

201

419

-

3,000

18,300

น้ำมันถั่วเหลือง

946

-

-

-

2,930

น้ำมันทานตะวัน

411

-

-

-

1,000

น้ำมันข้าวโพด

143

-

-

-

9,680

 

7. จุดเกิดควัน (Smoke Point) เรื่องสำคัญที่ต้องรู้  เพราะเป็นตัวใช้วัดระดับการทนต่อความร้อนของน้ำมัน  ถ้าเลือกใช้น้ำมันที่มีจุดเกิดควันสูงอย่างน้ำมันรำข้าวก็สามารถใช้ทำอาหารได้ทุกเมนู  ไม่ว่าทอด  หรือผัดไฟแดง  ผัดเครื่องแกง  หมักอาหารหรือทำน้ำสลัด  โดยไม่ต้องแยกใช้น้ำมันสำหรับทอด  สำหรับผัดอย่างละขวดให้ยุ่งยาก

ที่มา : นิตยสาร Health & Cuisine

  




Create Date : 24 กรกฎาคม 2555
Last Update : 24 กรกฎาคม 2555 15:39:35 น. 0 comments
Counter : 847 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

เอ็กซ์ซ่า
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 43 คน [?]




Friends' blogs
[Add เอ็กซ์ซ่า's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.