Group Blog
 
<<
มีนาคม 2555
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
25262728293031
 
7 มีนาคม 2555
 
All Blogs
 
โรคที่สามารถรักษาด้วยการฝังเข็ม



การฝังเข็มคืออะไร


การฝังเข็ม คือการแทงเข็มลงไปบนจุดฝังเข็มตามร่างกาย ซึ่งอยู่บนเส้นลมปราณ โดยใช้หลักการักษาของแพทย์แผนจีน เพื่อเป็นการปรับดุลยภาพร่างกาย


การฝังเข็มทำอย่างไร เจ็บหรือไม่

ในขณะที่เข็มผ่านผิวหนังจะมีอาการเจ็บคล้ายมดกัด และเมื่อเข็มแทงลึกลงไปถึงตำแหน่งของจุดฝังเข็ม จะมีอาการปวดตื้อ ๆ หน่วง ร้าวไปตามทางเดินของลมปราณ


เข็มที่ใช้ในการฝัง ใช้ครั้งเดียวหรือไม่

เข็มที่ใช้ในการฝังที่คลินิกฝังเข็ม หน่วยตรวจโรค กรมแพทย์ทหารบก และโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า เป็นเข็มพิเศษที่ผลิตเพื่อการฝังเข็มโดยเฉพาะ สะอาดปราศจากเชื้อ ใช้เพียงครั้งเดียวแล้วทิ้ง ไม่นำกลับมาใช้อีกโดยเด็ดขาด


การฝังเข็มรักษาโรคได้อย่างไร

ตามทฤษฎีแพทย์แผนจีนเชื่อว่า การฝังเข็มทำให้เลือดและระบบลมปราณไหลเวียนดีขึ้น ซึ่งจะช่วยปรับสมดุลย์ของร่างกายที่เจ็บป่วย นอกจากนี้การศึกษาของแพทย์แผนปัจจุบันพบว่าการฝังเข็มทำให้เกิดการหลั่งสาร "เอนเคพฟาลีน และเอนดอร์ฟิน" ซึ่งจะไปช่วยระงับอาการปวดได้ กับสารที่เรียกว่า "ออโตคอย" ที่คอยช่วยลดอาการอักเสบได้อีกด้วย


โรคที่สามารถรักษาด้วยการฝังเข็ม

เมื่อเดือนมิถุนายน พ.ศ.2522 องค์การอนามัยโลก ได้จัดให้มีการประชุมสัมมนาเรื่อง “การฝังเข็ม” ขึ้นที่นครปักกิ่ง ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน โดยมีผู้เข้าร่วมประชุมจำนวน 15 คนจาก 12 ประเทศ ที่ประชุมได้ข้อสรุปว่า โรคที่สามารถรักษาได้ด้วยวิธีฝังเข็มได้แก่



1. ระบบทางเดินหายใจ

ไซนัสอักเสบชนิดเฉียบพลัน           จมูกอักเสบชนิดเฉียบพลัน

ไข้หวัด                   ต่อมทอนซิลอักเสบเฉียบพลัน
หลอดลมอักเสบเฉียบพลัน         หอบหืด (ได้ผลในเด็ก และคนที่ไม่มีโรคแทรกซ้อนอื่น ๆ)


        --------------------------------------


2. โรคตา

เยื่อบุตาอักเสบเฉียบพลัน         จอภาพตาอักเสบ (Central retinitis)

สายตาสั้นในเด็ก            ต้อกระจกชนิดที่ไม่มีโรคแทรกซ้อน


       --------------------------------------


3. ช่องปาก

ปวดฟัน                                 เหงือกอักเสบ

อาการปวดหลังถอนฟัน                คออักเสบ(Pharyngitis)


       -------------------------------------------


4. ระบบทางเดินอาหาร

การเกร็งตัวของกล้ามเนื้อหลอดอาหาร                สะอึก

กระเพาะอักเสบเฉียบพลันและเรื้อรัง                  กระเพาะหลั่งกรดมากเกินไป

แผลในลำไส้เล็กส่วนต้นเรื้อรัง(ช่วยลดอาการปวด)      ท้องผูก

แผลในลำไส้เล็กส่วนต้นเฉียบพลัน(ไม่มีโรคแทรกซ้อน)  ลำไส้เล็กส่วนท้ายไม่ทำงาน

ลำไส้ใหญ่อักเสบ เฉียบพลันและเรื้อรัง      บิดจากเชื้อชิกาลล่า ท้องร่วง


       -------------------------------------------


5. ระบบประสาทและกล้ามเนื้อ

ปวดหัว                      ลมตะกัง ( ไมเกรน )

ปวดประสาทหน้า (Trigeminal neuralgia)      โรคปากเบี้ยว (Facial palsy)(ในช่วง 3-6 เดือนแรก)
อาการชาจากการกระแทก                     โรคของปลายประสาท โรคโปลิโอ (ใน 6 เดือนแรก)


โรคเมเนียร์ (Meniere disease)                             กระเพาะปัสสาวะไม่ทำงานเนื่องจากความผิดปกติของระบบประสาท


ปัสสาวะรดที่นอน                     ปวดในช่องระหว่างซี่โครง


อาการเกี่ยวกับคอและแขน ไหล่ติด (Frozen shoulder)   ข้อศอกติด (Tennis elbow)

รากประสาทขาถูกกดทับหรือไขอาติคา (Sciatica)          ปวดหลัง ข้ออักเสบ


ข้อห้ามในการฝังเข็ม

ไม่ทำการฝังเข็มในผู้ป่วยดังต่อไปนี้



- ตั้งครรภ์ยังไม่ครบกำหนด



- โรคเลือดหรือมีความผิดปกติของระบบแข็งตัวของเลือด



- โรคเร่งด่วนที่ต้องการการรักษาโดยการผ่าตัดอย่างแน่นอน



- โรคมะเร็งที่ยังไม่ได้ปรึกษาแพทย์



ข้อควรทราบเกี่ยวกับการรับบริการฝังเข็ม

ก่อนฝังเข็ม

1. รับประทานอาหารตามปกติก่อนฝังเข็มเสมอ เพราะถ้าฝังเข็มในขณะอ่อนเพลีย หรือท้องว่างจะมีโอกาสเสี่ยงต่อการเป็นลมได้ง่าย



2. สวมเสื้อผ้าที่ไม่รัดแน่น ควรเป็นเสื้อแขนสั้นหรือกางเกงที่สามารถรูดขึ้นเหนือเข่าได้สะดวก



ขณะฝังเข็ม

1. การอยู่ในลักษณะผ่อนคลาย จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพระบบลมปราณและปรับสมดุลย์ร่างกาย



2. ถ้ามีความรู้สึกผิดปกติ เช่น มีอาการหน้ามืดเป็นลม ต้องแจ้งแพทย์ทราบทันที



หลังการฝังเข็ม

- ไม่ควรขับขี่ยวดยานพาหนะทันทีหลังการฝังเข็มเพราะอาจเกิดการง่วงนอน



รักษาติดต่อกันนานเท่าไร

ควรรับการรักษาสัปดาห์ละ 1- ครั้ง และต่อเนื่องกันอย่างน้อย 10 ครั้ง แล้วแต่การพิจารณาของแพทย์ โรคเรื้อรังอาจต้องใช้ระยะเวลานานขึ้นในการรักษาแต่ละครั้งใช้เวลาประมาณ 20-30 นาทีการฝังเข็มรักษาโรคอะไรได้บ้าง ?



ที่มา //www.amed.go.th/rta_med



     แนวคิดที่ถือเป็นแก่นกลางของการแพทย์แผนโบราณจีนนั้นได้แก่ แนวคิดเกี่ยวกับ "สมดุลแห่งชีวิต" นั่นคือว่า

          

การที่ชีวิตของคน ๆ หนึ่งจะดำรงอยู่ได้อย่างปกติสุขนั้น จะต้องดำรงอยู่ในสภาวะที่สมดุลระหว่างร่างกายของคนผู้นั้นกับธรรมชาติสิ่งแวดล้อม และระหว่างระบบอวัยวะต่าง ๆ ภายในร่งกายของผู้นั้นได้วย หากมีปัจจัยเหตุใดเหตุหนึ่งมาทำลายความสำดุลในการดำรงชีวิตของร่างกายนั้นกับธรรมชาติสิ่งแวดล้อม มันจะนำไปสู่การเสียสมดุลของระบบอวัยวะต่าง ๆ ภายในร่างกาย และก็จะทำให้ร่างกายเกิดการเจ็บป่วยขึ้นมาได้

          

ในขณะเดียวกัน การเสียสมดุลของระบบอวัยวะภายในร่างกายเองก็จะยิ่งทำให้ร่างกาย ไม่สามารถปรับตัวให้สมดุลกับธรรมชาติสิ่งแวดล้อมมากขึ้น และหากไม่ได้รับการแก้ไข ชีวิตก็จะถึงจุดดับสิ้นไปในที่สุด


ตามทฤษฎีการแพทย์จีนนั้น เชื่อว่า

"............ภายในร่างกายของคนเรา จะมีเลือดและลมปราณซึ่งได้รับมาจากพ่อแม่โดยกำเนิด ไหลหมุนเวียนไปตามเส้นลมปราณต่าง ๆ ที่กระจายอยู่ทั่วทั้งร่างกาย เป็นพลังงานผลักดันใหอวัยวะต่าง ๆ สามารถเคลื่อนไหวทำงานได้ และมีการทำงานที่ประสานสอดคล้องกันเป็นอย่างดี ร่างกายจึงสามารถปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงของธรรมชาติสิ่งแวดล้อม และดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างปกติ

          

เมื่อมีเหตุใดเหตุหนึ่งทำให้การไหลเวียนของเลือดลมปราณติดขัด อวัยวะต่าง ๆ ก็จะทำงานผิดปกติไป หากความผิดปกตินั้นไม่สามารถปรับแก้ไขกลับคืนมาได้ ร่างกายก็จะเกิดการเสียสมดุลกับธรรมชาติ แล้วมีอาการของโรคภัยไข้เจ็บเกิดขึ้น ......."

บรรพบุรุษชาวจีนในยุคโบราณได้ค้นพบว่า การใช้เข็มปักลงไปยังจุดบางตำแหน่งในร่างกาย สามารถกระตุ้นลมปราณให้ไหลเวียนต่อไปได้ โดยไม่ติดขัด จึงทำให้อวัยวะที่ทำงานผิดปกติไปนั้นกลับคืนสู่สภาพปกติ สามารถขจัดปัจจัยที่ก่ออันตรายแก่ร่างกายออกไป จากนั้นความเจ็บป่วยที่เกิดขึ้นก็จะหายไปได้



 

ตามแนวคิดของการแพทย์แผนโบราณจีนนั้น การฝังเข็มมีฤทธิ์ในการรักษาโรค 3 ประการ คือ

          

1. แก้ไขการไหลเวียนของเลือดลมปราณที่ติดขัด
          

2. ปรับการทำงานของอวัยวะต่าง ๆ ในร่างกายให้อยู่ในสมดุล
          

3. กระตุ้นภูมิคุ้มกันในร่างกาย เพื่อกำจัดเหตุปัจจัยที่เป็นอันตรายออกไปจากร่างกาย

          

ในช่วง 200 กว่าปีที่ผ่านมานั้น อันเป็นยุคที่อารยธรรมการแพทย์แผนตะวันตกได้แก้วหนาและแพร่หลายไปทั่วโลก แนวคิดการแพทย์แผนโบตราณดังกล่าวข้างต้นถือว่าเป็นเรื่องที่ "ไม่เป็นวิทยาศาสตร์และไร้เหตุผล" ทำให้วิชาการฝังเข็มได้รับความนิยมลดน้อยลงมาโดยตลอด

          

อย่างไรก็ตามในช่วงครึ่งศตวรรณที่ผ่านมานี้ วิทยาศาสตร์ทางการแพทย์ได้เจริญก้าวหน้ามากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ความก้าวหน้าในทางวิทยาศาสตร์ระบบประสาท (neuroscience) และการค้นคว้าเกี่ยวกับการฝังเข็มในเชิงวิทยาศาสตร์ก็ได้ค่อย ๆ พิจสูจน์ให้เห็นแล้วว่า แนวคิดที่ชาวจีนได้เสนอเอาไว้ตั้งแต่โบราณนั้น เป็นสิ่งที่ถูกต้องโดยพื้นฐาน

          

จากการศึกษาพบว่า เมื่อปักเข็มลงบนร่างกาย มันสามารถกระตุ้นทำให้หลอดเลือดบริเวณนั้นขยายตัว ทำให้การไหลเวียนของเลือดเป็นไปได้สะดวกขึ้น ภาวะเลือดคั่งของบริเวณนั้นึงลดลง ช่วยทำให้มีสารอาหารและออกซิเจนไปหล่อเลี้ยงเนื้อเยื่อบริเวณนั้นเพิ่มขึ้น ขณะเดียวกัน ก็ทำให้สารของเสียที่คั่งค้างบริเวณนั้นลดน้อยลง ทำให้เนื้อเยื่อบริเวณที่มีการบาดเจ็บ ได้รับการซ่อมแซมให้กลับคืนสู่สภาพปกติได้

          

ในกรณีที่มีการหดเกร็งของกล้ามเนื้อลายตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย เมื่อปักเข็มลงไปลึกจนถึงชั้นกล้ามเนื้อแล้วกระตุ้นด้วยวิธีที่เหมาะสมกล้ามเนื้อที่หดเกร็งก็จะมีการคลายตัวออกมาได้ ฤทธิ์ของการฝังเข็มในข้อนี้มีประโยชน์มาก ในการรักษาอาการเจ็บปวดจากกล้ามเนื้อที่หดเกร็งอยู่เสมอ ดังเช่น ในกรณีของการปวดแขนขา ปวดต้นคอ ปวดหลัง ปวดบั้นเอว เป็นต้น

          

วิธีการรักษาทางกายภาพบำบัด (Physiotherapy) หลาย ๆ อย่าง เช่น การนวด การประคบด้วยความร้อน การใช้คลื่นความถี่สูงอุลตราซาวนด์ ก็มีฤทธิ์ช่วยให้มีการไหลเวียนของเลือดดีขึ้น หรือมีการคลายตัวของกล้ามเนื้อเฉพาะบริเวณนั้นคลายกับการฝังเข็มเหมือนกัน

          

แต่ว่าการฝังเข็มมีข้อที่เดินกว่าตรงที่ มันสามารถคลายกล้ามเนื้อมัดที่อยู่ลักได้ดีกว่า และสามารถปักเข็มเลือกคลายกล้ามเนื้อเฉพาะบริเวณใดบริเวณหนึ่งตามที่ต้องการก็ได้

          

การฝังเข็มไม่เพียงแต่ จะช่วยทำให้หลอดเลือดบริเวณที่ปักเข็มขยายตัวเท่านั้น แต่หลอดเลือดฝอยทั่วร่างกายก็จะมีการขยายตัวอย่างเหมาะสมอีกด้วย ทำให้เนื้อเยื่อทั่วร่างกายได้รับสารอาหารและขจัดของเสียที่คั่งค้างได้ดี


ที่มา //www.thaiacupuncture.net/public 








Create Date : 07 มีนาคม 2555
Last Update : 7 มีนาคม 2555 15:00:32 น. 0 comments
Counter : 1013 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

เอ็กซ์ซ่า
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 43 คน [?]




Friends' blogs
[Add เอ็กซ์ซ่า's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.