Group Blog
 
<<
มิถุนายน 2555
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
 
15 มิถุนายน 2555
 
All Blogs
 

แผลเรื้อรังหายไวได้



ผู้ป่วยที่เป็นอัมพฤกษ์ อัมพาต ขยับร่างกายไม่ได้ หรือไม่ยอมช่วยเหลือตัวเอง เมื่อเกิดบาดแผลขึ้นกับร่างกายก็มักทำให้เป็นแผลเรื้อรัง

แผลเรื้อรังหายไวได้

หรือแผลกดทับ ซึ่งถือเป็นการบั่นทอนคุณภาพชีวิตทำให้เกิดการติดเชื้อ เกิดโรคลุกลาม แต่ปัจจุบันการแพทย์ไทยมีความก้าวหน้าไปมาก จากเมื่อก่อนผู้ป่วยที่เจ็บป่วยหนักๆ หลายๆ โรคไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่ปัจจุบันสามารถรักษาให้หายหรือไม่ก็ทุเลาลงได้แล้วในหลายโรค ไม่เว้นแม้แต่เรื่องของบาดแผลเรื้อรัง ซึ่งเราจะมาดูกันว่าเขาทำได้อย่างไรกัน

รู้จัก "แผลเรื้อรัง"

สำหรับแผลเรื้อรังสามารถเกิดได้จากหลายสาเหตุ อันดับแรกที่เจอได้บ่อย ได้แก่ แผลโรคเบาหวาน โรคหลอดเลือดแดงและหลอดเลือดดำ เช่น หลอดเลือดแดงตีบตันทำให้เลือดไปเลี้ยงไม่ดี ส่วนหลอดเลือดดำถ้าไหลกลับไม่ดีก็มีน้ำเหลืองคั่งและเกิดแผลได้เช่นกัน ส่วนโรคแผลกดทับและพวกบาดแผลไฟไหม้น้ำร้อนลวกเป็นแผลเรื้อรังที่รักษายากและใช้เวลารักษานาน โดยเราใช้คำจำกัดความของแผลเรื้อรังว่า แผลไหนก็ตามถ้า 2 สัปดาห์ไป แล้วยังไม่มีทีท่าว่าจะหาย เป็นอย่างไรก็เป็นอย่างนั้น นับว่าเข้าข่ายแผลเรื้อรังได้เลย

บาดแผลกดทับ

แผลกดทับนับเป็นบาดแผลเรื้อรังอีกชนิดหนึ่งที่รักษาให้หายได้ยาก โดยสาเหตุมาจากการถูกกดทับ ส่วนใหญ่เกิดจากคนไข้ที่ช่วยเหลือตัวเองได้ไม่ดี ซึ่งอาจแบ่งเป็น 2 กลุ่มคือ กลุ่มแรกผู้ป่วยที่เป็นอัมพาต อัมพฤกษ์ ที่มักจะนอนในท่าเดียวนานๆ ส่วนอีกกลุ่มคือผู้ป่วยที่ไม่ได้เป็นอัมพฤกษ์ อัมพาตโดยตรง แต่มีโรคทางสมองและไม่รู้สึกตัว จึงทำให้นอนไม่เปลี่ยนท่าจนเกิดเป็นแผลกดทับขึ้นได้

ทั้งนี้ เวลาที่คนเรานอนหรือนั่งก็ตาม ส่วนใหญ่จะอยู่ในท่าเดิมได้ไม่เกินครึ่งชั่วโมงก็มักขยับตัวแล้ว แต่เวลานอนหลับบางคนมักคิดว่านอนท่าไหนมักจะตื่นมาท่านั้น โดยเชื่อว่าทั้งคืนตัวเองนอนไม่ขยับตัวเลย แต่ความจริงแล้วไม่ใช่ ถ้าเราลองนำกล้องวิดีโอมาจับดูจะพบว่าขณะเรานอนหลับร่างกายจะขยับหรือพลิกไปมาตลอด โดยปกติแล้วธรรมชาติของเนื้อเยื่อมนุษย์เราเวลาถูกกดทับจะทนอยู่ได้ไม่เกิน 2 ชั่วโมง เพราะถ้านานเกิน 2 ชั่วโมงจะเริ่มมีผลเสียต่อเซลล์เกิดขึ้น คือเลือดแดงไปเลี้ยงไม่ค่อยดี แต่อาจจะไม่ถึงกับเป็นแผล แต่ถ้าบาดเจ็บซ้ำๆ ต่อมาจะ กลายเป็นแผลกดทับได้ ดังนั้น เวลาเราดูแลผู้ป่วยอัมพฤกษ์ อัมพาต หรือไม่รู้สึกตัวจะต้องมีการพลิกตัวให้ทุก 2 ชั่วโมง

ส่วนมากบริเวณแผลที่เกิดแผลกดทับมักจะอยู่บริเวณที่น้ำหนักตัวกดทับและมีกระดูกด้วย เช่น ก้นกบ กระดูกสะบักหลัง หรือบางคนมีอายุมากๆ หลังโก่ง กระดูกหลังก็กดทับได้ โดยแผลกดทับแบ่งออกเป็น 4 ระดับ คือ ระดับที่ 1 จะมีรอยแดง บริเวณผิวหนัง ยังไม่มีแผลชัดเจน ระดับที่ 2 จะพองเป็นถุงน้ำ หรือมีแผลลึกระดับผิวหนัง คล้ายแผลถลอก ระดับที่ 3 ผิวหนังเสียไปทั้งหมด จะเห็นแผลลึก เป็นแผลชัดเจน และระดับที่ 4 แผลลึกถึงชั้นใต้ผิวหนัง บางครั้งลึกจนถึงกระดูก

รักษาไม่ยาก

แพทย์จะรักษาตามอาการของแผลว่ามีความเรื้อรังมากน้อยเพียงใด ติดเชื้อชนิดใด และจัดการกับการติดเชื้อได้อย่างไร ซึ่งแพทย์จะเป็นผู้ ประเมินในการรักษาแต่ละขั้นรวมถึงการใช้ยา ซึ่งสามารถรักษาให้หายได้ ถ้ามีการดูแลแผลเป็นอย่างดี โดยระยะเวลาการรักษาก็แล้วแต่แผล ถ้าเป็นระยะแรกแค่ถลอกๆ นิดเดียว ใช้เวลารักษาประมาณ 1-2 อาทิตย์ก็หายแล้ว

ส่วนแผลลึกเป็นโพรงใหญ่ก็จะหายยาก แต่ปัจจุบันตามโรงพยาบาลมีวัสดุอุปกรณ์การทำแผลที่ทันสมัย ทำให้แผลหายเร็วลดภาวะแทรกซ้อน เพราะมีคุณสมบัติดูดซับน้ำเหลืองได้ดีและฆ่าเชื้อโรค โดยอุปกรณ์ดีๆ จะไม่ทำให้น้ำเหลืองซึมเปรอะเปื้อนกระจายออกไปเลอะเนื้อดีๆ ซึ่งอาจทำให้ ผิวหนังอักเสบ และที่เน้นคือ สามารถปรับความชุ่มชื้น ให้แผลได้เป็นอย่างดี ถึงแม้อุปกรณ์แต่ละอันนี้จะมีราคาแพง แต่ข้อดีที่ผู้ป่วยจะได้รับคือไม่ต้องเดินทางมาทำแผลทุกวัน เพราะสามารถอยู่ได้นานถึง 7 วัน ทำให้ประหยัดค่าใช้จ่ายต่างๆ ได้ รวมทั้งทำให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

นอกจากการรักษาที่บาดแผลแล้วยังต้องใช้การรักษาแก้ ที่การกดทับร่วมด้วย คือการพลิกตัวผู้ป่วยทุก 2 ชั่วโมง ยังเป็นตัวสำคัญที่สุดในการป้องกันการกดทับ และยังมีอีกหลายๆ วิธี เช่น ในประเทศสหรัฐอเมริกา การนอนจะให้ผู้ป่วยนอนค่อนข้างราบไม่ให้นอนชันเกิน 30 องศาขึ้นมา เพราะเชื่อว่าการนอนชันจะทำให้เลื่อนตัวสไลด์ลง พอเริ่มมีแผลกดทับและตัวไหลจะเกิดการเสียดสี แผลที่กำลังจะเป็นหรือไม่เป็นก็จะเกิดเป็นแผลขึ้นมา

อย่างไรก็ตาม แม้แพทย์จะสามารถรักษาแผลหายแล้วก็ตาม แต่ถ้าผู้ดูแลและผู้ป่วยไม่ให้ความร่วมมือก็สามารถกลับมาเป็นใหม่ได้ เช่น กรณีคนไข้ที่เป็นอัมพาตและมีแผลกดทับ มีคนดูแลเพียงคนเดียวทั้งวัน ทั้งคืนตลอด 24 ชั่วโมง ส่วนใหญ่มักไม่หาย เพราะผู้ดูแลคนเดียวจะตื่นทุก 2 ชั่วโมง ทั้งวันทั้งคืนไม่นอนยาวเลยเป็นไปไม่ได้ หรืออาจจะทนได้แต่คงไม่เกิน 1 เดือน ในที่สุดก็ต้องนอนยาวเกิน 2 ชั่วโมง เพราะด้วยหลักธรรมชาติคนเราต้องนอนยาวโดยจะเริ่มหลับลึกหลังจาก 2 ชั่วโมงไปแล้ว ฉนั้นผู้ดูแลจึงมีคนเดียว ไม่ได้

ส่วนใหญ่คนไข้แผลกดทับจะแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่เป็นมาก ซึ่งหมอไม่ได้คาดหวังให้เขาทำอะไรกับแผล ขอแค่เวลาอยู่บ้านดูแลผ้าพันแผลต่างๆ ให้อยู่ในสภาพที่ดีไม่ให้หลุดลุ่ยออกมา ไม่ต้องเปลี่ยนผ้าพันแผลเอง เพราะผู้ป่วยไม่สามารถเปลี่ยนเองได้อย่างถูกวิธีด้วยเทคนิคปลอดเชื้อ ส่วนอีกกลุ่มเป็นกลุ่มที่แผลเริ่มดีแล้วและบ้านอยู่ไกลและเดินทางลำบาก บางคนเป็นอัมพาต ขยับตัวไม่ได้และการเดินทางมาแต่ละครั้งต้องใช้รถพยาบาลไปรับซึ่งค่าใช้จ่ายสูงมาก ดังนั้นเมื่อเห็นว่าแผลดีแล้วจะสอนญาติว่าควรทำอย่างไรและเราก็นัดมาดูแผลเป็นระยะ หากใครมีญาติเป็นอัมพฤกษ์ อัมพาต ต้องรู้จักสังเกตว่าถ้า ผู้ป่วยเริ่มมีรอยแดงบริเวณส่วนนูนของกระดูก และจะเริ่มลึกลงมากขึ้นจนเป็นแผล หรือถ้าพบเพียงรอยแดงก็ต้องพยายาม พลิกตัวผู้ป่วยอย่าให้นอนทับ แต่ถ้าลึกจนเป็นแผลแล้ว ควรรีบปรึกษาแพทย์ เพราะอาจมีแผลติดเชื้อซึ่งเป็นอันตรายต่อผู้ป่วยได้

 

ที่มาข้อมูล : //www.e-magazine.info

 



 




 

Create Date : 15 มิถุนายน 2555
1 comments
Last Update : 15 มิถุนายน 2555 10:36:51 น.
Counter : 1833 Pageviews.

 

สวัสดีค่ะหนูมีปัญหาเกี่ยวกับอาการคันแบบรุนแรงมากแบบเกาจนเลือดออกเลยค่ะรักษามา8ปีแล้วไม่หายเลยค่ะอยากขอคำปรึกษาด้วยค่ะ

 

โดย: บุปผา IP: 94.23.252.21 22 เมษายน 2558 4:09:13 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


เอ็กซ์ซ่า
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 43 คน [?]




Friends' blogs
[Add เอ็กซ์ซ่า's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.