Group Blog
 
<<
สิงหาคม 2559
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
28293031 
 
8 สิงหาคม 2559
 
All Blogs
 

ยูโด การซ้อมและมุมมอง (ตอน โคโดกังซัมเมอร์คอร์ส2016) ตอนที่ 7 "ชูชิน/จุดศูนย์ถ่วง"

ไปโคโดกังรอบนี้ เนื้อหาที่เรียนรู้มาบางส่วนเหมือนหนังเก่าเอามาฉายซ้ำ บางเรื่องลืมไปแล้วก็เป็นการทบทวนใหม่ บางเรื่องก็เหมือนกับเป็นเรื่องใหม่ก็ยังมีความตื่นตาตื่นใจอยู่เสมอ

ที่โคโดกังมีลัทธิชูชิน (ชูชินแปลว่าจุดศูนย์ถ่วง) และผู้นำลัทธิจะเป็นใครไปไม่ได้นอกจาก ชิโมยาม่าเซนเซ

ปีนี้เซนเซได้อธิบายเนื้อหาพื้นฐานที่จำเป็นต้องอธิบายในทุกๆปี (มาปีที่สี่ก็ฟังเป็นรอบที่สี่ โดนเรียกไปเป็นหุ่นโดนทุ่มเป็นปีที่สี่อีกเช่นกัน)

จะว่าเป็นเรื่องพื้นฐานที่สมควรเรียนรู้และเข้าใจตั้งแต่แรกเริ่มก็จริง แต่เรื่องพื้นฐานตรงนี้เข้าใจและปฏิบัติตามได้ถึงแก่นแท้ของมันได้ยากโครต สมควรที่จะเก็บระลึกและพึงสังวรไว้ในใจ เมื่อวันเวลาและการฝึกซ้อมดำเนินไปถึงจุดที่ควรจะเข้าใจมันจะค่อยๆเข้าใจขึ้นมาเองทีละน้อย

เนื้อหาอัพเดทล่าสุด ประกอบด้วยเรื่อง
① คุสุชิ
② สกุริ
③ คาเคะ
④ ไทซาบากิ
⑤ จุดศูนย์ถ่วง
⑥ พื้นที่ของหุ่นอุเกะ

(เหมือนกับหนังสตาร์วอร์ต้องเริ่มกันที่ภาคท้ายๆก่อนจะวนกลับไปท้าวความเดิมในอดีต) การจะเข้าใจภาครวม เพื่อนำไปถึงห้วข้อ 「จากสะโพกขยับสู่จุดศูนย์ถ่วง」ขอเริ่มต้นกันที่ เบอร์⑤เรื่องจุดศูนย์ถ่วง ที่จะมาพร้อมกับเบอร์ ⑥ในเรื่องพื้นที่ของอุเกะ

ศูนย์ถ่วงให้จินตนาการเอาไว้ว่า มีเชือกห้อยลูกปิงปองลงมาระหว่างกึ่งกลางหว่างขาของหุ่นอุเกะ ปิงปองนี้คือจุดศูนย์ถ่วง
- ถ้าเราดึงอุเกะมาด้านหน้า ปิงปองลูกนี้ก็จะเลื่อนจากกึ่งกลางเอียงออกมาด้านหน้า ตรงนี้คือคุสุชิ มีการเบรคบาลานส์ทำให้เสียหลัก
- ถ้าเราดันอุเกะไปด้านหลัง ปิงปองลูกนี้ก็จะเลื่อนจากกึ่งกลางเอียงออกไปด้านหลัง ตรงนี้คือคุสุชิ มีการเบรคบาลานส์ทำให้เสียหลัก
- ถ้าเราดันอุเกะไปด้านข้าง (จะซ้ายหรือขวา...เรื่องของมึง) ปิงปองลูกนี้ก็จะเลื่อนจากกึ่งกลางเอียงออกไปด้านข้าง ตรงนี้คือคุสุชิ มีการเบรคบาลานส์ทำให้เสียหลัก

รวมๆแล้วดึงดันผลักกระแทกกระเด้า มันทำได้ทั้ง360องศา...เยอะไปมั้ย เอาแค่8ทิศทางก็พอ เลยเป็นที่มาของศัพท์คำว่า "หัปโปคุสุชิ" (คุสุชิ8ทิศ)

- ระหว่างที่ดึงอุเกะมาด้านหน้า ลูกปิงปองเคลื่อนย้ายออกมาจากตำแหน่งกึ่งกลาง หุ่นอุเกะดิ้นรนตามธรรมชาติของมนุษย์ เมื่อมีความรู้สึกว่าไม่สมดุลย์ไม่ปลอดภัย (ลูกปิงปองปลิ้นออกมา) สัญชาติญาณสั่งให้ก้าวขาออกมาก้าวนึง พอขาเจ้าปัญหาก้าวออกมาโดยธรรมชาติสั่ง ลูกปิงปองที่เฉเอียงออกมาด้านหน้าก็กลับเข้าสู่สภาพเดิมในจุดของมันตรงกึ่งกลางหว่างขาตามเดิม ตรงนี้คุสุชิหายไปแล้ว

- การดันถอยหลังก็เช่นกัน ปิงปองปลิ้นออกมา หุ่นแก้ทางด้วยการถอยขาวางลงไปก้าวนึง ลูกปิงปองกลับสู่จุดเดิม คุสุชิหายวับ!!

คุสุชิไม่มี สกุริที่ดีจะไม่เกิดทำให้วงจรท่าทุ่มพังไปทั้งหมด...ถามว่าทุ่มได้มั้ย? ทุ่มได้โดยการเอาแรงใส่เข้าไป ในทางโคโดกังยูโดแล้วถือว่าเป็นการทุ่มที่ไม่สมบูรณ์

มองอีกมุมนึง จังหวะดิ้นรนของหุ่นในการก้าวออกมาข้างหน้าก้าวนึงเพื่อรักษาให้สมดุลย์กลับมาเป็นปกติ ถ้าเราซ้ำเติมตรงนั้นตัวอย่างเช่น ซาซาเอะทรึริโกมิโกชิ, ฮิสะกุรุม่า, โคอุจิการิ และอื่นๆ ถ้าเข้าถูกที่ถูกเวลาอุเกะจะล้มไม่เป็นท่า จังหวะที่พยายามก้าวเท้าลงหลังก็เช่นกันถ้าโดนโคโซโตเข้าไปก็ล้มไม่เป็นท่าเช่นกัน ที่ทำได้เพราะตรงนั้นคุสุชิของเรายังครบถ้วนนั้นเอง

การเดินของยูโด ถ้าดูจากคาตะจะเห็นชัดเจนตรงที่ส่วนใหญ่เป็นการสืบเท้า ทำไมต้องสืบเท้า!? เพราะนักยูโดพยายามอย่างยิ่งในการที่จะคงที่จุดศูนย์ถ่วงเอาไว้ให้อยู่ในตำแหน่งที่ลูกปิงปองจะกระเพื่อมหรือเคลื่อนที่ไปมาในระหว่างขยับตัวนั้นให้น้อยที่สุดนั้นเอง

การขยับตัวขึ้นลงก็มีผลเช่นกันกับจุดศูนย์ถ่วง ลูกปิงปองลูกเดิมยังมีเชือกห้อยอยู่ระหว่างหว่างขา เอาเป็นว่าเชือกยาวประมาณ30เซน ลูกปิงปองก็จะห้อยอยู่แถวๆแนวเดียวกับหัวเข่า
- ถ้าเราแยกขาให้กว้างลูกปิงปองที่ห้อยอยู่บริเวณระดับหัวเข่าก็จะถูกดึงให้ต่ำลง
- ถ้าเราหุบขาให้แคบลูกปิงปองที่ห้อยอยู่บริเวณระดับหัวเข่าก็จะถูกปรับขึ้นไปในตำแหน่งที่สูงขึ้น

การก้าวเดินทำให้ลูกปิงปองหรือจุดศูนย์ถ่วงเรากระเพื่อมขึ้นลง!!

เรื่องศูนย์ถ่วงกระเพื่อม เราสามารถดึงเอามาใช้ในการทุ่มได้หลากหลาย ยกตัวอย่างเช่นหุ่นกระโดดไปเรื่อยๆ จังหวะที่หุ่นโดดลอยขึ้นไป ศูนย์ถ่วงขยับขึ้นลง ลองปัดโอคุริดูจะเป็นการลอยที่สวยงามโดยไม่ใช้แรงเลย

ท่าทุ่มแทบจะทั้งหมดมีศูนย์ถ่วงมาเป็นตัวแปรทั้งนั้น เช่นเซโอนาเกะ โทริเข้าทำจะต้องย่อเข่าเล็กน้อยเพื่อดึงให้ศูนย์ถ่วงลงต่ำไปดันศูนย์ถ่วงของอุเกะให้ลอยขึ้นด้านบน (อย่าเพิ่งไปนึงถึงตัวอย่างพิศดารอย่างเซโอนาเกะทิ้งเข่า) อุระนาเกะจังหวะซ้อนท่าเบรคจังหวะก็ต้องดึงศูนย์ถ่วงให้อยู่ต่ำกว่าของหุ่น แล้วแบบนี้แสดงว่าสูงไปไม่แข็งแรง,ศูนย์ถ่วงต่ำก็จะมั่นคง? ถ้าเป็นแบบนี้สายย่อมากันเพียบ!!

ท่าที่ใช้เล่นงานศูนย์ถ่วงที่อยู่ในระดับต่ำก็มีหลาย ตัวอย่างชัดเจนคงเป็นโออุจิการิ ที่ปัดให้ขาของหุ่นกว้างออก ศูนย์ถ่วงถูกดึงต่ำลงทำให้สมดุลย์เพี้ยนไปเช่นกัน

ลืมบอกไปว่าเบอร์⑥พื้นที่ของอุเกะเข้ามาเกี่ยวข้องนานแล้ว พื้นที่อุเกะให้คิดซะว่ามีวงกลมรอบขาของเรา
- ขาเราแคบวงกลมเล็ก = ศูนย์ถ่วงลอยขึ้นสูง
-ขาเรากว้างวงกลมใหญ่ = ศูนย์ถ่วงถูกดึงให้ต่ำลง
ท่าที่ใช้สำหรับศูนย์ถ่วงที่ลอยขึ้นกับท่าท่่ใช้ตอนศูนย์ถ่วงต่ำลง มีให้เลือกใช้มากมายขึ้นอยู่กับจังหวะ สถานการณ์ ความถนัดและการฝึกซ้อม

กลับมาที่คุสุชิ การทำให้หุ่นเสียหลัก ทำได้แล้วก็ไปต่อกันที่สกุริ สกุริแยกเป็นสองส่วน หนึ่งคือ การคงรักษาสภาพคุสุชิเอาไว้ ให้อยู่ในอาการเสียหลัก และสองคือการใส่ท่าของเราเข้าไปโดยที่ตัวเราเองต้องไม่เสียหลัก

.... พูดง่ายทำยาก!!! (°_°)

ตัวอย่างที่เจอบ่อย เราดึงคุสุชิแล้ว แต่ตอนใส่ท่าเข้าไปเรากลับปล่อยให้หุ่นกลับไปอยู่ในสภาพไม่มีคุสุชิ หรือเราทำคุสุชิได้แล้วพอเราเข้าท่าเข้าไป ท่าวิปริตท่าของเราเสียสมดุลย์ในตัวมันเอง เช่นเอียงซ้าย เอียงขวา ท่าทุ่มบิดเบี้ยวไม่ได้รูป เอาแค่ยืนคนเดียวก็ลำบากมากแล้ว .... สมดุลย์เราไม่ดี การส่งแรงไม่เกิด ตัวเรายังจัดระเบียบตัวเราไม่ได้แล้วจะเอาความสามารถอะไรไปจัดระเบียบ+ทุ่มฝั่งตรงข้ามได้

สกุริไม่จำเป็นต้องใช้แรงในการคงสถานะของหุ่นที่เสียหลัก รวมถึงการเข้าท่าของเราเอง ตัวอย่างคือคนอ้วนๆหนัก120โล ถ้าเราทำคุสุชิได้แล้วเหมือนไม้แท่งนึงเอียงมาด้านหน้า เด็กน้ำหนัก50โลก็ยังสามารถใช้นิ้วเพียงนิ้วเดียวในการยันหุ่น120โลได้ไม่ยาก (แบบว่าปล่อยนิ้วออก คน120โลก็จะล้มคว่ำลงมา)

คาเคะทุ่มควบคุมทิศทางทั้งของตนเองและหุ่นที่ถูกทุ่ม วงจรมันชัดเจนอยู่แล้ว คุสุชิ สกุริ คาเคะ ห้ามสลับไปมา

ทั้งหมดนี้จะง่ายขึ้นถ้าเรามีไทซาบากิมาช่วย การขยับตัวสามารถเอามาเป็นเครื่องทุ่นแรงในการสร้างแรงต่างๆเพื่อที่จะเอาไปใช้ประโยชน์ในการทำคุสุชิ สกุริ และคาเคะ สิ่งที่ใช้ในการทุ่มไม่ใช่แต่มือกับขา การขยับคอและแนวสายตาที่ชำเลืองมองก็สามารถสร้างพลังในการทุ่มให้เพิ่มขึ้นได้ ในทางกลับกันถ้าเราคุมใบหน้าของหุ่นได้เราก็สามารถทำให้การทุ่มง่ายขึ้นกรือการเบรคจังหวะของฝั่งตรงข้ามก็สามารถที่จะทำได้ง่าย (ท่านอนก็เอาทฤษฏีตรงนี้ไปใช้เช่นกัน)

กลับมาที่ตัวอย่างหุ่น120โล เด็กน้ำหนัก50โลจะเอาแรงอะไรไปดึงหุ่นทำคุสุชิ ถ้าไม่ใช่ไทซาบากิ การขยับตัวและใช้กล้ามเนื้อชิ้นที่ใหญ่กว่าแขนมาช่วยในการทำคุสุชิ อีกส่วนนึงที่น่าสนใจคือใช้การเคลื่อนไหวของหุ่น120โลมาช่วยทำคุสุชิ ยกตัวอย่างเช่น หุ่น120โลกำลังเคลื่อนที่มาด้านหน้า เด็ก50โลดึงมาตามน้ำก็สามารถทำคุสุชิได้ ในบางครั้งเราสามารถใช้หลักการรีเฟ็คชั่นมาช่วยได้ "ถ้าจะดึงให้ดัน และถ้าจะดันให้ดึง"

วกกลับมาเรื่องจุดศูนย์ถ่วง ถ้าเป็นหนังกำลังภายในจีน จุดศูนย์ถ่วงตรงนี้เปรียบได้กับ "พลังลมปราณ" มันอยู่ที่การสะสม แต่การสะสมในที่นี้ไม่ใช่เป็นเรื่องของการทำสมาธิ แต่มันเป็นเรื่องของการเรียนรู้จับความรู้สึกถึงทิศทางการเคลื่อนไหวของไอ้ลูกปิงปองนี้

ศูนย์ถ่วงเอามาทำอะไรได้อีกเยอะ เบื้องต้นที่เห็นชัดเจนคือ เอามาใช้ในการทำคุสุชิ ลักษณะไปฟิตเจอริ่งกับไทซาบากิ ตรงนี้เป็นเรื่องที่เคยรู้มาก่อน เจ้าสำนักโคโดกัง อุเอมุระ ฮารุกิเซนเซเคยสอนเมื่อนานมาแล้วในท่าโออุจิการิ และปีนี้เซนเซมาสอนอีกครั้งในท่าโอโซโตการิ โดยใช้ศูนย์ถ่วงมาช่วยในการทำคุสุชิ

ตัวอย่างโอโซโตการิของเจ้าสำนัก ที่เน้นแค่ศูนย์ถ่วง ตอนที่เข้าท่าเราขยับตัวเข้าไปหาหุ่นด้านข้าง ตรงนี้ลองเป็นแบบเปิดหน้าท้อง ยืดอกไม่งอหลัง งอเข่าลงเล็กน้อย การเข้าโดยให้ศูนย์ถ่วงเราเคลื่อนไปด้านหน้าเล็กน้อย (สำคัญเรื่องรักษาสมดุลย์ของเราให้ดี) การที่เราใช้ศูนย์ถ่วงเลื่อนไปด้านหน้ามันจะพอดีกับจังหวะที่เราทำคุสุชิ ดึงหุ่นให้ถอยหลังเล็กน้อย แต่เราไม่ได้ใช้แรงอะไรเลย แค่ขยับเดินให้ศูนย์ถ่วงเราเป็นตัวดึงทำคุสุชิ จังหวะสกุริยังคงเกี่ยวข้องกับศูนย์ถ่วง เราทำลักษณคล้ายๆกับเดินหน้าไปปกติ แรงต่อเนื่องจากศูนย์ถ่วง ยังไม่ทันตวัดขา หุ่นก็ลอยถอยหลังไปครึ่งตัวแล้ว

ท่านนี้เคยมีโอกาสเรียนกับเจ้าสำนักมาเมื่อ3ปีก่อน แต่ตอนนั้นไม่ได้ใส่ใจ และยังไม่เข้าใจถึงหลักการทำงานและองค์ประกอบในวงจรท่าทุ่ม เลยเข้าหูซ้ายทะลุผ่านออกไป ปีนี้มีโอกาสมานั่งวิเคราะห์พิจารณาดูแล้ว เออ มันเลิศมาก ถ้าเราสามารถเข้าใจหลักการทำงานของศูนย์ถ่วงแล้ว มันสามารถปรับใช้กับท่าทุ่มได้ทุกท่า ถึงจุดนี้ไม่แปลกใจละ ว่าทำไมพวกรุ่นอาวุโสที่โคโดกังเอาเรี่ยวแรงจากไหนมาใช้ตอนรันโดริ

ท้ายสุด เพิ่งเจอมากับตัว (O_o)
เคยเห็นคลิปที่มิฟุเนะเซนเซ รันโดริกับพวกเซนเซดั้งสูง หลายๆครั้งที่เซนเซใส่ท่าทุ่มและสามารถช้อนมิฟุเนะเซนเซลอยขึ้นไปด้านบน ทุกอย่างสมบูรณ์พร้อมเพียงแต่มิฟุเนะเซนเซเข้าใจการใช้ศูนย์ถ่วงได้อย่างดีเยี่ยม สามารถถ่ายเทเปลี่ยนศูนย์ถ่วงให้ลงตัวจนเซนเซที่ใส่ท่าช้อนขึ้นไปนั้นทำอะไรไม่ได้นอกจากเพียงแค่ต้องถอยเอาวางกลับลงมา (เตี้ยมกันเปล่าวะ?) รอบนี้เจอกับตนเองตอนไปซ้อมกับเด็กมหาลัยอิโตสึบาชิ คู่ซ้อมเป็นกัปตันทีมชมรมยูโดของมหาลัยนั้น ท่าผมไม่ได้ดีเลิศอย่างเซนเซที่รันโดริกับมิฟุเนะเซนเซ และคู่ซ้อมผมก็ไม่ได้เก่งขนาดมิฟุเนะเซนเซ เทียบกันแล้วเป็นการซ้อมของรุ่นเล็กถึงเล็กมาก แต่สิ่งที่เจอคล้ายๆว่าจะเป็นเรื่องศูนย์ถ่วง ครั้งแรกสุดที่สามารถทุ่มได้ด้วยฮาเนโกชิน่าจะเป็นการสมยอมผสมกับความไม่รู้ว่าจะมาท่านี้ แต่ถัดมาไม่ว่าจะพยายาม3-4ครั้ง ทุกครั้งสามารถช้อนลอยขึ้นไป แต่มันเป็นห่าไรไม่รู้ เกาะติดอยู่บนตัว สบัดไม่หลุด ตั้งใจทุ่มเต็มที่แต่ทำได้เพียงแค่วางกลับลงมาที่เดิม (พอลงปุ๊บไม่ไทโอก็โอโซโตสวนกลับมาทันที...เละ!!โดนแบบนี้ทุกครั้งที่วางลง) ทั้งนี้ทั้งนั้นการรันโดริตรงนี้ซ้อมอยู่บนพื้นฐานที่ใช้เฉพาะท่าที่ซ้อม ท่าที่ซ้อมของผมไม่มีทิ้งตัว เพราะถึงเกาะติดบนหลังยังไงถ้าเข่าอ่อนทิ้งตัวลงยังไงก็ลงทั้งคู่ แต่ลงไปแล้วได้อะไร? คู่ซ้อมก็เช่นกันไม่คิดที่จะใช้อุระนาเกะ ตัดหลัง หรืออุชิโร่โกชิ เพราะท่าที่ฝั่งนั้นซ้อมมาคือไทโอโตชิกับโอโซโตการิ (แต่แม่งแอบเปิดศูนย์ถ่วงมาใช้)

สรุปแล้ว วงจรท่าทุ่มยูโดประกอบด้วยคุสุชิ สกุริ คาเคะตามขั้นตอนไล่มาทีละสเต็ป โดยมีไทซาบากิเป็นเครื่องทุ่นแรง เริ่มต้นซ้อมจะใช้แรงไม่มีใครว่า แต่พอเป็นแล้วค่อยๆตัดแรงที่ฟุ่มเฟือยไม่มีประสิทธิภาพออกไป จากนั้นค่อยๆปรับไปเล่นแนวคนแก่โดยเน้นเรื่องการขยับจุดศูนย์ถ่วง มันจะช่วยทำให้เราสามารถเล่นยูโดไปจนแก่ได้




 

Create Date : 08 สิงหาคม 2559
0 comments
Last Update : 8 สิงหาคม 2559 0:11:20 น.
Counter : 1788 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


ablaze357
Location :
Chiba Japan

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 15 คน [?]




「精力善用」「自他共栄」
Maximum efficient use of energy and mutual prosperity for self and others
New Comments
Friends' blogs
[Add ablaze357's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.