Group Blog
 
 
ตุลาคม 2558
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
25262728293031
 
1 ตุลาคม 2558
 
All Blogs
 
ยูโด มือใหม่ทุ่มไม่ได้

วันนี้หลังจากที่ซ้อมยูโดเสร็จเกิดคำถาม ...

ทำไม ? คนที่เพิ่งหัดเล่นยูโดแรกๆถึงใช้ท่าทุ่มจำพวกหมุนตัวไม่ค่อยจะได้???

ทั้งๆที่ผมลองทดสอบโดยการเอาแรงเข้าปะทะดู คู่ซ้อมหลายต่อหลายคนมีเรี่ยวแรงมากกว่าผมด้วยซ้ำไป (กีฬายูโดเป็นกีฬาที่คนตัวเล็กสามารถทุ่มคนตัวใหญ่ได้...โอ้ยท่องกันมาตลอด แต่เห็นอาจารย์ยูโดหลายๆท่านปั้มกล้ามปั้มหุ่นกันซะ)


เท่าที่คิดออก คีย์สำคัญมันน่าจะอยู่ที่สองตัว ①ลำดับวงจรของการทุ่ม ②การฝึกเข้าท่า


①เรื่องลำดับวงจรของการทุ่มมันอยู่ที่3+1 คุสุชิ สกุริ และ คาเคะ + เรื่องของไทซาบากิ มันเป็นเรื่องยาว....มาก พยายามจะสรุปให้สั้นคือวงจรการทุ่มของยูโดที่เรียนมาเริ่มจาก คุสุชิ-การดึงให้หุ่นเสียหลัก (เดี๋ยวกลับมาต่อเรื่องคุสุชิเพราะต้องอธิบายถึงชูชินหรือจุดศูนย์ถ่วงด้วย) หลังจากการดึงให้เสียหลักแล้วก็ตามมาด้วยสกุริ-การเข้าท่าของเราในจังหวะที่หุ่นเสียหลักโดยที่เราหรือคนที่เข้าท่าจะต้องไม่เสียสมดุลย์ จากนั้นถึงจะตามมาด้วยคาเคะ-การควบคุมทิศทางในการทุ่ม โดยที่ไม่ฝืนวงจรการหมุนของแรง ทั้งสามตัวจะให้ง่ายขึ้นต้องอาศัย+1 นั้นคือไทซาบากิ-การขยับร่างกาย(โดยอยู่ในสมดุลย์)ของเราสามารถช่วยในการดึงแรงออกมาใช้อย่างเป็นธรรมชาติ


ปัญหาหลักของคนที่เพิ่งเริ่มเล่นคือไม่รู้จักคุสุชิ ถ้าไม่รู้ว่าคุสุชิคืออะไร ไม่สามารถเอาคุสุชิออกมาใช้ การทุ่มมันจะยากลำบากมากและต้องใช้แรงอย่างมากในการที่จะทุ่มใครซักคน ทีนี้มันจะกลายเป็นกีฬาคนตัวใหญ่ทุ่มคนตัวเล็ก


คุสุชิทุกคนรู้อยู่แล้วคือการดึงให้เสียหลักแล้วดึงยังไงให้เสียหลัก ชิโมยาม่าเซนเซอาจารย์ที่โคโดกังได้อธิบาย (แล้วผมคิดว่าน่าจะเป็นคำอธิบายที่เข้าใจง่ายสุดละ) โดยเกี่ยวข้องกับเรื่องของชูชิน หรือภาษาไทยคือเรื่องของจุดศูนย์ถ่วง


จุดศูนย์ถ่วงให้คิดซะว่าคือลูกปิงปอง ที่ถูกผูกเชือกห้อยเอาไว้ตรงกลางหว่างขา การดึงใครซักคนเอียงมาทางด้านหน้าเล็กน้อยลูกปิงปองลูกนี้ก็จะเฉออกมา แค่เฉออกมาเล็กน้อยเพียงเซนหรือสองเซน ตรงนั้นก็คือคุสุชิ ดึงไปซ้ายดันไปขวาหรือด้านหลัง ลูกปิงปองสามารถแกว่งและเฉไปมาได้ทั้งนั้น ตรงนี้ก็คือคุสุชิเช่นกัน


แต่คุสุชิไม่ได้ทิ้งช่วงนานนัก การที่เราดึงใครเสียหลักมาทางด้านหน้าเล็กน้อย หุ่นที่ถูกดึงรู้สึกเสียสมดุลย์เลยก้าวขาออกมา1ก้าวเพื่อรักษาสมดุลย์ ขาก้าวออกมาทำให้คุสุชิหายไป!! เพราะหุ่นสมดุลย์กลับมาดังเดิมแค่เปลี่ยนท่าขยับเท่านั้น


ลูกเล่นของคุสุชิถ้ามองลึกลงไป สามารถเอารีแอ็คชั่นของหุ่นมาเล่นได้อีกเพียบ เช่นเราดึงไปทางขวาค้างไว้อย่างนั้น จะน้อยยังไงหุ่นก็ต้องมีแรงต้าน (ขึ้นอยู่กับว่าเราจับจุดตรงนั้นได้มั้ย) พอเราถอนแรงที่ดึงออกหุ่นถอนแรงต้านเช่นกัน แต่ถอนช้ากว่าสกุริของเรา เราก็สามารถทุ่มได้โดยอาศัยแรงต้านของหุ่นที่ยังถอนออกไม่หมดมาทุ่มได้ ตัวอย่างนี้ทำให้รู้ว่าคุสุชิไม่ได้เกิดได้เฉพาะการดึงเพียงอย่างเดียว (การหยุดดึงก็สามารถทำให้เกิดคุสุชิได้เช่นเดียวกัน) ตรงจุดนี้ถึงเป็นที่มาของคำว่า "อยากดันให้ดึง-อยากดึงให้ดัน"


ออกทะเลมาไกล... ทีนี้กลับมาถึงเรื่องที่ว่าทำไมเด็กใหม่ทุ่มไม่ได้ สรุป-ครึ่งนึงเกิดจากไม่เข้าใจและทำคุสุชิไม่เป็น จบ (สั้นไปมั้ย?)


②อีกครึ่งนึงเป็นเรื่องของการซ้อมเข้าท่า เพิ่งเริ่มเล่นทุกคนฝันไว้ว่าอยากได้ท่าเท่ ท่าเทพ (555ผมก็เป็นคนนึงที่ช่างฝัน) เอาละวะ ขอเอาดีท่าไทโอโตชิ ฮาไรโกชิ เซโอนาเกะ อุจิมาตะก็เท่ ส่วนใหญ่ร้อยละ80ของท่าเท่ๆที่เราอยากใช้(โชว์สาว)แล้วมันคือท่าหมุนตัว180องศา !!!


เวลาซ้อมเข้าท่าจำพวกนี้ ผมจับขวา ก็เอาขาขวาก้าวไปข้างหน้า ทำให้ดูดีมีหลักการซักหน่อยก็ทำเป็นมุมสามเหลี่ยม ดึง แล้วหมุนขาไป จากนั้นทุ่ม ...อุ๊ยเกือบลืมเรื่องคุสุชิ สกุริ และ คาเคะ โชคดีจังยังไม่ลืม เอาเติมเข้าไปให้หมดตอนเข้าท่า กี่ครั้งดี?? เอา100ครั้งละกัน เข้าจนเสร็จ...เหนื่อยจัง แต่คุ้มวะ กำลังจะทุ่มท่าเทพๆได้แล้ว


มาคิดๆดู สิ่งที่เราทำอุจิโกมิหรือการเข้าท่าในลักษณะนี้ คนที่เพิ่งเริ่มกับยูโดจะทำแค่มุมเดียว นั้นคือการเข้าท่าแบบเดินหน้าและหมุนตัวไปทางด้านหน้า พอไปรันโดริก็ทำตามนั้น แต่โชคร้ายซะส่วนใหญ่เพราะท่ากับการขยับตัวมันขัดกันโดยธรรมชาติ (ของคนหัดเล่นยูโด)


ใช่เราซ้อมเข้าท่ามาดี เป็นการซ้อมเดินหน้าหมุนตัว แต่ทิศทางการทุ่มของท่าหมุนตัว180องศาจำพวกนี้ ทิศทางคุสุชิของหุ่นคือจะต้องดึงตัวหุ่นมาทางด้านหน้า เราเข้าท่าก็เดินหน้าเข้าไป แทนที่จะดึงหุ่นมาด้านหน้ากลับกลายเป็น(บังเอิ้น บังเอิญ)เดินเข้าไปหาหุ่นเองซะทั้งนั้น ตรงนี้แหละอีกปัจจัยนึงที่ทำให้ทุ่มไม่ได้ อ้าวรวมๆแล้วก็ยังคงเป็นเรื่องของคุสุชิอยู่ดี!!


ทีนี้ทำยังไงดีละ อยากทุ่มต้องได้ทุ่ม!! คำตอบคือไปซ้อมครับ ซ้อมบ่อยๆ เน้นเรื่องคุสุชิก่อน เอาแบบดึงกันให้เห็นๆก่อน จับจุดได้แล้วค่อยๆผ่อนแรงใช้แรงให้น้อยลงเรื่อยๆ ถึงจุดนั้นค่อยๆเอาทฤษฏี อยากดึงให้ดันอยากดันให้ดึงมาใช้


ส่วนเรื่องอุจิโกมิเข้าท่ายังต้องทำปกติ แต่อยากให้เสริมอุจิโกมิอีกตัวเข้าไป นั้นคืออุจิโกมิในท่าเทพๆที่ตนเองฝันอยากใช้ แต่เป็นอุจิโกมิแบบก้าวหมุนตัวถอยหลัง เอาแบบว่าเข้าท่าก้าวหมุนตัวด้านหน้า10ครั้ง ก็อย่าลืมก้าวหมุนตัวหลัง10ครั้งด้วย ถ้าทำ100หน้าก็อย่าลืม100หลังด้วย


ทีนี้พอเราถนัดก้าวหลังพอๆกับการขยับก้าวหน้าแล้ว ตอนรันโดริจังหวะที่หุ่นเดินตามมาหรือจังหวะที่เราก้าวถอยหลังนั้น ผมว่ามันทุ่มง่ายกว่าจังหวะขยับเดินหน้าเยอะครับ โดยเฉพาะน้องๆพวกที่เพิ่งหัดเล่นไม่นาน


สรุปแล้วพอเกิดคำถามขึ้นในใจ ก็จะเรียบเรียงเป็นคำตอบซะเอง555 พิมพ์จนตาแฉะหวังว่าคงมีประโยชน์สำหรับน้องๆที่เพิ่งเริ่มเล่นนะครับ




Create Date : 01 ตุลาคม 2558
Last Update : 1 ตุลาคม 2558 9:35:43 น. 0 comments
Counter : 1183 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

ablaze357
Location :
Chiba Japan

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 15 คน [?]




「精力善用」「自他共栄」
Maximum efficient use of energy and mutual prosperity for self and others
New Comments
Friends' blogs
[Add ablaze357's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.