Group Blog
 
<<
มกราคม 2559
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
31 
 
19 มกราคม 2559
 
All Blogs
 
ยูโด การซ้อมและมุมมอง(ตอนใส่ชุดยูโด) ตอนที่1 "เก้าอี้ควรจะต้องมีสี่ขา"



วันนี้มาซ้อมที่จุฬา การซ้อมพื้นฐานในส่วนของท่านอนหรือที่เรียกกันว่าเนวาซะ โดยการให้คนนึงเริ่มจากท่าเต่า ส่วนอีกคนเกาะอยู่ด้านหลังเอาไว้ คนที่อยู่ในท่าเต่าพลิกหรือยังไงก็ได้ที่ทำให้หันมาทางด้านหน้าและคู่ซ้อมไม่เกาะติดอยู่ที่หลัง ในทางกลับกันคนที่อยู่ด้านหลังก็ต้องพยายามเกาะติดอยู่ด้านหลังไม่ให้อีกคนพลิกขึ้นมาหน้าชนหน้า

การซ้อมง่ายๆแค่นี้แหละ แต่วิเคราะห์ถักทอร้อยเรียงให้ดีมันจะไปในทิศทางเดียวกัน การซ้อมพื้นฐานตัวนี้ทำให้หวนคิดไปถึงคำสอนของอาจารย์ยูโดถึงห้าท่าน

ท่านแรกที่คิดถึงคืออาจารย์ประสิทธิ์ การซ้อมตัวนี้มาจากแนวคิดของอาจารย์ประสิทธิ์ ที่ว่าคนที่ถูกเกาะอยู่ด้านหลังและสลัดไม่ออกจะไม่สามารถทำอะไรคนที่เกาะอยู่ด้านหลังเป็นเงาตามตัว ในขณะที่คนที่เกาะหลัง พอได้จังหวะสามารถพลิกมาใช้ท่าที่ต้องการได้ ไม่ว่าจะเป็นหักเชือดหรือกดโอไซโกมิก็ว่ากันไป

ในขณะที่ซ้อมวันนี้ มีการสลับกันทั้งเป็นคนที่เกาะหลังและเป็นคนที่ถูกเกาะ ช่วงที่ถูกเกาะผมคิดไปถึงเก้าอี้ที่มีสี่ขานั้นคือมือสองและขาสองของคู่ซ้อมที่เกาะอยู่ การที่จะทำลายสมดุลย์ของเก้าอี้ที่มีสี่ขา คือ เล็งไปซักขานึง จะเอาขาหรือแขนก็ได้เลือกเอาซักจุดนึง ผมเลือกที่แขนเพราะมันใกล้ตัวที่สุดและมันก็ได้ผลพอเก้าอี้มันเหลือสามขาสมดุลย์ก็เสียและสามารถพลิกกลับขึ้นมาได้ไม่ยาก ถึงตรงจุดนี้แนวคิดของอาจารย์อีกสองสามท่านได้โผล่ขึ้นมา

ยามาโมโต้เซนเซ (อาจารย์ประจำชั้นของผมในคลาสโคโดกัง) เคยอธิบายถึงทฤษฏีเก้าอี้เอาไว้ตอนซ้อมท่านอนช่วงการซ้อมภาคฤดูหนาวเมื่อสามปีที่แล้ว ซึ่งตรงกันกับที่ผมใช้เรื่องการเปรียบเทียบขาสองแขนสองของคู่ซ้อมเป็นขาเก้าอี้ทั้งสี่ข้าง (จริงๆแล้วแนวคิดการทำลายสมดุลย์เก้าอี้ของผมก็มาจากอาจารย์ท่านนี้ละครับ) ถ้าทำให้ขาเก้าอี้ข้างนึงสั่นคลอนจะสามารถทำลายเก้าอี้ทั้งตัวลงมาได้ เรื่องเก้าอี้นี้อาจารย์โทนของม.ธุรกิจบัณฑิตก็เคยพูดถึง แต่เป็นการพูดถึงในส่วนของท่ายืน โดยเปรียบการทุ่มกับสมดุลย์ของเก้าอี้

อาจารย์อีกท่านนึงที่คิดถึงคือ มัสสึมุระเซนเซ อาจารย์ผู้เชี่ยวชาญเนวาซะสายโคเซ็นยูโด อาจารย์ท่านนี้เคยสอนผมบวกเลข (ทฤษฏีบวกเลขอาจารย์ประสิทธิ์ก็เคยพูดถึงเช่นกัน) เลขที่เอามาคิดคำนวณคือส่วนต่างๆของร่างกาย โดยบวกคำนวณหาความได้เปรียบเสียเปรียบของร่างกาย ยกตัวอย่างเช่น แขน2ข้างจะได้เปรียบกว่าแขนข้างเดียว ขา1ข้างจะมีภาษีดีกว่าแขน1ข้าง กระดูกหรือกล้ามเนื้อชิ้นที่ใหญ่กว่าจะมีแรงมากกว่ากระดูกหรือกล้ามเนื้อชิ้นที่เล็กกว่า กระดูกหรือกล้ามเนื้อชิ้นที่ใหญ่กว่าที่เห็นชัดๆคือหลังและสะโพก การจะทำลายขาเก้าอี้ทฤษฏีบวกลบเลขมีประโยชน์มากมาย คำขวัญของโคเซ็นยูโดผมจำทั้งหมดไม่ได้แต่ความหมายโดยรวมคือขาแข็งแรงกว่าแขน แต่สิ่งที่ทรงประสิทธิภาพมากที่สุดคือสมอง ดังนั้นเนวาซะโคเซ็นยูโดจะไม่ใช้แรงงัดแรงแต่เน้นสมองและเทคนิคในการห่ำหั่นกัน (เรื่องการไม่ใช้แรงงัดแรงยามาโมโต้เซนเซก็เคยอธิบายไว้เช่นเดียวกัน)

อาจารย์อีกท่านที่นึกถึงคือ อาจารย์เป้ แนวคิดของอาจารย์เป้จะเป็นการต่อยอดจากการซ้อมท่านอนไปสู่ท่ายืน การซ้อมวันนี้เป็นพื้นฐาน เล่นๆขำๆ แต่มองลึกลงไปมันต่อยอดยาวขึ้นไปในส่วนของท่ายืนได้ ยกตัวอย่างเช่น ความคล่องตัว การใช้ข้อมือ การใช้สะโพก สิ่งเหล่านี้มันเป็นพื้นฐานทั้งส่วนของท่านอนและต่อไปยังท่ายืนได้

ยูโดของผม มักจะวนเวียนอยู่กับสิ่งที่เรียกว่า"พื้นฐาน" เพราะผมได้เรียนรู้และถูกสั่งสอนมาจากเรื่องพื้นฐาน สมัยก่อนที่เพิ่งเริ่มเรียนยูโดใหม่ๆมีหลายครั้งที่ผมแว๊บอยากจะขึ้นทางด่วนข้ามแยกพื้นฐานไป แต่โชคดีที่อาจารย์หลายท่านคอยเตือนสติให้กลับรถลงจากทางด่วนกลับไปเน้นย้ำเรื่องพื้นฐาน แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นเป้าหมายของยูโดแต่ละท่านแตกต่างกันใครจะเลือกเส้นทางไหน ตามสบายครับ เพราะไม่ว่าจะเป็นเป้าหมายหรือเส้นทางไหนมันก็ไม่เกี่ยวอะไรกับผม



Create Date : 19 มกราคม 2559
Last Update : 16 เมษายน 2559 23:07:40 น. 0 comments
Counter : 1646 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

ablaze357
Location :
Chiba Japan

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 15 คน [?]




「精力善用」「自他共栄」
Maximum efficient use of energy and mutual prosperity for self and others
New Comments
Friends' blogs
[Add ablaze357's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.