สิ่งใดไม่เคยมีมา ก็มีมา สิ่งใดมีมา ก็ดับไป 0พ่อใหญ่ Old Man
Group Blog
 
All blogs
 
กลยุทธ์ที่ 20 กวนน้ำจับปลา

กลยุทธ์ที่ 20 กวนน้ำจับปลา

กลยุทธ์นี้มีความหมายว่า เมื่อข้าศึกเกิดความปั่นป่วนในกองทัพของตน เราจักต้องฉวยโอกาสความวุ่นวาย มิรู้ที่จะทำประการใดของข้าศึกนี้ แย่งยึดเอาผลประโยชน์มา หรืออีกนัยหนึ่ง “เอาชัยจากความปั่นป่วน” ดุจดังพายุฝนกระหน่ำยามค่ำคืน ที่ต่ำก็จักขังน้ำ ผู้คนจักเข้าสู่นิทรารมณ์ อันเป็นปกติวิสัยของธรรมชาติมนุษย์ “กวนน้ำจับปลา” ก็คือกวนน้ำให้ขุ่น ให้ปลางุนงง ลงจับก็ง่าย อันนับเป็นกลยุทธ์ฉวยโอกาสเข้าตีเอาชัย เมื่อข้าศึกกำลังชุลมุนปั่นป่วนอย่างหนึ่ง

กลยุทธ์นี้สรุปได้ว่า “ปลาไม่เห็นทิศทางเมื่อน้ำขุ่น คนแยกจริงเท็จไม่ออกยามชุลมุน จึงเกิดช่องว่างอันมากหลายที่จะเอาประโยชน์ได้ “กวนน้ำจับปลา” ย่อมหมายถึงในสงครามชุลมุนแห่งการแก่งแย่งอำนาจกันนั้น ควรฉวยโอกาสใช้กำลังที่อ่อนแอโลเลให้คล้อยตามความประสงค์ของตน ที่สำคัญคือเอาเท็จพรางจริง กวนน้ำให้ขุ่นโดยเจตนา แล้วรีบซ้ำเติมเอาชัยแก่ศึกเสีย ดังนี้


กลยุทธ์ที่ 21 จักจั่นลอกคราบ

กลยุทธ์นี้มีความหวายว่า รักษาไว้ซึ่งแนวรบเยี่ยงเดิม ให้ดูน่าเกรงขามเหมือนเก่า ฝ่ายมิตรก็มิสงสัย ฝ่ายข้าศึกมิกล้าผลีผลาม ครั้นแล้ว จึงถอนตัวอย่างปกปิด เคลื่อนกำลังหลักให้หลบเลี่ยงไป “เลี่ยงเพื่อสลาย ลวง” คำนี้มาจาก “คัมภีร์อี้จิง ลวง” “เลี่ยง” ก็คือหลบหลีก “ลวง” ก็คือทำให้งงงวย นี้นับเป็นกลยุทธ์ถอยทัพอย่างไม่กระโตกกระตาก เพื่อเป้าประสงค์ที่กำหนดไว้ หรือหลีกเลี่ยงความสูญเสียอย่างหนึ่ง

กลยุทธ์นี้สรุปได้ว่า “จักจั่นรอกคราบ เป็นวิธีสะบัดให้หลุดพ้นจากการเผชิญหน้ากันข้าศึก ด้วยการเคลื่อนย้ายหรือถอยทัพ ที่ว่า “ลอก” มิใช้อย่างตื่นตระหนก อย่างขวัญหนีดีฝ่อ แต่ยังคงไว้ซึ่งรูปโฉมภายนอก ทว่าได้ถอดเนื้อหาออกไปหมดสิ้นแล้ว หนีแสดงว่าไม่หนี ปกปิดข้าศึก เพื่อให้หลุดพ้นจากห้วงอันตราย วิธีการ “ลอกคราบ” มีหลายแบบหลายอย่าง เนื้อแท้ก็คือการใช้เล่ห์กลหลอกลวงข้าศึก เป็นพฤติการณ์ที่ใช้การพรางตา ปลอมปนความจริงเอาตัวรอดนั้นเอง”


กลยุทธ์ที่ 22 ปิดประตูจับโจร

กลยุทธ์นี้มีความหมายว่า ต่อข้าศึกอ่อนแอจำนวนน้อย พึงโอบล้อมแล้ว ทำลายเสียให้สิ้น เพื่อมิให้เป็นภัยแก่เราในภายหลัง “ปล่อย มิเป็นคุณซึ่งติดพัน” มาจาก “คัมภีร์อีกจิง ปล่อย” “ปล่อย” ในที่นี้หมายถึงการแตกกระจายออกเป็นกองเล็กกองน้อยของข้าศึก กำลังก็อ่อนเปลี้ยจนไร้สมรรถนะที่จะสู้รบแล้ว “ติดพัน” หมายถึงการไล่ติดตามไม่ลดละทั้งใกล้และไกล “มิเป็นคุณซึ่งติดพัน” ก็คือ ต่อข้าศึกกองเล็กกองน้อย ปล่อยให้หนีไปได้ แม้จะเล็ก แต่ก็สามารถย้อยกลับมาสร้างความยุ่งยากแก่เรา จนเราต้องไล่ติดตามเพื่อทำลายเสีย เช่นนี้มิเป็นประโยชน์แก่เรา ความหมายเดิมของ “ปิดประตูจับโจร” ก็คือ เมื่อโจรเข้าตีชิงในบ้าน ปิดประตูบ้านจึงจะจับโจรไว้ได้ ส่วนความหมายทางด้านการทหารและอื่นๆ ก็อุปมาว่าเป็นกลยุทธ์โอบล้อมทำลายข้าศึกกองย่อยๆให้สิ้น เพื่อมิให้ก่อกวน ทำอันตรายแก่เราได้ในภายหลังอย่างหนึ่ง

กลยุทธ์นี้สรุปได้ว่า “เมื่อจักจับโจร พึงตัดทางหนี โอบล้อมไว้ให้แน่นหนา หากโจรเข้าในเมือง จงปิดประตูเมืองให้สนิท มิให้ทางเล็กรอดออกไปได้ จึงจักถูกจับได้โดยละม่อม กลับกัน พบโจรก็ไล่ ไม่ปิดประตูเมือง ไล่เหนือไปใต้ โจรก็พ้นไป โจรที่หนีพ้น ย่อมจักย่ามใจ จักย้อยกลับมาอีกพร้อมด้วยพรรคพวก หากปิดทางหนีโจรจะมิกล้า อู๋จื่อกล่าวไว้ว่า "โจรที่ไม่คำนึงถึงความตาย หากซ่อนตัวตามสุมทุมพุ่งไม้ในป่ากว้าง ก็พอจักทำให้กำลังซึ่งติดตามมาเป็นพ้นคนอกสั่นขวัญแขวน ลมพันใบไม้ไหวก็แตกตื้น เพราะมิรู้ว่า โจรจะปรากฏตัวออกมาจู่โจมเอาชีวิตเมื่อใด จับโจร จึงควรระวังมิให้เป็นปลาลอดร่างแห”


กลยุทธ์ที่ 23 คบไกลตีใกล้

กลยุทธ์นี้หมายความว่า เมื่อถูกจำกัดโดยสภาพแวดล้อม ควรตีเอาข้าศึกที่อยู่ใกล้ตัว จึงจะเป็นประโยชน์แก่ตน โจมตีข้าศึกที่อยู่ไกล จักเป็นผลร้ายแก่ตน “เปลวไฟลอยขึ้น น้ำบึงไหลลง” หมายความว่า การผูกมิตรนั้น แม้ความคิดเห็นจะไม่ตรงกัน ก็สามารถที่จะร่วมมือกันได้ชั่วระยะเวลาหนึ่ง คำนี้มาจาก “คัมภีร์อี้จิง ต่าง” ความว่า “เปลงไฟลอยขึ้น น้ำบึงไหลลง บุรุษจักร่วมกันเพราะความผิดแผก” ดังนั้น ต่อข้าศึกใกล้และไกล พึงมีนโยบายที่แตกต่างกัน นี้เป็นกลยุทธ์ที่ผูกมิตรกับรัฐไกล เพื่อเอาชัยต่อรัฐใกล้อย่างหนึ่ง

กลยุทธ์นี้สรุปได้ว่า “นี้เป็นยุทธศาสตร์ยุทธวิธีแยกสลายหรือป้องกันการร่วมมือกันของฝ่ายตรงข้าม เพื่อบรรลุจุดมุ่งหมายในการตีให้แตกที่ละส่วน ที่คำโบราณจีนเคยกล่าวไว้ ว่า “ญาติไกลมิสู้มิตรใกล้” นั้นตรงกันข้ามกับกลยุทธ์นี้ แท้ที่จริงแล้ว ในความสัมพันธ์ระหว่างประเทศในปัจจุบัน ความขัดแย้งกับประเทศไกลมักจะเกิดน้อย กับประเทศใกล้กับจะมากว่า เพราะอาจจะมีการกระทบกระทั้งกันในเรื่องผลประโยชน์และอื่นๆอีกนานาประการ กลยุทธ์นี้จึงเป็นหลักปรัชญาในการแสวงหาประโยชน์พร้อมทั้งป้องกันตัวไปด้วยในขณะเดียวกัน สุดแต่ผู้ใดจักใช้ให้เกิดประโยชน์แก่ตน”


กลยุทธ์ที่ 24 ยืมทางพรางกล

กลยุทธ์นี้มีความหมายว่า ประเทศเล็กที่อยู่ในระหว่าง 2 ประเทศใหญ่เมื่อถูกข้าศึกบังคับให้สยบอยู่ใต้อำนาจ เราพึงให้ความช่วยเหลือโดยพลัน เพื่อให้ประเทศที่ถูกข่มเหงเชื่อถือ ต่อประเทศที่ตกอยู่ในความยากลำบาก การช่วยเหลือแต่เพียงทางวาจา มิได้มีการกระทำที่เป็นจริง ย่อมจะได้รับความไว้วางใจจากผู้ที่รอดความช่วยเหลือ “ทุกข์ จักมิเชื่อเพียงวาจา” มาจาก “คัมภีร์อี้จิง ทุกข์” ความเต็มว่า “เมื่ออยู่ในทุกข์ จักไม่เชื่อใครโดยง่าย จึงมิเชื่อเพียงวาจา” อันนับเป็นกลยุทธ์ในการหลอกยืมทางผ่าน เพื่อบรรลุการให้ยึดครองอีกฝ่ายที่เราประสงค์อย่างหนึ่ง

กลยุทธ์นี้สรุปได้ว่า “ปัญหาของกลยุทธ์นี้อยู่ที่คำว่า “ยืมทาง” ถ้ายืมทางได้ ทุกสิ่งทุกอย่างก็สำเร็จ เพราะฉะนั้น ผู้ที่ใช้กลยุทธ์ยืมทาง จักอ้างเหตุผลในการยืมทางให้ดี เพื่อปกปิดจุดประสงค์ที่แท้จริงของตน ความจริงคำว่า “ศัตรูบังคับให้(อีกฝ่ายหนึ่ง)สยบ เราพึงแสดงท่าที” นั้น ก็คือฉวยโอกาสที่ “อีกฝ่ายหนึ่ง” เพลี่ยงพล้ำ เรายืมมือเข้าไปช่วย แล้วเอาประโยชน์จากนี้ อันที่จริงการกระทำดังนี้ เป็นพฤติการณ์ที่ไร้คุณธรรมอย่ายิ่ง แต่ในสงครามหรือการต่อสูงใดๆ ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันเรามักจะเป็นปรากฏการณ์เช่นนี้อยู่ทั่วไปในชีวิตจริง เพราะเหตุว่า แต่ละฝ่ายย่อมจะเริ่มต้นจากผลประโยชน์ของตนเองเป็นใหญ่ หากปราศจากเสียซึ่งการร่วมมืออันถาวร ก็จักไม่มีการช่วยเหลือที่แท้จริง มิตรและศัตรู คำมั่นสัญญากับการปฏิบัติจึงพึงจำแนกให้ชัด พิจารณาให้ถ่องแท้ มิฉะนั้นแล้ว หากเห็นแก่ได้ถ่อยเดียวก็จักสูญเสียทุกสิ่งทุกอย่าง แม้กระทั้งชีวิตตน”

กลยุทธ์ที่ 25 ลักขื่อเปลี่ยนเสา

กลยุทธ์นี้มีความหมายว่า ต่อกำลังที่ร่วมรบด้วยข้าศึกกับเราหรือต่อข้าศึกจักต้องหาทางเปลี่ยนแปลงแนวรบฝ่ายนั้นอยู่เสมอ ถอดถอนเคลื่อย้ายกำลังสำคัญของฝ่ายนั้นไป รอให้ฝ่ายนั้นอ่อนแอต้องประสบกับความพ่ายแพ้จึงฉวยโอกาสแปรกำลังฝ่ายนั้น ให้กลายมาเป็นของเรา แล้วควบคุมกำลังของฝ่ายนั้นไว้ใต้การบัญชา “หยุดซึ่งกงล้อ” มาจาก “คัมภีร์อี่จิง มิทัน” อันหมายความว่ารถคันหนึ่งนั้นสำคัญที่ล้อ ถ้าหยุดล้อได้ก็สามารถบังคับให้เคลื่อนที่ไปตามความประสงค์ของเรา อันเป็นกลยุทธ์กลืนกำลังของพันธมิตรหรืสลายกำลังของข้าศึกอย่างหนึ่ง

กลยุทธ์นี้สรุปได้ว่า “กลยุทธ์นี้มีความหมาย 2 นัย หนึ่งหมายถึงการหาทางสับเปลี่ยนกำลังหลักของพันธมิตรชั่วคราวที่เป็นศัตรูโดยเนื้อแท้ เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ในการทำลายหรือกลืนกินพันธมิตรนั้นเสีย ซึ่งในสมัยศักดินาโบราณ มักจะชอบกระทำกันเป็นนิจ โดยมิได้คำนึงสัจวาจาหรือศิลธรรมแต่ประการใด อีกนัยหนึ่งหมายถึงเป็นกลยุทธ์ในการโยกย้ายกำลังหลักของฝ่ายข้าศึก โดยใช้กลลวงต่างๆนานา ทำให้ข้าศึกต้องเปลี่ยนแนวรบหรือเคลื่อนย้ายกำลังไปตามความประสงค์ของเรา ครั้งแล้วจึงเข้าตีจุดอ่อนข้าศึก เพื่อให้ได้รับชัยชนะ ดังนั้น ผู้บัญชาการทีชาญฉลาดจึงมิใช้แต่จะสันทัดในการใช้กำลังพลของฝ่ายตนเท่านั้น หากยังต้องสันทัดในการเคลื่อนย้ายหรือกระจายกำลังของฝ่ายข้าศึกด้วยกลยุทธ์ ให้เกิดประโยชน์แก่ตนอีกด้วย”


กลยุทธ์ที่ 26 ชี้ต้นหม่อนด่าต้นไหว

กลยุทธ์นี้มีความหมายว่า เมื่อผู้ที่เข้มแข็งกว่าหรือรัฐใหญ่รังแกผู้ที่อ่อนแอหรือรัฐเล็กแล้ว ก็ควรจะใช้วิธีการตักเตือนให้เกรงกลัว ถ้าแม้นเราแสดงความเข้มแข็งให้ประจักษ์ ก็จักได้รับการสนับสนุนจากผู้อ่อนแอ ถ้าเรากล้าใช้ความรุนแรง ก็จักเป็นที่ยอมรับนับถือแก่ผู้อ่อนแอ
“แกร่งจึงต้อนรับ เสี่ยงจึงยอมสยบ” เดิมาจาก “คัมภีร์อี้จิง แม้ทัพ” ความเต็มว่า "แกร่งจึงต้อนรับ เสี่ยงจึงยอมสยบ นี้คือหนทางปกครองแผ่นดินราษฎรจึงขึ้นต่อ”
ความหมายของ "ชี้ต้นหม่อนด่าต้นไหว" ตรงกับสุภาษิตไทยเราคำว่า “ตีวัวกระทบคราด” แต่เมื่อใช้ในการสัประยุทธ์ ไม่ว่าจะเป็นทางการทหารหรืออื่นๆ ก็เป็นกลยุทธ์ที่มีความหมายในทำนองสร้างเกียรติภูมิของตนขึ้นด้วยวิธี “ฆ่าไก่สอนลิง” เพื่อให้ฝ่ายอื่นที่อ่อนแอกว่าหรือผู้อยู่ใต้การบังคับบัญชายอมสยบด้วยอย่างหนึ่ง

กลยุทธ์นี้สรุปได้ว่า “เพื่อที่จะดำเนินตามแผนการที่ได้วางไว้ จักต้องใช้มาตรการเด็ดขาด จึงจะสามารถได้รับผลตามที่ได้กำหนด แต่ความเด็ดขาดนั้น ใช้ว่าจะต้องอาศัยกำลังความรุนแรงเสมอไป อาจดำเนินด้วยวิธีการหนึ่งใด ที่ทำให้ฝ่ายตรงข้างตระหนักในเจตนา ยอมสยบแต่โดยดี เพราะจนปัญญาที่จะต่อตีด้วยเรา นั้นเอง”


กลยุทธ์ที่ 27 แสร้าทำบอแต่ไม่บ้า

กลยุทธ์นี้มีความหมายว่า ยอมแสร้งทำเป็นโง่ มิเคลื่อนไหว อย่าทำเป็นสู่รู้ทำบู่มบ่าม
คำว่า “ดุจดั่งอสนีบาตหยุดฟาดฟัน” เก็บความมาจาก “คัมภีร์อี้จิง หยุด” ความว่า “อสนีบาตฤดูหนาวแฝงกายอยู่ใต้พื้นพสุธา จักแผดร้องก้องนภาคราฤดูใบไม้ผลิ” ซึ่งความหมายว่า ผู้ที่มีสติปัญญามิพึงแสดงตัว แต่พึงเตรียมการทั้งปวงอย่างลับๆ ประหนึ่งคมดาบอยู่ในฝัก มิปรากฏให้เห็น ครั้งเมื่อถึงกาลอันควร ก็จักคำรนคำรามเหมือนสายฟ้า ที่จะกระหน่ำพสุธาให้แตกสลายไปฉะนั้น นี้นับเป็นกลยุทธ์หลอกลวงมึนชาข้าศึก แสดงความบ้าใบ้ทางภายนอก แต่ตื่นตัวโดยตลอดอยู่ภายใน ดำเนินการอย่างลับและพลิกแพลงเพื่อเอาชนะข้าศึกอย่างหนึ่ง กลยุทธ์นี้มีส่วนละม้ายคล้ายกับสำนวนไทยเราที่ว่า "หน้าไหว้หลังหลอก" หรือ "ต่อหน้ามะพลับ ลับหลังตะโก" ในบางแง่บางมุม

กลยุทธ์นี้สรุปได้ว่า “ยามเมื่อสถานการณ์ไม่เป็นผลดี ควรจะสะกดกลั้นตัวเองไว้ แสร้งทำเป็นโง่เง่า อวดฉลาดยิ่งจะไม่เป็นผลดีแก่ตน นี้เป็นวิธีรู้รักษาตัวรอดอย่างหนึ่งในยามปั่นป่วน คนฉลาดมักจะใช้วิธีการนี้ป้องกันตัวและวางแผนเอาชนะศัตรู คนที่ดูโง่เขลานั้น โดยภายนอกก็อาจจะเห็นเป็นเต่าตุ่น แต่ที่แท้แล้วภายในนั้นคมกริบ รู้เขารู้เรา พึงถอยก็รู้จักถอย มิดันทุรังรุกไปโดยไม่ดูตาม้าตาเรือ ดังนั้นจึงสามารถที่จะเป็นฝ่ายริเริ่มกระทำในการทั้งปวง เพราะเข้าใจในเหตุการณ์อย่างรู้แจ้งแทงตลอด และรอจังหวะที่จะบุกกระหน่ำมิยอมให้ศัตรูตั้งตัวติดตลอดเวลา กลยุทธ์นี้มักจะพบเห็นบ่อยๆ โดยทั่วไป ผู้ใดใช้เป็นด้วยความสันทัดจัดเจน ผู้นั้นย่อมจะได้รับผลสำเร็จ และเป็นผู้ทีน่ากลัวสำหรับฝ่ายตรงข้ามที่มิรู้แจ้งในกล”


กลยุทธ์ที่ 28 ขึ้นบ้านชักบันได

กลยุทธ์นี้มีความหมายว่า จงใจเปิดจุดอ่อนให้ข้าศึกเห็น สร้างเงื่อนไขและล่อหลอกให้ข้าศึกเข้าตี ครั้นแล้วตัดขาดส่วนหน้าที่คอยสมทบ และส่วนหลังที่เป็นกำลังหนุน บีบให้ข้าศึกเข้าไปในปากถุงที่เปิดอ้าไว้รับหรือในวงล้อมหลุมพรางที่วางดักไว้ “เจอพิษ มิควรที่” มีใน “คัมภีร์อี้จิง ขบ” เปรียบประดุจเคี้ยวกระดูกหรือเนื้อเหนี่ยว รังแต่จะทำให้ฟันชำรุดเสียหาย หรือเหมือนดั่งมักได้ในสิ่งที่มิควรได้ ย่อมจักนำมาซึ่งความวิบัติฉะนั้น “ขึ้นบ้านชักบันได” มีความหมายอย่างเดียวกันกับ “ข้ามคลองรื้อสะพาน” นี้คือกลยุทธ์ที่ใช้ผลประโยชน์เล็กๆ น้อยๆ ล่อลอกให้ข้าศึกพินาศไปทั้งกองทัพอย่างหนึ่ง

กลยุทธ์นี้สรุปได้ว่า “ขึ้นบ้านชัดบันได” มีความหมายค่อยข้างกว้าง หนึ่งในนั้นก็คือใช้ผลประโยชน์เล็กน้อย ล่อให้ข้าศึกเข้าปิ้ง แล้วทำลายเสียให้สิ้น ซึ่งก็หมายความว่าเมื่อข้าศึกบุกเข้าในอาณาเขตของเรา เราจงใจจะเปิดทางตันให้กับเขา เมื่อข้าศึกหลงกลตกอยู่ในวงล้อม ก็จะตื่นตระหนกเดินไปตามหนทางที่เราเปิดไว้ให้ เมื่อเราตัดทางรุกและทางถอย ข้าศึกก็จนด้วยเกล้า ถ้าไม่ยอมจำนน ก็เหลืออยู่แต่ทางตายถ่ายเดียว ในกลยุทธ์นี้ ที่สำคัญคือ “บันได้” จงใจให้ข้าศึกเห็นจุดอ่อนและมุ่งมั่นจะใช้จุดอ่อนให้เป็นประโยชน์แต่ตน นี้ก็คือ “บันได” ถ้าไม่มี “บันได้” ดังกล่าว กลยุทธ์นี้ก็ยากที่จะได้รับผล”


กลยุทธ์ที่ 29 ต้นไม้ผลิดอก

กลยุทธ์นี้มีความหมายว่า ใช้แนวรบของมิตรมาสร้างแนวรบที่เป็นประโยชน์แต่เราขึ้น แม้กำลังจะน้อย แต่ก็สามารถทำให้ดูเหมือนใหญ่โต ดุจเดียวกับนกอินทรีที่ผกผินอยู่ในอากาศ ปีกขนกางเหยียดมีท่วงท่าน่าเกรงขาม คำว่า “นกใหญ่โผบิน ปีกนกช่วยพาสง่างาม” มากจา “คัมภีร์อีจิง รุก” หมายความว่า นกใหญ่เหินฟ้า อาศัยสองปีกอันแข็งแรง บินร่อนซอกซอนไปตามปุยเมฆ มิมีสิ่งกีดขวาง อันคล้ายกับสำนวนไทยที่ว่า “ปีกหนักกวักละประโยชน์” กลยุทธ์นี้ มองอีกแง่หนึ่ง ก็จะเหมือนกับคำว่า “สร้างสถานการณ์ให้เป็นประโยชน์” หรือ “ยืมมือที่สาม” เมื่อใช้ในการทหาร ก็เป็นกลยุทธ์ในการยืมกำลังผู้อื่น มาเสริมกำลังตนให้ดูแข็งแกร่งขึ้น เพื่อสยบข้าศึกอย่างหนึ่ง

กลบยุทธ์นี้จึงสรุปได้ว่า “ทีว่า “ต้นไม้ผลิดอก” ก็คือทำให้ต้นไม้ซึ่งที่แท้ไม่มีดอก สามารถผลิดดอกออกสะพรั่งให้เห็นโดยใช้วิธีเอาดอกไม้ปลอมไปติดไว้ที่ต้นนั้น ซึ่งหากไม่พินิจพิจารณาให้ดี ก็จะไม่รู้ว่าเป็นของปลอม และอาศัยสิ่งนี้ หมุนเปลี่ยนสภาพการณ์ให้กลายมาเป็นผลดีแก่เรา หรืออีกนัยหนึ่งก็คือ ยืมสิ่งอื่นมาบังหน้า ให้ข้าศึกเกิดความเข้าใจผิด แล้วฉวยโอกาสเคลื่อนไหวให้เป็นไปตามความประสงค์ นั้นเอง”


กลยุทธ์ที่ 30 สลับแขกเป็นเจ้าบ้าน

กลยุทธ์นี้มีความหมายว่า เมื่ออีกฝ่ายหนึ่งเปิดช่องให้สอดแทรก ควรแทรก กุมจุดสำคัญหรือหัวใจของอีกฝ่ายไว้ “ค่อยผันสู่ชัยชนะ” พบได้ใน “คัมภีร์อี้จิง รุก” ซึ่งมีความเต็มว่า “สรรพสิงในใต้หล้า เคลื่อนอย่างใจร้อนจักเสีย สงบแต่คล้อยตามจักได้ ค่อยๆผันไปช้าๆ จักเป็นคุณ เคลื่อนดังนี้จึงจะมีผล” อันหมายความว่า การตอกลิ้มเข้าไปในฝ่ายตรงข้าม เพื่อยึดอำนาจการบัญชาการนั้น จัดต้องค่อยเป็นค่อยไป ดังนี้จึงจะบรรลุซึ่งชัยชนะได้ “สลับแขกเป็นเจ้าบ้าน” ความหมายเดิมก็คือ เจ้าบ้านต้อนรับแขกไม่เป็น แขกจึงชิงกลับมาเป็นฝ่ายต้อนรับเจ้าบ้านเสียเอง อันเป็นกลยุทธ์เปลี่ยนจากฝ่ายถูกกระทำเป็นฝ่ายการะทำอย่างหนึ่ง

กลยุทธ์นี้สรุปได้ว่า "สลับแขกเป็นเจ้าบ้าน" ก็คือแขกแย่งเป็นเจ้าบ้านเสียเอง เปลี่ยนฐานะจากฝ่ายถูกกระทำ เป็นฝ่ายกุมอำนาจการกระทำ และบงการให้สถานการณ์เป็นไปตามความประสงค์ ในขณะที่ตกอยู่ในภาวะเสียเปรียบ จะต้องยอมเป็น "แขก" ชั่วคราว เพื่อช่วงชิงเวลาสะสมกำลัง อาศัยชัยชนะเล็กๆน้อยๆ ครั้งแล้วครั้งเล่าโดย "เจ้าบ้าน" จำยอมต้องกลับกลายเป็น "แขก" เพราะมิมีปัญญาที่จะต้านทานได้เลย ฉะนี้

กลยุทธ์ที่ 31 กลสาวงาม

กลยุทธ์นี้หมายความว่า สำรับข้าศึกที่มีกำลังเข้มแข็ง พึงสยบแม่ทัพเสียก่อน ต่อแม่ทัพที่เฉลียวฉลาด ก็โจมตีจุดอ่อนทางใจ ให้มีอุปสรรค ส่วนแม่ทัพที่ย่อนย่อท้อแท้ ไพร่พลที่กำลังถดถอย ก็จักเสื่อมโทรมแพ้พ่ายไปเอง “บัญชาศัตรูได้ จักรักษาตัวรอด” มาจาก “คัมภีร์อี้จิง รุก” หมายความว่า ต่อข้าศึกที่เข้มแข็ง มิพึงใช้กำลังเข้าปะทะ ควรอาศัยจุดอ่อนของฝ่ายนั้น แทรกซึมและสลายเสีย ต่อตัวเอง พึงสามัคคีเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน รักษาและเสริมสร้างกำลังของตนเอง แปรเปลี่ยนสภาพการณ์ เพื่อเอาชนะข้าศึก

กลยุทธ์นี้สรุปได้ว่า “เมื่อข้าศึกมีความเข้มแข็งดุจกำแพงเหล็ก มิมีจุดอ่อนที่จะทะลวงเข้าไปได้ วิธีเอาชนะแต่เพียงหนึ่งเดียว ก็คือจะต้องแทรกซึมเข้าไปภายในของข้าศึก ดุจดั่งหนอนกินลูกแอปเปิ้ลเจาะไซจากภายในออกมายังภายนอก จนเน่าไปทั้งลูกฉะนั้น และขุนทัพย่อมเป็นหัวใจของกองทัพ เป็นประมุขของไพร่พล ถ้าขุนทัพถูกทะลวงจุดอ่อนจนหลงไหนในรูป รส กลิ่น เสียแล้วไซร้ ก็จะมีอันเป็นไป ไร้สมรรถภาพ จังมิพ่ายแพ้หาได้ไม่”


กลยุทธ์ที่ 32 กลปิดเมือง

กลยุทธ์นี้หมายความว่า กำลังเราอ่อนยิ่งจงใจแสดงให้เห็นว่า มิได้มีการป้องกันเลย ทำให้ข้าศึกฉงนสนเท่ห์ ในสภาวะที่ข้าศึกมีกำลังมาก เรามีน้อย การใช้กลยุทธ์เช่นนี้ ก็มีความพิสดารพันลึกเป็นทวีคูณ “ท่ามกลางแข็งกับอ่อน” มาจาก “คัมภีร์อี้จิง แก้” ใช้ควบกับคำว่า “พิสดาร ซ่อนพิสดาร” ซึ่งหมายความว่า ในขณะที่ข้าศึกแข็งแรงเราอ่อน ให้จัดกำลังโดยใช้กลยุทธ์ “กลวงยิ่งทำกลวง” แสดงให้เห็นถึงความพิสดารในกลศึกที่ข้าศึกคาดคิดไม่ถึง อุบายนี้ เป็นกลยุทธ์ในการใช้วิธีเปิดเมืองหรือปล่อยเมืองวางโล่ง ทำให้ข้าศึกเกิดความงงงวย ใช้ทั้งเท็จและจริง ล่อหลอกให้ข้าศึกถอยไป เพราะมิรู้ตื้นลึกหนาบางอย่างหนึ่ง

กลยุทธ์นี้จึงสรุปได้ว่า “เท็จเท็จจริงจริง มักมีอยู่ในการศึก ข้าศึกฉวยโอกาสยามเราอ่อนกำลังเราก็จงใจแสร้งทำให้อ่อนปวกเปียกลงไปอีก จนข้าศึกฉุนใจฉวนสงสัย เข้าใจผิดคิดว่าเราพร้อมรบแต่แสร้งลวง เพื่อล่อหลอกให้ตนหลุมพราง นี้ถือเป็นสงครามจิตวิทยา โดยมิได้ใช้กำลังที่แท้เอาชนะข้าศึก แต่ด้วยการพินิจพิจารณาภาวะจิตของแม่ทัพข้าศึก เอาชนะด้วยอุบายอันแยบยล จนข้าศึกหวั่นเกรมถอยทัพกลับไป โดยเรามิต้องพ่ายแพ้เสียทหารไปแม้แต่สักคนในยามคับขัน”


กลยุทธ์ที่ 33 กลไส้ศึก

กลยุทธ์นี้มีความหมายว่า เมื่อข้าศึกสร้างอุบายเพื่อให้ฝ่ายเราเกิดแตกแยก เราก็พึงซ้อนกลสร้างแผนลวงให้ข้าศึกเกิดร้าวฉาน ให้ข้าศึกระแวงสงสัยซึ่งกันและกัน ที่เราสามารถใช้เป็นประโยชน์ได้ “มีผู้แฝงอยู่ภายใน ไม่เสียหายแก่เรา” มาจาก “คัมภีร์อี้จิง ช่วย” หมายความว่า เนื่องจากมีการช่วยเหลือมาจากภายในของข้าศึก จึงเป็นประโยชน์แก่ฝ่ายเรา เราจึงมีความมั่นใจที่จะตีข้าศึกให้ย่อยยับไป ตู้มู่ กวีจีนโบราณซึ่งเคยทำคำอธิบายแก่ “ตำราพิชัยสงความซุนจือ” ในสมัยราชวงศ์ถังกล่าวไว้ว่า “ข้าศึกส่งไส้ศึกมาดูเรา เราพึงล่วงรู้ก่อน หรือติดสนบนด้วยเงินหนา กลับมาให้เราใช้ หรือแสร้งทำไม่รู้ ปล่อยข่าวลวงให้ตายใจ ดังนี้ ไส้ศึกของข้าศึก ก็จึงถูกเราใช้”

กลยุทธ์นี้จึงสรุปได้ว่า “เมื่อฝ่ายตรงข้ามีความระแวงสงสัย พึงทำให้เกิดความระแวงสงสัยเพิ่มขึ้นเป็นทวีคูณ ซื้อคนขายตัว หรือใช้ไส้ศึกให้เป็นประโยชน์แก่เรา ซุนจื่อเคยแนะนำว่า พึงเอาชนะโดยไม่ต้องรบ ทีสำคัญคือใช้วิถีทางการทูต การใช้อุบายบวกกับกลยุทธ์ไส้ศึก ให้ข้าศึกแตกร้าววุ่นวายปั่นป่วนภายนี้เอง จึงจะชนะได้โดยง่าย”


กลยุทธ์ที่ 34 กลทุกข์กาย

กลยุทธ์นี้มีความหมายว่า โดยสามัญสำนึก คนเราทุกคนไม่ทำร้ายตัวเองหากบาดเจ็บ ก็เชื่อว่าคงถูกทำร้าย ถ้าแม้นสามารถทำเท็จให้เป็นจริง ให้ศัตรูเชื่อไม่สงสัย กลอุบายก็จะสัมฤทธิ์ผล ทว่าการทำให้ศัตรูเชื่อ ก็พึงเข้าใจในจุดอ่อนของศัตรู ทำเท็จให้จริงจัง ให้เชื่อจริงแท้ “อาศัยจุดอ่อนแห่งจิต ลู่ตามจึงพิชิต” คำนี้มาจาก “คัมภีร์อี้จิง ปิด” หมายความว่า อาศัยความไร้เดียงสาของทารก ล่อหลอกโดยโอนอ่อนผ่อนตามไปก็จังลวงให้บรรลุประสงค์ได้ กลยุทธ์นี้ เป็นอุบายใช้การทำร้ายตัวอง ให้ศัตรูหลงชื่อ เพื่อมึนชาแล้วพิชิตศัตรูอย่างหนึ่ง

กลยุทธ์นี้สรุปได้ว่า “คำโบราณของจีนมีกล่าวไว้ว่า “ร่างกาย เส้นผม และผิวหนัง ได้มาจาก บิดามารดา มิควรทำลาย นี้คืออันดับแรกแห่งความกตัญญู” คำคำนี้เป็นทัศนคติที่ฝังลึกอยู่ในมโนธรรมของชาวจีนมาช้านาน ดั้งนั้นการจะทำร้ายร่างกายของตนเอง ยอมสวามิภักดิ์แก่ศัตรูด้วยอุบาย จึงมักจะได้รับความเห็นใจ ให้ความเชื่อถือซึ่งเป็นกลยุทธ์ที่ล้ำลึกกว่า “กลไส้ศึก” เคยได้รับความสำเร็จอย่างงดงามมามากหลายตั้งแต่โบราณกาล”


กลยุทธ์ที่ 35 กลลูกโซ่

กลยุทธ์นี้มีความหมายว่า เมื่อกำลังศัตรูเข้มแข็งกว่าหลายเท่า จักปะทะด้วยมิได้เป็นอันขาด พึงใช้กลอุบายนานา ให้ศัตรูต่างถ่วงรั้งซึ่งกันและกันทำลายความแกร่งของศัตรู หรือร่วมมือกับพลังต่างๆทั้งมวล ร่วมกันโจมตี เพื่อขจัดความฮักเหิมของศัตรูไป “แม่ทัพผู้ปรีชา จักได้ฟ้าอนุเคราะห์” มาจาก “คัมภีร์อี้จิง แม่ทัพ” อันความหมายว่า แม่ทัพผู้ปรีชา ย่อมสามารถจะบัญชาการศึกได้อย่างคล่องแคล่วดุจดั่งคล้อยตาม “ความประสงค์ของฟ้า” จักต้องได้รับชัยชนะเป็นมั่นคง กลยุทธ์นี้เรียกว่า “กลลูกโซ่” นี้ หมายถึงอุบายที่ใช้ซ้อนๆกัน ตั้งแต่สองอุบายขึ้นไป เพื่อเอาชัยชนะแก่ศัตรูอย่างหนึ่ง

กลยุทธ์นี้สรุปได้ว่า “การใช้กลยุทธ์ เป็นวิธีการที่ดีที่สุดในการเอาชนะศัตรู ซุนจื่อเคยกล่าวไว้ว่า “ผู้ที่ใช้กลอุบาย มิควรใช้เพียงหนึ่งเดียว หากควรประกอบด้วยอุบายนานา ถือ หลายอุบายเป็นหนึ่งกลยุทธ์ หรือร้อยพ้นอุบายเป็นหนึ่งกลยุทธ์ นี้คือกลยุทธ์ที่ดีที่สุด” และดั้งนั้น จึงเป็นดุจดังคำที่ว่า “แม่ทัพผู้ปรีชา จักได้ฟ้าอนุเคราะห์นั้นเอง”


กลยุทธ์ที่ 35 หนีคือยอดกลยุทธ์

กลยุทธ์นี้มีความหมายว่า เมื่อรบกับข้าศึก หากข้าศึดแข็งเราอ่อน อาจจะถอยร่นอย่างรวดเร็ว เพื่อหลบเลี่ยงการปะทะเสียก่อน ดังที่มีคำกล่าวไว้ใน “คัมภีร์อี้จิง แม่ทัพ” ว่า “ถอยหนีมิผิด เป็นวิสัยแห่งสงคราม” ซึ่งชี้ชัดว่า การถอยหนี่ในการทำสงครามนั้น มิใช้ความผิดพลาด หากแต่เป็นเรืองธรรมดาเสียสามัญในการบที่มักจะพบเห็นเสมอ การถอนเช่นนี้ เพื่อหลีกเลี่ยงความเสียหายในยามที่เราเป็นฝ่ายเสียเปรียบ และเพื่อชิงโอกาสตอบโตภายหลังมิใช่ถอยหนีอย่างพ่ายแพ้หมดรูป ตีโต้กลับมิได้อีก ในตำราพิชั้ยสงครามชือ “ไหวหนานจื่อ ฝึกการยุทธทหาร” เคยกล่าวไว้ว่า “แข็งจึงสู้ อ่อนก็หนี” ในตำราพิชัยสงครามอีกเล่มหนึ่งชื่อ “ปิงฝ่าหยวนจีได้” ก็กล่าวไว้ว่า “แม้นหลบแล้วรักษาไว้ได้ ก็พึงหลบ” ใน “ซุนจื่อ บทกลยุทธ์” ก็กล่าวไว้เช่นกันว่า “แข็งพึงเลี่ยงเสีย”

กลยุทธ์นี้สรุปได้ว่า “ภายใต้สภาพการณ์ที่ไม่เป็นผลดี จะต้องหลีกเลี่ยงกับการสู้รบขั้นแตกหักกับข้าศึก ทางออกจึงมีอยู่ 3 ทาง ยอมจำนน เจตจาสงบศึก ถอยหนี เมื่อเปรียบเทียบกันแล้ว การยอมจำนนคือการพ่ายแพ้อย่างถึงที่สุด การขอเจรจาสงบศึกคือการพ่ายแพ้ครึ่งหนึ่ง ถอยหนีกลับอาจจะแปรเปลี่ยนมาเป็นชัยชนะได้ ดั้งนั้นจึงได้เรียกชื่อกลยุทธ์นี้เป็น “หนีคือยอดกลยุทธ์” ถอยหนีพึงถอยเลี่ยงอย่างมีแผนเป็นฝ่ายกระทำ ซึ่งมีเนื้อหาที่เป็นคุณ มิใช้แต่หนีอย่างไม่ลืมหูลืมตา เมื่อทัพอ่อนเผชิญทัพแข็ง มักจะใช้วิธีหนี เพื่อกระจายกำลังข้าศึก เพื่อสร้างโอกาสกลับมาสู่ชัยชนะนั้นเอง”





Create Date : 21 เมษายน 2552
Last Update : 21 เมษายน 2552 17:43:09 น. 0 comments
Counter : 2351 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

ต้นกล้า อาราดิน
Location :
ปราจีนบุรี Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 16 คน [?]




Friends' blogs
[Add ต้นกล้า อาราดิน's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.