Group Blog
 
All Blogs
 
หอไตร..........."ธรรมเจดีย์" ที่ควรบูชาและรักษา

เรียบเรียงโดย : น้อมเศียรเกล้า

Smiley

ความเป็นมาและความสำคัญของหอไตร

หอไตร คืออาคารที่สร้างขึ้นเพือใช้เป็นทีเก็บพระไตรปิฎกคำว่า "หอ"หมายถึงอาคารประเภทหนึ่งส่วนคำว่า"ไตร"หมายถึงพระไตรปิฎกบางครั้งบางแห่งก็เรียกว่าหอธรรมหรือหอพระธรรมถ้าเป็นหอไตรที่สร้างในเขตพระราชฐานก็จะเรียกว่าหอพระมณเฑียรธรรม

หอไตรไม่ได้ใช้เก็บเฉพาะพระไตรปิฎกเท่านั้นบางแห่งใช้เก็บพระฎีกาพระอรรถกธาจารย์และพระธรรมเทศนาอื่นๆ กฎหมาย และตำรายาเป็นต้น สำหรับบางแห่งหอไตรใช้เป็นที่สำหรับนั่งอ่านหรือคัดลอกพระธรรมหอไตรจึงเปรียบได้กับห้องสมุดของวัดซึ่งใช้เป็นห้องสมุดสำหรับพระสงฆ์

ประโยชน์หลักของหอไตรจึงสามารถแบ่งออกเป็น ๒ ประเภทคือ หนึ่งสร้างขึ้นเพื่อเคารพบูชาและใช้เก็บพระไตรปิฏก และสองสร้างขึ้นเพื่อประโยชน์ในการใช้สอยแต่เนื่องจากปัจจุบันมีการบันทึกพระไตรปิฏกและพระธรรมคำสอนลงในสื่ออิเล็คทรอนิคก์ต่างๆ ซึ่งการเก็บรักษาทำได้ง่ายมาก การใช้สอยหอไตรจึงค่อยๆลดบทบาทลงไป เหลือไว้แต่เพียงประโยชน์เชิงสัญลักษณ์ที่สร้างไว้เพื่อเป็นที่เคารพบูชาเท่านั้น

ตำแหน่งที่ตั้งของหอไตร

หอไตรสมัยสุโขทัย เชื่อว่าโครงสร้างมีขนาดเล็ก และตั้งอยู่กลางสระ เช่นเดียวกับหอไตรสมัยอยุธยา สำหรับยุคต้นรัตนโกสินทร์สร้างขึ้นในเขตพุทธวาส โดยตั้งห่างจากพระอุโบสถไม่ไกลนัก ยกเว้นหอพระมณเฑียรธรรม วัดพระศรีรัตนศาสดาราม อยู่ในเขตพัทธสีมา

ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ ๓ได้มีการสร้างหอไตรห่างออกไปจากเขตพุทธาวาส โดยสร้างขึ้นในเขตสังฆาวาสเพื่อให้พระได้ใช้งานได้สะดวก โดยตำแหน่งที่ตั้งของหอไตรไม่มีการวางกฎเกณฑ์ที่ตายตัว สำหรับวัดขนาดใหญ่จะมีการสร้างหอไตรไว้มากกว่าหนึ่งแห่ง เช่นวัดพระเชตุพนฯมีการสร้างหอไตรถึง 4 แห่งประจำมุมของเขตสังฆาวาส

หอไตรเรือนไม้วัดดอยเขาแก้ว
สถาปัตยกรรมของหอไตร


หอไตรมีการสร้างในหลายรูปแบบด้วยวัสดุที่แตกต่างกันต่อไปนี้

1.เครื่องไม้
2.เครื่องก่อ
3.แบบผสมระหว่างเครื่องก่อและเครื่องไม้ (ครึ่งตึกครึ่งไม้)

หอไตรเครื่องไม้มักสร้างไว้กลางสระเพื่อป้องกันแมลงต่างๆเช่นมดปลวก ซึ่งมักจะขึ้นไปกัดกินใบลาน หรือกระดาษ โดยมีสะพานแบบชักเก็บได้ พาดจากฝั่งไปยังหอไตรไม่มีส่วนใดของอาคารที่สัมผัสพื้นดินได้ การสร้างหอไตรกลางน้ำยังเป็นการป้องกันอัคคีภัยไปด้วยในตัว

หอไตรกลางน้ำ
รูปทรงของหอไตร


1.หอไตรทรงคฤห์ ได้แก่หอไตรหลังคาทรงจั่ว แบบเรือนของคฤหัสถ์หรือชาวบ้าน

2. หอไตรทรงโรง ได้แก่ หอไตรหลังคาทรงจั่วมีชายคาปีกนกโดยรอบ

 

 

3.หอไตรทรงจัตุรมุข คือหอไตรที่ทำหลังคาแบบจัตรมุข

4.หอไตรทรงเครื่องยอด คือ หอไตรที่ทำหลังคาแบบมีเครื่องยอด

หอไตรทรงสูง เช่นหอไตรในล้านนาไม่มีบันไดทางขึ้นสู่ชั้นบนทั้งภายนอกและภายใน ส่วนชั้นบนนิยมทำด้วยเครื่องไม้แกะสลักเวลาจะหยิบพระคัมภีร์ไปใช้จะต้องนำบันไดพิเศษมาพาดแล้วปีนเข้าไปทางช่องประตูแคบ ๆ ทั้งนี้เพื่อป้องกันคนเข้ามาหยิบฉวยพระคัมภีร์ออกไปง่ายๆ เช่น หอไตรวัดบ้านหลุก จ.ลำพูน ซึ่งไม่ปรากฏว่ามีการสร้างบันไดทั้งภายในและภายนอกหอไตรแต่อย่างใด

หอไตรวัดบ้านหลุก จ.ลำพูน
*** ศึกษาแบบมาตรฐานสถาปัตยกรรมทางพระพุทธศาสนาได้ที่ //www.thaiarch3d.com
2.
หอไตร...................สถาปัตยกรรมพื้นบ้านกลางน้ำ
เรียบเรียงโดย : ตักบาตรถามพระ Smiley
หอไตรเป็นที่เรือนหรืออาคารที่เก็บรักษา หนังสือผูก ใบลาน จารึกพระไตรปิฎก ปัจจุบันบ้างเป็นพิพิธภัณฑ์เชิงพุทธ และ เป็นอนุสรณ์รำลึกถึง ภูมิปัญญาของบรรพชนที่ตั้งใจเก็บรักษาจารึกพระธรรมคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไว้


ส่วนใหญ่หอไตรในอดีตนิยมสร้างเป็นลักษณะงานเครื่องไม้ โดยภูมิปัญญาคนโบราณที่ต้องการจะป้องกันปลวกแลงมากัดกิน คัมภีร์, ป้องกันน้ำท่วมและความชื้น เห็นได้ทั่วไปอยู่ 2 แนวทาง คือ การสร้างหอไตรไว้ในกลางสระน้ำ โดยทั่วไป และ การสร้างหอไตรสูง 2 ชั้น

หอไตรเครื่องไม้
การสร้างหอไตรสูง 2 ชั้น ชั้นบนเป็นไม้ ชั้นล่างก่ออิฐฉาบปูน พบในวัดใหญ่ทางภาคเหนือ

หอไตรในล้านนามีแบบแผนที่ไม่แตกต่างจากภาคกลางมากนัก ด้วยเป็นอาคารขนาดเล็ก สร้างขึ้นเพื่อเก็บรักษาพระไตรปิฎกและพระธรรมคัมภีร์ โดยต้องปลอดภัยจากแมลงกินไม้กินกระดาษจำพวกปลวก มอด จะต่างกันเพียงรูปแบบการประดับตกแต่ง และรายละเอียดประกอบอาคาร เป็นอาคารสองชั้น ชั้นบนใช้เก็บคัมภีร์ ชั้นล่างเป็นที่นั่งอ่านธรรม ไม่มีบันไดหรือทางขึ้นที่สะดวกนัก ส่วนใหญ่ใช้พาดขึ้นชั่วคราวและเก็บเมื่อใช้เสร็จ ถ้าเป็นอาคารไม้ก็มักจะสร้างอยู่กลางน้ำ ถ้าอยู่บนบกก็จะสร้างชั้นล่างเป็นเครื่องก่อ ชั้นบนเป็นเครื่องไม้

หอไตรวัดพระสิงห์
หอไตรวัดทุ่งศรีเมือง (อุบลราชธานี)

เป็นหอไตรกลางน้ำ สร้างด้วยไม้ มีลักษณะผสมระหว่างไทย พม่า และลาว ลักษณะอาคารเป็นแบบไทย เป็นเรือนฝาปะกนขนาด 4 ห้อง เก็บตู้พระธรรมลงรักปิดทอง หลังคามีลักษณะเป็นศิลปะไทยผสมพม่า มีช่อฟ้าใบ ระกา แต่หลังคาซ้อนกันหลายชั้น ส่วนลวดลายแกะสลักบนหน้าบันทั้งสองด้าน เป็นลักษณะศิลปะแบบลาว เป็นสถาปัตยกรรม ของอีสานที่สวยงามและสมบูรณ์ที่สุด

ประวัติโดยย่อ : เมื่อพระอริยวงศาจารย์ฯ สร้างหอพระพุทธบาทเสร็จแล้ว ก็ได้สั่งให้ช่าง สร้างหอไตรที่สระกลางน้ำ โดยยมีจุดประสงค์ใช้เป็นที่เก็บรักษาพระไตรปิฎกคือ คัมภีร์ทางพระพุทธศาสนา และปรัชญาพื้นบ้าน รวมถึงตำราต่างๆ มากมาย ส่วนมากเป็นหนังสือใบลานจารึกด้วยอักษรธรรมและสมุดข่อย ไม่ให้แห้งและกรอบและเพื่อกันปลวก มิให้ทำลายพระไตรปิกฎให้เสียหาย

หอไตรวัดทุ่งศรีเมือง
“ ชาวบ้านถือว่าหอไตรเป็นตัวแทนของพระธรรมเจดีย์ และถือเป็นของสูงที่ต้องกราบไหว้บูชา เป็นสิ่งศักดิ์ของชาวบ้านเห็นได้จากบุคคลทั่วไปไม่ควรขึ้นไป โดยผู้ที่จะขึ้นไปบนหอไตรนั้น ส่วนใหญ่เป็นพระภิกษุสามเณรหรือผู้ใหญ่ที่เกี่ยวข้องเท่านั้น ”

หอไตร ถือเป็นรูปแบบสถาปัตยกรรมพื้นบ้านอย่างแท้จริง ซึ่งถือเป็นภูมิปัญญาและความศรัทธาในพระพุทธศาสนาของคนในหมู่บ้าน ในการสร้างสิ่งก่อสร้างเพื่อเป็นสิ่งยึดเหนี่ยวจิตใจชาวพุทธ
ดังนั้น การอนุรักษ์ และ บูรณะ หอไตรในเชิงสถาปัตยกรรมและวัฒนธรรมชาวพุทธจึงควร รักษาไว้คู่พระพุทธศาสนาไทยต่อไป

3.
หอไตรนานาชาติ
เรียบเรียงโดย : น้อมเศียรเกล้า
สถาปัตยกรรมของหอไตรในแต่ละประเทศมีความแตกต่างกันไปตามวัฒนธรรม แต่ล้วนสร้างขึ้นเพื่อประโยชน์ในการดำรงไว้ซึ่งพระสัทธรรมคำสั่งสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

1. หอไตรวัด Pohyong Temple ประเทศเกาหลีเหนือ

 Buddhist Scripture House.Pohyong Temple, North Korea.

2. หอไตรวัด Honmonji Temple ประเทศญี่ปุ่นสร้างขึ้นในปี ค.ศ.1789

 

Buddhist Scripture House. Honmonji Temple, Japan
3. หอไตรวัด Wanshou Temple ประเทศจีน


Buddhist Scripture House. Wanshou Temple, China.
4.ภาพภายในหอไตร ประเทศเกาหลี

Buddhist Scripture House, Korea.

5.ภาพโบราณสถานหอไตรเก่าแก่ ณ ประเทศกัมพูชา

Ancient Buddhist Scripture House, Cambodia

6.ภาพหอไตรแห่งหนึ่ง ณ ศรีลังกา

One of  Buddhist Scripture House, Sri Lanka

7. หอไตรวัดสีสะเกษ ประเทศลาว

Buddhist Scripture House. Wat Si Sa Ket, Laos.

 8.หอไตรวัด มิเจาโก ประเทศพม่า

9. หอไตรแห่งหนึ่งในประเทศทิเบต

Buddhist Scripture House, Tibet.

10.โรงพิมพ์ DERGE เป็นโรงพิมพ์พระไตรปิฏกในประเทศทิเบต ซึ่งเป็นงานทำมือเป็นส่วนใหญ่

 

อ้างอิง

ชลทิศ สว่างจิตร.(2535).การศึกษาภาพจิตรกรรมไทยในหอไตร วัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพมหานคร (กรณีศึกษาเฉพาะจิตรกรรมระหว่างช่องหน้าต่าง).สารนิพนธ์ศิลปศาสตร์บันฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร  

สืบพงศ์ จรรย์สืบศรี. (2553). หอไตร. วันที่ค้นข้อมูล 21 มีนาคม 2555. จาก เวบไซด์รายวิชา อาจารย์สืบพงศ์ จรรย์สืบศรี: //suebpong.rmutl.ac.th/

 จบบทความเรื่อง "หอไตร"

 




Create Date : 25 มีนาคม 2555
Last Update : 25 มีนาคม 2555 21:54:41 น. 2 comments
Counter : 4582 Pageviews.

 
ขอบคุณค่ะ ที่นำมาให้อ่านเป็นความรู้ เดี๋ยวหาชมหอไตรงามๆ และโบสถ์แบบเก่าได้ยากขึ้น

แม้ว่าจุดประสงค์ในการสร้างไม่ได้มีไว้ในเชิงท่องเที่ยว แต่สิ่งที่สร้างไว้เป็นพุทธบูชาล้วนแต่น่าชื่นชม


โดย: เพรางาย วันที่: 25 มีนาคม 2555 เวลา:15:17:58 น.  

 
คุณเพรางาย สวัสดีค่ะ

กว่าจะจัดหน้าได้ แทบแย่ มันก็คือ Word แต่ทำไมรู้สึกใช้ไม่คล่อง สงสัยยังไม่ชินเครื่องมือใหม่ค่ะ

ขอบคุณที่แวะมา ใครมีคำถามฝากอีเมลไว้นะคะ เผือไม่ได้มาเช็ค จะได้ย้อนกลับไปตอบได้ค่ะ


โดย: น้อมเศียรเกล้า วันที่: 25 มีนาคม 2555 เวลา:18:17:06 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

น้อมเศียรเกล้า
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 7 คน [?]




Friends' blogs
[Add น้อมเศียรเกล้า's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.