Tiger and Bunny Gang
Group Blog
 
All blogs
 

โครงการสัตว์เลี้ยงสุขภาพดี

โครงการสัตว์เลี้ยงสุขภาพดี

ทางเลือกใหม่สำหรับคนรักหมา และเหมียว

TBG ได้มีโอกาสไปอบรมเรื่องการฝึกสุนัขให้เชื่อฟังคำสั่งที่คณะเทคนิคการสัตวแพทย์ ม.เกษตร ปลายก.พ. ที่ผ่านมา แล้วรู้มาว่ามีโครงการดีๆ สำหรับคนรักน้องหมา น้องเหมียว เลยอยากแนะนำไว้เป็นทางเลือกค่ะ ส่วนไทเกอร์ ก็สมัครเป็นสมาชิกโครงการนี้เรียบร้อยแล้ว

สำหรับเจ้าตูบตัวน้อยของท่านที่อายุน้อยกว่า 8 เดือน ทางโครงการคิดค่าสมัครเพียงตัวละ 1000 บ./ปี และสำหรับเจ้าตูบตัวโตที่อายุ 8 เดือนขึ้นไป ทางโครงการคิดค่าสมัครเพียงตัวละ 600 บ./ปี เท่านั้น

badongo


สุนัข ที่เป็นสมาชิกโครงการ จะได้รับสิทธิประโยชน์ดังต่อไปนี้ ฟรี

1. ฉีดวัคซีนรวม 5 โรค ได้แก่ โรคไข้หัดสุนัข, โรคตับอักเสบติดต่อในสุนัข, โรคฉี่หนู, โรคหลอดลมอักเสบในสุนัข และโรคลำไส้อักเสบติดต่อในสุนัข
2. ฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า
3. ตรวจพยาธิในเม็ดเลือดปีละ 2 ครั้ง
4. ฉีดยาป้องกันโรคพยาธิหนอนหัวใจและกำจัดเห็บ หมัดในสุนัข ปีละ 6 ครั้ง (ทุกๆ 2 เดือน)
5. ถ่ายพยาธิในระบบทางเดินอาหารทุก 6 เดือน
6. ตรวจเลือดเพื่อเช็คสุขภาพ ปีละ 2 ครั้ง
7. ขูดหินปูนที่ฟัน ปีละ 1 ครั้ง
8. ให้คำแนะนำในการกำจัดและป้องกันเห็บ หมัด เหา และไรในสัตว์เลี้ง และประหยัดค่าใช้จ่ายในการตรวจรักษากรณีที่สุนัขป่วย หรือทำหมัน ทางโครงการจะลดค่ารักษาและค่าบริการให้ทันที 10-20 %

badongo

สำหรับน้องเหมียวแสนน่ารักของท่านที่อายุน้อยกว่า 8 เดือน ทางโครงการคิดค่าสมัครสมาชิกตัวละ 800 บ./ปี และสำหรับน้องเหมียวที่อายุ 8 เดือนขึ้นไป ทางโครงการคิดค่าสมัครสมาชิกเพียงตัวละ 500 บ./ปี เท่านั้น
น้องเหมียวที่เป็นสมาชิกโครงการ จะได้รับสิทธิประโยชน์ดังต่อไปนี้ ฟรี

1. ฉีดวัคซีนรวม 4 โรค ได้แก่ โรคไข้หัดแมว, โรคระบบทางเดินหายใจติดต่อในแมว, โรคช่องปากและลิ้นอักเสบ และโรคลิวคีเมีย
2. ฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า
3. ตรวจพยาธิในเม็ดเลือดปีละ 2 ครั้ง
4. ถ่ายพยาธิในระบบทางเดินอาหารทุก 6 เดือน
5. ตรวจเลือดเพื่อเช็คสุขภาพ ปีละ 2 ครั้ง
6. ขูดหินปูนที่ฟัน ปีละ 1 ครั้ง
7. ให้คำแนะนำในการกำจัดและป้องกันเห็บ หมัด เหา และไรในสัตว์เลี้ยง
8. ประหยัดค่าใช้จ่ายในการตรวจรักษากรณีที่แมวป่วย หรือทำหมัน ทางโครงการจะลดค่ารักษาและค่าบริการให้ทันที 10-20 %

คณะเทคนิคการสัตวแพทย์ที่อยู่ในบริเวณเดียวกับโรงพยาบาลสัตว์เกษตรค่ะ บริเวณด้านหลังโรงพยาบาล ขับรถหรือไม่ก็เดินเข้าไปก็ได้ ใกล้นิดเดียว สนใจสอบถามได้ตามนี้นะคะ

โครงการสัตว์เลี้ยงสุขภาพดี
วิทยาลัยเทคนิคการสัตว์แพทย์ ม. เกษตรศาสตร์
โทร . 02-579-8574-5 ต่อ 8111
แฟกซ์ . 02-579-8571
มือถือ . 089-676-9295

เวลาทำการ
วันจันทร์ – ศุกร์ เวลา 8.30-16.00 น.
วันเสาร์ที่หนึ่งและสองของเดือน เวลา 9.00 - 16.00 น.
วันอาทิตย์ที่หนึ่งและสองของเดือน เวลา 9.00-12.00 น.

เพื่อสุขภาพที่ดีของน้องหมา น้องเหมียวที่รักของทุกท่านค่ะ




 

Create Date : 27 กุมภาพันธ์ 2550    
Last Update : 27 กุมภาพันธ์ 2550 18:23:55 น.
Counter : 2222 Pageviews.  

โรคสำคัญที่พบบ่อยในสุนัข

*

โรคสำคัญที่พบสุนัข

โรคติดเชื้อไวรัสสำคัญๆ ที่เป็นปัญหาต่อสุขภาพของสุนัขในประเทศไทย มี 5 ชนิด ดังนี้

1. โรคไข้หัดสุนัข
สาเหตุ
- เกิดจากเชื้อ Canine Distemper Virus
- ถูกทำลายได้ง่ายด้วยความร้อน 50-60 องศาเซลเซียส, ความแห้ง, ผงซักฟอก, น้ำยาที่ละลายไขมันต่างๆ, น้ำยาฆ่าเชื้อทั่วๆ ไป, น้ำยาที่ใช้ทำความสะอาด
การติดต่อ
- เชื้อนี้ สามารถติดต่อระหว่างสัตว์ในกลุ่ม Canivore หลายชนิด เช่น สุนัขป่า สุนัขจิ้งจอก
- ในแมวสามารถติดเชื้อได้ แต่ไม่แสดงอาการ
- ติดต่อได้ทางอุจจาระ น้ำลาย ปัสสาวะ น้ำมูก น้ำตา
- การติดต่อที่สำคัญจะผ่านทางอากาศ และการหายใจ
อาการของโรค
- ในช่วง 4-7 วันแรก มีไข้สูง
- 7-14 วันต่อมา อุณหภูมิลดลง
- เยื่อตาอักเสบ
- ทอนซิลอักเสบ
- ในรายที่ไม่รุนแรง อาจมีอาการกระวนกระวาย ร่างกายขาดน้ำ กินอาหารลดลง น้ำหนักตัวลด มีไข้
- ในรายที่มีอาการรุนแรงขึ้น จะแสดงอาการที่ชัดเจนมากขึ้น เช่น มีน้ำมูกและขี้ตา ไอ หายใจลำบาก ท้องเสีย อาเจียน
- ในรายที่เป็นมากขึ้น จะมีอาการเด่นชัดที่พบบ่อยในโรคนี้ เช่น มีน้ำมูกใสในช่วงแรกที่เป็นโรค ในช่วงหลังน้ำมูกจะข้น เป็นหนอง, มีขี้ตาขุ่น อาจพบการอักเสบของกระจกตา เกิดแผลหลุมที่กระจกตา, หายใจลำบากและไอ หากมีการติดเชื้อแบคทีเรียร่วมด้วยจะมีอาการปอดบวมแทรก, มีตุ่มหนองใต้ท้อง, บริเวณจมูกและฝ่าเท้าจะหนาตัวขึ้น หรือที่เรียกว่า “hard pad”, อาเจียน ท้องเสีย, มีอาการทางประสาท เช่นชัก อัมพาต

2. โรคตับอักเสบติดต่อในสุนัข
สาเหตุ
- เกิดจากเชื้อ Canine Adenovirus-1 หรือ CAV-1
- มีชีวิตอยู่ในสภาพแวดล้อมได้นานหลายวัน หรือเป็นเดือนขึ้นกับอุณหภูมิและความชื้น
- ถูกทำลายได้ด้วยความร้อน 56 องศาเซลเชียส, สารประกอบไอโอดีน, ฟินอล, NaOH (โซเดียมไฮดรอกไซด์), กลุ่มควอเทอร์นารี่แอมโมเนียม
การติดต่อ
- เชื้อ CAV-1 จะออกมากับปัสสาวะของสัตว์ป่วย และแพร่กระจายได้
- ลูกสัตว์ติดจากแม่ขณะคลอด
- ติดต่อทางรกส่งผลให้ลูกแรกเกิดอ่อนแอ และตายภายในไม่กี่วันหลังจากคลอด
- แม่สุนัขที่เป็นโรคนี้จะเป็นพาหะของโรคได้
อาการของโรค
- ในลูกสุนัขจะแสดงอาการอ่อนแอ หมดแรง และตายอย่างรวดเร็ว
- ต่อมทอนซิลขยายใหญ่
- ไอ และปอดอาจมีเสียงผิดปรกติ เหมือนกับในรายของภาวะปอดบวม
- อาเจียน และอาจมีท้องเสีย
- ช่องท้องส่วนหน้ามีอาการเจ็บ
- คลำช่องท้อง พบลักษณะตับโต และอาจมีท้องมาน
- อาจพบจุดเลือดออก
- การบวมน้ำที่กระจกตา
- อาจพบว่ามีอาการทางระบบประสาท ซึมมาก โซเซ ชัก หมดสติ

3. โรคลำไส้อักเสบติดต่อในสุนัข
สาเหตุ
- เกิดจากเชื้อไวรัส Canine Parvovirus type 2 (CPV-2) ซึ่งเป็นไวรัสที่ทนทานมาก
การติดต่อ
- เชื้อสามารถอยู่นอกร่างกายสัตว์ได้นานเป็นเดือนหรือปี
- ติดเชื้อโดยการกินเชื้อเข้าไป
อาการของโรค
- ทำให้เกิดอาการอาเจียนและท้องเสีย
- มีไข้สูงถึง 104-105 องศาฟาเรนไฮด์ หรือไม่มีไข้
- อาเจียนเป็นฟองใสๆ หรือเป็นเมือกขาวขุ่นหรือปนเลือด, ซึม, เบื่ออาหาร
- ถ่ายอุจจาระเหลวเป็นน้ำหรือวุ้นเหมือนเจลลาติน สีแดงน้ำตาล (เลือด) มีกลิ่นเหม็นคาวเฉพาะของโรคนี้
- ร่างกายขาดน้ำ และน้ำหนักลด
วิธีป้องกัน
- โดยใช้ไฮเตอร์ (น้ำยาฟอกขาว) ล้างพื้นเป็นประจำ ป้องกันได้ เพราะไฮเตอร์มีฤทธิ์ฆ่าไวรัสตัวนี้ได้
badongo

4. โรคหลอดลมอักเสบติดต่อในสุนัข
สาเหตุ
- เกิดจากไวรัส Canine Parainfluenza Virus (CPIV)
Canine Distemper Virus (CDV)
Canine Adeno Virus (CAV-1)
Canine Adeno Virus (CAV-2)
- เกิดจากแบคทีเรีย Burdetella Hronchiseptica
Mycoplasma
อาการของโรค
- ไอเรื้อรัง
- พบการตีบตัวของหลอดลม และเกิดการอักเสบที่ระบบทางเดินหายใจส่วนต่างๆ
- ทำให้ตายได้
- ลูกสุนัขเกิดภาวะปอดบวมตามมา

5. โรคพิษสุนัขบ้า
สาเหตุ
- เกิดจากเชื้อ Rabies Virus
- สัตว์เลือดอุ่นทุกชนิด ง่ายต่อการเป็นโรค
- ระยะฟักตัว 3-8 สัปดาห์ ถึง 6 เดือน ขึ้นอยู่กับตำแหน่งของการติดเชื้อ ลักษณะ และขนาดของบาดแผล
- พบว่าสัตว์ที่เป็นโรคมีจำนวนไวรัสไตเตอร์ในต่อมน้ำลาย หรือในน้ำลายสูงกว่าในสมอง
การติดต่อของโรค
- โอกาสติดเชื้อจากสัตว์ป่วยโดยการถูกกัด เลียโดยเชื้อที่ถูกขับผ่านทางน้ำลาย ทางแผลฉีกขาดที่ผิวหนัง หรือเยื่อเมือกของตา จมูก ปาก หรืออวัยะเพศ การติดเชื้อทางลมหายใจ หรือการสูดละอองไวรัสจากอุจจาระ ปัสสาวะในที่แออัด หรือการแพร่โรคทางรกและน้ำนม
อาการของโรค
- แบ่งเป็น 3 ระยะคือ
5.1 ระยะเริ่มต้น ใช้เวลา 2-3 วัน
- สุนัขจะมีนิสัยเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม
- ม่านตาขยายกว้าง
- ไล่งับอากาศ หรือ โงกหลับ
- ชอบหลบตามมุมมืด
5.2 ระยะตื่นเต้น ใช้เวลาประมาณ 1-7 วัน
- สุนัขจะมีอาการตื่นเต้น กระวนกระวาย ดุร้าย กัดทุกอย่างที่ขวางหน้า
- ขากรรไกรล่างห้อย น้ำลายไหลมาก เนื่องจากอัมพาตของกล้ามเนื้อที่ใช้เคี้ยวและกลืน ลิ้นห้อย
- เสียงเห่าหอนผิดปรกติ เกิดจากอัมพาตของกล้ามเนื้อกล่องเสียง
- สุนัขจะลำตัวแข็ง หางตก ขาหลังเริ่มอ่อนเปลี้ย ซึ่งเป็นอาการที่เริ่มเข้าสู่ระยะอัมพาต
5.3 ระยะอัมพาต
- สุนัขมีอาการอ่อนเพลีย
- เกิดอัมพาต โดยจะเริ่มจากส่วนท้ายของลำตัวแล้วไปยังส่วนหัวอย่างรวดเร็ว
- ตายเนื่องจากระบบหายใจเป็นอัมพาต ภายใน 2-4 วัน
ข้อควรแนะนำสำหรับผู้ที่สัมผัส หรือถูกสัตว์ที่เป็นโรคพิษสุนัขบ้ากัด
- รีบล้างแผลด้วยน้ำและสบู่ หรือยาฆ่าเชื้อ
- ทำความสะอาดซ้ำด้วยแอลกอฮอล์ 70 %
- กักขังสัตว์เพื่อดูอาการ อย่างน้อย 10 วัน
- ปรึกษาแพทย์ เพื่อฉีดยาป้องกันบาดทะยักและวัคซีน

โรคสำคัญอื่นๆ ที่พบบ่อยในสุนัข

โรคพยาธิหนอนหัวใจสุนัข (Heartworm Disease)
• เป็นโรคที่พบบ่อยในสุนัข
• เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดการหอบหายใจแรงในแมว
• สาเหตุเกิดจาก Dirofilaria Immitis โดยมียุงเป็นพาหะ
วงจรชีวิตพยาธิหนอนหัวใจ
• Microfilaria อาจผ่านจากสุนัขตัวหนึ่งไปสู่อีกตัวหนึ่ง โดยผ่านทางการให้เลือดได้
• สามารถผ่านจากแม่สู่ลูกได้ โดยทางรกในระหว่างตั้งครรภ์
• ลูกสุนัขอายุน้อยกว่า 6 เดือนอาจพบ Microfilaria ในกระแสเลือดได้
• พยาธิหนอนหัวใจตัวแก่ สามารถมีอายุได้ 5-9 ปี
อาการของโรค
• สุนัขที่เลี้ยงอยู่นอกบ้าน มีโอกาสเป็นโรคนี้ได้มากกว่าสุนัขที่เลี้ยงภายในบ้าน
• สุนัขแสดงอาการไอ หายใจลำบาก หอบ หายใจเร็ว เหงือกมีสีคล้ำ และน้ำหนักตัวลดลง
• กรณีที่สุนัขป่วยมานาน จะแสดงอาการของโรคหัวใจ ได้แก่ เกิดท้องมาน หมดสติเป็นครั้งคราว บางรายพบเลือดกำเดาไหลร่วมด้วย
• หากเป็นนานขึ้นเรื่อยๆ สุนัขจะมีม้ามโต ตับโต และโลหิตจาง
• ในรายที่เป็นแบบรุนแรงเฉียบพลันจะมีอาการอ่อนเพลีย เหงือกซีด หอบหายใจแรง ปัสสาวะมีสีแดง โลหิตจาง และสุนัขอาจตายได้ภายในเวลา 24-72 ชั่วโมง
การตรวจวินิจฉัย
• สัตว์แพทย์จะทำการตรวจเบื้องต้น โดยการเจาะเก็บตัวอย่างเลือดมาตรวจหาตัวอ่อน โดยการส่องดูจากกล้องจุลทรรศน์ เรียกว่า วิธี Fresh Blood Smear
• หากสุนัขได้รับการฉีดยาควบคุมโรคพยาธิหนอนหัวใจมาโดยตลอด เมื่อส่องกล้องดูตัวอย่างเลือดจะไม่พบตัวอ่อน
• ใช้วิธีการ X-Ray ดูขนาดของหัวใจซึ่งจะเห็นขนาดของหัวใจที่ขยายใหญ่ และบางรายจะเห็นเส้นเลือดแดงที่ไปเลี้ยงปอดมีขนาดใหญ่กว่าปรกติชัดเจน
ระดับความรุนแรงของโรค
• สุนัขไม่แสดงอาการหรือความผิดปรกติใด ไม่พบการเปลี่ยนแปลงของภาพ X-Ray เมื่อมีพยาธิอยู่เพียงเล็กน้อย
• สุนัขมีอาการไอ ความสามารถในการออกกำลังการลดลง มีการเปลี่ยนแปลงของหัวใจจากภาพ X-Ray ไม่มาก
• สุนัขมีอาการไอ ความสามารถในการออกกำลังกายลดลงอย่างมาก เหนื่อยง่าย หมดสติ บางรายมีอาการท้องมาน ภาพ X-Ray พบความเปลี่ยนแปลงของหัวใจอย่างมาก
• สุนัขมีอาการคล้ายระดับที่ 3 แต่เกิดอาการแบบเฉียบพลัน ปัสสาวะมีสีแดง มีอาการของภาวะหัวใจล้มเหลวเนื่องจากมีพยาธิจำนวนมากอุดตันที่เส้นเลือดดำใหญ่
การรักษา มี 2 ขั้น คือ
• ขั้นแรก การกำจัดพยาธิตัวแก่ด้วยยาหรือการผ่าตัด
• ขั้นที่สอง การกำจัด Microfilaria โดยการใช้ยา
การป้องกันพยาธิหนอนหัวใจ
• ใช้ยาในการกำจัดตัวอ่อนของพยาธิ
• ฉีดยาเข้าชั้นใต้ผิวหนัง โดยเริ่มโปรแกรมที่อายุ 3 เดือน หลังจากนั้นกระตุ้นซ้ำทุก 2 เดือน หรือควบคุมโดยใช้ยากินทุก 1 เดือน หรือตามที่สัตวแพทย์แนะนำ
• แมวสามารถติดพยาธิหนอนหัวใจได้ แต่ตัวพยาธิจะมีอายุอยู่ในร่างกายแมวได้ไม่นาน และไม่สามารถสร้างตัวอ่อนออกสู่กระแสเลือดได้





 

Create Date : 27 กุมภาพันธ์ 2550    
Last Update : 27 กุมภาพันธ์ 2550 16:31:14 น.
Counter : 1923 Pageviews.  

วิธีดูแลสุขภาพสุนัขในช่วงอายุต่างๆ

*

บังเอิญ TBG ได้มีโอกาสไปอบรมเกี่ยวกับการฝึกสุนัขให้เชื่อฟังคำสั่งเบื้องต้น ที่ คณะเทคนิคการสัตว์แพทย์ ม. เกษตร เมื่อเดือนก.พ. ที่ผ่านมา ก่อนการอบรมก็มีคุณหมอมาให้ความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุนัขในช่วงอายุต่างๆ ซึ่ง TBG เห็นว่ามีประโยชน์ จึงขอนำรายละเอียดของส่วนในเอกสารอบรม มาเผยแพร่ให้ท่านที่สนใจค่ะ

การดูแลสุขภาพสุนัขช่วงอายุต่างๆ

1.การดูแลสุนัขแรกคลอด
• ลูกสุนัขเกิดใหม่จะมีอุณหภูมิร่างการค่อนข้างต่ำ จึงควรกกไฟเพื่อเพิ่มความร้อนให้แก่ร่างกาย
• ให้ลูกสุนัขได้รับน้ำนมเหลืองจากแม่ภายใน 24 ชั่วโมง
• สังเกตอยู่เสมอว่าแม่สุนัขมีน้ำนมให้ลูก
• สุนัขจะเริ่มลืมตาหรือได้ยินเสียงต่างๆ เมื่ออายุประมาณ 2 สัปดาห์
• หากลูกสุนัขไม่ดูดนมแม่หรือแม่มีน้ำนมไม่พอควรให้นมผงสำหรับสุนัขโดยใช้ syringe ค่อยๆหยอดเข้าปาก ไม่ควรให้นมโคลูกสุนัข เพราะจะทำให้ท้องเสีย
• ปริมาณแคลลอรี่ที่ลูกสุนัขต้องการคือ 22-26 Rcal/100 gm. ของน้ำหนักตัว
• ในช่วงอายุ 2-3 สัปดาห์ น้ำหนักควรเพิ่ม 10-15 % ต่อวัน

2. การดูแลสุนัขช่วงวัยเด็ก วัยเจริญพันธุ์

• การดูแลผิวหนังและขน
o สุนัขที่มีสุขภาพดี ขนจะเป็นเงางาม ไม่แห้งและมันจนเกินไป
o ผิวหนังไม่หยาบแห้ง ไม่มีรังแคและปรสิตภายนอก
o สุนัขที่มีความผิดปรกติที่ผิวหนังจะมีอาการคัน ขนร่วงบางตำแหน่ง หรือร่วงเป็นบริเวณกว้าง ผิวหนังเป็นตุ่มหนองหรือเป็นผื่นแดง
o สุนัขที่มีหูปรกควรเช็ดหูอย่างสม่ำเสมอ
o สุนัขที่มีขนสั้นหรือเรียบติดผิวหนัง ควรแปรงขนสัปดาห์ละ 1-2 ครั้ง
o สุนัขที่มีขนยาว ควรแปรงขน 1-2 วัน/ครั้ง และควรเล็มขนที่เท้า นิ้วเท้า และหูออกอย่างสม่ำเสมอ
o ขนที่ยาวเหนือตาควรเล็มออก หรือรวบด้วยริ้บบิ้นหรือโบว์

• การอาบน้ำ
o ระหว่างการอาบน้ำควรใส่ปลอกคอให้สุนัขเพื่อใช้จับและป้องกันการกระโดดของสุนัข
o หลังจากแปรงขนแล้วให้ใช้ก้อนสำลีอุดหูสุนัขแล้วใช้น้ำสะอาดราดตัวสุนัข
o ใช้แชมพูสำหรับสุนัขฟอกให้ทั่ว ยกเว้นบริเวณหัว
o ถูนวดย้อนขนจนแชมพูเกิดฟอง
o บริเวณหัวใช้แชมพูที่ไม่ระคายเคืองตาเทลงมือแล้วนวดขนสุนัข
o ระวังอย่าให้ฟองแชมพูกระเด็นเข้าตาและปากสุนัข
o ล้างแชมพูบริเวณหัวออกและเช็ดให้แห้งก่อน แล้วจึงล้างแชมพูบริเวณลำตัวออก วิธีนี้จะป้องกันสุนัขสะบัดน้ำกระจายไปทั่ว
o บีบไล่น้ำที่ติดค้างตามขนออกให้มากที่สุด แล้วใช้ผ้าเช็ดตัวเช็ดตัวให้แห้ง
o ใช้เครื่องเป่าผมเป่าขนให้แห้ง และแปรงขนไปในทิศทางออกจากตัว
o ไม่ใช้เครื่องเป่าผมกับสุนัขที่มีปัญหาโรคผิวหนัง

• การตัดเล็บ
o จับนิ้วสุนัขให้แยกออกจากกัน และตรวจผิวหนังระหว่างนิ้ว
o เช็ดสิ่งสกปรกระหว่างนิ้วออกด้วยสำลีชุบน้ำ
o ตัดเล็บในบริเวณที่มีสีเล็บเป็นสีขาว
o บริเวณสีชมพูเป็นบริเวณที่มีเส้นประสาทและเส้นเลือดฝอยมาเลี้ยงมาก
o ตะไบปลายเล็บให้เรียบ หากสุนัขมีนิ้วติ่งให้ตัดเล็บที่นิ้วติ่งออกด้วย

• การทำโปรแกรมวัคซีน
o วัคซีนรวม 5 โรค เข็มแรก ตอนอายุ 2 เดือน
เข็มที่สอง ตอนอายุ 2 เดือนครึ่ง
o วัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า เข็มแรก ตอนอายุ 3 เดือน
เข็มที่สอง ตอนอายุ 6 เดือน
o วัคซีนทุกชนิดกระตุ้นซ้ำปีละครั้ง
o ฉีดยาป้องกันพยาธิหนอนหัวใจ เริ่มตอนอายุ 3 เดือน และฉีดป้องกันทุกๆ 2 เดือน (ยาป้องกันพยาธิหนอนหัวใจ ไม่ใช่วัคซีน)

• การดูแลสุนัขตั้งท้องและก่อนคลอด
oสุนัขเป็นสัด ( heat) ปีละประมาณ 2 ครั้ง
o วงรอบการเป็นสัดแบ่งเป็น 4 ระยะ
- Proestrus (9 วัน) อวัยวะเพศบวมขยายใหญ่ มีเลือดหยดออกมา
- Estrus (9 วัน) ยอมให้ตัวผู้ผสม ไม่มีเลือดหยดออกมาแล้ว
- Diestrus (60 วัน) เป็นช่วงที่สุนัขตัวผู้ไม่สนใจอีกแล้ว หากผสมติดจะเกิดการตั้งท้องนานประมาณ 63 วัน (บวก ลบ 1 วัน)
- Anestrus (ประมาณ 4.5 เดือน) อวัยวะเพศเป็นปรกติ
o ในช่วงกลางของการตั้งท้องควรเพิ่มปริมาณอาหารขี้น 10 %
o ก่อนครบกำหนดคลอด 2-3 วัน แม่สุนัขจะนอนพักเพื่อสงวนพลังงาน จึงไม่ควรให้ออกกำลังกาย
o ควรให้แม่สุนัขคุ้นเคยกับสถานที่ที่จัดไว้ให้คลอด อย่างน้อย 1 สัปดาห์ก่อนคลอด
o สถานที่คลอดควรเงียบสงบ อาจใช้กล่องไม้เรียบหรือกล่องกระดาษขนาดใหญ่ก็ได้
o แม่สุนัขจะเบื่ออาหาร 1-2 วันก่อนคลอด และจะกระวนกระวายชัดเจน

• การสังเกตภาวะคลอดยาก
o ตั้งท้องนานผิดปรกติ พิจารณาจากตั้งท้องนานเกิน 65 วัน
o ตรวจพบจำนวนลูกในครรภ์น้อยเกินไป เช่น มีเพียง 1-2 ตัว
o แม่สุนัขได้รับสารอาหารไม่เพียงพอในช่วงการตั้งท้อง โดยเฉพาะแม่สุนัขที่มีลูกดก
o แม่สุนัขมีอาการปวดท้องอย่างรุนแรง นอนร้องครวญคราง ช่องท้องการขยายใหญ่ขึ้น แสดงถึงการเกิดมดลูกบิด หรือฉีกขาด
o แม่สุนัขแสดงอาการเบ่งอย่างรุนแรงติดต่อกันเกิน 30 นาที แต่ไม่พบลูกสุนัขออกมา
o แม่สุนัขเบ่งคลอดเป็นระยะๆ นานถึง 4 ชั่วโมงแล้วแต่ไม่พบลูกสุนัขออกมา
o ลูกสุนัขแต่ละตัวคลอดห่างกันเกิน 2 ชั่วโมง
o เมื่อพบน้ำคร่ำ (สีเขียวดำ) ออกมาแล้ว ปรกติลูกตัวแรกจะออกภายใน 1-2 ชั่วโมง หากไม่มีลูกสุนัขออกมาภายใน 24 ชั่วโมง ให้รีบนำไปพบสัตวแพทย์ทันที

3. การดูแลสุนัขชรา

• ลักษณะของสุนัขชรา
o มีขนหงอกสีขาวแซมมากขึ้น ฟันหลุด ประสาทสัมผัสและการตอบสนองช้าลง
o ขนหลุดร่วง และแห้งลง
o กล้ามเนื้อลีบลงและไม่แข็งแรง
o น้ำในข้อต่อลดลง ทำให้ข้ออักเสบและเคลื่อนไหวลำบาก
o ดวงตาขุ่นมัว
• ควรจำกัดอาหารที่มีไขมันสูง เช่น เครื่องในสัตว์
• ควรจำกัดอาหารที่มีปริมาณเกลือแร่มาก เช่น กระดูกไก่ , การเพิ่มซอสปรุงรสในอาหาร เป็นต้น
• ให้อาหารที่ย่อยง่าย เช่น ข้าวต้ม หมูสับ เป็นต้น
• เลือกอาหารสำเร็จรูปสูตรสำหรับสุนัขชราโดยเฉพาะ
• ควรเช็ดขี้ตาและขี้หูอยู่อย่างสม่ำเสมอ
• หากไม่มีโอกาสพาสุนัขออกกำลังกายควรช่วยนวดกล้ามเนื้อ และขยับข้อต่อโดยการพับขางอขึ้นลง

badongo




 

Create Date : 26 กุมภาพันธ์ 2550    
Last Update : 27 กุมภาพันธ์ 2550 16:34:18 น.
Counter : 413 Pageviews.  


Tiger and Bunny Gang
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




Tiger is a male Shih Tzu dog who is friend with two cute Lion Head bunnies.
My Time in Bangkok now-->
Google
Friends' blogs
[Add Tiger and Bunny Gang's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.