sansook
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 40 คน [?]




คลิกๆๆ รูปสวยๆน่ารักๆไว้ส่งต่อเพียบ...

คลิกๆๆ รูปสวยๆน่ารักๆไว้ส่งต่อเพียบ...


คลิกๆๆ รูปสวยๆน่ารักๆไว้ส่งต่อเพียบ...
โค้ดนี้เป็นภาพพื้นหลังนำไปวางที่ช่อง Script Area ค่ะ https://youtu.be/K2vg5yDgVX4
Group Blog
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add sansook's blog to your web]
Links
 

 

แนวข้อสอบ อบต. เทศบาล



จงเลือกคำตอบที่ถูกที่สุดเพียงข้อเดียว

1.อำนาจหน้าที่ของกระทรวงมหาดไทยถูกกำหนดไว้ในพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.
ก.2534* ข. 2535 ค. 2536 ง.2545

2.ให้จัดระเบียบราชการของกระทรวง ดังนี้
ก.สำนักงานปลัดกระทรวง ,กรม
ข.สำนักงานรัฐมนตรี ,สำนักงานปลัดกระทรวง ,กรม*
ค.สำนักงานรัฐมนตรี ,สำนักงานปลัดกระทรวง ,กรม ,กอง
ง.กรม ,กอง ,ฝ่าย ,งาน

3.ถ้ากฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ หรือคำสั่ง หรือมติคณะรัฐมนตรี ในเรื่องใดมิได้กำหนดเรื่องการมอบอำนาจไว้เป็นอย่างนั้น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงจะมอบอำนาจให้ปลัดกระทรวง อธิบดี หรือ ผู้ว่าราชการจังหวัดปฏิบัติราชการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงก็ได้ โดย……….
ก.ทำเป็นระเบียบ
ข.ทำเป็นคำสั่งและประกาศในราชกิจจานุเบกษา*
ค.ทำเป็นประกาศและประกาศในราชกิจจานุเบกษา
ง.ขออนุมัติคณะรัฐมนตรีก่อน แล้วทำเป็นคำสั่ง

4.ในกรณีที่ไม่มีผู้ดำรงตำแหน่งอธิบดี หรือมีแต่ไม่อาจปฏิบัติราชการได้ให้รองอธิบดี (ถ้ามี) เป็นผู้..
ก.ปฏิบัติราชการแทน ข.ทำการแทน
ค.รักษาการในตำแหน่ง ง.รักษาราชการแทน*


5.การจัดระเบียบบริหารราชการส่วนภูมิภาค แบ่งออกเป็นดังนี้
ก.จังหวัด ,อำเภอ* ข.จังหวัด ,อำเภอ ,กิ่งอำเภอ
ค.จังหวัด ,อำเภอ ,ตำบล ,หมู่บ้าน
ง.จังหวัด ,อำเภอ ,กิ่งอำเภอ ,ตำบล ,หมู่บ้าน

6.ข้อใดไม่ใช่ราชการบริหารส่วนท้องถิ่น
ก.อำเภอ* ข.กรุงเทพมหานคร
ค.เมืองพัทยา ง.องค์การบริหารส่วนจังหวัด

7.ข้อความใดต่อไปนี้ ผิด
ก.ให้รวมท้องที่หลายๆ อำเภอตั้งขึ้นเป็นจังหวัด
ข.จังหวัดมีฐานะเป็นนิติบุคคล
ค.การเปลี่ยนแปลงเขตจังหวัดต้องตราเป็นพระราชบัญญัติ
ง.ให้ผู้ช่วยผู้ว่าราชการจังหวัดร่วมเป็นคณะกรมการจังหวัดด้วย*

8.ข้อความใดต่อไปนี้ ถูกต้องที่สุด
ก.ปลัดอำเภอทุกคนเท่าเทียมกับหัวหน้าส่วนราชการในฐานะผู้ช่วยเหลือ
นายอำเภอ
ข.ปลัดอำเภออาวุโสมีฐานะเทียบเท่าหัวหน้าส่วนราชการ*
ค.ปลัดอำเภอแต่ละคนมีฐานะไม่เท่าเทียมกัน เพราะแบ่งเป็นฝ่ายเป็นงาน
ง.ปลัดอำเภออาวุโสเป็นหัวหน้าที่ทำการปกครองอำเภอ

9.ส่วนราชการใดต่อไปนี้ ไม่มีฐานะเป็นนิติบุคคล
ก.ทบวงซึ่งไม่สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรีหรือกระทรวง
ข.จังหวัด
ค.อำเภอ* ง.เทศบาลตำบล

10.เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ เป็น……..
ก.ข้าราชการทหาร ข.ข้าราชการการเมือง
ค.ข้าราชการพลเรือนสามัญฯ * ง.ข้าราชการกลาโหม

11.กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของ ก.พ.มีจำนวน
ก. 10 คน ถึง 14 คน ข. 5 ถึง 7 คน*
ค. 12 ถึง 16 คน ง. 13 ถึง 17 คน

12.เลขานุการ อ.ก.พ.จังหวัด คือ
ก.ใครก็ได้ที่ อ.ก.พ.นั้นตั้ง ข.ปลัดจังหวัด
ค.หัวหน้าสำนักงานจังหวัด* ง.จ่าจังหวัด

13.ถ้าตำแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญว่างลงหรือผู้ดำรงตำแหน่งไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ราชการได้เป็นครั้งคราว และเป็นกรณีที่มิได้บัญญัติไว้ในกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน ให้ผู้มีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา 52 มีอำนาจสั่งให้ข้าราชการพลเรือนที่เห็นสมควร……
ก.ปฏิบัติราชการแทน ข.ทำการแทน
ค.รักษาการในตำแหน่ง* ง.รักษาราชการแทน

14.สูตร E= (ผลงาน – ทรัพยากรบริหารที่ใช้) + ความพึงพอใจ
ก. E หมายถึง พลังงาน ข. E หมายถึง ประสิทธิภาพ
ค. E หมายถึง ประสิทธิผล* ง. E หมายถึง ความประหยัด

15.ในกระบวนการบริหารที่เรียกว่า POSDCORB นั้น ตัว D หมายถึง
ก. Democracy ข. Delegating
ค. Developing ง. Directing*

16.ผู้นำที่ไม่พยายามจัดให้มีประเมินผลงาน เป็นผู้นำแบบ
ก.อัตนิยม* ข.เสรีนิยม
ค.ประชาธิปไตย ง.อนุรักษ์นิยม

17.สิ่งสำคัญที่สุดที่ทำให้องค์การมีลักษณะเคลื่อนไหว (Dynamic) คือ
ก.การจัดการ ข.การติดต่อสื่อสาร
ค.การสั่งการ* ง.การส่งข้อมูลย้อนกลับ

18.ตามปกติหน่วยงานฝ่ายอำนวยการ (Staff) กับฝ่ายปฏิบัติการ (Line) มักจะมีพฤติกรรม
ก.ร่วมมือประสานกันทำงาน ข.ขัดแย้งโทษกันและกัน*
ค.ต่างคนต่างทำงาน ง.มุ่งปฏิบัติตามคำสั่ง

19.อะไรต่อไปนี้ ที่ไม่ใช่หลักของระบบคุณธรรม (Merit System)
ก.หลักความสามารถ ข.หลักความเสมอภาคในโอกาส
ค.หลักความมั่นคงในอาชีพ ง.หลักความขยันซื่อสัตย์*

20.ผู้บริหารที่เชื่อในระบบการควบคุมและลงโทษเพื่อให้บุคคลทำงานนั้น เป็นหลักของทฤษฎีบริหารที่เรียบว่า
ก.ทฤษฎีพื้นฐานของการจูงใจ ข.ทฤษฎี X*
ค.ทฤษฎี Y ง.ทฤษฎีรวมอำนาจไว้ที่ศูนย์กลาง

21.MBO คือการบริหารงานโดย
ก.ยึดตัวบุคคล ข.ยึดวิธีการ
ค.ยึดวัตถุประสงค์ * ง.ยึดผลงาน

22.ปัจจัยในการบริหารตามหลัก 4M’S คือ
ก.คน ความรู้ วัตถุสิ่งของ การจัดการ ข.คน เงิน ที่ดิน การประกอบการ
ค.แรงงาน ทุน ที่ดิน การประกอบการ ง.คน เงิน วัตถุสิ่งของ การจัดการ*

23.ผู้รับสนองพระบรมราชการโองการโปรดเกล้าฯ นายกรัฐมนตรีตาม
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2540 คือ
ก.ประธานรัฐสภา* ข.ประธานสภาผู้แทนราษฎร
ค.ประธานวุฒิสภา ง.ประธานองค์มนตรี

24.พรรคการเมืองที่จะได้เสียงข้างมากในสภาผู้แทนราษฎร จะต้องมีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในสังกัดเป็นจำนวนอย่างที่สุด กี่เสียง

25.อัตราค่าจ้างแรงงานขั้นต่ำตามประกาศของกระทรวงแรงงานฯ มีอัตราต่ำสุดและสูงสุดดังนี้

26.ถ้าค่าของเงินดอลลาร์สหรัฐอเมริกาลดลง จะทำให้
ก.ราคาสินค้าที่สั่งจากสหรัฐเข้ามาภายในไทยแพงขึ้น
ข.สินค้าไทยในต่างประเทศราคาถูกลงเมื่อเทียบกับสินค้าสหรัฐ
ค.สินค้าไทยในต่างประเทศราคาแพงขึ้นเมื่อเทียบกับสินค้าสหรัฐ*
ง.ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับเงินไทยเพราะคนละสกุลกัน

27.กรุงเทพมหานคร จะมีอายุครบ 300 ปี ในปี พ.ศ. ……….
ก. 2624 ข. 2625*
ค. 2626 ง. 2627

28.ถ้ามีหนังสือถึงประธานสภาจังหวัดใช้คำลงท้ายว่า
ก.ขอแสดงความนับถืออย่างสูง ข.ขอแสดงความนับถืออย่างยิ่ง
ค.ขอแสดงความนับถือ* ง.ด้วยความนับถืออย่างสูง

29.ถ้ามีหนังสือถึงพระราชาคณะ ใช้คำลงท้ายว่า
ก.นมัสการด้วยความเคารพยิ่ง ข.นมัสการด้วยความเคารพอย่างสูง
ค.นมัสการด้วยความเคารพ ง.ขอนมัสการด้วยความเคารพอย่างสูง*

30.ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ พ.ศ.2526 กำหนดให้ใครมีหน้าที่ในการฝึกอบรมเกี่ยวกับงานสารบรรณ
ก.หัวหน้าส่วนราชการระดับกรม ข.ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี*
ค.ผู้ว่าราชการจังหวัดเฉพาะจังหวัดนั้น ง.นายอำเภอเฉพาะอำเภอนั้น

31.หนังสือที่เป็นเรื่องธรรมดาสามัญ ซึ่งไม่มีความสำคัญและเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นเป็นประจำเมื่อดำเนินการแล้ว ให้เก็บไว้เป็นเวลาไม่น้อยกว่า
ก. 1 ปี* ข. 2 ปี
ค. 3 ปี ง. 5 ปี

32.หนังสือประทับตรา ข้อใดต่อไปนี้ถูกต้องตามระเบียบงานสารบรรณ
ก.ใช้ประทับตราแทนการลงชื่อของหัวหน้าส่วนราชการระดับกองขึ้นไป
ข.ให้หัวหน้าส่วนราชการระดับกองลงชื่อเต็มกำกับตรา
ค.ใช้ประทับตราแทนการลงชื่อของหัวหน้าส่วนราชการระดับกรมขึ้นไป*
ง.ถูกทั้งข้อ ก. และ ข.

33.ข้อใดถูกต้องตามระเบียบงานสารบรรณ
ก.ระเบียบเป็นหนังสือสั่งการ ข.ข้อบังคับเป็นหนังสือราชการ
ค.ถูกทั้งข้อ ก.และ ข้อ ข.* ง.แถลงการณ์ไม่ต้องใช้กระดาษครุฑ

34.คำว่า หนังสืออื่น ในระเบียบงานสารบรรณ หมายถึง
ก.ฟิล์มที่เกิดขึ้นเนื่องจากการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่เพื่อเป็นหลักฐานทางราชการ*
ข.หนังสือของบุคคลภายนอกที่ยื่นต่อเจ้าหน้าที่และลงรับไว้แล้ว
ค.โฉนด ง.ข้อ ข. และข้อ ค.

35.การยืมหนังสือระหว่างส่วนราชการ ผู้ยืมต้องเป็น
ก.หัวหน้าส่วนราชการระดับกรมขึ้นไป ข.หัวหน้าส่วนราชการระดับกองขึ้นไป*
ค.หัวหน้าส่วนราชการระดับฝ่ายขึ้นไป ง.หัวหน้าส่วนราชการระดับแผนกขึ้นไป

36.หนังสือที่เกี่ยวกับการเงินที่มิใช่เอกสารสิทธิ หากเก็บไว้เพียง 5 ปีแล้ว เห็นว่าไม่จำเป็นประสงค์จะทำลาย ควรดำเนินการ……….
ก.ทำลายได้เลย ข.ขอทำความตกลงกับกรมบัญชีกลาง
ค.ขอทำความตกลงกับสำนักงานคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน
ง.ขอทำความตกลงกับกระทรวงการคลัง*

37.ข้อใดถูกต้อง
ก.ทะเบียนตามระเบียบงานสารบรรณมีทะเบียนหนังสือรับ-ทะเบียนหนังสือส่ง-
ทะเบียนหนังสือเก็บ*
ข.ประกาศคือหนังสือสั่งการ
ค.การเก็บหนังสือเมื่อปฏิบัติเสร็จแล้ว ให้ประทับตรากำหนดเก็บหนังสือไว้ที่มุม
ด้านซ้ายของแผ่นกระดาษแผ่นแรก
ง.หนังสือด่วนมาก หมายถึง ให้เจ้าหน้าที่ปฏิบัติเร็วกว่าปกติ

38.กฎหมายต่างกับศีลธรรม เนื่องจาก
ก.กฎหมายและศีลธรรมเป็นเรื่องที่ต้องแยกพิจารณาจากกัน
ข.กฎหมายและศีลธรรมต่างก็เป็นข้อกำหนดความประพฤติของมนุษย์
ค.กฎหมายมีสภาพบังคับ (Sanction) ที่รุนแรงกว่าศีลธรรม*
ง.ถูกทั้งข้อ ข. และ ค.

39.จารีตประเพณีที่ใช้ประกอบในการพิจารณาของกฎหมายนั้น
ก.ต้องเป็นจารีตประเพณีที่ไม่ขัดต่อกฎหมาย
ข.เป็นที่ยอมรับของสังคมและปฏิบัติกันมาเป็นเวลาช้านาน
ค.ต้องเป็นจารีตประเพณีที่ทันสมัยทันเหตุการณ์
ง. ข้อ ก. และ ข. รวมกัน*

40.ผู้มีอำนาจเสนอออกพระราชกำหนด คือ
ก.รัฐมนตรีผู้รักษาการ* ข.เลขาธิการนายกรัฐมนตรี
ค.เลขาธิการรัฐสภา ง.ประธานรัฐสภา

41.ถ้า ก.ไปขโมยทรัพย์ของเด็กอายุ 6 ขวบ การกระทำของ ก.
ก.ไม่มีความผิดเพราะเป็นโทษที่กระทำต่อเด็กที่อายุน้อยเกินไป
ข.มีความผิดฐานลักทรัพย์ตามกฎหมายกำหนด*
ค. ก.มีความผิด แต่อาจได้รับยกเว้นโทษ เพราะเด็ก 6 ขวบ ย่อมไม่เอาความ
ง.ไม่มีความผิด เพราะ ก.ไม่เจตนา

42.นาย ก.ขับรถเข้าไปจอดในสยามสแควร์ มีคนมาขอเงินค่าเฝ้ารถ 5 บาท นาย ก.ก็เอาเงินให้ไป เช่นนี้จะมีผลผูกพัน
ก.เป็นสัญญาเช่าที่จอดรถ ข.เป็นสัญญาฝากทรัพย์*
ค.เป็นสัญญาแลกเปลี่ยน ง.ไม่เป็นสัญญาอะไรทั้งสิ้น

43.จำนองต่างกับจำนำในสาระสำคัญอย่างไร
ก.จำนองต้องจดทะเบียน จำนำไม่ต้อง
ข.จำนองใช้กับสังหาริมทรัพย์ แต่จำนำใช้กับอสังหาริมทรัพย์
ค.จำนองใช้กับอสังหาริมทรัพย์ แต่จำนำใช้กับสังหาริมทรัพย์
ง. ข้อ ก. และ ค.*

44.ภูมิลำเนา หมายถึง
ก.สถานที่บุคคลอยู่มาเป็นเวลาช้านาน ข.สถานที่อยู่ของ พ่อ-แม่-ลูก
ค.ถิ่นที่บุคคลนั้นมีสถานที่อยู่เป็นแหล่งสำคัญ* ง.ถิ่นที่เกิด

45.ข้อใดเป็นหลักกฎหมายไม่มีผลบังคับย้อนหลัง
ก.ไม่มีผลย้อนหลังในทางที่เป็นโทษแก่จำเลย*
ข.ไม่มีผลย้อนหลังในทางที่เป็นคุณแก่จำเลย
ค.ถูกทั้ง ก. และ ข.
ง.ไม่มีข้อใดถูก

46.ปัจจุบันนี้มีการกล่าวอ้างหรือวิพากษ์วิจารณ์กันเสมอว่า กฎหมายบางฉบับมีช่องว่าง คำว่า ”ช่องว่างแห่งกฎหมาย” นั้น แท้จริงแล้วคือ
ก.กรณีที่กฎหมายก่อให้เกิดช่องว่างระหว่างคนจนและคนรวยมากขึ้น ซึ่งเป็นสิ่ง
ที่ไม่พึงปรารถนาในสังคม
ข.กรณีที่บัญญัติกฎหมายขัดกับรัฐธรรมนูญ อันทำให้กฎหมายนั้นเป็นโมฆะใช้
บังคับไม่ได้
ค.การที่ผู้ใช้กฎหมายพยายามใช้กฎหมายโดยไม่เป็นธรรม มีการให้อภิสิทธิ์กัน
ง.กรณีที่ไม่มีกฎหมายลายลักษณ์อักษรหรือกฎหมายจารีตประเพณี ที่จะนำไปใช้ปรับแก่ข้อเท็จจริงได้*

47.ตามรัฐธรรมนูญไทยปัจจุบัน กฎหมายใดคือกฎหมายที่รัฐบาลสามารถประกาศใช้บังคับได้เองในทันที แต่ต้องมาขอความเห็นชอบจากรัฐสภาในภายหลัง
ก. พระราชกฤษฎีกา ข.พระบรมราชโองการ
ค.พระราชกำหนด* ง.พระราชบัญญัติในภาวะฉุกเฉิน

48.ข้อความเขียนที่สนามว่า “ห้ามเดินลัดสนาม” ดังนั้นการวิ่งลัดสนาม
ก.ไม่ผิด เพราะห้ามเดิน แต่ไม่ได้ห้ามวิ่ง
ข.ผิด เพราะวิ่งหรือเดินก็เหมือนกัน
ค.ไม่ผิด เพราะการวิ่งไม่ใช่การเดิน
ง.ผิด เพราะเป็นการขัดต่อเจตนารมณ์*

49.พระราชบัญญัติจะมีผลบังคับเป็นกฎหมายได้เมื่อ
ก. พระมหากษัตริย์ทรงลงพระปรมาภิไธยแล้ว
ข.ได้ประกาศโดยเปิดเผยทางสื่อมวลชนแล้ว
ค.รัฐสภาได้ให้ความเห็นชอบแล้ว
ง.ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว*

50.”ผู้ใดบัญญัติกฎหมายไว้ ผู้นั้นต้องอยู่ภายใต้กฎหมายนั้นด้วย” ตรงกับคำว่า
ก. Moral Consiousness ข. The Rule of Law*
ค. The Rule of Man ง. The Rule of Reason

51. Put the right man in the right Job คือหลัก
ก.การบรรจุบุคคลให้ดำรงตำแหน่งต่างๆ* ข.การมอบอำนาจหน้าที่
ค.การพัฒนาตัวบุคคล ง.การบริหารงานบุคคลตามระบบอุปถัมภ์

52.การงบประมาณของประเทศไทย ในปัจจุบันเป็นแบบใด
ก.Line – item Budgeting ข.Performance Budgeting
ค.Function Classification Budgeting ง.Programme Budgeting*
53.การฝึกฝนความรู้สึกไว (Sensitivity Training) มีประโยชน์อย่างไรต่อผู้เข้าฝึกอบรม
ก.ช่วยสร้างภาวะผู้นำ ข.ช่วยให้สมองไว
ค.ช่วยให้รู้จักตนเองดีขึ้น* ง.เพิ่มความสามารถในการตัดสินใจ

54.ในเรื่องการฝึกอบรมแล้ว ถ้าสมมติให้ X เป็นเป้าหมายในการปฏิบัติงาน Y เป็นผลในการปฏิบัติงาน Z เป็นความต้องการในการฝึกอบรม (Training – needs) ข้อใดแสดงความหมายที่ถูกต้อง
ก.X = Y-Z ข.Y = Z-X
ค.Z = X-Y* ง.Z = Y-X

55.ข้อใดเป็นเครื่องมือที่ใช้ละลายพฤติกรรมของบุคคลในกลุ่มได้ดีที่สุด
ก.การประชุมปรึกษาหารือ ข.การเดินทางไกล พักค้างคืนและมีกิจกรรมร่วมกัน*
ค.การฟังบรรยายหลักวิชาพฤติกรรมศาสตร์ ง.การจัดงานเลี้ยงสังสรรค์ร่วม


57.เมื่อกำนันอยู่ในหมู่บ้านใด หมู่บ้านนั้น
ก.เลือกตั้งผู้ใหญ่บ้านประจำหมู่บ้านอีก 1 คน
ข.ไม่ต้องมีผู้ใหญ่บ้าน
ค.ให้ผู้ใหญ่บ้านที่อยู่ใกล้เคียงทำหน้าที่ผู้ใหญ่บ้านนั้นอีก
ง.ไม่ต้องเลือกตั้งผู้ใหญ่บ้านขึ้นอีก เพราะกำนันทำหน้าที่ผู้ใหญ่บ้านด้วย*

58.ผู้ที่จะเป็นสารวัตรกำนัน
ก.ได้รับการเลือกตั้งจากประชาชนในพื้นที่
ข.ได้รับการเลือกตั้งจากสภาตำบล
ค.ได้รับการแต่งตั้งจากนายอำเภอ
ง.ได้รับการแต่งตั้งจากผู้ว่าราชการจังหวัด*

59.องค์การบริหารส่วนจังหวัด มีองค์ประกอบที่สำคัญอยู่ 2 ประการคือ
ก.สภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดและผู้ว่าราชการจังหวัด
ข.สภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดและนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด*
ค.สภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด ผู้ว่าราชการจังหวัด และปลัดจังหวัด
ง.สภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด และหัวหน้าส่วนจังหวัด

60.สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดมาจากการเลือกตั้งโดยประชาชน มีวาระอยู่ในตำแหน่งคราวละ
ก. 5 ปี ข. 4 ปี*
ค. 6 ปี ง. 3 ปี

61.สภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด ทำหน้าที่
ก.ฝ่ายนิติบัญญัติ* ข.ฝ่ายบริหาร
ค.ฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายบริหาร ง.ที่ปรึกษาผู้ว่าราชการจังหวัด

62.ตามกฎหมาย เทศบาลไทยแบ่งออกเป็น
ก.เทศบาลนคร เทศบาลเมือง เทศบาลตำบล*
ข.กรุงเทพมหานคร เทศบาลเมือง เทศบาลตำบล
ค.เทศบาลเมือง เทศบาลอำเภอ เทศบาลตำบล
ง.กรุงเทพมหานคร เทศบาลอำเภอ เทศบาลตำบล

63.เทศบาลตำบลมีสมาชิกสภา จำนวน
ก. 8 คน ข. 12 คน*
ค. 18 คน ง. 24 คน

64.เทศบาลนคร มีสมาชิกสภา จำนวน
ก. 18 คน ข. 20 คน
ค. 24 คน* ง. 30 คน

65.สมาชิกสภาเทศบาล อยู่ในตำแหน่งคราวละ
ก. 4 ปี* ข. 5 ปี
ค. 6 ปี ง. จนเกษียณ

66.ราชการบริหารส่วนท้องถิ่น รูปแบบแรกที่สุดของไทย คือ
ก.กรุงเทพมหานคร ข.องค์การบริหารส่วนจังหวัด
ค.เทศบาล ง.สุขาภิบาล*

67.ข้อใดมิใช่การปกครองท้องที่
ก.หมู่บ้าน ข.ตำบล
ค.กิ่งอำเภอ ง.อำเภอ*

68.ที่ปรึกษาสภาตำบล คือใคร
ก.ปลัดอำเภอ* ข.ครูประชาบาล
ค.นายอำเภอ ง.พัฒนากร

69.หมู่บ้าน อพป. มีวัตถุประสงค์ในการจัดตั้งเพื่อ
ก.การพัฒนาเศรษฐกิจ ข.การพัฒนาชนบท
ค.ความมั่นคง* ง.การพัฒนาการท่องเที่ยว

70.ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฉบับปัจจุบัน มาตรา 1 ระบุว่า
ก.ประเทศไทยเป็นราชอาณาจักรที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข
ข.ประเทศไทยเป็นราชอาณาจักที่มีการปกครองระบอบประชาธิปไตย
ค.ประเทศไทยเป็นราชอาณาจักรอันหนึ่งอันเดียวจะแบ่งแยกมิได้*
ง.ประเทศไทยเป็นราชอาณาจักรอันหนึ่งอันเดียว จะแบ่งแยกมิได้ อำนาจอธิปไตยมาจากปวงชนชาวไทย

71.สมาชิกสภาตำบลโดยตำแหน่งคือ
ก.กำนัน ผู้ใหญ่บ้านทุกหมู่บ้าน
ข.กำนัน ผู้ใหญ่บ้านและแพทย์ประจำตำบล*
ค.กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน และผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านฝ่ายปกครอง
ง.กำนัน สารวัตรกำนัน และผู้ใหญ่บ้าน

72.ข้อใดเป็นลักษณะต้องห้ามของผู้มีสิทธิเลือกตั้งสมาชิกสภาตำบล
ก.เป็นภิกษุ สามเณร นักพรต หรือนักบวช
ข.เป็นคนวิกลจริต
ค.เป็นคนจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ
ง.ถูกทุกข้อ*

73.ข้อใดไม่ใช่คุณสมบัติของผู้มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาตำบล ซึ่งได้รับเลือกตั้ง
ก.มีสัญชาติไทย
ข.อายุไม่ต่ำกว่ายี่สิบปีบริบูรณ์ในวันเลือกตั้ง
ค.มีภูมิลำเนาหรือถิ่นที่อยู่เป็นประจำและมีชื่อในทะเบียนบ้านในตำบลนั้นเป็น
เวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่าหกเดือน จนถึงวันสมัครรับเลือกตั้ง
ง.ไม่มีข้อใดถูก*

74.องค์การบริหารส่วนตำบลมีฐานะเป็น
ก.นิติบุคคล ข.นิติบุคคล และราชการบริหารส่วนภูมิภาค
ค.นิติบุคคล และราชการบริหารส่วนท้องถิ่น*
ง.นิติบุคคล และราชการบริหารส่วนท้องที่

75.การจัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบล ทำได้โดย
ก.ตราเป็นพระราชกำหนด ข.ตราเป็นพระราชกฤษฎีกา
ค.ตราเป็นประกาศกระทรวงมหาดไทย* ง.ตราเป็นคำสั่งกระทรวงมหาดไทย

76.องค์การบริหารส่วนตำบล อาจจัดตั้งเป็นราชการส่วนท้องถิ่นในรูปใด
ก.สุขาภิบาล ข.เทศบาล*
ค.องค์การบริหารส่วนจังหวัด ง.รูปแบบอื่นๆ เช่น เมืองพัทยา

77.ประธานและรองประธานสภาองค์การบริหารส่วนตำบลมีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละกี่ปี
ก. 2 ปี ข. 3 ปี
ค. 5 ปี ง. ดำรงตำแหน่งจนครบอายุของสภา*

78.ประธานสภาและรองประธานสภาองค์การบริหารส่วนตำบลพ้นจากตำแหน่งเมื่อ
ก.ลาออกโดยยื่นหนังสือต่อผู้ว่าราชการจังหวัด
ข.ลาออกโดยแถลงต่อที่ประชุมสภาองค์การบริหารส่วนตำบล
ค.ลาออกโดยแจ้งทางวาจาต่อนายอำเภอ
ง.ยื่นหนังสือลาออกต่อนายอำเภอ*

79.เมื่อตำแหน่งประธานหรือรองประธานสภาองค์การบริหารส่วนตำบลว่างลงเพราะเหตุอื่นใดนอกจากครบวาระให้มีการเลือกแทนตำแหน่งที่ว่างภายในกี่วัน
ก. 15 วัน* ข. 30 วัน
ค. 45 วัน ง. 60 วัน

80.การประชุมสภาองค์การบริหารส่วนตำบล กำหนดให้มีประชุมสามัญได้กี่สมัย
ก. 2 สมัย แต่ไม่เกิน 3 สมัย ข. ไม่เกิน 3 สมัย
ค. 2 สมัย แต่ไม่เกิน 4 สมัย* ง. ไม่เกิน 4 สมัย

81.การประชุมสามัญสภาองค์การบริหารส่วนตำบล สมัยแรก จะต้องประชุมภายในกี่วัน นับแต่วันเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล
ก. 30 วัน ข. 15 วัน*
ค. 60 วัน ง. 90 วัน

82.การขอขยายเวลา การประชุมสภาองค์การบริหารส่วนตำบลจะต้องดำเนินการตามข้อใด
ก.ขอมติจากสภาองค์การบริหารส่วนตำบล
ข.ขออนุญาตจากประธานสภาองค์การบริหารส่วนตำบล
ค.ขออนุญาตจากนายอำเภอ*
ง.ขออนุญาตจากผู้ว่าราชการจังหวัด

83.การประชุมขององค์การบริหารส่วนตำบล มีสมาชิกจำนวนเท่าใดจึงจะครบองค์ประชุม
ก. ไม่น้อยกว่า 1 ใน 2* ข. ไม่น้อยกว่า 1 ใน 3
ค. ไม่น้อยกว่า 2 ใน 3 ง. ไม่น้อยกว่า 3 ใน 4

84.ผู้ใดสามารถทำคำร้องขอให้เปิดประชุมวิสามัญ
ก.ประธานสภาองค์การบริหารส่วนตำบล
ข.นายกองค์การบริหารส่วนตำบล
ค.สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลไม่ต่ำกว่ากี่งหนึ่งของสมาชิกทั้งหมด
ง.ถูกทุกข้อ*

85.คณะผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตำบลมีจำนวนกี่คน
ก.ไม่เกิน 3 คน* ข. ไม่เกิน 7 คน
ค.ไม่เกิน 9 คน ง.ไม่เกิน 11 คน

86.ผู้ใดเป็นคนแต่งตั้งคณะผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตำบล
ก.ผู้ว่าราชการจังหวัด ข.ปลัดจังหวัด
ค.นายอำเภอ* ง.สภาองค์การบริหารส่วนตำบล

87.นายกองค์การบริหารส่วนตำบลพ้นจากตำแหน่งเมื่อใด
ก. ครบตามวาระ ข.ลาออกโดยยื่นหนังสือต่อนายอำเภอ
ค. ง.ถูกทุกข้อ*

88.กิจการใดที่องค์การบริหารส่วนตำบลอาจทำหรือไม่ทำก็ได้
ก.ให้มีน้ำเพื่อการอุปโภค บริโภคและการเกษตร*
ข.ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
ค.ส่งเสริมการศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม
ง.ส่งเสริมการพัฒนาสตรี เด็ก เยาวชน ผู้สูงอายุและผู้พิการ

89.ถ้ากระทรวง ทบวงกรมหรือองค์การหรือหน่วยงานของรัฐจะดำเนินการใดๆ เพื่อประโยชน์ของประชาชนในตำบล จะต้องดำเนินการอย่างใด
ก.แจ้งให้องค์การบริหารส่วนตำบลทราบ*
ข.ต้องได้รับการอนุมัติจากองค์การบริหารส่วนตำบลก่อนเข้าดำเนินการ
ค.สามารถดำเนินการได้เลยถ้าไม่ตรงกับกิจการขององค์การบริหารส่วนตำบล
ง.ไม่สามารถดำเนินการได้เลย

90.องค์การบริหารส่วนตำบลออกข้อบัญญัติตำบล โดยสามารถกำหนดโทษปรับผู้ฝ่าฝืนได้เป็นจำนวนเงินเท่าใด
ก.ไม่เกิน 100 บาท ข.ไม่เกิน 500 บาท
ค.ไม่เกิน 1000 บาท* ง.ไม่เกิน 2000 บาท

91.ใครเป็นผู้ลงชื่อในข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบล เพื่อประกาศใช้
ก.นายอำเภอ ข.ประธานสภาองค์การบริหารส่วนตำบล
ค.นายกองค์การบริหารส่วนตำบล* ง.เฉพาะข้อ ก และข้อ ข. ถูก

92.องค์การบริหารส่วนตำบลแบ่งการบริหารออกเป็นกี่ส่วน
ก.2 ส่วน คือ สำนักงานปลัดองค์การบริหารส่วนตำบล และส่วนต่างๆ*
ข.2 ส่วน คือ สำนักงานคณะผู้บริหาร และส่วนต่างๆ
ค.2 ส่วน คือ สำนักงานปลัดองค์การบริหารส่วนตำบล และสำนักงานคณะผู้บริหาร
ง.2 ส่วน คือ คณะผู้บริหาร และสภาองค์การบริหารส่วนตำบล

93.รายได้จากการจัดเก็บภาษีหรืออากร ประเภทใดที่จัดเก็บในตำบลให้ส่งมอบเป็นรายได้ขององค์การบริหารส่วนตำบล
ก.ภาษีบำรุงท้องที่ ข.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน
ค.ภาษีป้าย อากรการฆ่าสัตว์และประโยชน์อื่น อันเกิดจากการฆ่าสัตว์
ง.ถูกทุกข้อ*

94.รายได้ขององค์การบริหารส่วนตำบลประเภทใดได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียภาษี
ก.ค่าธรรมเนียม ค่าใบอนุญาตและค่าปรับ
ข.เงินและทรัพย์สินอื่นที่มีผู้อุทิศให้
ค.เงินอุดหนุนจากรัฐบาล
ง.รายได้ทุกประเภทได้รับการยกเว้นทั้งหมด*

95.ใครเป็นผู้เสนองบประมาณรายจ่ายประจำปีขององค์การบริหารส่วนตำบล
ก.สภาองค์การบริหารส่วนตำบล
ข.นายกองค์การบริหารส่วนตำบล*
ค.สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลหนึ่งในสาม
ง.เลขานุการสภาองค์การบริหารส่วนตำบล

96.สภาองค์การบริหารส่วนตำบล พิจารณาร่างข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีให้แล้วเสร็จภายในกี่วัน
ก. 15 วัน ข. 30 วัน
ค. 45 วัน ง. 60 วัน*

97.ถ้าข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีออกไม่ทันปีใหม่จะดำเนินการอย่างไร
ก.ใช้ข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีก่อนนั้นไปพลางก่อน*
ข.ให้นายอำเภอออกข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีใช้ไปพลางก่อน
ค.ให้สภาองค์การบริหารส่วนตำบลขยายเวลาการใช้งบประมาณปีก่อนหน้านั้นไปก่อน
ง.ให้คณะผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตำบลขออนุมัติสภาองค์การบริหารส่วนตำบลใช้งบประมาณปีก่อนหน้านั้นไปพลางก่อน

98.ใครเป็นผู้มีอำนาจหน้าที่กำกับดูแลการปฏิบัติหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนตำบล
ก.ผู้ว่าราชการจังหวัด ข.นายอำเภอ*
ค.ประธานสภาองค์การบริหารส่วนตำบล ง.นายกองค์การบริหารส่วนตำบล

99.ใครเป็นผู้สั่งยุบสภาองค์การบริหารส่วนตำบล
ก.ผู้ว่าราชการจังหวัด* ข.ปลัดจังหวัด
ค.นายอำเภอ ง.หัวหน้ากลุ่มส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นอำเภอ




 

Create Date : 10 สิงหาคม 2554    
Last Update : 10 สิงหาคม 2554 15:47:47 น.
Counter : 2818 Pageviews.  

ข้อสอบแข่งขันเพื่อบรรจุบุคคลเข้ารับราชการในสังกัดกรมการปกครอง



ข้อสอบแข่งขันเพื่อบรรจุบุคคลเข้ารับราชการในสังกัดกรมการปกครอง
ตำแหน่งเจ้าพนักงานปกครอง 3 และเจ้าพนักงานปกครอง 4
(ภาคความรู้ความสามารถที่ใช้เฉพาะตำแหน่ง)
วันอาทิตย์ที่ 19 พฤษภาคม 2539 ณ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
1. นโยบายรัฐบาลระบุว่าจะแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 211 ท่านเข้าใจว่ามาตรา 211 คืออะไร
1. บทบัญญัติว่าด้วยการจัดให้มีคณะกรรมการกำกับดูแลการเลือกตั้ง (กลต.)
2. บทบัญญัติว่าด้วยวิธีการแก้ไขกฎหมายรัฐธรรมนูญ
3. บทบัญญัติว่าด้วยการจัดให้มีคณะกรรมการการปฏิรูปทางการเมือง เพื่อเสนอแนะการยกร่างกฎหมาย
4. บทบัญญัติว่าด้วยการจัดให้มีศาลปกครอง
5. บทบัญญัติว่าด้วยการจัดตั้งคณะกรรมการยกร่างกฎหมายรัฐธรรมนูญขึ้นเพื่อประกาศใช้ใหม่

2. ผลการเลือกตั้งซ่อมที่จังหวัดสุรินทร์และเชียงราย เมื่อวันที่ 3 พฤษภาคมที่ผ่านมา มีผู้สมัครของพรรคการเมือง ใดบ้างที่ได้รับการเลือกตั้ง
1. เชียงราย - ชาติพัฒนา สุรินทร์ - ความหวังใหม่
2. เชียงราย - ความหวังใหม่ สุรินทร์ - ชาติไทย
3. เชียงราย - ความหวังใหม่ สุรินทร์ - ชาติพัฒนา
4. เชียงราย - ชาติไทย สุรินทร์ - ความหวังใหม่
5. เชียงราย - ประชาธิปัตย์ สุรินทร์ - ความหวังใหม่

3. กลุ่มประเทศอาเซียนมีสมาชิกกี่ประเทศ
1. 6 ประเทศ 2. 7 ประเทศ
3. 8 ประเทศ 4. 9 ประเทศ
5. 10 ประเทศ

4. โครงการสามเหลี่ยมเศรษฐกิจ (IMT-GT) เป็นความร่วมมือระหว่างประเทศอะไรบ้าง
1. อินโดจีน เมียนมาร์ ไทย 2. อินโดนีเซีย เมียนมาร์ ไทย
3. มาเลเซีย สิงคโปร์ ไทย 4. อินโดนีเซีย มาเลเซีย ไทย
5. มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ ไทย

5. หน่วยการปกครองครองท้องถิ่นไทยมีกี่รูป
1. 7 รูป 2. 6 รูป
3. 5 รูป 4. 4 รูป
5. 3 รูป

6. กระแสโลกาภิวัฒน์คืออะไร
1. กระแสของการที่ประเทศต่างๆ ในโลกไม่มีพรมแดน
2. กระแสของการที่โลกมีสภาพไร้พรมแดน โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านเศรษฐกิจ วัฒนธรรม ความเชื่อ
3. กระแสการเปลี่ยนแปลงของโลกที่เทคโนโลยีสารสนเทศเจริญ ทำให้ติดต่อกันได้อย่างรวดเร็ว
4. กระแสให้ความสำคัญภาคเอกชน ลดบทบาทของรัฐลง
5. ไม่มีข้อใดถูก

7. ข้อใดไม่ใช่รูปแบบใหม่ในการบริหารงานภาครัฐ
1. ผู้รับบริการมีความสำคัญสูงสุด
2. ลดขั้นตอนและความล่าช้า เพื่อเพิ่มความรวดเร็ว
3. ส่งเสริมให้ผู้ปฏิบัติงานมีอำนาจในการทำงานมากขึ้น
4. ตัดขั้นตอนการทำงานให้เรียบง่าย
5. เจ้าหน้าที่ของรัฐควรเข้ารับผิดชอบดำเนินงานที่เป็นการบริการประชาชนทุกเรื่องให้ได้

8. หน่วยการปกครองท้องถิ่นระดับรากหญ้าหรือหน่วยพื้นฐานที่สุดของไทย คือ
1. คณะกรรมการคุ้มหรือแขวง 2. คณะกรรมการหมู่บ้าน
3. คณะกรรมการสภาตำบล 4. องค์การบริหารส่วนตำบล
5. สุขาภิบาล

9. ข้อใดเป็นเทคนิคการบริหารที่ใช้ในการวิเคราะห์จัดทำโครงการ
1. Logical Framework หรือ Log-Frame
2. ffice:smarttags" />Zeil Orientiete Project Planung หรือ Zopp
3. Conventional
4. ถูกเฉพาะข้อ 1. และข้อ 2.
5. ถูกทั้งข้อ 1. , 2. และข้อ 3.

10. ประธานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน ได้แก่
1. นายกรัฐมนตรี 2. รองนายกรัฐมนตรี
3. เลขาธิการ ก.พ. 4. นายกรัฐมนตรีหรือรองนายกรัฐมนตรีที่ นายกรัฐมนตรีมอบหมาย
5. ไม่มีข้อใดถูก

11. ข้าราชการพลเรือนสามัญมีกี่ประเภท
1. 2 ประเภท 2. 3 ประเภท
3. 4 ประเภท 4. 5 ประเภท
5. 6 ประเภท

12. โทษทางวินัยตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน ได้แก่
1. ตัดเงินเดือน ลดขั้นเงินเดือน ปลดออก ไล่ออก
2. ภาคทัณฑ์ ตัดเงินเดือน ลดขั้นเงินเดือน ให้ออก ปลดออก ไล่ออก
3. ตัดเงินเดือน ลดขั้นเงินเดือน ให้ออก ปลดออก ไล่ออก
4. ภาคทัณฑ์ ตัดเงินเดือน ลดขั้นเงินเดือน ปลดออก ไล่ออก
5. ทัณฑ์บน ภาคทัณฑ์ ตัดเงินเดือน ลดขั้นเงินเดือน ปลดออก ไล่ออก

13. พระราชบัญญัติระเบียบราชการพลเรือนที่บังคับใช้อยู่ในปัจจุบัน ได้แก่
1. พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2518
2. พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2522
3. พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2531
4. พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2535
5. พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2537

14. ข้อใดมิใช่คุณสมบัติของผู้ที่จะเข้ารับราชการเป็นข้าราชการพลเรือน
1. มีสัญชาติไทย 2. ไม่เป็นบุคคลล้มละลาย
3. มีอายุไม่ต่ำกว่า 18 ปี 4. ไม่เป็นผู้ดำรงตำแหน่งข้าราชการทางการเมือง
5. ไม่เป็นกรรมการพรรคการเมือง

15. ผู้มีอำนาจตีความและวินิจฉัยปัญหาเกี่ยวกับการปฏิบัติตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วย งานสารบรรณ พ.ศ.2526 คือ
1. ปลัดกระทรวง 2. เลขาธิการ ก.พ.
3. ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี 4. เลขาธิการนายกรัฐมนตรี
5. ผู้อำนวยการกองกฎหมายและระเบียบ

16. หนังสือราชการที่ใช้ติดต่อระหว่างส่วนราชการกับส่วนราชการกับบุคคลภายนอกเฉพาะกรณีที่ไม่ใช่เรื่องสำคัญ
1. หนังสือภายนอก 2. หนังสือประทับตรา
3. หนังสือภายใน 4. บันทึกข้อความ
5. ถูกทุกข้อ

17. หนังสือที่ต้องใช้เจ้าหน้าที่ปฏิบัติเร็วกว่าปกติเท่าที่จะทำได้ คือหนังสือที่ระบุชั้นความเร็วกว่า
1. ด่วน 2. ด่วนมาก
3. ด่วนที่สุด 4. ด่วนภายใน
5. ดำเนินการด่วน

18. การเก็บหนังสือแบ่งออกเป็น
1. การเก็บระหว่างปฏิบัติ การเก็บเมื่อปฏิบัติเสร็จแล้ว การเก็บไว้เพื่อใช้ในการตรวจสอบ
2. การเก็บก่อนปฏิบัติ การเก็บระหว่างปฏิบัติ และการเก็บเมื่อปฏิบัติเสร็จแล้ว
3. การเก็บรักษา การยืม และการทำลายหนังสือ
4. การจัดทำบัญชีหนังสือ การลงทะเบียน และการทำลาย
5. ไม่มีข้อใดถูก

19. หนังสือที่เจ้าหน้าที่ทำไว้เป็นหลักฐานในราชการชนิดใด ที่ให้ติดรูปถ่ายบุคคลถ้าเป็นเรื่องสำคัญ
1. รายงานการประชุม 2. ข่าว
3. แถลงการณ์ 4. หนังสือรับรอง
5. ระเบียบ

20. หนังสือประชาสัมพันธ์ ได้แก่
1. ประกาศ 2. คำสั่ง
3. แถลงการณ์ 4. ข่าว
5. ถูกเฉพาะข้อ 1. ข้อ 3. และข้อ 4.

21. บรรดาข้อความที่ผู้มีอำนาจหน้าที่ได้วางไว้ โดยจะอาศัยอำนาจของกฎหมายหรือไม่ก็ได้ เพื่อถือเป็นหลัก ปฏิบัติงานเป็นการประจำเรียกว่า
1. คำสั่ง 2. ระเบียบ
3. แนวปฏิบัติ 4. ข้อบังคับ
5. หนังสือเวียน

22. ผู้มีสิทธิเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรต้องมีคุณสมบัติ ดังนี้
1. อายุไม่ต่ำกว่า 18 ปีบริบูรณ์ในวันเลือกตั้ง
2. อายุไม่ต่ำกว่า 18 ปีบริบูรณ์ในวันที่ 1 มกราคม ของปีที่มีการเลือกตั้ง
3. อายุไม่ต่ำกว่า 18 ปีบริบูรณ์ในวันสุดท้ายของวันสมัครรับเลือกตั้ง
4. อายุไม่ต่ำกว่า 18 ปีบริบูรณ์ในวันครบรอบอายุของสภาผู้แทนราษฎร
5. อายุไม่ต่ำกว่า 18 ปีบริบูรณ์ในปีที่มีการเลือกตั้ง

23. สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจำนวนเท่าใดมีสิทธิเข้าชื่อเสนอญัตติขอเปิดอภิปรายทั่วไป เพื่อลงมติไม่ไว้วางใจ รัฐมนตรี เป็นรายบุคคลหรือทั้งคณะ
1. ไม่น้อยกว่าครึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของสภาผู้แทนราษฎร
2. ไม่น้อยกว่าหนึ่งในสามของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของสภาผู้แทนราษฎร
3. ไม่น้อยกว่าหนึ่งในสี่ของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของสภาผู้แทนราษฎร
4. ไม่น้อยกว่าหนึ่งในห้าของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของสภาผู้แทนราษฎร
5. ไม่น้อยกว่าหนึ่งในห้าของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของรัฐสภา

24. ข้อใดไม่ใช่หน้าที่ของปวงชนชาวไทยตามรัฐธรรมนูญ
1. รักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมตามที่กฎหมายบัญญัติ
2. ใช้สิทธิในการเลือกตั้งโดยสุจริต
3. รักษาความสงบเรียบร้อยตามที่กฎหมายบัญญัติ
4. รับการศึกษาอบรมตามที่กฎหมายบัญญัติ
5. เสียภาษีอากรตามที่กฎหมายบัญญัติ

25. บุคคลต่อใดไปนี้ไม่ใช่ตุลาการรัฐธรรมนูญ
1. ประธานรัฐสภา 2. ประธานวุฒิสภา
3. ประธานศาลฎีกา 4. ประธานองคมนตรี
5. อัยการสูงสุด

26. หลักการทั่วไปในการจัดระเบียบการปกครองประเทศที่นิยมใช้ โดยเฉพาะประเทศที่มีรูปแห่งรัฐเป็นแบบรัฐรวม ได้แก่
1. หลักการรวมอำนาจการปกครอง 2. หลักการกระจายอำนาจการปกครอง
3. หลักการแบ่งอำนาจการปกครอง 4. หลักการรวมอำนาจและการกระจายอำนาจการ ปกครอง
5. ถูกทั้งข้อ 1. ข้อ 2. และข้อ 3.

27. ข้อใดม่ถือเป็นความสำคัญของการปกครองท้องถิ่น
1. เป็นรากฐานการปกครองระบอบประชาธิปไตย
2. ประชาชนในท้องถิ่นรู้จักปกครองตนเอง
3. รัฐบาลแบ่งอำนาจและมอบอำนาจให้ประชาชนในท้องถิ่น
4. สามารถสนองความต้องการของท้องถิ่นได้ตรงเป้าหมาย
5. ไม่มีข้อใดถูก

28. ข้อใดไม่ใช่ลักษณะของการมีส่วนร่วมทางการเมือง
1. การไปใช้สิทธิเลือกตั้ง กทม. 2. การเป็นสมาชิกกลุ่มผลประโยชน์
3. การเป็นสมาชิกพรรคการเมือง 4. การรวมพลัง เดินขบวน ประท้วงรัฐบาล
5. ไม่มีข้อใดถูก

29. การจัดระเบียบการปกครองประเทศไทยในสมัยสุโขทัย แบ่งเขตการปกครอง ดังนี้
1. ราชธานี เมืองลูกหลวง 2. เมือง อำเภอ ตำบล
3. ราชธานี เมืองชั้นใน ประเทศราช 4. ราชธานี เมืองพระยามหานคร หัวเมืองประเทศราช
5. ราชธานี เมืองลูกหลวง มณฑล ประเทศราช

30. เมืองพัทยาจัดตั้งโดย
1. พระบรมราชโองการ 2. พระราชกฤษฎีกา
3. พระราชกำหนด 4. พระราชบัญญัติ
5. ประกาศกระทรวงมหาดไทย

31. สมาชิกสภาตำบลประกอบด้วย
1. กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน 2. สมาชิกซึ่งได้รับการเลือกตั้ง
3. สมาชิกโดยตำแหน่ง และที่มาจากการเลือกตั้งหมู่บ้านละ 1 คน
4. กำนัน แพทย์ประจำตำบล ผู้ใหญ่บ้าน 5. ไม่มีข้อใดถูก

32. การกำหนดเป้าหมายที่ดีจะช่วยนำทางให้แก่ผู้บริหาร ลักษณะของเป้าหมายที่ดีเป็นอย่างไร
1. เหมาะสม มีคุณค่า และเป็นไปได้ 2. มีความเป็นอันหนึ่งอันเดียว
3. มีความยืดหยุ่นและปรับได้ตามสถานการณ์ 4. สามารถตรวจสอบ ประเมิน และวัดผลได้
5. ถูกทุกข้อ

33. ข้อใดไม่ใช่ขั้นตอนการกำหนดแผน
1. การศึกษาและวิเคราะห์สถานการณ์ที่เกี่ยวข้อง
2. การจัดทำแผนปฏิบัติการประจำปี
3. การกำหนดแนวทางปฏิบัติ และการตัดสินใจเลือกแนวทางการปฏิบัติที่เหมาะสม
4. การกำหนดกิจกรรมและลำดับการปฏิบัติโดยละเอียด
5. การกำหนดวิธีการติดตาม ตรวจสอบ ควบคุม และประเมินผล

34. "อริยสัจสี่" ประกอบด้วย ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค นำมาประยุกต์กับการวางแผนได้อย่างไร
1. ปัญหา วิเคราะห์ปัญหา แนวทางแก้ปัญหา เลือกแนวทางแก้ปัญหาที่ดีที่สุด
2. วิเคราะห์ปัญหา เลือกปัญหา หาสาเหตุ แก้ปัญหา
3. กำหนดปัญหา วิเคราะห์ปัญหา กำหนดทางแก้ไข ปฏิบัติจริง
4. เลือกปัญหา หาสาเหตุ กำหนดทางแก้ไข ลงมือปฏิบัติ
5. ปัญหา สาเหตุของปัญหา วัตถุประสงค์ แนวทางในการปฏิบัติ

35. ข้อใดมิใช่ขั้นตอนของการบริหารงานโดยวัตถุประสงค์ (MBO)
1. ผู้ใต้บังคับบัญชามีส่วนร่วมในการกำหนดวัตถุประสงค์และเป้าหมายของงาน
2. ร่วมกันกำหนดมาตรฐานในการปฏิบัติงานให้ชัดเจน
3. ร่วมกันกำหนดแผนปฏิบัติการ
4. ลงมือปฏิบัติอย่างอิสระ ผู้บังคับบัญชาให้คำแนะนำเป็นครั้งคราว และประเมินผลร่วมกัน
5. ไม่มีข้อใดถูก

36. ข้อใดคือ "อกุศลมูล"
1. กามวิตก พยาบาทวิตก วิหังสาวิตก 2. กายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต
3. โลภะ โทสะ โมหะ 4. ภยาคติ ฉันทาคติ โทสาคติ
5. ไม่มีข้อใดถูก

37. การประชุม ASEM ครั้งต่อไปในปี 2541 และ 2543 จะมีขึ้นที่ประเทศใด (การประชุมผู้นำเอเชีย-ยุโรป)
1. สิงคโปร์ มาเลเซีย 2. ฝรั่งเศส อิตาลี
3. ฝรั่งเศส ญี่ปุ่น 4. เกาหลีใต้ สหรัฐอเมริกา
5. อังกฤษ เกาหลีใต้

38. ตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน ผู้ว่าราชการจังหวัดอาจมอบอำนาจให้
1. นายอำเภอ 2. หัวหน้าส่วนราชการประจำจังหวัด
3. หัวหน้าส่วนราชการประจำอำเภอ 4. ถูกเฉพาะข้อ 1 และข้อ 2
5. ถูกทั้งข้อ 1. ข้อ 2. และข้อ 3.

39. การบริหารส่วนภูมิภาคตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดินแบ่งออกเป็น
1. จังหวัด อำเภอ กิ่งอำเภอ 2. จังหวัด อำเภอ
3. จังหวัด อำเภอ กิ่งอำเภอ ตำบล หมู่บ้าน 4. จังหวัด อำเภอ ส่วนราชการประจำจังหวัด กิ่งอำเภอ

40. การเปลี่ยนแปลงเขตอำเภอกระทำโดย
1. ตราเป็นพระราชบัญญัติ 2. ประกาศกระทรวงมหาดไทยลงในราชกิจจานุเบกษา
3. ตราเป็นพระราชกฤษฎีกา 4. ประกาศจังหวัด
5. ไม่มีข้อใดถูก

41. ตัวการ หมายถึง
1. บุคคลที่ลงมือกระทำความผิด 2. บุคคลซึ่งใช้ผู้อื่นกระทำความผิด
3. บุคคลที่ช่วยเหลือผู้อื่นในการกระทำความผิด 4. บุคคลตั้งแต่สองคนขึ้นไปร่วมกันกระทำผิด
5. บุคคลซึ่งเป็นผู้วางแผนในการกระทำความผิด

42. การพิจารณาว่าความผิดใดเป็นความผิดลหุโทษนั้น พิจารณาจาก
1. ความร้ายแรงของการกระทำ 2. เจตนากระทำผิดหรือไม่
3. การกระทำความผิดนั้นบรรลุผลหรือไม่ 4. โทษตามที่กฎหมายบัญญัติสำหรับการกระทำนั้น
5. ไม่มีข้อใดถูก

43. การพยายามกระทำความผิดที่ได้กระทำไปโดยตลอดแล้ว แต่การกระทำนั้นไม่บรรลุผล ผู้กระทำจะได้รับโทษ เพียงใด
1. ไม่ต้องรับโทษ 2. กึ่งหนึ่ง
3. สองในสาม 4. หนี่งในสี่
5. แล้วแต่ศาลพิพากษา

44. ดำเป็นตำรวจ ได้รับคำสั่งจาก ร.ต.ต. ขาว ซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชาให้ยิงนายเขียว เพราะนายเขียวเป็นผู้ร้าย ถ้าดำยิง นายเขียวตายจะมีความผิดหรือไม่
1. มีความผิดฐานฆ่าคนตาย
2. ไม่มีความผิดเนื่องจากทำตามคำสั่งผู้บังคับบัญชา
3. ไม่มีความผิดเพราะเป็นการปฏิบัติตามหน้าที่
4. มีความผิดแต่อาจได้รับการยกเว้นโทษ ถ้าดำไม่รู้ว่าคำสั่งนั้นไม่ชอบด้วยกฎหมาย และเชื่อโดยสุจริตว่าตนมี หน้าที่ต้องปฏิบัติตาคำสั่ง
5. ไม่มีข้อใดถูก

45. ส่วนราชการใดไม่เป็นนิติบุคคล
1. จังหวัด 2. กระทรวง
3. สุขาภิบาล 4. องค์การบริหารส่วนตำบล
5. อำเภอ

46. ผู้ใดเป็นผู้ที่สามารถร้องขอต่อศาลให้สั่งผู้วิกลจริตเป็นบุคคลไร้ความสามารถ
1. สามี ภรรยา พี่น้อง 2. สามี ภรรยา บุพการี ผู้สืบสันดาน
3. ผู้มีส่วนได้เสีย 4. บิดา มารดา
5. ไม่มีข้อใดถูก

47. การกระทำของผู้เยาว์ข้อใดต้องขอความยินยอมจากผู้แทนโดยชอบธรรมก่อน
1. การเล่นกับเพื่อน 2. การรับเงินที่มีผู้ให้
3. การรับสภาพหนี้ 4. ถูกทั้งข้อ 2. และ 3.
5. ไม่มีข้อใดถูก

48. ข้อใดไม่ใช่สินสมรส
1. ค่าเช่าที่ดินซึ่งเป็นของหมั้น 2. ทรัพย์สินซึ่งภรรยาซื้อโดยใช่เงินส่วนตัว
3. รถยนต์ซึ่งซื้อภายหลังการสมรส แต่จดทะเบียนเป็นชื่อของสามี
4. เงินที่ภรรยาได้มาจากการขายที่ดินมรดก
5. ไม่มีข้อใดถูก

49. บุตรที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายของบิดาจะเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายของบิดา เมื่อ
1. บิดาจดทะเบียนรับรองบุตร 2. บิดา มารดา ได้จดทะเบียนสมรสกัน
3. ศาลพิพากษาให้เป็นบุตรโดยชอบธรรมด้วยกฎหมายของบิดา
4. บิดายินยอมเลี้ยงดูบุตร 5. ถูกทั้งข้อ 1. ข้อ 2. และข้อ 3.

50. ข้อใดผิด
1. ปลัดอำเภอเป็นพนักงานสอบสวนความผิดอาญาที่เกิดภายในเขตอำนาจนอกเขต กทม.
2. พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจชั้นผู้ใหญ่เป็นพนักงานสอบสวนความผิดอาญาซึ่งเกิดขึ้นภายในเขตอำนาจ ในเขต กทม.
3. พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจชั้นผู้ใหญ่เป็นพนักงานสอบสวนความผิดอาญาที่เกิดขึ้นภายในเขตอำนาจนอกเขต กทม.
4. ข้าราชการตำรวจซึ่งมียศ ร.ต.ต. ขึ้นไป เป็นพนักงานสอบสวนความผิดอาญาซึ่งเกิดขึ้นภายในเขตอำนาจใน เขต กทม.
5. ข้าราชการตำรวจซึ่งมียศ ร.ต.ต. ขึ้นไป เป็นพนักงานสอบสวนความผิดอาญาที่เกิดขึ้นภายในเขตอำนาจนอกเขต กทม.

51. บุคคลไม่ใช่พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจ
1. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย 2. ปลัดกระทรวงมหาดไทย
3. ปลัดอำเภอ 4. อธิบดีกรมตำรวจ
5. ผู้ใหญ่บ้าน

52. ข้อใดผิด
1. คนไร้ความสามารถคือคนวิกลจริตที่ศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถ
2. คนไร้ความสามารถอยู่ในความดูแลของผู้อนุบาล
3. คนเสมือนไร้ความสามารถคือคนวิกลจริตที่มีกายพิการ หรือติดสุรา ไม่สามารถจัดทำการงานโดยตนเองได้
4. คนเสมือนไร้ความสามารถอยู่ในความดูแลของผู้พิทักษ์
5. ไม่มีข้อใดผิด

53. ข้อใดไม่ถือเป็นภูมิลำเนาที่ถูกต้อง
1. ข้าราชการมีภูมิลำเนาอยู่ที่ทำการตามตำแหน่งหน้าที่
2. นักโทษมีภูมิลำเนาตามที่อยู่ครั้งสุดทีท้ายก่อนถูกลงโทษ
3. ผู้เยาว์มีภูมิลำเนาตามภูมิลำเนาของผู้แทนโดยชอบธรรม
4. ผู้ครองชีพเดินทางไปมาไม่มีที่อยู่ พบที่ไหนให้ถือเป็นภูมิลำเนา
5. ไม่มีข้อใดถูก

54. บุคคลในข้อความใดไม่อาจทำพินัยกรรมได้โดยชอบด้วยกฎหมายได้เลย
1. ผู้เยาว์ 2. พระภิกษุ
3. ผู้ที่หูหนวกและเป็นใบ้ 3. หญิงสามีตายยังไม่พ้น 310 วัน
5. ไม่มีข้อใดถูก

55. ข้อใดไม่ใช่อสังหาริมทรัพย์
1. ที่ดินป่าสงวนแห่งชาติ 2. ต้นยางพาราที่ขึ้นเองตามธรรมชาติในวนอุทยาน แห่งชาติ
3. แพที่คนอยู่อาศัย 4. ต้นสักทองในสวนสักของเอกชน
5. ไม่มีข้อใดถูก

56. ผู้เยาว์ข้อใดไม่พ้นภาวะผู้เยาว์ตามกฎหมาย
1. อายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ 2. เมื่อผู้เยาว์มีสิทธิลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง ส.ส.
3. เมื่อผู้เยาว์อายุ 19 ปี และได้จดทะเบียนสมรสถูกต้อง
4. เมื่อผู้เยาว์อายุ 16 ปี และได้จดทะเบียนสมรสโดยคำพิพากษา
5. ไม่มีข้อใดถูก

57. การทำนิติกรรมข้อใดไม่ต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อเจ้าหน้าที่
1. ซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ 2. จะซื้อรถจักรยานยนต์ราคา 75,000 บาท
3. ฝากขายที่ดิน น.ส. 3 4. ปลดจำนองที่ดินมีโฉนด
5. ไม่มีข้อใดถูก

58. การแย่งกรรมสิทธิในทรัพย์สินของผู้อื่นเรียกว่าการครอบครองปรปักษ์ จะต้องครอบครองโดยสงบเปิดเผย เจตนาเป็นเจ้าของ จะต้องใช้เวลาอย่างน้อยกี่ปี
1. 15 ปี ถ้าเป็นที่ดินมีโฉนด 2. 20 ปี ถ้าเป็นที่ดิน น.ส. 3
3. 10 ปี ถ้าเป็นรถยนต์ 4. 5 ปี ถ้าเป็นรถยนต์
5. ไม่มีข้อใดถูก

59. บุคคลต่อไปนี้เป็นพยานนิติกรรมไม่ได้
1. อายุ 16 ปีและได้จดทะเบียนสมรสโยคำพิพากษาของศาล
2. อายุ 17 และได้จดทะเบียนสมรส 3. ตาข้างขวาบอดและแขนข้างขาวด้วน
4. เป็นคนไร้ความสามารถ 5. ถูกทุกข้อ

60. ข้อใดต่อไปนี้ถูกต้องที่สุด
1. สมาชิกวุฒิสภาและ ส.ส. ย่อมเป็นผู้แทนปวงชนชาวไทย
2. ส.ส. ย่อมเป็นผู้แทนปวงชนชาวไทย ส่วนสมาชิกวุฒิสภาเป็นผู้ทรงคุณวุฒิในวุฒิสภา
3. ส.ส. ย่อมเป็นผู้แทนประชาชนในจังหวัดที่ตนได้รับในการเลือกตั้ง ส่วนสมาชิกวุฒิสภาเป็นผู้แทนปวงชนชาว ไทย
4. ส.ส. ย่อมเป็นผู้แทนปวงชนชาวไทยทั้งประเทศ แต่สมาชิวุฒิสภาเป็นผู้ให้คำปรึกษาและตรวจตราการ บริหารงานของคณะรัฐมนตรี
5. ส.ส. ย่อมเป็นผู้แทนปวงชนชาวไทย ส่วนสมาชิกวุฒิสภาเป็นตัวแทนของรัฐบาล

61. โครงสร้างการแบ่งส่วนราชการกรมการปกครองด้านราชการบริหารส่วนภูมิภาค จัดอย่างไร
1. จัดเป็นที่ทำการปกครองสามระดับ คือ จังหวัด อำเภอ กิ่งอำเภอ
2. จัดเป็นที่ทำการปกครองสามระดับคือ จังหวัด อำเภอ ตำบล
3. จัดเป็นที่ทำการปกครองสี่ระดับคือ จังหวัด อำเภอ กิ่งอำเภอ ตำบล ..
4. จัดเป็นที่ทำการปกครองสี่ระดับคือ จังหวัด อำเภอ ตำบล หมู่บ้าน
5. จัดเป็น 1 วิทยาลัย 6 สำนัก 8 กองและสำนักเทียบเท่ากองที่จัดตั้งขึ้นเป็นการภายใน

62. ข้อใดไม่ใช่ หน้าที่ของสำนักบริหารราชการส่วนท้องถิ่น
1. ศึกษา วิเคราะห์วิจัยเพื่อพัฒนาแปรรูปแบบและโครงสร้างของหน่วยการปกครองท้องถิ่น
2. บริหารจัดการศึกษาของหน่วยงานการปกครองท้องถิ่นตามกฎหมายว่าด้วยการประถมศึกษา
3. ดำเนินการและประสานงานเกี่ยวกับการบริหารการคลังและงบประมาณ การจัดเก็บและพัฒนารายได้ของหน่วยการปกครองท้องถิ่น....
4. สนับสนุนการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่น ประสานการพัฒนาเมืองศูนย์กลางความเจริญในภูมิภาคและ ปริมณฑล
5. ไม่มีข้อใดถูก

63. ระเบียบกฎหมายหรือข้อบังคับที่ใช้กำหนดอำนาจหน้าที่ของกรมการปกครองเอาไว้
1. พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534
2. พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่ 8) พ.ศ. 2536
3. พระราชบัญญัติปกครองท้องที่ พระพุทธศักราช 2547
4. พระราชกำหนดแบ่งส่วนราชการกรมการปกครองฯ พ.ศ. 2536
5. พระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการกรมการปกครองฯ พ.ศ. 2536

64. ข้อใดไม่ใช่อำนาจหน้าที่ของกรมการปกครอง
1. อำนวยการและสนับสนุนการปฏิบัติงานตามอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบของนายอำเภอ //www.actcorner.com
2. ดำเนินการและประสานงานด้านการให้บริการประชาชนและงานอื่นที่ไม่อยู่ในความรับผิดชอบของ หน่วยงานใดในระดับอำเภอ กิ่งอำเภอ ตำบลและหมู่บ้าน
3. ส่งเสริม สนับสนุนและกำกับดูแลการจัดการศึกษา
4. ดำเนินการเกี่ยวกับการสื่อสารระหว่างจังหวัดและอำเภอ กิ่งตำบล หมู่บ้าน
5. ไม่มีข้อใดถูก

65. ข้อใดมิใช่ภารกิจหลักของกรมการปกครอง..
1. ส่งเสริมอาชีพและความเป็นอยู่ของประชาชน
2. การทะเบียนและบัตรประจำตัวประชาชน
3. การส่งเสริมการปกครองส่วนภูมิภาคและท้องถิ่น
4. การป้องกันและรักษาความมั่นคงภายในประเทศและนอกประเทศ
5. การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

66. ข้อใดมิใช่นโยบายเน้นหนักของกรมการปกครอง ปี 2539
1. พัฒนาการเมืองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข
2. ปรับปรุงการบริหารราชการโดยวิธีพัฒนาระบบและลดขั้นตอนการปฏิบัติ
3. พัฒนาระบบป้องกันภัยฝ่ายพลเรือนให้สามารถแก้ไขปัญหาของประชาชนอย่างมีประสิทธิภาพ
4. พัฒนาการบริหารราชการส่วนท้องถิ่นให้มีประสิทธิภาพ
5. สนับสนุนการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้มีประสิทธิภาพ

67. หน่วยงานที่ทำหน้าที่รับผิดชอบโดยตรงในการพัฒนาบุคลากรของกรมการปกครอง คือ
1. สำนักงานเลขานุการกรม 2. กองวิชาการและแผนงาน
3. กองเจ้าหน้าที่ 4. วิทยาลัยการปกครอง
5. ถูกทุกข้อ

68. นโยบายกรมการปกครอง พ.ศ.2535 - 2539 ด้านการเมือง การปกครอง และการบริหารในข้อใดที่มาเป็น นโยบายเน้นหนักของกรมการปกครอง ปี 2539
1. ปรับปรุงบริหารการเลือกตั้งทุกระดับให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อย
2. ปรับปรุงอำเภอให้เป็นหน่วยงานหลัก สามารถบริการประชาชนได้สะดวก รวดเร็ว และถูกต้อง
3. ส่งเสริมและสนับสนุนการเมือง การปกครอง การบริหารในระดับท้องถิ่นในระบอบประชาธิปไตย โดยการ กระจายอำนาจให้หน่วยการปกครองท้องถิ่นมีอิสระทางการเงิน การคลัง และการกำหนด นโยบายของตนมาก ขึ้น
4. ถูกเฉพาะข้อ 2 และ 3 5. ถูกทุกข้อ

69. ข้อใดไม่ใช่นโยบายกรมการปกครองปัจจุบัน
1. นโยบายด้านการปกครอง การบริหารและการเมือง
2. นโยบายด้านการรักษาความสงบเรียบร้อยและเสริมสร้างความมั่นคงภายใน
3. นโยบายด้านการพัฒนาชนบทและการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
4. นโยบายด้านการพัฒนาคน พัฒนาเมืองและการกระจายความเจริญไปสู่ภูมิภาค
5. ไม่มีข้อใดถูก

70. การพัฒนาเมืองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข ดำเนินการโดย
1. ส่งเสริมการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน
2. ศึกษา ปรับปรุงแก้ไขกฎหมายเลือกตั้งทุกระดับ
3. อำนวยการเลือกตั้งทุกระดับให้เกิดประสิทธิภาพ
4. รณรงค์ในทางการเมืองเพื่อการต่อต้านซื้อสิทธิขายเสียง
5. ถูกหมดทุกข้อ

71. การปรับปรุงการทะเบียนและบัตรประจำตัวประชาชนให้มีประสิทธิภาพ สามารถบริการประชาชนได้อย่าง รวดเร็ว ถูกต้อง ทันสมัยและรัดกุม รวมอยู่ในนโยบายกรมการปกครองด้านใด
1. นโยบายการพัฒนาเมืองและพื้นที่เศรษฐกิจใหม่
2. นโยบายการปกครอง การบริหารการเมือง
3. นโยบายการรักษาความสงบเรียบร้อยและเสริมสร้างความมั่นคงภายใน
4. นโยบายการพัฒนาสังคม
5. ไม่มีข้อใดถูก

72. กรมการปกครองมีนโยบายสนับสนุนการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้มีประสิทธิภาพอย่างไร
1. สนับสนุนแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมในเขตเมือง
2. รณรงค์ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนเห็นคุณค่าในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมทั้งในเขต เมืองและชนบท
3. ใช้มาตรการทางกฎหมายอย่างเคร่งครัดในการป้องกันและปราบปรามผู้บุกรุกทำลายป่าไม้ แร่ธาตุ ภูเขา แม่น้ำ ที่ดิน ฯลฯ
4. ถูกทั้งข้อ 1, 2 และ 3
5. ไม่มีข้อใดถูก

73. นโยบายกรมการปกครองปี 2539 ระบุให้มีการปรับปรุงระบบบริการประชาชนด้านการทะเบียนและบัตร ประจำตัวประชาชน โดยด้านการขอทำบัตรประชาชนจำดำเนินการออกบัตรฯ ให้เสร็จภายในไม่เกินกี่วัน
1. 15 วัน 2. 16 วัน
3. วัน 4. 18 วัน
5. 19 วัน

74. ตามพระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ พุทธศักราช 2547 กำหนดว่า บ้าน หมายความว่าเรือนหลังเดียวก็ตาม หลายหลังก็ตาม ซึ่งในเขตที่มีเจ้าของเป็นอิสระส่วน 1 ข้อใดที่นับว่าเป็นบ้านตามพระราชบัญญัตินี้
1. วัด 2. โรงเรียน
3. แพ 4. เรือนจำ
5. ถูกทุกข้อ

75. นายกนก ได้รับเลือกเป็นผู้ใหญ่บ้านเมื่อวันที่ 1 มกราคม 2535 นายกนก จะต้องออกจากตำแหน่งตามวาระเมื่อใด
1. อยู่ในตำแหน่งครบ 4 ปี 2. อยู่ในตำแหน่งครบ 5 ปี
3. อยู่ในตำแหน่งจนครบ 60 ปีบริบูรณ์ 4. ตาย
5. อยู่ในตำแหน่งครบ 60 ปี

76. ข้อใดที่ไม่ได้กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ พ.ศ. 2457
1. ว่าที่ผู้ใหญ่บ้าน 2. หมู่บ้านชั่วคราว
3. กรรมการหมู่บ้าน 4. สภาตำบล
5. สารวัตรกำนัน

77. ข้อใดไม่ใช่อำนาจหน้าที่ของผู้ใหญ่บ้าน
1. ฝึกหัดอบรมให้คนไทยรู้จักหน้าที่และการกระทำในเวลารบ
2. กระทำตนให้เป็นตัวอย่างแก่ราษฎร ตามที่ทางราชการได้แนะนำ
3. จัดให้มีการประชุมกรรมการหมู่บ้าน....
4. แต่งตั้งผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน ของหมู่บ้านซึ่งเป็นผู้ใหญ่บ้าน
5. จัดการป้องกันโรคติดต่อ หรือโรคระบาดซึ่งเกิดขึ้น หรือจะเกิดขึ้นในหมู่บ้าน

78. ถ้ากำนันทำการในหน้าที่ไม่ได้ชั่วคราวในช่วงเวลาใด ให้มอบอำนาจและหน้าที่ไว้แก่ผู้ใด
1. ผู้ใหญ่บ้านคนใดคนหนึ่งในตำบลเดียวกัน 2. สารวัตรกำนัน
3. แพทย์ประจำตำบล
4. ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านของหมู่บ้านที่กำนันดำรงตำแหน่ง
5. ปลัดอำเภอผู้รับผิดชอบประจำตำบล

79. ผู้ใดสามารถได้รับเลือกเป็นผู้ใหญ่บ้าน
1. น.ส. ก. อาชีพพนักงานเทศบาล 2. นาง ข. อายุ 59 ปี 11 เดือน
3. นาย ค. อดีตผู้ใหญ่บ้านที่ย้ายทะเบียนไปอยู่หมู่บ้านอื่น
4. นาย ง. สัญชาติจีน 5. สามเณร จ. เปรียญ 3 ประโยค

80. ในการเลือกผู้ใหญ่บ้าน หมู่ที่ 1 ปรากฏว่ามีราษฎรมาใช้สิทธิเพียง ร้อยละ 10 ของผู้มีสิทธิ และปรากฏว่าราษฎร ที่มาใช้สิทธิเลือกนาย ก. 75 คะแนน เลือกนาย ข. 76 คะแนน การเลือกผู้ใหญ่บ้านครั้งนี้ถือว่า
1. นาย ก. ได้รับเลือกเป็นผู้ใหญ่บ้าน 2. นาย ข. ได้รับเลือกเป็นผู้ใหญ่บ้าน
3. ถือเป็นโมฆะ ต้องเลือกใหม่
4. นาย ก. และนาย ข. ต้องจับฉลากว่าใครจะได้รับเลือกเป็นผู้ใหญ่บ้าน
5. นายอำเภอต้องตัดสินว่าใครควรจะเป็นผู้ใหญ่บ้าน

81. ผู้มีสิทธิรับเลือกตั้งเป็นกำนัน คือ
1. ผู้ใหญ่บ้านในตำบลนั้น 2. ราษฎรผู้มีสิทธิเลือกผู้ใหญ่บ้าน
3. ผู้ใหญ่บ้าน และสารวัตรกำนันในตำบลนั้น
4. สารวัตรกำนัน และแพทย์ประจำตำบลในตำบลนั้น
5. ถูกทุกข้อ

82. วาระดำรงตำแหน่งของสมาชิกสภาจังหวัด
1. วาระ 5 ปี 2. วาระ 6 ปี
3. วาระ 4 ปี 4. วาระ 3 ปี
5. จนอายุครบ 60 ปี

83. นับแต่มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาจังหวัดเสร็จ จะต้องมีการประชุมสภาจังหวัดครั้งแรกภายใน
1. ภายใน 90 วัน 2. ภายใน 60 วัน
3. ภายใน 120 วัน 4. ภายใน 15 วัน
5. ภายใน 45 วัน

84. องค์การบริหารส่วนจังหวัด จะทำกิจกรรมนอกเขตต้องได้รับอนุมัติจาก
1. ผู้ว่าราชการจังหวัด 2. นายอำเภอ
3. ปลัดจังหวัด 4. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
5. ประธานสภาจังหวัด

85. ผู้มีอำนาจยุบสภาจังหวัดคือ
1. นายกรัฐมนตรี 2. ผู้ว่าราชการจังหวัด
3. ประธานสภาจังหวัด 4. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
5. สมาชิกสภาจังหวัดเกินกึ่งหนึ่ง

86. งบประมาณประจำปีขององค์การบริหารส่วนจังหวัด คือ
1. พระราชบัญญัติ 2. ข้อบัญญัติจังหวัด
3. ข้อบังคับจังหวัด 4. ร่างงบประมาณจังหวัด
5. เทศบัญญัติ

87. ผู้ปกครองบังคับบัญชาข้าราชการส่วนจังหวัด รองจากผู้ว่าราชการจังหวัด คือ
1. รองผู้ว่าราชการจังหวัด 2. ปลัดจังหวัด
3. นายอำเภอ 4. ประธานสาจังหวัด
5. เลขานุการจังหวัด

88 ผู้ว่าราชการจังหวัด และหัวหน้าส่วนราชการจังหวัด มีหน้าที่
1. เข้าประชุมสภาจังหวัด และไม่มีสิทธิออกเสียงลงคะแนน
2. เข้าประชุมสภาจังหวัด และมีสิทธิออกเสียงลงคะแนน
3. ห้ามเข้าประชุมสภาจังหวัด และห้ามออกเสียงลงคะแนน
4. ห้ามประชุมสภาจังหวัด แต่มีสิทธิออกเสียงลงคะแนน
5. ผิดหมดทุกข้อ

89. กรณีสมาชิกสภาจังหวัดว่างลง และอาจไม่ต้องเลือกสมาชิกสภาจังหวัดเข้ามาแทนที่ต้องเป็นกรณีกำหนดออก ตามวาระที่เหลือไม่เกิน
1. 120 วัน 2. 90 วัน 3. 60 วัน 4. 45 วัน 5. 180 วัน

90. การจัดตั้งเทศบาลให้กระทำได้โดย
1. ตราเป็นพระราชบัญญติ 2. ตราเป็นพระราชกฤษฎีกา
3. ตราเป็นพระราชกำหนด 4. ออกประกาศกระทรวงมหาดไทย
5. ออกเป็นเทศบัญญัติประกาศจัดตั้ง

91. สภาเทศบาลเมืองมีสมาชิกจำนวน
1. 18 คน 2. 24 คน 3. 12 คน 4. 16 คน 5. 9 คน

92. การจัดตั้งเทศบาลนครต้องมีหลักเกณฑ์ ดังนี้
1. ประชากร 10,000 คน และความหนาแน่นไม่น้อยกว่า 3,000 คนต่อตารางกิโลเมตร
2. ประชากร 30,000 คน และความหนาแน่นไม่น้อยกว่า 3,000 คนต่อตารางกิโลเมตร
3. ประชากร 50,000 คน และความหนาแน่นไม่น้อยกว่า 3,000 คนต่อตารางกิโลเมตร
4. มีประชากรตั้งแต่ 50,000 คน โดยไม่คำนึงถึงความหนาแน่น
5. ประชากร 10,000 คน โดยไม่คำนึงความหนาแน่น

93. กรณีเทศบาลเมืองซึ่งสามารถมีเทศมนตรี เพิ่มขึ้นอีกคน จะต้องมีรายได้การจัดเก็บตั้งแต่
1. 10 ล้านบาทขึ้นไป 2. 30 ล้านบาทขึ้นไป
3. 15 ล้านบาทขึ้นไป 4. 20 ล้านบาทขึ้นไป
5. 50 ล้านบาทขึ้นไป

94. สถานะของกำนัน ผู้ใหญ่บ้านในพื้นที่ที่มีการจัดตั้งเป็นเทศบาลจะเปลี่ยนไป คือ
1. แปรสภาพเป็นสมาชิกสภาตำบล 2. ให้หมดอำนาจหน้าที่เฉพาะพื้นที่ที่จัดตั้งเทศบาล
3. ให้กำนัน ผู้ใหญ่บ้านเป็นคณะรัฐมนตรีชั่วคราว
4. ให้กำนันเป็นนายกเทศมนตรีชั่วคราว
5. ผิดหมดทุกข้อ

95. สุขาภิบาลที่มีฐานะการคลังเพียงพอคือ
1. สุขาภิบาลที่มีรายได้ไม่รวมเงินอุดหนุนตั้งแต่ 5 ล้านบาทขึ้นไป
2. สุขาภิบาลที่มีรายได้โดยไม่รวมเงินอุดหนุนตั้งแต่ 1 ล้านบาทขึ้นไป
3. สุขาภิบาลที่มีรายได้โดยไม่รวมเงินอุดหนุนตั้งแต่ 3 ล้านบาทขึ้นไป
4. สุขาภิบาลที่มีรายได้โดยไม่รวมเงินอุดหนุนตั้งแต่ 9 ล้านบาทขึ้นไป
5. สุขาภิบาลที่มีรายได้โดยไม่รวมเงินอุดหนุนตั้งแต่ 15 ล้านบาทขึ้นไป

96. กรรมการสุขาภิบาลมิได้มาจากการเลือกตั้งคือ
1. กำนัน ผู้ใหญ่บ้านในพื้นที่สุขาภิบาล 2. กำนันในพื้นที่สุขาภิบาล
3. กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน และแพทย์ประจำตำบล 4. นายอำเภอ ปลัดอำเภอผู้ซึ่งเป็นปลัดสุขาภิบาลและ กำนัน
5. กำนัน และนายอำเภอ

97. การเปลี่ยนแปลงเขตสุขาภิบาล หรือยุบสุขาภิบาลให้กระทำโดย
1. ประกาศกระทรวงมหาดไทย 2. ประกาศพระราชกฤษฎีกา
3. ประกาศจังหวัด 4. ข้อบังคับสุขาภิบาล
5. พระราชบัญญัติ

98. ผู้ที่จะเป็นประธานสุขาภิบาลแทนนายอำเภอ เมื่อสุขาภิบาลมีฐานะการเพียงพอคือ
1. ปลัดสุขาภิบาล 2. กำนันในพื้นที่
3. กรรมการสุขาภิบาลที่ได้รับเลือก 4. ปลัดจังหวัด
5. รองประธานกรรมการสุขาภิบาล

99. การประชุมสุขาภิบาลกำหนดให้มี
1. ไม่น้อยกว่าเดือนละ 2 ครั้ง 2. ไม่น้อยกว่าสัปดาห์ละครั้ง
3. ไม่น้อยกว่าเดือนละครั้ง 4. ตามแต่ประธานสุขาภิบาลจะเห็นสมควร
5. ไม่น้อยกว่าปีละ 2 ครั้ง

100. ถ้าการลงคะแนนเสียงตามมติต่างๆ มีคะแนนเสียงของกรรมการสุขาภิบาลเท่ากันให้ปฏิบัติโดย
1. ให้ประธานกรรมการสุขาภิบาลสั่งปิดประชุม แล้วนัดประชุมใหม่
2. ให้ประธานกรรมการสุขาภิบาลเป็นผู้ลงเสียงชี้ขาด
3. ให้มีการลงคะแนนเสียงใหม่อีกครั้ง...
4. ให้นับเฉพาะเสียงกรรมการที่มาจากการเลือกตั้งเท่านั้น
5. ประธานกรรมการสุขาภิบาล ต้องงดใช้สิทธิออกเสียง

101. การเปลี่ยนแปลงแผนดำเนินงานของสุขาภิบาลที่วางไว้ต้อง
1. ได้รับความเห็นชอบจากนายอำเภอ
2. ได้รับความเห็นชอบจากประธานกรรมการสุขาภิบาล
3. กรรมการสุขาภิบาลไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งให้ความเห็นชอบ
4. ต้องได้รับอนุมัติจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
5. ต้องได้รับอนุมัติจากผู้ว่าราชการจังหวัด

102. สุขาภิบาลมีฐานะ
1. ราชการบริหารส่วนท้องถิ่น แต่ไม่เป็นนิติบุคคล 2. ราชการบริหารส่วนท้องถิ่น และเป็นนิติบุคคล
3. ราชการบริหารส่วนตำบล และเป็นนิติบุคคล 4. เป็นนิติบุคคล แต่ไม่เป็นราชการบริหารส่วนท้องถิ่น
5. ผิดหมดทุกข้อ

103. องค์การบริหารส่วนตำบลมีอำนาจออกกฎหมายเรียกว่า
1. ข้อบัญญัติตำบล 2. ข้อบังคับตำบล
3. พระราชบัญญัติ 4. พระราชกำหนด
5. เทศบัญญัติ

104. เลขานุการสภาตำบล แต่งตั้งจาก
1. ประชาชนในตำบล 2. ปลัดอำเภอ
3. พัฒนากร 4. ข้าราชการที่ปฏิบัติงานในตำบล
5. ถูกทุกข้อ

105. สภาตำบลตามพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ.2537 มีฐานะเป็น
1. หน่วยการปกครองท้องถิ่น 2. นิติบุคคล
3. ทบวงการเมือง 4. ราชการส่วนภูมิภาค
5. ถูกทุกข้อ

106. สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล อยู่ในภาวะกี่ปี
1. 3 ปี 2. 2 ปี 3. 4 ปี 4. 5 ปี 5. ผิดทุกข้อ

107. ตามบทเฉพาะกาล ในภาวะเริ่มแรกของพระราชบัญญัติสภาตำบล พ.ศ. 2537 บุคคลใดเป็นประธาน กรรมการบริหารองค์การบริหารส่วนตำบล
1. กำนัน 2. ผู้ใหญ่บ้าน
3. แพทย์ประจำตำบล 4. ผู้ทรงคุณวุฒิ
5. ผิดทุกข้อ

108. ผู้มีสิทธิเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล ข้อใดถูกที่สุด
1. มีสัญชาติไทย และมีอายุไม่ต่ำกว่า 20 ปีบริบูรณ์
2. มีสัญชาติไทย และมีอายุไม่ต่ำกว่า 20 ปีบริบูรณ์ในวันเลือกตั้ง
3. มีสัญชาติไทย และมีอายุไม่ต่ำกว่า 18 ปีบริบูรณ์ในวันที่ 1 มกราคม ของปีที่มีการเลือกตั้ง
4. มีสัญชาติไทย และมีอายุไม่ต่ำกว่า 25 ปีบริบูรณ์
5. ผิดทุกข้อ

109. เมื่อฝ่ายหญิงฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งตกอยู่ในอันตรายใกล้ความตายและได้แสดงเจตนาจะสมรสกันต่อหน้าพยานที่มี อยู่ ณ ที่นั้น ต่อมานายทะเบียนได้รับจดทะเบียนการสมรสให้แล้ว การสมรสดังกล่าวมีผลสมบูรณ์ตั้งแต่ เมื่อใด
1. วันที่ชายและหญิงเจตนาจะสมรสกัน 2. 60 วัน นับแต่วันที่ชายและหญิงแสดงเจตนาจะสมรส กัน
3. วันที่ชายหญิงประสงค์จะให้มีผล 4. วันที่นายทะเบียนรับจดทะเบียนให้
5. การสมรสดังกล่าวเป็นโมฆะ

110. บุคคลต่อไปนี้ ผู้ใดไม่สามารถทำพินัยกรรมได้
1. ผู้เยาว์อายุ 16 ปี และไม่ได้รับความยินยอมจากบิดามารดา
2. บุคคลที่เป็นใบ้ หูหนวกทั้ง 2 ข้าง
3. บุคคลซึ่งศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถ
4. บุคคลซึ่งศาลสั่งให้เป็นคนเสมือนไร้ความสามารถ
5. ถูกทุกข้อ

111. ที่ดินของศาลเจ้าที่ที่ขึ้นทะเบียนอยู่ในความควบคุมดูแลของทางราชการ ตามกฎเสนาบดีว่าด้วยกุศลสถานชนิด ศาลเจ้า พ.ศ. 2463 คำที่ขีดเส้นใต้ หมายถึงหน่วยงานใด
1. กรมที่ดิน 2. สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย
3. กรมการปกครอง 4. สำนักนายกรัฐมนตรี
5. ข้อ 2. และข้อ 3. ถูก

112. สังหาริมทรัพย์ต่อไปนี้ ข้อใดไม่สามารถทำนิติกรมจำนองได้
1. เรือกำปั่นหรือเรือที่มีระวางตั้งแต่หกตันขึ้นไป
2. เรือกลไฟหรือเรือยนต์ที่มีระวางตั้งแต่ห้าตันขึ้นไป 3. สัตว์พาหนะ
4. แพ 5. เรือลำน้ำที่มิใช่เรือกลขนาดตั้งแต่หกตันขึ้นไป

113. สัตว์พาหะต่อไปนี้ ข้อใดไม้ต้องจดทะเบียนทำตั๋วรูปพรรณ
1. ช้างที่มีอายุย่างเข้าปีที่ 8 2. สัตว์อื่น ๆ นอกจากโคตัวเมีย มีอายุย่างเข้าปีที่ 6
3. สัตว์ใดที่ใช้ขับขี่ ลาก เข็น หรือใช้งานแล้ว
4. สัตว์ที่มีอายุย่างเข้าปีที่ 4 เมื่อจะนำออกนอกราชอาณาจักร
5. โคตัวตัวเมียมีอายุย่างเข้าปีที่ 5 เมื่อจะทำการโอนกรรมสิทธิ์ เว้นแต่ในกรณีรับมรดก

114. บุคคลต่อไปนี้ ผู้ใดได้รับการแต่งตั้งให้เป็นเจ้าพนักงานออกบัตรตามกฎหมายว่าด้วยบัตรประจำตัวประชาชน
1. ผู้อำนวยการส่วนบัตรประจำตัวประชาชน 2. ผู้อำนวยการสำนักบริหารการทะเบียน
3. ผู้อำนวยการกองการทะเบียน 4. รองอธิบดีกรมการปกครองฝ่ายบริหารราชการทั่วไป
5. รองอธิบดีกรมการปกครองฝ่ายราชการบริหารส่วนภูมิภาค

115. การแจ้งความบัตรหาย เจ้าของบัตรสามารถแจ้งต่อเจ้าพนักงานสอบสวนผู้มีอำนาจรับแจ้ง ณ สถานที่ใด
1. ถ้าบัตรหายในท้องที่อำเภอ ให้แจ้ง ณ ที่ว่าการอำเภอหรือสถานีตำรวจภูธรอำเภอ ท้องที่ที่บัตรหาย
2. ถ้าบัตรหายในท้องที่กิ่งอำเภอ ให้แจ้ง ณ ที่ว่าการอำเภอหรือที่ว่าการอำเภอในท้องที่ที่กิ่งอำเภอนั้นตั้งอยู่
3. ถ้าบัตรหายในท้องที่เขต ให้แจ้ง ณ ที่สำนักงานหรือสถานีตำรวจนครบาล ท้องที่ที่บัตรหาย
4. ถ้าบัตรหายในท้องที่เทศบาล ให้แจ้ง ณ ที่สำนักงานเทศบาลหรือที่ว่าการอำเภอ ท้องที่ที่บัตรหาย
5. ถูกทุกข้อ

116. ข้อใดต่อไปนี้ ข้อใดคือ บ้าน ตามความหมายใน พ.ร.บ. การทะเบียนราษฎร พ.ศ. 2534
1. รถยนต์ 2. เรือแพ ซึ่งจอดเป็นประจำ และใช้เป็นที่อยู่ประจำ
3. ศาลารอรถประจำทาง 4. โรงเรือนสำหรับใช้เก็บสารเคมี
5. ไม่มีข้อใดถูก

117. เมื่อมีการปลูกสร้างบ้าน เจ้าบ้านจะต้องแจ้งต่อนายทะเบียนผู้รับแจ้ง เพื่อขอเลขประจำบ้านภายในกี่วัน
1. ภายใน 15 วันนับแต่วันที่สร้างบ้านเสร็จ 2. ภายใน 15 วันนับแต่วันปลูกสร้างบ้าน
3. ภายใน 30 วัน นับแต่วันสร้างบ้านเสร็จ 4. ภายใน 30 วันนับแต่วันปลูกสร้างบ้าน
5. ข้อ 1. และข้อ 2. ถูก

118. นายทะเบียน ตามพระราชบัญญัติทะเบียนราษฎร พ.ศ. 2534 ได้แก่บุคคลในข้อใด
1. ผู้อำนวยการทะเบียนกลาง 2. นายทะเบียนจังหวัด
3. ผู้ช่วยนายทะเบียนท้องถิ่น 4. นายทะเบียนผู้รับแจ้ง
5. ถูกทุกข้อ

119. บุคคลใดต่อไปนี้ บุคคลใดคือนายทะเบียนท้องถิ่น
1. ผู้อำนวยการเขต 2. ปลัดเทศบาล
3. นายอำเภอ 4. ข้อ 1. และข้อ 2. ถูก
5. ข้อ 1. และข้อ 3. ถูก

120. คนเกิดในบ้าน ผู้ที่มีหน้าที่แจ้งการเกิดต่อนายทะเบียน คือ
1. เจ้าบ้าน 2. บิดา
3. มารดา 4. บิดาหรือมารดา
5. เจ้าบ้าน หรือบิดา หรือมารดา

************************************************



เฉลยข้อสอบแข่งขันเพื่อบรรจุบุคคลเข้ารับราชการในสังกัดกรมการปกครอง
ตำแหน่งเจ้าพนักงานปกครอง 3 และเจ้าพนักงานปกครอง 4
(ภาคความรู้ความสามารถที่ใช่เฉพาะตำแหน่ง)

(เป็นคำตอบ ณ ปีนั้น)


1) 2 2) 1 3) 4 4) 4 5) 4
6) 3 7) 3 8) 4 9) 1 10) 4
11) 2 12) 4 13) 3 14) 3 15) 3
16) 2 17) 1 18) 1 19) 4 20) 5
21) 2 22) 2 23) 4 24) 3 25) 4
26) 2 27) 3 28) 2 29) 4 30) 4
31) 3 32) 5 33) 4 34) 5 35) 4
36) 3 37) 5 38) 5 39) 2 40) 3
41) 4 42) 4 43) 3 44) 4 45) 5
46) 2 47) 4 48) 2 49) 5 50) 2
51) 1 52) 5 53) 2 54) 5 55) 3
56) 2 57) 2 58) 4 59) 4 60) 1
61) 1 62) 2 63) 5 64) 5 65) 4
66) 2 67) 4 68) 5 69) 5 70) 5
71) 2 72) 4 73) 1 74) 5 75) 5
76) 4 77) 4 78) 1 79) 2 80) 2
81) 1 82) 1 83) 4 84) 1 85) 4
86) 2 87) 2 88) 1 89) 5 90) 2
91) 1 92) 3 93) 4 94) 2 95) 1
96) 5 97) 1 98) 3 99) 3 100) 2
101) 5 102) 2 103) 2 104) 5 105) 2
106) 3 107) 1 108) 3 109) 1 110) 3
111) 3 112) 5 113) 5 114) 1 115) 2
116) 2 117) 1 118) 5 119) 4 120) 5





 

Create Date : 14 กรกฎาคม 2551    
Last Update : 13 กุมภาพันธ์ 2552 14:44:48 น.
Counter : 1745 Pageviews.  

ข้อสอบคัดเลือกข้าราชการเพื่อเข้าศึกษาโรงเรียนปลัดอำเภอ



ข้อสอบคัดเลือกข้าราชการเพื่อเข้าศึกษาโรงเรียนปลัดอำเภอ
(หลักสูตรเปลี่ยนสายงาน)

ภาคความรู้ความสามารถเฉพาะตำแหน่ง ปี 2537
1. ตามพระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการ กรมการปกครอง พ.ศ. 2536 ข้อใดมิใช่หน้าที่ ของกรมการปกครอง
ก. การอำนวยการเลือกตั้ง
ข. การพัฒนาการเมืองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข
ค. การสื่อสารระหว่างจังหวัด อำเภอ ตำบล หมู่บ้าน
ง. การจัดการศึกษาท้องถิ่น
จ. การพัฒนาทางหลวงแผ่นดินในพื้นที่จังหวัด อำเภอ

2. ในอำเภอหนึ่งให้มีพนักงานคณะหนึ่งเรียกรวมกันว่ากรมการอำเภอ ประกอบด้วย
ก. นายอำเภอ ปลัดอำเภอ หัวหน้าส่วนราชการประจำอำเภอทุกหน่วยงาน
ข. นายอำเภอ ปลัดอำเภอ หัวหน้าส่วนราชการอำเภอเฉพาะราชการบริหารส่วนภูมิภาค
ค. นายอำเภอ ปลัดอำเภอ สมุห์บัญชีอำเภอ หรือข้าราชการที่สังกัดในกรมสรรพากร
ง. นายอำเภอ หัวหน้าส่วนราชการทุกคน ปลัดอำเภอ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน.
จ. ถูกทุกข้อ

3. กรณีไม่มีผู้ดำรงตำแหน่งนายอำเภอ
ก. นายอำเภอแต่งตั้งปลัดอำเภอรักษาราชการแทน
ข. ปลัดอาวุโสในอำเภอรักษาราชการแทน
ค. หัวหน้าส่วนราชการอาวุโสในอำเภอรักษาราชการแทน
ง. ปลัดอำเภอหรือหัวหน้าส่วนราชการอาวุโส เป็นผู้รักษาราชการแทน
จ. ผู้ว่าราชการจังหวัดแต่งตั้งปลัดอำเภอหรือหัวหน้าส่วนราชการประจำอำเภอรักษาราชการแทน

4. นโนบายการพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติตามแผนฯ 7 ให้ความสำคัญกับทรัพยากรธรรมชาติประเภทใด
ก. ป่าไม้ ข. ดิน
ค. แร่ ง. ถูกเฉพาะข้อ 1 และ 2
จ. ถูกทั้งข้อ 1, 2 และ 3

5. การปฏิบัติงานของปลัดอำเภอมีฐานะอย่างไร
ก. เป็นผู้ช่วยเหลือนายอำเภอ ข. เป็นตัวแทนนายอำเภอ
ค. เป็นกรมการอำเภอ ง. เป็นข้าราชการได้รับเงินเดือนของรัฐ
จ. ไม่มีข้อใดถูกต้อง

6. การแบ่งส่วนราชการของกรมการปกครองตามพระราชกฤษฎีกา แบ่งส่วนราชการกรมการปกครอง พ.ศ. 2536 กำหนดให้ราชการส่วนภูมิภาคประกอบด้วย
ก. ที่ทำการปกครองจังหวัด ข. ที่ทำการปกครองอำเภอ
ค. ที่ทำการปกครองกิ่งอำเภอ ง. ถูกเฉพาะข้อ ก. และ ข.
จ. ถูกเฉพาะข้อ ก. ข. และ ค.

7. ข้อมูลใดที่ไม่ได้นำมาวางแผนใช้พัฒนาอำเภอ
ก. ลักษณะที่ตั้ง อาณาเขต ภูมิอากาศ และการใช้ประโยชน์ในพื้นที่
ข. การปกครอง ประชากร และแรงงาน
ค. เกษตรกรรม การปศุสัตว์ การประมง การอุตสาหกรรม การพาณิชย์ การบริการ และการท่องเที่ยว
ง. การศึกษา การศาสนา และวัฒนธรรม การสาธารณสุข ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
จ. ไม่มีข้อใดถูก

8. ข้อใดมิใช่นโยบายทั่วไปของกรมการปกครอง พ.ศ. 2535-2539
ก. การปกครอง การบริหารและการเมือง
ข. การรักษาความสงบเรียบร้อยและเสริมสร้างความมั่นคงภายใน
ค. การพัฒนาชนบทและการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ง. การพัฒนาสังคม
จ. การขยายประชาธิปไตยสู่ปวงชนชาวไทย

9. เร่งรัดพัฒนาเมืองเป็นศูนย์กลางความเจริญในภูมิภาคและเมืองอื่นๆ เพื่อที่จะสามารถรองรับการกระจายกิจการ ทางเศรษฐกิจออกจากส่วนกลางเป็นแนวทางปฏิบัติเพื่อให้เป็นไปตามนโยบายทั่วไปของกรมการปกครองด้านใด
.
10. โครงการตามแนวทางการพัฒนาจังหวัดประจำปีในระบบ กชช. ของกรมการปกครอง ปี 2537-2539 มีกี่งาน/ โครงการ
ก. 10 งาน/โครงการ ข. 13 งาน/โครงการ
ค. 18 งาน/โครงการ ง. 14 งาน/โครงการ
จ. 17 งาน/โครงการ

11. เลขานุการ กพอ. คือ
ก. ปลัดอำเภอ หัวหน้าฝ่ายปกครองและพัฒนา ข. ปลัดอาวุโส
ค. ปลัดอำเภองานพัฒนาท้องที่ ง. พัฒนาการอำเภอ
จ. ปลัดอำเภอ

12. โรคเอดส์ เกิดจาก
ก. เชื้อไวรัส ข. เชื้อรา
ค. เชื้อแบคทีเรีย ง. ถูกเฉพาะข้อ ก. และ ข.
จ. ถูกเฉพาะข้อ ข. และ ค.

13. โอกาสที่โรคเอดส์จะแพร่โรคได้มากที่สุดเกิดจาก
ก. เลือดและน้ำอสุจิ
ข. เลือด น้ำอสุจิและน้ำในช่องคลอด
ค. เลือด น้ำอสุจิ น้ำในช่องคลอด และน้ำลาย
ง. เลือด น้ำอสุจิ น้ำในช่องคลอด น้ำลาย และเสมหะ
จ. เลือด น้ำอสุจิ และระบบการหายใจ

14. แผนพัฒนาจังหวัด คือ
ก. แผนงานและโครงการพัฒนาชนบทของหน่วยราชการในส่วนกลางที่ดำเนินการในพื้นที่ของจังหวัดและจังหวัดเป็นผู้ประสานแผนงานและโครงการดังกล่าว
ข. โครงการพัฒนาจังหวัดของหน่วยราชการส่วนภูมิภาค ส่วนท้องถิ่น และโครงการพัฒนาตำบล
ค. แผนงานและโครงการเร่งรัดการกระจายความเจริญไปสู่ภูมิภาค
ง. ถูกเฉพาะข้อ ก. และ ข.
จ. ถูกเฉพาะข้อ ก. ข. และ ค.

15. ผู้ใดไม่ได้เป็นคณะกรรมการการพัฒนาชนบทและกระจายความเจริญไปสู่ภูมิภาค
ก. รองนายกรัฐมนตรีที่นายกรัฐมนตรีมอบหมาย
ข. รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีที่นายกรัฐมนตรีมอบหมาย
ค. ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย
ง. ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
จ. ปลัดกระทรวงกลาโหม

16. คปต. คือ
ก. คณะสนับสนุนการพัฒนาชนบทระดับตำบล หมู่บ้าน
ข. คณะทำงานสนับสนุนกสนปฏิบัติการพัฒนาชนบทระดับตำบล หมู่บ้าน
ค. คณะทำงานสนับสนุนการปฏิบัติการพัฒนาชนบทระดับตำบล
ง. คณะปฏิบัติการสนับสนุนการพัฒนาชนบทระดับตำบล..เเอ๊คกรุ๊ป
จ. คณะปฏิบัติการสนับสนุนการวางแผนชนบทระดับตำบล

17. หน่วยงานใดมีหน้าที่ติดตามการใช้จ่ายเงินตามโครงพัฒนาจังหวัด
ก. สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน ข. กรมบัญชีกลาง
ค. สำนักงานงบประมาณ ง. สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย
จ. สำนักงานเลขาธิการนายกรัฐมนตรี

18. การตรวจราชการในภารกิจของกรมการปกครอง แบ่งเขตการตรวจราชการออกเป็นกี่เขต
ก. 75 เขต ข. 5 เขต
ค. 10 เขต ง. 18 เขต
จ. 9 เขต

19. PACKAGE SERVICE คือการบริการแบบครบวงจร ท่านทราบหรือไม่ว่า P ย่อมาจากอะไร
ก. ความสุภาพอ่อนน้อม
ข. การมีส่วนร่วมของประชาชน
ค. ปัญหาและความต้องการของประชาชน
ง. ความถูกต้องตามระเบียบกฎหมาย
จ. ไม่มีข้อใดถูกต้อง

20. การบริการประชาชนในภารกิจของกรมการปกครองมีขอบเขตอย่างไร
ก. ในสำนักงานและนอกสำนักงาน
ข. ในภารกิจกรมการปกครองและงานนอกภารกิจของกรมการปกครอง
ค. ในเมือง ชนบท
ง. ในเวลาราชการ นอกเวลาราชการ.
จ. ถูกทุกข้อ

21. การแจ้งย้ายปลายทาง บุคคลที่จะขอแจ้งย้ายได้จะต้องเป็น
ก. บุคคลที่ไม่มีชื่อในทะเบียนบ้าน
ข. บุคคลที่มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน
ค. บุคคลที่มีชื่อในทะเบียนบ้านกลางของสำนักทะเบียน
ง. ถูแฉพาะข้อ 1 และ 3
จ. ไม่มีข้อใดถูกต้อง

22. พ.รบ. บัตรประจำตัวประชาชน พ.ศ. 2526 กำหนดคุณสมบัติผู้ขอมีบัตรว่าจะต้องมีอายุ
ก. ตั้งแต่ 18 ปี บริบูรณ์ แต่ไม่เกิน 60 ปี บริบูรณ์
ข. ตั้งแต่ 18 ปี บริบูรณ์ แต่ไม่เกิน 65 ปี บริบูรณ์
ค. ตั้งแต่ 15 ปี บริบูรณ์ แต่ไม่เกิน 65 ปี บริบูรณ์
ง. ตั้งแต่ 15 ปี บริบูรณ์ แต่ไม่เกิน 70 ปี บริบูรณ์
จ. ตั้งแต่ 15 ปี บริบูรณ์ แต่ไม่เกิน 60 ปี บริบูรณ์

23. ผู้ที่จะขอมีบัตรประจำตัวประชาชน ซึ่งระบุข้อความว่า "ใช้ได้ตลอดชีพ" จะต้องเป็นบุคคลที่มีอายุ
ก. 60 ปีขึ้นไป ข. 65 ปีขึ้นไป
ค. 70 ปีขึ้นไป ง. 64 ปีขึ้นไป
จ. 62 ปีขึ้นไป

24. บุคคลที่ได้รับอนุญาตให้เปลี่ยนชื่อตัวหรือเปลี่ยนชื่อสกุล จะต้องขอเปลี่ยนบัตรประจำตัวประชาชนภายใน
ก. 15 วัน ข. 30 วัน
ค. 60 วัน ง. 90 วัน
จ. 120 วัน

25. การจดทะเบียนสมรสนอกสำนักทะเบียน สามารถกระทำได้โดยผู้ร้อง
ก. ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆ เลย
ข. ต้องจัดพาหนะให้นายทะเบียนเท่านั้น
ค. เสียค่าธรรมเนียมคู่ละ 200 บาท และจ่ายค่าพาหนะแก่นายทะเบียน
ง. จ่ายค่าพาหนะแก่นายทะเบียน
จ. จัดพาหนะรับส่ง หรือจ่ายค่าพาหนะแก่นายทะเบียนและเสียค่าธรรมเนียมคู่ละ 200 บาท

26. กรมการปกครองได้ตรวจสอบพบว่ามีคนที่มีชื่อซ้ำทั่วประเทศในทะเบียนบ้าน จำนวนประมาณ
ก. หนึ่งล้านชื่อ ข. ห้าแสนชื่อ
ค. แปดแสนชื่อ ง. หนึ่งล้านห้าแสนชื่อ
จ. สองล้านชื่อ

27. ปัจจุบันเลขประจำตัวประชาชนมี 13 หลัก เลขหลักแรกหรือเลขตัวแรก หมายถึง
ก. จังหวัดและอำเภอ
ข. กลุ่มของบุคคลที่ได้เลขประจำตัวประชาชนตามทะเบียนบ้านในแต่ละสำนักทะเบียน
ค. ประเภทบุคคล
ง. ลำดับที่ขอบุคคลในแต่ละกลุ่มที่ถูกแจกจ่ายเลขประจำตัว
จ. เลขตรวจสอบซึ่งกำหนดโดยคอมพิวเตอร์

28. เด็กที่เกิดในต่างประเทศจากบิดาหรือมารดาที่มีสัญชาติไทย ย่อมได้สัญชาติไทย เพราะเป็นไปตามหลัก
ก. หลักความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ข. หลักดินแดน
ค. หลักสายโลหิต ง. หลักการผ่อนผันเฉพาะราย
จ. ถูกเฉพาะข้อ 1 และ 4

29. ชาวไทยภูเขา ได้แก่
ก. แม้ว เย้า มูเซอ ข. ลีซอ อีก้อ กะเหรี่ยง
ค. ลัวะ ถิ่น ขมุ ง. ตองเหลือง เงาะป่า ซาไก
จ. ถูกเฉพาะข้อ ก ข. และ ค.

30. โครงการจัดทำระบบบริการประชาชนทางด้านการทะเบียนและบัตรประจำตัวประชาชนด้วยระบบคอมพิวเตอร์ มีสาระสำคัญ คือ
ก. ติดตั้งระบบคอมพิวเตอร์ที่อำเภอ การผลิตบัตรประจำตัวประชาชนยังอยู่ที่กรม..เเอ๊คกรุ๊ป
ข. ติดตั้งระบบคอมพิวเตอร์ที่อำเภอ ผลิตบัตรที่อำเภอ
ค. ติดตั้งระบบคอมพิวเตอร์ที่อำเภอ ให้บริการด้านการทะเบียนด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์
ง. ติดตั้งระบบคอมพิวเตอร์ที่จังหวัดและผลิตบัตรที่จังหวัด
จ. ถูกเฉพาะข้อ ข. และ ค.

31. "ผู้มีส่วนได้เสีย" ที่จะขอตรวจหรือขอคัดสำเนารายการเอกสารทะเบียนราษฎร ตาม พ.ร.บ. การทะเบียนราษฎร พ.ศ. 2534 ได้คือ
ก. เจ้าบ้าน
ข. ผู้มีชื่อและรายการปกครองในเอกสารที่จะขอตรวจหรือคัด และรับรองสำเนา..
ค. บุคคลหรือนิติบุคคลใดที่มีส่วนได้เสียเกี่ยวกับเอกสารทะเบียนราษฎร ไม่ว่าโดยตรงหรือทางอ้อม
ง. ถูกเฉพาะข้อ ก. และ ค.
จ. ถูกทั้งข้อ ก. ข. และ ค.

32. นโยบายในการปฏิบัติงานทะเบียนราษฎร มีดังนี้
ก. ให้กำหนดเป็นสมมติฐานว่าความผิดพลาดบกพร่องของงานทะเบียนราษฎรทุกอย่างสามารถแก้ไขให้ถูกต้องได้
ข. ให้มีความระเอียดรอบคอบในการปฏิบัติงาน
ค. อัตรากำลังเจ้าหน้าที่ให้ขอเพิ่มจากส่วนกลางได้
ง. เมื่อพิจารณาเข้าเกณฑ์แล้วนายอำเภอสามารถอนุญาตการจัดตั้งได้เอง
จ. ไม่มีข้อใดถูกต้อง

33. นโยบายการปฏิบัติงานทะเบียนราษฎร มีดังนี้
ก. ให้กำหนดเป็นสมมติฐานว่าความผิดพลาดบกกพร่องของงานทะเบียนราษฎรทุกอย่างสามารถแก้ไขให้ถูกต้องได้
ข. ให้มีความละเอียดรอบคอบในการปฏิบัติงาน
ค. ขอให้ศึกษากฎหมาย ระเบียบ และหนังสือสั่งการให้ดี และอย่ากลัวที่จะปฏิบัติงานทะเบียนราษฎร
ง. ถูกเฉพาะข้อ ข. และ ค.
จ. ถูกทั้งข้อ ก. ข. และ ค.

34. การตั้งชื่อบุคคลตามกฎหมายและระเบียบในปัจจุบัน ต้องดำเนินการตามข้อใดจึงจะถูกต้อง.
ก. ในการตั้งชื่อบุคคลที่หมายรู้ว่าเป็นชื่อชายหรือชื่อหญิง และชื่อหนึ่งให้มีสามพยางค์เป็นอย่างมาก
ข. ชื่อจะต้องไม่พ้องหรือมุ่งหมายให้คล้ายกับพระปรมาภิไธย พระนามของพระราชินี หรือราชทินนาม
ค. ชื่อที่ขอตั้งต้องไม่มีคำหรือความหมายหยาบคาย
ง. ถูกเฉพาะข้อ ก. และ ข.
จ. ถูกเฉพาะข้อ ข. และ ค.

35. การพิจารณาสั่งยุบลิกมัสยิด เป็นอำนาจของ
ก. นายอำเภอ ข. คณะกรรมการอำเภอ
ค. ผู้ว่าราชการจังหวัด ง. คณะกรรมการจังหวัด
จ. คณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย..เเอ๊คกรุ๊ป

36. ตามพระราชบัญญัติสัตว์พาหนะ พ.ศ.2482 ช้าง ถือเป็นสัตว์พาหนะ และจะต้องจดทะเบียนทำตั๋วรูปพรรณเมื่อ อายุ
ก. ตั้งแต่เกิด ข. เมื่ออายุย่างเข้า 7 ปี
ค. เมื่ออายุย่างเข้าปีที่ 8 ง. เมื่ออายุย่างเข้าปีที่ 9
จ. ไม่มีข้อใดถูกต้อง

37. การจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรม ผู้รับบุตรบุญธรรมต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า
ก. 20 ปี ข. 25 ปี
ค. 30 ปี ง. 35 ปี
จ. ไม่มีข้อใดถูกต้อง

38. ทะเบียนครอบครัว แบ่งออกเป็น
ก. 4 ประเภท ข. 5 ประเภท
ค. 6 ประเภท ง. 7 ประเภท
จ. ไม่มีข้อใดถูกต้อง

39. ข้อความต่อไปนี้ ซึ่งเกี่ยวกับทะเบียนการบันทึกฐานะแห่งภริยานั้น ข้อความใดถูกต้อง
ก. ให้บันทึกฐานะภริยาหลวงเพียงคนเดียว ภริยาน้อยห้ามบันทึก
ข. ให้บันทึกภริยาน้อยได้เพียงหนึ่งคน
ค. ให้บันทึกภริยาทุกคน ทั้งที่ร้องขอและไม่ได้ร้องขอ
ง. สามีภริยาที่จะร้องขอให้บันทึก ต้องแต่งงานก่อนวันที่ 1 ต.ค. 2478
จ. ไม่มีข้อใดถูกต้อง

40. ตามกฎเสนาบดี ว่าด้วยกุศลสถานชนิดศาลเจ้า การแต่งตั้งถอดถอนผู้จัดการปกครองศาลเจ้าหน้าที่ทะเบียนกับ ทางราชการในต่างจังหวัดเป็นของ
ก. ปลัดกระทรวงมหาดไทย ข. อธิบดีกรมการปกครอง
ค. ผู้ว่าราชการจังหวัด ง. นายอำเภอ
จ. ไม่มีข้อใดถูกต้อง

41. ข้อต่อไปนี้ข้อใด มิใช่ ผู้อำนวยการป้องกันฝ่ายพลเรือนในเขตท้องที่ ตาม พ.ร.บ. ป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน พ.ศ. 2522
ก. ปลัดเมืองพัทยา
ข. นายกเทศมนตรีตำบลแหลมฉบัง
ค. นายอำเภอสามพราน
ง. ปลัดอำเภอผู้เป็นหัวหน้าประจำกิ่งอำเภอพุทธมลฑล
จ. ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร

42. ผู้ที่ดำรงตำแหน่งต่อไปนี้ ผู้ใดมิได้เป็นผู้อำนวยการศูนย์ อปพร.
ก. อธิบดีกรมการปกครอง ข. ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
ค. นายอำเภอ ง. ปลัดเมืองพัทยา
จ. ผู้อำนวยการเขตในสังกัดกรุงเทพมหานคร

43. เมื่อแรกประกาศใช้ พรบ. ป้องกันและระงับอัคคีภัย พ.ศ. 2459 นั้น ให้ใช้บังคับในเขตพื้นที่ใดก่อน
ก. ในเขตเทศบาลซึ่งเป็นที่ตั้งของศาลากลาง
ข. ในเขตเทศบาล และสุขาภิบาลทุกแห่ง
ค. ในเขตกรุงเทพ ธนบุรี และเทศบาลทุกแห่ง
ง. ในเขตเทศบาลทุกแห่ง
จ. ไม่มีข้อใดถูกต้อง

44. ข้อใดต่อไปนี้ มิใช่ มาตรการป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน
ก. มาตรการป้องกัน ข. มาตรการคุ้มกัน
ค. มาตรการระงับ ง. มาตรการคุ้มกัน
จ. มาตรการฟื้นฟูและบูรณะ

45. บุคคลใดดำรงตำแหน่งต่อไปนี้มิได้เป็นเจ้าของท้องถิ่นตาม พ.ร.บ. ป้องกันและระงับอัคคีภัย พ.ศ. 2595 แก้ไข เพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2499
ก. นายกเทศมนตรี ข. ประธานกรรมการสุขาภิบาล
ค. ผู้ว่าราชการจังหงวัด ง. อธิบดีกรมตำรวจ
จ. ปลัดเมืองพัทยา

46. เจ้าหน้าที่ท้องถิ่นไม่สามารถแต่งตั้งบุคคลผู้ดำรงตำแหน่งต่อไปนี้ให้เป็นนายตรวจ พ.ร.บ. ป้องกันและระงับ อัคคีภัย พ.ศ. 2495 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2499 ได้
ก. ปลัดอำเภอ
ข. พนักงานเทศบาลตั้งแต่ชั้นตรีขึ้นไป
ค. พนักงานสุขาภิบาลตั้งแต่ชั้นตรีขึ้นไป
ง. หัวหน้าส่วนราชการประจำอำเภอ
จ. กรรมการสุขาภิบาลที่มาจากการเลือกตั้ง

47. หลักเกณฑ์และวิธีการดำเนินการของกระทรวงมหาดไทย เกี่ยวกับการให้ความช่วยเหลือราษฎรที่ประสบภัย ธรรมชาติที่ใช้บังคับอยู่ในปัจจุบันได้แก่ฉบับใด
ก. พ.ศ.2532 ข. พ.ศ.2533
ค. พ.ศ.2535 ง. พ.ศ.2536
จ. พ.ศ.2537

48. วงเงินทดรองราชการ ในอำนาจของผู้ว่าราชการจังหวัดตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจ่ายเงินทดรอง ราชการเพื่อช่วยเหลือราษฎรที่ประสบภัยธรรมชาติ ฉบับที่ใช้บังคับอยู่ในปัจจุบันกำหนดไว้ในวงเงินเท่าใด..เเอ๊คกรุ๊ป
ก. สองล้านบาท ข. สามล้านบาท
ค. สี่ล้านบาท ง. ห้าล้านบาท
จ. เจ็ดล้านบาท

49. ผู้ว่าราชการจังหวัดไม่สามารถ อนุมัติใช้จ่ายเงินทดรองราชการ เพื่อช่วยเหลือในกรณีต่อไปนี้ได้ เนื่องจากมิได้ กำหนดไว้ในหลักเกณฑ์และวิธีการดำเนินการของกระทรวงมหาดไทย
ก. ภาวะฝนแล้ง ข. อุทกภัย วาตภัย
ค. ภัยจากลูกเห็บ ง. ไฟไหม้ชุมชนแออัด
จ. ฟ้าผ่า

50. พรบ. ป้องกันและระงับอัคคีภัย ฉบับที่ใช้บังคับในปัจจุบัน บัญญัติไว้ว่า ในการดับเพลิงเป็นหน้าที่ของ
ก. เจ้าพนักงานปกครอง เจ้าพนักงานตำรวจ และเจ้าหน้าที่ท้องถิ่น
ข. เจ้าพนักงานปกครอง เจ้าหน้าที่ท้องถิ่น และนายตำรวจ
ค. เจ้าพนักงานดับเพลิง เจ้าพนักงานตำรวจ และเจ้าหน้าที่ท้องถิ่น
ง. เจ้าพนักงานดับเพลิง เจ้าพนักงานตำรวจ และเจ้าหน้าที่ท้องถิ่น
จ. เจ้าพนักงานฝ่ายปกครอง เจ้าพนักงานตำรวจ และอาสาสมัคร

51. หัวข้อใดต่อไปนี้ ข้อใด มิใช่ ลักษณะงานป้องกันภัยฝ่ายพลเรือนในปัจจุบัน
ก. เป็นงานเฉพาะกิจเมื่อเกิดภัยขึ้น ก็เรียกระดมหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าปฏิบัติหน้าที่โดยฉับพลัน
ข. เป็นงานที่จะต้องปฏิบัติตามแผนอย่างเป็นระบบเพื่อลดความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้น
ค. เป็นงานที่สามารถกำหนดระยะเวลาที่จะเกิดขึ้นโดยประมาณ และเตรียมการป้องกันล่วงหน้าได้
ง. เป็นงานของทุกกระทรวง ทบวง กรม
จ. ไม่มีคำตอบที่ถูกต้อง..เเอ๊คกรุ๊ป

52. หน่วยราชการต่อไปนี้ หน่วยใดที่มิได้เป็น หน่วยปฏิบัติ ตามแบบแผนป้องกันภัยฝ่ายพลเรือนฉบับปัจจุบัน
ก. สำนักนายกเทศมนตรี ข. กระทรวงกลาโหม
ค. กระทรวงการต่างประเทศ ง. กระทรวงอุตสาหกรรม
จ. ทบวงมหาวิทยาลัย

53. ใครเป็นผู้มีอำนาจให้ความเห็นชอบ แผนป้องกันภัยฝ่ายพลเรือนของจังหวัด
ก. นายกรัฐมนตรี ข. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
ค. ปลัดกระทรวงมหาดไทย ง. อธิบดีกรมการปกครอง
จ. ผู้ว่าราชการจังหวัด

54. แผนป้องกันภัยฝ่ายพลเรือนฉบับปัจจุบันของประเทศ ได้แก่
ก. แผนป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน พ.ศ.2533 ข. แผนป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน พ.ศ.2534
ค. แผนป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน พ.ศ. 2535 ง. แผนป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน พ.ศ.2536
จ. แผนป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน พ.ศ.2537

55. หัวข้อต่อไปนี้ข้อใดมิใช่องค์ประกอบในการปฏิบัติงานข่าว
ก. หน่วยข่าว ข. เป้าหมายของข่าว
ค. แหล่งข่าว ง. หน่วยตรวจและกรองข่าว
จ. ระบบการติดต่อและรายงาน

56. หัวข้อต่อไปนี้ ข้อใด เป็นวิธีการหาข่าวด้วยตนเอง
ก. การคัดเลือก ข. การทาบทามชักชวน
ค. การลวงถาม ง. การระวังตัว
จ. การสืบสวน

57. หัวข้อใด มิใช่ ลักษณะของรายงานข่าวที่ดี
ก. ข้อความชัดเจน ไม่คลุมเครือ ข. ยืนยันหลักฐาน สถานที่ พิกัดแผนที่
ค. ทำให้ทราบว่าใครทำอะไร ที่ไหน เมื่อไหร่ อย่างไร.
ง. ไม่มีข้อเสนอแนะหรือข้อคิดเห็นอื่นปะปน
จ. ต้องระบุค่าของข่าวให้ชัดเจน

58. การจัดตั้งกองร้อย อส. ขึ้นในท้องที่ใดๆ เป็นอำนาจของบุคคลใด ตามหัวข้อต่อไปนี้
ก. ผู้อำนวยการสำนักอำนวยการอาสารักษาดินแดน
ข. อธิบดีกรมการปกครอง
ค. ปลัดกระทรวงมหาดไทย
ง. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
จ. คณะรัฐมนตรี

59. ตำแหน่งทางอาสารักษาดินแดนของอธิบดีกรมการปกครอง คือ
ก. ผอ. อส. ข. ผบ.อส.
ค. ผอ.สน.อส. ง. หน.ฝ.บก.อส.
จ. ผบช.อส.กลาง

60. หัวข้อใด มิใช่ ลักษณะของการพิทักษ์พื้นที่เขตหลัง
ก. การระวังป้องกันสถานที่ตั้งหน่วย
ข. การใช้กำลังประชาชนอาสาสมัครควบคุมสถานที่ราชการ ถนน สะพาน และสถานที่สำคัญอื่นๆ
ค. การปฏิบัติการลบเพื่อป้องกันตนเองเป็นหลัก
ง. เป็นการปฏิบัติการที่ไม่มุ่งทำลายล้างข้าศึก
จ. การควบคุมความเสียหายและเร่งฟื้นฟูบูรณะ

61. หลักเกณฑ์การจัดตั้งอำเภอตามมติคณะรัฐมนตรีที่ถือปฏิบัติอยู่ในขณะนี้ กำหนดไว้ว่า อำเภอจะต้องมีพลเมือง เท่าไร
ก. พลเมือง 20,000 คน ข. พลเมือง 20,000 คนขึ้นไป
ค. พลเมือง 25,000 คน ง. พลเมือง 25,000 คนขึ้นไป
จ. ถูกเฉพาะข้อ ค. และ ง.

62. ปัจจุบันประเทศไทยมีกี่จังหวัด
ก. 73 ข. 74
ค. 75 ง. 76.
จ. 77

63. พระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ พุทธศักราช 2547 มีกี่แก้ไขจนถึงปัจจุบันกี่ครั้ง
ก. 7 ครั้ง ข. 8 ครั้ง
ค. 9 ครั้ง ง. 10 ครั้ง
จ. 12 ครั้ง

64. การเปลี่ยนแปลงเขตตำบลต้องได้รับอนุมัติจากใครและต้องทำเป็นอะไร
ก. จังหวัด/ประกาศจังหวัด
ข. กรมการปกครอง/ประกาศจังหวัด
ค. กระทรวงมหาดไทย/ประกาศกระทรวงมหาดไทย
ง. กรมการปกครอง/ประกาศกระทรวงมหาดไทย
จ. กระทรวงมหาดไทย/ประกาศจังหวัด

65. ที่ดินสาธารณะประโยชน์ประเภทใดที่อยู่ในความดูแลของกรมการปกครอง
ก. ที่ดินรกร้างว่างเปล่า
ข. ที่ดินที่ใช้ประโยชน์ในราชการโดยเฉพาะ
ค. ที่ดินสาธารณะประโยชน์ประจำตำบลหมู่บ้าน
ง. ที่ดินที่ประชาชนใช้ประโยชน์ร่วมกัน
จ. แม่น้ำ ลำคลอง หนอง บึง

66. การเลือกผู้ใหญ่บ้านแทนตำแหน่งที่ว่างต้องกระทำภายใน
ก. 15 วันนับแต่วันที่นายอำเภอทราบการว่าง
ข. 60 วันนับแต่วันที่นายอำเภอทราบการว่าง
ค. 15 วันนับแต่วันที่ตำแหน่งผู้ใหญ่บ้านว่างลง
ง. 60 วันนับแต่วันที่ตำแหน่งผู้ใหญ่บ้านว่างลง
จ. ถูกเฉพาะข้อ ก. และ ข.

67. ขั้นตอนการเลือกผู้ใหญ่บ้านข้อใดถูกต้องที่สุด
ก. นายอำเภอจัดทำบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิ์เลือกจำนวนตามความเหมาะสม
ข. ปิดประกาศบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิ์เลือกก่อนวันเลือกไม่น้อยกว่า 3 วัน
ค. นายอำเภอประชุมราษฎรเพื่อกำหนดวันเลือก สถานที่เลือก เวลาลงคะแนน ตามที่ราษฎรต้องการ
ง. ผู้มีสิทธิเลือกสามารถตรวจสอบและขอแก้ไขบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือก ก่อนวันเลือก 3 วัน
จ. ผู้มีสิทธิเลือกตกลงกันเองว่าจะใช้วิธีเลือกโดยเปิดเผยหรือวิธีลับแล้วเสนอนายอำเภอให้ดำเนินการ

68. การเลือกกำนัน ต.ไผ่แดง เมื่อ 30 เมษายน 2537 มีผู้ใหญ่บ้านสมัคร 2 คน ได้แก่ ผู้ใหญ่เชียร อายุ 59 ปี เป็น ผู้ใหญ่บ้านเมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม 2515 และผู้ใหญ่เชาว์ อายุ 39 ปี เป็นผู้ใหญ่บ้านเมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม 2535 ข้อความใดถูกต้องที่สุด
ก. ผู้ใหญ่เชียรได้รับเลือกจะเป็นกำนันถึง 29 เมษายน 2542
ข. ผู้ใหญ่เชาว์ได้รับเลือกจะเป็นกำนันถึงวันที่ 29 เมษายน 2542
ค. ผู้ใหญ่เชียรได้รับเลือกจะเป็นกำนันถึงวันที่ 30 พฤษภาคม 2538
ง. ผู้ใหญ่เชาว์ได้รับเลือกจะเป็นกำนันถึงวันที่ 9 กรกฎาคม
จ. ผู้ใหญ่เชาว์ได้รับเลือกจะเป็นกำนันถึงอายุครบ 60 ปีบริบูรณ์

69. ผู้ใหญ่ประวิตรมีอายุครบ 60 ปี ในวันที่ 6 กรกฎาคม 2535 ด้วยความที่อยากเป็นผู้ใหญ่บ้านต่อไป จึงลาออก
เมื่อ 7 กรกฎาคม 2535 นายอำเภอได้กำหนดให้มีการเลือกตั้งผู้ใหญ่บ้านใหม่ในวันที่ 23 กรกฎาคม 2535 ข้อความใดถูกต้องที่สุด
ก. ถ้าผู้ใหญ่ประวิตรได้รับเลือกจะอยู่ในตำแหน่งครบวาระ 5 ปี
ข. ถ้าผู้ใหญ่ประวิตรไม่มีสิทธิสมัครรับเลือกจะอยู่ในตำแหน่งจนครบ 60 ปี เท่านั้น
ค. ผู้ใหญ่ประวิตรไม่มีสิทธิสมัครรับเลือก เพราะขาดคุณสมบัติ
ง. ถ้าผู้ใหญ่ประวิตรได้รับเลือกอีก จะต้องกลับไปรับเงินค่าตอบแทนขั้นต้นใหม่
จ. ถูกเฉพาะข้อ ก. และ ง.

70. การลงประชามติให้ผู้ใหญ่บ้านออกจากตำแหน่งตามมาตรา 14(6) แห่ง พ.ร.บ. ลักษณะปกครองท้องที่ พุทธศักราช 2457 ผู้ใหญ่บ้านจะต้องออกจากตำแหน่งเมื่อ
ก. ผู้มาประชุมเกินกึ่งหนึ่งร้องขอให้ออก
ข. ราษฎรในหมู่บ้านนั้นเกินกึ่งหนึ่งร้องขอให้ออก
ค. ราษฎรผู้มีสิทธิเลือกผู้ใหญ่บ้านในหมู่บ้านนั้นเกินกึ่งหนึ่งร้องขอให้ออก
ง. ราษฎรที่บรรลุนิติภาวะแล้วในหมู่บ้านนั้นเกินกึ่งหนึ่งร้องขอให้ออก
จ. ราษฎรที่มีภูมิลำเนา ถิ่นที่อยู่ และมีชื่อในทะเบียนบ้านในหมู่บ้านนั้นเกินกึ่งหนึ่งขอให้ออก

71. ข้อความใดถูกต้อง
ก. กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ได้รับสวัสดิการจากรัฐเหมือนข้าราชการทุกประการ
ข. กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ที่เดินทางไปราชการมีสิทธิลดค่าโดยสารรถไฟครึ่งราคา
ค. กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน มีสิทธิรถค่าโดยสารรถไฟครึ่งราคาทุกชั้น..เเอ๊คกรุ๊ป
ง. กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน มีสิทธิลดค่าโดยสารรถไฟครึ่งราคาเฉพาะชั้น 3
จ. กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน มีสิทธิลดค่าโดยสารรถไฟไม่เท่ากัน

72. เมื่อเจ้าของที่ดินเสียภาษีในข้อใดแล้วไม่ต้องเสียภาษีบำรุงท้องที่
ก. ภาษีมูลค่าเพิ่ม ข. ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
ค. ภาษีเงินได้นิติบุคคล ง. ภาษีการค้า
จ. ภาษีโรงเรือนและที่ดิน

73. ที่ดินในข้อใดที่เจ้าของที่ดินไม่ต้องเสียภาษีบำรุงท้องที่
ก. นิคมสร้างตนเอง ข. โรงเรียนเอกชน
ค. โรงพยาบาลเอกชน ง. ตลาดเทศบาล
จ. เหมืองแร่

74. หากเจ้าของที่ดินไม่ชำระภาษีบำรุงท้องที่ภายในเดือนเมษายนของทุกปีจะต้องเสียเงินเพิ่มอีกร้อยละเท่าไรของ จำนวนที่ต้องเสียภาษีบำรุงท้องที่
ก. ร้อยละ 12 ต่อปี ข. ร้อยละ 15 ต่อปี
ค. ร้อยละ 18 ต่อปี ง. ร้อยละ 20 ต่อปี
จ. ร้อยละ 20 ต่อปี

75. กรณีการเช่านาตามพระราชบัญญัติเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2524 หากการเช่ารายใดไม่ได้กำหนดระยะเวลา การเช่าไว้ถือว่าการเช่านั้นมีกำหนดเวลา
ก. 3 ปี ข. 4 ปี
ค. 5 ปี ง. 6 ปี
จ. แล้วแต่ผู้เช่าและผู้ให้เช่าจะตกลงกันเอง

76. ประธานคณะกรรมการการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมประจำตำบลได้แก่
ก. ปลัดอำเภอผู้รับผิดชอบประจำตำบลนั้น ข. ปลัดอำเภอที่นายอำเภอมอบหมาย
ค. กำนัน ง. พัฒนากรประจำตำบลนั้น
จ. ถูกเฉพาะข้อ ก. และ ข.

77. นายสุเมธ ไปแจ้งความประสงค์จะฆ่าสุกรต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ และเมื่อได้รับแจ้งดังกล่าว พนักงานเจ้าหน้าที่ จะต้องออกหลักฐานให้กับนายสุเมธ คือ
ก. อาชญาบัตรสุกร ข. ใบอนุญาตฆ่าสุกร
ค. แบบตอบรับแจ้งการฆ่าสุกร ง. ถูกเฉพาะข้อ ก. และ ข.
จ. ถูกเฉพาะข้อ ข. และ ค.

78. กรณีเกษตรกรสูญเสียกรรมสิทธิในที่ดิน และต้องการจะขอกู้เงินทุนหมุนเวียนเพื่อปลดเปลื้องหนี้สินเดิมของ เกษตรกรที่ยากจนนำไปซื้อที่ดินคืน ในฐานะฝ่ายปกครอง ท่านจะแนะนำให้เกษตรกรไปติดต่อหน่วยงานใดที่ ทำหน้าที่รับผิดชอบเรื่องดังกล่าว
ก. อชก. ส่วนอำเภอ ข. กบส.
ค. คชก. จังหวัด ง. สำนักงานปฏิรูปที่ดินจังหวัด
จ. ถูกทุกข้อ

79. การพัฒนาตามแนวอุดมการณ์แผ่นดินธรรม แผ่นดินทอง เป็นการพัฒนาอย่างมีดุลยภาพโดยประกอบด้วย แนวทาง
ก. การพัฒนาจิตใจกับการพัฒนาวัตถุ
ข. การพัฒนาจิตใจ การปกครอง และการพัฒนาสังคม
ค. การพัฒนาจิตใจ สังคม และเศรษฐกิจ
ง. การพัฒนาจิตใจ และเศรษฐกิจ
จ. ไม่มีข้อใดถูกต้อง

80. กรรมการหมู่บ้านผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการหมู่บ้าน มีวาระการดำรงตำแหน่ง
ก. 2 ปี ข. 3 ปี
ค. 4 ปี ง. 5 ปี
จ. 6 ปี

81. การเลือกตั้งคณะกรรมการหมู่บ้านผู้ทรงคุณวุฒิขึ้นแทนตำแหน่ง ให้กระทำภายใน
ก. 90 วัน นับแต่วันที่ตำแหน่งนั้นว่าง
ข. 60 วัน นับแต่วันที่ตำแหน่งนั้นว่าง
ค. 45 วัน นับแต่วันที่ตำแหน่งนั้นว่าง
ง. 30 วัน นับแต่วันที่ตำแหน่งนั้นว่าง
จ. 15 วัน นับแต่วันที่ตำแหน่งนั้นว่าง

82. การพิจารณาแนวเขตปกครองของหน่วยการปกครองต่าง ๆ ให้พิจารณาจาก
ก. พระราชบัญญัติจังหวัด
ข. พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งอำเภอ..เเอ๊คกรุ๊ป
ค. ประกาศกระทรวงมหาดไทยตั้งกิ่งอำเภอ
ง. ประกาศกระทรวงมหาดไทยตั้งตำบล
จ. ถูกทุกข้อ

83. ฝ่ายประชาอาสา ตามแบบมาตรฐาน มข. 2527 เหมาะสำหรับใช้ในการก่อสร้างกั้นลำน้ำขนาด
ก. ลึกไม่เกิน 3.50 เมตร กว้างไม่เกิน 15 เมตร
ข. ลึกไม่เกิน 5 เมตร กว้างไม่เกิน 15 มตร
ค. ลึกไม่เกิน 5 เมตร กว้างไม่เกิน 20 เมตร
ง. ลึกไม่เกิน 3.50 เมตร กว้างไม่เกิน 20 เมตร
จ. ปรับได้ทุกขนาดของลำน้ำ

84. โครงการที่ไม่สามารถขอรับการสนับสนุนงบประมาณแหล่งน้ำขนาดเล็กของกรมการปกครอง คือ
ก. อ่างเก็บน้ำวงเงิน 300,000 บาท ข. ฝ่ายประชาอาสา วงเงิน 380,000 บาท
ค. บ่อบาดาล วงเงิน 100,000 บาท ง. ขุดลอกแหล่งน้ำ วงเงิน 300,000 บาท
จ. ถูกทุกข้อ..เเอ๊คกรุ๊ป

85. ในวันหนึ่งที่คนเราต้องการน้ำบริโภคตามเกณฑ์มาตรฐานเฉลี่ยคนละกี่ลิตร
ก. 2 ลิตร ข. 3 ลิตร
ค. 5 ลิตร ง. 7 ลิตร
จ. 15 ลิตร


เฉลยแนวข้อสอบคัดเลือกข้าราชการเพื่อเข้าศึกษาโรงเรียนปลัดอำเภอ ปี 2537
(เฉลย ณ ปีนั้น)


1. จ. 2. ค. 3. จ. 4. จ. 5. ก.
6. จ. 7. จ. 8. จ. 9. ก. 10. ค.
11. ง. 12. ก. 13. ง. 14. ง. 15. จ.
16. ค. 17. ข. 18. ค. 19. ค. 20. ก.
21. ข. 22. ง. 23. ค. 24. ง. 25. จ.
26. ค. 27. ค. 28. ค. 29. จ. 30. จ.
31. จ. 32. ข. 33. จ. 34. จ. 35. จ.
36. ค. 37. ข. 38. ง. 39. ง. 40. ค.
41. ง. 42. ก. 43. ง. 44. ค. 45. ง.
46. ไม่มีข้อถูก 47. ง. 48. จ. 49. ง. 50. ง.
51. กง 52. ข. 53. ข. 54. ง. 55. จ.
56. ค. 57. ง. 58. ง. 59. ง. 60. ง.
61. ง. 62. ค. 63. ค. 64. จ. 65. ง.
66. ก. 67. ง. 68. ง. 69. ค. 70. ค.
71. ค. 72. จ. 73. ก. 74. จ. 75. ง.
76. ค. 77. ข. 78. ก. 79. ค. 80. ง.
81. ข. 82. จ. 83. ง. 84. ค. 85. ก.





 

Create Date : 14 กรกฎาคม 2551    
Last Update : 13 กุมภาพันธ์ 2552 14:56:25 น.
Counter : 2950 Pageviews.  

แนวเทคนิคข้อสอบปลัดอำเภอ

ระเบียบข้าราชการพลเรือน 1.เมษา 2535 (นายกรักษาการ)
กรณีการตอบคำตอบที่มีข้อถูกที่สุดให้เลือกตอบข้อที่ถูกที่สุดตามกฏหมายหลัก เช่นตามรัฐธรรมนูญ ระบุไว้ก่อนแล้วรองลงมาเป็น พรบ.
ก.พ. = คณะกรรมการข้าราชการพลเรือน = 15-17 คน < 5 + 5+5-7 > ( โดยการโปรดเกล้าฯ )



ตำแหน่ง = 5 คน ข้าราชการ = 5 คน = 2 ปี ผู้ทรงคุณวุฒิ = 5 - 7 คน = 2 ปี

- นายก ประธาน - ปลัด, รองปลัด - อธิบดี,เทียบเท่า C.10
- ปลัด คลัง - หัวหน้า , รองหัวหน้าไม่สังกัด - ผู้ชำนาญการระบบราช,จัด
- ผอ. งบ - หัวหน้า , รองหัวหน้าขึ้นตรงนายก ส่วน,พัฒนาองค์บริหาร
- เลขาเศรษฐกิจสังคม - อธิบดี,ผู้ว่า กฎหมาย (ได้แค่ 3 คน)
- เลขา กพ. C.10 นั้นยกเว้นขึ้นตรงและไม่สังกัด


อกพ.กระทรวง = 11 คน * อกพ. ตามกฎหมายมี 4 ระดับ
1. กระทรวง
2. ทบวง
ตำแหน่ง = 3 ประธานแต่งตั้ง = 8 3. กรม
4 จังหวัด.
- รมว. ประธาน 1คน - คุณวุฒิ ไม่ต่ำกว่าอธิบดี 3 คน 3 = C.10
- ปลัด รองประธาน 1คน - เลือกจากข้าราชการ C.10 ขึ้นไป 5 คน 5
- ผู้แทน กพ. 1 คน

อกพ. กรม = 11 คน กพ. = 15-17
อกพ.กระทรวง = 11
อกพ.กรม = 11
ตำแหน่ง = 2 ประธานแต่งตั้ง = 9 อกพ.จังหวัด = 11
ภพร = 13
- อธิบดี ประธาน - คุณวุฒิ ไม่ต่ำกว่าผอ. รอง 3 คน = C8
- รองอธิบดีมอบหมาย 1 คน - เลือกจาก ผอ.รองขึ้นไป 6 คน = C8


อกพ.จังหวัด = 11 คน


ตำแหน่ง = 2 ประธานแต่งตั้ง = 9

- ผู้ว่า ประธาน - คุณวุฒิไมต่ำกว่า 3 คน = C8
- รองผู้ว่ามอบหมาย 1 คน - เลือก จากหัวหน้าส่วนจังหวั ด 6 คน


กพร.กรรมการพัฒนาระบบราชการ = 13 คน


ตำแหน่ง = 3 ครม.แต่งตั้ง = 10

- นายก / รองมอบหมาย ประธาน - คุณวุฒิ 10 คน = วาระ 4 ปี
- รมต 1 คน * - คุณวุฒิ 3 คน ด้วยการทำงานเต็มเวลา
* - กก.กล. 1 คน

* กพร. ไม่มีฐานะเป็นกรม ขึ้นตรงนายก
มีเลขา กพร. เทียบเท่า อธิบดี

ข้าราชการพลเรือน คือ บุคคล บรรจุ ตามพรบ. รับเงินเดือน กระทรวง ทบวงกรมฝ่ายพลเรือน
ข้าราชการพลเรือน มี 3 ประเภท 1. พลเรือนสามัญ รับเงินเดือนในอัตราสามัญ
2. พลเรือนในพระองค์ ตามกำหนด กรฎ.
3. พลเรือนประจำต่างประเทศ กรณีพิเศษ
ข้าราชการพลเรือน มี 3 ตำแหน่ง 1. ทั่วไป
2. วิชาชีพเฉพาะ , เชี่ยวชาญเฉพาะ ตามกำหนด กรฎ.
3. บริหารระดับสูง , กลาง ตามกำหนด กรฎ.
ข้าราชการพลเรือน มี 11 ระดับ
กพ. จัดทำมาตรฐานกำหนดตำแหน่ง

การบรรจุ

- C.11 = รมต ครม. นายกทูลแต่งตั้ง รมต.บรรจุ
- C.10 = ปลัด ครม. นายกทูลแต่งตั้ง ปลัดบรรจุ
- C.9 = ปลัดบรรจุแต่งตั้ง
- C.8 = อธิบดีบรรจุโดยขอปลัด
- C.7 = อธิบดีบรรจุแต่งตั้ง (ส่วนกลาง)
- C.7 = ผู้ว่าบรรจุแต่งตั้ง (ยกเว้นหัวหน้าส่วนประจำจังหวัด)

- โรคที่ห้าม ตาม กฎ กพ. 5 อย่าง = โรคเรื้อน , วัณโรค , โรคเท้าช้าง , ติดยาเสพติด , พิษสุรา
- ออกไปรับราชการ ทหาร ขอกลับ ภายใน 180 วัน นับแต่วันพ้น (ปลด)
- กรณีตำแหน่ง ว่าง หรือ ปฏิบัติหน้าที่ไม่ได้ และมิได้บัญญัติไว้ในพรบ. แผ่นดินให้กำหนด การรักษาการในตำแหน่ง = พลเรือน
วินัย คือ ระเบียบ ข้อบังคับ หรือแบบแผนความประพฤติที่กำหนดให้ข้าราชการพึงควบคุมตนเอง และผู้ใต้บังคับ
โทษ 5 สถาน = 1. ภาคทัณฑ์
2. ตัดเงินเดือน ไม่ร้ายแรงโทษตามความเห็นผู้บังคับบัญชา
3. ลดขั้นเงิน * ทัณฑ์บน , ว่ากล่าว
4. ปลดออก ร้ายแรง ตั้งกรรมการสอบ ไม่ใช้โทษทางวินัย
5. ไล่ออก
การตัดเงินเดือน – ลดขั้น
ระดับ - กอง = 5% - 1 เดือน
- สำนัก = 5% - 2 เดือน
- ผู้ว่า , กรม = 5% - 3 เดือน ลด 1 ขั้น

การอุทธรณ์

คำสั่งต่ำกว่า
- ผู้ว่า อุทธรณ์ อกพ.จังหวัด
- อธิบดี กรม
คำสั่งของ - ผู้ว่า , อธิบดี อกพ. กระทรวง
คำสั่งของ - ปลัด นายก กพ.

* คำสั่งลงโทษ ตัด – ลดเงินเดือน อุทธรณ์ ภายใน 30 วัน นับแต่วันทราบคำสั่ง
* คำสั่งลงโทษ ปลด – ไล่ อุทธรณ์ต่อ กพ. ใน 30 วัน นับแต่วันทราบคำสั่ง
* การร้องทุกข์ กรณีถูกสั่งให้ออกไม่ว่ากรณีใดให้ ร้องทุกข์ ภายใน 30 วัน
* สนง.เลขา รมต ว่าการกระทรวง / ทบวงและสนง.ปลัดกระทรวง / ทบวง ทำหน้าที่ อกพ. กรม.
* C.10 , 11 แต่งตั้ง - ถอดถอนต้องนายกทูลเกล้า
- ตำแหน่งผู้บริหารระดับสูงกำหนดไว้ = พระราชกฤษฏิกา
- กรณีหน่วยงานเห็นว่า กพ. กำหนดแต่งตั้งไม่เหมาะสม ให้เสนอเรื่องต่อ ครม.
- ผอ.สำนักงบประมาณ C11. เป็นผู้บังคับบัญาหน่วยงานระดับกรม แต่ C11.
- ม. 68 = กำหนดการรักษาการในตำแหน่งไว้
- การโอน ผู้ว่า C10. มาดำรงตำแหน่ง รองอธิบดี C9. = ต้องได้รับอมุมัติจาก ครม.
- กรณีมี มลทิน หรือ มัวหมอง ผู้บังคับบัญชาอาจสั่งให้ออกเพื่อรับบำเหน็จ ฯ
- จรรยาบรรณข้าฯ ระบุไว้แผวพัฒนาเศรษฐกิจ ฉบับที่ 8
วุฒิ 200 6 < อายุ 40 > รัฐธรรมนูญ - 2840
คน รวม
ตรวจแผ่นดิน = 3 6
ตรวจเงิน = 10 6 วุฒิสนอง - วาระเดียว
กก. สิทธิ = 11 6

40 ปี กกต. = 5 7 วุฒิสนอง = วาระเดียว

45 ปี ปปช = 9 9
ศาลรัฐธรรมนูญ = 15 9 วุฒิสนอง = วาระเดียว
- กก. ศาล ยุติธรรม = 18
- ศาลปกครอง = 13 คน นายกสนอง
- กพ. = 15-17 คน
- กพร. = 13 คน
- อกพ. = 11 คน
- องค์มนตรี = 19 คน
- แผนกคดีเมือง = 9 คน
- กก. ปฏิบัติปกครอง = 11-15 คน
- กก. ข้อมูลข่าว = 24 คน
- กก. วินิจฉัย = 3 คน
- กก. ศาลยุติธรรม = 15 คน

ไม่ไว้วางใจ รมต. เสียง = 1/5
ไม่ไว้วางใจ นายก เสียง = 2/5
ไม่ไว้วางใจ ครม เสียง = 3/5
- เสอนชื่อ นายก สส. ไม่น้อย = 1/5 /ผู้นำฝ่ายค้านมีเสียง = 1/5
- เห็นชอบตั้งนายก ไม่น้อย = 1/2
- ครม. แถลงนโยบาย = 15 วัน แล้วเลขาครม ,เลขานายก,เศรษฐกิจสังคม,งบประมาณจัดทำแผน เสนอ ครม = 90 วัน 4 ปี
- ประชุมลับ = 1/4
- สภา ครบวาระ เลือกใหม่ = 45 วัน /กรณีว่างเลือกใหม่ 60 วัน สภาผู้แทนครบวาระ = 45
สภา ฯ - วุฒิครบวาระเลือกใหม่ =30 วัน /กรณีว่างเลือกใหม่ 45 วัน ยุบสภา = 60
- ยุบสภาครบวาระเลือกใหม่ =60 วัน วุฒิสภาครบ = 30
ว่าง = 45
รัฐธรรมนูญ = 11 ตุลา 2540 ปีที่ 52 ฉบับที่ 16 มี 12 หมวด 336 ม.
- * พรบ. ที่รัฐสภาเห็นชอบแล้ว นายกทูลฯ ภายใน 20 วัน
ผู้สำเร็จราชการ ฯ = ลงนามรับสนอง = ประธานรัฐสภา
= ยุบสภา = วุฒิสภา
- เปิดประชุม ปิด = พรฎ
- เลือก สส. ตราเป็น = พรบ.
- ผู้นำฝ่ายค้านมีเสียง = 1/5
- วุฒิพิจารณาร่าง ฯ ที่สภา สส. เสนอมา = 60 วัน เกิน 30 วัน/กรณีผ่านสภามาแล้วเห็นชอบ = 20 วัน
ยกร่างผ่าน 180 วัน ได้ทันที
- วุฒิ ฯ มีอำนาจถอดถอน ผู้ดำรงตำแหน่งสูง
- กกต. ครบตามวาระเลือกใหม่ = 45 วัน(อายุ 40 ปี )
- แผนนิติบัญญัติ สน. เลขา นายก + สน. กฤษฎิกา

การรักษาราชการ , การมอบอำนาจ

* ระเบียบการบริหารราชการแผ่นดินระบุไว้ เรื่องการดำเนินการแทนคือ
1. การรักษาราชการแทน
2. การปฏิบัติราชการแทน
* แต่ถ้าตำแหน่งใดไม่มีบัญญัติไว้ใน พรบ. ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน 2534 ให้ ใช้คำว่า รักษาการ เช่น
- รักษาการในตำแหน่ง
- หมายเหตุ กรณี ปลัดจังหวัดไม่ได้บัญญัติไว้แต่คณะกรรมการกฤษฎีกาตีความไว้ให้นายอำเภอรักษาราชการแทน
- การปฏิบัติราชการแทน = การมอบอำนาจในการสั่งการให้ผู้อื่นทำแทนตนโดยทำเป็นหนังสือ
หมายเหตุ การมอบอำนาจให้แล้ว ผู้ที่ได้รับมอบ จะมอบให้คนอื่นโดยพละการไม่ได้ แต่มีข้อกรณียกเว้น ถ้าเจ้าของอำนาจที่แท้จริง เขียนบัญญัติไว้ว่า ให้ผู้ที่ได้รับมอบอำนาจไป อาจมอบอำนาจต่อให้ใคร…………ก็ได้ตามที่เจ้าของอำนาจเขียนไว้
* - กรณี ผู้ว่าได้รับมอบอำนาจมาจากผู้ที่ให้อำนาจ และผู้ว่าต้องการมอบอำนาจนั้นให้รองผู้ว่า กรณีเช่นนี้ ผู้ว่าสามารถมอบให้รองผู้ว่าได้เลย เพียงแต่แจ้งให้ผู้มีอำนาจ(เจ้าของ)ทราบเท่านั้น
- แต่ถ้าผู้ว่าจะมอบให้ปลัดจังหวัด ลงมา ผู้ว่าต้องขออนุมัติจากเจ้าของอำนาจเสียก่อนจึงจะมอบได้
* ผู้ว่าฯ สามารถมอบอำนาจให้ตั้งแต่รองผู้ว่าฯลงมา ปลัดจังหวัด หัวหน้าส่วนจังหวัด นายอำเภอ ปลัดอำเภอหัวหน้ากิ่ง หัวหน้าส่วนอำเภอ ได้ แต่ไม่สามารถให้หัวหน้าส่วนกิ่งได้
- การรักษาราชการแทน กรณี
- ไม่มีผู้ดำรงตำแหน่ง นายอำเภอ ให้ผู้ว่าแต่งตั้งปลัดอำเภอ หรือหัวหน้าส่วนประจำอำเภอ รักษาราชการแทน
- มีผู้ดำรงตำแหน่งนายอำเภอ แต่ไม่อาจปฏิบัติการได้ ให้นายอำเภอแต่งตั้งปลัดอำเภอ หรือหัวหน้าส่วนประจำอำเภอ
- มิได้แต่งตั้งไว้(ผู้ว่าหรือนายอำเภอที่ได้แต่งตั้งไว้) ผู้รักษาราชการแทนไว้ให้ปลัดอำเภอรักษาราชการแทนไว้
สาระสำคัญ
อุดมการณ์ แผ่นดินธรรมแผ่นดินทอง = - พัฒนาคน
= - พัฒนาชุมชน
= - พัฒนาสังคม
= - พัฒนาหมู่บ้านชนบท
พัฒนาอย่างมีดุลยภาพ = - พัฒนาเศรษฐกิจ (1)
3 ด้าน = - พัฒนาสังคม (2)
= - พัฒนาจิตใจ (3)
- เกษตร ทษฎีใหม่ แบ่งพื้นที่สัดส่วน =30-30-20-20
- S = if Sufficient Economy = เศรษฐกิจพอเพียง (SSE)
- การแจ้งคำสั่งทางปกครอง แจ้งทางไปรษณีย์ ภายในประเทศ = 7 วัน
- อาคาร ที่อยู่มีคนมากเกินไป =1:3 ตรม.
- การเช่า ไม่ได้กำหนดระยะเวลา = 6 ปี
- การค้น = - ค้นตัวบุคคล
- ค้นสถานที่
- แผนพัฒนาอำเภอ = 3 ประเภท - แผนพัฒนาอำเภอ 5 ปี
- แผนพัฒนาอำเภอ ประจำปี
- แผน ปฏิบัติการ อำเภอประจำปี
- รมว.มท = ผอ.ป้องกันภัยฝ่ายพลเรือนทั่วราชอาณาจักร
- Re – X – Ry ประกาศล้างยาเสพติด = ครั้งที่ 3

คณะกรรมการสถานะการฉุกเฉิน

1. นายก / รองฯ มอบหมาย = ประธาน - มีคณะทั้งหมด รวมประธานด้วย = 19 คน
- เลขาธิการสภาความมั่นคง = เป็นเลขานุการ
- คารวาน แก้จน เริ่ม 1 สิงหาคม 2548
- Smrt crd = เริ่มตามกฏหมาย 1 กันยายน 2548 3 จังหวัดภาคใต้
- โครงการปลัดตำบล = สน. กิจการความมั่นคง ภายใน = ปลัดตำบล = 250 ตำบล 3 จังหวัดใต้

กฎหมาย
กฎหมายต้องเป็นคำสั่งหรือข้อบังคับ = มีข้อบังคับทั่วไป
1. รัฐธรรมนูญ = พรบ.ประกอบมี 7 ฉบับ
2. พระราชบัญญัติ = กษัตริย์ ตราขึ้น โดยความยินยอมของรัฐสภา พรบ. = ครม./สส = เสนอร่าง
(รัฐสภา = พิจารณา)
กษัตริย์ = ตรา
3. พระราชกำหนด = กษัตริย์ ตราขึ้น โดยคำแนะนำของนายกฯ พรก. = รมต/นายก = เสนอ
ครม = พิจารณา
กษัตริย์ = ตรา
4. พระราชกฤษฎีกา = กษัตริย์ ตราขึ้น โดยคำแนะนำของ ครม. พรฎ = รมต = เสนอ
ครม = พิจารณา
กษัตริย์ = ตรา
5. กฎกระทรวง = รมต. ดำเนินการให้เป็นไปตาม พรบ. กฎกระทรวง = รมต = เสนอ ครม = พิจารณา
รมต. = ตรา
6. กฎหมายที่ออกโดยองค์กรท้องถิ่น เทศบัญญัติ, ข้อบัญญัติจังหวัด, ข้อบัญญัติตำบล, ข้อบัญญัติกทม., ข้อบัญญัติพิทยา
- การใช้กฎหมาย ไม่มีผลย้อนหลัง ยกเว้น - ระบุไว้ในกม. นั้นเองว่าให้มีผลย้อนหลัง
- ไม่แย้งกันขัดรัฐธรรมนูญ
- การพยายามทำผิดและได้รับการยกเว้นโทษ = มี 3 กรณี
1. พยายามทำผิดลหุโทษ
2. กฎหมายบัญญัติไว้ไม่ให้รับโทษ
3. ยับยั้งเสียเอง.
* ระยะเวลารอการลงโทษ = ไม่เกิน 5 ปี
โทษทางอาญา วิธีเพิ่มความปลอดภัย
1. ริบทรัพย์ 1. กักกัน อายุความ จับไม่ได้, ไม่ได้ฟ้อง
2. ปรับ 2. ห้ามเข้าเขต - 20 ปี = ประหาร ,จำตลอด , 40 ปี ขึ้นไป
3. กักขัง 3. เรียกประกันฑันถ์บน - 15 ปี = จำ 7 ปีขึ้นไปแต่ไม่ถึง 20 ปี
4. จำคุก 4. คุมตัวไว้สถานบริการ - 10 ปี = จำ 1-7 ปี
5. ประหารชีวิต 5. ห้ามประกอบอาชีพ - 5 ปี = จำ 1เดือน – 1 ปี
- 1 ปี = จำ 1 เดือนลงมาหรืออย่างอื่น
* คดียอมความได้ = 3 เดือนรู้เรื่องรู้ตัว
* คดีอุกฉกรรณ์ = จำคุกตั้งแต่ 10ปี ขึ้นไป


- สภาพบุคคล = เริ่มตั้งแต่คลอด ทารก ตาย
- การสิ้นสุดสภาพบุคคล - ตายธรรมชาติ
- ตามตามกฎหมาย = สาบสูญ 1. ธรรมดา = 5 ปี
2. พิเศษ 2 ปี ( สิ้นสุดสงคราม,พาหนะอับปาง, อันตรายชีวิต)
- การบรรลุนิติภาวะ = 20 ปี, สมรส

ผู้เยาว์ = ผู้แทนโดยชอบธรรม
วิกลจริต = คนบ้าแต่ศาลยังไม่ได้สั่ง
คนไร้ความสามารถ = ศาลสั่งให้คนวิกลจริตแล้ว = ผู้อนุบาล ทำแทนทุกเรื่อง
คนเสมือนไร้ความสามารถ = กายพิการ, สุรุ่ยสุร่าย, ติดสุรา = ผู้พิทักษ์ ทำแทนบางเรื่อง



- ภูมิลำเนา = ถิ่นอันบุคคลนั่นมีสถานที่อยู่เป็นแหล่งสำคัญ
- ภูมิลำเนานิติบุคคล = ถิ่นอันเป็นที่ตั้งสำนักงานใหญ่ - สาขา.
- ทรัพย์แบ่งได้ = แยกออกแล้ว แต่ละส่วนยังได้รูปบริบูรณ์
- ทรัพย์แบ่งไม่ได้ = แยกออกแล้ว เปลี่ยนสภาวะ
* - ทรัพย์นอกพาณิชย์ = ทรัพย์ที่ไม่สามารถยึดถือเอาได้, โอนไม่ได้ เช่น ที่สาธารณะ, สิ่งของที่กฎหมายห้ามโอน, ทรัพย์ให้ครอบ
- ดอกผลนิตินัย = ดอกเบี้ย กำไร ค่าเช่า ลาภอื่น ๆ ที่ได้เป็นครั้งคราว

- นิติกรรม มี 4 ประเภท

1. ต้องทำเป็นหนังสือ = สัญญาเช่า
2. เป็นหนังสือต่อ จนท. = พินัยกรรมฝ่ายเมือง ฯ
3. จดทะเบียนต่อ จนท. = จดทะเบียนห้างฯ = สมรส, หย่า
4. ต้องทำเป็นหนังสือและจดต่อ จนท. = ซื้อขายอสังหาริมทรัพย์

- โมฆะ = ตกเป็นอันเสียเปล่าบังคับไม่ได้
- โมฆะ = นิติกรรมสมบูรณ์จนกว่าจะมีการบอกล้างแล้วจึงจะเสียเปล่า เว้นแต่จะให้ (สัตยาบัน) = การแสดงการยอมรับนิติกรรม


พรบ. ระเบียบบริหารแผ่นดิน 2534 . แก้ไข ฉบับที่ 6 พ.ศ. 2546

1. รวมอำนาจ 2. แบ่งอำนาจ 3. กระจายอำนาจ
ส่วนกลาง = นิติบุคคล ส่วนบุคคล ส่วนท้องถิ่น นิติบุคคล
- สำนักนายก - จังหวัด นิติบุคคล - อบจ.
- กระทรวง - อำเภอ - เทศบาล
- ทบวง - สุขาภิบาล
- กรม - พิเศษ< อบต, กทม, พัทยา>

จัดตั้งเป็นพรบ.

1 ส่วนกลาง การจัดตั้ง, รวม โอน สน.นายก เพิ่มอัตราและตำแหน่ง = พรบ.
กระทรวง
รวม โอน ทบวง ไม่เพิ่มอัตราและตำแหน่ง = พรฎ.
เปลี่ยนชื่อ,ยุบ กรม พรฎ.

2. ภูมิภาค - การจัดตั้ง ยุบ เปลี่ยนแปลงเขต จังหวัด จัดตั้ง พรบ. = นิติบุคคล
แบ่งส่วน จว. = 1. สนง, จังหวัด - ผู้ว่าสังกัด สนง.ปลัดมท.
2. ส่วนราชการประจำจังหวัด

- การจัดตั้ง ยุบ เปลี่ยนแปลงเขต อำเภอ จัดตั้ง ตรา พรฎ.
แบ่งส่วน อ. = 1. สนง. อำเภอ – นายอำเภอสังกัดกระทรวงมท. (ตามกฎหมาย) - ปลัดอำเภอ กรมการปกครอง
2. ส่วนราชการประจำอำเภอ

- นายอำเภอมีอำนาจดูแล ที่ชายตลิ่ง ทางน้ำ ทางหลวง ทะเลสาบ
- กรณีมีนายอำเภออยู่ แต่ไม่สามารถปฏิบัติราชการได้ นายอำเภอมีอำนาจแต่งตั้งคนรักษาการแทนได้
- แต่ถ้าไม่มีคนดำรงตำแหน่งนายอำเภอ ให้เป็นอำนาจของผู้ว่า แต่งตั้งคนรักษาฯแทนนายอำเภอ ไล่เสียงไปตามลำดับตั้งแต่ปลัดอำเภอก่อนลงไป


สำนักนายกรัฐมนตรี นิติบุคคล นายก ตรา พรบ. จัดตั้ง
รองนายกฯ
รมต.

ขึ้นตรานายก กพร. ขึ้น ปลัด สน.นายก
1 - เลขาธิการนายก - สนง. ปลัดฯ
2 - เลขา ครม ตรากรฎ - กรมประชาสัมพันธ์
3 - ข่าวกรอง - สนง.คุ้มครองผู้บริโภค
4 - ความมั่นคง ไม่มีฐานะเป็นกรม
5 - งบประมาณ
6 - กฤษฎีกา มีเลชาเทียบเท่าอธิบดี
7 - กพ.
8 - เศรษฐกิจสังคม

กระทรวง พรบ.จัดตั้ง นิติบุคคล


สนง. สมต - ไม่มีฐานะเป็นกรม สนง. ปลัด = เป็นกรม กรม/เรียชื่ออื่น
- เลขานุการ รมต. บังคับบัญชา

* กลุ่มภาระกิจ - ส่วนราชการระดับกรม 2 กรม ขึ้นไป
ออกเป็นกฎกระทรวง - มีหัวหน้ากลุ่มเป็น อธิบดีขึ้นไป (โดยส่วนมากจะให้รองปลัดเป็นหัวหน้า)
- ถ้าขึ้นตรงปลัดให้รายงานปลัด
- ถ้าขึ้นตรง รมต. ให้รายงานปลัดด้วย (โดยส่วนมากให้ขึ้นตรงรมต.)
- การแต่งตั้ง C.9 ในภาระกิจ(กลุ่มภาระกิจ)ให้เป็นอำนาจของปลัดหารือกันหัวหน้ากลุ่ม
* ยกเว้นกลุ่มภาระกิจของหระทรวงต่างประเภท ให้ชั้นตรงปลัดและรายงานให้ รมต. อีกทางด้วย




* งานที่ไม่อยู่ในความรับผิดชอบของกองใดกองหนึ่งโดยเฉพาะ ให้เป็นหน้าที่ของ สำนักบริหารการปกครองท้องที่

กรม นิติบุคคล จัดตั้งตรา พรบ.

สังกัดกระทรวง. ไม่สังกัดกระทรวง
กรม กรม
- สนง. เลขานุการกรม = เทียบเท่ากอง 1 - ราชเลขาธิการ
- กองหรือส่วนมีฐานะเทียบเท่า 2 - ราชวัง
3 - สน.พุทธ
4 - สน.โครงการราชดำริ ขึ้นตรง นายก
5 - สน.กก.วิจัย
6 - ราชบัณทิต
7 – ตำรวจแห่งชาติ
8 - ปปง.
9 - อัยการสูงสุด ขึ้นตรง รมว. ยุติธรรม
* เขต ปฏิบัติราชการทางวิชาการ ( มีหัวหน้าเขตรับนโยบายจากกระทรวง ทบวง กรม)
* บริการงานต่างประเทศ = คณะผู้แทน หัวหน้าคณะ
รองหัวหน้าคณะ ข้าราชการกระทรวงต่างประเทศ





กระทรวงมหาดไทย มี 8 ( 6 รัฐวิสาหกิจ) ส่วนราชการ
1. สนง. รัฐมนตรี ไม่มีฐานะเป็นกรม
2. สนง.ปลัด = กรม = เทียบเท่ากรม
3. กรมปกครอง
4. กรมพัฒนาชุมชน
5. กรมที่ดิน เป็นกรม
6. กรมป้องกันฯ
7. กรมเขต
8. กรมปกครองท้องถิ่น
7 กรม 1 หน่วยงาน

- ที่ทำการปกครองจังหวัด - กลุ่มปกครองและอำนวยฯ การสอบสวนชันสูตร
3 หน่วย = 1 กลุ่ม - ฝ่ายความมั่นคงจัดระเบียบ , อพป, อส
= 2 ฝ่าย - ฝ่ายการเงินบัญชี
- ที่ทำหารอำเภอ - ฝ่ายบริหารงานปกครอง บริงานทั่วไป -อาวุธปืน
4 ฝ่าย - ฝ่ายอำนวยฯ ธรรม ศูนย์ดำรงธรรม - ผู้มีอิทธิพล
- ฝ่ายทะเบียนบัตร
- ฝ่ายความมั่นคง จัดระเบียบสังคม , ชายแดน อพยภ, อพป , อส

* กรมการปกครอง * - 6 สำนัก
- 5 กอง
= 11 ส่วนราชการ
ส่วนกลาง (สำนัก = 6 สน.) กอง (หน่วยภายใน = 3 หน่วย)
1. สน.สอบสวนฯ ทะเบียนความมั่นคง, จัดระเบียบ 1. สนง.เลขากรม = กอง
2. สน. กิจการมั่นคงภายใน ชุนกลุ่มน้อย 2. กองการเจ้าหน้าที่ บริหารบุคคล
3. สน. บริการทะเบียน งานทะเบียนทั่วไป 3. กองคลัง จัดซื้อ – พัสดุ
4. สน. การปกครองท้องที่ กำนันผู้ใหญ่ - ความยากจน SML 4. กองสื่อสาร สื่อสาร
5. สน. อำนวยการกองรักษาดินแดน อส. 5. กองวิชาณและแผนงาน ทำงบประมาณ
6. วิทยาลัยปกครอง พัฒนาบุคลากร
= 5 สำนัก(1 เทียบเท่าสำนัก) = 4 กอง (1 เทียบเท่ากอง)
= 6 หน่วย (สำนัก) = 5 กอง


* จังหวัด จัดตั้งตรา พรบ. = นิติบุคคล
- ยุบ
- เปลี่ยนแปลง
แบ่งส่วน จว.
1. สนง. จังหวัด - ผู้ว่าสังกัด สนง ปลัด มท. แต่งตั้งผู้ว่า C.10 ต้องทูลเกล้า
- หัวหน้า สนง. จว.
- ปลัดจังหวัด กฎหมายไม่ได้ระบุสังกัดไว้
- รองผู้ว่า/ ผู้ช่วยผู้ว่า สังกัด กระทรวง

2. ส่วนราชการประจำจังหวัด
* คณะกรรมการจังหวัด = ปรึกษาแก่ผู้ว่า
= ให้ความเห็นชอบจัดทำแผน
- ผู้ว่า ประธาน
- รองผู้ว่ามอบหมาย
- ปลัดจังหวัด
- อัยการ
- ผบก.
- หัวหน้าส่วนจังหวัด
- หัวหน้าสำนักงานจังหวัด = เลขา

* อำเภอ จัดตั้ง ยุบ เปลี่ยนแปลงตรา พรฎ.
แบ่งส่วน อภ.
1. สนง. อำเภอ - นายอำเภอกฎหมายระบุกระทรวงมหาดไทย
- ปลัดอำเภอกฎหมายระบุกรมการปกครอง
2. ส่วนราชการประจำอำเภอ

อบต. ประกาศ มท.
- สภา ครบวาระ เลือกใหม่ภายใน 45 วัน / ประชุมครั้งแรกภายใน 15 วัน /ต่อไปไม่เกิน 15
ยุบสภา เลือกใหม่ภายใน 15 วัน

- นายก = 1
รอง = 2 คณะบริหาร อบต. = 3 คน * กรณีนายอำเภอไม่เห็นด้วยกับข้องบประมาณ ส่งคืน
- โทษปรับ 1,000 ร่างให้สภา อบต. ภายใน 15 วัน
- นายอำเภอ ผู้ว่า ส่ง ปลด ยุบ * นายก(ผู้บริหาร ) = ทำแผน พัฒนา อบต.
วาระ 4 ปี - เป็นนิตุบุคคล
- ผู้บริหารสมาชิกมาจากเลือกตั้ง
ท้องถิ่น - รายได้เป็รของตนเอง
อรบ วาระเลือกใหม่ 45 วัน - มีอิสระในการบริหารภานใต้กฎหมาย
ตามกฎหมาย มี 4 แบบ = อบจ. , เทศบาล, สุขาภิบาล, ตามกฎหมาย(อบต,กทม,พัทยา)

* อบจ. (พ.ศ 2549) กฎหมายกำหนดเพียงว่าให้มีอบจ. ราษฎร ไม่เกิน 500,000 = 24
เกิน 500,000 – 1,000,000 = 30 รอง 2 คน
เกิน 1,000,000 – 1,500,000 = 36
เกิน 1,500,000 – 2,000,000 = 42 รอง 3 คน
เกิน 2,000,000 = 48 รอง 4 คน
โครงสร้าง 1. สภา อบจ. ( 1 + 2 ) = 3
ประธาน รอง
ยุบเลือกใหม่ = 60 วัน
2. นายก อบจ. ที่ปรึกษาได้ 5 คน
- รอง 2 (24,30)
- รอง 3 (36 – 42)
- รอง 4 (48)
* กำหนดโทษปรับได้ไม่เกิน 10,000 / จ. 6 เดือน
- ประชุมครั้งแรก ภายใน 15 วัน
* เทศบาล จัดตั้งโดย ประกาศ มท. * คณะที่ปรึกษาเทศบาล =ปลัด มท.= ประธาน/คณะกรรมการกลาง= รมว.
โครงสร้าง 1. สภาเทศบาล (1 + 1 ) = 2
2. นายก - ตำบล 12 รองนายก (นายกเทศแต่งตั้ง) 2
- เมือง 18 รองนายก (นายกเทศแต่งตั้ง) 3
- นคร 24 รองนายก (นายกเทศแต่งตั้ง) 4 ปรช 50,000 -
การกำกับ - ผู้ว่าสามารถเสนอ รมว. มท ยุบสภา (ปลด) ได้ / กก.เทศจังหวัด มี 18 คน
เลือกใหม่ภายใน 45 วัน
- ประชุมแรกภายใน 15 วัน สมัยต่อไป 30 วัน ( มีได้ 4 สมัย )

มหาดไทย ดูแลเทศบาลโดยตรง = ตรากฤษฎีกา
เทศบาล ทำงานร่วม
เทศบาล กัน 2 เทศฯ สหการ = ตรากฤษฎีกา
* พัทยา (2542) = นายก 1 + 4 รอง ฯ = 5

พรบ. ปกครองท้องที่ 2547
บ้าน = บ้าน, แพ เรือที่จอดประจำ
เจ้าบ้าน = เจ้าของ , ผู้เช่า
หมู่บ้าน = จัดตั้งโดย ประกาศจังหวัด อนุมัติจากมท.
ตามพรบ. ปกฯ มติครม. 14 พ.ศ.2539
- คน 200 - ชุมชนหนาแน่น = คน 1,200 600 คน (แยกบ้าน = ½ 1200 = 240
- บ้าน 5 บ้าน = บ้าน 240 120 บ้าน
- ชุมชนห่างไกล = คน 600 200 คน 1/3
= บ้าน 120 40 บ้าน (600 = 120 )
- ห่างจากหมู่บ้านเดิมไม่น้อยกว่า 6 กิโลเมตร
ตำบล ประกาศ มท. จัดตั้ง

ตามพรบ. ปกครอง ฯ มติ ครม.
- หมู่บ้านรวมกัน 20 หมู่บ้าน - ชุมชนหนาแน่น = คน 4,800
- กำหนดเขตให้ขัดเจน = มีหมู่บ้าน 8 หมู่บ้าน
- ชุมชนห่างไกล = คน 3,600
= มีหมู่บ้าน 69 หมู่บ้านกระทรวงมหาดไทย มี = 8 ส่วนราชการ
= 7 กรม + 1 เทียบเท่า

กิ่งอำเภอ ประกาศ มท. จัดตั้ง

พรบ. ท้องที่ มติ ครม. 2 พ.ย. 2547
- หลายตำบลรวมกัน - คน 25,000
- มี 4 ตำบล
- ห่างจากอำเภอเดิม 20 กม.
- เห็นชอบ อบต. , หัวหน้าอำเภอ, หัวหน้าจังหวัด
อำเภอ ราชกฤษฎีกา จัดตั้ง

พรบ. ท้องที่ มติ ครม. 2 พ.ย. 2547
- หลายตำบลรวม - เป็นกิ่งมาแล้ว 5 ปี
- พระราชานุญาติ - คน 35,000
- เห็นชอบ อบจ. หัวหน้าจังหวัด
* จัดตั้งอำเภอ/กิ่ง กรณีพิเศษ = ท่องเที่ยว, ไม่สงบ , ชายแดน, ราชดำริ

ผู้ใหญ่บ้าน วาระ 5 ปี เป็นตั้งแต่วันเลือก (พญบ. ไม่อยู่ ผู้ช่วยฝ่ายปกครองรักษาการแทน แจ้งกำนัน
- สัญชาติไทยเกิด แล้วให้ผู้ว่าออกหนังสือสำคัญ เกิน 15 วัน แจ้งกำนัน แจ้งอำเภอ
- ไม่ต่ำกว่า 25 ปี
- มีชื่อ 2 ปี
* - เลือกภายใน 15 วัน นับแต่นายอำเภอทราบว่างลง ลับ/เปิดเผย 10.00 –1 5.00 น. ถ้าคะแนนเท่ากันให้ ใช้วิธีจับฉลาก
- ผู้มีสิทธิเลือก 18 ปี มีชื่อใน 3 เดือน

ผู้ใหญ่บ้านออกจากตำแหน่ง
- หมู่บ้านถูกยุบ
- ไปที่อื่นเกิน 3 เดือน
- ขอให้ออกโดย เสียง ½ ทั้งหมด







ผู้ช่วยผู้ใหญ่


ผู้ช่วยฝ่ายปกครอง วาระ 5 ปี (ออกพร้อมผู้ใหญ่) ฝ่ายรักษาความสงบ วาระ 5 ปี (ออกพร้อมผู้ใหญ่)
- กำนัน + ผู้ใหญ่ร่วมพิจารณาเลือก - กำนัน + ผู้ใหญ่เลือก
- มี 2 คน - มีกี่คนก็ได้ตามผวจ.เห็นควร มท. เห็นสมควร
- เป็นตั้งแต่ นายอำเภอออกหนังสือ - เป็นตั้งแต่นายอำเภอออกหนังสือให้
- ใช้อาวุธปืนได้




 

Create Date : 14 กรกฎาคม 2551    
Last Update : 15 ธันวาคม 2552 18:25:36 น.
Counter : 3377 Pageviews.  

แนวข้อสอบปลัดอำเภอ ชุดที่ 3



ตะลุยโจทย์ ปลัดอำเภอ ชุดที่ 3
คำสั่ง : จงเลือกตัวเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคำตอบเดียว
1)การจดทะเบียนสมรสนอกสำนักทะเบียนท้องที่ห่างไกล อาจทำได้โดย
1.การอนุมัติของนายทะเบียนอำเภอ 2.รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยอนุมัติ
3.นายทะเบียนเรียกเก็บค่าธรรมเนียมรายละ 1 บาท
4.ข้อ 1. และ 3. 5.ไม่มีข้อใดถูก
2)คู่สมรสอาจขอจดทะเบียนสมรสได้หลายวิธีดังนี้
1.ยื่นคำร้องให้นายทะเบียนไปจดทะเบียนสมรสนอกสำนักทะเบียน
2.การจดทะเบียนสมรส ร สถานที่สมรสซึ่งผู้อำนวยการทะเบียนอนุมัติให้มีขึ้น
3.การจดทะเบียนสมรสในท้องที่ห่างไกลโดยการอนุมัติของนายทะเบียนอำเภอ
4.ยื่นคำร้องขอจดทะเบียนสมรสต่อกำนัน 5.ไม่มีข้อใดถูก
3) ผุ้รับบุตรบุญธรรมและบุตรบุญธรรมจะจดทะเบียนสมรสนายทะเบียนจะจดทะเบียนให้ต่อเมื่อ
1.บุตรบุญธรรมบรรลุนิติภาวะ 2.มีอายุต่างกันไม่เกิน 20 ปี
3.มีอายุต่างกันไม่เกิน 20 ปีและนายทะเบียนพิจารณาเห็นสมควร
4.มีอายุต่างกันไม่เกิน 25 ปี
5.นายทะเบียนไม่จดให้เพราะกฏหมายห้ามมิให้สมรสกัน
4) เมื่อได้รับจดทะเบียนสมรสหรือย่าในสำนักทะเบียน นายทะเบียนออกใบสำคัญการจดทะเบียนมอบให้ฝ่ายละฉบับ
และเรียกเก็ยค่าธรรมเนียม
1.ฝ่ายละบับ ฉบับละ 10 บาท 2.ทั้งสองฝ่ายรวมกัน 20 บาท
3.ฝ่ายละ 20 บาท 4.ฝ่ายละ 30 บาท
5.ไม่เรียกเก็บค่าธรรมเนียม
5)เมื่อชายหญิงฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งหรือทั้งสองฝ่ายตกอยู่ในอันตรายใกล้ความตาย และโดยพฤติการณ์ ที่เป็นอยู่ นายทะเบียนไม่สามารถไปจดทะเบียนให้ได้และใกล้ความตาย จะทำคำร้องตามแบบก็ไม่ได้ ผู้นัน้จะต้องขอจดทะเบียนสมรสด้วยวาจาหรือกิริยากได้แต่ต้องร้องต่อบุคคลดังกล่าวข้างล่างนี้ เว้นแต่
1.นายตำรวจซึ่งมียศนายร้อยตรีขึ้นไป 2.หัวหน้าสถานีตำรวจ
3.ข้าราชการระดับ 3 ขึ้นไป 4.บุคคลซึ่งยังไม่บรรลุนิติภาวะ
5.นายเรือเมื่ออยู่ในเรือเดินทะเล
6) กำนันที่จะรับคำร้องจดทะเบียนสมรสได้ ต้องเป็นผู้ที่ได้รับอนุมัติจากบุคคลต่อไปนี้
1.นายอำเภอ 2.ผู้ว่าราชการจังหวัด
3.อธิบดีกรมการปกครอง 4.ปลัดกระทรวงมหาดไทย
5.รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
7) หญิงที่สามีตายหรือการสมรสสิ้นสุดลงด้วยประการอื่นจะทำการสมรสใหม่ได้ต่อเมื่อการสิ้นสุดแห่งการสมรสได้ผ่านพ้นไม่น้อยกว่า
1. 280 วัน 2. 380 วัน 3. 310 วัน 4. 210 วัน 5. 120 วัน
8) ตามเงื่อนไขข้อ 7 เว้นเสียแต่ว่า
1.คลอดบุตรแล้วในระหว่างนั้น 2.สมรสกับคู่สมรสเดิม
3.มีคำสั่งศาลให้สมรสได้ 4.ถูกทุกข้อ 5.ไม่มีข้อใดถูก
9) ผู้เยาว์จะทำการสมรสแต่ไม่มีผู้มีอำนาจให้ความยินยอมจะทำสมรสได้ผหรือไม่
1.ได้โดยร้องขอต่อศาล 2.ไม่ได้
3.ได้โดยร้องขอต่อนายอำเภอ 4.ได้โดยร้องขอต่อผุ้ว่าราชการจังหวัด
5.ถูกทุกข้อ
10) การให้ความยินยอมกระทำได้
1.ลงรายมื่อในทะเบียนขณะจดสมรส 2.ทำเป็นหนังสือแสดงความยินยอม
3.ยินยอมด้วยวาจาต่อหน้าพยานอย่างน้อย 2 คน
4.ถูกทุกข้อ 5.ไม่มีข้อใดถูกด
11) การจดทะเบียนสมรสจะต้องเป็นสำนักทะเบียนที่คู่สมรสมีภูมิลำเนาอยู่หรือไม่
1.ตามภูมิลำเนาฝ่ายหยิง 2.ตามภูมิลำเนาฝ่ายชาย
3.ตามภูมิลำเนาฝ่ายชายหรือหญิง 4.จด ณ สำนักทะเบียนใดก็ได้
5.ข้อ 1. และ 2. ถูก
12) การยื่นคำร้องให้นายทะเบียนไปจดนอกสำนักทะเบียน เช่น ภูมิลำเนาอยุ่เขตพระโขนง ให้นายอำเภอไปจดทะเบียนเขตบางกะปิได้หรือไม่
1.ไม่ได้ 2.ได้ 3.แล้วแต่ภูมิลำเนาของผู้จดอยู่ที่ใหน
4.ต้องขออนุญาตผู้ว่าราชการจังหวัด 5.ไม่มีข้อใดถูก
13) กรรีที่คนต่างด้าวเข้าเมืองโดยไม่ชอบด้วยกฏหมาย ร้องขอจดทะเบียนสมรสด้วยกัน สถานทูตต่างประเทศตามสัญชาติของตน ซึ่งตั้งอยู่ในประเทศไทยดังนี้
1.การสมรสนั้นถีอว่าสมบูรณ์ตามกฏหมายไทย
2.กฏหมายไทยไม่ยอมรับความถูกต้องแห่งการสมรสนั้น
3.ถ้าต้องการให้สมรสนั้นแปลเป็นภาษาไทยโดยมีคำรับรองถูกต้องจากกกระทรวง
4.ถ้าสถานทูตนั้นมีสัมพันธภาพกับประเทสไทย การสมรสนั้นย่อมมีผลบังคับตาม
5.ไม่มีข้อใดถูกต้อง
14) การจดทะเบียนสมรสจะยื่นคำร้องขอจดทะเบียนต่อกำนันได้หรือไม่
1.ได้ในกรณีที่ท้องที่ที่ผู้ว่าราชการจังหวัดประกาศยอมให้ยื่นคำร้องต่อกำนันท้องที่ได้
2.ไม่ได้ 2.ได้โดยรัฐมนตรีกระทรวงมหาดไทยกำหนด
4.กำนันรับจดทะเบียนสมรสได้ 5.ไม่มีข้อใดถูก
15) กำนันมีหน้าที่จดทะเบียนสมรสได้หรือไม่
1.ได้ นับแต่วันที่กำหนดคำร้อง 2.ไม่ได้เพียงมีหน้าที่รับคำร้องส่งอำเภอ
3.ได้นับแต่วันที่เป็นสามีภรรยากัน 4.ไม่ได้ต้องไปที่อำเภอ 5.ไม่มีข้อใดถูก
16) การสิ้นสุดแห่งการสมรส คือ
1.ตาย 2.หย่า 3.ศาลพิพากษาให้เพิกถอน
4.ถูกทุกข้อ 5.ไม่มีข้อใดถูก
17) กรณีหากปรากฏภายหลังว่าการสมรสนั้นมิได้เป็นไปตามเงื่อนไข นายทะเบียนจะดำเนินการอย่างไร
1.นายทะเบียนไม่มีอำนาจเพิกถอนทะเบียนสมรส 2.นายทะเบียนสั่งยกเลิก
3.ทั้งสองฝ่ายต้องตกลงกันว่านายทะเบียนยกเลิก 4.ถูกทุกข้อ
5.ไม่มีข้อใดถูก
18) ชายหญิงที่จะจดทะเบียนสมรสแล้วจะขาดจากการสมรสหรือสิ้นสุดลงด้วยเหตุต่อไปนี้
1.ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งศาลสั่งให้เป็นบุคคลไร้ความสามารถ 2.ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งถึงแก่ความตาย
3.ฝ่ายใดฝ่ายหรึ่งถูกศาลสั่งเป็นบุคคลล้มละลาย 4.ถูกทุกข้อ
5.ไม่มีข้อใดถูก
19) การหย่ากระทำได้กี่วิธี
1. 2 วิธี 2. 3 วิธี 3. 4 วิธี 4. 5 วิธี 5.ไม่มีข้อใดถูก
20) ชายหญิงที่ได้จดทะเบียนสมรสแล้วจะขาดจากการสมรสหรือการสมรสสิ้นสุดลงด้วยเหตุใดบ้าง
1.ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งถึงแก่กรรม 2.ได้จดทะเบียนการหย่าแล้ว
3.ศาลพิพากษาให้เพิกถอนการสมรส 4.ถูกทุกข้อ
5.ไม่มีข้อใดถูก
21) การหย่าโดยความยินยอม คู่สมรสจะต้องนำหลักฐานดังต่อไปนี้ไปแสดงต่อนายทะเบียน นายทะเบียนจึงจะรับจดทะเบียนให้
1.ใบสำคัญการสมรส 2.บัตรประจำตัวประชาชน
3.หนังสือข้อตกลงการหย่าซึ่งมีพยานลงลายมือชื่ออย่างน้อย 2 คน
4.ข้อ 1. และ 3. 5.ไม่มีข้อใดถูก
22) เกี่ยวกับการจดทะเบียนหย่าข้อใดถูก
1.การหย่าอาจกระทำได้ 2 วี 2.อาจจดทะเบียนหย่าต่างสำนักทะเบียนได้
3.ถ้าสามีภรรยาไม่ยินยอมหย่า อาจหย่าได้โดยคำพิพากษาของศาล
4.การหย่าโดยความยินยอมให้บิดาเป้นผู้ปกครองบุตร
5.การหย่าโดยคำพิพากษาของศาล ให้ฝ่ายชนะเป็นผู้ปกครองบุตร
23) นายทะเบียนจะรับจดทะเบียนหย่าโดยไม่มีหนังสือมาแสดงได้หรือไม่
1.ได้ 2.เป็นอำนาจของนายอำเภอ 3.ไม่ได้
4.ไม่ได้เว้นแต่ผู้ว่าราชการจังหวัดอนุญาต 5.ไม่มีข้อใดถูก
24) เมื่อคู่สมรสจดทะเบียนหย่าแล้วต่อมาภายหลังมีความประสงค์จะให้นายทะเบียนบันทึกเพิ่มเติมเกี่ยวกับทรัพย์สินให้นายทะเบียน
1.บันทึกในทะเบียนสมรส ค.ร. 2
2.บันทึกในสำเนาทะเบียนสมรส ค.ร. 5 ที่เก็บไว้สำนักทะเบียนกลาง
3.บันทึกในทะเบียนหย่า 4.บันทึกในสำเนาทะเบียนหย่า
5.ไม่บันทึกให้
25) ในหนังสือหย่าต้องมีรายการ คือ
1.การเลี้ยงดูบุตร 2.การปกครอง
3.ทรัพย์สิน 4.ถูกทุกข้อ 5.ไม่มีข้อใดถูก
26) สาเหตุฟ้องหย่า
1.ภริยามีชู้ 2.ทุพพลภาพไม่อาจร่วมประเวณี
3.ถูกศาลสั่งเป็นคนสาบสูญ 4.ถูกทุกข้อ 5.ไม่มีข้อใดถูก
27) สามีภรรยาที่สมรสก่อนใช้ประมวลกฏหมายแพ่งและพาณิชย์ ฉบับ 5 การหย่าดำเนินการโดย
1.ไม่ต้องจดทะเบียน 2.จดได้ถ้าประสงค์จะจด
3.ต้องจดทะเบียนสมรสก่อน 4.ถูกทั้ 1. และ 2. 5.ไม่มีข้อใดถูก
28) ข้อความใดต่อไปนี้ ข้อใดไม่ถูกต้อง
1.การหย่าจะต้องให้ทั้งสองฝ่ายทำหนังสือยินยอมในการหย่าซึ่งมีพยานอย่างน้อย 2 คนไปแสดงด้วย
2.การจดทะเบียนหย่าต้องเสียค่าธรรมเนียม 2 บาท
3.การหย่าจะไปจจดทะเบียนหย่า ณ สำนักทะเบียนอำเภอใดก็ได้
4.ในกรณีคู่หย่าอยู่คนละท้องที่ ก็สามารถจดทะเบียนหย่าต่างสำนักทะเบียนได้
5.สามีจงใจละทิ้งภรรยาเกิน 1 ปี ฟ้องหย่าได้
29) เกณฑ์รับบุตรบุญธรรมตามกฏหมายเป็นดังนี้
1.ผู้รับบุตรบุญธรรมต้องเป็นผู้บรรลุนิติภาวะ และมีอายุมากกว่าบุตรบุญธรรมอย่างน้อย 15 ปี
2.ผู้รับบุตรบุญธรรมต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 25 ปี และมีอายุมากกว่าบุตรบุญธรรม 15 ปี
3.ผู้รับบุตรบุญธรรมต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 25 ปีและมีอายุมากกว่าบุตรบุญธรรมอย่างน้อย 15 ปี
4.ผู้รับบุตรบุญธรรมต้องเป็นผู้บรรลุนิติภาวะและบุตรบุญธรรมต้องมีอายุไม่เกิน 15 ปี
5.ไม่มีข้อใดถูก
30) ในกรณีที่ผู้เป็นบุตรบุญธรรมเป็นผู้เยาว์ผู้รับบุตรบุญธรรมจะต้องดำเนินการให้เป็นไปตาม พ.ร.บ. รับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม พ.ศ. 2522 ในต่างจังหวัดให้ยื่นเรื่องและขออนุมัติจาก
1.ผู้ว่าราชการจังหวัด 2.นายอำเภอ
3.นายทะเบียนอำเภอ 4.นายทะเบียนท้องที่ 5.ถูกทุกข้อ
31) ผลที่เกิดจากการรับบุตรบุญธรรม คือ
1.ผู้เป็นบุตรบุญธรรมมีสิทธิ์รับมรดกของผู้รับบุตรบุญธรรม
2.บิดามารดาโยกำเนิดหมดอำนาจปกครอง
3.ผู้เป็นบุตรบุญธรรมมีสิทธิ์รับมรดกบุตรบุญธรรม
4.ข้อ 1. และ 3. 5.ถูกทุกข้อ
32) การเลิกรับบุตรบุญธรรมดำเนินการโดย
1.จดทะเบียนเลิกรับบุตรบุญธรรมโดยความยินยอมทั้งสองฝ่าย 2.คำพิพากษาของศาล
3.ไม่อาจยกเลิก 4.ข้อ 1 และ 2. 5.ถูกทุกข้อ
33) นายกฤติน อายุ 35 ปี มีภรรยาแล้ว มาขอจดทะเบียนรับ น.ส. จิรวรรณ อายุ 22 ปี เป็นบุตรบุญธรรม ถ้าท่านเป็นเจ้าหน้าที่จะดำเนินการตามข้อใดจึงจะถูกต้องที่สุด
1.รับจดทะเบียนบุตรบุญธรรมให้ 2.ให้ภรรยานายกฤตินแสดงความยินยอมก่อน
3.ต้องให้บิดามารดาของ น.ส. จิรวรรณยินยอมก่อนจึงจะจดทะเบียนให้
4.ข้อ 1 และ 2. 5.จดทะเบียนให้ไม่ได้เพราะขัดหลักเกณฑ์
34) การเลิกรับบุตรบุญธรรมทำได้กี่วิธี
1. 2 วิธี 2. 3 วิธี 3. 4 วิธี 4. 5 วิธี 5.ไม่มีข้อใดถูก
35) ในการจดทะเบียนเลิกการรับบุตรบุญธรรมคู่สมรสของผู้รับบุตรบุญธรรมซึ่งมิได้เป็นผู้รับบุตรบุญธรรมด้วยสามารถร้องขอจดทะเบียนเลิกการรับบุตรบุญธรรมได้หรือไม่
1.ไม่สามารถร้องขอจดทะเบียนเลิกการรับบุตรบุญธรรมได้
2. ถ้าคู่สมรสซึ่งเป็นผู้รับบุตรบุญธรรมให้ความยินยอม
3.ร้องขอจดทะเบียนเลิกการรับบุตรบุญธรรมได้ กรณีที่คู่สมรสถึงแก่กรรม
4.ข้อ 2.และ 3. 5.ไม่มีข้อใดถูก
36) กรณีผู้เป็นบุตรบุญธรรมบรรลุนิติภาวะแล้ว จะเลิกรับบุตรโดยความตกลงระหว่างผู้รับบุตรบุญธรรมกับบุตรบุญธรรมได้หรือไม่
1.ได้ 2.ต้องได้รับความยินยอมจากบิดามารดาผู้ให้กำเนิด
3.ต้องได้รับความยินยอมจากผู้ปกครอง 4.ข้อ 1.และ 2. 5.ไม่มีข้อใดถูก
37) บุตรที่เกิดจากบิดามารดาที่เป็นสามีภรรยากันโดยไม่จดทะเบียนสมรสมีฐานะเป็นที่ชอบด้วยกฏหมายของใคร
1.เป็นบุตรที่ชอบด้วยกฏหมายของบิดาแต่ฝ่ายเดียว
2.เป็นบุตรที่ชอบด้วยกฏหมายของมารดาแต่ฝ่ายเดียว
3.เป็นบุตรที่ชอบด้วยกฏหมายของของทั้งบิดาและมารดา
4.ไม่เป็นบุตรที่ชอบด้วยกฏหมายของของทั้งบิดาและมารดา 5.ไม่มีข้อใดถูก
38) บุตรที่ไม่ชอบด้วยกฏหมายของบิดาจะเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฏหมายของบิดาก็ต่อเมื่อ
1.เมื่อบิดามารดาได้สมรสกันถูกต้องตามกฏหมาย 2.เมื่อบิดาได้จดทะเบียนรับรองบุตร
3.เมื่อศาลได้พิพากษาว่าเด็กเป็นบุตรโดยชอบกฏหมายของบิดา
4.ถูกทุกข้อ 5.ไม่มีข้อใดถูก
39) ผู้ใดเป็นผู้รับรองขอจดทะเบียนรับรองบุตรจากนายทะเบียน
1.มารดา 2.บิดา 3.ผู้ปกครอง 4.ตัวบุตรเอง 5.ไม่มีข้อใดถูก
40) การฟ้องคดีให้รับเป็นบุตรมีสาเหตุการฟ้อง ดังนี้
1.เมื่อมีเอกสารของบิดาแสดงว่าเด็กนั้นเป็นบุตรของตน
2.เมื่อมีพฤติการณ์ที่เป็นที่รู้กันทั่วไปตลอดมาว่าเป็นบุตร
3.เมื่อปรากฏในทะเบียนคนเกิดว่าบุคคลนั้นเป็นบิดา
4.ถูกทุกข้อ 5.ไม่มีข้อใดถูก
41) กรณีที่ผู้ร้องขอจดทะเบียนรับรองบุตรนไม่อาจนำมารดาของบุตรมาให้ความยินยอมได้ดดยอ้างว่า หาตัวไม่พบหรือไม่ทราบที่อยุ่ เช่นนี้ นายทะเบียนจะต้องดำเนินการอย่างไร
1.ไม่รับจดทะเบียน 2.ให้นายทะเบียนส่งหนังสือตามแบบ คร. 10 ไปให้บุตรและมารดาบุตร
3.ให้ผู้ร้องขอประกาศตามหนังสือพิมพ์ภายในกำหนดเวลาที่กฏหมายบัญญัติไว้โดยเสียค่าใช้จ่ายเอง
4.ข้อ 2.และ 3. 5.ไม่มีข้อใดถูก
42) ในกรณีที่ผู้ร้องขอจดทะเบียนรับรองบุตรไม่อาจนำมารดาของเด็กหรือเด็กมาให้ความยินยอมได้ ให้นายทะเบียนแจ้งการขอจดทะเบียนไปยังเด็กและมารดาเด็กภายในกำหนด
1. 60 วัน 2. 50 วัน 3. 40 วัน 4. 30 วัน 5. 20 วัน
43) ในกรณีข้างต้นถ้าบุตรหรือมารดาอยุ่นอกประเทสระยะเวลาประกาศขยายเป็น
1. 60 วัน 2. 120 วัน 3. 180 วัน 4. 360 วัน 5.ไม่มีข้อใดถูก
44) เมื่อมีการจดทะเบียนรับรองบุตรแล้วจะถอนได้หรือไม่
1.ถอนไม่ได้ 2.บุตรร้องขอ 3.มารดาร้องขอ 4.บิดาร้องขอ 5.ข้อ 1.และ 2.
45) การจดทะเบียนรับรองบุตรนอกสำนักทะเบียนโดยผู้ว่าราชการจังหวัดอนุมัติเรียกเก็บค่าธรรมเนียมรายละ
1. 1 บาท 2. 2 บาท 3. 5 บาท 4. 10 บาท 5. 15 บาท
46) การจดทะเบียนรับราองบุตรนอกสำนักทะเบียนท้องที่ห่างไกลเรียกเก็บค่าธรรมเนียมหรือไม่
1.ไม่เรียกเก็บ 2.เรียกเก็บ 10 บาท 3.เรียกเก็บ 1 บาท
4.นายอำเภอเนอ ผุ้ว่าราชการจังหวัด ยกเว้นค่ะรรมเนียมได้ 5.ไม่มีข้อใดถูก
47) การบันทึกฐานะของภริยาบุคคลที่จะต้องขอให้บันทึกได้ต้องเป็นสามีภรรยาซึ่งสมรสกัน ดังนี้
1.ก่อนการใช้ พ.ร.บ. การทะเบียนราษฎร พ.ศ. 2499 2.ก่อนการใช้ ป.พ.พ. บรรพ 5
3.ตาม พ.ร.บ. ทะเบียนครอบครัว พ.ศ. 2522 4.ตาม พ.ร.บ. จดทะเบียนครอบครัวพ.ศ. 2478
5.ไม่มีข้อใดถูก
48) การบันทึกฐานะภริยาให้บันทึกได้
1.เฉพาะภริยาหลวง 2.ภริยาหลวงและภริยาน้อย 1 คน
3.ภริยาหลวงและภริยาน้อย 2 คน 4.ภริยาหลวงและภริยาน้อยไม่จำกัดจำนวน
5.ภริยาหลวงและภริยาน้อยเฉพาะผู้มายื่นคำร้อง
49) เหตุที่มีการบันทึกฐานะของภริยาน้อยเนื่องจาก
1.มีการสมรสกันก่อนใช้ประมวลกฏหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5
2.ใช้สำหรับผู้นับถือศาสนาอิสลาม
3.ใช้เฉพาะผู้ที่นับถือศาสนาอิสลามเฉพาะใน 4 จังหวัดชายแดนภาคใต้
4.ข้อ 1.และ 2. 5.ข้อ 2 และ 3.
50) การจัดระเบียบบริหารราชการส่วนภูมิภาค ประกอบด้วย
1.ภาค จังหวัด อำเภอ 2.จังหวัด อำเภอ กิ่งอำเภอ
3.จังหวัด อำเภอ 4.จังหวัด อำเภอ กิ่งอำเภอ ตำบล กรุงเทพ
5.จังหวัด เทศบาล อำเภอ สุขาภิบาล
51) นายอำเภอสังกัดส่วนราชการใด
1.กรมการปกครอง 2.กรมประชาสงเคราะห์
3.กรมการพัฒนาชุมขน 4.สำนักนายกรัฐมนตรี 5.กระทรวงมหาดไทย
52) การตั้ง ยุบ เปลี่ยนแปลงเขตอำเภอต้องตามเป็นกฏหมายลำดับใด
1.พระราชบัญญัติ 2.พระราชกำหนด
3.พระราชกฤษฎีกา 4.กฏกระทรวง 5.ประกาศะทรวงมหาดไทย
53) ใครเป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการและรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการของสำนักงานจังหวัด
1.ผู้ว่าราชการจังหวัด 2.รองผู้ว่าราชการจังหวัด
3.ปลัดอำเภอ 4.หัวหน้าสำนักงานจังหวัด 5.จ่าจังหวัด
54) การตั้ง ยุบ เปลี่ยนแปลงเขตตังหวัดต้องตราเป็นกฏหมายลำดับใด
1.พระราชบัญญัติ 2.พระราชกำหนด
3.พระราชกฤษฎีกา 4.กฏกระทรวง 5.ประกาศะทรวงมหาดไทย
55) ส่วนราชการใดต่อไปนี้ที่ไม่ใช่ส่วนราชการไม่สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรีกระทรวง หรือ ทบวง
1.ราชบัณฑิตยสถาน 2.สำนักพระราชวัง
3.สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน 4.สำนักงานอัยการสูงสุด 5.ผิดหมดทุกข้อ
56) ผู้ว่าราชการจังหวัดอาจมอบอำนาจให้ผู้ดำรงตำแหน่งต่อไปนี้ปฏิบัติราชการแทนได้ยกเว้นตำแหน่งใด
1.หัวหน้าส่วนาราชการจังหวัด 2.นายอำเภอ
3.ปลัดอำเภอผู้เป็นหัวหน้าประจำกิ่งอำเภอ 4.ปลัดอำเภอ
5.หัวหน้าส่วนราชการประจำอำเภอ

57) ในกรณีที่ผู้ดำรงตำแหน่งนายอำเภอไม่อาจปฏิบัติราชการได้ นายอำเภอมีอำนาจแต่งตั้งผู้ดำรงตำแหน่งต่อไปนี้
เป็นผู้รักษาราชการแทนได้ยกเว้นตำแหน่งใด
1.ปลัดอำเภอ 2.ไม้อำเภอ
3.ศึกษาธิการอำเภอ 4.สมุห์บัญชีอำเภอ
5.ผู้ช่วยนายทะเบียนอำเภอ(เจ้าพนักงานปกครอง6)
58) ใครเป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการและรับผิดชอบสำนักงานอำเภอ
1.นายอำเภอ 2.ปลัดอำเภอหัวหน้าฝ่ายปกครองและพัฒนา
3.ปลัดอำเภองานสำนักงานอำเภอ 4.ปลัดอำเภองานปกครอง
5.ปลัดอำเภอหัวหน้าฝ่ายกิจการพิเศษ
59) ตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 ที่ใช้อยู่ในปัจจุบันการมอบอำนาจของผู้ดำรงตำแหน่งให้กับผู้ดำรงตำแหน่งรองลงมาปฏิบัติราชการแทนต้องทำอย่างไร
1.เสนอคณะรัฐมนตรีอนุมัติ 2.ประกาศในราชกิจจานุเบกษา
3.ทำเป็นหนังสือ 4.ทำเป็นหนังสือและประกาศในราชกิจจานุเบกษา
5.มอบหมายด้วยวาจา
60)ข้อใดไม่ใช่ลักษณะของการปกครองท้องถิ่น
1.มีฐานะเป็นนิติบุคคล 2.มีการเลือกตั้งผู้บริหารหรืองค์กรท้องถิ่น
3.มีงบประมาณของตนเอง 4.อยู่ในความควบคุมดูแลของรัฐ 5.ผิดทุกข้อ
61) สมาชิกสภาเมืองพัทยามีกี่คน
1. 13 คน 2. 14 คน 3. 15. คน 4. 16 คน 5. 17 คน
62) จังหวัดใดที่มีราษฎรเกินกว่า 1,000,000 (หนึ่งล้านคน) มีสมาชิกสภาจังหวัดได้กี่คน
1. 18 คน 2. 24 คน 3. 30 คน 4. 36 คน 5. 40 คน
63) คระกรรมการหมู่บ้านผู้ทรงคุณวุฒิอยู่ในตำแหน่งคราวละกี่ปี
1. 4 ปี 2. 5 ปี 3. 6 ปี 4. 7 ปี 5. 8 ปี
64) แนวคิดใดเป็นพื้นฐานของการปกครองท้องถิ่น
1.Centralization 2.Deconcentration
3.Decentralization 4.Public Administration 5.Local Self – Government
65) แนวคิดใดเป็นพื้นฐานของการปกครองส่วนภูมอภาค
1.Centralization 2.Deconcentration
3.Decentralization 4.Public Administration 5.Local Self – Government
66) ผู้ใดดำรงตำแหน่งหัวหน้าฝ่ายบริหารองค์การบริหารส่วนจังหวัด
1.ประธานสภาจังหวัด 2.ปลัดจังหวัด
3.นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด 4.เลขานุการจังหวัด
5.สมาชิกสภาจังหวัดที่ได้รับเลือกตั้งจากสภาจังหวัด
67) สุขาภิบาลใดได้รับการจัดตั้งขึ้นเป็นแห่งแรกในประเทศไทย
1.สุขาภิบาลท่าฉลอม 2.สุขาภิบาลพระประแดง
3.สุขาภิบาลกรุงเทพฯ 4.สุขาภิบาลกระทุ่มแบน 5.สุขาภิบาลปากเกร็ด

68) สุขาภิบาลที่มีรายได้จริง(ไม่รวมเงินอุดหนุน)จำนวนเท่าใดที่ประธานกรรมการสุขาภิบาลจะมาจากการเลือกตั้ง
1. 1 ล้านบาท 2. 2 ล้านบาท 3. 3 ล้านบาท
4. 4 ล้านบาท 5. 5 ล้านบาท
69) หลักการปกครองประเทศข้อใดที่เป็นที่มาของการบริหารราชการส่วนภูมิภาคของไทย
1.หลักการกระจายอำนาจ 2.หลักการรวมอำนาจ
3.หลักการแบ่งอำนาจ 4.หลักการมอบอำนาจ
5.หลักการรวมและการมอบอำนาจ
70) การบริหารราชการส่วนกลาง หมายถึง
1.กระทรวง ทบวง กรม 2.กระทรวง ทบวง กรม รัฐวิสาหกิจ
3.กระทรวง ทบวง กรม กรุงเทพมหานคร 4.กระทรวง กรม รัฐวิสาหกิจ
5.กระทรวง กรม กรุงเทพมหานคร
71) การบริหารราชการส่วนท้องถิ่นของไทยในปัจจุบันมี
1. 2 รูป 2. 4 รูป 3. 5 รูป 4. 6 รูป 5. 7 รูป
72) ในปัจจุบันประเทศไทยมีกระทรวง จำนวนเท่าไหร่
1. 11 กระทรวง 1 สำนักนายกรัฐมนตรี 2. 12 กระทรวง 1 สำนักนายกรัฐมนตรี
3. 19 กระทรวง 1 สำนักนายกรัฐมนตรี 4. 14 กระทรวง 1 สำนักนายกรัฐมนตรี
5. 15 กระทรวง 1 สำนักนายกรัฐมนตรี
73) หน่วยงานปกครองท้องถิ่นใดเกิด ขึ้น ก่อนหลังเรียงตามลำดับ
1.เทศบาล สุขาภิบาล องค์การบริหารส่วนจังหวัด กทม. เมืองพัทยา องค์การบริหารส่วนตำบล
2.เทศบาล สุขาภิบาล องค์การบริหารส่วนจังหวัด เมืองพัทยา กทม องค์การบริหารส่วนตำบล
3.สุขาภิบาล เทศบาล องค์การบริหารส่วนจังหวัด เมืองพัทยา กทม องค์การบริหารส่วนตำบล
4.สุขาภิบาล เทศบาล องค์การบริหารส่วนจังหวัด กทม. เมืองพัทยา องค์การบริหารส่วนตำบล
5.ไม่มีข้อใดถูก
74) ข้อใดไม่จัดอยู่ในระเบียบบริหารราชการของกระทรวง ตาม พ.ร.บ. ระเบียบบริหาราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534
1.สำนักงานเลขานุการรัฐมนตรี 2.สำนักงานปลัดกระทรวง
3.กรมหรือส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่น 4.กองหรือส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่น
5.ไม่มีข้อใดถูก
75) หน่วยการปกครองท้องถิ่นรูปใด มีพื้นที่ครอบครุมพื้นที่ประเทศมากที่สุด
1.สุขาภิบาล 2.เทศบาล
3.องค์การบริหารส่วนจังหวัด 4.เมืองพัทยา 5.กรุงเทพมหานคร
76) องค์การบริหารส่วนจังหวัดมีองค์ประกอบที่สำคัญ คือ
1.สภาจังหวัด และนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด 2.สภาจังหวัด และผู้ว่าราชการจังหวัด
3.สภาจังหวัด และปลัดจังหวัด 4.สภาจังหวัดและหัวหน้าส่วนราชการต่างๆ 5.ผู้ว่าราชการจังหวัด และประธานสภาจังหวัด
77) คระกรรมการสุขาภิบาลทำหน้าที่
1.ฝ่ายนิติบัญญัติ และฝ่ายบริหาร 2.ฝ่ายบริหารแต่ประการเดียว
3.ฝ่ายนิติบัญญัติแต่ประการเดียว 4.ฝ่ายปกครองและฝ่ายนิติบัญญัติ 5.ไม่มีข้อใดถูก
78) ข้อใดไม่ได้เป็นคณะกรรมการสุขาภิบาล
1.นายอำเภอ 2.ผู้ที่ราษฎรเลือกตั้งจำนวน 9 คน
3.กำนันทุกตำบลในเขตสุขาภิบาล 4.ผู้ใหญ่บ้านในเขตสุขาภิบาล
5.ปลัดอำเภอที่ผู้ว่าราชการจังหวัดแต่งตั้ง 1 คน
79) การแบ่งส่วนราชการของจังหวัด แบ่งเป็น
1.คณะกรรมการจังหวัดและสำนักงานจังหวัด
2.สำนักงานจังหวัดและส่วนราชการประจำจังหวัด
3.คณะกรรมการจังหวัดและส่วนราชการประจำจังหวัด
4.สำนักงานจังหวัด ส่วนราชการประจำจังหวัดและอำเภอต่างๆ
5.คณะกรรมการจังหวัด สำนักงานจังหวัดและส่วนราชการประจำจังหวัด
80) ข้อใดไม่ถูกต้อง
1.อำเภอมีฐานะเป็นนิติบุคคล 2.การจัดตั้งอำเภอตราเป็นพระราชกฤษฎีกา
3.อำเภอเป็นหน่วยราชการส่วนภูมิภาค
4.การตั้งอำเภอต้องได้รับความเห็นชอบจากที่ประชุมหัวหน้าส่วนราชการประจำจังหวัด
5.อำเภอแบ่งส่วนราชการเป็นสำนักงานอำเภอและส่วนราชการประจำอำเภอ
81) ข้อใดไม่ใช่คณะกรรมการสภาตำบล
1.ผู้ใหญ่บ้านในเขตตำบล 2.แพทย์ประจำตำบล
2.สารวัตรกำนัน 4.ผู้ทรงคุณวุฒิจากการเลือกตั้งของราษฎรในหมู่บ้านหมู่บ้านละ 1 คน
5.กำนัน
82)สมาชิกสภาเทศบาลตำบล เมือง และนครมีสมาชิกจำนวน
1. 10, 16, 22 2. 12, 16, 20
3. 12, 18, 24 4. 18, 24, 30 5. 24, 30, 36
83) หน่วยการปกครองท้องถิ่นรูปใดที่มีลักษณะการจัดองค์ประกอบต่างจากข้ออื่น
1.กรุงเทพมหานคร 2.เทศบาล
3.องคืการบริหารส่วนจังหวัด 3.สุขาภิบาล 5.ไม่มีข้อใดถูกต้อง
84) ในประเทศที่มีปัญหาความมั่นคงควรใช้หลักการปกครองใด
1.รวมอำนาจ 2.กระจายอำนาจ
3.แบ่งอำนาจ 4.มอบอำนาจ 5.รวมและกระจายอำนาจ
85) องค์การบริหารส่วนจังหวัดมีอำนาจในการออก
1.ข้อบังคับจังหวัด 2.ข้อบัญญัติจังหวัด
3.ระเบียบจังหวัด 4.กฏจังหวัด 5.เทศบัญญัติจังหวัด
86) วัตถุประสงค์ของการจัดตั้งเมืองพัทยา คือ
1.การปกครองสุขาภิบาลเดิมไม่เหมาะกับระดับความเจริญของเมืองพัทยา
2.แก้ปัญหาผังเมือง 3.ส่งเสริมการท่องเที่ยว
4.แก้ปัญหาการควบคุมอาคารและการสาธาณูปโภค 5.ถูกทุกข้อ
87) เทศบาลนคร มีนายกเทศมนตรีและเทศมนตรีรวม
1. 1 คน 2. 3 คน 3. 4 คน 4. 5 คน 5. 6 คน
88) การทะเบียนครอบครัวหมายถึง
1.การทะเบียนที่บันทึกรับรองถึงความ สัมพันธ์ระหว่างบุคคลในครอบครัว
2.การทะเบียนที่บันทึกรับรองสิทธิที่ได้รับตามกฏหมายระหว่างสามีภรรยา
3.การทะเบียนที่บันทึกรับรองสิทธิที่ได้รับตามกฏหมายระหว่างบิดามารดากับบุตร
4.ข้อ 1. และ 3. 5.ไม่มีข้อใดถูก
89) การปฏิบัติงานด้านทะเบียนครอบครัวในฐานะเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐจำเป็ต้องยึดหลัก
1.กฏหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 2.นโยบายของกระทรวงมหาดไทย
3.พ.ร.บ. จดทะเบียนครอบครัว พ.ศ. 2478 4.ถูกทุกข้อ 5.ไม่มีข้อใดถูก
90) ทะเบียนครอบครัว แบ่งออกเป็น
1. 7 ประเภท 2. 10 ประเภท
3. 12 ประเภท 4. 13 ประเภท 5.ไม่มีข้อใดถูก
91) ข้อใดไม่ใช่ทะเบียนครอบครัว
1.ทะเบียนการสมรส 2.ทะเบียนการรับรองบุตรบุญธรรม
3.ทะเบียนชื่อบุคคล 4.ทะเบียนฐานะของภริยา 5.ไม่มีข้อใดถูก
92) การจดทะเบียนใดต่อไปนี้เป็นการจดทะเบียนครอบครัว
1.ทะเบียนรับรองบุตรและการแก้ไขสัญชาติ 2.ทะเบียนรับรองบุตรบุญะรรมและการแก้ไขสัญชาติ
3.การบันทึกฐานะภรรยาและการแก้ไขชื่อสกุล 4.ทะเบียนรับรองบุตรและทะเบียนหย่า
5.ไม่มีข้อใดถูก
93) บุคคลที่จะเป็นพยานตาม พ.ร.บ. จดทะเบียนครอบครัวได้ คือ
1.บุคคลที่หูหนวก 2.บุคคลที่เป็นใบ้
3.บุคคลจักษุบอดทั้งสองข้าง 4.บุคคลที่แขนขาดทั้สองข้าง
5.บุคคลที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ
94) การยื่นคำร้องขอให้นายทะเบียนนอกสำนัก ข้อใดถูก
1.ยื่นคำร้องที่สำนักทะบียนตำบลนั้น
2.ต้องเสียค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนและค่าพาหนะ 250 บาท
3.ผู้ร้องต้องจ่ายเงินค่าพาหนะให้แก่นายทะเบียนเท่าที่จ่ายจริง
4.ข้อ 1.ละ 2. 5.ไม่มีข้อใดถูก
95) การสมรสที่สมบูรณ์ของกฏหมายจะต้อง
1.ได้มีการจดทะเบียนการสมรส 2.คู่สมรสทั้งสองได้แสดงความยินดีที่จะสมรสกัน
3.คู่สมรสทั้งสองมีคุณสมบัติครบตามเงื่อนไขแห่งการสมรส
4.ถูกทุกข้อ 5.ไม่มีข้อใดถูก
96) การจดทะเบียนการสมรสนอกสำนักทะเบียนในท้องที่ห่างไกล สำนักทะเบียนจะนำเนินการได้ต่อเมื่อ
1.นายทะเบียนอนุมัติให้ดำเนินการได้
2.ผู้ว่าราชการจังการจังหวัดประกาศอนุมัติให้นายทะเบียนออกไปดำเนินการได้
3.อำเภอออกโครงการบริการอำเภอเคลื่อนที่
4.นายทะเบียนกลางอนุมัติให้ดำเนินการได้
5.ไม่มีข้อใดถูก
97) ชายหญิงที่ไม่บรรลุนิติภาวะ จะสมรสกันได้ต้องได้รับความยินยอมจาก
1.บิดามารดาในกรณีที่มีบิดามารดา
2.บิดามารดา ในกรณีที่บิดาหรือมารดาตายหรือถูกถอนอำนาจการปกครอง
3.ผู้ปกครองในกรณีที่บิดาและมารดาเป็นบุคคลไร้ความสามารถ
4.ผู้ปกครองในกรณีที่บิดาและมารดาเป็นบุคคลล้มละลาย 5.ถูกทุกข้อ
98 )การร้องขอจดทะเบียนสมรส คู่สมรสอาจดำเนินการได้กี่วิธี
1. 7 วิธี 2. 6 วิธี 3. 5 วิธี 4. 4 วี 5.ไม่มีข้อใดถูก
99) การยื่นคำร้องขอให้นายทะเบียนไปจดทะเบียนนอกสำนักทะเบียน หลักเกณฑ์ข้อใดถูกต้อง
1.ยื่นคำร้องแจ้งความประสงค์ ณ สำนักทะเบียนตำบล 2.ยื่นคำร้องที้สำนักทะเบียนตำบลใดก็ได้
3.เสียค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนรวมทั้งค่าพาหนะนายทะเบียน 250 บาท
4.ผู้ร้องต้องจ่ายค่าพาหนะให้กับนายทะเบียนตามที่จ่ายจริง
5.ไม่มีข้อใดถูกต้อง
100) สภาผู้แทนราษฎร และวุฒิสภา มีอำนาจเลือกสมาชิกของแต่ละสภาตั้งเป็นคณะกรรมาธิการสามัญและมีอำนาจเลือกบุคคลผู้เป็นสมาชิกหรือมิได้เป็นสมาชิก ตั้งเป็นคณะกรรมาธิการวิสามัญเพื่อกระทำกิจการพิจารณาสอบสวนหรือศึกษาเรื่องใดๆอันอยุ่ในอำนาจหน้าที่ของสภาแล้วรายงานต่อสภา มติตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญดังกล่าว ต้องระบุกิจการหรือเรื่องอย่างไร
1.ไม่ซ้ำหรือซ้อนกัน 2.เป็นเรื่องที่อยู่ในความสนใจ
3.เป็นเรื่องที่ทันเหตุการณ์ 4.ถูกทุกข้อ 5.ไม่มีข้อใดถูกต้อง
เฉลยชุดที่ 3
1. 5 2. 1 3. 5 4. 5 5. 4
6. 5 7. 3 8. 4 9. 1 10. 4
11. 5 12. 1 13. 5 14. 5 15. 4
16. 5 17. 3 18. 4 19. 1 20. 4
21. 4 22. 2 23. 3 24.. 5 25. 4
26. 4 27. 4 28. 2 29. 3 30. 1
31. 4 32. 4 33. 5 34. 1 35. 1
36. 1 37. 2 38.- 39. 2 40. 4
41. 2 42. 1 43. 3 44. 1 45. 1
46. 2 47. 2 48. 5 49. 1 50. 3
51. 5 52. 3 53. 4 54. 1 55. 5
56. 4 57. 5 58. 1 59. 3 60. 5
61. 5 62. 4 63. 2 64. 3 65. 2
66. 3 67. 3 68. 5 69. 3 70. 1
71. 4 72. 3 73. 4 74. 4 75. 3
76. 1 77. 1 78. 4 79. 2 80. 1
81. 3 82. 3 83. 4 84. 1 85. 2
86. 5 87. 4 88. 1 89. 4 90. 1
91. 3 92. 4 93. 4 94. 3 95. 4
96. 2 97. 5 98. 1 99. 4 100. 1




 

Create Date : 14 กรกฎาคม 2551    
Last Update : 7 กุมภาพันธ์ 2552 12:57:09 น.
Counter : 3918 Pageviews.  

1  2  3  4  5  

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.