sansook
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 40 คน [?]




คลิกๆๆ รูปสวยๆน่ารักๆไว้ส่งต่อเพียบ...

คลิกๆๆ รูปสวยๆน่ารักๆไว้ส่งต่อเพียบ...


คลิกๆๆ รูปสวยๆน่ารักๆไว้ส่งต่อเพียบ...
โค้ดนี้เป็นภาพพื้นหลังนำไปวางที่ช่อง Script Area ค่ะ https://youtu.be/K2vg5yDgVX4
Group Blog
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add sansook's blog to your web]
Links
 

 

พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารทางราชการ พ.ศ. 2540


พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารทางราชการ พ.ศ. 2540

บังคับใช้เมื่อพ้นกำหนดกี่วัน ?..90 วัน
ข้อมูลข่าวสาร หมายถึง.....สิ่งที่สื่อความหมายให้รู้เรื่องราวข้อเท็จจริง....
ข้อมูลข่าวสารของทางราชการ หมายถึง..ข้อมูลข่าวสารที่อยู่ในความครอบครองหรือควบคุมดูแล
ของหน่วยงานรัฐ
ข้อมูลสารส่วนบุคคล หมายถึง..ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับสิ่งเฉพาะตัวของบุคคล
คนต่างด้าว หมายถึง..มีสัญชาติไทย , ไม่มีถิ่นที่อยู่ในประเทศไทย, และนิติบุคคลต่อไปนี้
- บริษัท, ห้างร้านที่มีทุนเกินกึ่งหนึ่งเป็นคนต่างด้าว
- สมาคม ที่มีสมาชิกกึ่งหนึ่งเป็นคนต่างด้าว
- มูลนิธิ ทีมีวัตถุประสงค์เพื่อคนต่างด้าว
- นิติบุคคลอื่น ทื่มีกรรมการเกินกึ่งหนึ่งเป็นคนต่างด้าว
ใครรักษาการตาม พรบ.นี้ ? ..นายกรัฐมนตรี
หมวด 1
การเปิดเผยข้อมูลข่าวสาร
ข้อมูลข่าวสารที่ต้องลงพิมพ์ในราชกิจจานุเบกษามีอะไรบ้าง ?
- โครงสร้างการจัดการองค์กรในการดำเนินงาน
- สรุปอำนาจหน้าที่และวิธีการดำเนินงาน
- สถานที่ติดต่อเพื่อขอรับข้อมูลข่าวสาร
- กฎ มติ ครม. ที่มีผลเป็นการทั่วไป
ข้อมูลข่าวสารที่ต้องจัดให้ประชาชนได้ตรวจดูมีอะไรบ้าง ?
- ผลการพิจารณา หรือคำวินิจฉัยที่มีผลโดยตรงต่อเอกชน
- นโยบายที่ไม่เข้าข่ายที่ต้องลงพิมพ์ในราชกิจจานุเบกษา
- แผนงาน โครงการ งบประมาณรายจ่ายประจำปี
- สัญญาสัมปทาน ที่เป็นการผูกขาดตัดตอน
บุคคลสามารถขอดูข้อมูลได้ เว้นแต่
- ขอจำนวนมาก หรือบ่อยครั้ง
- มีสภาพอาจบุบสลาย – เป็นเรื่องปกป้องเสรีภาพของผู้นั้น
เจ้าหน้าที่ไม่จัดพิมพ์ ฝ่าฝืน ล่าช้า ร้องเรียนคณะกรรมการข้อมูลข่าสารภายในกี่วัน ? 30 วัน ขยายได้
กี่วัน ? ไม่เกิน 60 วัน
หมวด 2
ข้อมูลข่าวสารที่ไม่ต้องเปิดเผย
มี 2 อย่าอะไรบ้าง ?
1..ข้อมูลข่าวสารที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อสถาบันพระมหากษัตริย์
2..ข้อมูลข่าวสารที่ จนท. มีคำสั่งไม่ให้เปิดเผย มีดังนี้
- ก่อให้เกิดความเสียหายต่อความมั่นคงของประเทศ
- ทำให้กฎหมายเสื่อมประสิทธิภาพ
- ก่อให้เกิดอันตรายต่อชีวิต
- รายงานแพทย์ที่เป็นการรุกล้ำสิทธิส่วนบุคคล
การเปิดเผยข้อมูลข่าวสารอาจกระทบส่วนเสียของผู้ใด ให้ผู้นั้นคัดค้านภายในกี่วัน ?..15 วัน
เจ้าหน้าที่ไม่รับคัดค้าน มีคำสั่งไม่เปิดเผยข้อมูลข่าวสาร ให้ผู้นั้นอุทธรณ์ภายในกี่วัน ?. 15 วัน
หมวด 3
ข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคล
บุคคล หมายความว่า ?..บุคคลธรรมดาที่มีสัญชาติไทย และบุคคลธรรมดาที่ไม่มีสัญชาติไทยแต่มี
ถิ่นที่อยู่ในประเทศไทย
หน่วยงานของรัฐจะเปิดข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคลไม่ได้ เว้นแต่
- นำไปใช้ตามอำนาจหน้าที่
- เพื่อการงานแผนหรือ สำมะโน
- เพื่อการค้นคว้าวิจัย
- เพื่อตรวจดูคุณค่าในการเก็บรักษา
เจ้าของข้อมูลมีสิทธิรู้ข้อมูลข่าวสาร ขอแก้ไข เปลี่ยนแปลง ถ้าหน่วยงานของรัฐไม่แก้ไข เปลี่ยนแปลง ผู้
นั้นมีสิทธิอุทธรณ์ต่อ..คณะกรรมการวินิจฉัยฯ...ภายในกี่วัน...30 วัน
หมวด 4
เอกสารประวัติศาสตร์
เหตุที่หน่วยงานรัฐส่งข้อมูลข่าวสารให้แก่หอจดหมายเหตุแห่งชาติเพราะอะไร ?
- ไม่ประสงค์จะเก็บรักษา
- อายุครบกำหนด
- เพื่อให้ประชาชนได้ศึกษาค้นคว้า
ความลับของสถาบันพระมหากษัตริย์ต้องส่งให้หอจดหมายเหตุเมื่อครบกี่ปี ? ..75 ปี
ความลับของทางราชการหรือเจ้าหน้ามีคำสั่งไม่ให้เปิดเผยต้องส่งให้หอจดหมายเหตุเมื่อครบกี่ปี ?
..20 ปี
ถ้าหน่วยงานรัฐเห็นว่ายังไม่สมควรเปิดให้ขยายเวลาได้คราวละกี่ปี ? ....5 ปี
หมวด 6
คณะกรรมการวินิจฉัยการเปิดเผยข้อมูลข่าวสาร
คณะกรรมการมีกี่คน ? ...บุคคลตามความจำเป็นแต่ไม่น้อยกว่า 3 คน
หมวด 7
บทกำหนดโทษ
ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของกรรมการ ให้มีโทษจำคุก.ไม่เกิน 3 เดือน.. ปรับ..ไม่เกิน 5,000
ผู้ใดฝ่าฝืน หรือไม่ปฏิบัติตามข้อจำกัดให้มีโทษจำคุก..ไม่เกิน 1 ปี ..ปรับ..ไม่เกิน 20,000
เสริมหมวด 5 คณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการ
1. ใครเป็นประธานคณะกรรมการข้อมูลข่าวสาร
- รัฐมนตรีที่นายกมอบหมาย
2. ผู้ทรงคุณวุฒิที่ ครม. แต่งตั้งมีทั้งหมดกี่คน
- 9 คน
3. ผู้ทรงคุณวุฒิมีวาระในการดำรงตำแหน่งคราวละกี่ปี
- 3 ปี
พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540
มีทั้งหมด 7 หมวด 43 มาตรา
ชื่อ พรบ. "พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540"
บังคับใช้เมื่อพ้นกำหนด 90 วัน
บังคับใช้วันที่ 9 ธันวาคม 2540
มาตราทั่วไป
ประเด็นสำคัญแยกความแตกต่างระหว่าง "ข้อมูลข่าวสาร" กับ "ข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคล"
ให้ได้
มาตรา 4 (ถ้าท่องได้ยิ่งดีนะครับ)
"ข้อมูลข่าวสาร" หมายความว่า สิ่งที่สื่อความหมายให้รู้เรื่องราวข้อเท็จจริง ข้อมูล หรือสิ่งใดๆ
ไม่ว่าการสื่อความหมายนั้นจะทำได้โดยสภาพของสิ่งนั้นเองหรือโดยผ่านวิธีการใดๆ และไม่ว่าจะ
ได้จัดทำไว้ในรูปของเอกสาร แฟ้ม รายงาน หนังสือ แผนผัง แผนที่ ภาพวาด ภาพถ่าย ฟิล์ม
การบันทึกภาพ หรือเสียงการบันทึกโดยเครื่องคอมพิวเตอร์ หรือวิธีอื่นใดที่ทำให้สิ่งที่บันทึก
ไว้ปรากฏได้
เคยออกข้อสอบมาแล้ว…
1. "ข้อมูลข่าวสาร" หมายความว่าอย่างไร
ตอบ สิ่งที่สื่อความหมายให้รู้เรื่องราวข้อเท็จจริง
2. ข้อใดถือว่าเป็นข้อมูลข่าวสาร
ตอบ 1.เอกสาร 2.แฟ้ม 3.รายงาน 4.หนังสือ 5.แผนผัง 6.แผนที่ 7.ภาพวาด
8.ภาพถ่าย 9.ฟิล์ม 10.การบันทึกภาพ หรือเสียง 11.การบันทึกโดยเครื่อง
คอมพิวเตอร์
3. ข้อใดไม่เป็นข้อมูลข่าวสาร ตาม พรบ.ข้อมูลข่าวสารทางราชการ 2540
ก. รูปถ่าย
ข. ภาพวาด
ค. ภาพถ่าย
ง. ฟิล์ม
ตอบ ก. เพราะว่า รูปถ่าย เป็น "ข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคล” ไม่ใช่ "ข้อมูลข่าวสาร"




 

Create Date : 10 สิงหาคม 2554    
Last Update : 10 สิงหาคม 2554 16:10:40 น.
Counter : 9909 Pageviews.  

แนวข้อสอบ อบต. เทศบาล



ความรู้ทั่วไป
ปลัดอำเภอ(เจ้าพนักงานปกครอง) เป็นข้าราชการในสายงานที่มีระดับเริ่มต้นตั้งแต่
ระดับ (ซี) 3-5 หรือ 6ว เมื่อมีคุณสมบัติครบถ้วนตามหลักเกณฑ์ที่จะสอบเป็น
ระดับ 7 ถ้าสอบได้และได้รับการบรรจุ จึงจะมีสิทธิสอบเพื่อเข้าศึกษาอบรมในหลักสูตรนายอำเภอ ต่อจากนั้นก็ดำรงตำแหน่งระดับ 7 ต่อไปเรื่อย ๆ จนกว่าจะถึงลำดับการขึ้นบัญชีเพื่อแต่งตั้งให้เป็น
ระดับ 8 เริ่มจาก
หัวหน้ากลุ่มงาน ระดับ 8ว
ปลัดอำเภออาวุโส ระดับ 8ว
ปลัดอำเภอผู้เป็นหัวหน้าประจำกิ่งอำเภอ ระดับ 8ว ต่อจากนั้นจึงจะได้รับการแต่งตั้งเป็น
นายอำเภอ (เจ้าพนักงานปกครอง 8)
ผู้อำนวยการกอง ระดับ 8
ผู้ตรวจราชการกรมการปกครอง ระดับ 8-9 ชช
ปลัดจังหวัด ระดับ 9
รองผู้ว่าราชการจังหวัดระดับ 9
ผู้ว่าราชการจังหวัดระดับ 10
อธิบดี ระดับ 10
รองปลัดกระทรวง ระดับ 10
และปลัดกระทรวง ระดับ 11 (ปลัดกระทรวงมีเพียงตำแหน่งเดียว)

1.โรงเรียนมัธยมศึกษาในสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฏราชกุมาร ที่ทรงจัดสร้างขึ้น มีทั้งหมดกี่โรงเรียน
ก. 4 โรงเรียน ข. 5 โรงเรียน ค. 6 โรงเรียน* ง. 7 โรงเรียน
2.ประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ส่วนใหญ่มีอาชีพเกษตรกรรม แต่มีประเทศเดียว ซึ่งประชาชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพอุตสาหกรรมและบริการ คือ
ก.ไทย ข.มาเลเซีย ค.สิงคโปร์* ง.ฟิลิปปินส์
3.วันใดเป็นวันสำคัญในด้านการปกครอง
ก. 1 พฤษภาคม ข. 12 สิงหาคม
ค. 5 ธันวาคม ง. 10 ธันวาคม*
4.วันปีใหม่ของไทยในสมัยโบราณตรงกับวันใด
ก. 1 มกราคม ข. 13 เมษายน*
ค. 5 ธันวาคม ง. 31 ธันวาคม
5. เวนิชตะวันออกหมายถึงเมืองใด
ก.โตเกียว ข.กรุงเทพ* ค.กัวลาลัมเปอร์ ง.จาการ์ตา
6.บัตรอวยพร (Greeting Gard) ที่มีขึ้นก่อนบัตรอวยพรในเทศกาลอื่นๆ คือบัตรอวยพรในเทศกาลใด
ก.ปีใหม่ ข.คริสต์มาส ค.วาเลนไทน์* ง.วันแม่
7.หน่วยงานใดในสมัยอยุธยาที่ทำหน้าที่เหมือกระทรวงยุติธรรม
ก.เวียง ข.วัง* ค.คลัง ง.นา
8.อนุสาวรีย์บุคคลสำคัญนั้น สร้างขึ้นเพื่ออะไร
ก.ทำบุญ ข.ให้คนกราบไหว้ ค.ระลึกถึงคุณความดี* ง.เป็นประเพณี
9.พระมหากษัตริย์พระองค์แรกในระบอบประชาธิปไตย คือ
ก. พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ข.พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ค.พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว* ง.พระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล
10.สาเหตุสำคัญที่เราห้อยพระ
ก.เพื่อให้รู้ว่านับถือศาสนาพุทธ ข.เพื่อระลึกถึงพระพุทธเจ้า
ค.เพื่อเป็นเครื่องเตือนใจมิให้กระทำชั่ว* ง.เพื่อป้องกันผีและอันตรายต่างๆ
11.ชาย หญิง จะให้คำนำหน้าว่า นางสาว หรือนาย เมื่อใด
ก.ชายเมื่ออายุ 15 ปี หญิงเมื่ออายุ 17 ปี
ข.ชายเมื่ออายุ 17 ปี หญิงเมื่ออายุ 15 ปี
ค.เมื่อชายหรือหญิงอายุ 15 ปี*
ง.เมื่อชายหรือหญิงอายุ 17 ปี
12.การบริหารงานส่วนภูมิภาค การเกณฑ์ทหารเป็นหน้าที่ของส่วนราชการใด
ก.สัสดีจังหวัด* ข.สรรพกรจังหวัด
ค.สรรพสามิตจังหวัด ง.ผู้บังคับบัญชากองพันในจังหวัด
13.จังหวัดใดถือว่าเป็นประตูแห่งภาคอีสาน
ก.สระบุรี ข.นครราชสีมา* ค.ชัยภูมิ ง.ขอนแก่น
14.วัตถุที่สร้างด้วยมือมนุษย์สิ่งเดียวที่นักบินอวกาศที่เดินทางไปโคจรนอกโลกบอกว่าสามารถมองเห็นได้จากอวกาศ คืออะไร
ก.พีระมิด ข.หอไอเฟล
ค.กำแพงเมืองจีน* ง.สนามกีฬาโดนีเซียม
15.เจดีย์ทรงลังกามีลักษณะอย่างไร
ก.ทรงกลม* ข.ทรงสี่เหลี่ยมหักมุม ค.ทรงหกเหลี่ยม ง.ทรงกลีบเฟือง
16.”มรกตแห่งภาคอีสาน” เป็นสมญาของอะไร
ก.เขาใหญ่ ข.ภูหลวง* ค.ทุ่งกุลาร้องไห้ ง.ปราสาทหินพิมาย
17.ลายเซ็นธนบัตรทุกราคาเป็นลายเซ็นของใคร
ก.นายกและผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย
ข.นายกและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
ค.นายกและรองนายกรัฐมนตรี*
ง.รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง และผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย
18.อาชีพใดที่รัฐบาลสงวนไว้สำหรับคนไทยโดยเฉพาะ
ก.ตัดผม ข.ดัดผมสตรี ค.ทอผ้าไหม* ง.นักดนตรีไทย
19.การยื่นรายการภาษีเงินได้จะต้องกระทำเมื่อใด
ก.ภายในเดือนมกราคมของทุกปี
ข.ภายในเดือนกุมภาพันธ์ของทุกปี
ค.ภายในเดือนมีนาคมของทุกปี*
ง.ภายในเดือนธันวาคมของทุกปี
20.ใครเป็นผู้ควบคุมรายจ่ายของรัฐบาล
ก. พระมหากษัตริย์ ข.กระทรวงการคลัง
ค.รัฐสภา* ง.นายกรัฐมนตรี
21.ธนาคารสยามกัมมาจล ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็นธนาคารใด
ก.ธนาคารกรุงเทพ ข.ธนาคารกสิกรไทย
ค.ธนาคารไทยพาณิชย์ * ง.ธนาคารแห่งประเทศไทย
22.ต้นไม้ใดที่เป็นต้นไม้ประจำชาติไทย
ก.บัว ข.ราชพฤกษ์* ค.โพธิ์ ง.หางนกยูง
23.ประเทศที่มีภาษาพูดมากที่สุด คือประเทศใด
ก.จีน ข.อินเดีย* ค.สหรัฐอเมริกา ง.สหภาพรัสเซีย
24.เมื่อคนตายในบ้านต้องแจ้งต่อนายทะเบียนท้องถิ่นภายในระยะเวลาเท่าใด
ก. 15 วัน ข. 10 วัน ค. 7 วัน ง. 24 ชั่วโมง*
25.เมืองอกแตก ได้แก่เมืองใด
ก.ธนบุรี ข.นครสวรรค์ ค.พิษณุโลก ง.ถูกหมดทุกข้อ*
26.ชื่อรางวัล “แมกไซไซ” ตั้งตามชื่อประธานาธิบดีของประเทศใด
ก.สหรัฐอเมริกา ข.อินเดีย ค.อินโดนีเซีย ง.ฟิลิปปินส์*
27.สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร พระองค์แรก คือใคร
ก.รัชกาลที่ 5 ข.รัชกาลที่ 6
ค.เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ* ง.เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ์
28.ประธานาธิบดีคนแรกของสหรัฐอเมริกา คือใคร
ก. ยอร์จ วอชิงตัน* ข.อับราฮัม ลินคอล์น
ค.ไอเซนฮาวท์ ง. ทรูแมน
29.แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 9 เริ่มใช้ และสิ้นสุดเมื่อใด
ก. 2535-2539 ข. 2540-2544
ค. 2545-2549* ง. 2546-2550

30.วันมรดกไทย ตรงกับวันใด
ก. 2 เมษายน* ข. 12 เมษายน ค. 22 เมษายน ง.13 เมษายน
31.บทบัญญัติที่ว่า “ประเทศไทยเป็นราชอาณาจักรอันหนึ่งอันเดียวกัน จะแบ่งแยกมิได้” เป็นบัญญัติอยู่ในรัฐธรรมนูญมาตราใด
ก. มาตรา 1* ข. มาตรา 2 ค. มาตรา 3 ง. มาตรา 4
32.รัฐธรรมนูญฉบับแรกของไทย มีชื่อเรียกว่าอย่างไร
ก.รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม
ข.รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว)
ค.รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2475
ง.พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พุทธศักราช 2475*
33.ประธานรัฐสภาคนแรกของไทย คือใคร
ก.เจ้าพระยาพิชัยญาติ ข.เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี*
ค.พระยามานวรราชเสวี ง.พระยาศรยุทธเสนีย์
34.ข้อใดคือนายกรัฐมนตรีคนแรกของไทย
ก. พระยาพหลพลพยุหเสนา ข.จอมพล ป.พิบูลสงคราม
ค.พระยามโนปกรณ์นิติธาดา* ง.พันตรีควง อภัยวงศ์
35.พรรคการเมืองเก่าแก่ที่สุดในเมืองไทย คือพรรคใด
ก.ชาติไทย ข.ชาติพัฒนา
ค.ประชาธิปัตย์ * ง.ไทย รัก ไทย

ความรู้ทั่วไป เกี่ยวกับวิชาภาษาไทย
ตอนที่ 1 คำศัพท์
คำ คือถ้อยคำที่กล่าวออกมาให้รู้เฉพาะคำหนึ่งๆ เท่านั้น คำประกอบด้วยคำผสมอย่างน้อย 3 ส่วน คือ พยัญชนะต้น,สระ, เสียงหรือวรรณยุกต์ และมีส่วนอื่นๆ มาประกอบเข้าอีกด้วยตามความจำเป็น ได้แก่ ตัวสะกดและตัวการันต์
คำศัพท์ หมายถึงคำยากที่ต้องแปล, ตามหลักสูตรการสอบเข้ารับราชการจะทดสอบเกี่ยวกับ
1.การสะกดคำ
2.การอ่านคำ
3.ความหมายของคำหรือกลุ่มคำ
4.การเลือกใช้คำหรือกลุ่มคำ
การสะกดคำ ข้อสอบประเภทนี้เป็นการวัดการสะกดคำ โจทก์: จะกำหนดคำมาให้แล้วให้หาคำที่สะกดผิดหรือให้หาคำที่สะกดถูก
คำชี้แจง ให้หาคำที่สะกดผิดข้อละเพียงละคำตอบเดียว

1. ก.ภูษิต ข. ภูธร ค.ภูบาล ง.ภูวนัย* จ.ภูวเนตร
2. ก.ลำไย* ข.ชักใย ค.สายใย ง.ห่วงใย จ.เยื่อใย
3. ก.ตักบาตร ข.ลูกบาศ ค.บาดหลวง* ง.บาดทะยัก จ.บ่วงบาศก์
4. ก.วิวาท ข.เถรวาท ค.มุสาวาส* ง.โอวาท จ.วาทการ
5. ก.เสื้อเชิ๊ต ข.สมุดโน๊ต* ค.ไม้ก๊อก ง.ขนมเค้ก

การอ่านคำ ข้อสอบประเภทนี้ โจทก์ : จะกำหนดคำและคำอ่านมาให้แล้วให้เลือกคำอ่านผิดหรือ คำอ่านถูก กำหนดคำมาให้พร้อมทั้งคำอ่าน 5 คำ ให้พิจารณาคำว่าคำใดอ่านผิด หรืออาจถามโดยยกคำศัพท์พร้อมทั้งการอ่านมาให้ แล้วความว่าอ่านอย่างไรผิด หรืออ่านอย่างไรถูก หรืออาจจะถามคำอ่านว่ามีกี่พยางค์ หรือออกเสียงใดไม่ออกเสียงใด หรือกำหนดข้อความมาใช้ หาคำที่เขียนผิดในข้อความนั้น หรืออาจให้พิจารณาว่าคำที่กำหนดให้นั้นจะต้องนำข้อใดมาเติมจึงจะถูกต้อง
คำชี้แจง จงเลือกคำตอบที่ถูกเพียงคำตอบเดียว ข้อใดเป็นคำอ่านที่ถูกต้อง
1. “ประวัติศาสตร์”
ก. ประ – วัติ – ติ – สาด ข. ประ – หวัด – ติ – สาด*
ค. ประ – หวัด – สาด ง. ประ – วัด – สาด
2. “ผลิตภัณฑ์”
ก. ผะ – หลิ – ตะ – พัน ข. ผะ – หลิด – ตะ – พัน*
ค. ผลิด – ตะ – พัน ง. ผลิด – พัน
3. “ปรัชญา”
ก. ปรัด – ยา* ข. ปรัด – ชะ – ยา
ค. ปะ – รัด – ชะ – ยา ง. ปะ – หรัด – ชะ – ยา
4.ตัวย่อ “ศธ” อ่านคำเต็มที่ถูกต้องว่าอย่างไร
ก. สึก – สา – ทำ ข. สึก – สา – ทิ – กาน*
ค. สาด – สะ – นะ – ทำ ง. สา – ทา – สะ – นะ – สุก
5. “จรดพระมังคัล”
ก. จะ – รด – พระ – นัง –คัน ข. จด – พระ – นัง – คัน
ค. จะ – หรด – พระ – นัง – คัน* ง. จรด – พระ – นัง – คัน

ความหมายของคำหรือกลุ่มคำ ข้อสอบประเภทนี้ : โจทก์กำหนดให้เลือกข้อความที่มีความหมายตรงกับ คำ หรือข้อความที่กำหนดให้ หรืออาจให้อธิบายความหมายของสำนวน สุภาษิต คำพังเพย หรือให้เลือกคำที่มีความหมายตรงกันข้ามกับคำที่กำหนดให้ หรือแตกต่างไปจากคำอื่น

คำชี้แจง จงเลือกคำตอบที่ถูกที่สุดเพียงคำเดียว
1. “นอนหลับทับสิทธิ์”
ก.ไม่มีสิทธิ์ ข.ไม่แสดงหน้าที่ของตน
ค.ไม่เอาใจใส่ ใช้สิทธิ์ที่ตนมี* ง.ไม่รู้ว่าตนมีสิทธิ์
2. คำใดที่มีความหมายแตกต่างไปจากคำอื่น
ก.กรุณา ข.เมตตา ค.สงสาร ง.ชมเชย*
3. เธอทำไปเพราะความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ความหมายตรงข้ามกับคำใด
ก.รอบคอบ* ข.เลิ่นเล่อ ค.สะเพร่า ง.ประมาท
4. เขาเป็นคน ขี้ตืด อย่างมาก
ก.เห็นแก่ตัว ข.เห็นแก่ได้ ค.ละโมบ ง.ตระหนี่เหนียวแน่น*
5. “เสี้ยมเขาควายให้ชนกัน” เข้าลักษณะใด
ก.ศรศิลป์ไม่กินกัน ข.ยุให้ตำรำให้รั่ว*
ค.ถึงพริกถึงขิง ง.คดในข้องอในกระดูก

การเลือกใช้คำหรือกลุ่มคำ ข้อสอบประเภทนี้ : โจทก์จะกำหนดให้เลือกคำที่เหมาะสมเพื่อเติมในช่องว่าที่เว้นไว้ เพื่อให้ได้ความสมบูรณ์ถูกต้อง หรือคำใดในกลุ่มคำนั้นจึงเป็นคำที่เหมาะสมที่สุด เติมในช่องว่างของข้อความนั้นแล้วได้ความสมบูรณ์
คำชี้แจง จงเลือกคำที่เหมาะสมที่สุดเติมในช่องว่าง
1. ที่ห้องดนตรีมีระนาดสอง……………….
ก.ตัว ข. อัน ค. เลา ง. ราง*
2. คอยไปเถิด…………เขาจะต้องกลับมา
ก. ในไม่ช้า ข. ไม่นานนัก ค. ไม่กี่วัน ง. สักวันหนึ่ง*
3. จะลำบากยากเย็นอย่างไรเราก็ต้อง……………
ก. มานะ ข. กัดฟัน ค. อดทน* ง. ฮึดสู้
4. คนสวมเสื้อผ้าป้องกันความอายหรือ…………ตา
ก. อนาถ ข. ทุเรศ ค. อุจาด* ง. ระคาย
5. จักรเย็บผ้า…………นี้ใช้ดีมาก
ก. คัน ข. หลัง * ค. เครื่อง ง. อัน

ตอนที่ 2 การเขียน
การเขียน คือ การเรียบเรียงถ้อยคำ ข้อความ ได้อย่างถูกต้องและสละสลวยเขียนถูกต้องตามพจนานุกรม ถูกต้องตามหลักเกณฑ์ ถูกต้องตาม สะกดการันต์ ตามหลักสูตร การเขียน ได้แก่ การเรียงข้อความการแต่งประโยค การย่อความ การเขียนอธิบายความหมายของคำ
การเขียน ผู้เขียนต้องเขียนอย่างถูกต้อง สามารถในการเรียงถ้อยคำให้เป็นประโยค และข้อความอย่างถูกต้องสละสลวย, เป็นการแสดงความรู้ ความคิด และความรู้สึก และความต้องการของผู้ส่งสารสื่อความหมายออกเป็นลายลักษณ์อักษร เพื่อให้ผู้รับสามารถอ่านเข้าใจในการรับทราบความรู้ความคิด ความรู้สึก และความต้องการสิ่งนั้น
หลักการเขียน การเขียนหนังสือต้องเขียนถูกและเขียนเป็น
การเขียนเป็น หมายถึงการเขียนเพื่อบอกให้ผู้อื่นรู้เรื่อง และเข้าใจเจตนาเอาความประสงค์ของผู้เขียนเรื่องการเขียนเป็นนี้ ต้องฝึกให้เกิดความชำนาญ จึงจะได้ผล
สมความมุ่งหมายของวิชาความสามารถในการใช้ภาษาไทย หากเขียนได้ยังไม่
เรียกว่า เขียนเป็น
การเขียนถูก หมายถึง เขียนได้ตามหลักเกณฑ์ การสะกดการันต์จึงเป็นเรื่องสำคัญในการใช้ภาษาไทย เพราะถ้าเขียนไม่ถูกความหมาย ความหมายก็เปลี่ยนไป เช่น อนุญาต หมายถึงยินยอม ยอมให้ ตกลง แต่ถ้าเขียนเป็นอนุญาต ความหมายก็เปลี่ยนไป ทั้งนี้เพราะคำว่า ญาติ ตามพจนานุกรรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2525 (ยาด,ยาติ) น.คนในวงศ์วานที่ยังนับรู้กันได้ทางเชื้อสายฝ่ายพ่อหรือฝ่ายแม่ หลักเกณฑ์การเขียนอยู่ในวิชาหลักภาษาไทยต้องฝึกบ่อยๆ จะเกิดความจำและเป็นประโยชน์ในการใช้ภาษาไทย
การเรียงข้อความ ข้อสอบประเภทนี้ : โจทก์จะให้พิจารณาข้อความที่เขียนมาให้แล้วให้เรียงข้อความเสียใหม่ ให้ถูกต้องเหมาะสมตาม หลักการใช้ภาษาไทย (เทคนิค ในการทำข้อสอบเรียงข้อความ ผู้สอบต้องอ่านโจทก์ที่เป็นข้อความ แต่ละข้อแล้วนำต่อกันจนเห็นว่าการต่อแบบใดดีที่สุด ก็เลือกคำตอบที่ให้ไว้,หลักการตอบ อย่างอ่านตัวเลขก่อน จงอ่านใจความให้เข้าใจเสียก่อนแล้วจึง เรียงตัวเลขมาเรียงกัน)
คำชี้แจง จงเรียงข้อความให้ถูกต้อง
1. 1.การที่ช่วยงานหลายๆข่ายงาน 2.ในสถาบันต่างๆ มีการปฏิบัติงานคล้ายๆกัน
3.จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องสร้างแกนรวม 4.เพื่อประสานประโยชน์ร่วมกัน
ก.3 2 4 1 ข.2 3 4 1 ค.1 2 3 4* ง.4 3 2 1
2. 1.แนวทางแก้ไขปัญหาหากร่วมกันทำก็จะเป็นเรื่องดีมาก
2.ฉะนั้นโดยภาพรวมแล้ว
3.เมื่อแบ่งส่วนรับผิดชอบแล้วก็จะง่ายเข้า 4.ปัญหาที่เคยยากๆ
ก.1 2 3 4 ข.2 3 4 1 ค.4 3 2 1* ง.3 2 4 1
3. 1.เสียงที่นั่งอย่างเฉียบขาดนั้นเป็นเสียงผู้หญิง
2.เขาเคยเห็นผู้หญิงหลายคนฆ่าคนตาย
3.ซึ่งไม่ได้ทำให้เขาสบายใจเลยแม้แต่นิดเดียว
4.”ยืนอยู่นิ่งอย่างนั้นแหละ”
ก.2 1 4 3 ข.1 4 2 3 ค.2 3 4 1* ง.1 3 2 4
4. 1.มนุษย์โลกอาศัยพลังงานของสายน้ำ สายลม แสงแดด ไฟ สัตว์เลี้ยง และแรงงานคน
2.และมนุษย์ก็อยู่กับธรรมชาติด้วยความสันติสุขมาโดยตลอด
3.สมัยก่อนการปฏิวัติอุตสาหกรรมในยุโรป
4.เพื่อให้งานต่างๆ สำเร็จลุล่วง
ก.1 2 3 4 ข.4 1 2 3 ค.3 1 4 2* ง.1 3 2 4
5. 1.รางวัลชนะเลิศเป็นโล่รางวัลของประธานรัฐสภา
2.รางวัลรองชนะเลิศเป็นโล่รางวัลของประธานสภาผู้แทนราษฎร
3.พร้อมใบประกาศเกียรติคุณและทุนการศึกษา 2,000 บาท
4.พร้อมใบประกาศเกียรติคุณและทุนการศึกษา 3,000 บาท
ก.1 2 3 4 ข.4 3 2 1 ค.2 4 1 3 ง.1 4 2 3*

การแต่งประโยค ข้อสอบประเภทนี้ : โจทก์จะให้พิจารณาประโยคแต่ละประโยคว่า ประโยคใดแต่งได้ถูกต้องตามหลักภาษามากที่สุด
คำชี้แจง จงเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคำตอบเดียว
1. ข้อใด ไม่ เป็นประโยค
ก. ท้องทะเลสีคราม*
ข. ห้องนี้จุคนได้น้อย
ค. มรรยาทของเขาดีมาก
ง. ฝันสลายเมือรู้ความจริง
อ่านประโยคในข้อ 1 – 4 แล้วตอบคำถามข้อ 3 – 5
1.เขาคนเดียว 2.ใครที่มากับเขา
3.ใครคนหนึ่งล้มลง 4.เราไม่ชอบอาหารรสเผ็ด
3.ข้อใดเป็นประโยคปฏิเสธ
ก. 1 ข. 2 ค. 3 ง. 4*
4.ข้อใดไม่เป็นประโยค
ก. 1* ข. 2 ค. 3 ง. 4
5.ข้อใดเป็นประโยคบอกเล่า
ก. 1 ข. 2 ค. 3 * ง. 4

การย่อความ ข้อสอบประเภทนี้ โจทย์ : จะกำหนดข้อความมาให้แล้วย่อใจความหรือสรุปสาระสำคัญ,หรือให้ข้อความมาแล้วให้ตั้งชื่อเรื่อง,หรือถามว่าข้อความมีใจความโดยย่อตรงกับข้อใด
คำชี้แจง จงอ่านข้อความข้างล่างนี้แล้วตอบคำถาม
“นางสิริกร มณีรินทร์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ได้ตอบข้อซักถามของผู้สื่อข่าวเกี่ยวกับการกวดขันจรรยาของครูว่า กระทรวงศึกษาธิการพิจารณาเห็นว่าครูและบุคคลทั่วไป เห็นแบบฉบับของความดีงาม ถูกต้องของสังคม กระทรวงศึกษาธิการจึงได้กวดขันในเรื่องจรรยามารยาทครู นับตั้งแต่การแต่งกาย ควรจะเป็นระเบียบเรียบร้อยสมแก่ตำแหน่งฐานะ ไม่ใช่แต่งกันตามสบายอย่างอาชีพอื่นซึ่งเครื่องแต่งกายอื่น นอกจากจะเป็นการสร้างบุคลิกภาพแล้วยังบอกความเป็นใครด้วย
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการกล่าวต่อไปอีกว่า นอกจากเสื้อผ้าอาภรณ์การแต่งกาย แล้วการวางตัวของครูเป็นเรื่องที่กระทรวงศึกษาธิการจะพิจารณาเข้มงวดกวดขันด้วยให้พยายามละเว้นอบายมุข เช่น การสูบบุหรี่ ดื่มสุรา เล่นการพนัน เป็นต้น โดยจะขอความร่วมมือจากครู อาจารย์ ตลอดจนผู้บังคับบัญชาด้วย ทั้งนี้เพื่อให้ภาพพจน์ เกียรติยศ ชื่อเสียงของครู เป็นที่น่านิยมยกย่องแก่บุคคลในวงการทั่วไป”
1.ข้อความข้างบนมีใจความโดยย่อความกับข้อใด
ก.กระทรวงศึกษาธิการกวดขันในเรื่องการแต่งกายของครู
ข.นางสิริกร มณีรินทร์ ตักเตือนให้ครูดำรงตนเป็นปูชนียบุคคลและพยายามละเว้นอบายมุข
ค.รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการให้ครูช่วยสร้างภาพพจน์ เกียรติยศ ชื่อเสียงของครู
ง.รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการตอบข้อซักถามของผู้สื่อข่าวเกี่ยวกับการกวดขันจรรยาของครู*
จ.รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการให้สัมภาษณ์ นโยบายรีบด่วนที่เกี่ยวกับครู

2.ข้อความข้างต้นนี้ควรตั้งชื่อเรื่องตามข้อใดจึงเหมาะสมที่สุด
ก.ปูชนียบุคคล ข.การแต่งกายของครู
ค.การกวดขันจรรยาของครู* ง.ภาพพจน์ของกระทรวงศึกษาธิการ
จ.นโยบายที่เกี่ยวกับครู

การเขียนอธิบายความหมายของคำ ข้อสอบประเภทนี้ โจทย์ : จะให้เขียนข้อความสั้นๆ ของคำแต่ละคำ โดยอธิบายความหมายของคำ ให้ถูกต้องตามความหมายของคำแต่ละคำนั้นหรือให้เลือกคำเติมในช่องว่างที่ให้ไว้ถูกต้องสมบูรณ์เทคนิคในการทำข้อสอบ ต้องจำคำสุภาษิต,คำพังเพย,สำนวนที่พบบ่อยๆ และรู้ความหมายของวลีเดิม
ตัวอย่าง การเขียนอธิบายความหมายของคำ
คำชี้แจง จงเลือกคำสั่งวลีที่ให้ไว้ในช่องว่างให้ถูกต้องสมบูรณ์
1. ก.กล่าว ข.อ้าง ค.นำ* ง.บอก จ.พูด
2. ก.ส่วนแรก ข.ประการแรก* ค.ข้อแรก ง.เบื้องต้น จ.เรื่องแรก
3. ก.เลิก ข.ทิ้ง ค.หยุด* ง.ทิ้งขว้าง จ.ละทิ้ง
4. ก. พัฒนาการ ข.วิวัฒนาการ ค.พัฒนา* ง.เปลี่ยนแปลง จ.เติบโต
5. ก.เสียเลย ข.เสียทีเดียว* ค.เป็นอันขาด ง.อย่างเด็ดขาด จ.ของคนเสีย
6. ก.ถูก ข.ควร ค.ชอบ* ง.ดี จ.งาม
7. ก.จง ข.อย่า ค.และ* ง.ให้ จ.อนึ่ง
8. ก.อดีต ข.ปัจจุบัน ค.อนาคต ง.ฐานะ * จ.เงินเดือน
9. ก.เรียน ข.เตือน * ค.เน้น ง.บอก จ.ย้ำ
10. ก.ฉะนั้น* ข.สรุปแล้ว ค.เพราะฉะนั้น ง.ดังนี้ จ.โดยสรุป
ข้าพเจ้าจะขอ……1…..เอาข้ออันควรประพฤติปฏิบัติเฉพาะที่สำคัญๆ มาตักเตือนท่านไว้ ดังต่อไปนี้
ใน…..2….ก็คือเรื่องการศึกษา ซึ่งส่วนมากมักจะเข้าใจผิดกันว่า ตนได้ศึกษามานานพอแล้ว และพากัน….3….เสีย อันนี้นับว่าเป็นการเข้าใจผิดอย่างสำคัญที่สุด จริงอยู่ในการทำงานนั้นเราต้องการใช้ความสามารถเป็นประการสำคัญ แต่ก็ขออย่างได้ลืมเสียว่า บันได้ที่จะนำเราไปสู่ความเป็นผู้มีความรู้ความสามารถได้อย่างดีนั้น ก็คือการศึกษามั่นคง และยิ่งในสมัยที่วิชาการของโลกกำลังมี…4…ไปสู่การเป็นผู้ล้าสมัยได้อย่างน่าเสียดายที่สุดฉะนั้นสิ่งสำคัญประการแรกที่ข้าพเจ้าอยากเตือนท่านไว้ในโอกาสนี้ก็คือ จงอย่างได้ละทิ้งการศึกษา…..5….
ในประการที่ 2 เป็นเรื่องเกี่ยวกับความประพฤติของท่าน เพราะการออกไปเป็นนายทหารนั้นท่านจะเป็นอิสระ และมีโอกาสพบปะกับบุคคลต่างๆ มากกว่าเมื่อครั้งยังเป็นนักเรียนอยู่ ด้วยเหตุนี้จึงมีความจำเป็นที่ท่านจะต้องรู้จักบังคับตัวของตนเองให้รู้จักประพฤติปฏิบัติแน่ในสิ่งที่…..6…. เช่นในการระมัดระวังในเรื่องกิริยามารยาท การประหยัด การคบหาแต่เพื่อนที่ดี และการรักษาความสามัคคีในหมู่คณะเหล่านี้ เป็นต้น จงทำตามแต่ตัวอย่างที่ดี…7….พึงหลีกหนีความชั่วทั้งหลาย เช่นการดื่มสุราจนเมามาย หรือการใช้จ่ายที่ไม่คำนึงถึง….8….เหล่านี้เสียข้าพเจ้าขอ….9…ว่าเรื่องเสียความประพฤตินี้ได้เคยทำลายอนาคตอันสุกใสของนายทหารมามากต่อมากแล้ว จนต้องออกจากราชการไปก็มีตัวอย่างอยู่…..10…. จึงขอให้ท่านพึงระมัดระวังให้จงหนัก
ตอนที่ 3 ความเข้าใจภาษา
ความเข้าใจภาษา หลักสูตรทดสอบเกี่ยวกับการอ่าน จับใจความ การทำความเข้าใจเกี่ยวกับ เรื่องราว บทความหรือข้อความที่กำหนดให้ แล้วตอบคำถามในแต่ละบทความ หรือข้อความนั้นรวมทั้งการสรุปความ การตีความ และขยายความด้วย
ความเข้าใจภาษา นิยมใช้วัดความสามารถทั่วไปอย่างมาก ข้อสอบจะกำหนดสถานการณ์ซึ่งอาจจะเป็นบทความ ภาพหรือสิ่งอื่นๆ ให้แล้ว จะถามผู้สอบว่า มีความเข้าใจสถานการณ์ในการอ่านนั้นเพียงใด การตอบข้อคำถามจำเป็นต้องอาศัยสถานการณ์เสนอแนวทางการถามมักจะถามให้วิเคราะห์สถานการณ์ เช่น ควรตั้งชื่อบทความนี้ว่าอย่างไร ผู้เขียนมีความประสงค์ใด บทความนี้ให้แนวคิดเราอย่างไร อาจสรุปข้อความนี้ได้อย่างไร ข้อความนี้มีประเด็นสำคัญใด จุดใดเป็นหัวใจของบทความนี้
ข้อความความเข้าใจภาษา ไม่นิยมถามความจำ ยิ่งเป็นข้อสอบคัดเลือกด้วยแล้วลีลาการตอบจะต้องใช้ความคิดอย่างดีจึงตอบได้ ซึ่งอาจจะถามให้แปลความหมายตีความหมายพยากรณ์ผล แก้ปัญหาวิเคราะห์ปัญหา คือถามหาเหตุผล การให้ประเมินเหตุการณ์ในข้อความนั้นผู้ตอบต้องคิดให้รอบคอบก่อนตอบข้อสรุปทุกครั้งเสมอ

แบบการทำความเข้าใจข้อความ ข้อสอบประเภทนี้ โจทก์ : จะกำหนดข้อความมา
ให้อ่านเมื่ออ่านข้อความที่กำหนดให้แล้ว ตอบคำถามแต่ละข้อที่โจทก์กำหนดไว้
คำชี้แจง จงอ่านข้อความต่อไปนี้แล้วตอบคำถามข้อ 1-10
“คนไทยเรามีลักษณะอย่างหนึ่งคือ พร้อมจะเสียเงินในหลายๆ เรื่อง แต่กับเรื่อง
ของภาษีถ้าไม่จำเป็นจริงๆ ขอเลี่ยงไว้ก่อนดีกว่า ซึ่งหลายคนใช้เหตุผลว่า การที่
พวกตนไม่อยากเสียภาษี ใจจริงแล้วพร้อมที่จะเป็นพลเมืองดี เสียภาษีเต็มเม็ดเต็ม
หน่วย ถ้ารัฐจะสร้างความมั่นใจให้กับพวกตนได้ว่าเงินภาษีที่เก็บไปนั้น รัฐได้นำไป
ใช้ประโยชน์ต่อสาธารณะชนต่างๆ อย่างแท้จริง ไม่ใช่ไปหล่นอยู่ในกระเป๋าของ
ใครต่อใคร เสียกว่าครึ่ง เพราะที่ผ่านมา ชั่วความ เรื่องการคอรัปชั่นมีให้ได้ยินกัน
หนาหู รวมไปถึงการนำภาษีอากรไปใช้ผิดวัตถุประสงค์ มิได้ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อ
สาธารณชน เพียงหวังอยากสร้างอำนาจหรือเอื้อประโยชน์ กลุ่มอย่างเดียวแล้ว
ใครเขาจะอยากเสียภาษีกันละ”
1.ข้อใดเป็นเหตุผลที่ผู้เขียนอ้างว่าคนไทยบางคนไม่ชอบเสียภาษี
ก.ขี้เหนียว
ข.รายได้ไม่พอเสียภาษี
ค.ไม่มั่นใจในการใช้เงินเสียภาษีของรัฐบาล*
ง.มองไม่เห็นความสำคัญของเสียภาษี
2.”สาธารณชน” ในที่นี้หมายถึงอะไร
ก.ประชาชนทั่วไป ข.ความสุขของประชาชน
ค.สมบัติของประชาชน* ง.ประชาชนบางกลุ่ม
3.คำว่า “คอรัปชั่น” ควรใช้เป็นภาษาไทยอย่างไร
ก.การคดโกงเพื่อหวังสร้างอำนาจ* ข.ความเห็นแก่ได้
ค.ความโลภ ง.ทุจริต
4.การนำเงินภาษีอากรไปใช้ผิดวัตถุประสงค์เกิดผลเสียอย่างไร
ก.เสียงประมาณ ข.เศรษฐกิจ*
ค.เงินไม่พอใช้ ง.ขาดดุลการค้า
5.ผู้เขียนกล่าวว่าเงื่อนไขที่คนไทยพร้อมจะเสียภาษี คือข้อใด
ก.รัฐบาลนำเงินภาษีไปใช้อย่างถูกต้อง*
ข.รัฐบาลปราบคอรัปชั่นเป็นผลสำเร็จ
ค.รัฐบาลไม่ทำการเพื่อหวังสร้างอำนาจ
ง.รัฐบาลไม่เห็นแก่คนบางกลุ่ม
6.คำในข้อใดที่มีความหมายต่างจากคำ “เลี่ยง”
ก.ไม่ตรง ข.เสี่ยง* ค.หลีก ง.หลบ
7.บทความนี้ผู้เขียน เขียนจากข้อมูลใด
ก. ความเป็นจริง
ข.การสำรวจความเห็น*
ค.ความเห็นของคนไทยส่วนใหญ่
ง.ความเห็นส่วนตัวของผู้เขียนเอง
8.ผู้เขียนมีวัตถุประสงค์อย่างไรในการเขียนบทความนี้
ก.ให้แตกความสามัคคี
ข.ให้คนไทยเกลียดชังรัฐบาล
ค.ให้รัฐบาลปรับปรุงการใช้จ่ายเงินภาษีอากร*
ง.ให้รัฐบาลเลิกเก็บภาษีจากประชาชนชาวไทย
9.ผู้เขียนมีความเห็นว่าคนไทยมีลักษณะอย่างไร
ก.ขี้เหนียว ข.ไม่ทุจริต
ค.เจ้าสำราญ ง.ใช้จ่ายเงินฟุ่มเฟือย*
10.การเสียภาษีมีลักษณะอย่างไร
ก.ทุกคนต้องเสียภาษี ข.ผู้มีรายได้ต้องเสียภาษี*
ค.ยอมให้มีการหลีกเลี่ยงได้ ง.ใครจะเสียภาษีได้ไม่เสียก็ได้

แบบทำความเข้าใจบทความ,บทสนทนา
แบบทำความเข้าใจบทความ บทสนทนา ข้อสอบประเภทนี้ : โจทย์จะกำหนดบท
สนทนามาให้อ่านบทสนทนาที่กำหนด แล้วตอบคำถามแต่ละข้อที่กำหนดไว้,ข้อ
สอบสรุปความ จะกำหนดบทความมาให้ สรุปผ่อนคลายอารมณ์ เป็นเครื่องช่วยให้
มีมนุษย์สัมพันธ์ได้ดีที่สุด ทั้งเป็นเครื่องช่วยให้ประสบความสำเร็จในหน้าที่การงาน
อีกด้วย สิ่งที่จะนำมาเป็นหัวข้อสนทนานั้นไม่จำเป็นว่าจะต้องเป็นเรื่องหนัก หรือ
สลักสำคัญเสมอไป เช่น เรื่องที่เขียนไว้ในตำรา หรือเรื่องการเมือง ฯลฯ แต่เรื่อง
เบาๆ สมอง เช่น อาหาร ความรัก ชีวิต การท่องเที่ยว ฯลฯ
คำชี้แจง อ่านบทสนทนาแล้วตอบคำถาม
คนแรก “ข้าไม่อยากขับรถเข้ากรุงเทพฯ เอ้ย….พับผ่า ขนาดวันเวย์แล้วรถยังติด
แทบเขยื้อนไม่ได้”
คนที่สอง “วันเวย์ไม่ได้ผลเพราะรถยนต์มีมากขึ้นทุกวัน กรมตำรวจกำลังทดลอง
วิธีใหม่คราวนี้รับรองได้ผล รถยนต์บนท้องถนนจะมีน้อยลง การจราจรก็จะเริ่มคล่องตัว”
คนแรก “ ตำรวจเขามีวิธียังไง”
คนที่สอง “สนับสนุนให้สร้างโรงแรมม่านรูดเยอะๆ “
1.ลักษณะของการสนทนาเป็นแบบใด
ก.อภิปราย ข.ปรึกษา ค.วิจารณ์* ง.ปรับทุกข์ จ.บอกเล่า
2.คนที่หนึ่งไม่ชอบอะไร
ก.วันเวย์ ข.รถติด ค.กรุงเทพฯ* ง.ตำรวจ จ.โรงแรมม่านรูด
3.คนที่สองพูดในลักษณะใด
ก.ท้าทาย ข.ประชด* ค.รำคาญ ง.เพ้อเจ้อ จ.จริงจัง
4.สองคนนี้น่าจะสนทนากันที่ไหน
ก.ชานกรุงเทพฯ * ข.ในกรุง
ค.ที่ทำงาน ง.ที่บ้าน
จ.ในโรงแรมม่านรูด

บทกลอนหรือโคลง
ข้อสอบประเภทนี้ โจทย์ : จะยกบทประพันธ์หรือบทกลอนให้อ่าน และให้ทำความ
เข้าใจกับคำประพันธ์หรือบทกลอนนั้นแล้วตอบคำถาม
เทคนิค การตอบคำถามแบบสรุปความโดยการตีความหมายจากคำประพันธ์หรือ
บทกลอนผู้ตอบจะต้องเป็นผู้มีความเข้าใจ และรู้หลักเกณฑ์ของคำประพันธ์
ประเภทนั้นๆ ก่อนต้องอาศัยการอ่านและตีความจากคำประพันธ์เพื่อให้ได้ข้อสรุป
ในความหมายที่ได้จากคำประพันธ์โดยอาศัยความหมายของคำจากพจนานุกรม
ฉบับราชบัณฑิตยสถาน 2542 ประกอบโดยเฉพาะหลักเด่นของคำประพันธ์นั้น
อาทิเป็นคำประพันธ์ที่จัดอยู่ในกลุ่มเสาวรจนี นาที ปราโมทย์ พิโรธราหัง และ
สาปังคพิสัย ทั้งนี้เพื่อให้ได้บทสรุปความตามข้อสอบกับคำประพันธ์หรือบทกลอนนั้น
คำชี้แจง จงใช้คำประพันธ์นี้ตอบคำถามข้อ 1 และข้อ 2

“น้ำปลาโอชารส มาตรแม้นมดหมดเมืองมา
ได้ลิ้มชิมน้ำปลา จะดูดดื่มลืมน้ำตาล”
1.ข้อใดต่อไปนี้เหมาะที่จะใช้ในโอภาสใด
ก.เชิญชวน* ข.ชี้แจง ค.แจ้งความ ง.ประกาศ จ.โฆษณา
2.ผู้เขียนข้อความต้องการเน้นเรื่องใด
ก.น้ำปลา* ข.น้ำตาล ค.รสโอชา ง.นิยมมด จ.เปรียบคนกับมด

คำชี้แจง จากกลอนนี้จงตอบข้อ 3-5
“มีสลึงพึงบรรจบให้ครบบาท อย่างให้ขาดสิ่งของต้องประสงค์
มีน้อยใช้น้อยค่อยบรรจง อย่าว่างลงให้มากจะยากนาน”
3.กลอนนี้แต่งเพื่ออะไร
ก.เตือนใจ ข.สอน*
ค.เปรียบเทียบ ง.แนะนำ
จ.ชี้แจง
4.เป็นคำประพันธ์ชนิดใด
ก.กาพย์ ข.กลอน* ค.โครง ง.ฉันท์ จ.ร่าย
5.วรรคใดมีสัมผัสดีที่สุด
ก.วรรคแรก ข.วรรคสอง ค.วรรคสาม* ง.วรรคสี่ จ.ทุกวรรค




ให้อ่านโครงสยามมานุสตินี้แล้วตอบคำถาม ข้อ 1-6
หากสยามยังอยู่ยั้ง ยืนยง
เราก็เหมือนอยู่คง ชีพด้วย
หากสยามพินาศลง ไทยอยู่ ได้ฤา
เราก็เหมือนมอดม้วย หมดสิ้นสกุลไทย
1.โคลงบทนี้กล่าวถึงเรื่องอะไร
ก.ความสามัคคี
ข.ความมีเอกราช *
ค.ความรักชาติ
ง.ความเจริญของชาติ
จ.ความมั่นคงของชาติ
2.เอกราชของชาติคล้ายกับอะไรของมนุษย์
ก.เลือดเนื้อ ข.ชื่อเสียง ค.ชีวิต* ง.จิตใจ จ.กำลังกาย
3.ถ้าชาติเสียเอกราชประชาชนจะเป็นอย่างไร
ก.เสียชีวิต ข.เสียกำลังใจ ค.เสียอิสรภาพ* ง.เสียอนาคต จ.เสียชื่อเสียง
4.ท่านอาจแสดงความรักชาติได้โดยวิธีใด
ก.เดินทางทั่วเมืองไทย ข.คบแต่เพื่อนคนไทย
ค.สั่งสอนเยาวชนไทยให้ดี*
ง.สอนวิชาประวัติศาสตร์ไทย
จ.พูดภาษาไทย
5.จากโครงบทนี้ผู้แต่งมุ่งแสดงอะไร
ก.ความกล้าหาญของคนไทย *
ข.ความมั่นคงของประเทศไทย
ค.ความสามัคคีของคนไทย
ง.ความเจริญของประเทศไทย
จ.ความรักสงบของคนไทย
6.ท่านคิดว่าผู้แต่งโคลงนี้เป็นบุคคลประเภทใด
ก.รักชาติยิ่งชีพ* ข.รักชื่อเสียง ค.รักความสัตย์ ง.รักความสงบ จ.รักชีวิต

อ่านข้อความนี้แล้วตอบคำถามข้อ 7-10
“มีเสียงตะโกนจากประตูหน้า “หน้าว่าง เหยียบเลยลูกพี่ 120”
7.คำว่า “เหยียบ” มีความหมายตรงกับข้อใด
ก.เร็ว ข.เร่ง* ค.วาง ง.กด จ.กระทืบ
8.เหตุการณ์นี้น่าจะเกิดขึ้นที่ใด
ก.ร้านเหล้า ข.บนรถเมล์ * ค.บนรถไฟ ง.บนรถแท๊กซี่ จ.ในโรงหนัง
9.ผู้พูดควรจะเป็นใคร
ก.นายตรวจ ข.ผู้โดยสาร ค.คนขับ ง.กระเป๋า* จ.ยังสรุปแน่นอนไม่ได้
10.ตัวเลข “120” หมายถึงอะไร
ก.ราคา ข.จำนวน ค.ระยะทาง ง.ความเร็ว* จ.จำนวนครั้ง

อ่านโคลงบทนี้แล้วตอบคำถามข้อ 11-16

ใครรานใครรุกด้าว แดนไทย
ไทยรบจนสุดใจ ขาดดิ้น
เสียเนื้อเลือดหลั่งไหล ยอมสละ สิ้นแล
เสียชีพไป่สูญสิ้น ชื่อก้องเกียรติงาม
11.โคลงบทนี้กล่าวถึงเรื่องใด
ก.การป้องกันประเทศ *
ข.การรุกราน
ค.การรักษาชื่อเสียง
ง.การรักษาชีวิต
จ.การเสียเลือดเนื้อ
12.คนใดตายอย่างมีเกียรติ
ก.นักปราชญ์ ข.นักเลง ค.นักรัก ง.นักรบ* จ.นักล้วง
13.ถ้าประเทศชาติถูกรุกราน คนไทยจะทำอย่างไร
ก.รักษาเกียรติไว้
ข.สละชีพเพื่อชาติ *
ค.รักษาชีวิตไว้
ง.ยอมสละแผ่นดิน
จ.ยอมสละทรัพย์สิน
14.คนที่ป้องกันประเทศชาติจนตัวตายจะเป็นอย่างไร
ก.ประเทศไม่เสียเอกราช
ข.เสียทรัพย์สิน
ค.ครอบครัวสุขสบาย
ง.ได้รับการยกย่อง *
จ.คนคิดสั้น
15.โคลงบทนี้ส่งเสริมลัทธิใด
ก.ชาตินิยม* ข.คอมมิวนิสต์ ค.เผด็จการ ง.ประชาธิปไตย จ.เสรีภาพ
16.ถ้าชาติถูกรุกรานควรทำอย่างไร
ก.รวมกำลังป้องกัน *
ข.สะสมอาวุธและเสบียง
ค.สร้างที่หลบภัย
ง.เดินขบวนประท้วง
จ.ร้องเพลงปลุกใจ

อ่านข้อความข้างล่างนี้ แล้วตอบคำถามข้อ 17-21
“สรรพากรยืนยันว่า โครงสร้างภาษีใหม่ที่จะเริ่มใช้ปี 2547 จะไม่รีดเลือดจากปู แต่จะอุดรูรั่ว ของภาษี ผู้มีรายได้เท่ากับรายได้ต่ำสุดของข้าราชการ จะไม่ต้องเสียภาษี”
17.ข้อความนี้ชี้ให้เห็นนโยบายเกี่ยวกับโครงสร้างภาษีใหม่อย่างไร
ก.จะเพิ่มภาษีมากขึ้น
ข.จะลดภาษีให้น้อยลง
ค.จะลดรายจ่ายของรัฐลง
ง.จะปรับปรุงวิธีการเก็บภาษี *
18. “ปู” ในที่นี้หมายถึงใคร
ก.นักธุรกิจ ข.ประชาชน* ค.พ่อค้าแม่ค้า ง.ข้าราชการชั้นผู้น้อย


19.อะไรเป็นเหตุผลให้สรรพากรปรับปรุงโครงสร้างภาษีใหม่
ก.เพื่ออุดช่องโหว่ของภาษีเงินได้ของรัฐ
ข.เพื่อหาทางเพิ่มพูนรายได้แก่ประชาชนทุกฝ่าย
ค.เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่ประชาชนทั่วไป
ง.เพื่อสนองนโยบายรัฐบาลในการช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อย *
20.สิ่งใดเป็นผลสืบเนื่องจากการกระทำในเรื่องนี้
ก.ข้าราชการจะไม่ต้องเสียภาษี
ข.จะไม่มีรูรั่วของภาษีที่คนจะหลบเลี่ยงได้อีก
ค.ประชาชนจะไม่ต้องเสียภาษีเพิ่มอีกต่อไป
ง.ผู้มีรายได้น้อย จะไม่ต้องเสียภาษี *
21. “รีดเลือดจากปู” มีความหมายตรงกับข้อความใด
ก.การเก็บเงินจากคนมั่งมี
ข.การเก็บเงินจากนักธุรกิจ
ค.การเอาเงินจากข้าราชการและประชาชน
ง.การเอาเงินจากคนไม่ค่อยมีเงิน *

อ่านข้อความข้างล่างนี้ แล้วตอบคำถามข้อ 22-27
“เสือมีเพราะป่าปก และป่ารกเพราะเสือยัง ดินเย็นเพราะหญ้าบัง และหญ้ายังเพราะดินดี”
22.คำประพันธ์นี้ชี้ให้ผู้อ่านเห็นในเรื่องใด
ก.โลกต้องพึ่งพาอาศัยกัน*
ข.สัตว์และพืชต้องอาศัยกัน
ค.โลกเปรียบเหมือนโรงละคร
ง.ความสมดุลของธรรมชาติ
23.คำประพันธ์ข้างต้นนี้ จัดอยู่ในประเภทใด
ก.โคลง ข.ฉันท์ ค.กาพย์ * ง.กลอน
24.ผู้แต่งใช้วิธีการใดจูงใจผู้อ่าน
ก.เปรียบเทียบ ข.ชักจูง ค.ยั่วยุ ง.ยกตัวอย่าง*
25.คำใดมีความหมายตรงข้ามกับคำว่า รก
ก.บาง ข.โล่ง ค.เตียน* ง.ห่าง
26.คำประพันธ์นี้สอดคล้องกับคำพังเพยหรือภาษิตใด
ก.ลูกไม้หล่นไม่ไกลต้น
ข.สังขารทั้งหลายไม่เที่ยงหนอ
ค.เข้าเถื่อนอย่าลืมพร้า
ง.ผัวหาบเมียคอน *
27.ควรใช้คำประพันธ์นี้ประกอบความเรียงเรื่องใด
ก.ความรักชาติ
ข.ความสามัคคี *
ค.ปลูกไมตรีอย่ารู้ร้าง
ง.การไม่ทำบาป นำสุขมาให้

จงอ่านข้อความต่อไปนี้ แล้วตอบคำถามข้อ 28-31
“ความรัก ความรักเจ้าขา จู่ๆ ก็มาไม่ทันตั้งตัว
เพียงพบหน้าตาสบตา ทำไมรักมาจ้องตามืดมัว
มองอะไรเขาดีไปทั่ว ดูจิตใจหวิวไหวเต้นรัว
กงจักรดอกบัวคิดกลัวเสียเมื่อไร”
28.คำประพันธ์นี้มีลักษณะอย่างไร
ก.ห่วงใย ข.บูชา ค.เพ้อฝัน* ง.ชักชวน
29.ข้อใดสรุปเนื้อความข้างต้นนี้ได้เหมาะสมที่สุด
ก.ดวงตาเป็นหน้าต่างของหัวใจ
ข.ที่ใดมีรักที่นั่นมีความสุข
ค.ความรักทำให้คนตาบอด *
ง.กามเทพชักนำให้คนรักกัน
30. “กงจักรดอกบัว” หมายความว่าอย่างไร
ก.เห็นชอบเป็นผิด
ข.เห็นผิดเป็นชอบ*
ค.ลุ่มหลงในอบายมุข
ง.เอาความดีชนะความชั่ว

31.ข้อความใดมีความหมายเหมือนคำประพันธ์ข้างต้น
ก.ถึงม้วยดินสิ้นฟ้ามหาสมุทร ไม่สิ้นสุดความรักสมัครสมาน
ข.ความรักเหมือนโรคา บันดาลตาให้มืดมน *
ค.อันความกรุณาปรานี จะมีใครบังคับก็หาไม่
ง.เมื่อยามรักน้ำต้มผักก็ว่าหวาน พอเนิ่นนานน้ำอ้อยก็กร่อยขม

ทดสอบความสามารถด้านเหตุผล
32. ก.กระดาษ ข.โต๊ะ * ค.ดินสอ ง.ปากกา จ.หมึก
33. ก.บวก ข.หาร ค.เศษส่วน* ง.ลบ จ.คูณ
34. ก.น้ำคำ ข.น้ำใจ ค.น้ำมือ ง.น้ำส้ม* จ.น้ำหนัก
35. ก.ปากบอน ข.ปากมาก ค.ปากพล่อย ง.ปากจัด จ.ปากเหม็น *
36. ก.น้ำผึ้ง ข.น้ำตาล ค.น้ำหวาน ง.น้ำมะนาว* จ.น้ำอ้อย
37. ก.เพลงปรบไก่ ข.เพลงฉ่อย ค.เพลงพวงมาลัย ง.เพลงเร่เรือ จ.เพลงชาติ*
38. ก.บาสเกตบอล ข.แชร์บอล ค.วอลเลย์บอล ง.ฟุตบอล* จ.แฮนด์บอล
39. ก.ปากถ้ำ ข.ปากทาง ค.ปากเหว ง.ปากอ่าว จ.ปากตลาด *
40. ก.ปากร้าย ข.ปากจัด ค.ปากเสีย ง.ปากแตก* จ.ปากบอน
41.พ่อ แม่ ลุง…..
ก.น้อง ข.พี่ ค.ป้า* ง.น้า จ.ลูก
42.รถยนต์ ม้า เรือ……..
ก.ไถนา ข.แกะ ค.วัว ง.รถไฟ* จ.จรวด
43.สถาบัน วิทยาลัย มหาวิทยาลัย……….
ก.โรงแรม ข.โรงพิมพ์ ค.โรงเรียน* ง.โรงสี จ.โรงทาน
44.ความดี :หอม ความชั่ว: ?
ก.เหม็น* ข.เลว ค.ร้าย ง.ดำ จ.มืด
45.ครู : สอน พระ : ?
ก.สวดมนต์ ข.เทศน์ * ค.ลูกศิษย์ ง.อภิปราย จ.ท่อง
46. ต้นไม้ : ปุ๋ย คน : ?
ก.อาหาร ข.ข้าว ค.น้ำ ง.วิตามิน* จ.อากาศ
47. ช้าง : งวง คน : ?
ก.ปาก ข.มือ ค.เท้า ง.จมูก* จ.แขน
48. โตโยต้า : ญี่ปุ่น โฟล์ค : ?
ก.อังกฤษ ข.ฝรั่งเศส ค.เยอรมัน* ง.อิตาลี จ.สวีเดน
49.สาวลำพูนทุกคนเป็นคนสวย คงเดชมีภรรยาเป็นชาวลำพูน ฉะนั้น
ก.คงเดชเป็นคนรูปหล่อ
ข.คงเดชชอบเมืองลำพูน
ค.คงเดชเป็นชาวลำพูน
ง.ภรรยาคงเดชสวย *
จ.ยังสรุปแน่นอนไม่ได้
50.คนจีนขยันทุกคน นายดำ ขยัน ฉะนั้น
ก. นายดำ เป็นคนจีน
ข. นายดำ เป็นลูกเขยคนจีน
ค. นายดำ ทำงานกับคนจีน
ง. นายดำ ร่ำรวย
จ. ยังสรุปแน่นอนไม่ได้ *
51. ก.สูงกว่า ข. ข.ต่ำกว่า ค. ค.สูงกว่า ง. และ ก.ต่ำกว่า ง. ดังนั้น
ก. ค.สูงที่สุด* ข. ก.สูงที่สุด ค. ข.สูงกว่า ก.
ง. ก.ต่ำกว่า ข. จ.ยังสรุปไม่ได้
52.ค้างคาวเป็นสัตว์ที่มีใบหู และบินได้อย่างนก แต่นกไม่มีใบหู ดังนั้น
ก.ค้างคาวคือนก
ข.ค้างคาวไม่ใช่นก *
ค.สัตว์ที่บินได้ทุกชนิดเป็นนก
ง.สัตว์มีหูทุกชนิดเป็นค้างคาว
จ.สรุปแน่นอนไม่ได้
53.ศาสนาคริสต์ : ไม้กางเขน ศาสนาพุทธ : ?
ก.ธรรมจักร* ข.ไตรปิฎก ค.โบสถ์ ง.พระสงฆ์
54.ดินสอ : เขียน นาฬิกา : ?
ก.ชั่วโมง ข.เข็ม ค.เวลา* ง.เรือน

อ่านข้อความต่อไปนี้แล้วตอบคำถามข้อ 55-56
“18 เมษายน ขอเชิญทุกคนไปเลือกผู้แทน”
55.ข้อความนี้มีวัตถุประสงค์อย่างไร
ก.ชี้นำ ข.ชักชวน* ค.จูงใจ ง.บอกกล่าว
56.ข้อความนี้น่าจะเป็นของใครมากที่สุด
ก.ผู้สมัครรับเลือกตั้ง ข.นักการเมือง
ค.ข้าราชการ* ง.หัวคะแนน

อ่านข้อความต่อไปนี้แล้วตอบคำถามข้อ 57-58
“ไม่มีชื่อ ไม่มีบัตร ไม่มีสิทธิ์”
57.ข้อความนี้จัดเป็นประเภทใด
ก.แนะนำ ข.ว่ากล่าว ค.บังคับ ง.ตักเตือน *
58.ข้อความนี้ต้องการผลในข้อใดมากที่สุด
ก.มีการเลือกตั้ง ข.มีชื่อและบัตร ค.การมีสิทธิ์* ง.การใช้สิทธิ์

อ่านข้อความต่อไปนี้แล้วตอบคำถามข้อ 59.
“ถึงยากจนอย่างไรก็ไม่ว่า แต่พร้าขัดหลังมาจะยกให้”
59.ท่านคิดว่าผู้กล่าวน่าจะมี ค่านิยม อย่างไร
ก.ยกย่องการทำตามประเพณี
ข.ยกย่องความดี
ค.ยกย่องคนขยัน
ง.ยกย่องคนทำกิน *
60.แนวพลับพลึงขนานกับแนวกุหลาบ แต่ตั้งฉากกับแนวกระถิน รั้วบ้านตั้งฉากกับแนวกุหลาบ ฉะนั้น
ก.รั้วบ้านตั้งฉากกับแนวกระถิน
ข.รั้วบ้านขนานกับแนวกระถิน *
ค.รั้วบ้านขนานกับแนวพลับพลึง
ง.สรุปแน่นอนไม่ได้

คำชี้แจง จงเลือกข้อที่ถูกต้องที่สุด
1.การเมืองคืออะไร
ก. ความเป็นไปของบ้านเมือง ข.การเรียกร้องสิทธิต่างๆ
ค.การใช้อำนาจปกครอง* ง.สภาผู้แทนและวุฒิสภา
จ.การเลือกตั้งส.ส.
2.ข้อใดจัดเป็นสถาบันทางการเมือง
ก.มหาวิทยาลัย ข.ศาลากลางจังหวัด
ค.พนักงานการศึกษาแห่งชาติ ง.สำนักงานเลขาธิการรัฐสภา*
จ.ไม่มีคำตอบถูกต้อง
3.คำว่า สิทธิ หมายความว่าอย่างไร
ก. ความสามารถที่จะทำอะไรก็ได้
ข.ความสามารถที่จะทำและใช้สิทธิทางกรเมืองอย่างเต็มที่
ค.ประโยชน์ที่กฎหมายรับรองและให้ความคุ้มครอง*
ง.ทำอะไรตามใจคือสิทธิของคนไทย
4.ในระบบประชาธิปไตยคือข้อใดสำคัญที่สุด
ก.มีจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
ข.ประชาขนมีเสรีภาพ
ค.มีรัฐธรรมนูญปกครองประเทศ
ง.อำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชน*
จ.มีการกระจาย อำนาจในการปกครอง
5.ข้อแสดงว่าระบอบประชาธิปไตยเสื่อม
ก.ไม่มีอิสระในการหาเสียง ข.ไม่มีประชาชนมาลงคะแนนเลือกตั้ง*
ค.ไม่มีประชาชนร่วมเป็นกรรมการ ง.ไม่มีคนฟังนักการเมืองปราศรัย
จ.ไม่มีกฎหมายพรรคการเมือง
6.สิ่งสำคัญประการแรกที่ทำให้ประเทศชาติเจริญคือข้อใด
ก.การศึกษาที่ดี* ข.ทหารที่เข้มแข็ง
ค.ประชารมาก ง.ทรัพยากรอุดม
จ.คณะรัฐมนตรีมาจากการเลือกตั้ง
7.เลือกตั้งผู้แทนราษฎรเพื่ออะไร
ก. ยกระดับการปกครองระอบอบประชาธิปไตย
ข.ยกระดับการบริหารประเทศ
ค.ครบขั้นตอนของระบอบประชาธิปไตย
ง.ให้ประชาชนมีสิทธิในการปกครอง*
จ.ให้ประเทศเพื่อนบ้านยอมรับ
8.จริยธรรมทางการเมืองระบอบเผด็จการ คำนึ่งถึงสิ่งใดเป็นสำคัญ
ก. ความเสมอภาค ข.เสรีภาพ
ค.อำนาจสมบูรณ์แห่งรัฐ* ง.ความเจริญของประเทศ
จ.ความยุติธรรมในสังคม
9.วัฒนธรรมทางการเมืองจะถูกปลูกฝังในตัวบุคคลได้ดีที่สุดในแหล่งใด
ก.โรงเรียน ข.ครอบครัว*
ค.ที่ทำงาน ง.สังคมโดยทั่วไป
จ.พรรคการเมือง
10.อำนาจอธิปไตยหมายถึงอะไร
ก.อำนาจของประชาชน ข.อำนาจสูงสุดในการปกครองประเทศ*
ค.อำนาจทางรัฐสภา ง.อำนาจของรัฐบาล
จ.อำนายที่ใครจะทำเพื่ออะไรก็ได้โดยคนอื่นไม่มีสิทธิมาขัดขวาง
11.ประเทศที่มีการปกครองแบบใดจึงจะมีระบบกฎหมายเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันทั่วทั้งประเทศ
ก.รัฐเดี่ยว* ข.สหพันธ์
ค.สมาพันธ์ ง.สหภาพ
จ.สหรัฐ
12.ข้อใดไม่มีกล่าวไว้ในแนวนโยบายแห่งรัฐ
ก.การปราบปรามคอรัปชั่น ข.การเก็บภาษีอากร*
ค.สงเคราะห์ผู้ประสบภัย ง.สนับสนุนงานวิจัยในวิทยาศาสตร์ต่างๆ
จ.การรักษากฎหมายและความสงบเรียบร้อย
13.ประเทศไทยมีสภาสองสภาได้แก่สภาใดบ้าง
ก.รัฐสภากับสภาผู้แทนราษฎร ข.วุฒิสภากับรัฐสภา*
ค.วุฒิสภากับพุทธสภา ง.วุฒิสภากับสภาผู้แทนราษฎร
จ.สภาผู้แทนราษฎรกับสภาสูง
14.ท่านคิดว่าการเมืองเป็นเรื่องของใคร
ก.ประชาชนทุกคน* ข.รัฐสภาเท่านั้น
ค.พรรคการเมืองเท่านั้น ง.คณะรัฐมนตรีเท่านั้น
จ.ข้าราชการทุกคน
15.คนส่วนใหญ่เล่นการเมืองเพื่ออะไร
ก. ความมั่นคง ข.เกียรติยศชื่อเสียง
ค.อำนาจ* ง.กลุ่มของตนเอง
จ.สังคมสงเคราะห์
16.ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง แต่ไม่ไปใช้สิทธิถือว่าขาดคุณสมบัติข้อใด
ก.วัฒนธรรม ข.อุดมการณ์
ค.จริยธรรม* ง.อารยธรรม
จ.ทัศนคติ
17.อุปนิสัยอย่างไรส่งเสริมประชาธิปไตย
ก.ชอบระแวง ข.ชอบนินทา
ค.ชอบเอาเปรียบ ง.ไว้ใจผู้อื่น*
จ.เห็นแก่ตัวเอง
18.เนื่องจากประเทศในปัจจุบันมีประชากรมาก สถาบันใดที่มีความสำคัญมากในระบอบประชาธิปไตย
ก.สถาบันตัวแทน* ข.สถาบันชนชั้นนำ
ค.สถาบันทางเศรษฐกิจ ง.สถาบันทางสังคม
จ.สถาบันทางการประกอบอาชีพ
19.เพราะเหตุใดการออกเสียงเลือกตั้งในระบอบประชาธิปไตยนั้นจึงเป็นสิ่งสำคัญ
ก.เป็นอภิสิทธิ์ของพลเมืองของประเทศ
ข.เป็นสิทธิและอำนาจของพลเมองของประเทศ*
ค.เป็นแต่เพียงสิทธิของพลเมืองของประเทศ
ง.เป็นทรัพยากรทางการเมืองของพลเมืองของประเทศ
จ.เป็นคุณสมบัติของพลเมืองของประเทศ
20.การปกครองที่ดีต้องยึดหลักอะไรบ้าง
ก.หลักกฎหมาย* ข.หลักประเพณี
ค.หลักทางศาสนา ง.หลักทางเศรษฐกิจ
จ.หลักทางสิทธิทางการเมือง
21.สิ่งที่รัฐบาลในระบอบประชาธิปไตยพึงรับฟังคืออะไร
ก. ความต้องการของคนกลุ่มน้อยต่างๆ ทั้งหลาย
ข.ความต้องการของประชาชนทั่วไป*
ค.ความต้องการของปัญญาชนที่มีการศึกษาระดับมหาวิทยาลัย
ง.ความต้องการของกลุ่มอิทธิพลเท่านั้น
จ.ความต้องการที่เกิดขึ้นจากการชุมนุมเรียกร้อง
22.รัฐบาลในระบอบประชาธิปไตยจะต้องมีลักษณะอย่างไร
ก.มีความสามารถสูง ข.มีการรวมตัวอย่างมั่นคง
ค.มีอำนาจจำกัด* ง.มีประสบการณ์สูง
จ.มีความสามารถในการสืบต่องานสำคัญที่รัฐบาลชุดก่อนได้ทำไว้
23.การเป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตยของประชาชนในระบอบประชาธิปไตยนั้น จะกระทำได้ด้วยการมีส่วนร่วมในรูปใดๆ บ้าง
ก.การเลือกตั้ง การแสดงความคิดเห็น ข.การจัดตั้งรัฐบาล
ค.การจัดตั้งกลุ่มการเมืองหรือพรรคการเมือง
ง.การแสดงประชามติ จ.ถูกทุกข้อ*
24.ระบอบการปกครองใดที่ส่งเสริมความเป็นอารยธรรมของมนุษย์ชาติ
ก.อัตราธิปไตย ข.คณาธิปไตย
ค.อภิชนาธิปไตย ง.สาธารณรัฐประชาธิปไตย
จ.ประชาธิปไตย*
25.หลักสำคัญประการหนึ่งของการปกครองระบอบประชาธิปไตย ได้แก่อะไร
ก.การใช้อำนาจเพื่อประสิทธิผล
ข.การบังคับเพื่อความมั่นคงแห่งชาติ
ค.การใช้อิทธิพลเพื่อประสิทธิภาพ
ง.การรู้จักประนีประนอม*
จ.การจัดตั้งองค์การเพื่อประสิทธิภาพ
26.มนุษย์ในระบอบประชาธิปไตยนั้น ควรจะมีลักษณะนิสัยประการใด
ก.จิตใจไม่คับแคบ
ข.ความเห็นอกเห็นใจระหว่างกัน และหาทางออกแห่งปัญญาร่วมกัน
ค.เชื่อมั่นและยึดถือแนวความคิดเห็นของตน
ง.ข้อ ก. และ ข.*
จ. ข้อ ข. และ ค.
27.การแข่งขันแบบใดที่ประชาธิปไตยส่งเสริมให้เกิดขึ้น
ก.แข่งขันกันอย่างเต็มที่
ข.แข่งขันกันอย่างเสรี
ค.แข่งขันกันโดยยึดความสามารถทางทุกทางเป็นหลัก
ง.แข่งขันในการกระทำดี
จ.ข้อ ก. ข. และ ค. ถูก*
28.ความเสมอภาคระหว่างมนุษย์เกี่ยวข้องกับประชาธิปไตยโดยประการใด
ก.เป็นภูมิหลังของประชาธิปไตย
ข.เป็นขบวนการประชาธิปไตย
ค.เป็นปรากฏการณ์ของประชาธิปไตย
ง.เป็นหลักการของประชาธิปไตย*
จ.เป็นองค์ประกอบของประชาชน
29.อะไรเป็นสิ่งที่ประชาธิปไตยไม่ปรารถนา
ก.อำนาจคืออำนาจ * ข.อำนาจคือธรรม
ค.อำนาจแห่งความยุติธรรม ง.อำนาจแห่งมนุษย์ธรรม
จ.เมตตาธรรมคืออำนาจ
30.คุณค่าพื้นฐานของมนุษย์ที่ระบอบประชาธิปไตยต้องรักษาไว้ ได้แก่อะไร
ก.สิทธิเสรีภาพ ข.ความเสมอภาค
ค.ไมตรีจิตระหว่างมนุษย์ ง.ความสุขความเจริญร่วมกันของประชาชน
จ.ถูกทุกข้อ*
31.สิ่งหนึ่งซึ่งจะช่วยให้ประเทศไทยมีความเป็นอิสระมาช้านานได้แก่
ก.อาณาเขตของประเทศที่อยู่ห่างไกลจากประเทศอื่น
ข.การช่วยเหลือจากต่างประเทศ
ค.ความก้าวหน้าของประชาชนภายในประเทศ
ง.ความสามารถในการรักษาความสงบภายในและความสามรรถในการป้องกันประเทศด้วยวิธีต่างๆ*
จ.การรู้จักใช้นโยบายเป็นกลาง
32.หลักในการผลิตสินค้าที่ว่า “เมื่อผลิตสิ่งหนึ่งมากขึ้นก็ต้องผลิตสิ่งหนึ่งน้อยลง” เป็นปัญหามูลฐานทางเศรษฐกิจด้านใด
ก.ปัญหาว่าจะผลิตอะไร ข.ปัญหาว่าจะผลิตเมื่อไร
ค.ปัญหาว่าจะผลิตจำนวนมากเท่าใด*
ง.ปัญหาว่าจะผลิตอย่างไร จ.ปัญหาว่าจะผลิตเพื่อใคร
33.เศรษฐกิจ หมายถึงอะไร
ก.ระบบการทำมาหากิน* ข.ระบบการวางแผนครอบครัว
ค.ระบบการสะสมทุน ง.ระบบการเก็บภาษี
จ.ระบบการปรับปรุงที่ดิน
34.ความต้องการขั้นต้นทางเศรษฐกิจมีอะไรบ้าง
ก. คน ทรัพยากร ตลาด โรงงาน
ข. การศึกษาดี มีเงินใช้ ไร้โรคา พาให้สุขสมบูรณ์
ค. แรงงาน เครื่องจัก พาหนะ ธนาคาร*
ง. เครื่องอุปโภค เครื่องบริโภค ที่พัก ยารักษาโรค
จ.ความปลอดภัย ความสะอาด ความเจริญ ทางนวัตกรรม ความร่ำรวย
35.ข้อใดไม่ใช่แนวทางที่จะแก้ไขภาวะเงินเฟ้อได้
ก.เพิ่มปริมาณการผลิตสินค้า ข.ลดต้นทุนการผลิต
ค.เพิ่มเงินเดือนให้ข้าราชการ* ง.เก็บเงินเข้าธนาคาร
จ.ควบคุมราคาสินค้า
36.ปัจจัยในการผลิตทางเศรษฐศาสตร์ ได้แก่อะไรบ้าง
ก.ที่ดิน แรงงาน ทุน ผู้ประกอบการผลิต*
ข.ที่ดิน แรงงาน ทุน วัตถุดิบ
ค.ที่ดิน เงิน วัตถุดิบ ผู้ประกอบการผลิต
ง.โรงงาน ทุน วัตถุดิบ ผู้ประกอบการผลิต
จ.ทุนโรงงาน วัตถุดิบ กรรมกร
37.ตัวการที่ทำให้เราต้องดิ้นรนพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน นั้นคืออะไร
ก.สินค้า ข.ทรัพย์
ค.บริการ ง.ความต้องการ*
จ.วัตถุดิบ
38.ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมของไทยชนิดใดที่ผลิตได้โดยใช้วัตถุดิบในประเทศทั้งหมด
ก.กระดาษ ข.วิทยุ
ค.เหล็กกล้า ง.ปูนซีเมนต์
จ.สิ่งทอ*
39.ข้อเสียของระบบทุนนิยมคือ
ก.ก่อให้เกิดการผูกขาดทางเศรษฐกิจ* ข.ทำให้คนว่างงานมาก
ค.เป็นอุปสรรคต่อความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยี
ง.แรงงานไม่มีอิสระในการเลือกตั้ง จ.ถูกทุกข้อ
40.ปัญหาขั้นพื้นฐานทางเศรษฐกิจ ได้แก่
ก.จะบริโภคอะไร ผลิตอะไร และผลิตเพื่อใคร
ข.จะใช้ทรัพยากรอย่างไร เพื่อใคร ที่ไหน
ค.การผลิตจะได้กำไร หรือขาดทุน
ง.จะผลิตอะไร จำนวนเท่าไร และจะผลิตเพื่อใคร*
41.ผู้บริโภคทำหน้าที่ของตนในทางเศรษฐกิจโดยมุ่งหวังว่า
ก.จะได้รับความพึงพอใจสูงสุด* ข.จะได้รับรายได้สุทธิสูงสุด
ค.จะได้รับกำไรสูงสุด ง.จะได้รับปัจจัยการผลิตสูงสุด
จ.จะได้รับสินค้าและบริการมากที่สุด
42.ปัจจัยในการพัฒนาเศรษฐกิจในปัจจุบัน ซึ่งสำคัญที่สุดจะขาดเสียมิได้คืออะไร
ก.ที่ดิน และแรงงาน ข.แรงงานและเทคโนโลยี
ค.เทคโนโลยีและทุน ง.ทุนและแรงงาน
จ.ที่ดินและทรัพยากรธรรมชาติ*
43.ผลิตภัณฑ์ในประเทศเบื้องต้น (GDP) กับผลิตภัณฑ์ในประเทศสุทธิ (NDP) แตกต่างกันในรายงานใดที่สำคัญ
ก.รายได้สุทธิจากต่างประเทศ ข.ภาษีธุรกิจทางอ้อม
ค.เงินทุนโอนจากธุรกิจ ง.ค่าสึกหรอหรือค่าใช้ทุน*
จ.ภาษีส่วนบุคคล
44.การรวมตัวกันของบุคคล เพื่อช่วยเหลือกันทางเศรษฐกิจและสังคม โดยไม่หวังผลกำไรเรียกว่าอะไร
ก.สมาคม ข.สหกรณ์*
ค.พรรคการเมือง ง.ชุมนุมผู้บริโภค
จ.องค์การรัฐวิสาหกิจ
45.รายได้ของผู้ซื้อราคาของสินค้า รสนิยม และสมัยนิยม เป็นตัวการกำหนดอะไร
ก.ดีมานต์* ข.ซัพพลาย
ค.ดอกเบี้ย ง.กลไกแห่งราคา
จ.ราคาจำหน่ายของสินค้า
46.ความสัมพันธ์ของมนุษย์ในสมัยก่อนที่รวมกันหาปัจจัยสี่ ต่อมาได้กลายเป็นความสัมพันธ์กันในทางใด
ก.การศึกษา ข.การคมนาคม
ค.ครอบครัว ง.เศรษฐกิจ*
จ.การปกครอง
47.ข้อใดมีผลทำให้การลงทุนในประเทศไทยซบเซาน้อยที่สุด
ก.คนไทยนิยมใช้ของไทย*
ข.กรณีพิพาทแรงงาน
ค.ผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ปฏิบัติการรุนแรง
ง.ทิศทางการเมืองของประเทศไม่แน่นอน
จ.ไม่สะดวกในการขออนุญาตสร้างโรงงาน
48.กลุ่มอาเซียนมีจุดมุ่งหมายใดเป็นสำคัญ
ก.ร่วมมือทางการทหาร ข.ร่วมมือทางเศรษฐกิจ*
ค.ร่วมมือทางเศรษฐกิจและทหาร ง.ร่วมมือทางการกีฬา
จ.ร่วมมือกันป้องกันยาเสพติด
49.ปทัสถานใดเกี่ยวข้องกับการใช้คุณค่า และหลักศีลธรรม
ก.วิถีประชา ข.จารีตประเพณี*
ค.กฎหมาย ง.มารยาทในสังคม
จ.ข้อ ก. และ ข.
50.โครงสร้างของสังคมประกอบด้วยอะไรบ้าง
ก.กฎหมาย รัฐบาล และประชาชน
ข.กฎหมาย วิถีประชา และกฎศีลธรรม
ค.วัฒนธรรม สถานภาพ และบทบาท
ง.ปทัสถาน สถานภาพ และบทบาท*
จ.ปทัสถาน กฎหมาย วิถีประชา








 

Create Date : 10 สิงหาคม 2554    
Last Update : 10 สิงหาคม 2554 16:08:12 น.
Counter : 2208 Pageviews.  

แนวข้อสอบ อบต. เทศบาล



1:ข้อใดคือนิยามของ "งบประมาณ" ตามระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยวิธีงบประมาณขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
1. :กิจกรรมต่างๆ ของหน่วยงานที่กำหนดไว้ในแต่ละแผน
2. :แผนงาน หรืองานสำหรับประมาณการด้านรายรับและรายจ่าย
3. :ภารกิจ แต่ละด้านที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีหน้าที่ตามกฎหมาย
4. :ถูกทุกข้อ:2
2:ในกรณีที่งบประมาณประจำปีขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ออกใช้ไม่ทันปีงบประมาณใหม่ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้นจะดำเนินการอย่างไร
1. :ไม่มีการเบิกจ่ายใดๆ ทั้งสิ้น
2. :นำร่างงบประมาณรายจ่ายประจำปีของปีที่ล่วงมาแล้วมาใช้ไปพลางก่อน
3. :นำงบประมาณรายจ่ายประจำปีของปีที่ล่วงมาแล้วมาใช้ไปพลางก่อน
4. :นำร่างงบประมาณรายจ่ายประจำปีที่กำลังอยู่ในระหว่างพิจารณามาใช้ไปพลางก่อน:3
3:บุคคลในตำแหน่งใด เป็น เจ้าหน้าที่งบประมาณ
1. :นายกองค์การบริหารส่วนตำบล
2. :ปลัดองค์การบริหารส่วนตำบล
3. :เจ้าหน้าที่วิเคราะห์นโยบายและแผน
4. :เจ้าหน้าที่พัสดุ:2
4:ข้อใดคือรายจ่ายเพื่อการลงทุน ตามระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยวิธีงบประมาณขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2541
1. :หมวดเงินเดือนและค่าจ้างประจำ
2. :หมวดค่าจ้างชั่วคราว
3. :หมวดเงินค่าตอบแทนใช้สอยและวัสดุ
4. :หมวดค่าครุภัณฑ์ ที่ดินและสิ่งก่อสร้าง:4
5:บุคคลใดมีอำนาจสั่งยุบสภาองค์การบริหารส่วนตำบล
1. :ประธานกรรมการบริหาร
2. :ประธานสภาองค์การบริหารส่วนตำบล
3. :นายอำเภอ
4. :ผู้ว่าราชการจังหวัด:4
6:ถ้าองค์การบริหารส่วนตำบลหนึ่งมีจำนวน 2 หมู่บ้าน จะมีสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลได้กี่คน
1. :4 คน
2. :6 คน
3. :10 คน
4. :12 คน:2
7:ข้อใดเป็นอำนาจหน้าที่ของสภาองค์การบริหารส่วนตำบล
1. :ให้ความเห็นชอบแผนพัฒนาตำบล
2. พิจารณาและให้ความเห็นชอบร่างข้อบังคับตำบล
3. :ควบคุมการปฏิบัติงานของคณะกรรมการบริหาร
4. :ถูกทุกข้อ:4
8:การจัดซื้อจัดจ้างโดยวิธีประกวดราคาจะต้องมีวงเงินเกินกว่าเท่าไร
1. :10,000 บาท
2. :50,000 บาท
3. :100,000 บาท
4. :2,000,000 บาท:4
9:ข้อใดเป็นรายได้ขององค์การบริหารส่วนตำบล
1. :เงินอุดหนุนจากรัฐบาล
2. :ภาษีอากร
3. :ค่าธรรมเนียม ค่าปรับ ค่าใบอนุญาต ตามกฎหมายกำหนด
4. :ภาษีอากรเงินอุดหนุน:4
10:คำตอบในข้อใดที่แตกต่างจากข้ออื่น
1. :เข็นครกขึ้นภูเขา
2. :เกี่ยวแฝกมุงป่า (ทำอะไรเกินความสามารถของตัว)
3. :งมเข็มในมหาสมุทร
4. :ฝนทั่งให้เป็นเข็ม:2
11:พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร มีการปรับคณะรัฐมนตรีทั้งหมดกี่ครั้ง
1. :7
2. :8
3. :9
4. :10:4
12:การเลือกตั้งทั่วประเทศแบ่งเป็นทั้งหมดกี่เขต
1. :500
2. :400
3. :200
4. :700 :2
13:คณะกรรมการพัฒนาองค์การบริหารส่วนตำบล มีประธานกรรมการคือ
1. :ประธานสภา อบต.
2. :ปลัด อบต.
3. :นายก อบต.
4. :ผู้ทรงคุณวุฒิที่ได้รับคัดเลือก:3
14:การจัดข้อบัญญัติงบประมาณ อบต.มีการพิจารณาในเดือนใด
1. :มิถุนายน
2. :ตุลาคม
3. :สิงหาคม
4. :ธันวาคม:3
15:การเบิกเงินเพื่อจ่ายเป็นค่าซื้อทรัพย์สินหรือจ้างทำของให้มีเอกสารประกอบฎีกา ดังนี้
1. :สัญญาซื้อทรัพย์สินหรือจ้างทำของหรือเอกสารอื่นอันเป็นหลักฐานแห่งหนี้
2. :ใบแจ้งหนี้ หรือใบส่งมอบทรัพย์หรือมอบงาน
3. :เอกสารการตรวจรับทรัพย์สิน หรือตรวจรับงาน
4. :ถูกทุกข้อ:4
16: การเบิกตัดปีจะกระทำได้ภายในเงื่อนไขใด
1. :เป็นรายจ่ายงบกลาง หมวดค่าตอบแทน ใช้สอยและวัสดุเฉพาะรายจ่ายที่เกี่ยวกับการบำรุงดูแลรักษาที่ดินและสิ่งก่อสร้างและหมวดค่าครุภัณฑ์ที่ดินและสิ่งก่อสร้าง
2. :ต้องทำสัญญากันไว้เรียบร้อยแล้วและมีกำหนดการสิ้นสุดแห่งสัญญานั้นไม่เกินเดือนกันยายนของปีใหม่
3. :ให้วางฎีกาเบิกตัดปี ตามแบบที่กรมการปกครองกำหนดก่อนวันสิ้นปีอย่างน้อยสามสิบวัน
4. :ถูกทุกข้อ:4
17: ผู้ใดมีหน้าที่ในการตรวจฎีกาขององค์การบริหารส่วนตำบล
1. :นายก อบต.
2. :ปลัด อบต.
3. :หัวหน้าส่วนการคลังหรือเจ้าหน้าที่การเงินที่ได้รับมอบหมาย
4. :เจ้าหน้าที่การเงินและบัญชี:3
18:การยืมเงินเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการให้ผู้ยืมส่งใบสำคัญและเงินที่เหลือจ่ายภายในกำหนดกี่วัน
1. :15 วัน
2. :20 วัน
3. :25 วัน
4. :30 วัน:1
19:ในกรณีจำเป็นเร่งด่วนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอาจยืมเงินสะสมในส่วนที่เก็บรักษาไว้เองทดรองจ่ายในกิจการที่อยู่อำนาจหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นโดยได้รับอนุมัติจากใคร
1. :นายก อบต.
2. :คณะผู้บริหารท้องถิ่น
3. :สภาท้องถิ่น
4. :นายอำเภอ:3
20:การขออนุมัติเบิกตัดปีต้องมีเงื่อนตามข้อใด
1. :ได้ก่อหนี้ผูกพันไว้ก่อนสิ้นปีงบประมาณ
2. :ได้ก่อหนี้ผูกพันไว้แล้วและสัญญาสิ้นสุดไม่เกินเดือนกันยายนของปีใหม่
3. :วางฎีกาเบิกเงินก่อนสิ้นปีงบประมาณไม่น้อยกว่า 30 วัน
4. :ถูกทุกข้อ:4
21: ถ้าผู้รับหนังสือเป็นรัฐมนตรี คำขึ้นต้นให้ใช้คำว่า
1. :กราบเรียน
2. :เรียน
3. :เสนอ
4. :ขอประธานกราบเรียน:2
22: การเก็บหนังสือราชการโดยปกติให้เก็บไว้ไม่น้อยกว่ากี่ปี
1. :1
2. :2
3. :3
4. :5:4 //ความจริงน่าจะเป็น 10 แต่คำตอบไม่มี 10 ครับ//
23: ข้อใดคือลักษณะของหนังสือเวียน
1. :หนังสือถึงผู้รับเป็นจำนวนมาก
2. :มีใจความอย่างเดียวกัน
3. :มีรหัสตัวพยัญชนะ " ว "ที่หน้าเลขทะเบียนหนังสือส่ง
4. :ถูกทุกข้อ:4
24:ในเขต อบต. ที่มีจำนวนเพียง 2 หมู่บ้าน ให้มีสมาชิกสภา อบต. กี่คน
1. :3 คน
2. :4 คน
3. :6 คน
4. :8 คน:3
25: ในกรณีที่สมาชิกสภา อบต. พ้นจากตำแหน่งเพราะครบวาระ จะต้องจัดให้มีการเลือกตั้งขึ้นใหม่ภายในระยะเวลากี่วันนับแต่วันที่ครบวาระ
1. :15 วัน
2. :30 วัน
3. :45 วัน
4. :60 วัน:3
26: บุคคลใดเป็นผู้เสนอร่างข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี
1. :นายก อบต.
2. :พนักงานส่วนตำบล
3. :สมาชิกสภา อบต.
4. :ราษฎรในเขต อบต. ตามกฎหมายว่าด้วยการเข้าชื่อเสนอข้อบัญญัติท้องถิ่น:1
27: บุคคลใดมีอำนาจสั่งให้มีการยุบสภา อบต. ได้ ตามกฎหมาย
1. :ผู้ว่าราชการจังหวัด
2. :นายอำเภอ
3. :นายก อบต.
4. :ประธานสภา อบต.:1
28: ข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายของ อบต. เมื่อสภา อบต. เห็นชอบแล้วต้อง ดำเนินการอย่างไรต่อไป
1. :ผู้ว่าราชการจังหวัด
2. :นายอำเภอผู้อนุมัติและ นายก อบต. ประกาศใช้
3. :นายก อบต.
4. :ประธานสภา อบต.:2
29: การเสนอญัตติร่างข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลข้อใด ถูกต้อง
1. :การเสนอญัตติร่างข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลอื่นๆ ต่อประธานสภา อบต. จะต้องมีสมาชิกสภา อบต. รับรองอย่างน้อย 2 คน
2. :การเสนอญัติร่างข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลใด ถ้าคณะผู้บริหาร อบต. เป็นผู้เสนอไม่ต้องมีผู้รับรอง
3. :ถ้าสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลเป็นผู้เสนอร่างข้อบังคับตำบลเกี่ยวด้วยการเงินต้องให้นายก อบต. รับรอง
4. :ถูกทุกข้อ:4
30: ในการพิจารณาข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีหรือร่างข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม สภา อบต. ต้องพิจารณาให้แล้วเสร็จภายกี่วัน นับแต่วันที่ได้รับร่างข้อบัญญัตินั้น
1. :15 วัน
2. :30 วัน
3. :45 วัน
4. :60 วัน:4
31: ในกรณีที่นายก อบต. ให้บุคคลใดเป็นผู้รักษาราชการแทน ปฏิบัติงานเท่าที่จำเป็น
1. :ปลัด อบต.
2. :พนักงานส่วนตำบล
3. :ประธานสภา
4. :สมาชิกสภา อบต:1
32: ก่อนนายก อบต. เข้ารับหน้าที่ให้ประธานสภา อบต. เรียกประชุมสภา อบต. เพื่อให้นายก อบต. แถลงนโยบายต่อสภา อบต. โดยไม่มีการลงมติภายในกี่วัน นับแต่วันประกาศผลการเลือกตั้งนายก อบต.
1. :15 วัน
2. :20 วัน
3. :30 วัน
4. :45 วัน:3
33: การกำหนดสมัยประชุมสามัญเพื่อพิจารณาร่างข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี ต้องพิจารณาในเดือนใด
1. :กุมภาพันธ์
2. :มิถุนายน
3. :สิงหาคม
4. :แล้วแต่สภา อบต. กำหนด:3
33.ตามรัฐธรรมนูญไทยปัจจุบัน กฎหมายใดคือกฎหมายที่รัฐบาลสามารถประกาศใช้บังคับได้เองในทันที แต่ต้องมาขอความเห็นชอบจากรัฐสภาในภายหลัง
ก. พระราชกฤษฎีกา ข.พระบรมราชโองการ
ค.พระราชกำหนด*** ง.พระราชบัญญัติในภาวะฉุกเฉิน
34.พระราชบัญญัติจะมีผลบังคับเป็นกฎหมายได้เมื่อ
ก. พระมหากษัตริย์ทรงลงพระปรมาภิไธยแล้ว
ข.ได้ประกาศโดยเปิดเผยทางสื่อมวลชนแล้ว
ค.รัฐสภาได้ให้ความเห็นชอบแล้ว
ง.ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว***
35.ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฉบับปัจจุบัน มาตรา 1 ระบุว่า
ก.ประเทศไทยเป็นราชอาณาจักรที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข
ข.ประเทศไทยเป็นราชอาณาจักที่มีการปกครองระบอบประชาธิปไตย
ค.ประเทศไทยเป็นราชอาณาจักรอันหนึ่งอันเดียวจะแบ่งแยกมิได้***
ง.ประเทศไทยเป็นราชอาณาจักรอันหนึ่งอันเดียว จะแบ่งแยกมิได้ อำนาจอธิปไตยมาจากปวงชนชาวไทย
36.ข้อใดเป็นผู้มีสิทธิเลือกตั้งสมาชิกสภาตำบล
ก.เป็นภิกษุ สามเณร นักพรต หรือนักบวช
ข.เป็นคนวิกลจริต
ค.เป็นคนจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ
ง.คนพิการ***
37.สภาองค์การบริหารส่วนตำบล พิจารณาร่างข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีให้แล้วเสร็จภายในกี่วัน
ก. 15 วัน ข. 30 วัน
ค. 45 วัน ง. 60 วัน***
38.รายงานการประชุมจัดอยู่ในหนังสือราชการชนิดใด
ก.หนังสือภายใน ข.หนังสือสั่งการ
ค.หนังสือประชาสัมพันธ์
ง.หนังสือที่เจ้าหน้าที่จัดทำขึ้นหรือรับไว้เป็นหลักฐานในราชการ***
39.โทรศัพท์ โทรเลข หรือวิทยุใช้ในกรณีใด
ก.เรื่องเร่งด่วน ข.เรื่องเกี่ยวกับความลับราชการ
ค.เรื่องเกี่ยวกับการเงิน ง.เรื่องที่สั่งด้วยหนังสือไม่ทัน***
40.คำสั่งทางปกครองจะต้องระบุสิทธิของคู่กรณีในการอุทธรณ์หรือโต้แย้งไว้ในคำสั่งด้วย หากไม่มีการระบุไว้ ระยะเวลาในการอุทธรณ์จะขยายไปมีกำหนดเวลาเท่าได
ก.3 เดือน ข.6 เดือน
ค.1 ปี*** ง.10 ปี


41.ในกรณีที่มีการอุทธรณ์คำสั่งทางปกครอง เจ้าหน้าที่ที่ทำคำสั่งทางปกครองจะต้องพิจารณาคำอุทธรณ์ให้แล้วเสร็จภายในกี่วัน
ก.15*** ข. 30
ค.45 ง. 60
42.ใครทำหน้าที่ เป็นที่ปรึกษาของผู้ว่าราชการจังหวัด
ก.ผู้ที่ผู้ว่าราชการจังหวัดแต่งตั้ง ข. ผู้ที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยแต่งตั้ง
ค.ประธานสภาจังหวัด ง. คณะกรมการจังหวัด****
43.ข้าราชการพลเรือนสามัญออกจากราชการไปรับราชการทหาร เมื่อพ้นจากราชการโดยไม่เสียหายหากประสงค์จะกลับเข้ารับราชการตามเดิม ต้องยื่นคำร้องภายในกี่วันนับจากวันพ้นจากราชการทหาร
ก.60 ข. 90***
ค.120 ง.180
44.ใครเป็นผู้ออกคำสั่ง การยึด อายัด หรือขายทอดตลาดทรัพย์สินของผู้ต้องรับผิดชำระภาษีบำรุงท้องที่ค้างชำระ เพื่อนำเงินมาชำระภาษีบำรุงท้องที่ค้างชำระได้
ก.นายอำเภอ*** ข. ผู้ว่าราชการจังหวัด
ค.อธิบดี ง.นายก อบต.
45. รัฐมนตรีช่วยว่าการ สามารถมีได้กระทรวงละกี่คน
ก.1 ข. 2
ค.3 ง.ไม่แน่นอน***

1. ข้าราชการพลเรือน มีอายุต่ำสุด / 18 ปี
2. โทษต่ำสุดทางวินัยของข้าราชการพลเรือน / ภาคทัณฑ์
3. หน่วยงานใดไม่มี อ.ก.พ. / กอง
4. กรณีใดต่อไปนี้ไม่มีสิทธิ์สมัครสอบ / เคยทุจริตในการสอบ
5. กรณีใดถือว่าเป็นการลดขั้นตอนการปฏิบัติ ตามกฎหมายการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี / การมอบอำนาจ
6. หน่วยงานที่ทำหน้าที่ให้คำปรึกษาแก่คณะรัฐมนตรีเกี่ยวกับการพัฒนาระบบราชการ / กพร.
7. หน้าที่ของสำนักงานรัฐมนตรี / เกี่ยวกับการเมืองและนโยบาย
8. GFMIS คือ / ระบบบริหารการเงินการคลังภาครัฐระบบอิเล็กทรอนิกส์ (งบประมาณ)
9. อักษรย่อขององค์กรต่างประเทศที่ทำหน้าที่ตรวจสอบการเลือกตั้ง /.......
10. ประเภทกีฬาที่ไทยได้รับเหรียญทองมากที่สุด / ยกนำหนัก
11. การอุทธรณ์คำสั่งของคณะกรรมการให้ยื่นอุทธรณ์ต่อ / คณะกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์
12. เจ้าหน้าที่พิจารณาคำสั่งอุทธรณ์ ต้องพิจารณาให้แล้วเสร็จภายใน / 30 วัน
13. นายก อบต. ต้องแถลงนโยบายต่อสภา ภายในกี่วัน / 30 วัน
14. เงินค่าตอบแทน/เงินเดือน ของประธานสภา รองประธาน สมาชิกสภา เลขาสภา ให้ตั้งไว้ในหมวด / ค่าตอบแทน ใช้สอยและวัสดุ
15. ผู้ที่ทำหน้าที่ ที่ปรึกษาของผู้ว่าราชการจังหวัดคือ / คณะกรมการจังหวัด
16. สำนักนายกรัฐมนตรีมีฐานะเป็น / กระทรวง
17. ข้อใดคืออำนาจหน้าที่ของสำนักงานปลัดกระทรวง / เกี่ยวกับราชการทั่วไปของกระทรวง
18. สถาบันนิติวิทยาศาสตร์ สังกัดกระทรวง / กระทรวงยุติธรรม
19. ข้อใดไม่สังกัดกระทรวง / กรมตำรวจ
20. สัจจะนิยมเป็นนโยบายหาเสียงของพรรคใด / พรรคชาติไทย
21. พรรคการเมืองที่ส่ง ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อน้อยที่สุด / ในตัวเลือก ชาติไทยน้อยที่สุด
22. ส.ว.ชกต่อยกันในสภาเนื่องมาจากสาเหตุใด / เหตุการณ์ตากใบ
23. ภัยทีเกิดจากสึนามิเรียกว่า / ธรณีพิบัติ
24. เงินสกุลใดมีค่ามากที่สุด / ในตัวเลือกตอบ ยูโร
25. ผู้ช่วยรัฐมนตรีที่ได้รับการแต่งตั้งให้ดูแลการติดตั้งระบบเตือนภัย / นายสมิทธ ธรรมสโรช
26. รูปแบบการเขียนวันที่ในหนังสือราชการ / 11 มกราคม 2548
27. ข้อแตกต่างของหนังสือภายนอกกับหนังสือภายใน / คำลงท้าย (ภายในไม่มี)
28. ถ้านายก อบต. เสนอร่างงบประมาณไม่ทันต้องขออนุญาตกับใคร / สภา อบต
29. ธนาคารที่ควบรวมกิจการกับธนาคารทหารไทย เมื่อเร็วๆนี้คือ ธนาคารดีบีเอส ไทยทนุ
30. งบประมาณรายจ่ายประจำปีขององค์การบริหารส่วนท้องถิ่น จำแนกเป็น งบประมาณรายจ่ายทั่วไปและงบประมาณรายจ่ายเฉพาะการ




 

Create Date : 10 สิงหาคม 2554    
Last Update : 10 สิงหาคม 2554 16:05:59 น.
Counter : 4143 Pageviews.  

แนวข้อสอบ อบต. เทศบาล




ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ
1.ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ คำว่า "งานสารบรรณ" ในที่นี้หมายความว่าอย่างไร
ก.งานรับ-ส่งและเก็บรักษาหนังสือ ข.งานร่าง-เขียนและพิมพ์หนังสือ
ค.งานที่เกี่ยวกับการบริหารงานเอกสาร* ง.งานที่เกี่ยวกับงานทะเบียนเอกสาร

2.ระเบียบงานสารบรรณที่ใช้อยู่ในปัจจุบันเริ่มใช้บังคับตั้งแต่เมื่อใด
ก.1 มิถุนายน 2516 ข.1 มิถุนายน 2526*
ค.1 ตุลาคม 2526 ง.1 ธันวาคม 2527

3.หนังสือราชการคืออะไร
ก.เอกสารทุกชนิดที่พิมพ์ถูกต้องตามกฎหมาย
ข.เอกสารที่เป็นหลักฐานในทางราชการ*
ค.เอกสารที่มีไปถึงผู้ดำรงตำแหน่งในราชการ
ง.เอกสารที่ทางราชการเป็นเจ้าของ

4.งานสารบรรณมีประโยชน์ต่อราชการอย่างไร
ก.ทำให้งานสะดวก รวดเร็ว ข.ประหยัดแรงงานและเวลา
ค.ทำให้การปฏิบัติงานมีประสิทธิภาพสูง ง.ถูกทุกข้อ *

5.ลักษณะในข้อใดที่เหมาะสำหรับผู้ปฏิบัติงานสารบรรณ
ก.มีความรู้ภาษาไทย ข.มีความสุขุม ละเอียด รอบคอบ
ค.ปฏิบัติงานด้วยความรวดเร็ว ถูกต้อง ง.ถูกทั้ง ก. ข. และค. ประกอบกัน *

6.หนังสือที่มีไปมา ระหว่างส่วนราชการ หรือส่วนราชการมีถึงบุคคลภายนอก จัดเป็นหนังสือประเภทใด
ก.หนังสือภายนอก* ข.หนังสือภายใน
ค.หนังสือประทับตรา ง.หนังสือประชาสัมพันธ์

7.ข้อใดต่อไปนี้อาจไม่มีในหนังสือราชการ
ก. เรื่อง ข.วัน เดือน ปี ที่ออกหนังสือ
ค.คำขึ้นต้นและคำลงท้าย ง.อ้างถึงและสิ่งที่ส่งมาด้วย*

8.หนังสือภายในเป็นหนังสืออย่างไร
ก.ติดต่อภายในกระทรวงเดียวกัน ข.ติดต่อภายในกรมเดียวกัน
ค.ติดต่อภายในจังหวัดเดียวกัน ง.ถูกทั้งข้อ ก. ข. และ ค. *

9.หนังสือภายนอกกับหนังสือภายในต่างกันในข้อใด
ก.แบบฟอร์ม* ข.การเก็บหนังสือ
ค.ผู้ส่งและผู้รับ ง.การลงทะเบียนรับ-ส่ง

10.หนังสือทีใช้ประทับตราใช้ในกรณีใดบ้าง
ก.ขอทราบรายละเอียดเพิ่มเติม ข.การเตือนเรื่องที่ค้าง
ค.ส่งสิ่งของ เอกสาร สำเนา ง.ถูกทั้งข้อ ก. ข. และ ค. *

11.ข้อใดเป็นลักษณะของหนังสือภายใน
ก.หนังสือที่ส่งไปโดยไม่บรรจุซอง
ข.หนังสือที่มีไปมา ระหว่างส่วนราชการต่างกระทรวง
ค.หนังสือติดต่อระหว่างบุคคลภายนอกด้วยกัน
ง.ไม่มีข้อถูก *

12.หนังสือประทับตราใช้กระดาษชนิดใด
ก.ใช้กระดาษตราครุฑ* ข.ใช้กระดาษบันทึก
ค.ใช้ประดาษอัดสำเนา ง.ไม่มีข้อกำหนดแน่นอน

13.แถลงการณ์ เป็นหนังสือประเภทใด
ก.ประทับตรา ข.สั่งการ ค.ประชาสัมพันธ์ * ง.เจ้าหน้าที่จัดทำขึ้น

จงพิจารณาตัวเลือกต่อไป แล้วใช้ตอบคำถามตั้งแต่ ข้อ 14 ถึง 17
ก.แถลงการณ์ ข.ข้อบังคับ
ค.คำสั่ง ง.ไม่ใช่ทั้ง ก. ข. และค.

14.บรรดาข้อความที่ผู้มีอำนาจหน้าที่กำหนดให้ใช้โดยอาศัยอำนาจของกฎหมาย* ข

15.บรรดาข้อความที่ทางราชการแถลงเพื่อทำความเข้าใจในกิจการของทางราชการ หรือเหตุการณ์ หรือกรณีใดๆ ให้ทราบชัดเจน* ก

16.บรรดาข้อความที่ผู้บังคับบัญชาสั่งการให้ปฏิบัติโดยชอบด้วยกฎหมาย* ค

17.บรรดาข้อความที่ทางราชการประกาศหรือชี้แจงให้ทราบทั่วกัน* ง

18.หนังสือราชการที่มีคำว่า “ด่วนมาก” ผู้มีหน้าที่ดำเนินการจะต้องปฏิบัติอย่างไร
ก.ปฏิบัติตามกำหนดเวลา ข.ปฏิบัติโดยเร็วกว่าปกติเท่าที่จะทำได้
ค.ปฏิบัติโดยเร็ว* ง.ปฏิบัติทันที

19.วันเดือน ปี ที่ออกหนังสือในหนังสือประทับตรา ให้พิมพ์ไว้ตรงส่วนไหนในหนังสือ
ก.ใต้รูปครุฑ
ข.ได้ชื่อส่วนราชการที่ส่งหนังสือออก *
ค.ไม่มีการลงวัน เดือนปี ในหนังสือชนิดนี้
ง .ผิดทุกข้อ

20.หนังสือประทับตราจะมีความสมบูรณ์พร้อมที่จะส่งออกได้ จะต้อง…
ก.ประทับตราให้ถูกที่สุด ข.ระบุตัวผู้รับให้ชัดเจน
ค.มีคำว่าหนังสือประทับตรา ง.มีผู้ลงชื่อกำกับตราที่ประทับตามระเบียบ*

21.รายงานการประชุมจัดอยู่ในหนังสือราชการชนิดใด
ก.หนังสือภายใน ข.หนังสือสั่งการ
ค.หนังสือประชาสัมพันธ์
ง.หนังสือที่เจ้าหน้าที่จัดทำขึ้นหรือรับไว้เป็นหลักฐานในราชการ*

22.หนังสือประทับตรา ผู้ใดมีอำนาจในการลงชื่อกำกับ
ก.เจ้าหน้าที่ระดับ 2 ขึ้นไป ข.หัวหน้าแผนก
ค.หัวหน้าฝ่าย ง.หัวหน้ากองหรือผู้ได้รับมอบหมาย*

23.หนังสือราชการที่มีคำว่า "ด่วน"ผู้มีหน้าที่ดำเนินการจะต้องปฏิบัติอย่างไร
ก.ปฏิบัติเร็วที่สุด ข.ปฏิบัติโดยเร็ว
ค.ปฏิบัติเร็วกว่าปกติเท่าที่จะทำได้ * ง.ปฏิบัติเร็วตามกำหนดเวลา

24.ตามระเบียบงานสารบรรณ หนังสือราชการที่จัดทำขึ้นจะต้องทำ……..อย่างน้อย 1 ฉบับ
ก.สำเนาต้นฉบับ ข.สำเนาคู่ฉบับ*
ค.สำเนาซ้ำฉบับ ง.ไม่ใช่ทั้ง ก. ข. และ ค.

25.หนังสือต่อไปนี้ มีหนังสือประเภทใดที่ต้องเก็บรักษาไว้ตลอดไป
ก.หนังสือที่เกี่ยวกับความลับ ข.หนังสือที่มีหลักฐานการโต้ตอบ
ค.หนังสือที่เกี่ยวกับสถิติ หลักฐาน* ง.หนังสือสำนวนการสอบสวน

26.การเซ็นชื่อรับรองสำเนาหนังสือ ผู้มีหน้าที่เกี่ยวข้องตั้งแต่ระดับใดขึ้นไปเป็นผู้ลงนามรับรองที่ชอบด้วยระเบียบงานสารบรรณ
ก.ระดับ 2* ข.ระดับ 3 ค.ระดับ 4 ง.ระดับ 5

27.การพิมพ์ชื่อส่วนราชการเจ้าของเรื่องที่ออกหนังสือให้พิมพ์ไว้ส่วนใดของหนังสือราชการ
ก.ริมกระดาษด้านบนขวา ข.ริมกระดาษด้านบนซ้าย
ค.ริมกระดาษด้านล่างซ้าย* ง.กลางหน้ากระดาษด้านบนสุด

28.หนังสือราชการที่เป็นต้นฉบับ (ตัวจริง) จะมีรูปครุฑไว้ตรงส่วนใดของหนังสือ
ก.ด้านบนขวา ข.ด้านล่างซ้าย
ค.กลางหน้ากระดาษด้านบนสุด* ง.ตรงส่วนใดก็ได้ขอให้เห็นเด่นชัด

29.การพิมพ์หมายเลขโทรศัพท์ของส่วนราชการเจ้าของเรื่องนั้น ให้พิมพ์ไว้ตรงส่วนไหน
ก.มุมกระดาษด้านล่างขวา ข.กลางหน้ากระดาษด้านบนขวา
ค.ใต้ชื่อส่วนราชการเจ้าของเรื่อง * ง.ตรงไหนก็ได้

30.ตั้งแต่ข้อ 30 ถึง 33 เป็นเรื่องเกี่ยวกับการจ่าหน้าซองหนังสือราชการ ให้พิจารณาว่าข้อความที่กล่าวในแต่ละข้อนั้น หากจะเขียนหรือพิมพ์ลงบนหน้าซองจะต้องเขียนหรือพิมพ์ไว้ตรงส่วนใดของซอง โดยยึดคำตอบจากตัวเลือกต่อไปนี้
ก.ต้องเขียนหรือพิมพ์ไว้ด้านบนซ้าย
ข.ต้องเขียนหรือพิมพ์ไว้ตรงกลางด้านบน
ค.ต้องเขียนหรือพิมพ์ไว้ด้านล่างซ้าย
ง.ต้องเขียนหรือพิมพ์ไว้ตรงกลางซอง

30.เลขที่หนังสือออก* ก

31.คำขึ้นต้น ชื่อผู้รับ* ง

32.ชื่อส่วนราชการเจ้าของเรื่อง* ค

33.ด่วนมาก* ข

34.การเก็บหนังสือราชการปกติจะต้องเก็บรักษาไว้กี่ปี
ก.5 ปี ข.10 ปี * ค.15 ปี ง.20 ปี

35.ข้อความที่บันทึกในรายงานการประชุมมักเริ่มต้นด้วยอะไร
ก.ประธานกล่าวเปิดประชุม*
ข.บอกเรื่องที่จะประชุม
ค.การรับรองรายงานการประชุมครั้งก่อน
ง.การอ่านรายงานการประชุมครั้งที่แล้ว

36.ข้อความสุดท้ายของรายงานการประชุมควรจะเป็นอะไร
ก.เวลาเลิกประชุม
ข.ผู้จดรายงานการประชุม*
ค.ผู้ตรวจรายงานการประชุม
ง.วัน เดือน ปี และสถานที่ประชุม

37.หนังสือราชการที่ต้องปฏิบัติให้เร็วกว่าปกติด แบ่งเป็นกี่ประเภท
ก.4 ข.3* ค.2 ง.ประเภทเดียว

38.การเขียนหรือพิมพ์ (หรือประทับตรา) คำว่าด่วน หรือด่วนมาก จะต้องเขียนหรือพิมพ์ (หรือประทับตรา) ไว้ตรงส่วนใดของหนังสือ
ก.ท้ายหนังสือ ข.ให้เห็นได้ชัด*
ค.บนหัวหนังสือ ง.ตรงไหนก็ได้

39.การร่างหนังสือราชการต้องระวังเกี่ยวกับเรื่องต่างๆ หลายเรื่อง เรื่องใดต่อไปนี้จำเป็นน้อยมาก
ก.แบบฟอร์ม* ข.ใจความ ค.วรรคตอน ง.ตัวสะกดการันต์

40.ข้อใดอาจช่วยให้หนังสือราชการมีใจความแจ่มชัด
ก.การใช้ภาษาที่ง่าย สั้น แต่ได้ใจความดี
ข.การแยกแยะใจความออกเป็นข้อๆ หรือตอนๆ
ค.การเท้าความถึงเรื่องที่เคยติดต่อกันมา
ง.ถูกทั้ง ก. ข. และ ค.*

41.ข้อใดใน 4 ข้อต่อไปนี้ ให้ปฏิบัติเป็นรายการสุดท้ายในการรับหนังสือ
ก.ลงทะเบียนรับหนังสือ ข.ประทับตรารับหนังสือ
ค.เปิดผนึกซองและตรวจเอกสาร ง.ส่งให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องดำเนินการ*

42.การร่างหนังสือคืออะไร
ก.การพิมพ์หรือเขียนอย่างย่อๆ
ข.การกำหนดโครงร่างหนังสืออย่างคร่าวๆ
ค.การเขียนหนังสือด้วยลายมือของตนเอง
ง.การเรียบเรียงชั้นต้นตามเรื่องที่ต้องการติดต่อ*

43.เหตุใดจึงต้องให้มีการร่างหนังสือก่อนพิมพ์
ก.ต้องการให้เจ้าของเรื่องได้เห็นต้นร่างก่อน
ข.ต้องการดูว่าใจความจะยาวหรือสั้นเพียงใด
ค.ต้องการให้ผู้ร่างหนังสือมีงานทำและร่างหนังสือด้วยความระมัดระวัง
ง.ต้องการให้มีการตรวจแก้ให้เหมาะสมตามระเบียบแบบแผนก่อน*

44.การเสนอหนังสือคืออะไร
ก.การนำหนังสือไปส่งให้ผู้รับ
ข.การส่งหนังสือออกจากส่วนราชการ
ค.การสรุปใจความสำคัญในหนังสือเสนอให้ผู้บังคับบัญชาทราบ
ง.การนำหนังสือที่ดำเนินการชั้นเจ้าหน้าที่แล้วเสนอต่อผู้บังคับบัญชา*

45.การเสนอหนังสือที่ดีควรปฏิบัติอย่างไร
ก.ต้องเสนอเรื่องที่ไม่มีปัญหาก่อนเสมอ
ข.ต้องเสนอเรื่องสำคัญก่อนเรื่องอื่นๆ
ค.ต้องแยกเรื่องเสนอเป็นประเภทๆ ไป*
ง.ต้องเรียงลำดับเรื่องเสนอก่อน-หลัง ตามวัน เดือน ปี ที่ได้รับ

46.ภาพข้างล่างนี้คืออะไร
(ชื่อส่วนราชการ)
เลขรับ……………………………..
วันที่……………………………….
เวลา……………………………….
ก.ใบรับหนังสือ ข.ทะเบียนหนังสือรับ
ค.ตราประทับสำหรับลงรับหนังสือ* ง.ตราประทับสำหรับส่งหนังสือ

47.ข้อใดไม่มีกำหนดไว้ในทะเบียนงานสารบรรณ
ก.ทะเบียนรับ ข.ทะเบียนจ่าย*
ค.ทะเบียนส่ง ง.ทะเบียนเก็บ

48.ตามที่ได้มีช่อง “การปฏิบัติ” ไว้ในทะเบียนรับ-ส่ง หนังสือนั้น เพื่อประโยชน์อะไร
ก.เพื่อให้ทราบว่าหนังสือนั้นใครเป็นผู้ส่งมา
ข.เพื่อให้ทราบว่าหนังสือนั้นจะต้องส่งไปที่ไหน
ค.เพื่อให้ทราบว่าหนังสือนั้นควรจะต้องปฏิบัติอย่างไร
ง.เพื่อให้ทราบว่าหนังสือนั้นได้มีการปฏิบัติการไปแล้วเพียงใด*

49.ซองหนังสือราชการมีกี่ขนาด
ก.2 ข.3 ค.4* ง.5

50.การเก็บหนังสือแบ่งออกเป็น 3 อย่าง ข้อใดไม่ใช่วิธีการเก็บหนังสือ 1 ใน 3 อย่างดังกล่าว
ก.การเก็บก่อนปฏิบัติ*
ข.การเก็บระหว่างปฏิบัติ
ค.การเก็บเมื่อปฏิบัติเสร็จแล้ว
ง.การเก็บไว้เพื่อใช้ในการตรวจสอบ

51.การเก็บหนังสือมีประโยชน์ต่อข้อใดมากที่สุด
ก.การค้นหา* ข.การตรวจสอบ
ค.การทำความสะอาดที่เก็บ ง.ความเป็นระเบียบเรียบร้อย

52.ใบรับหนังสือมีประโยชน์อย่างไร
ก.แสดงว่าหนังสือนั้นไม่สูญหาย
ข.แสดงว่าผู้รับได้รับหนังสือแล้ว
ค.เป็นหลักฐานว่าผู้ส่งได้ส่งหนังสือแล้ว
ง.เป็นหลักฐานว่าได้ส่งหนังสือและมีผู้รับหนังสือนั้นไปแล้ว*

53.หนังสือราชการประเภทใดอาจไม่ต้องทำสำเนาคู่ฉบับไว้ก็ได้
ก.หนังสือภายนอก ข.หนังสือภายใน
ค.หนังสือสั่งการ ง.หนังสือประทับตรา*

54.ในสำเนาคู่ฉบับควรมีลายมือชื่อบุคคลต่อไปนี้ ยกเว้นผู้ใดที่ไม่จำเป็นต้องมี
ก.ผู้ร่าง ข.ผู้พิมพ์ ค.ผู้สั่งพิมพ์* ง.ผู้ตรวจ-ทาน

55.ข้อใดเรียงลำดับส่วนราชการจากใหญ่ไปหาเล็ก ได้ถูกต้อง
ก.กอง แผนก กรม กระทรวง ข.แผนก กรม กอง กระทรวง
ค.กระทรวง กอง กรม แผนก ง.กระทรวง กรม กอง แผนก*

56.การประทับตรารับหนังสือควรประทับตามที่ส่วนใดของหนังสือจึงจะถูกต้อง
ก.ที่มุมบนขวา* ข.ที่มุมบนซ้าย
ค.ที่มุมล่างซ้าย ง.ที่มุมล่างขวา

57.ข้อใดเรียงลำดับการปฏิบัติเกี่ยวกับการรับหนังสือได้ถูกต้อง
ก.ลงทะเบียนรับ ประทับตรารับหนังสือ เปิดผนึกซองตรวจ
ข.ประทับตรารับหนังสือ ลงทะเบียนรับ เปิดผนึกซองตรวจ
ค.เปิดผนึก-ประทับตรารับ ลงทะเบียนรับ และตรวจ
ง.เปิดผนึก ตรวจ ประทับตรารับ ลงทะเบียนรับ*

58.การเปิดซองหนังสือราชการ ถ้ามีซองอีกชั้นหนึ่งอยู่ข้างใน แสดงว่าหนังสือนั้นต้องเป็นหนังสือประเภทใด
ก.หนังสือภายใน ข.หนังสือภายนอก
ค.หนังสือราชการด่วน ง.หนังสือราชการลับ*

59.หนังสือประทับตราต่างกับหนังสือภายนอกและหนังสือภายในในแง่ใด
ก.คำขึ้นต้น ข.คำลงท้าย
ค.การลงชื่อ ง.ทั้ง ก. ข. และ ค.*

60.ตราที่ใช้ประทับในหนังสือประทับตราตามระเบียบงานสารบรรณกำหนดให้ใช้หมึกสีอะไร
ก.แดง* ข.ดำ ค.น้ำเงิน ง.เขียว

61.”ประกาศ ณ วันที่………” ใช้กับหนังสือสั่งการชนิดใด
ก.คำสั่ง ข.ระเบียบ ค.ข้อบังคับ ง.ถูกทั้ง ข.และ ค.*

62.บรรทัดสุดท้ายของหนังสือสั่งการทุกประเภทจะต้องเป็นข้อความที่ระบุอะไร
ก.วัน เดือน ปี ที่ออกหนังสือ
ข.ชื่อส่วนราชการที่ออกหนังสือ
ค.ตำแหน่งของผู้มีอำนาจออกหนังสือ*
ง.ลายมือชื่อผู้มีอำนาจออกหนังสือ

63.ข้าราชการที่มีตำแหน่งยศทหารหรือตำรวจ ต้องพิมพ์ยศลงหน้าชื่อในวงเล็กใต้ลายเซ็นหรือไม่
ก.ไม่ต้องพิมพ์ยศ ข.พิมพ์ยศลงไปด้วย*
ค.พิมพ์หรือไม่พิมพ์ก็ได้ ง.ไม่มีคำตอบถูก

64.การเขียนหนังสือราชการถึงพระภิกษุ-สามเณร ทั่วไป ใช้คำขึ้นต้นอย่างไร
ก.เรียน ข.กราบเรียน ค.ถึง ง.นมัสการ*

65.ถ้าอธิบดีไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ ผู้ทำงานแทนเมื่อลงนามในหนังสือจะต้องใช้คำว่าอย่างไร
ก.ใช้ตำแหน่งของผู้ทำงานแทน ข.ทำงานแทน
ค.รักษาราชการแทน * ง.ปฏิบัติราชการแทน

66.โทรศัพท์ โทรเลข หรือวิทยุใช้ในกรณีใด
ก.เรื่องเร่งด่วน ข.เรื่องเกี่ยวกับความลับราชการ
ค.เรื่องเกี่ยวกับการเงิน ง.เรื่องที่สั่งด้วยหนังสือไม่ทัน*

67.ทำไมจึงต้องมีระเบียบงานสารบรรณ
ก.เพื่อให้เจ้าหน้าที่มีระเบียบเป็นหลักปฏิบัติ*
ข.เพื่อความสะดวกแก่ผู้บังคับบัญชาในการควบคุมงาน
ค.เพื่อให้ข้าราชการพลเรือนรู้เรื่องระเบียบงานสารบรรณ
ง.เพื่อให้ข้าราชการร่างและรับส่งหนังสือราชการได้ถูกต้อง

68.พระเจ้าแผ่นดินแต่งตัว ใช้ราชาศัพท์ว่าอย่างไร
ก.ทรงเครื่อง* ข.แต่งพระองค์
ค.ทรงเครื่องใหญ่ ง.ทรงพระสุคนธ์

69.พระภิกษุ สามเณร ป่วยใช้คำว่าอย่างไร
ก.ไม่สบาย ข.ประชวร ค.อาพาธ* ง.ทรงพระประชวร

70.ทรงบำเพ็ญพระราชกุศล ตรงกับคำสามัญว่าอย่างไร
ก.เดินทาง ข.ฟังเทศน์ ค.ทำบุญ* ง.ไปวัด

71.พระฉาย ตรงกับคำสามัญว่าอย่างไร
ก. พระรูป ข.กระจกส่อง* ค.หวี ง.ช้อนส้อม

72.นายกรัฐมนตรี ตาย คำที่ขีดเส้นใต้คำใดจึงจะถูกต้องตามราชาศัพท์
ก.ถึงแก่กรรม ข.มรณกรรม
ค.อสัญกรรม * ง.พิราลัย

73.อายุการเก็บหนังสือราชการโดยปกติให้เก็บไว้ไม่น้อยกว่ากี่ปี
ก.5 ปี ข.10 ปี* ค.15 ปี ง.ไม่มีระเบียบปฏิบัติเกี่ยวกับเรื่องนี้

74.หนังสือที่ต้องสงวนเป็นความลักต้องปฏิบัติอย่างไร
ก.เก็บรักษาไว้ไม่น้อยกว่า 15 ปี
ข.นำไปเก็บไว้ที่กองจดหมายเหตุแห่งชาติ
ค.ให้ปฏิบัติตามระเบียบสารบรรณโดยเคร่งครัด
ง.ให้ปฏิบัติตามกฎหมายหรือระเบียบว่าด้วยการรักษาความปลอดภัยแห่งชาติ*

75.การให้บุคคลภายนอกยืมหนังสือราชการไปดู หรือคัดลอก ต้องได้รับอนุญาตจากใครก่อน
ก.เจ้าหน้าที่เก็บ ข.ประจำแผนก
ค.หัวหน้าแผนก ง.หัวหน้ากองหรือผู้ได้รับมอบหมาย*

76.หนังสือที่เป็นเรื่องธรรมดาสามัญซึ่งไม่มีความสำคัญและเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นเป็นประจำ เมื่อดำเนินการเสร็จแล้วให้เก็บไม่น้อยกว่ากี่ปี
ก.1 ปี* ข.1 ปี 6 เดือน ค.2 ปี ง.3 ปี

77.ผู้มีอำนาจอนุญาตให้ยืมหนังสือราชการระหว่างส่วนราชการจะต้องเป็นผู้อยู่ในตำแหน่งระดับใดขึ้นไป
ก.หัวหน้าแผน ข.หัวหน้าฝ่าย ค.หัวหน้ากอง* ง.รองอธิบดี

78.ถ้าปรากฏว่าหนังสือราชการที่เก็บไปสูญหายไป จะต้องปฏิบัติอย่างไร
ก.ติดต่อเจ้าของเรื่องเดิมเพื่อหาสำเนามาแทน*
ข.เรียกตัวผู้รับผิดชอบเกี่ยวกับเรื่องที่หายมาสอบถาม
ค.ปล่อยไปเลยแต่ให้หมายเหตุว่าเรื่องหาย
ง.ผิดทั้ง ก. ข. และ ค.

79.การตั้งคณะกรรมการทำลายหนังสือให้ตั้งอย่างน้อยกี่คน
ก.2 คน ข.3 คน* ค.4 คน ง.5 คน

80.ผู้มีอำนาจแต่งตั้งคณะกรรมการทำลายหนังสือต้องเป็นหัวหน้าส่วนราชการในตำแหน่งใด
ก.อธิบดี
ข.ตำแหน่งที่เรียกชื่ออย่างอื่น ซึ่งเทียบเท่าอธิบดี
ค.ปลัดกระทรวง
ง.ถูกทั้ง ก. ข. และ ค. แล้วแต่กรณี*

81.คณะกรรมการทำลายหนังสือจะต้องแต่งตั้งจากข้าราชการระดับใดขึ้นไป
ก.ระดับ 2 ข.ระดับ 3* ค.ระดับ 4 ง.ระดับใดก็ได้

82.ผู้มีอำนาจอนุมัติการทำลายหนังสือราชการในส่วนภูมิภาคได้แก่ผู้ใด
ก.ปลัดจังหวัด ข.อธิบดี
ค.รองผู้ว่าราชการจังหวัด ง.ผู้ว่าราชการจังหวัด*

83.ตราครุฑที่ใช้สำหรับเป็นแบบพิมพ์ในระเบียบงานสารบรรณขนาดใหญ่มีความสูงเท่าไร
ก.2.5 ซม. ข.3.0 ซม.* ค.3.5 ซม. ง.4.0 ซม.

84.ขนาดตราครุฑที่ใช้ประทับแทนการลงชื่อต้องเป็นวงกลม 2 วงซ้อนกัน มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางวงนอกและวงในเท่าไร
ก. 3.5 ซม. และ 2.5 ซม. ข. 4.0 ซม. และ 3.0 ซม.
ค. 4.5 ซม.และ 3.5 ซม. * ง.ขนาดพอเหมาะเท่าไรก็ได้

85.ตราครุฑมาตรฐานที่ใช้ในระเบียบงานสารบรรณ 2526 มีกี่ขนาด
ก.2 ขนาด* ข.3 ขนาด ค.4 ขนาด ง.5 ขนาด

86.การยืมหนังสือภายในส่วนราชการเดียวกัน ผู้มายืมและขอรับหนังสือต้องเป็นข้าราชการที่ได้รับมอบหมายจากหัวหน้าส่วนราชการในตำแหน่งใดขึ้นไป
ก.หัวหน้าแผนก* ข.หัวหน้าฝ่าย
ค.หัวหน้ากอง ง.รองอธิบดี

87.การเก็บหนังสือที่ปฏิบัติเสร็จแล้วของกระทรวงต่างๆ ตามปกติเป็นหน้าที่ของใคร
ก.แผนกสารบรรณของแต่ละกรม
ข.แผนกเก็บกองกลาง สำนักงานปลัดกระทรวง
ค.ฝากเก็บที่กองจดหมายเหตุแห่งชาติ กรมศิลปากร
ง.ถูกทั้ง ก. ข. และ ค.*

88.การยืมหนังสือราชการระหว่างส่วนราชการ ผู้มีอำนาจในการดำเนินการยืมจะต้องเป็นหัวหน้าส่วนราชการตำแหน่งระดับใดขึ้นไป
ก.หัวหน้าแผนก ข.หัวหน้าฝ่าย
ค.หัวหน้ากอง* ง.รองอธิบดี

89.หนังสือราชการประเภทใดที่ต้องเก็บรักษาไว้เป็นหลักฐานทางราชการตลอดไป
ก.หนังสือเกี่ยวกับประวัติศาสตร์
ข.หนังสือเกี่ยวกับสถิติ หลักฐาน
ค.หนังสือที่ต้องใช้สำหรับการศึกษาค้นคว้า
ง.ถูกทั้ง ก. ข. และ ค.*

90.การเขียนหนังสือราชการที่มีคำลงท้ายว่า “ขอแสดงความนับถือ” เป็นหนังสือที่มีไปถึงใคร
ก.อธิบดี ข.ปลัดกระทรวง
ค.ข้าราชการระดับ 5 ง.ถูกหมดทุกข้อ*




 

Create Date : 10 สิงหาคม 2554    
Last Update : 10 สิงหาคม 2554 16:02:25 น.
Counter : 1227 Pageviews.  

แนวข้อสอบ อบต. เทศบาล



001:งบประมาณรายจ่ายประจำปีขององค์การบริหารส่วนตำบลจัดทำเป็น
1. :ข้อบังคับ
2. :ระเบียบ
3. :ข้อบัญญัติ
4. :พระราชบัญญัติ:3
5.
002:ข้อใดคือนิยามของ "งบประมาณ" ตามระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยวิธีงบประมาณขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
1. :กิจกรรมต่างๆ ของหน่วยงานที่กำหนดไว้ในแต่ละแผน
2. :แผนงาน หรืองานสำหรับประมาณการด้านรายรับและรายจ่ายแสดงตัวเลขจำนวนเงิน การตั้งงบประมาณ คือ การแสดงแผนดำเนินงานออกเป็นตัวเลขจำนวนเงิน
3. :ภารกิจ แต่ละด้านที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีหน้าที่ตามกฎหมายว่าด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแต่ละรูปแบบ
4. :ถูกทุกข้อ:2

003:ข้อใดคือนิยามของ "แผนงาน" ตามระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยวิธีงบประมาณขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2541
1. :กิจกรรมต่างๆ ของหน่วยงานที่กำหนดไว้ในแต่ละแผน
2. :แผนงาน หรืองานสำหรับประมาณการด้านรายรับและรายจ่ายแสดงตัวเลขจำนวนเงิน การตั้งงบประมาณ คือ การแสดงแผนดำเนินงานออกเป็นตัวเลขจำนวนเงิน
3. :ภารกิจ แต่ละด้านที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีหน้าที่ตามกฎหมายว่าด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแต่ละรูปแบบ
4. :ถูกทุกข้อ:3

004:ในกรณีที่งบประมาณประจำปีขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ออกใช้ไม่ทันปีงบประมาณใหม่ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้นจะดำเนินการอย่างไร
1. :ไม่มีการเบิกจ่ายใดๆ ทั้งสิ้น
2. :นำร่างงบประมาณรายจ่ายประจำปีของปีที่ล่วงมาแล้วมาใช้ไปพลางก่อน
3. :นำงบประมาณรายจ่ายประจำปีของปีที่ล่วงมาแล้วมาใช้ไปพลางก่อน
4. :นำร่างงบประมาณรายจ่ายประจำปีที่กำลังอยู่ในระหว่างพิจารณามาใช้ไปพลางก่อน:3

005:บุคคลในตำแหน่งใด เป็น เจ้าหน้าที่งบประมาณ
1. :นายกองค์การบริหารส่วนตำบล
2. :ปลัดองค์การบริหารส่วนตำบล
3. :เจ้าหน้าที่วิเคราะห์นโยบายและแผน
4. :เจ้าหน้าที่พัสดุ:2

006:ข้อใดไม่ใช้รายจ่ายประจำ ตามระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยวิธีงบประมาณขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2541
1. :หมวดเงินเดือนและค่าจ้างประจำ
2. :หมวดค่าจ้างชั่วคราว
3. :หมวดเงินค่าตอบแทนใช้สอยและวัสดุ
4. :หมวดค่าครุภัณฑ์ ที่ดินและสิ่งก่อสร้าง:4

007:ข้อใดคือรายจ่ายเพื่อการลงทุน ตามระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยวิธีงบประมาณขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2541
1. :หมวดเงินเดือนและค่าจ้างประจำ
2. :หมวดค่าจ้างชั่วคราว
3. :หมวดเงินค่าตอบแทนใช้สอยและวัสดุ
4. :หมวดค่าครุภัณฑ์ ที่ดินและสิ่งก่อสร้าง:4

008:ข้อใดสามารถเบิกจ่ายได้ แม้งบประมาณรายจ่ายประจำปี ออกใช้ไม่ทัน
1. :ค่าครุภัณฑ์
2. :งบลงทุน
3. :ค่าที่ดินและสิ่งก่อสร้าง
4. :ค่าตอบแทนใช้สอยและวัสดุ:4

009:ข้อใด ไม่ใช่ หน่วยงานราชการส่วนท้องถิ่น
1. :อำเภอ
2. :เทศบาล
3. :องค์การบริหารส่วนตำบล
4. :องค์การบริหารส่วนจังหวัด:1

010:งบประมาณรายจ่ายประจำปีขององค์การบริหารส่วนตำบลจัดทำเป็น
1. :พระราชบัญญัติ
2. :ข้อบัญญัติ
3. :ระเบียบ
4. :ข้อบัญญัติ:2

011:บุคคลใดมีอำนาจสั่งยุบสภาองค์การบริหารส่วนตำบล
1. :ประธานกรรมการบริหาร
2. :ประธานสภาองค์การบริหารส่วนตำบล
3. :นายอำเภอ
4. :ผู้ว่าราชการจังหวัด:4

012:องค์กรบริหารส่วนตำบลมีฐานะเป็น
1. :ราชการส่วนท้องถิ่น
2. :ราชการส่วนภูมิภาค
3. :องค์กรอิสระ
4. :ราชการส่วนกลาง:1

013:ประธานสภาองค์การบริหารส่วนตำบลมีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละกี่ปี
1. :1 ปี
2. :2 ปี
3. :3 ปี
4. :จนกว่าจะครบอายุสภา:4

014:ถ้าองค์การบริหารส่วนตำบลหนึ่งมีจำนวน 2 หมู่บ้าน จะมีสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลได้กี่คน
1. :4 คน
2. :6 คน
3. :10 คน
4. :12 คน:2

015:ข้อใดไม่ใช่ส่วนบริหารราชการส่วนกลาง
1. :กรุงเทพมหานครฯ
2. :สำนักนายกรัฐมนตรี
3. :กระทรวง ทบวง
4. :กรม:1

016:ใครมีอำนาจกำกับดูแลการปฏิบัติงานขององค์การบริหารส่วนตำบล
1. :นายอำเภอ
2. :ผู้ว่าราชการจังหวัด
3. :รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
4. :อธิบดีกรมการปกครอง:1

017:ใครมีอำนาจเรียกประชุมสภาองค์การบริหารส่วนตำบลสมัยสามัญประจำปี
1. :นายอำเภอ
2. :ประธานสภาองค์การบริหารส่วนตำบล
3. :ผู้ว่าราชการจังหวัด
4. :ประธานกรรมการบริหาร:2

018:ข้อใดเป็นรายได้ขององค์การบริหารส่วนตำบล
1. :ภาษีบำรุงท้องที่
2. :ภาษีโรงเรือนและที่ดิน
3. :ภาษีสรรพสามิต
4. :ถูกทุกข้อ :4

019:การประชุมสภา อบต.สมัยสามัญหนึ่งๆ ให้มีกำหนดไม่เกินสิบห้าวัน แต่สามารถขยายเวลาออกไปอีกจะต้องได้รับอนุญาตจากใคร
1. :นายอำเภอ
2. :ประธานสภา อบต.
3. :ผู้ว่าราชการจังหวัด
4. :อธิบดีกรมการปกครอง:1

020:ข้อใดเป็นอำนาจหน้าที่ของสภาองค์การบริหารส่วนตำบล
1. :ให้ความเห็นชอบแผนพัฒนาตำบล
2. พิจารณาและให้ความเห็นชอบร่างข้อบัญญัติ
3. :ควบคุมการปฏิบัติงานของนายกฯ
4. :ถูกทุกข้อ:4

021:ในปีหนึ่งองค์การบริหารส่วนตำบลจะมีสมัยประชุมสามัญไม่เกินกี่สมัย
1. :2 สมัย
2. :3 สมัย
3. :4 สมัย
4. :5 สมัย:3

022:ผู้มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลต้องมีอายุกี่ปี
1. :อายุไม่ต่ำกว่า 20 ปีบริบูรณ์
2. :อายุไม่ต่ำกว่า 25 ปีบริบูรณ์
3. :อายุไม่ต่ำกว่า 30 ปีบริบูรณ์
4. :อายุไม่ต่ำกว่า 35 ปีบริบูรณ์:2

023:ข้อใดไม่ใช่วิธีการในการจัดซื้อจัดจ้างของส่วนราชการ
1. :ตกลงราคา
2. :สอบราคา
3. :จ้างเหมาราคา
4. :ประกวดราคา:3

024:การจัดซื้อจัดจ้างโดยวีธีตกลงราคาจะต้องมีวงเงินไม่เกินเท่าไร
1. :10,000 บาท
2. :50,000 บาท
3. :100,000 บาท
4. :500,000 บาท:3

025:ข้อใดเป็นรายได้ขององค์การบริหารส่วนตำบล
1. :เงินอุดหนุนจากรัฐบาล
2. :ภาษีอากร
3. :ค่าธรรมเนียม ค่าปรับ ค่าใบอนุญาต ตามกฎหมายกำหนด
4. :ถูกทุกข้อ:4

026: "หนังสือภายใน" หมายถึง
1. :หนังสือที่ติดต่อภายในจังหวัดเดียวกัน
2. :หนังสือที่ติดต่อภายในกรมเดียวกัน
3. :หนังสือที่ติดต่อภายในกระทรวงเดียวกัน
4. :ถูกทุกข้อ:4

027:ข้อใดเป็นหนังสือประชาสัมพันธ์
1. :บันทึกข้อความ
2. :ข้อบังคับ
3. :ประกาศ
4. :คำสั่ง:3

028:ลักษณะของผู้ที่จะทำงานสารบรรณได้ดีคือ
1. :ผู้มีความรู้ภาษไทยดี
2. :ผู้รู้ระเบียบงานสารบรรณดี
3. :ผู้ที่สามารถติดต่อ โต้ตอบ ประสานงานคล่องแคล่ว ว่องไว
4. :ถูกทุกข้อ:4

029:ในงานสารบรรณ "หนังสือ" หมายถึง
1. :หนังสือเรียน
2. :หนังสือราชการ
3. :หนังสือนอกหลักสูตร
4. :หนังสือทุกประเภท:2

030:บรรดาข้อความทั้งหลายที่ผู้มีอำนาจหน้าที่กำหนดใช้โดยอาศัยอำนาจของกฎหมายเรียกว่าอะไร
1. :คำสั่ง
2. :ข้อบังคับ
3. :ระเบียบ
4. :กฎกระทรวง:1

031:บรรดาข้อความทั้งหลายที่ทางราชการเห็นสมควรเผยแพร่ให้ประชาชนทราบโดยทั่วไป เรียกว่าอะไร
1. :แถลงการณ์
2. :ประกาศ
3. :คำสั่ง
4. :ข่าว:4

032:หนังสือติดต่อระหว่างส่วนราชการ หรือส่วนราชการถึงหน่วยงานอื่นซึ่งมิใช่หน่วยงานราชการหรือมีถึงบุคคลภายนอก คือ
1. :หนังสือภายใน
2. :หนังสือภายนอก
3. :หนังสือประทับตรา
4. :หนังสือที่เจ้าหน้าที่จัดทำขึ้นหรือรับไว้เป็นหลักฐาน:2

033:การเก็บเอกสารที่ดีที่สุดควรปฏิบัติอย่างไร
1. :เก็บเอกสารที่มีระบบเดียวตลอด
2. :เก็บเอกสารที่มีอุปกรณ์พร้อม
3. :เก็บเอกสารไว้อย่างเป็นระบบ
4. :เก็บเอกสารให้เป็นปัจจุบัน:4

034:จุดประสงค์ที่สำคัญในการจัดเก็บเอกสารอย่างมีระบบไว้ในที่เดียวกัน คือ
1. :ค้นหาเอกสารได้ทันท่วงที
2. :เพื่อความปลอดภัยและเอกสารจะอยู่อย่างเป็นระเบียบ
3. :เพื่อรวบรวมเอกสารไว้ในแหล่งที่มีผู้รับผิดชอบเป็นสัดส่วน
4. :ถูกทุกข้อ:4

035:จดหมายราชการ ไม่ควรใช้สำนวนในข้อใด
1. :ภาษานักประพันธ์หรือภาษาพูด
2. :ถูกต้องตามสากลนิยม
3. :เรียบร้อย
4. :สุภาพ:1

036:คำตอบในข้อใดที่จัดไม่เข้าพวกกับคำตอบในข้ออื่น ๆ
1. :ตี
2. :ตบ
3. :เตะ
4. :ต่อย:3

037:คำตอบในข้อใดที่จัดไม่เข้าพวกกับคำตอบในข้ออื่น ๆ
1. :โต
2. :จิ๋ว
3. :นิด
4. :เล็ก:1

038:คำตอบในข้อใดที่จัดไม่เข้าพวกกับคำตอบในข้ออื่น ๆ
1. :ฉิ่ง
2. :ซอ
3. :กลอง
4. :ระนาด:2

039:คำตอบในข้อใดที่จัดไม่เข้าพวกกับคำตอบในข้ออื่น ๆ
1. :มะขาม
2. :มะยม
3. :มะปราง
4. :มะนาว:4

040:คำตอบในข้อใดที่แตกต่างจากข้ออื่น
1. :น้ำพึ่งเรือเสือพึ่งป่า
2. :ลิ้นกับฟัน
3. :ขิงก็ราข่าก็แรง
4. :เกลือจิ้มเกลือ:1

041:พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรีคนที่เท่าไร
1. :21
2. :22
3. :23
4. :24:3

042:สมาชิกวุฒิสภาชุดปัจจุบันมีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละกี่ปี
1. :4 ปี
2. :6 ปี
3. :7 ปี
4. :9 ปี:2

043:จำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรตามรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน มี
1. :500 คน
2. :400 คน
3. :200 คน
4. :700 คน:1

044:ใครดำรงตำแหน่งประธานรัฐสภา
1. :ประธานศาลรัฐธรรมนูญ
2. :ประธานศาลฎีกา
3. :ประธานวุฒิสภา
4. :ประธานสภาผู้แทนราษฎร:4

045:ข้อใดเป็นตำแหน่งข้าราชการการเมือง
1. :เลขานุการนายกรัฐมนตรี
2. :เลขานุการคณะรัฐมนตรี
3. :ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี
4. :ปลัดกระทรวง:1

046:คณะรัฐมนตรีตามรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันมีกี่คน
1. :34
2. :35
3. :36
4. :40:3

047:ระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการจัดทำและประสานแผนพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2546 ได้ปรับปรุงมาจากระเบียบใด
1. :ระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการวางแผนพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2540
2. :ระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการวางแผนพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2541
3. :ระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการวางแผนพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542
4. :ระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการวางแผนพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2543:2

048:ระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการจัดทำและประสานแผนพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2546 เมื่อมีการประกาศในราชกิจจานุเบกษาให้ใช้เมื่อพ้นกำหนดกี่วัน
1. :30 วัน
2. :60 วัน
3. :90 วัน
4. :180 วัน:3

049:"องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น" ในระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการจัดทำและประสานแผนพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2546 ไม่ได้หมายความถึงข้อใด
1. :องค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบาล องค์การบริหารส่วนตำบล
2. :องค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบาล องค์การบริหารส่วนตำบล เมืองพัทยา
3. :องค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบาล องค์การบริหารส่วนตำบล องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่นที่มีกฎหมายจัดตั้ง
4. :องค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบาล องค์การบริหารส่วนตำบล เมืองพัทยา กรุงเทพมหานคร:4

050:ในระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการจัดทำและประสานแผนพัฒนาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2546 คำว่า "แผนพัฒนา" ไม่ได้หมายถึง
1. :แผนยุทธศาสตร์การพัฒนา
2. :แผนพัฒนาห้าปี
3. :แผนพัฒนาสามปี
4. :ไม่มีข้อถูกต้อง:2

051:องค์กรจัดทำแผนพัฒนาองค์การบริหารส่วนตำบล คณะกรรมการชุดใดไม่เกี่ยวข้องด้วย
1. :คณะกรรมการพัฒนาองค์การบริหารส่วนตำบล
2. :คณะกรรมการสนับสนุนการจัดทำแผนพัฒนาองค์การบริหารส่วนตำบล
3. :คณะกรรมการติดตามและประเมินผลแผนพัฒนาองค์การบริหารส่วนตำบล
4. :ถูกทุกข้อ:3

052:คณะกรรมการพัฒนาองค์การบริหารส่วนตำบล มีประธานกรรมการคือ
1. :ประธานสภา อบต.
2. :ปลัด อบต.
3. :นายก อบต.
4. :ผู้ทรงคุณวุฒิที่ได้รับคัดเลือก:3

053:คณะกรรมการสนับสนุนการจัดทำแผนพัฒนาองค์การบริหารส่วนตำบลมีประธานคือ
1. :ประธานสภา อบต.
2. :ปลัด อบต.
3. :นายก อบต.
4. :ผู้ทรงคุณวุฒิที่ได้รับคัดเลือก:2

054:คณะกรรมการติดตามและประเมินผลแผนพัฒนา อบต. มีประธานกรรมการคือ
1. :ประธานสภา อบต.
2. :ปลัด อบต.
3. :นายก อบต.
4. :ผู้ทรงคุณวุฒิที่ได้รับคัดเลือก:1

055:คณะกรรมการประสานแผนพัฒนาท้องถิ่น มีประธานกรรมการคือ
1. :นายก อบต.
2. :นายก อบจ.
3. :ประธานสภา อบต.
4. :ประธานสภา อบจ.:2

056:คณะอนุกรรมการประสานแผนพัฒนาท้องถิ่นระดับอำเภอ มีประธานกรรมการคือ
1. :นายอำเภอ
2. :ผู้ว่าราชการจังหวัด
3. :ผู้บริหารท้องถิ่นที่ได้รับเลือก
4. :หัวหน้าส่วนราชการที่ได้รับแต่งตั้ง:1

057:การจัดทำและทบทวนแผนพัฒนาสามปีให้แล้วเสร็จภายในเดือนใดก่อนงบประมาณประจำปี
1. :มิถุนายน
2. :ตุลาคม
3. :สิงหาคม
4. :ธันวาคม:1

058:ผู้มีอำนาจขยายเวลาการจัดทำแผนพัฒนาสามปี คือผู้ใด
1. :นายอำเภอ
2. :ผู้บริหารท้องถิ่น
3. :สภาท้องถิ่น
4. :ผู้ว่าราชการจังหวัด:4

059:การแก้ไขแผนพัฒนาเป็นอำนาจของใคร
1. :นายอำเภอ
2. :ผู้บริหารท้องถิ่น
3. :สภาท้องถิ่น
4. :ผู้ว่าราชการจังหวัด:2

060:ผู้ประกาศใช้แผนพัฒนาที่ได้รับการอนุมัติแล้วคือผู้ใด
1. :ผู้บริหารท้องถิ่น
2. :นายอำเภอ
3. :สภาท้องถิ่น
4. :ผู้ว่าราชการจังหวัด:1

061:แผนปฏิบัติการให้จัดทำแล้วเสร็จภายในเดือนใดของปีงบประมาณนั้น
1. :มิถุนายน
2. :ตุลาคม
3. :สิงหาคม
4. :ธันวาคม:4

062:การแก้ไขแผนปฏิบัติการเป็นอำนาจของใคร
1. :นายอำเภอ
2. :ผู้บริหารท้องถิ่น
3. :สภาท้องถิ่น
4. :ผู้ว่าราชการจังหวัด:2

063:ผู้มีอำนาจขยายเวลาการจัดทำแผนปฏิบัติการคือผู้ใด
1. :ผู้ว่าราชการจังหวัด
2. :นายอำเภอที่ได้รับมอบอำนาจจากผู้ว่าราชการจังหวัด
3. :ผู้บริหารท้องถิ่นตามมติสภาท้องถิ่น
4. :ถูกเฉพาะข้อ ก และ ข:4

064:คณะกรรมการติดตามและประเมินผลแผนพัฒนาท้องถิ่นให้มีอำนาจหน้าที่ต้องรายงานผลและเสนอความเห็น และต้องประกาศผลการติดตามและประเมินผลแผนพัฒนาให้ประชาชนในท้องถิ่นทราบอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้งภายในเดือนใดของทุกปี
1. :มิถุนายน
2. :ตุลาคม
3. :สิงหาคม
4. :ธันวาคม:4

065:คณะกรรมการติดตามและประเมินผลแผนพัฒนาท้องถิ่นให้มีอำนาจหน้าที่ต้องรายงานผลและเสนอความเห็น และต้องประกาศผลการติดตามและประเมินผลแผนพัฒนาให้ประชาชนในท้องถิ่นทราบอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้งต้องติดประกาศโดยเปิดเผยไม่น้อยกว่ากี่วัน
1. :7 วัน
2. :10 วัน
3. :15 วัน
4. :30 วัน:4

066:ระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการจัดทำและประสานแผนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2546 ให้ผู้ใดเป็นผู้มีอำนาจยกเว้น หรือผ่อนผันการปฏิบัติตามระเบียบนี้ ขององค์การปกครองส่วนท้องถิ่นภายในเขตจังหวัด ในกรณีที่มีเหตุจำเป็น
1. :ปลัดกระทรวงมหาดไทย
2. :ผู้ว่าราชการจังหวัด
3. :อธิบดีกรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น
4. :ประธานคณะกรรมการประสานแผนท้องถิ่น:2

067:ข้อใดถูกต้องที่สุด
1. :เงินสะสม หมายความว่าเงินที่เหลือจ่ายจากปีก่อน ๆ
2. :ใบสำคัญคู่จ่าย หมายความว่าหลักฐานที่เป็นใบเสร็จรับเงิน
3. :ตู้นิรภัย หมายถึงตู้เหล็กซึ่งใช้เก็บรักษาเงินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
4. :หลักฐานการจ่าย หมายความว่า หลักฐานแสดงว่าได้มีการจ่ายให้แก่ผู้รับหรือเจ้าหนี้ตามข้อผูกพันแล้ว:4

068:ข้อใดถูกต้องที่สุด
1. :การรับชำระเงินทุกประเภท จะต้องออกใบเสร็จรับเงินให้แก่ผู้นำมาชำระทุกครั้งและให้ใช้ใบเสร็จรับเงินเล่มเดี่ยวกันทุกประเภท
2. :หน่วยงานคลังบันทึกเงินที่ได้รับในบัญชีเงินสดหรือบัญชีเงินฝากวันใดก็ได้ในหนึ่งเดือนที่มีการรับเงิน
3. :หน่วยงานคลังจัดให้มีการตรวจสอบจำนวนเงินที่เจ้าหน้าที่จัดเก็บและนำส่งพร้อมกับหลักฐานและรายการที่บันทึกไว้ในบัญชีเงินสดหรือบัญชีเงินฝากธนาคารว่าถูกต้องครบถ้วนหรือไม่
4. :เงินประเภทใดมีใบเสร็จเงินหลายฉบับไม่สามารถจะรวมรับเงินประเภทนั้นตามสำเนาใบเสร็จทุกฉบับมาบันทึกในบัญชีรายการเดียวได้:3

069: การเจาะปรุหรือประทับตราเลิกใช้ใบเสร็จรับเงินจะกระทำเมื่อใด
1. :เมื่อต้องการยกเลิกใบเสร็จ
2. :เมื่อสิ้นปีงบประมาณ
3. :เมื่อใบเสร็จบางฉบับในหนึ่งเล่มสูญหาย
4. :เมื่อใช้ใบเสร็จไม่หมดทั้งเล่มในหนึ่งเดือน:2

070: องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสามารถเก็บรักษาเงินสดไว้ในตู้นิรภัยได้จำนวนไม่เกินเท่าใด
1. :10,000 บาท
2. :20,000 บาท
3. :40,000 บาท
4. :50,000 บาท:2

071:ใครเป็นผู้เก็บรักษาลูกกุญแจตู้นริภัย
1. :รองนายก อบต.
2. :กรรมการเก็บรักษาเงิน
3. :ปลัด อบต.
4. :หัวหน้าส่วนการคลัง:2

072: การแต่งตั้งกรรมการเก็บรักษาไว้ ณ สำนักงานต้องแต่งตั้งอย่างน้อยจำนวนเท่าใด
1. :2 คน
2. :3 คน
3. :4 คน
4. :5 คน: 2 (หัวหน้าคลังเป็นโดยตำแหน่ง)

073:การแต่งตั้งพนักงานส่วนท้องถิ่นเป็นคณะกรรมการเก็บรักษาเงินจะต้องแต่งตั้งพนักงานส่วนท้องถิ่นระดับใดขึ้นไปเป็นคณะกรรมการ
1. :ระดับ 3 ขึ้นไป
2. :ระดับ 4 ขึ้นไป
3. :ระดับ 5 ขึ้นไป
4. :ระดับ 6 ขึ้นไป:1

074:กรณีในวันใดมีจำนวนเงินเกินอำนาจที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจะเก็บรักษาไว้ได้จะต้องดำเนินการอย่างไร
1. :ให้นายก อบต.เก็บรักษาไว้ ในวันรุ่งขึ้นให้มอบให้เจ้าหน้าที่การเงินนำฝากธนาคาร
2. :ให้หัวหน้าส่วนการคลังเก็บรักษาไว้ในวันรุ่งขึ้นให้ นำเงินฝากธนาคาร
3. :ให้นำฝากให้เสร็จสินภายในวันนั้น ถ้าฝากในวันนั้นไม่ทันให้นำฝากตู้นิรภัยและวันรุ่งขึ้นหรือวันเปิดทำการถัดไปให้นำฝากธนาคาร
4. :ให้ปลัด อบต.เก็บรักษาไว้ ในวันรุ่งขึ้นให้มอบให้เจ้าหน้าที่การเงินนำฝากธนาคาร:3

075:การรับส่งเงินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งเป็นเงินสดครั้งหนึ่งมีจำนวนเท่าใดให้ผู้บริหารท้องถิ่นแต่งตั้งพนักงานส่วนท้องถิ่นตั้งแต่ระดับ 3 หรือเทียบเท่าขึ้นไปอย่างน้อยสองคนเป็นกรรมการรับผิดชอบร่วมกันควบคุมการรับส่งเงิน
1. :10,000 บาท
2. :20,000 บาท
3. :30,000 บาท
4. :40,000 บาท:3

076:ผู้ใดมีอำนาจในการถอนเงินฝากขององค์การบริหารส่วนตำบล
1. :นายก อบต. กับ ปลัด อบต.
2. :นายก อบต. กับ หัวหน้าส่วนการคลัง
3. :นายก อบต. หรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย กับ ปลัด อบต. หรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย
4. :นายก อบต. หรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย กับ รองนายก อบต. หรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย:3

077:เงินที่เบิก ถ้าไม่ได้จ่ายหรือจ่ายไม่หมด ให้หน่วยงานผู้เบิกนำส่งคืนหน่วยงานคลังภายในกี่วัน
1. :10 วัน
2. :15 วัน
3. :20 วัน
4. :25 วัน:2

078:การเบิกเงินเพื่อจ่ายเป็นค่าซื้อทรัพย์สินหรือจ้างทำของให้มีเอกสารประกอบฎีกา ดังนี้
1. :สัญญาซื้อทรัพย์สินหรือจ้างทำของหรือเอกสารอื่นอันเป็นหลักฐานแห่งหนี้
2. :ใบแจ้งหนี้ หรือใบส่งมอบทรัพย์หรือมอบงาน
3. :เอกสารการตรวจรับทรัพย์สิน หรือตรวจรับงาน
4. :ถูกทุกข้อ:4

079:กรณีที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้ก่อหนี้ผู้พันไว้ก่อนสิ้นปีโดยการสั่งซื้อ หรือสั่งจ้าง ถ้าเห็นว่าจะเบิกเงินไปชำระหนี้ผูกพันนั้นไม่ทันภายในปีให้ขออนุมัติเบิกตักปีต่อใคร
1. :นายก อบต.
2. :นายอำเภอ
3. :ผู้ว่าราชการจังหวัด
4. :หัวหน้ากลุ่มส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นจังหวัด:1

080: การเบิกตัดปีจะกระทำได้ภายในเงื่อนไขใด
1. :เป็นรายจ่ายงบกลาง หมวดค่าตอบแทน ใช้สอยและวัสดุเฉพาะรายจ่ายที่เกี่ยวกับการบำรุงดูแลรักษาที่ดินและสิ่งก่อสร้างและหมวดค่าครุภัณฑ์ที่ดินและสิ่งก่อสร้าง
2. :ต้องทำสัญญากันไว้เรียบร้อยแล้วและมีกำหนดการสิ้นสุดแห่งสัญญานั้นไม่เกินเดือนกันยายนของปีใหม่
3. :ให้วางฎีกาเบิกตัดปี ตามแบบที่กรมการปกครองกำหนดก่อนวันสิ้นปีอย่างน้อยสามสิบวัน
4. :ถูกทุกข้อ:4

081: ผู้ใดมีหน้าที่ในการตรวจฎีกาขององค์การบริหารส่วนตำบล
1. :นายก อบต.
2. :ปลัด อบต.
3. :หัวหน้าส่วนการคลังหรือเจ้าหน้าที่การเงินที่ได้รับมอบหมาย
4. :เจ้าหน้าที่การเงินและบัญชี:3

082:ผู้ใดเป็นผู้อนุมัติฎีกาขององค์การบริหารส่วนตำบล
1. :หัวหน้าส่วนการคลัง
2. :ปลัด อบต.
3. :นายก อบต.
4. :นายอำเภอ:3

083:องค์การบริหารส่วนตำบลจ่ายให้แก่ผู้มีสิทธิรับเงินด้วยวิธีใด
1. :จ่ายเป็นเงินสดเท่านั้น
2. :จ่ายเป็นเช็ค
3. :จ่ายเป็นพันธบัตรรัฐบาล
4. :จ่ายเป็นเช็คและเงินสด:2

084:ถ้าผู้มีสิทธิรับเงินไม่สามารถรับเงินด้วยตนเองได้จะมอบฉันทะให้ผู้อื่นเป็นผู้รับแทนจะต้องได้รับอนุญาตจากใคร
1. :นายก อบต.
2. :ปลัด อบต.
3. :หัวหน้าหน่วยงานคลัง
4. :นายอำเภอ:3

085: การจ่ายเงินในข้อใดต่อไปนี้ให้ผู้จ่ายเงินทำใบรับรองการจ่ายเงินโดยไม่ต้องทำบันทึกแจ้งเหตุผล
1. :การจ่ายเงินรายหนึ่ง ๆ เป็นจำนวนเงินไม่ถึงสิบบาท
2. :การจ่ายเงินค่ารถ หรือเรือนั่งรับจ้าง
3. :การจ่ายเงินเป็นค่าโดยสารรถไฟ รถยนต์ประจำทางหรือเรือยนต์ประจำทาง
4. :ถูกทุกข้อ:4

086:ผู้ใดเป็นผู้มีอำนาจในการอนุมัติให้ยืมเงินขององค์การบริหารส่วนตำบลได้
1. :หัวหน้าส่วนการคลัง
2. :ปลัด อบต.
3. :นายก อบต.
4. :นายอำเภอ:3

087:การจ่ายยืมเงินขององค์การบริหารส่วนตำบลจะกระทำได้ก็ต่อเมื่อ
1. :เมื่อพนักงานส่วนตำบลเป็นหนี้
2. :มีงบประมาณเพื่อการนั้นแล้ว
3. :ผู้ยืมได้ทำสัญญาการยืมเงินและรับรองว่าจะปฏิบัติตามระเบียบ ข้อบังคับหรือคำสั่งที่ได้กำหนดไว้สำหรับเรื่องนั้น
4. :ข้อ ข และ ค ถูก:4

088:การยืมเงินเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการให้ผู้ยืมส่งใบสำคัญและเงินที่เหลือจ่ายภายในกำหนดกี่วัน
1. :15 วัน
2. :20 วัน
3. :25 วัน
4. :30 วัน:1

089:ในกรณีจำเป็นเร่งด่วนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอาจยืมเงินสะสมในส่วนที่เก็บรักษาไว้เองทดรองจ่ายในกิจการที่อยู่อำนาจหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นโดยได้รับอนุมัติจากใคร
1. :นายก อบต.
2. :คณะผู้บริหารท้องถิ่น
3. :สภาท้องถิ่น
4. :นายอำเภอ:3

090:ข้อใดถูกต้องที่สุด
1. :องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอาจจ่ายขาดเงินสะสมได้เมื่อได้รับอนุมัติจากนายอำเภอเท่านั้น
2. :องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอาจจ่ายขาดเงินสะสมได้เมื่อได้รับอนุมัติจากผู้ว่าราชการจังหวัดเท่านั้น
3. :เมื่อได้กันเงินสะสมไว้เพียงพอที่จะสำรองจ่ายเป็นเงินเดือน ค่าจ้าง ค่าตอบแทนไม่น้อยกว่าระยะเวลาที่เหลือ แต่ทั้งนี้ต้องไม่น้อยกว่าสามเดือนและอีกร้อยละยี่สิบห้าของยอดเงินสะสมคงเหลือเพื่อสำรองจ่ายกรณีฉุกเฉินอื่น ๆ
4. :ไม่มีข้อใดถูก:3

091:หัวหน้าหน่วยงานคลังขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต้องจัดทำงบแสดงฐานะการเงิน และงบอื่น ๆ ตามแบบที่กรมการปกครองกำหนดเพื่อส่งให้สำนักงานตรวจเงินแผ่นดินภูมิภาคตรวจสอบภายในกี่วันนับแต่วันสิ้นปีงบประมาณ
1. :30 วัน
2. :60 วัน
3. :90 วัน
4. :120 วัน:3

092:เมื่อลงรายการจำนวนในใบเสร็จรับเงินผิดพลาดเมื่อต้องแก้ไขจะทำอย่างไร
1. :ขีดฆ่าแล้วเขียนใหม่ทั้งจำนวนพร้อมลงลายมือชื่อกำกับ
2. :ขีดฆ่าแล้วเขียนใหม่
3. :ทำลายทิ้งทั้งฉบับยกเว้นสำเนา
4. :ยกเลิกทั้งฉบับ:4

093:เงินในข้อใดต่อไปนี้ไม่ต้องนำส่งเป็นเงินรายได้
1. :เงินอุดหนุนเฉพาะกิจ
2. :เงินที่ผู้อุทิศให้กระทำการอย่างใดอย่างหนึ่งโดยมีวัตถุประสงค์ไว้แล้ว
3. :เงินที่จัดหาขึ้นเพื่อกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่งโดยไม่ใช้งบประมาณ
4. :ถูกทุกข้อ:4

094:ข้อใดต่อไปนี้ไม่ถูกต้อง
1. :ใบเสร็จรับเงินเล่มใด ใช้สำหรับรับเงินของปีใด ให้ใช้รับเงินภายในปีนั้นเท่านั้น เมื่อขึ้นไปใหม่ก็ให้ใช้ใบเสร็จเล่มใหม่ ใบเสร็จรับเงินฉบับใดที่ยังไม่ใช้ให้คงติดไว้กับเล่มแต่เจาะปรุรูหรือ ประทับตราเลิกใช้เพื่อให้เป็นที่สังเกตมิให้นำมาใช้รับเงินได้ต่อไป
2. :ใบเสร็จรับเงินเล่มใดใช้สำหรับรับเงินของปีนั้น เมื่อสิ้นปีให้ใช้ต่อไปได้และจัดทำรายงานสรุปเลขที่ใบเสร็จให้ปลัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทราบ
3. :ใบเสร็จรับเงินห้ามขูด ลบ แก้ไข เพิ่มเติมจำนวน
4. :หน่วยงานคลังต้องจัดทำทะเบียนคุมใบเสร็จรับเงิน เพื่อทราบและตรวจสอบจำนวนที่จัดพิมพ์:4

095:การยืมเงินขององค์การบริหารส่วนตำบลบุคคลใดเป็นผู้ลงนามในสัญญาการยืมเงิน
1. :นายก อบต.
2. :ปลัด อบต.
3. :หัวหน้าส่วนการคลัง
4. :ถูกทุกข้อ:1

096:การขออนุมัติเบิกตัดปีต้องมีเงื่อนตามข้อใด
1. :ได้ก่อหนี้ผูกพันไว้ก่อนสิ้นปีงบประมาณ
2. :ได้ก่อหนี้ผูกพันไว้แล้วและสัญญาสิ้นสุดไม่เกินเดือนกันยายนของปีใหม่
3. :วางฏีกาเบิกเงินก่อนสิ้นปีงบประมาณไม่น้อยกว่า 30 วัน
4. :ถูกทุกข้อ:4

097:ระเบียบงานสารบรรณฉบับปัจจุบันเริ่มมีผลบังคับใช้ตั้งแต่เมื่อใด
1. :1 มกราคม 2526
2. :1 มิถุนายน 2526
3. :1 ตุลาคม 2526
4. :1 เมษายน 2526:2

098: ผู้รักษาการให้เป็นไปตามระเบียบงานสารบรรณคือใคร
1. :นายกรัฐมนตรี
2. :เลขาธิการ ก.พ.
3. :ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี
4. :รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย:3

099: หนังสือราชการมีกี่ชนิด
1. :3 ชนิด
2. :4 ชนิด
3. :5 ชนิด
4. :6 ชนิด:4

100: หนังสือราชการคืออะไร
1. :เอกสารที่เป็นหลักฐานในราชการ
2. :เอกสารที่เป็นหนังสือสำคัญ
3. :เอกสารที่เจ้าหน้าที่เรียกร้องให้นำส่ง
4. :เอกสารที่ส่งทางไปรษณีย์โดยไม่ต้องติดแสตมป์:1

101: ตัวครุฑที่ใช้กระดาษราชการมี 2 ขนาด คือ ครุฑกลางสูง 3 ซม. ครุฑเล็กสูงเท่าใด
1. :2.5 ซม.
2. :2.0 ซม.
3. :1.5 ซม.
4. :1.0 ซม.:3

102: การรับหนังสือมีวิธีการปฏิบัติตามลำดับขั้นตอนอย่างใดตามลำดับก่อนหลัง
1. :เปิดซองแล้วตรวจ ลงชื่อรับหนังสือ ประทับตรารับหนังสือ ลงทะเบียนรับ ลงเลขที่ทะเบียนรับที่ตรารับ
2. :เปิดซองแล้วตรวจ ลงทะเบียนรับ ประทับตราหนังสือ ลงเลขที่ทะเบียนรับที่ตรารับ ลงชื่อรับหนังสือ
3. :เปิดซองแล้วตรวจ ประทับตรารับหนังสือ ลงทะเบียนรับ ลงชื่อรับหนังสือ ลงเลขที่ทะเบียนรับที่ตรารับ
4. :เปิดซองแล้วตรวจ ประทับตรารับหนังสือ ลงเลขที่ทะเบียนรับที่ตรารับ ลงทะเบียนรับ ลงชื่อรับหนังสือ:4

103: หนังสือราชการคือ
1. :เอกสารทางราชการ
2. :เอกสารที่ราชการทำขึ้น
3. :เอกสารที่เป็นหลักฐานในราชการ
4. :เอกสารโต้ตอบในราชการ :3

104: หนังสือภายนอกให้ใช้กระดาษชนิด
1. :กระดาษบันทึกข้อความ
2. :กระดาษตราครุฑ
3. :กระดาษบันทึกหรือตราครุฑก็ได้
4. :กระดาษที่ราชการกำหนด:2

105: หนังสือประทับตราแทนการลงชื่อให้ใช้ได้ในกรณีใด
1. :การส่งสิ่งของเอกสารหรือบรรณสารระหว่างส่วนราชการ
2. :คำแนะนำ
3. :แถลงการณ์
4. :หนังสือที่ไม่เกี่ยวกับราชการ:1

106: หนังสือที่ต้องเก็บไว้เป็นหลักฐานทางราชการตลอดไป เช่น
1. :เรื่องที่เกี่ยวกับการเงิน
2. :เรื่องที่เกี่ยวกับระเบียบ
3. :เรื่องที่เกี่ยวกับประวัติศาสตร์
4. :ถูกทุกข้อ:3

107: กรรมการดำเนินการทำลายหนังสือประกอบขึ้นด้วยบุคคลอย่างน้อยกี่คน
1. :2 คน
2. :3 คน
3. :4 คน
4. :เท่าใดก็ได้:2

108: ถ้าผู้รับหนังสือเป็นรัฐมนตรี คำขึ้นต้นให้ใช้คำว่า
1. :กราบเรียน
2. :เรียน
3. :เสนอ
4. :ขอประธานกราบเรียน:2

109: การจดบันทึก หรือรายงานการประชุมอาจทำได้กี่วิธี
1. :1 วิธี
2. :2 วิธี
3. :3 วิธี
4. :4 วิธี:3

110: หนังสือประทับตรา คืออะไร
1. :หนังสือที่หัวหน้าส่วนราชการเป็นคนลงนาม
2. :หนังสือติดต่อราชการที่เป็นพิธีน้อยกว่าหนังสือภายนอกและภายใน
3. :หนังสือที่ใช้ประทับตราแทนการลงชื่อของหัวหน้าส่วนราชการระดับกรมขึ้นไป
4. :หนังสือที่ใช้ประทับตราแทนการลงชื่อของหัวหน้าส่วนราชการระดับกองขึ้นไป:3

111: หนังสือสั่งการมีกี่ชนิด
1. :2 ชนิด
2. :3 ชนิด
3. :4 ชนิด
4. :5 ชนิด:2

112: หนังสือประชาสัมพันธ์มีกี่ชนิด
1. :1 ชนิด
2. :2 ชนิด
3. :3 ชนิด
4. :4 ชนิด:3

113: ประกาศจัดเป็นหนังสือชนิดใด
1. :หนังสือสั่งการ
2. :หนังสือประชาสัมพันธ์
3. :หนังสือประทับตรา
4. :หนังสือแถลงการณ์:2

114: หนังสือที่เจ้าหน้าที่ทำขึ้นหรือรับไว้เป็นหลักฐานในราชการ มีกี่ชนิด
1. :1 ชนิด
2. :2 ชนิด
3. :3 ชนิด
4. :4 ชนิด:4

115: หนังสือที่ต้องปฏิบัติเร็วกว่าปกติแบ่งออกเป็นกี่ประเภท
1. :1 ประเภท
2. :2 ประเภท
3. :3 ประเภท
4. :4 ประเภท:3

116: หนังสือราชการภาษาอังกฤษ แบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ
1. :หนังสือที่ลงชื่อและหนังสือที่มิต้องลงชื่อ
2. :หนังสือที่เป็นแบบพิธีและหนังสือที่ไม่เป็นแบบพิธี
3. :หนังสือโต้ตอบและหนังสือแถลงข่าว
4. :บันทึกช่วยจำ และบันทึกเตือนความจำ:1

117: การพิจารณาหนังสือที่จะขอทำลายเป็นหน้าที่ของ
1. :หัวหน้าส่วนราชการระดับกรม
2. :ผู้ที่หัวหน้าส่วนราชการระดับกรมมอบอำนาจให้ปฏิบัติราชการแทน
3. :คณะกรรมการที่หัวหน้าส่วนราชการระดับกรมแต่งตั้ง
4. :คณะกรรมการที่ปลัดกระทรวงแต่งตั้งโดยการเสนอของหัวหน้าส่วนราชการระดับกรม:3

118: คำว่า "คำสั่ง" คือ
1. :คำสั่งด้วยวาจา คำสั่งที่เป็นลายลักษณ์อักษรและเป็นคำสั่งที่บันทึกถึงตัวผู้ปฏิบัติโดยเฉพาะ
2. :การสั่งด้วยบันทึก ทางจดหมายและด้วยสื่อนำสาร
3. :บรรดาข้อความที่ผู้บังคับบัญชาสั่งการให้ปฏิบัติโดยชอบด้วยกฎหมาย
4. :การกระทำด้วยหนังสือหรือเรียกเจ้าหน้าที่มาพบเพื่อสั่งการแต่ละเรื่อง:3

119: การเก็บหนังสือแบ่งออกเป็น
1. :เก็บเข้าแฟ้มเพื่อสะดวกในการค้นหาเรื่องเดิม,เก็บเพื่อเป็นหลักฐานและเก็บเพื่ออ้างอิงในการปฏิบัติ
2. :การเก็บระหว่างปฏิบัติ,เก็บเมื่อปฏิบัติแล้วเสร็จและการเก็บไว้เพื่อใช้ในการตรวจสอบตลอดจนกำหนดระยะเวลาทำลายไว้
3. :เก็บโดยมิดชิดปลอดภัยและกำหนดการเร่งด่วนในการขอย้าย
4. :เก็บให้เป็นระเบียบเพื่อการค้นหาได้สะดวก:2

120: การเก็บหนังสือราชการโดยปกติให้เก็บไว้ไม่น้อยกว่ากี่ปี
1. :5 ปี
2. :10 ปี
3. :15 ปี
4. :ไม่มีข้อใดถูก:2

121: ให้เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบในการเก็บหนังสือ สำรวจหนังสือที่อายุครบการเก็บในปีนั้น จัดทำบัญชีหนังสือขอทำลายเสนอหัวหน้าส่วนราชการเพื่อทำลายหนังสือภายในกี่วัน หลังจากวันสิ้นปีปฏิทิน
1. :30 วัน
2. :60 วัน
3. :120 วัน
4. :1 ปี:2

122: ระเบียบคือหนังสือชนิดหนึ่งที่จัดอยู่ในหนังสือประเภทใด
1. :หนังสื่อสั่งการ
2. :หนังสือประทับตรา
3. :หนังสือภายใน
4. :หนังสือภายนอก:1

123: คำสรรพนาม สำหรับเจ้าของหนังสือที่ว่า "ข้าพระพุทธเจ้า" นอกจากจะใช้กับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระบรมราชินีแล้ว ยังใช้กับ
1. :สมเด็จพระบรมราชชนนี
2. :สมเด็จเจ้าฟ้า
3. :พระบรมวงศ์ชั้นพระองค์เจ้า
4. :ถูกทุกข้อ:4

124: งานสารบรรณ คือ
1. :งานที่เกี่ยวกับระเบียบการร่างโต้ตอบหนังสือและเสนอความเห็น
2. :งานที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการติดต่อกับหน่วยราชการทั้งภายในและภายนอกหน่วย
3. :งานที่ปฏิบัติด้วยหนังสือ นับตั้งแต่ คิด ร่าง เขียน แต่งพิมพ์ จดจำ ทำสำเนา ส่ง รับ บันทึกย่อเรื่อง เสนอสั่งการ ตอบ เก็บเข้าที่และค้นหา
4. :งานเกี่ยวกับธุรการทุกชนิด ที่ผู้บังคับบัญชามอบหมายให้รับผิดชอบ:3

125: การปฏิบัติกับหนังสือที่ต้องเก็บไว้ตลอดไป คือ
1. :ให้เก็บโดยมิดชิด ปลอดภัยและกำหนดความเร่งด่วนในการขนย้าย
2. :เก็บใส่ตู้เอกสารที่มั่นคงแข็งแรงและกำหนดชั้นความลับ
3. :ให้ประทับตราคำว่า "ห้ามทำลาย" ด้วยหมึกสีแดงที่หน้าแฟ้มเรื่องนั้น
4. :เก็บให้เป็นระเบียบ แล้วแจ้งให้เจ้าหน้าที่ทราบทั่วกัน:3

126: ผู้ที่มีอำนาจตีความและวินิจฉัยปัญหาเกี่ยวกับระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ คือใคร
1. :หัวหน้าส่วนราชการนั้น ๆ
2. :สำนักงาน ก.พ.
3. :ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี
4. :ปลัดกระทรวงนั้น ๆ:3

127: ประกาศ หรือแถลงการณ์ เป็นหนังสือชนิดใด
1. :หนังสือสั่งการ
2. :หนังสือประชาสัมพันธ์
3. :หนังสือที่เจ้าหน้าที่ทำขึ้นเพื่อให้ทุกฝ่ายถือปฏิบัติตามนโยบาย
4. :หนังสือประทับตรา:2

128: ในกรณีที่นายกรัฐมนตรีตายหรือขาดคุณสมบัติ คณะรัฐมนตรีมอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรีคนใดคนหนึ่งปฏิบัติ ดังนี้
1. :รักษาราชการแทน
2. :ปฏิบัติราชการแทน
3. :ปฏิบัติหน้าที่แทน
4. :ทำการแทน:3

129: คำขึ้นต้นของหนังสือภายในถึงบุคคลธรรมดา ใช้คำขึ้นต้นอย่างไร
1. :เรียน
2. :ขอประทานเสนอ
3. :ขึ้นอยู่กับตำแหน่งของบุคคล
4. :ถึง:1

130: บรรดาข้อความที่ผู้มีอำนาจหน้าที่ได้วางไว้ เพื่อถือเป็นหลักปฏิบัติงานเป็นประจำ เรียกว่า
1. :คำสั่ง
2. :ระเบียบ
3. :ข้อบังคับ
4. :ประกาศ:2

131: ข้อความใด ถูกต้องเกี่ยวกับข้อบังคับ
1. :รายละเอียดของข้อบังคับมีหัวข้อเหมือนกับคำสั่ง
2. :ผู้ออกข้อบังคับไม่จำเป็นจะต้องพิมพ์ชื่อเต็มไว้ด้วย
3. :การเขียนข้อบังคับต้องมีชื่อส่วนราชการอยู่ด้วย
4. :การเขียนวันที่ของข้อบังคับต้องเขียนเต็มโดยมี วันที่ เดือน พ.ศ.:3

132: หนังสือราชการต่อไปนี้ ข้อใดต้องใช้กระดาษตราครุฑ
1. :ข่าว
2. :ประกาศ
3. :แถลงการณ์
4. :ข้อ ก และ ข ถูก:4

133: หนังสือรับรอง คือหนังสือที่ส่วนราชการออกให้
1. :รับรองบุคคล
2. :รับรองนิติบุคคล
3. :รับรองหน่วยงาน
4. :ถูกทุกข้อ:4

134: หนังสือที่เจ้าหน้าที่ต้องปฏิบัติทันทีที่ได้รับ
1. :หนังสือด่วนมาก
2. :หนังสือด่วน
3. :หนังสือด่วนที่สุด
4. :หนังสือลับ:3

135: ข้อใดคือลักษณะของหนังสือเวียน
1. :หนังสือถึงผู้รับเป็นจำนวนมาก
2. :มีใจความอย่างเดียวกัน
3. :มีรหัสตัวพยัญชนะ " ว "ที่หน้าเลขทะเบียนหนังสือส่ง
4. :ถูกทุกข้อ:4

136: ข้อใดมิใช่ส่วนประกอบของตรารับหนังสือ
1. :เลขที่
2. :วันที่
3. :เวลา
4. :ลงชื่อผู้รับ:4

137: ตรารับหนังสือราชการเป็นรูปสีเหลี่ยมผืนผ้าตามขวาง มีขนาดมาตรฐานเท่าใด
1. :2" X 2.5"
2. :2" X 3"
3. :2.5 X 5 ซม.
4. :5 X 2.5 ซม.:3

138: มาตรฐานของกระดาษ A 4 มีขนาดเท่าใด
1. :148 มม. X 210 มม.
2. :229 มม. X 324 มม.
3. :52 มม. X 74 มม.
4. :210 มม. X 297 มม.:4

139: ตราครุฑที่ใช้เป็นแบบพิมพ์ ในระเบียบงานสารบรรณขนาดใหญ่ มีความสูงเท่าใด
1. :3 ซม.
2. :2 ซม.
3. :1.5 ซม.
4. :5 ซม.:1

140: ซองที่ใช้ในระเบียบงานสารบรรณมีกี่ขนาด
1. :4 ขนาด
2. :5 ขนาด
3. :6 ขนาด
4. :7 ขนาด:1

141: การประทับตรารับหนังสือเพื่อลง วันที่ เดือน พ.ศ. จะต้องประทับตราที่ใด
1. :มุมบนด้านขวา
2. :มุมบนด้านซ้าย
3. :มุมล่างด้านขวา
4. :มุมล่างด้านซ้าย:1

142: คำลงท้ายถึงประธานองคมนตรี ใช้คำว่าอะไร
1. :ขอแสดงความนับถืออย่างยิ่ง
2. :ขอแสดงความนับถืออย่างสูง
3. :ขอแสดงความนับถือยิ่ง
4. :ไม่มีข้อใดถูก:1

143: หนังสือที่เป็นเรื่องธรรมดาสามัญซึ่งไม่มีความสำคัญ และเป็นเรื่องทีเกิดขึ้นเป็นประจำ เมื่อดำเนินการเสร็จแล้วให้เก็บไว้ไม่น้อยกว่ากี่ปี
1. :6 เดือน
2. :1 ปี
3. :1 ปี 6 เดือน
4. :2 ปี:2

144: " ใต้ฝ่าละอองพระบาท" เป็นสรรพนามที่ไม่ใช้สำหรับ
1. :สมเด็จพระบรมราชินีนาถ
2. :สมเด็จพระบรมราชชนนี
3. :สมเด็จพระยุพราช
4. :สมเด็จพระบรมราชกุมารี:1

145: ข้อใดคือคำย่อของกระทรวงมหาดไทย
1. :มห.
2. :มท.
3. :มหท.
4. :มด.:2

146: ข้อใดคือคำขึ้นต้นและลงท้ายที่ใช้กับพระภิกษุสงฆ์ทั่วไป
1. :นมัสการ – ขอนมัสการด้วยความเคารพ
2. :กราบเรียน – กราบเรียนด้วยความเคารพ
3. :การนมัสการ – ขอแสดงความเคารพ
4. :นมัสการ - ขอแสดงความเคารพ:1

147:พระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ.2537 ประกาศในพระราชกิจจานุเบกษาเมื่อใด และมีผลบังคับใช้เมื่อใด
1. :2 กุมภาพันธ์ 2537 มีผลบังคับใช้ 2 พฤษภาคม 2537
2. :2 มีนาคม 2537 มีผลบังคับใช้ 2 มีนาคม 2537
3. :2 พฤศจิกายน 2537 มีผลบังคับใช้ 2 พฤศจิกายน 2537
4. :2 ธันวาคม 2537 มีผลบังคับใช้ 2 มีนาคม 2538:4

148:พระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล(ฉบับที่ 5) พ.ศ.2546 ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อใด และมีผลบังคับใช้เมื่อไหร่
1. :2 กุมภาพันธ์ 2546 มีผลบังคับใช้ 2 พฤษภาคม 2546
2. :22 กุมภาพันธ์ 2546 มีผลบังคับใช้ 22 กุมภาพันธ์ 2546
3. :2 ธันวาคม 2546 มีผลบังคับใช้ 3 ธันวาคม 2546
4. :22 ธันวาคม 2546 มีผลบังคับใช้ 23 ธันวาคม 2546:4

149:บุคคลใดเป็นผู้รักษาการตามพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ.2537
1. :รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
2. :ปลัดกระทรวงมหาดไทย
3. :ผู้ว่าราชการจังหวัด
4. :นายกรัฐมนตรี:1

150:ข้อใดถูกต้องเกี่ยวกับสภาตำบล
1. :มีฐานะเป็นนิติบุคคล เป็นราชการบริหารส่วนท้องถิ่น
2. :สมาชิกสภาตำบลทุกคนมาจากการเลือกตั้ง
3. :มีฐานะเป็นนิติบุคคล
4. :สมาชิกสภาตำบลมีหมู่บ้านละ 2 คน:3




 

Create Date : 10 สิงหาคม 2554    
Last Update : 10 สิงหาคม 2554 15:56:40 น.
Counter : 2265 Pageviews.  

1  2  3  4  5  

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.