มองสิ่งใกล้ๆ ตัวให้เข้าใจ

มองสิ่งใกล้ๆ ตัวให้เข้าใจ

ลองมองพื้นฐานของการรู้จักสอนสิ่งเริ่มต้นที่ควรให้กับเด็กคือ “สอนให้เด็กรู้จักกิน รู้จักใช้ รู้จักหยุดตัวเองไม่ใช้ชีวิตอย่างมักง่าย” ไม่ว่าใครจะชวนเขาอย่างไร เขาก็จะรู้ว่า อะไรเป็นสิ่งที่เป็นสาระอะไรทำให้ชีวิตเขางอกงาม ตรงนี้ต้องฝึกให้เด็กปฏิบัติตัว ปฏิบัติใจไปตั้งแต่เริ่มต้นชีวิตด้วย เพียงคำพูดอย่างเดียวอาจช่วยไม่ได้ แต่การปฏิบัติตัวให้ดูเป็นตัวอย่างนี้สำคัญ
ต้องฝึกให้เด็กเผชิญกับความจรริง...ความไม่มีบ้าง “เพื่อแก้ปัญหาเป็น เวลาเจอปัญหาจะได้ไม่ทุกข์ใจ” เขาจะเรียนรู้ที่จะเอาตัวรอดอย่างไม่รอพึ่งพาคนอื่นตลอด ให้โอกาสเขาได้ทำงานบ้าง เพื่อเรียนรู้กับการทำงาน แล้วฝึกให้เขาทำงานอย่างเต็มใจด้วยเหตุด้วยผล เขาจะมีความสุขที่ได้ทำ
คุณประโยชน์ที่ว่า “ไม่ใช่ปล่อยให้ชีวิตเด็กรอว่า จะมีความสุขเพราะมีใครมาทำให้เขาสุขได้” เขาต้องรู้ว่า “นอกจากตัวเขาเองแล้วใครจะช่วยให้สุขไม่ได้” ถ้าเรารักที่จะฝึกให้เขาทำ เขาจะพอใจในการทำ เด็กก็จะจดจ่อมีจิตใจแน่วแน่กับสิ่งที่ทำนั้น ไม่วอกแวก จะสนุกสนานกับการทดลองในการทำการงานนั้น จะเกิดการใคร่ครวญจนงานออกมาดี มีประโยชน์ต่อผู้ทำและต่อเพื่อนได้ เด็กจะเป็นคนที่สนุกในการทำงาน ไม่เป็นคนจับจรดที่จะทำอะไรก็ไม่สำเร็จอย่างไร้เหตุผล
มีนิทานเรื่องหนึ่งคือ...หัวขโมยกับเศรษฐี บังเอิญต้องมานอนพักค้างแรมในโรงเตี๊ยมเดียวกันอยู่สามวัน ช่วงนั้นมีงานจาริกแสวงบุญ ทั้งสองคนหาที่พักไม่ได้เลยต้องมานอนอยู่ในห้องเดียวกัน หัวขโมยก็เล็งเอาทรัพย์จากเศรษฐี ทุกเย็นเมื่อถึงเวลาอาหาร หัวขโมยจะออกอุบาย บอกเศรษฐีว่าคุณลงไปกินอาหารก่อนนะ ผมขออาบน้ำก่อน พอเศรษฐีลงไปกินอาหาร
หัวขโมยก็จะออกมาจากห้องน้ำและเริ่มค้นกระเป๋าของเศรษฐี รวมทั้งค้นใต้เตียง ใต้หมอน ของเศรษฐี
เพราะเชื่อแน่ว่าเศรษฐีต้องซ่อนเงินเอาไว้ เนื่องจากเศรษฐีใส่ชุดลำลองออกไป ไม่น่าจะพกเงินไปได้ แต่หัวขโมยก็ไม่เจอเงิน
วันรุ่งขึ้นก็ใช้อุบายเดียวกันนี้ เศรษฐีว่าง่าย ลงไปกินอาหาร ส่วนขโมยก็ลงมือค้นหาเงินของเศรษฐีอีก
ทำอย่างนี้อยู่ ๓ วันไม่เจอเงินเลย จึงกลัดกลุ้มใจว่าเป็นไปได้อย่างไร? เศรษฐีก็ไม่ได้เอาเงินลงไป เมื่อเศรษฐีจะออกจากโรงแรม ขโมย จึงถามเศรษฐีตรงๆ ว่า ช่วยบอกทีเถอะว่า คุณเอาเงินไปซ่อนไว้ที่ไหน? พร้อมกันนั้นก็สารภาพว่าตัวเองเป็นหัวขโมย อยากจะรู้จริงๆ
เศรษฐีก็เฉลยว่า “ตอนคุณเข้าห้องน้ำ ผมก็เอาเงินไปไว้ใต้หมอนของคุณ” ไงละ
คำตอบของเศรษฐีเป็นสิ่งที่ขโมยไม่เคยคิดมาก่อน ขโมยค้นทุกจุดเลยนะ แต่จุดเดียวที่ลืมค้นก็คือใต้หมอนใต้เตียงของตัวเอง เป็นเพราะอะไร?
มันสะท้อนธรรมชาติของคนเรา คือ “เรามักจะมองข้ามสิ่งใกล้ตัว คนใกล้ตัว ยิ่งใกล้ตัวที่สุดก็ยิ่งมองข้าม” สิ่งที่อยู่ใกล้ตัวไม่ได้หมายถึง สิ่งของหรือคนที่อยู่ใกล้ตัวเท่านั้นแต่ยังรวมถึงสิ่งที่อยู่ในตัว ในใจเราด้วย และสิ่งที่ใกล้ตัวเราที่สุดก็คือ “จิตใจ คนเรามักมองข้ามจิตใจของตัวเอง” เวลาเรามีความทุกข์ เราจะมองไปที่ภายนอกว่า เป็นตัวการทำให้เราทุกข์ จุดสำคัญตรงนี้ทำให้เราลืมความจริงไป
มนุษย์ธรรมดาทั่วไป มักไม่ค่อยหันมาดูใจของเราเท่าไร ว่าใจของเราต่างหากที่เป็นตัวการ เวลาเราปวด
เวลาเราเจ็บ เราก็จะโทษสิ่งภายนอกโทษแดด โทษคนที่อยู่ข้างๆ โทษคนที่อยู่ข้างหน้า แต่เราลืมดูใจของเราที่กำลังบ่น งอแง โวยวาย หงุดหงิด ใจอย่างนี้ต่างหาก ที่ทำให้คนเราทุกข์มากกว่าอย่างอื่น ลองพิจารณาดีๆ ว่า “จงมีความสุขในแบบของตัวเอง อย่างไม่ทำให้คนอื่นเดือดร้อน ถ้าใครไม่ชอบก็ปล่อยเขาไป ความสุขที่แท้คือ เราเลือกในชีวิตเรา ไม่ใช่เลือกให้คนอื่นพอใจ เพราะเราไม่สามารถทำให้ใครพอใจได้ทุกคน” นี่สำคัญ
เหมือนคนใส่รองเท้าส้นสูงหรือเกี๊ยะ เวลาเดินเสียงมันจะดังจนลำคาญ แต่จริงๆ แล้ว “เขาเดินของเขาอยู่ดีๆ เราสิ..!ดันเอาหูไปฟังเสียงเกี๊ยะเขาเอง” แล้วก็ไปโทษคนอื่น สิ่งอื่นแทน เราเอาหูไปฟังเสียงเกี๊ยะของเขาเพราะอะไร เพราะเราไม่มีสติรู้ทันใจเรา เมื่อเสียงเกี๊ยะมากระทบหู จริงๆ เราไม่ได้ทุกข์ทันที มันต้องปรุงแต่งก่อน
มันต้องมีความหลงลืมสติเกิดขึ้นก่อน ความทุกข์ถึงจะเดินไปถึงใจได้ แต่ถ้าเรามีสติ ก็เหมือนกับเรากำลังชักสะพานออก เหมือนกับว่าข้อตรงกลางมันหลุด เสียงที่มากระทบก็ไม่สามารถกระเทือนไปถึงใจได้ เมื่อสะพานถูกชักออกแล้ว มันก็ไม่สามารถเข้ามาถึงใจได้ จึงทำให้เรารู้ว่า “ไม่มีใครรู้จักตัวเราดีเท่ากับตัวเราเอง ไม่มีใครรู้เรื่องราวของตัวเราดีเท่ากับตัวเราเอง เรื่องคนอื่นรู้เพียงเศษเสี่ยว อย่าเก็บเอาเรื่องคนอื่นมาทุกข์เลย เพราะเรื่องของเราก็แก้ยากเป็นทุกข์พออยู่แล้ว” นั่นเอง
เด็กสมัยนี้ไม่เข้าใจว่า “ทำไมต้องลำบากด้วย ทำไมต้องอยู่แบบเรียบง่าย ทำไมไม่อยู่แบบหรูหรา”
เราก็มีกินมีใช้ ทำไมไม่กินให้มันเต็มที่ สนุกให้มันเต็มที่ คำตอบก็คือ “เพราะมันจะทำให้เราอ่อนแอ
ทำให้เราประมาท” ทำให้เราติดสบายจนกระทั่งกลายเป็นทาสของความสบาย พอไม่มีความสบายก็จะเป็นทุกข์ กลายเป็นคนทุกข์ง่าย สุขยาก เพราะได้เท่าไหร่ก็ไม่พอ
ลองมองให้ดีสิ “สบายเท่าไหร่ก็ไม่พอ” นี่คือ ธรรมชาติของความสะดวกสบาย ทุกคนอาจรู้ได้ว่า “มันไม่มีขีดจำกัด” มันต้องการเรื่อยๆ เพราะสบายทีไร ทุกข์มาถึงตัวทันที ไม่เคยเกิดความรู้สึกพอสักที แต่ถ้าเราฝึกใจให้มีสติรู้ทันสิ เราก็จะรู้ว่าเมื่อไหร่ควรพอ เมื่อไหร่ควรหยุด เราจะรับมือกับสิ่งต่างๆ ได้ กลายเป็นคนสุขง่าย ทุกข์ยาก




 

Create Date : 08 กุมภาพันธ์ 2557    
Last Update : 8 กุมภาพันธ์ 2557 6:01:17 น.
Counter : 860 Pageviews.  

ปล่อยสิ่งร้ายๆ ให้อยู่แค่วันวาน

0k



วันนี้ผู้เขียนได้นั่งพิจารณาเรื่องร้ายๆ ที่เกิดขึ้นบ่อยๆ ในชีวิตและคนรอบข้างทำให้อดคิดถึงสำนวนที่ว่า “ปล่อยสิ่งร้ายๆ ให้อยู่แค่วันวาน” แล้วใจเราจะเป็นสุข ความทรงจำร้ายๆ หลายอย่างในชีวิตเรา ทำไม..? เราต้องทรงจำมันไว้จนถึงวันนี้ เดี๋ยวนี้... ทำไมเราไม่ปล่อยให้มันอยู่แค่วันวาน “ชีวิตทุกวินาทีมีค่า เมื่อทำบุญเป็นเวลามีค่าที่สุด เพราะ เวลาคือ ชีวิต ชีวิตคือ เวลา หมดชีวิตคือ หมดเวลา ชีวิตจะมีค่าจริงๆ เมื่อชีวิตเราได้สร้างบารมี อย่าใช้ชีวิตให้หมดเวลาไปเปล่าๆ มันยอนกลับมาอีกไม่ได้” นี่สำคัญ
ถ้าเราเอาความโกรธแค้นมันมารวมกันแล้วในวันนี้ บางทีอาจทำให้เป็นรอยแค้นที่เจ็บปวดในใจที่สลับซับซ้อนซ่อนอยู่ในใจเสมอ แล้วก็คอยทำร้ายจิตใจเราอย่างเจ็บปวดครั้งแล้วครั้งเล่า ถ้าหากว่า “เรารู้จักยอมกันบ้าง” เราจะสามารถแก้ไขปัญหาได้มากมาย เราจะมีชีวิตเป็นสุขมากขึ้น เพราะเราทำวันนี้ให้เป็นวันนี้นั่นเอง
สุดท้ายเราจะไม่มีปัญหาอะไร เพราะ “ยอมแพ้สิ่งภายนอก แต่ชนะใจตนเอง” ลองคิดให้ดีว่า “ท่านชนะเรา... เราชนะท่านแล้วมีประโยชน์อะไร ถ้าเราไม่ชนะใจตนเอง” แม้ใครชนะคนอื่นได้ด้วยวิธีการต่างๆ แต่ก็เจ็บปวดที่ใจเหมือนเดิม
การชนะใจตัวเองอาจคล้ายกับว่า “เรายอมแพ้” แต่กลับได้พบกับชัยชนะที่ยิ่งใหญ่ซ่อนเร้นอยู่ในหัวใจแห่งการยอมรับได้ เพราะบางทีเพียงแค่ “ยอมยิ้ม ยอมหยุด ยอมเย็น ยอมยืดหยุ่น...หรือยินยอมบ้าง” เรากลับมีความสุขมากขึ้นในหัวใจเรา อย่างนี้เรียกว่า “ยอมชนะใจตัวเอง ไม่ใช่ยอมแพ้” อย่างนี้เราจะชนะได้ตลอดโดยไม่มีใครเปลี่ยนแปลงใจเราได้
เคยไหมที่บางคน ทำให้เรารู้สึกแย่มากๆ แต่กลับทำให้เราได้ข้อคิดมากขึ้น ใคร ๆ ต่างเห็นว่า เขานั้นแสนดีเลิศ แต่สำหรับเรานั้นมันแสนห่วยสุดๆ เพราะอะไร..? เพราะเรารู้จักจิตใจที่แท้จริงของเขาหรือเปล่า... หรือบางคนไม่ยอมรับความจริงก็อาจเป็นได้ ลองคิดให้ดีว่า “คนอดทนที่สุด แข็งแกร่งที่สุดเท่านั้นที่จะอยู่บนโลกใบนี้ได้ อย่างไม่ทุกข์ร้อน” อย่าลืมนะ
สมมติว่า คุณมีแฟนป็นหมอ....แต่พอคุณป่วยจริงๆ ดูสิ เขาไม่เคยใส่ใจคุณเหมือนคนไข้อื่นๆ เลย คุณต้องฝากชีวิตไว้กับฟาร์มาซีมาร์ทข้างบ้าน หรือเจ้าหมอตี๋บ้านนอก แล้วก็ข้ามผ่านช่วงเวลาทุกข์นั้นโดยลำพัง โดดเดียว จนคิดว่าทั้งความสุข และความทุกข์ มีอยู่มากมายรอบตัวเราขึ้นอยู่กับว่า เราจะไขว่คว้าสิ่งใดมาเอง ซึ่งผลของมันย่อมแตกต่างกันออกไป บางทีทำให้เราน้อยใจ บางทีมันอาจให้เราได้เห็นธรรมจริงๆ ว่า “ชีวิตเราจริงๆ แล้วพึ่งใครไม่ได้ นอกตัวเราเอง” เราอาจสบายใจขึ้น เมื่อรู้จักพึ่งตนเองและรู้ว่า “ทำความดีอยู่คนเดียวไม่มีใครเห็น แต่เราได้ความดีทันทีไม่ต้องรอให้ใครมาสรรเสริญ เพราะเรารู้แก่ใจในความดีนั้นตลอดเวลา มันเป็นความสุขใจที่ไม่ต้องรอเวลา” นั่นเอง
ในด้านสัจธรรมความจริงของชีวิต ถ้าเรามองว่า “มันเป็นแค่สิ่งที่ต้องเกิดขึ้น แล้ววางใจไว้ให้เป็นกลาง” กล้ายอมรับมัน กล้าเผชิญความจริง กล้าที่จะให้อภัยอย่างสงบนิ่งลงได้ ถือว่า เราได้ผ่านการทดสอบชีวิตไปขั้นหนึ่งแล้ว เหมือนเราถูกทำร้ายอย่างเจ็บปวด เราเจ็บมาก แต่เรากลับได้เรียนรู้ “การให้อภัย” เป็นบันไดสำคัญกับชีวิตแค่ไหน
การถูกใครทำร้ายอย่างไม่มีวันเลิกรา ถึงมันจะน่าเบื่อเพียงไร หากเราไม่รู้ให้อภัย เรากลับยิ่งทุกข์อย่างหาที่จบไม่ได้ ทุกอย่างไม่เกินวิสัยปัญหาคือ จะอยู่ร่วมกันยังไง ก่อให้ปัญหาอย่างไร คงไม่มีอะไรดีไปว่า “การวางใจของเราเองให้พอดี” น่าคิดนะ



ว.ปัญญาวชิโร“ปล่อยสิ่งร้ายๆ ให้อยู่แค่วันวาน”blue




 

Create Date : 28 มกราคม 2557    
Last Update : 28 มกราคม 2557 1:48:31 น.
Counter : 540 Pageviews.  

ถอนความยุ่งยากออกจากใจ

ถอนความยุ่งยากออกจากใจ



ถอนความยุ่งยากออกจากใจ

เราเคยคิดไหมว่า
ในยามที่ยุ่งยากที่สุด บางทีความเยือกเย็นมันเกิดขึ้นในใจเราได้อย่างไร...? ในยามที่เราพบกับความยุ่งยาก
ต้องพึ่งพาความเยือกเย็นและสมาธิ
แต่มักจะหามันไม่เจอ
ต่อเมื่อไรเราค่อยๆ ย้อนลงไปแยกแยะสาเหตุแห่งปัญหา แล้วเข้าใจคำว่า
“ความเห็น
บางทีต้องเปิดใจรับฟัง ความหวังคือ พลังของชีวิต” อะไรที่ทำให้เราเร่าร้อนยุ่งยากได้และสุขได้ เราจึงค่อยๆ พิจารณาจนพบความเยือกเย็น
สงบนิ่งอยู่ตรงหน้า


บางทีเราจะเริ่มเอาชนะความยุ่งยากของชีวิตได้ ด้วยการเอาชนะความวิตกกังวลที่เกิดขึ้นในใจของเราเสียก่อน “จงมองดูความวิตกกังวลของตนเอง ให้ได้อย่างเยือกเย็น” เราจะเริ่มค่อยๆ เห็นความจริง มองดูว่า
มันทำให้เราเอาชนะปัญหาของเราหรือมันทำให้เราหมดพลังและพ่ายแพ้ปัญหาต่างๆ
ของชีวิตผ่านมาแล้วก็ผ่านไป

ความทุกข์ยากที่เราคิดว่า มันแสนสาหัสสำหรับเราในวันนี้ ในวันข้างหน้า เราอาจรู้สึกว่ามันเป็นเรื่องเล็กน้อย
และน่าหัวเราะที่จะไปถือเอาเป็นเรื่องกลุ้มอกกลุ้มใจ
เพราะเราได้เอาชนะแล้วก็ผ่านมันไปแล้ว


ถ้าเรามาตอบแทนกันด้วยความดี
ความมีเมตตาต่อกันดีกว่า เวลายืน เดิน นั่ง นอน เราก็จะได้พบกับความสุขอย่างที่เราคาดหวัง
เป็นสิ่งที่ไม่ต้องลงทุนด้วยเงินหมื่น แสน ล้าน
แต่ถ้าทำได้ก็จะรับผลตอบแทนที่คุ้มค่าเกินกว่าที่เงินแสนเงินล้านจะหาซื้อได้
เป็นสิ่งที่เราฝึกให้ได้ เรามาเริ่มฝึกเริ่มให้กันดีกว่า “ถ้าเราฝึกร้ายก็จะได้ร้าย
ถ้าฝึกดี เราก็จะได้ดี”
ให้สิ่งใดเราก็ย่อมได้รับสิ่งนั้นเป็นสิ่งตอบแทน
เพียงแค่บางครั้งมันมีเงื่อนไขตรงที่เวลาเท่านั้น


ตัวอย่าง... อดีตคุณยายคนหนึ่งเล่าให้ฟังว่า
กรรมตามทัน... สมัยก่อนยายเป็นคนไม่ดีมักโกรธง่าย แล้วชอบเอาคืนทุกคน ชอบแก้แค้นคืน
ชอบเถียงแม่ มาตอนนี้กรรมตามสนองหมด ได้รับผลทุกอย่างไม่ต้องรอชาติหน้า
ชาตินี้แหละมักถูกคนอื่นดูถูก โกรธด่าว่าอย่างไร้เหตุผล แม้แต่หลานที่เลี้ยงมาตั้งแต่เด็กๆ
เพื่อนเก่าที่เรียนมาตั้งแต่ชั้นมัธยม แม้แต่คนข้างบ้านก็ยังด่าอย่างหยาบคาย
ด้วยสาเหตุเล็กๆ น้อยๆ ทำให้มองเห็นว่า “เวลากรรมชั่วไม่ให้ผล
มักคิดว่าตัวเองวิเศษ แต่พอให้ผลจึงสำนึกได้”
แต่ก็สายไปแล้ว


ทำไม คุณยายไม่เข้าใจว่า “ทำไม...คนเราถึงโกรธง่าย
ด่าทอกัน ไม่ยอมกัน
”
ไม่กลัวบาปกรรมหรือไง...?
คุณยายเริ่มคิดได้ว่า ผลกรรมมีจริง ไม่ต้องรอข้ามภพข้ามชาติ
พยายามเล่าให้ลูกหลานฟัง แต่ก็ไม่มีใครยอมปฏิบัติ คงเป็นอำนาจกรรมที่คุณยายเคยทำไว้นั่นเอง
แม้แต่คำพูดที่ดีลูกหลานก็ยังไม่เชื่อถือ นี่เป็นอำนาจของกรรมที่หยาบคาย สนองต่อผู้หยาบคาย


บางทีพอนึกสะท้อนถึงสังคมปัจจุบันว่า “เป็นโรคจิต ต้องช่วยกันเยียวยารักษา เข้าป่า ต้องจดจำหนทาง” บางคนทำร้ายร่างกายกันและกันจนบาดเจ็บล้มตายก็มาก
แม้แต่ในสังคมที่เห็นๆ กันอยู่ ในหมู่นักการเมือง ในกลุ่มคนที่เรียกตัวเองเสียเลิศหรูทางค่านิยม
สร้างภาพให้คนเห็นว่าดี แต่ทำตัวเป็นอันธพาลครองเมือง ขุดโคตรเง่ามาด่ากัน
ลับหลังใช้ภาษาเลวๆ พาลไม่เลิก สาเหตุอะไร
? คงเป็นเพราะมะเร็งร้ายมันเกิดในอารมณ์ที่ควบคุมไม่ได้ละกระมั่ง


นเราถึงเป็นไปได้เหมือนโรคจิต โรคติดต่อ..
บางคนปฏิบัติธรรมถือศีลกินเจก็ยังไม่ละกิเลส ด่าเขาแล้วก็ยกว่า
ตัวดีเลิศที่สุดในสังคมหลงว่า ไม่กินเนื้อสัตว์ว่าเป็นผู้วิเศษ เปล่า...
! เลย
ลองมองให้ดีพวกเขาก็ยังมีความโลภ โกรธ หลง
“คนเราถ้าไม่หยุดวงจรแห่งความโกรธแค้น” คงจะไม่รู้จักความสุขตลอดชีวิต วัฎจักรแห่งความโกรธแค้นก็คงวนอยู่เช่นนี้


ว.ปัญญาวชิโร






 

Create Date : 03 กันยายน 2556    
Last Update : 3 กันยายน 2556 13:51:12 น.
Counter : 545 Pageviews.  

หยุดอุปาทาน..จะพบสุข

หยุดอุปาทาน จะพบสุข


หยุดอุปาทาน... จะพบสุข

หากเราพยายามใช้ชีวิตอย่างเป็นกลาง
มองสังคมอย่างเป็นธรรม
เราก็จะเห็นว่า สังคมไทย กำลังถูกผูกขาดอยู่ด้วย วัตถุนิยม...
อำนาจนิยม... พวกพร้องนิยม... ญาตินิยม แต่ขาดความเป็นธรรมนิยม จนทำให้เกิดการขาดดุลทางสังคมเกิดขึ้น เพราะคนที่มีโอกาสดีกว่า มองดูแล้วพวกเขาจะได้รับโลกียสุขมาก
แต่สุขจริงๆ ในใจไม่มีใครรู้ว่า มีมากน้อยแค่ไหนนอกจากใจเราเองถึงรู้ได้ แต่ในทางกลับกันโอกาสคนมีเงิน
มีโอกาสเอาเปรียบคนด้อยโอกาสกว่า ทำให้คิดว่า “
ไม่มีน้ำใดๆ ล้ำค่ากว่าน้ำใจ เพราะไม่มีใครให้อยู่กลาดเกลื่อนเหมือนมลพิษ” นั่นเอง


จริงๆ
แล้วชีวิตเป็นสิ่งมหัศจรรย์ที่ควรค่าแก่การถนุถนอม
ไม่ว่าคนหรือสัตว์ก็รักชีวิตของตน ไม่ว่าจะอยู่กินอย่างลำบากเพียงไร
ทั้งคนและสัตว์แสวงหาวิธีหนีทุกข์ แต่หลายคนพยายามหาทุกวิธีทางที่จะเอาเปรียบคนที่มีโอกาสน้อยกว่า
คนเสียโอกาสมีการผูกโกรธอาฆาตแค้น... รอการแก้แค้น เมื่อ
มีโอกาสก็รีบกระทำตอบ
มันจึงไม่สิ้นสุด แล้วก็ต้องรอว่า คงมีสักวันหนึ่ง เมื่อใดมีธรรมะของพระพุทธองค์เกิดขึ้นในใจของผู้คนทั้งหลาย
เมื่อนั้นเราจะเห็นธรรมที่ว่า..
“นตฺถิ อตฺตสมํ เปมํ ผู้มีธรรม ย่อมไม่เศร้าโศกถึงสิ่งซึ่งล่วงไปแล้ว” (สารตฺถ. //๘๑-๘๒)


บุคคลที่ตั้งตนทำความดีในวันนี้ด้วยการคิดในใจว่า “อะไรที่ปล่อยให้ผิดในวันนี้
พรุ่งนี้มันก็ผิดซ้ำอีก
”
แล้วก็ทำใจให้พร้อมที่จะไม่ให้ผิดซ้ำอีก ทำปัจจุบันนี้ เดี๋ยวนี้อย่างดีที่สุด
พยายามตั้งสติ ใช้ปัญญาพิจารณาสร้างสรรค์สิ่งดีๆ ให้เกิดขึ้นภายในใจ ให้ใจมีสุข
เพราะความสุขจริงๆ เริ่มต้นจากใจเป็นพื้นฐาน ให้ใจบริสุทธิ์ก็เป็นพื้นฐานแห่งความสุขที่ไม่เจือด้วยทุกข์


ฝึกให้รู้จักควบคุมใจ...
ตนเอง


เมื่อใดที่เรารู้เท่าทันอารมณ์
รู้เท่าทันความยึดมั่นถือมั่นในตัวตน อุปาทานในตัวเอง เขาเรียกว่า
“เราค้นหาความฉลาด ทางด้านอารมณ์ได้สำเร็จ
เมื่อนั้นเราจะคุมใจเราได้
”
ซึ่งเป็นกุลลักษณะบางประการในการสร้างเสริมและพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ ในด้านจิตใจที่บริสุทธิ์
สะอาด สว่าง สงบ สร้างสรรทางวิญญาณให้รับรู้ทันเหตุการณ์ แล้วเราก็จะไม่ทุกข์


หัดมองอย่าง “ทำความรู้จักกับตนเอง อย่างเข้าใจตัวเองได้” การรู้เท่าทันความรู้สึกของตนเองเป็นหลักสำคัญของความฉลาดทางอารมณ์ คนที่รู้ว่าตนเองมีอารมณ์อย่างไร...?


ร้ายกาจแค่ไหน...?
ดี
-เลวอย่างไร...? ย่อมควบคุมเส้นทางเดินในการดำเนินชีวิตของตนเองได้ดีกว่า อุปมาเวลาคนกลัวผี กลัวแมลงสาบ กลัวงู เวลาเห็นรูปงู จิตเริ่มสัมผัส ประสาทสัมผัสบอกความรู้สึกบนผิวหนังจะรู้สึกว่ามีเหงื่อซึมออกมา ซึ่งเป็นสัญญานของความกระวนกระวาย ความหวาดกลัว ทั้งที่เจ้าตัวอาจบอกว่า
ไม่รู้สึกกลัวเลย
แต่ส่วนลึกแห่งจิตใจ และจิตวิญญาณสิ... “มันถูกฝังอยู่ไว้ด้วยความกลัวเสียแล้ว”
ดังนั้นปากจะพูดว่า ไม่กลัว แต่ใจที่ยังกลัวอยู่ก็จะแสดงอาการออกมาได้ทันที เรารู้ได้ด้วยจิตวิญญาณ


แต่ท่าทางอาการที่แสดงออกจากเหงื่อที่ซึมออกมาเวลาเห็นภาพงูหรือสิ่งที่ตนเกลียดเพียงแวบเดียว เห็นไหม...? คำพูดกับความรู้สึกที่เกิดตรงกันข้ามแล้ว แต่ถ้า “เราเข้าใจยอมรับสภาพตามความเป็นจริง”
รู้ด้วยจิตวิญญาณได้ว่า งู คือสมมติ... เป็นเพียงสัตว์อย่างหนึ่งเหมือนเรา
จิตสำนึกเปลี่ยนไป


เราก็จะไม่กลัวงู
และไม่ติดในอุปาทานนั้น... แล้วก็จะกลายเป็นการหยั่งรู้ เข้าใจถึงความรู้สึกในใจของตนเองเป็นส่วนหนึ่งของการปูพื้นฐานไปสู่
“ความฉลาดทางอารมณ์ ในจิตใจ”
นั่นคือ ความสามารถที่จะสลัดอารมณ์กลัว
ความขุ่นมัวออกไปจากใจได้ด้วยปัญญาพิจารณาตามอย่างแท้จริง คือ
“รู้เท่าทัน สภาพอารมณ์ที่มันเกิดขึ้น รู้ด้วยจิตวิญญาณ” อย่างนี้ทุกข์ทำอะไรไม่ได้


ตรงนี่เป็นประตูของผู้รู้
ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน
“การกำหนดรู้เท่าทันกับอารมณ์ที่มีอุปาทาน
ความยึดมั่นถือมั่น
”
อารมณ์เสียมีส่วนปรุงแต่งชีวิตและสร้างบุคลิกลักษณะได้เท่าๆ กับอารมณ์ดี แต่เป็นลักษณะตรงข้ามกันที่จะแสดงออกมา


หลักสำคัญคือทั้งสองขั้วต้องมีความสมดุล อารมณ์รุนแรงนั้นหลีกเลี่ยงยาก แต่พอจะควบคุมให้หายเร็วขึ้นได้ วิธีที่ดีกว่าก็คือ “การสร้างมุมมองใหม่ๆ” หมายถึง การมองสถานการณ์ในแง่ดี... อย่างมีสติและมองในทางบวก
เมื่อเรามองในแง่ดี เราก็จะรู้ว่า “ยังมีสิ่งที่ต้องพิจารณาอีกมากมายในโลกนี้
มากกว่าความทุกข์ในใจเรา”
ทำไมเราต้องเสียอารมณ์ตรงนี่


บางทีสิ่งที่สอนคนเราไม่ได้
ก็คือ “สามัญสำนึกในจิตวิญญาณ” พยายามพิจารณาไปให้สุด แล้วหยุดแค่คำว่า “พอดี
พอใจ”
แค่ไหน... เราจะได้มุมมองใหม่กับชีวิตมากขึ้น
เพราะสามัญสำนึกมันอยู่ใต้จิตสำนึก ถ้าพร้อมที่จะหยิบขึ้นมาใช้มันก็จะเป็นสุข


ว.ปัญญาวชิโร






 

Create Date : 29 สิงหาคม 2556    
Last Update : 29 สิงหาคม 2556 19:55:26 น.
Counter : 545 Pageviews.  

หัดตายทุกวัน คงเข้าใจความจริง

ชีวิตต้องมีการพิจารณาเสมอๆ





หัดตายทุกวัน
คงเข้าใจความจริง


สมัยที่ผู้เขียนเข้ากรรมฐานปฏิบัติธรรม
เจริญภาวนาในสำนักของครูอาจารย์... ท่านให้ความสำคัญเกี่ยวกับสัมมาทิฐิ เพราะว่า
“ความเห็นชอบ” เป็นประตูบานแรกที่เปิดทางของการปฏิบัติกรรมฐานที่แท้จริง
ถ้าเราขาดสัมมาทิฐิเมื่อไร ธรรมะใดๆ วิปัสสนากรรมฐานใดๆ จะมันเกิดขึ้นไม่ได้เลย
ไม่ว่าเราจะเพียรพยายามทำสักเท่าไร..?


ชาวพุทธที่เคยฝึกเรียนกรรมฐาน
ปฏิบัติธรรมมาก่อนจะเข้าใจว่า
“ความเห็นผิด ปิดบังความจริง”
เพราะมันทำให้ใจเราผิดไปจากธรรมดา ทำให้ใจเราเป็น
“มิจฉาทิฐิ” ความคิดใดๆ
ก็ตามหากเรายึดติดมากเกินไป มันอาจเป็นตัวปิดกั้นเราไม่ให้เห็นความจริง
ที่ปรากฏอยู่ต่อหน้า ยิ่งคิดยิ่งสับสน ยิ่งคิดยิ่งกังวล เพราะใจมันเห็นผิดด้วย “ความโลภ โกรธ หลง”
มันเสี่ยมสอนอยู่ตลอดเวลา


บางทีเราได้คิดว่า “การให้ความเคารพแนวคิดของผู้อื่นบ้าง
เสมือนหนึ่งเป็นอีกแนวคิดหนึ่งที่ต่างไปจากเรา
”
เท่านั้นเอง
มันอาจเป็นการจุดประกายแห่งความสว่างไสวก็อาจเป็นได้ ทำให้ผู้เขียนอดคิดไม่ได้ว่า
“หัดตายทุกวัน
คงเข้าใจความจริง
”
ตรงนี้ไม่ได้ตายจากชีวิต แต่ตายจาก “มิจฉาทิฐิ” ความหลงผิด ที่คอยปิดบังความจริง
ให้เราไปหลงยึดมั่นถือมั่นตลอดเวลา


หากเราลองทบทวนใจเราดีๆ
ลองพิจารณาให้ดีสิว่า
“ความรัก ความเกลียดเป็นสิ่งที่ใครก็สอนกันไม่ได้” มันเกิดจากใจที่ปรุงแต่งขึ้นอย่างมีมิจฉาทิฐิ
มันจะกลายเป็นความเกลียดไปทันที แล้วแอบซ่อนอยู่ในใจ
ที่สำคัญมันคอยบัญชาการให้ตัวเราเอง แสดงออกมาเป็นบทบาททำลายล้าง
ในรอยแห่งความทรงจำที่เกลียดแสนเกลียดนั่นเอง


เราอาจจะรู้ว่า “ความจริงมักสวนทางกับความคิดเสมอ” หลายคนอาจจะสรรหาเหตุผลเพื่อปฏิเสธหรือลดความน่าเชื่อถือของความจริงนั้น
เพราะถ้าเรายอมรับความจริงดังกล่าวเมื่อไร ก็ต้องละทิ้งความคิดอันเป็นมิจฉาทิฐิของตนเองนั้น
ซึ่งเป็นเรื่องที่มนุษย์เองยอมไม่ได้
แม้ในใจเราเองก็ยังไม่ยอมรับความจริงในบางครั้งได้เลย ขอให้ได้เกลียดสักนิดก็ยังดี


มนุษย์มีคุณสมบัติพิเศษอย่างหนึ่งที่หาไม่ได้
ในบรรดาสัตว์ที่มีชีวิตด้วยกัน สิ่งนั้นก็คือ
“รอยยิ้ม” สัตว์โลกทุกชนิดที่ยกย่องว่ากันว่า
เป็นสัตว์ฉลาด และฝึกหัดได้นานัปการ แต่ฝึกให้
“ยิ้ม” ไม่ได้ ยิ้มของคนซื้อขายไม่ได้ แต่มันจะออกมาได้ก็ต่อเมื่อใจเรามี “สัมมาทิฐิ” เต็มหัวใจ ดังการกระทำทุกอย่าง
จะเกิดขึ้นได้จะต้องมีการสั่งสม มีการกระทำบ่อยๆ จึงเป็นพฤติกรรมดีๆ
กลายเป็นความรัก เมตตาต่อเพื่อนมนุษย์ทุกคนอย่างจริงใจ


ฟางเส้นสุดท้าย


ตัวอย่างนิทาน... คนเก็บฟางคนหนึ่ง
เฝ้าเพียรเก็บฟางทีละเส้น มาใส่หลังลา หากเขาไม่ขยันเก็บ ฟางก็จะถูกสายลมพัดปลิวไปหมด
เขาจึงค่อยๆ สะสมเส้นฟางบนหลังลาไปเรื่อยๆ ฟางแต่ละเส้นเป็นเพียงแค่ฟาง
ไม่ได้มีอะไรเป็นพิเศษ อาศัยความเพียรค่อยๆ เก็บสะสมทุกวันทุกเวลา


ทุกทีที่มีโอกาสเก็บฟางแต่ละเส้น
แม้จะดูเบาหวิว แต่หากรวมกันเยอะๆ ก็จะมีน้ำหนักขึ้นมาได้
เมื่อสะสมน้ำหนักบนหลังลามาจนพอสมควร สุดขีดจำกัดที่ลาจะรับได้ ฟางอีกเส้นที่ใส่ลงไปจะทำให้ลารู้สึกว่าหนักเกิน
ที่จะยืนหยัดไหวต่อไปได้


หากเราใส่ฟางเส้นสุดท้ายลงไป
ลาก็จะล้มลงเพราะไม่อาจแบกน้ำหนักต่อไปได้ ฟางเส้นสุดท้ายนี้ก็เหมือนกับฟางเส้นแรก
ฟางเส้นสุดท้ายนี้ก็เหมือนกับฟางเส้นอื่นๆ เป็นเพียงฟางเส้นหนึ่ง แต่อาศัยความพยายามของคนเก็บฟางที่เพียรเก็บสะสมเส้นฟางใส่หลังลา
จนลามิอาจทานทนได้


จุดตรงนี้...นักปราชญ์ท่านเปรียบเทียบให้ฟังเรื่องการปฏิบัติธรรม
เราก็เพียรเฝ้าสะสมความรู้ความเข้าใจในความจริงไม่ต่างจากคนเก็บฟาง เราหมั่นสังเกตกายและใจของเรา
เอาความจริงมาตีแผ่ให้จิตดูอยู่เรื่อยๆ สะสมความจริงให้จิตมันเรียนรู้ไป
จนเข้าใจถึงจุดสุดท้ายให้ได้ นั่นแหละเป็นจุดเปลี่ยน เป็นจุดบรรลุถึงความสำเร็จนั่นเอง


ความจริงที่ว่า กายและใจนี้เป็นทุกข์ ไม่อาจจะทนอยู่ในสภาวะเดิมได้
กายและใจนี้มีการเปลี่ยนแปลง
“เกิดขึ้น ตั้งอยู่และดับไป” อยู่ตลอดเวลา กายและใจนี้ไม่ใช่ตัวตนของเราหรือของใคร ไม่อาจจะบังคับอะไรได้
ค่อยๆ แสดงความจริงให้จิตเห็น จนเมื่อจิตได้สะสมความรู้ความเข้าใจในความจริง
นั้น
เมื่อเห็นความจริงอีกครั้ง ก็เข้าใจทันที


กิเลสต่างๆ ก็ไม่อาจจะทนทานต่อความจริงได้
กิเลสจะถูกชำระล้างไปตามลำดับขั้นของความเข้าใจความจริง ลองทบทวนดูสิว่า
“ความเป็นใหญ่ในกายนี้แท้จริงคือ
ผู้ยึดกุม ผู้เอาชนะใจเราเองได้ จึงเป็นผู้นำได้ในกายนี้อย่างแท้จริง
”
เพราะใจเป็นใหญ่


เราทุกคนควรปฏิบัติธรรมเช่นคนเก็บฟาง ค่อยๆ
สะสมความรู้ความเข้าใจ เหมือนคนเก็บฟางใส่หลังลา หมั่นคอยสังเกตกายและใจของเราไป
กายเคลื่อนไหวก็รู้ทัน ใจเคลื่อนไหวก็รู้ทัน มีอารมณ์ต่างๆเกิดขึ้นก็รู้ทัน ดีใจ
เสียใจ โลภ โกรธ หลง อยากได้ อิจฉา ริษยา สงสัย ลังเล เบื่อ ยินดี พอใจ ฯ เรารู้เท่าทันอารมณ์ที่เกิดขึ้น


ว.ปัญญาวชิโร









 

Create Date : 02 พฤษภาคม 2556    
Last Update : 2 พฤษภาคม 2556 19:32:28 น.
Counter : 535 Pageviews.  

1  2  
 
 

samuellz
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




ชอบชีวิตอิสระที่สุด
รักทุกคนที่มีธรรมะ
[Add samuellz's blog to your web]

MY VIP Friend


 
 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com
pantip.com pantipmarket.com pantown.com