ชมวิวทิวทัศน์ เที่ยวรอบเกาะรัตนโกสินทร์ ท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม
ย้อนยุคประวัติศาสตร์ ช่วงเริ่มต้นการประกวดตุ๊กตาทอง ว่าอุปสรรคกันหรือไม่



รางวัลตุ๊กตาทองพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเรื่อง”นกน้อย”พุทธศักราช ๒๕๐๗

เพชรา เชาวราษฎร์ กับดอกดิน กัญญามาลย์ (เจ้าตำรับ “ล้านแล้วจ๊า”)

หมายเหตุ เป็นภาพร่วมสมัยเดียวกับบทความนำมาประกอบเพื่อสร้างบรรยากาศ

พอดีไปอ่านพบมาที่หน้าเพจ บน Facebook ของ อ.เจริญตันมหาพราน นักประวัติศาสตร์ชุมชนก็เห็นว่าข่าวนี้คนในยุคปัจจุบันน่าจะยังไม่ค่อยทราบกันครับเลยคิดว่าน่าจะเผยแพร่ครับ ส่วนภาพใบปิดหนังแบบเก่า (โปสเตอร์เก่า) และคลิปสั้นๆภาพยนตร์ เรื่องนกน้อย จะอยู่ท้ายๆ บทความครับ...

อ้างอิง https://www.facebook.com/media/set/?set=a.321156217969009.74777.100002239007684&type=1

เครดิต อ.เจริญ ตันมหาพราน (นักประวัติศาสตร์ชุมชน) @Charoen Tanmahapran (ชื่อบน Facebook) ขอขอบคุณ มา ณ ที่นี้...

การประกวดหนังไทยตุ๊กตาทอง รางวัลสำหรับภาพยนตร์ไทยสถาบันแรกในประเทศไทย มีจุดเริ่มต้นมาตั้งแต่ก่อนกึ่งพุทธกาลมีวัตถุประสงค์เพื่อให้เกิดการแข่งขัน และการพัฒนาทางด้านคุณภาพของภาพยนตร์ไทยมีต้นแบบมาจากงานแจกรางวัลภาพยนตร์ในสหรัฐอเมริกาหรือรางวัลออสการ์ที่พวกเรารู้จักเป็นอย่างดีเมื่อนับเวลาตั้งแต่ครั้งแรกที่มีการแจกรางวัลตุ๊กตาทองของภาพยนตร์ไทย ในปีพ.ศ.๒๕๐๐ จนถึงวันนี้ ก็ย่างก้าวเข้าสู่ปีที่ ๔๔ แต่การเดินทางของรางวัลตุ๊กตาทองในเมืองไทยก็ไม่ได้ราบรื่นสวยงามอย่างที่คณะบุคคลผู้แรกเริ่มคาดการณ์ไว้ตำนานบทแรกของตุ๊กตาทองในนิตยสาร ตุ๊กตาทอง ปีที่ ๑ ฉบับที่ ๒๗ ประจำวันที่ ๑๑มกราคม พ.ศ.๒๔๙๖ ปรากฏบทความสั้นๆที่เอ่ยถึงการจัดประกวดภาพยนตร์ในประเทศไทยว่า “...ส่วนในประเทศไทยเรานั้นเล่าขณะนี้การสร้างภาพยนตร์กำลังตื่นตัวกันมากถึงขนาดที่พอจะเรียกว่าจริงจังและเป็นล่ำเป็นสันได้แล้ว เพราะปรากฏว่าได้มีการลงทุนกันเป็นเรือนแสนเรือนล้านเพื่อกิจการนี้โดยเฉพาะจึงน่าจะถึงเวลาที่เราจะยกระดับของภาพยนตร์ไทยให้สูงขึ้นกว่าที่แล้วๆมาได้แล้วบัดนี้เรามีข่าวดีที่จะเรียนให้ทราบว่าในเมืองไทยเราได้ริเริ่มดำเนินงานเพื่อกิจการดังว่าขึ้นแล้วโดยบริษัทกรรณสูตกับคณะหนังสือพิมพ์ตุ๊กตาทองได้ตกลงที่จะร่วมมือจัดให้มีการประกวดภาพยนตร์ชิงรางวัลตุ๊กตาทองขึ้นเช่นเดียวกับประเทศต่างๆที่ได้กล่าวข้างต้น ข่าวรายละเอียดเราจะได้เสนอต่อไป…"โครงร่างของการประกวดในครั้งนั้นได้กำหนดการให้รางวัลเอาไว้เพียง ๙รางวัลเท่านั้น ประกอบด้วย 



ภาพใบปิดหนัง(ภาพยนตร์) ในยุคนั้น .....

๑.พระเอก ๒.นางเอก ๓.ตัวประกอบฝ่ายชาย ๔.ตัวประกอบฝ่ายหญิง๕.การกำกับ ๖.การเขียนบทภาพยนตร์ ๗.การถ่ายภาพ(ขาวดำ) ๘.การถ่ายภาพ(สี)๙.ภาพยนตร์ยอดเยี่ยม

แต่เรื่องที่ยังสรุปไม่ได้ของคณะผู้จะจัดงานคือรูปรางวัลที่จะใช้ในการประกวด และเพื่อให้ทุกคนที่สนใจมีส่วนร่วมในการจัดงานทางนิตยสารตุ๊กตาทองจึงได้จัดให้มีการประกวดแบบในการสร้างตัวรางวัล ตุ๊กตาทองชิงเงินรางวัล ๑,๐๐๐ บาท โดยตั้งเงื่อนไขว่าจะต้องเป็นแบบที่สามารถจำลองเป็นรูปปั้นได้ มีความสูงไม่เกิน ๑๐ นิ้วฟุตกำหนดหมดเขตส่งผลงานในวันที่ ๓๑ พฤษภาคม พ.ศ.๒๔๙๖(ตุ๊กตาทอง ปีที่ ๑ ฉบับที่ ๓๘(๒๙ มีนาคม ๒๔๙๖) ซึ่งความเคลื่อนไหวนี้เป็นข่าวสุดท้ายที่เราหาได้ในปี พ.ศ.๒๔๙๖เราไม่ทราบว่าเกิดอะไรขึ้น ทำไมการจัดประกวดตุ๊กตาทองจึงไม่เกิดขึ้นในปีนั้นข่าวที่ประโคมมาตั้งแต่ต้นปีจางหายไปข่าวของการประกวดภาพยนตร์ชิงรางวัลตุ๊กตาทองกลับมาอีกครั้งในปี พ.ศ.๒๕๐๐นิตยสารผดุงศิลปประจำวันที่ ๑๙ พฤษภาคม ได้ลงข่าวคืบหน้าถึงการสร้างรางวัลตุ๊กตาทองต่อเนื่องจากข่าวการจัดทำรางวัลตุ๊กตาทองที่ ฯพณฯ จอมพลป.พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีได้มอบเงินจำนวนหนึ่งสำหรับสร้างตุ๊กตาทองที่เสนอไปก่อนหน้านี้ ว่า "…บัดนี้ ได้รับรายงานข่าวว่าการสร้างตุ๊กตาทองเพื่อมอบเป็นรางวัลแก่ภาพยนตร์และผู้ที่เกี่ยวข้องกับงานภาพยนตร์ที่ชนะการประกวดแต่ละประเภทได้กำหนดขึ้นแล้ว แต่ทุนจำนวนนี้ ทราบว่า เป็นเงินทุนของหอการค้ากรุงเทพฯหาใช่เงินทุนของ ฯพณฯ จอมพลป.พิบูลสงคราม ตามข่าวที่เราได้เสนอไปแล้ว…"ในเนื้อข่าวยังระบุถึงกำหนดการจัดงานว่า จะจัดให้มีขึ้นเป็นครั้งแรกในงานสัปดาห์แห่งการแสดงอุตสาหกรรมพาณิชยกรรม และเกษตรกรรมของหอการค้ากรุงเทพฯ ที่จะมีขึ้นในเดือนพฤษภาคมและได้มีการแต่งตั้งคณะทำงานทั้งในส่วนของคณะกรรมการดำเนินงานและคณะกรรมการตัดสินการประกวดภาพยนตร์ ซึ่งคณะกรรมการการดำเนินงานมี สงบ สวนสิริเป็นประธาน ส่วนคณะกรรมการตัดสินภาพยนตร์จะประกอบด้วย นักประพันธ์ นักวิจารณ์นักเซ็นเซอร์ นักหนังสือพิมพ์ และผู้ที่ดูภาพยนตร์เป็นประจำรายชื่อคณะกรรมการตัดสินภาพยนตร์ของการประกวดครั้งแรก ประกอบด้วย พ.ท.จง แปลกบรรจง,พ.ต.ต.ปรีชา จงเจริญ, พ.ต.ต.ประสัตถ์ปันยารชุน, แก้ว อัจฉริยกุล, ศักดิ์เกษมหุตาคม, ระบิล บุนนาค, ลมูล อติพยัคฆ์,กาญจนา ศยามานนท์, และเถาวัลย์มงคล(รายชื่อคณะกรรมการ : จากสูจิบัตร งานประกวดภาพยนตร์ไทยยอดเยี่ยม ประจำปี๒๕๐๒) งานประกวดภาพยนตร์ไทยครั้งแรกได้เกิดขึ้นในปี พ.ศ.๒๕๐๐ นี้เองโดยการสนับสนุนของหอการค้ากรุงเทพฯ มีภาพยนตร์ไทยแจ้งความจำนงเข้าประกวดทั้งสิ้น๕๒ เรื่อง มีภาพยนตร์ที่ถ่ายทำในระบบ ๓๕ มม. เข้าประกวดเพียง ๔ เรื่องเท่านั้น คือชั่วฟ้าดินสลาย(๒๔๙๘)ของหนุมานภาพยนตร์, จอมไพร(๒๕๐๐)ของวิจิตรเกษมภาพยนตร์,ถ่านไฟเก่า(๒๕๐๐)และสองพี่น้อง(๒๕๐๑)ของบริษัทอัศวินภาพยนตร์นอกจากนั้นเป็นภาพยนตร์ที่ถ่ายทำในระบบ ๑๖ มม.และเนื่องด้วยการประกวดที่จัดขึ้นเป็นปีแรกทางผู้จัดงานจึงไม่ได้จำกัดปีของภาพยนตร์ทำให้มีภาพยนตร์ทั้งเก่าและใหม่เข้าประกวดปะปนกันผลการประกวดภาพยนตร์มีการประกาศอย่างเป็นทางการในวันที่ ๓ สิงหาคม ๒๕๐๐ ณ สวนลุมพินีสถานจัดเป็นงานบอลรูม มีการชุมนุมดาราภาพยนตร์ นักแสดงและผู้ประกอบอุตสาหกรรมภาพยนตร์มีการลีลาศชิงรางวัล แสดงแบบเสื้อโดยเหล่าดาราภาพยนตร์ จำหน่ายบัตรเข้างานในราคา 50บาทแต่ผลการประกวดภาพยนตร์ไทยในครั้งนี้กลับมีการตีพิมพ์ลงในหนังสือพิมพ์และนิตยสารก่อนวันงาน หลังการประกาศผลรางวัลอย่างเป็นทางการปรากฏว่าการจัดงานไม่ค่อยเป็นที่พอใจของบุคคลต่างๆ จรัญ วุธาทิตย์ ได้เขียนในบทความ“บทเรียนอันล้ำค่าของการประกวดภาพยนตร์" นิตยสารผดุงศิลป ปีที่ ๘ฉบับที่ ๓๔(๑๘ สิงหาคม ๒๕๐๐)ว่า “…ต่อข้อถามที่ว่าการจัดงานปีแรก หรือครั้งแรกนี้ซึ่งต้องทำเป็นการรีบด่วนกระทั่งมีข้อบกพร่องขึ้นนั้นทางหอการค้ากรุงเทพ หรือคณะกรรมการดำเนินงาน มีความจำเป็นอย่างไร เพียงไรจะเป็นโดยบทบัญญัติทางกฎหมายหรือคำสั่งของใคร ที่กำหนดให้หอการค้ากรุงเทพ “จำเป็น”ต้องดำเนินการจัดการประกวดในปี ๒๕๐๐ นี้กระทั่งไม่อาจวางแผนงาน หรือหลักเกณฑ์ให้รัดกุมเหมาะสมได้จนเป็นเหตุให้มีความบกพร่อง และยุ่งยากขึ้น ฯลฯ กรรมการ(ตัดสิน)ผู้นั้นใช้คำตอบด้วยการหัวเราะ ซึ่งผู้เขียนจำเป็นต้องหัวเราะตามไปด้วยในที่สุดก็ต้องตอบคำถามของตนเองด้วยประโยคต่อไปว่า เมื่อไม่มีความจำเป็นต้องกระทำโดยรีบด่วนก็ชอบที่จะวางหลักเกณฑ์หรือแผนงานให้รัดกุม แล้วจึงค่อยจัดให้มีการประกวดการที่จะสนับสนุนผลิตกรรมภาพยนตร์ไทย ยังมีอยู่อีกหลายทาง ไม่ใช่เรื่องของการมอบ“ตุ๊กตาทอง”หรือ“สำเภาทอง”มันเป็นเรื่องของการที่เมื่อสร้างภาพยนตร์เสร็จแล้วหาโรงฉายไม่ค่อยได้เรื่องของการต้องซื้อเครื่องอุปกรณ์ในการสร้างภาพยนตร์ด้วยราคาสูงขนาดที่ไม่ควรจะเป็นถึงแค่นั้นเรื่องของความขัดข้องเกี่ยวแก่สถานที่ถ่ายทำภาพยนตร์ และอื่นอื่นอีกจิปาถะการกระวีกระวาดจัดงานประกวด“ตุ๊กตาทอง”และ“สำเภาทอง” ควรจะเป็นเรื่องภายหลังสิ่งเหล่านั้น คำปรารภข้อนี้กรรมการ(ตัดสิน)ผู้นั้นรับว่าน่าฟัง…

" สุรสิทธิ์ สัตยวงศ์นักแสดงชั้นนำในเวลานั้นได้ให้สัมภาษณ์ จรัญ วุธาทิตย์ ในบทความ “พระเอกสุรสิทธิ์ เปิดอกเกี่ยวกับการประกวดภาพยนตร์” ในนิตยสารผดุงศิลปฉบับเดียวกันว่า “…

ผู้เขียน :"คุณไม่สนับสนุนงานชิ้นนี้หรือ"

สุรสิทธิ์ : "ถูกแล้วผมไม่สนับสนุน การสนับสนุนส่งเสริมอุตสาหกรรมภาพยนตร์ไทยมีอยู่หลายทางที่น่าจะคิดทำ แต่ไม่คิดจัดทำ อย่างที่ผดุงศิลปเคยแนะและเคยเขียนไว้หลายหนนั้น ผมเห็นพ้องและสนับสนุนเต็มที่และเหตุที่ผมไม่สนับสนุนการประกวดภาพยนตร์ครั้งนี้มีเหตุผลหลายประการประการแรกที่สุดก็คือเรายังไม่มี“สภาการภาพยนตร์"ท่านกรรมการผู้ทรงเกียรติซึ่งเป็นผู้ตัดสินท่านมีความรู้แตกฉานในการภาพยนตร์เพียงไร ผมเองก็ยังไม่ทราบชัดคาแรคเตอร์หรือบทบาทผู้แสดงอย่างไหน ภาพยนตร์ประเภทไหน ที่สมควรพิจารณามอบ“ตุ๊กตาทอง”เป็นเกียรติผมคิดว่าเป็นเรื่องที่จะต้องศึกษากันนานมาก มิใช่จู่ๆก็ทำขึ้นซึ่งพอพลาดพลั้งบกพร่องก็ยกเอาเรื่อง“ปีแรก”มาออกตัวขออภัยกัน ผมว่าเหตุการณ์เหล่านี้เป็นเรื่องที่น่าคิดมากและที่ผมคิด ไม่ใช่ เกิดจากความน้อยเนื้อต่ำใจ เพราะผมไม่ได้“ตุ๊กตาทอง” แต่ผมคิดว่าเราก้าวเร็วเกินไปเสียแล้วทั้งทั้งที่งานภาพยนตร์ไทยของเราวนเวียนอยู่เพียงแค่คืบเท่านั้น…”

หมายเหตุ ขอขอบคุณภาพจากอินเตอร์เน็ต ส่วนภาพที่นำมาเล่าเรื่องเป็นภาพร่วมสมัยกับยุคต้นๆ จะนับเป็นประวัติศาสตร์ของการประกวดตุ๊กตาทอง ก็น่าจะได้ครับ ...ส่วนข้อผิดพลาดประการใด ขออภัย มา ณที่นี้ครับ



ภาพใบปิดหนัง(ภาพยนตร์) ในยุคนั้น .....




ภาพใบปิดหนัง(ภาพยนตร์) ในยุคนั้น .....




ภาพใบปิดหนัง(ภาพยนตร์) ในยุคนั้น .....

วีดีโอ





Create Date : 18 กรกฎาคม 2555
Last Update : 18 กรกฎาคม 2555 15:06:00 น. 0 comments
Counter : 2470 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

เที่ยวรอบเกาะรัตนโกสินทร์
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 11 คน [?]




ภาพอดีต ภาพปัจจุบัน และอนาคต และความเป็นไปของเกาะรัตนโกสินทร์
เล่าเรื่องทริป ที่สุดแสนจะธรรมด๊า ธรรมดา แต่หลายคนอาจมองข้ามไป แต่ในสายตาของนักท่องเที่ยวทั่วโลกแล้ว มัน อเมซิ่ง มากมาย
Group Blog
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add เที่ยวรอบเกาะรัตนโกสินทร์'s blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.