16 เรื่องควรรู้เมื่อหนี้เกิดทำพิษกับชีวิต

1. เริ่มจากการขอประนอมหนี้

เจ้าหนี้ส่วนใหญ่ยินดีรับฟังปัญหาของคุณอยู่แล้ว  และยินดีปรับโครงสร้างหนี้หากคุณแสดงความจริงใจที่จะใช้หนี้คืนเค้า  การปรับโครงสร้างหนี้ใหม่ ก็คือ  การที่ธนาคารอาจจะคิดยอดเงินให้คุณใหม่โดยอาจคิดน้อยกว่าความเป็นจริง  หรือให้คุณพักชำระหนี้สักระยะเพื่อหาเงินมาชำระ  หรือให้คุณชำระในยอดต่อเดือนน้อยกว่าเดิม  สรุปก็คือ  เจ้าหนี้ให้โอกาสคุณดิ้นรนหาเงินมาชำระหนี้  ดีกว่ามาเป็นคดีความฟ้องร้องกันให้เสียเวลา  เสียค่าใช้จ่ายให้วุ่นวาย  แต่ต้องจำไว้ว่าเมื่อเจรจาประนอมหนี้สำเร็จแล้วคุณต้องมีวินัยในการจ่ายชำระคืนอย่างเคร่งครัด  เพราะไม่มีใครเชื่อใจคุณอีกได้แน่หากมีการผิดนัดชำระเป็นครั้งที่สอง  หากเจ้าหนี้ยอมประนอมหนี้แล้ว  คุณยังไม่สามารถจ่ายชำระได้ในโครงสร้างหนี้ใหม่  เขาก็ต้องดำเนินคดีกับคุณต่อเหมือนกัน

2. ถ้าเงินไม่พอจ่ายก็ให้หยุดจ่าย

ปล่อยให้เค้าฟ้องไป  ถ้าไม่สามารถตกลงกับเจ้าหนี้เพื่อปรับโครงสร้างหนี้ได้  การพยายามชำระตามความสามารถที่มี ก็เหมือนการชำระดอกเบี้ยอย่างเดียวโดยไม่มีวันจบสิ้น  ยอดหนี้ยังคงเหลืออยู่เท่าเดิมโดยไม่กระเตื้องลดลง อย่างนี้แล้วจ่ายไปก็เสียเปล่า  เปรียบเสมือนโยนหินลงไปในแม่น้ำ  มีแต่จะจมหายไปก็เท่านั้น  ไม่ได้ช่วยให้อะไรดีขึ้นมา มีผู้สันทัดแนะนำว่าให้หยุดจ่าย การหยุดจ่ายไม่ได้หมายความว่าให้คุณชิ่ง!!!!!! หนี้นะครับ เพราะยังไงก็ต้องใช้คืนเจ้าหนี้เพียงแต่ คืนมาก คืนน้อย คืนเร็ว คืนช้า อยู่ที่คุณจะต่อรอง กรณีนี้ปล่อยให้เค้าฟ้องไป แล้วค่อยไปต่อลองที่ศาล

3. เจ้าหนี้ไม่มีสิทธินำความเป็นหนี้ของลูกหนี้ไปประจาน

เพราะการเป็นนี้เป็นเรื่องส่วนตัว  การนำเรื่องส่วนตัวของลูกหนี้ไปประจานแก่เพื่อนร่วมงาน  หรือผู้บังคับบัญชาของลูกหนี้ ไม่ว่าจะหวังผลเพื่อให้เกิดการอับอาข หรือลดความน่าเชื่อถือของลูกหนี้  ถือเป็นความผิดฐานหมิ่นประมาทของผู้กระทำ  ลูกหนี้สามารถฟ้องเจ้าหนี้ในกรณีนี้ได้

4. ความผิดจากการเป็นหนี้ไม่ได้ร้ายแรงถึงขึ้นต้องติดคุก

เพราะหนี้เป็นคดีแพ่ง  ไม่ใช่คดีอาญาที่ยอมความกันไม่ได้ สิ่งที่เจ้าหนี้สามารถกระทำกับลูกหนี้ก้คือการฟ้องเพื่อเรียกให้ชดใช้หนี้  หรือฟ้องลมละลายเพื่อยึดทรัพย์  หรือรับรายได้  ซึ่งการฟ้องให้ลมละลายนั้นผู้เป็นหนี้จะต้องมีหนี้เกิน 1,000,000 บาท  ทั้งนี้หากมีเจ้าหนี้หลายรายเมื่อยอดหนี้รวมกันแล้วเกิน 1,000,000 บาท เจ้าหนี้ทั้งหมดอาจรวมกันฟ้องได้โดยเป็นโจทย์ร่วมฟ้องในคดีเดียวกัน อีกทั้งคดีความต่างๆมีอายุความอยู่ เช่น โดยปกติบัตรเครดิตจะมีอายุความการฟ้องภายใน 2 ปี นับแต่วันที่เราชำระเงินครั้งสุดท้าย  ( คือ นับจากวันจ่ายเงินถึงวันฟ้อง) ถ้าเกินจากนี้เจ้าหนี้หมดสิทธิฟ้อง

5. เมื่อถูกฟ้องก็เป็นสิทธิของลูกหนี้ที่จะสู้คดี

หากรู้สึกไม่เป็นธรรมในการคิดดอกเบี้ย  หรือเบี้ยปรับ  หรืออะไรก็แล้วแต่ที่จะเป็นข้อต่อสู้คดีได้ก็ให้หยิบยกขึ้นมาสู้  แต่ถ้าไม่มีข้อต่อสู้ก็ต้องขอความเห็นใจจากเขา  อาจเข้าไปคุยเพื่อขอลดยอดชำระให้เหลือน้อยลงหรือขอปรับปรุงโครงสร้างหนี้ใหม่  ถ้าเขาไม่ยอมและต้องการดำเนินคดีกับเราอย่างเดียวก็ปล่อยให้เขาดำเนินคดีไป  เพราะอย่างไรเสียเขาจะทำอะไรกับคุณได้ก็เท่าที่กฏหมายให้สิทธิไว้เท่าน้น  ซึ่งตามกฎหมายแล้วย่อมเปิดที่เปิดทางไว้ให้คุณได้มีเวลาหาเงินมาชดใช้เขาได้  ไม่ต้องกังวลใจ

6. ไปศาลหรือไม่ เป็นสิทธิของคุณ

เมื่อมีหมายศาลมา คุณจะไปหรือไม่ก็ได้  เพราะเป้นสิทธิของคุณที่จะต่อสู้ หรือไม่ต่อสู้คดีก็ได้  หากคุณไปศาล  แล้วไม่สามารถคุยเจรจากับโจทก์ก็ได้ก็เสียเวลาเปล่า  เพราะอย่างไรเสียเจ้าหนี้ก็ให้ศาลมีคำพิพากษาไปฝ่ายเดียวตามยอดที่ฟ้องเหมือนเดิม  ยิ่งถ้าคุณไปเซ็นรายงานกระบวนพิจารณาคดี  ก็จะเป็นผลเสียกับคุณมากกว่าเพราะรับทราบคำพิพากษาในวันดังกล่าวแล้ว  เขาสามารถนำไปบังคับแก่คุณได้ภายใน 15 วัน แต่ถ้าไม่ไปศาลในวันนัด นั่นเท่ากับว่าคุณไม่ทราบคำพิพากษา โจทก์จะบังคับแก่คุณช้าลงประมาณ 1 เดือน  หรือนานกว่านั้น

7. จ้างทนายก็ใช่ว่าจะช่วยให้คุณไม่เป็นหนี้

เพราะประเด็นมันอยู่ที่อย่างไรเสียคุณก็ต้องหาเงินไปชำระคืนเขาทนายจะช่วยได้อย่างมากก็ประวิงคดี  (ยึดการพิพากษาออกไปอย่างมากก็ 1 ปี) สุดท้ายคุณก็ต้องจ่ายเงินให้กับโจทก์อยู่ดี (แถมเสียเงินให้ค่าทนายอีกตะหาก) ดังนั้นถ้าเอาเงินเขามาจริงก็ต้องจ่าย จะหวังใช้ทนายแก้ต่างให้ไม่ต้องจ่ายเงินคงไม่ได้  แต่ถ้ายังไม่มีจ่ายก็สู้คดีกันไป

8. จ่ายวันนี้หนี้น้อยหน่อย จ่ายวันหน้าหนี้บานปลาย

แม้เจ้าหนี้จะไม่สามารถทำอะไรคุณได้  หากคุณไม่มีทรัพย์สิน  หรือรายได้ที่จะชดใช้ให้แก่เขา  แต่ตราบใดที่คุณยังมีชีวิตอยู่  หากจังหวะไหนที่คุณมีทรัพย์สิน หรือรายได้   พึงระลึกไว้ว่าทรัพย์สินหรือรายได้นั้นเจ้าหนี้สามารถเรียกให้คุณจ่ายชดใช้หนี้ให้เค้าได้  และในวันนั้นยอดชำระหนี้จะไม่ใช่ก้อนเดิมอีกต่อไป  แต่จะทวีคุณตามจำนวนวันเวลาที่ผันผ่านมานั่นเพราะยอดตามหมายศาลจะคิดถึงแค่วันฟ้องเท่านั้น  และตามคำขอท้ายฟ้องจะมีอยู่ข้อหนึ่งที่บอกว่า ขอให้จำเลยชดใช้ดอกเบี้ยนับแต่ววันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ คือ เจ้าหนี้จะขอคิดดอกกับคุณไปเรื่อยๆ  จนกว่าคุณจะชำระให้เขาทั้งหมดทุกบาททุกสตางค์  ดังนั้นถ้ามีเงินก้อนก้ไปปิดบัญชีทีเดียวเลย  เพราะถ้าปิดบัญชีหมดโดยปกติเจ้าหนี้จะลดให้ 50 % จากยอดหนี้ทั้งหมด

9.เจ้าหนี้สืบทรัพย์รู้ได้ไม่ใช่เรื่องยาก

ในทุกครั้งที่ทำสัญญาเสินเชื่อ  เจ้าหนี้จะให้คุณเซ็นหนังสือยินยอมให้มามารถเช็คข้อมูลของคุณได้  ดังนั้นไม่ว่าคุณจะไปทำธุรกรรมธุรกิจที่ไหน  เจ้าหนี้ย่อมตามคุณเจอเสมอ  อย่าคิดว่าจะแอบมีทรัพย์สินได้โดยที่เจ้าหนี้ไม่รู้  แล้วหลบหนี้การทวงคืนได้  อย่างน้อยสุไม่ว่าคุณจะย้ายที่ทำงานไปกี่แห่ง  ทุกแห่งที่คุณไปย่อมมีข้อมูลจากประกันสังคมให้เจ้าหนี้ได้แกะรอยตามคุณเจอ

10. ต้องฟ้องก่อน เจ้าหนี้ถึงมีสิทธิยึดทรัพย์

เจ้าหนี้จะมีสิทธิทำการยึดหรืออายัดทรัพย์ของคุณได้  ก็ต่อเมื่อเขาชนะคดีแล้วเท่านั้น จึงจะมีอำนาจบังคับคดี  ดังนั้นถ้ามีการฟ้องร้องขึ้นมาก็ให้สู้คดีเรื่องดอกเบี้ย  และอายุความไว้ก่อน  จะได้ไม่ต้องรับภาระดอกเบี้ยที่หนักเกิน

11. ยึดได้แต่ทรัพย์เรา ทรัพย์พ่อแม่พี่น้องไม่มีสิทธิยึด

หลังจากฟ้องศาลและเจ้าหนี้เป็นฝ่ายชนะคดีแล้ว  เขาจะทำการบังคับคดีโดยสืบหาว่าคุณมีทรัพย์สินอะไรบ้าง  พอที่จะยึดและขายทอดตลาดได้เงินมาชำระหนี้แก่เขาได้เช่น บ้าน ที่ดิน รถยนต์ บัญชีเงินฝากในธนาคาร และทรัพย์สินของคุ๋สมรส ( เฉพาะที่จดทะเบียนสมรส ) โดยเข้ามาสามารถยึดได้ทั้งหมด จนกว่าจะได้เงินคบตามจำนวน แต่เค้าจะไม่สามารถยึดทรัพย์สินในส่วนที่เป็นของ พ่อ แม่  พี่ น้องคุณได้  ถ้าเขาสืบทรัพย์แล้วปรากฏว่าไม่พบ  หรือคุณไม่มีทรัพย์สินอะไร  เขาก็ไม่สามารถทำอะไรคุณได้  ถ้าคุณไม่มีจริงๆ  ก็ไม่ต้องทำอะไร ปล่อยไว้อย่างนั้น เพราะเขาก็ไม่สามารถทำอะไรคุณได้  ไว้รอคุณมีเมื่อไรก็ค่อยไปจ่าย  แต่บอกไว้ก่อนว่าดอกเบี้ยมันจะเดินไปเรื่อยๆ  เมื่อคิดจะจ่ายอีกทีหนี้อาจจะเพิ่มบานเบอะ เพราะฉะนั้นถ้ามีก็อย่านิ่งนอนใจคิดเบี้ยวเขาเสียดื้อๆ เขาสืบทรัพย์ได้เมื่อไรคุณก็ต้องจ่ายอยู่ดี

12. อายัดเงินเดือนได้ เฉพาะส่วนที่เกิน 10,000 บาท

เจ้าหนี้จะได้สิทธิบังคับคดีเต็มที่ตามยอดหนี้ที่ฟ้องร้อง  หากคุณไม่มีทรัพย์สิน  หรือโดนยึดทรัพย์สินไปหมดแล้ว เจ้าหนี้จะมีสิทธิอายัดเงินเดือนในส่วนที่เกิด 10,000 บาทเท่านั้น  ถ้าคุณมีรายได้ไม่เกินนี้ เจ้าหนี้ก็ไม่สามารถอายัดเงินเดือนคุณได้  และไม่สามารถอายัดได้ทั้งหมดเพราะกฏหมายไม่ได้ให้สิทธิไว้อย่างนั้น

13. ถูกอายัดทรัพย์แล้ว  ก็ถอนอายัดทรัพย์ได้

ถ้าคุณสามารถหาเงินต้นพร้อมดอกเบี้ยตามสัญญาเข้าเจรจากับเจ้าหนี้เพื่อขอจ่ายยอดเงินเต็ม  ถ้าเจ้าหนี้ตกลงหนี้ตกลงตามที่คุณร้องขอ  ขั้นตอนต่อไปก็คือต้องเตรียมเงินไปถอนการอายัดทรัพย์  และต้องเสียค่าธรรมเนียมการถอนอายัดทรัพย์ร้อยละ 3.5ของราคาที่เจ้าพนักงานประเมินไว้เพื่อเตรียมขายทอดตลาด

14. เจ้าพนักงานบังคับคดีมีสิทธิเท่าที่ศาลสั่ง

กรมบังคับคดีไม่มีหน้าที่สืบหาทรัพย์  ผู้ที่มีหน้าที่สืบทรัพย์มีเพียงลูกหนี้และเจ้าหนี้เท่านั้น  การยึดทรัพย์ในบ้านที่ลูกหนี้เป็นผู้อาศัย  เจ้าพนักงานบังคับคดีจะต้องดำเนินการบังคับคดีแต่ในระหว่างพระอาทิตย์ขึ้น และพระอาทิตย์ตกในวันทำการปกติ  เว้นแต่ในกรณีมีเหตุฉุกเฉินโดยได้รับอนุญาตจากศาล  ในการดำเนินการเจ้าพนักงานบังคับคดีย่อมมีอำนาจเท่าที่มีความจำเป็นเพื่อนที่จะค้นสถานที่ใดๆ  อันเป้นของลูกหนี้ตามคำพิพากษา หรือที่ลูกหนี้ตามคำพิพากษาได้ปกครองอยู่ เช่น บ้านที่อยู่คลังสินค้า  โรงงานและร้านค้าขาย  ทั้งมีอำนาจที่จะยึดและตรวจสมุดบัญชีหรือแผ่นกระดาษ  และกระทำการใดๆ  ตามสมควร  เพื่อเปิดสถานที่บ้านที่อยู่ หรือโรงเรีอนดังกล่าว  รวมทั้งตู้นิรภัย  ตู้หรือที่เก็บของอื่นๆ  ถ้ามีผู้ขัดขวาง  เจ้าหนักงานบังคับคดีชอบที่จะร้องขอความช่วยเหลือจากเจ้าพนักงานตำรวจเพื่อดำเนินการบังคับคดีจนได้

15. การจ่ายชำระหนี้ทุกครั้งให้เก็บใบสลิปธนาคารไว้เป็นหลักฐาน

เพื่อใช้ยืนยันในกรณีที่มีปัญหา  ถ้าจะให้ดีคุณควรถ่ายสำเนาเก็บเอาไว้ด้วย  โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากเป็นใบสลิปจากตู้เอทีเอ็ม  นานวันหมึกมัจจะจางและหายไปป้องกันการสูญหายหรือเก็บไม่ดีด้วย

16. หนี้ที่เกิดจากการค้ำประกัน

ตามกฏหมายแล้ว  เมื่อลูกหนี้ผิดนัดบุคคลผู้ค้ำประกันก็ต้องชำระหนี้  รับผิดชอบในหนี้นั้น  แต่คุณสามารถใช้สิทธเกี่ยงได้ว่า ลูกหนี้มีทรัพย์สินอื่นอยู่ให้บังคับเอาแก่ลูกหนี้ก่อน (หากมี) โดยส่วนนี้คนค้ำฯ ก็อาจจะช่วยเจ้าหนี้สืบ  เพราะหากเจ้าหนี้เจอทรัพย์สินของลูกหนี้มากเท่าไร  คนค้ำประกันก็จะได้ไม่ต้องชำระหนี้ตามจำนวนเต็ม  หรือมีมากเท่ากับหนี้  เจ้าหนี้ก็ไม่ต้องมาบังคับเอาจากคนค้ำฯ แต่หากลูกหนี้ไม่มีอะไรเลย  คนค้ำประกันก็สามารถไล่เบี้ยเอาแก่ลูกหนี้ ทั้งเงินต้นและดอกเบี้ยที่ได้ชำระให้แก่เจ้าหนี้ไป




Create Date : 04 พฤศจิกายน 2556
Last Update : 4 พฤศจิกายน 2556 18:50:18 น. 0 comments
Counter : 848 Pageviews.  
 
Name
* blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Opinion
*ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet

ผู้ประสบภัยจากความรัก
 
Location :
กรุงเทพ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 4 คน [?]




[Add ผู้ประสบภัยจากความรัก's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com