การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรสังเกตุ คำเตือนบนฉลากก่อนดื่มทุกครั้ง
Group Blog
 
All Blogs
 
Global Emerging Markets Strategy

Update ตลาดโลกคราวที่แล้วไปตั้งแต่ต้นเดือน ก.พ. ที่ผ่านมา กลับไปตามอ่านอีกทีได้ที่นี้ครับ
//www.bloggang.com/viewblog.php?id=mrmessenger&date=09-02-2011&group=7&gblog=30
ประเด็นสำคัญจากการ Update ครั้งนั้น เราเห็น Developed Market วิ่งแรง (Outperform) มากกว่า Emerging Market ก็คือ

1) ไม่ DM ต้องลงแรงๆให้ Gap เท่ากับข้อมูลในอดีต (ถ้าตลาดเป็นขาลง)
2) 2) EM ต้องวิ่งขึ้นมาแทรง DM ในอนาคต (ถ้าตลาดเป็นขาขึ้น)

ทั้งนี้เพราะ EM มีค่า Beta สูงกว่า DM ทำให้ตอนที่ตลาดปรับตัวเด้งขึ้นมา EM จะ Rebound แรงกว่า DM ได้ทุกครั้ง เช่นเดียวกัน ถ้าขาลง ก็ลงแรงกว่าในบางช่วงนะ

ผ่านเข้าเดือนมี.ค. เหตุการณ์ที่ไม่มีใครอยากให้เกิดขึ้นก็เกิดกับประเทศญี่ปุ่น และฉุดให้หุ้นทั่วโลกดิ่งลงมา และการดิ่งลงมาครั้งนี้ หากพิจารณาดูจะพบว่า “DM ลงมาแรงกว่า EM” ตามรูปครับ จะเห็นว่า EM เคย Underperform สูงถึง -12.3% แต่มาตอนนี้เหลือ -8.1% แล้ว


ที่น่าจับตาก็คือ เหตุการณ์แผ่นดินไหว และการเกิดสึนามิที่ญี่ปุ่นในครั้งนี้ จะส่งผลอะไรต่อตลาดหุ้นใน Emerging Markets ในระยะยาวหรือเปล่า ไปดูกันครับ
อย่างแรก ไปดูตลาดหุ้น DM และ EM เทียบกับ TOPIX ของญี่ปุ่นในช่วงที่เกิดแผ่นดินไหวที่เมืองโกเบ ตอนปี 1995 จะเห็นว่า การที่ EM ลงแรง ถือเป็น Buying Opportunity เพราะถ้านับจากจุดต่ำสุดของการลง เปรียบเทียบกัน 3 ดัชนีแล้ว EM ให้ผลตอบแทนดีที่สุดเมื่อนับจากจุดต่ำสุด สาเหตุที่ตลาด EM ยังไปได้ต่อเพราะญี่ปุ่นต้องสั่งซื้อสินค้าและเครื่องจักรจากจีน หรือประเทศอื่นๆในเอเชียเพื่อสร้างงาน เพื่อฟื้นฟูประเทศ จึงเป็นผลดีต่อประเทศคู่ค้า และ Citi เชื่อว่าครั้งนี้ก็ไม่น่าจะแตกต่างไป



อย่างที่สอง ทำไม CITI ไม่คิดว่าเหตุการณ์ภัยธรรมชาติดังกล่าวจะส่งผลให้เงินลงทุนใน EM บางส่วนจะถูกขายออกไปและกลับไปอยู่ในสกุลเยน (JPY)
ในช่วง 5 วันทำการแรกหลังเกิดเหตุ ค่าเงินในประเทศ EM ลดลงเฉลี่ยถึง 6% เมื่อเทียบกับค่าเงินเยน ก่อนที่จะ Rebound กลับอย่างรวดเร็ว หลังจากที่กลุ่ม G7 มีมติเข้าแทรกแซงค่าเงินเยนในวันที่ 18 มี.ค. ที่ผ่านมา ซึ่งทำให้ค่าเงินเยน เมื่อเทียบกับสกุลหลักๆในกลุ่ม G7 มีแนวโน้มแข็งค่า >> และทำให้ค่าเงิน USD อ่อนค่าลง สิ่งนี้กดดันให้ กลุ่ม EM อาจชะลอการใช้นโยบายการเงินแบบตึงตัว (ขึ้นดอกเบี้ย) เพราะจะเป็นการเชื้อเชิญให้เงิน USD ไหลเข้า EM เหมือนช่วง Q3-Q4 ปีที่แล้วที่กดดันค่าเงินบาทลงไปถึง29.5 บาท/USD

แต่ทีม CITI Strategist ก็ให้ข้อสังเกตไว้ว่า
• บริษัทประกันยักษ์ใหญ่ในญี่ปุ่นแทบไม่ค่อยมีสัดส่วนการลงทุนในญี่ปุ่นเท่าไหร่ (เช่นเดียวกับ Pension Fund) ดังนั้นการขายหลักทรัพย์จากกลุ่มบริษัทประกันออกจาก EM น่าจะมีจำนวนไม่มาก และน่าจะจบไปแล้วตั้งแต่สัปดาห์แรกหลังจากเกิดเหตุแผ่นดินไหว
• สำหรับนักลงทุนรายย่อยในญี่ปุ่นที่ต้องการหลักทรัพย์เพื่อเพิ่มสภาพคล่อง มีแนวโน้มว่าการขายหลักทรัพย์จะมาจาก DM มากกว่าที่จะเป็น EM เนื่องจาก Long Term Projection ในมุมมองทางเศรษฐกิจ ยังให้อัตรการเติบโตของตลาดเกิดใหม่ที่สูงกว่าตลาดหุ้นในกลุ่มประเทศที่พัฒนาแล้ว
ด้วยสองเหตุผลข้าง ทำให้แรงเทขายในตลาด EM มีน้อย และเมื่อดูจากปัจจัยอื่นๆแล้ว กลับทำให้เงินลงทุนส่วนใหญ่ในโลกไหลเข้า EM มากกว่าในช่วงที่ผ่านมาด้วยซ้ำ


กลยุทธ์หลักจากผ่านเหตุการณ์ไปหลายอย่างในรอบ 3 เดือนที่ผ่านมา
1. จากเหตุการณ์ในอดีต เมื่อญี่ปุ่นได้รับผลกระทบจากแผ่นดินไหวครั้งก่อนหน้า ปีนั้นทำให้ GDP ของญี่ปุ่นชะลอตัวลงอย่างมีนัย แต่กลับทำให้ EM ดีขึ้น
2. DM เริ่มชะลอการ Outperform ลงหลักจากผ่านไป 3 เดือน เพราะมีแรงเทขายจากความไม่แน่นอน แต่เรายังไม่เห็นการ Rally ใน EM เลยนับตั้งแต่ US ประกาศแผน QE2 เมื่อเดือน พ.ย.
3. เราเชื่อว่า EM จะกลับมาชนะ DM ได้ในที่สุดใน 1-2 ปีข้างหน้า ยังคงคำแนะนำ “ทยอยสะสม”


Create Date : 31 มีนาคม 2554
Last Update : 31 มีนาคม 2554 9:44:40 น. 1 comments
Counter : 3127 Pageviews.

 
บทความเป็นประโยชน์ดีมากค่ะ ถึงแม้จะเข้ามาอ่านช้าไป


โดย: นันทกา IP: 101.109.138.16 วันที่: 8 กันยายน 2554 เวลา:15:55:58 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

Mr.Messenger
Location :
กรุงเทพ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 61 คน [?]




Head, Investment Consultants Citigold Citibank N.A. (Thailand)
free hit counter
click here
free hit counter
Friends' blogs
[Add Mr.Messenger's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.