... เจ็บแล้วจำคือคน เจ็บแล้วทนคือควาย ...
เที่ยวปักกิ่ง ตอนที่ 19 พิพิธภัณฑ์หุ่นขึ้ผึ้ง วันที่ 28




ก่อนที่เราจะไปต่อกันที่พิพิธภัณฑ์หุ่นขี้ผึ้ง ปักกิ่ง มาฟังประวัติกันก่อนจากคุณหวังเจ้าค่ะ พิพิธภัณฑ์แห่งนี้ชื่อว่า Beijing Waxworks Palace of Ming Dynasty หมายถึง พระราชวังหุ่นขึ้ผึ้งราชวงศ์หมิงแห่งนครปักกิ่ง เป็นอาคารชั้นเดียว จัดแสดงประวัติและผลงานตั้งแต่เริ่มก่อตั้งราชวงศ์ นำโดย จูหยวนจาง จนรุ่งเรืองและล่มสลายที่น่าเศร้า รวมทั้งสิ้น 26 ฉาก แต่ละฉากมีขนาดสมจริงมาก บางฉากดูน่ากลัว มีแสง สี เสียงประกอบด้วย
เริ่มกันที่ด้านหน้าถ่ายรูปหมู่กันหน่อย รูปปั้นนี้เป็นจักนพรรดิ์องค์ไหนไม่รู้
Photobucket




เข้ามาแล้วมีคุณหวังบรรยายให้ฟัง ฉากที่ 1 จูหยวนจางสมัครเป็นทหาร จูหยวนจาง (Zhu Yuanzhang) กำพร้าบิดามารดา อาศัยวัดอยู่เติบโตแล้วบวชเป็นพระ เจ้าอาวาสบอกว่าไม่ควรอยู่วัดควรอยู่สนามรบ ปี ค.ศ.1352ไปสมัครเป็นทหารร่วมกับกองทัพของกบฎชาวนาที่เหาโจวโจว มีกัวชือชิงเป็นหัวหน้า แต่งงานกับหม่าซื่อบุตรสาวบุญธรรมของกัวซือซิง ปี ค.ศ.1356 ได้เป็นหัวหน้ากบฏชาวนา ลำบากสู้รบนาน 12 ปีจึงปราบกลุ่มต่าง ล้มราชวงศ์หยวน สถาปนาราชวงศ์หมิง เป็นจักรพรรดิหมิงไท่จู่
Photobucket

ผู้หญิงคนที่อยู่ข้างในสวยมาก
Photobucket


ฉากที่ 2 ปราบกลุ่มขบถ ที่สมรภูมิทะเลสาบป๋อหยาง ในปี ค.ศ. 1363 ระหว่างจูหยวนจางกับหัวหน้ากบฏเฉิน ยิ่วเลี่ยง (Chen Youliang) มีชัยในการรบเมื่อเฉิน ยิ่วเลี่ยงถูกฆ่าด้วยธนู

Photobucket


ฉากที่ 3 สถาปนาราชวงศ์ที่เมืองจินหลิง(นานจิง) 23 มกราคม ค.ศ.1368 สถาปราชวงศ์หมิงที่เมืองจินหลิงและปราบดาภิเษกเป็นหมิงไท่จู (Taizu) ใช้ชื่อรัชศกประจำพระองค์(Reign Title)ว่า หงอู่ ปกครองระบอบสมบูรณาญาสิทธิราช และส่งเสริมระบบศักดินา พัฒนาเศรษฐกิจจนรุ่งเรือง

Photobucket



ตรงนี้มีจุดที่เค้าให้ถ่ายรูปด้วยนะ มีชุดให้ใส่เปลี่ยนเพื่อถ่ายรูป เราก็เลยไปแจม ไม่แพงนะ คนละ 150 บาท

Photobucket

Photobucket


ถ่ายคู่กับฮ่องเต้ด้วย กลัวบารมีฮ่องเต้ก็เลยดูเจี๋ยมเจี้ยมไปหน่อย น่าจะกอดคอฮ่องเต้นะเนี่ย เออ.....แต่ว่าอาจจะถูกฮ่องเต้สั่งประหารตายคาเมืองจีน เลยได้แค่คิด
Photobucket


ฉากที่ 4 ปกครองด้วยกฎเหล็ก (Rule with a Rod of Iron)

หมิงไท่จู ปกครองด้วยกฎ “ต้าหมิง” และ “ต้าเค้า” เพื่อไม่ให้ข้าราชการใช้อำนาจกอบโกย ได้มีการสร้างคุกไว้เป็นจำนวนมาก ในปี ค.ศ.1380 มหาบดีถูกกล่าวหาเป็นกบฏ ทั้งครอบครัวและมิตรสหายถูกสังหารร่วมสามหมื่น ในปี ค.ศ. 1393 แม่ทัพใหญ่หลานอี้ ถูกกล่าวหาไม่ภักดีถูกสังหารพร้อมครอบครัวและญาติมิตรกว่าสองหมื่นคน


Photobucket

Photobucket


Photobucket



ฉากที่ 5 ตัดทอนอำนาจเจ้าเมืองชายแดนจากปี ค.ศ. 1378 จักรพรรดิหมิงไท่จูให้ราชบุตรไปปกครองทั่วประเทศ แต่งตั้งให้จูเจียนเหวิน (Zhu Yunwen) หลานซึ่งเป็นองค์ชายผู้ล่วงลับจูเพียว (Zhu Biao) และได้ครองราชย์หลังจากหมิงไท่จูสวรรคตในปี ค.ศ.1398 นามว่าฮุ่ยตี้ (Huidi) ใช้ชื่อรัชศกประจำพระองค์(Reign Title) ว่า เจี้ยนเหวิน (Jianwen) ได้ร่วมมือกับขุนนางคู่ใจลดทอนอำนาจขององค์ชายต่าง ๆ ในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1398 หลายคนถูกฆ่าและจำคุกเป็นการเริ่มต้นการเคลื่อนไหวกำจัดขุนนางกังฉิน

Photobucket


Photobucket



คนนี้มาแอบฟังอยู่ข้างนอก
Photobucket




ฉากที่ 6 องค์ชายเอี๋ยนยึดอำนาจ (The Prince of Yan Seizes Power)เดือนมิถุนายน 1399 องค์ชายเอี้ยน(จูตี้) ออกมาต่อต้านแผนลดอำนาจองค์ชาย ได้ยกกองกำลังเข้าเมืองนานจิงในเดือนสิงหาคม ปี 1402 และเข้าเมืองสำเร็จ จักรพรรดิฮุ่ยตี้เผาตัวเองตายในตำหนักจูตี้ (Zhu Di) องค์ชายเอี้ยนขึ้นครองราชย์เป็นจักรพรรดิเฉิงสู่ (Chengzu) ครองราชย์ ค.ศ. 1360-1424 ที่พระศพถูกฝังไว้ที่เขาจิงซาน กรุงปักกิ่ง


Photobucket


Photobucket



Photobucket


Photobucket

Photobucket


Photobucket


Photobucket



ฉากที่ 7 ยุคความรุ่งเรืองของหยงเล่อ (The Glorious age of Yongle)

จักรพรรดิเฉิงสู่ (Chengzu) ไช้นามรัชศกว่า หยงเล่อ (Yongle) เป็นผู้ที่เข้มแข็งและเก่งกล้า ปรีชาสามารถ มีการตั้งที่ปรึกษาฮ่องเต้ มีการย้ายเมืองหลวงไปยังเป่ยผิง (Beiping) เพื่อการรณรงค์ต่อต้านพวกมองโกลทางเหนือ ด้วยการตั้งหน่วยงานดูแลทางเหนือและแนวชายแดน มีการส่งกองเรือที่ใหญ่ที่สุดของโลกไปยังมหาสมุทรอินเดีย ถึง 7 ครั้ง โดยการควบคุมบังคับการโดยเจิ้ง เหอ (Zheng He) เพื่อแสดงพลังอำนาจของจักรวรรดิ


Photobucket


Photobucket




ตะเกียงหรือกรงนก ไม่มีการทำความสะอาด
Photobucket


Photobucket


หลังคาของฉากนี้
Photobucket


ฉากที่ 8 ย้ายเมืองหลวงไปปักกิ่ง (The Capital Moves to Beijing)
ศัตรูสำคัญของราชวงศ์หมิงคือเผ่ามองโกล ที่ตั้งมั่นอยู่ในทะเลทรายทางตอนเหนือ เมืองหลวงนานจิงตั้งอยู่ห่างไกลขาดเอกภาพในการป้องกัน จักรพรรดิเฉิงสู่ตั้งชื่อรัชศกว่า หยงเล่อ และเปลี่ยนนามเมือง เป่ยผิง เป็นเป่ยจิง (Beijing) และตัดสินใจย้ายเมืองหลวงไปที่เป่ยจิง (ปักกิ่ง) ในปี 1406 การก่อสร้างพระราชวังเริ่มขึ้นในปี 1407 และเสร็จสิ้นในปี 1420 ใช้เวลารวม 13 ปี การก่อสร้างได้ขยายและเพิ่มเติมแบบอย่างที่มาจากราชวงศ์หยวนโบราณ มีการขุดคลองเสร็จสิ้นการขนส่งมีความปลอดภัยและราบเรียบดีแล้วจึงมีการย้ายเมืองหลวงหลังจากที่จักรพรรดิเฉิงสู่ได้กระทำพิธีบวงสรวงเทพยดาฟ้าดินที่หอบวงสรวงฟ้าดินแล้ว นับจากนั้นเป็นต้นมาเป่ยจิงก็ได้กลายเป็นศูนย์กลางทางการเมือง การทหาร เศรษฐกิจและวัฒนธรรมของจีน


Photobucket


ข้างใน เป็นหอเทียนฟ้า
Photobucket


คนนี้สวยมาก
Photobucket

Photobucket


Photobucket



ฉากที่ 9 จักรพรรดิผู้มีเมตตา (A Benevolent and Filial Emperor) จู เกาชื่อ (Zhu Gaochi) โอรสองค์แรกของจักรพรรดิเฉิงสู่ ครองราชย์เป็นจักรพรรดิเหยินจง (Renzong 1377-1425) ในระหว่างที่มีเหตุการณ์เคลื่อนไหวกำจัดขุนนางกังฉินนั้นเขาก็มีกำลังจำนวนเพียง 1 หมื่นคนในการรับมือกับกองทัพจำนวน 5 แสนของหลี่ จิงหลงเพื่อปกป้องเมืองหลวง ได้รับแต่งตั้งเป็นรัชทายาทในปี 1405 ครองราชย์ใช้นามรัชศกว่า หงชี (Hongxi) ผู้มีเมตตาช่วยเหลือประชาชนผู้อดอยาก สิ้นพระชนม์ในเดือนกรกฎาคมปีเดียวกัน พระศพถูกฝังไว้ที่สุสานราชวงศ์หมิงที่เมืองเฉียนหลิง


Photobucket

ฉากนี้ดูแล้วน่าสลด สงสาร วังเวงยังไงไม่รู้ มีบ้านเก่า เหมือนบ้านผีสิงเลย

Photobucket


Photobucket


Photobucket



Photobucket



คนที่เข้ามาเยี่ยมชมก็โยนเงินเข้าไปบ้างในด้วย เพราะสงสาร เงินเยอะเลย
Photobucket


Photobucket



ฉากที่ 10 กบฏจู เกาสู (Zhu Gaoxu) - The Rebellion of Zhu Gaoxu จู จานจี (Zhu Zhanzi - 1399-1435) เป็นโอรสองค์แรกของจักรพรรดิเหยินจง ขึ้นครองราชย์นามจักรพรรดิชวนชง (Xuanzong) ใช้นามรัชศกว่า ชวนเต๋อ (Xuande) ในตอนต้นรัชกาลมีกบฏแต่ก็ไม่ได้ลงโทษ บ้านเมืองมีความมั่นคง แต่ยังมีกบฏจูเกาสู เป็นองค์ชายชาวฮั่น จูเกาสู มีพลังกายที่เข้มแข็งสามารถยกอ่างสำริดนาดใหญ่คลุมตัวได้ ด้วยความกลัวพลังของเขา จักรพรรดิชวนชงจึงสั่งให้เผาจูเกาสู ให้ตายในอ่างใบนั้น มีเสียงร้องครวญครางในฉากที่แสดงด้วย ฉากกนี้มีสียงน่ากลัว ตอนแรกยังเดินไปไม่ถึง ได้ยินแต่เสียงคิดว่าผีหลอกเพราะมากันแต่ 2 คน แซงหน้าไกด์กับเพื่อน ๆ มาก่อน
Photobucket



ฉากที่ 11 เหตุการณ์ที่ tumupu – The Tumupu Incident ฤดูใบไม้ร่วง ปี 1449 อีเซิน (Esen) ผู้นำมองโกลเผ่าออยีแรต (Oirat) เข้าตีเมืองต้าถ่ง(Datong) มณฑลซานซี สมัยจักรพรรดิหยิงจง(Yingzong) (หรือ จู ซีเจิ้น – Zhu Qizhen, 1427-1464) อำนาจการสั่งการเป็นของขันทีหวางเจิน (Wang Zhen) ตัดสินใจจัดทัพเข้าต่อสู้ 5 แสนคน ท่ามกลางการคัดค้านของขุนนาง เมื่อยกทัพไปถึงเมืองต้าถ่ง หวางเจิ้นได้ชวนฮ่องเต้ไปเที่ยวชมเมืองเว่ยจู(Weizhou)บ้านเกิดของหวางเจิ้น เพื่ออวดอำนาจและศักดา ให้กองทัพของออยีแรตก็สามารถเข้าทำลายกองทัพได้ที่ Tumupu ขุนนางก่วงเย้ จางปู และจิงหยวนถูกฆ่าตาย และจักรพรรดิถูกจับเป็นเชลย หวางเจินถูกค้อนตีจนตายโดยแม่ทัพฟานจง(Fan Zhong) เหตุการณ์นี้แสดงถึงความเสื่อมถอยของราชวงศหมิง

Photobucket

Photobucket


Photobucket


Photobucket


Photobucket



ทำเหมือนมาก
Photobucket


Photobucket



ฉากที่ 12 ปกป้องปักกิ่ง (Defending Beijing) หลังจากอีเซินจับตัวจักรพรรดิหยิงจงแล้วได้เคลื่อนทัพประชิดปักกิ่งในปี 1449 ได้รับการต้อต้านจาก หยูเชียน(Yu Qian) เจ้ากรมกลาโหม เขาได้แจ้งจักรพรรดิหยิงจงถึงการแต่งตั้งผู้สำเร็จราชการ องค์ชายจูชีหยู (Zhu Qiyu) อนุชาพระองค์เป็นจักรพรรดิไท่จง (Daizong, 1428 -1457) และโจมตีศัตรูด้วยปืนใหญ่ กองทัพมองโกลเสียขวัญถอยร่นไปเหนือกำแพง ในฉากเป็นการบัญชารบของจักรพรรดิไท่จงและหยูเชียนที่กำแพงพระนคร



Photobucket


ฉากที่ 13 ตำหนักใต้กลับคืนสู่อำนาจ (Return from the Southern Palace) เดือนตุลาคม 1941 พวกมองโกลออยีแรตได้ส่งจักรพรรดิหยิงจงกลับสู่ปักกิ่ง ฮ่องเต้จัดพระราชวังด้านใต้เป็นที่ประทับอยู่ภายใต้จักรพรรดิไท่จง แต่แทนที่จะเสียลสะอำนาจ กลับรอโอกาสด้วยการสมคบกับชีเฮง(Shi Heng) และฉูยูเจิ้น(Xu Youzhen) จักรพรรดิไท่จงเกิดล้มป่วยหนักในเดือนกุมภาพันธ์ 1457 ฉีเหิง(Shi Heng)และฉางยี้ (Zhang Yue) ได้เปิดประตูเมืองด้วยการกระแทกของท่อนซุงขนาดใหญ่ เรียกว่า เหตุการณ์พายุทะลายประตู จักรพรรดิหยิงจงเสด็จพระราชสมภพอีกครั้ง ได้ฆ่าหยูเชียน(Yu Qian) ปลดจักรพรรดิเป็นตำแหน่งองค์ชาย สั่งรื้อสุสานที่ไท่จงสร้างไว้เพื่อตนเองเสีย เมื่อไท่จงตายได้นำไปฝังไว้ที่เขาด้านตะวันตกได้รับเกียรติในฐานะองค์ชาย ทรงครองราชย์ต่อมาอีก 8 ปีก็สวรรคตในปี 1464 พระศพถูกฝังไว้ที่สุสานหยุงหลิงของราชวงศ์หมิง


Photobucket



ผนังสวย
Photobucket



ฉากที่ 14 สนมจีกับโอรสจูยุ่ถัง จูเจียนเซิน (Zhu Jianshen) โอรสจูยู่ถังได้เสด็จพระราชสมภพเป็นจักรพรรดิเสี้ยนจง(Xianzong, 1446-1487) ใช้นามรัชศกว่า เฉิงฮั่ว (Chenghua) เป็นเรื่องสนมจี(Ji)ที่ถูกนำมาจากมณฑลกวางสี เกิดตั้งครรภ์กับฮ่องเต้และต้องปิดบังซ่อนบุตรไม่ให้สนมวัน(Wan)เห็นเพราะมีกฎว่าสนมจะต้องถูกนำไปทำแท้ง ได้มอบลูกชายให้นายประตูจางหมิน(Zhang Min)ดูแล เมื่ออายุครบ 6 ขวบจางหมินจึงได้เข้าไปกราบทูลให้ทราบเป็นฉากที่จักรพรรดิวิ่งไปที่สวนตะวันตกเพื่อพบโอรสจูยู่ถัง(Zhu Youtang)ที่พรากไปถึง 6 ปี ต่อมาสนมจีและจางหมินถูกฆาตรกรรม หลังจากที่โอรสจูยู่ถังขึ้นครองราชย์ก็ได้ยกฐานะสนมจี ขึ้นอยู่ในฐานะพระจักรพรรดินีและนำศพมาฝังข้างกับจักรพรรดิเสี้ยนจงที่สุสานเมาหลิงกับบูรพกษัตริย์ราชวงศ์หมิง


Photobucket


ฉากที่ 15 หงจื้อผู้รื้อระบบใหม่ (The Hong Zhi Resurgence) จูยู่ถัง เสด็จพระราชสมภพหลักการสิ้นพระชนม์จักรพรรดิเสี้ยนจงในปี 1487 นามว่าเสี้ยวจง (Xiaozong, 1469-1505) มีชื่อรัชศกว่า หงจื้อ(Hongzhi) เนื่องจากชีวิตส่วนพระองค์ในวัยเด็กไม่ได้รับความสุขและถูกทารุณกรรมจากแม่ พระองค์เป็นจัรกพรรดิผู้ที่มีความเอาใจใส่ในความทุกข์สุขราษฎร จะยกเว้นภาษีผู้เคราะห์ร้ายจากเหตุการณ์ภัยเกิดภิบัติเสมอ ทรงตั้งพระทัยที่จะกำจัดขุนนางที่ทุจริต ลดอำนาจของขันทีที่เป็นภัยใหญ่และปฏิรูปการปกครอง ทรงมัธยัสถ์ใช้จ่ายอย่างประหยัด เป็นที่รู้จักในนามหงจื้อผู้รื้อระบบใหม่
ในฉากแสดงการจัดทำทะเบียนที่ดินส่วนบุคคลในปี 1488 ขุนนางในวังหลวงมีการนำนักร้องนักแสดงมาขับร้องตามข้อเสนอของ หม่าเวินเชง(Ma Wencheng)องคมนตรีฝ่ายซ้าย แต่ถูกจักรพรรดิขับไล่ออกไป เสด็จสวรรคตปี ค.ศ. 1505 พระศพเชิญไปบรรจุที่สุสานไท่หลิง (tailing)


Photobucket


Photobucket


Photobucket



ถึงตอนนี้ช่วงปลอดคนก็แบบว่าต้องการเข้าไปถ่ายใกล้ ๆ ก็เลยแอบข้ามรั้วน้อย เข้าไปถ่ายข้าง ๆ หุ่น ปรากฏว่ามีเสียงประกาศเป็นภาษาจีนประมาณว่าด่า ห้ามไม่ให้เข้าไป รีบวิ่งออกมาแทบไม่ทัน
Photobucket


นี่อีกคนผู้ร่วมขบวนการ
Photobucket


ฉากที่ 16 ฮ่องเต้เจ้าสำราญ (A Preposterous Emperor) จูโฮ่วเจา (Zhu Houzhao,1490-1521) เสด็จพระราชสมภพเมื่อมีอายุเพียง 16 ชันษา เป็นจักรพรรดิหวูจง(Wuzong ) ใช้นามรัชศกว่า เจิ้งเต๋อ(Zhengde) ได้รับการพะเน้าพะนอมาแต่เด็ก รักความสำราญไม่ค่อยออกว่าราชการ มักจะออกไปปลอมพระองค์เสด็จเที่ยวนอกวังอยู่เสมอ บางครั้งไม่กลับปักกิ่งนานเป็นเดือนเป็นปีทีเดียว กอปรกับทรงมีขันทีหลิวจิ่น (Liu Jin )ที่คอยยุยงสนับสนุนคอยหาผู้หญิงมาบำเรอมอมเมาฮ่องเต้แล้วรวบอำนาจไว้ หลิวจิ่น เหิมเกริมถึงกับวางแผนจะก่อกบฏเพื่อจะเป็นฮ่องเต้เสียเอง สุดท้ายหลิวจิ่นถูกจับได้โดนแล่เนื้อเป็นชิ้นๆ แต่หลังจากหลิวจิ่นตายพระองค์ก็หันมาโปรดปรานนายทหารชื่อเจียงปินแทนและมักจะเสด็จประพาสไปนอกวังเหมือนเดิม กลับเข้าวังก็เก็บตัวไม่ออกว่าความ เอาแต่หาความสำราญ หลังจากเสด็จสวรรคตบรรจุที่สุสานคังหลิน(ในฉากเป็นการแสดงภาพ การหาความสำราญกับหญิงสามัญชน)

Photobucket



ตู้เก็บยา สมัยโบราณ
Photobucket


ฉากที่ 17 ไห่หยุ่ยผู้สูญไปจากราชสำนัก (Hai Rai Dismissed from Office) องค์ชายจูโฮ่วชง (Zhu Houcong ) ขึ้นครองราชย์ ค.ศ.1521 นาน 45 ปี เฉลิมพระนามว่าจักรพรรดิซื่อจง (Shizong,1508-1567) ใช้ศักราชว่าเจียจิ้ง (Jiajing) ช่วงหลังของหารครองราชย์ได้ให้ความเชื่อถือในขุนนางสอพลอชื่อ หยานซง (Yan Song) และมีความเลื่อมใสในลัทธิเต๋า ตลอกเวลา 20 ปี ไม่เคยติดต่อกับราชสำนัก มีการฉ้อราษฎร์บังหลวงและการรุกรานจากภายนอกมีความรุนแรง ไห่ หยุ่ย (Hai Rui) ผู้ตรวจราชการการคลังยูนนาน ถวายฎีกากล่าวโทษเหยียนซง ทูลให้พระองค์เลิกงมงายและฟุ่มเฟือย การฝักใฝ่ในเต๋านั้นใช้งบประมาณจากท้องพระคลังเป็นจำนวนมหาศาล ในการก่อสร้าง ทำให้เกิดการฉ้อฉล สร้างความยากจนอย่างกว้างขวาง และปลุกระดมชาวบ้านด้วยคำว่า “เจี่ยจิง แปลว่า ทุกครอบครัวมีแต่ความว่างเปล่าและไม่มีเงิน” ทำให้จักรพรรดิโกรธมากสั้งจำคุกไห่หยุ่ย จักรพรรดิซื่อจงถูกฝังที่สุสานย่งหลิง ฉากที่แสดงเป็นจักรพรรดิซื่อจงแสดงความฉุนเฉียวที่อ่านบันทึกของไห่หยุ่ย

Photobucket


Photobucket



ฉากที่ 18 บรรณาการจากมองโกลเผ่าอันดา (Anda Pays Tribute)
ในช่วงที่จูไซ่โห้ว (Zhu Zaihou) สมภพเป็นจักรพรรดิมู่จง (Muzong,1569-1572) พวกมองโกลเผ่าอันดา (Anda) ได้เกิดความขัดแย้งภายใน เมื่อข่านอันดาได้ยกคู่หมั้นหลานชายไปให้คนอื่น ปาฮันนาชี (Pahannachi) หลานของข่านอันดาโกรธจัดและหนีไปอยู่กับจักรวรรดิหมิง จักรพรรดิมู่จงได้ให้การต้อนรับด้วยการจัดงานเลี้ยงและมอบตำแหน่งแม่ทัพ(Commander) ข่านอันดาขอให้จักรพรรดิมู่จงสังหารหลายชายของเขาเพื่อแก้แค้นให้กับชาวมองโกล พร้อมกันข่านอันดาได้วางกำลังก่อกวนตามแนวชายแดน และฟื้นฟูการซื้อขายผ้าไหมและม้า ด้วยเหตุนี้ จักรพรรดิมู่จง จึงต้องสร้างความเข้มแข็งตามแนวชายแดน และเป็นความสำเร็จในการครองราชย์ 6 ปี ในฉากเป็นการต้องรับด้วยงานเลี้ยงของจักรพรรดิมู่จงสำหรับ ปาฮันนาชี (Pahannachi)


Photobucket



อาหารการกิน อยากเข้าไปดูว่าเขากินอะไรกัน แต่กลัวเค้าประกาศรอบที่ 2 คราวนี้คงมาจับไปเข้าคุกแน่

Photobucket

Photobucket



มีดนตรีมาเล่นให้ฟังด้วย

Photobucket



ฉากที่ 19 จางจิ้วเจิ้งปฎิรูป (The Reform of Zhang Juzheng)
จูอี้จุน (Zhu Yijun) ขึ้นครองราชย์ในปี 1572 เป็นจักรพรรดิเสินจ้ง (Shenzong, 1563-1620) ใช้นามรัชศกว่าวั่นลี่ (Wanli) เนื่องจากมีอายุเพียง 9 ขวบผู้สำเร็จราชการ จึงมีองคมนตรีจางจิ้วเจิ้ง (Zhang Juzheng) ที่ต้องสู้กับความขัดแย้งของสังคมที่รุนแรง จางจิ้วเจิ้งได้เสนอแนวทางปฏิรูปหลายแนวทาง เกี่ยวกับการแก้ปัญหาการฉ้อราษฎร์บังหลวงของบรรดาขุนนาง การตรวจตราที่ทำกิน การเชื่อสัมพันธ์กับมองโกลเผ่าอันดา และทั้งการต่อต้านการรบกวนของโจรสลัดญี่ปุ่น เขาให้กำลังใจสนับสนุนแก่ผู้ทำงานที่เกิดมรรคผล ได้รับความสำเร็จอย่างใหญ่หลวง สามารถแก้ปัญหาการจัดเก็บภาษีได้สำเร็จทำให้มีเงินเข้าพระคลังเป็นจำนวนมากจากการปฏิรูป แต่หลังจากที่จางจิ้วเจิ้งตายแล้ว กลุ่มต่อต้านได้กลับมามีอำนาจเหนือสิ่งที่ปฎิรูปมาเวลา 10 ปีก็ไม่เหลืออะไรอีก

Photobucket


Photobucket


Photobucket



ฉากที่ 20 เสินจ้งผู้สร้างสุสานจนเงินหมด (twenty years of non-government) จูอี้จุน (Zhu Yijun) หรือจักรพรรดิเสินจ้ง เอาแต่เที่ยวเตร่สนุกสนานไม่เอาใจใส่ดูแลการเมือง ไม่เคยเห็นว่าตลอดเวลา 20 ปีขุนนางได้ก้าวหน้าในการฉ้อราษฎร์บังหลวงในรัชสมัยพระองค์อย่างไม่เคยเป็นมาก่อน พระองค์ก็มัวแต่สร้างสิ่งก่อสร้างที่ใหญ่โต สร้างสุสานดิงหลิงที่ต้องใช้แรงงานทหารกว่า 3 หมื่นคนต่อวัน ใช้เวลาสร้างถึง 6 ปี ใช้เงิน 8 ล้านตำลึงเงิน เมื่อเงินในกำปั่นหมดก็ให้ขันทีเก็บภาษีที่ได้รับการต่อต้านอย่างรุนแรง

Photobucket


Photobucket




ฉากที่ 21 กรณีสิ่งมืดมนต์ 3 อย่าง (Three Mysterious Cases) จูฉางลั่ว (Zhu Changluo) โอรสองค์แรกของจักรพรรดิเสินจ้ง ครองราชย์ปี 1520 เฉลิมพระนามว่า กวงจง (Guangzong, 1580-1620) ซึ่งความปรารถนาของสนมเจิ้ง(Zheng) สนมเอกจักรพรรดิเสินจ้ง ต้องการให้โอรสจูจางซุน (Zhu Changxun) เป็นรัชทายาท ในปี 1615 มีคนบ้าชื่อเจิ้งจา (Zheng Cha) ได้บุกเข้าพระราชวังด้านตะวันออกที่จักรพรรดิประทับอยู่ด้วยไม้เรียว นี่ก็เป็นกรณีของไม้เรียว ในปี 1620 ที่จักรพรรดิกวงจง (Guangzong) ได้ขึ้นครองราชย์และใช้ชื่อรัชศกว่า ไท่ชาง (Taichang) สวรรคตหลังจากนั้น 1 เดือนหลังจากที่เสนาบดีกรมพิธีการนำยาเม็ดสีแดงถวายให้เสวย นี่คือกรณีของยาเม็ดสีแดง จักรพรรดิกวงจง ถูกฝั่งที่สุสานชิงหลิงก่อนที่โอรสจักรพรรดิกวงจงที่ชื่อ จูโหยวจ้าว (Zhu Youxiao) ขึ้นครองราชย์ ขันทีลี่ (Li)ที่ดูแลจูโหยวจ้าวและเว่ยจ้งเสียน (Wei Zhongxian) ต้องการที่จะติดตามเข้าพระตำหนักเชียนชิง(Qianqing) เหล่าเสนาบดีได้คัดค้าน ดังนั้นจึงได้ย้ายไปยังตำหนักฮุ่ยหยวน(Huiluan) นี่ก็เป็นกรณีของการเปลี่ยนประราชตำหนักทั้งสามกรณีนี้สะท้อนความขัดแย้งที่รุนแรงของราชสำนักราชวงศ์หมิง

Photobucket



ฉากที่ 22 จักรพรรดิช่างไม้ (The Carpenter Emperor)
จูโหยวจ้าว (Zhu Youxiao) ขึ้นครองราชย์ในปี 1620 เป็นจักรพรรดิซีจง (Xizong,1605-1672) ชื่อรัชศกเทียนฉี่ (Tainqi) เป็นผู้ชอบงานช่างไม้ ขันทีเว่ยจ้งเสียน (Wei Zhongxian) ได้เข้ามามีบทบาทกุมอำนาจแทนฮ่องเต้ เว่ยจงเสียนมักจะนำราชการต่างๆ มากราบทูลในเวลาที่จักรพรรดิเทียนฉีกำลังทรงงานไม้ พระองค์ก็มักจะให้เว่ยจ้งเสียนจัดการเอาตามที่เห็นควร กลายเป็นผู้กุมอำนาจมากส่งผลเสียจนถึงจุดที่ต้องพลิกผัน ศพจักรพรรดิซีจงถูกฝังไว้ที่สุสานตี้หลิง หลังจากการครองราชย์ของจักรพรรดิยี่จง(Yizong) เว่ยจ้งเสียนถูกเนรเทศไปยังเมืองเฟิ้งหยาง มณฑลอันหุยที่ที่เขาตัดสินใจปลิดชีพตนเอง


Photobucket





ฉากที่ 23 สำนักต้งหลินถูกรังแก (Unjust Charges Agaist the Donglin Clique) กลุ่มวิชาการต้งหลิน(Donglin) เกิดในช่วงปลายราชวงศ์หมิงโดยกลุ่มผู้มีความรู้ทางภาคใต้ ในยุควั่นหลี เหอ เกา ปั้นหลง และเจี๋ยนยี้บิน ต่างก็สอนในสำนักนี้ที่พวกเขาได้แลกเปลี่ยนสนทนาโต้เถึยงทางการเมืองกัน เขาได้รับการสนับสนุนจากผู้รู้เพิ่มมากขึ้นและสำนักวิชาการต้งหลินก็โด่งดังขึ้น สำนักนี้สนับสนุนให้จู ชางเล่า(Zhu Changluo)ควรเป็นรัชทายาทและต่อต้านการทำงานของผู้ตรวจราชการในเรื่องการขุดแร่และการเก็บภาษี เป็นสิ่งให้เกิดความขัดแย้งกับขันทีนำโดยเว่ยจ้งเสียน (Wei Zhongxian) ผู้นำคนสำคัญถูกกวาดล้างและถูกทรมานจนตาย สำนักต้งหลินจึงต้องปิดตัวเองลง และในที่สุดเว่ยจ้งเสียน (Wei Zhongxian)ก็ได้รับโทษด้วย


Photobucket


Photobucket



ฉากที่ 24 วิทยาศาสตร์ตะวันตกเข้าสู่จีน (Western Science Enter China) ในศตวรรษที่ 16 พวกมิชชันนารีชาวตะวันตกเข้ามาทางตะวันออก นำการแลกเปลี่ยนระหว่างตะวันออกกับตะวันตกไปสู้จุดสูงสุด พวกสอนศาสนา แมตทิโอ ริชชี ชาวอิตาเลียน และอดัม สแกลฟอน เบล ชาวเยอรมัน ได้ขยายความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ พร้อมกับนักวิชาการจีน ซู่กวงจี และหลี่ ชี่เชา ที่แปลงานวิทยาศาสตร์ตะวันตก และทำอุปกรณ์วิทยาศาสตร์รวมทั้งกล้องส่องทางไกล ฉากแสดง ซู่กวงจี และหลี่ ชี่เชา สนทนากับอดัม สแกลฟอน เบล และนักสอนศาสนาอิตาเลียน นิโคโล ลองโกบาร์โด ที่ประตูหอดูดาวตงเบียน ที่ปักกิ่งในฤดูใบไม้ผลิปี 1630


Photobucket


ฉากที่ 25 การปกป้องเมืองหน้าด่าน (Defeat in Songshan and Jinzho) จูโย่วจียน (Zhu YouJian) ขึ้นครองราชย์ในปี 1627 ใช้นามจักรพรรดิ ซื่อซง(Yizong, 1611-1644) และใช้รัชศกว่าฉงเจิน(Chongzhen) พลังชาวนาเริ่มเบ่งบานและกองกำลังแมนจู(Qing) กำลังเข้ามายึดเมืองจิ้งจู ไม่มีสิ่งใดที่จักรพรรดิที่สามารถทำได้ที่จะรักษาจักรวรรดิไว้ได้ในเดือนเมษายน 1641 จักรพรรดิอบาไฮของแมนจูนำกำลังเข้าโจมตีในวงกว้างโจมตีเมืองจิ้งจู แม่ทัพจูดาเฉาได้ขอกำลังเสริม จักรพรรดิซื่อซงส่ง หงเชงเฉา พร้อมด้วยกองกำลัง 130,000 คนไปช่วย แต่ถูกล้อมที่เมืองซ้งซาน ในเดือนมีนาคม 1642 ขาดเสบียงอาหารการช่วยเหลือถูกตัดขาด ลูกน้องหันไปสมคบกับแมนจูนำกองทัพแมนจูเข้าเมืองหลวง หงเชงเฉาถูกจับ แม่ทัพจูดาเฉายอมยกเมืองจิ้งจูให้แมนจู ในเวลานั้นราชวงศ์หมิงได้สูญเสียแนวชายแดนทางตะวันออกเฉียงเหนือไปแล้ว กองทัพแมนจูต้องการที่จะตีให้ทะลุช่องเขาชานไหกวนให้ได้

Photobucket

Photobucket



Photobucket



ฉากที่ 26 ตำนานความเศร้าบนเขาถ่าน (Eternal Remorse on Coal Hill) จูโหยเจี่ยน (Zhu YouJian) ครองราชย์เป็นจักรพรรดิซือซง (Yizong,1627-1644) เป็นที่รู้จักในนาม ฉงเจิ้น พระองค์มีความขยันพากเพียรและกระเหม็ดกระแหม่ ในช่วงที่เข้าสู่อำนาจในปี 1627 ได้กำจัดกลุ่มขันทีของเว่ยส้งเสี้ยนและทำทุกวิถีทางเพื่อที่จะสร้างความยั่งยืนให้ราชวงศ์หมิง ในเดือนพฤษภาคม 1644 หลี่ซือเชงผู้นำทัพชาวนานำทัพเข้าปักกิ่ง จักรพรรดิผู้สิ้นหวังได้แขวนคอตัวเองบนเขาถ่าน บนผ้าฉลองพระองค์ด้านหน้ามีข้อความเขียนว่า ฉันไม่มีหน้าที่จะไปพบกับบรรพบุรุษทั้งหลายได้ ดังนั้น จึงถอดหมวกและนำเส้นผมมาปิดหน้าไว้” หลี่ซือเชง สั่งให้ฝังพระศพไว้กับสนมเตี้ยนที่พระองค์รัก ก่อนที่พระเจ้าหมิงซือจงจะผูกคอตายนั้น ด้วยความที่กลัวว่าลูกเมียจะต้องตกไปเป็นสมบัติถูกศัตรูย่ำยี จึงบังคับให้ฮองเฮาของตัวเองฆ่าตัวตาย แล้วเอาดาบมาฟาดฟันคนในครอบครัวตลอดจนนางสนมกำนัลให้สิ้นชีพไปด้วยกัน คนสุดท้ายที่หมิงซือจงเงื้อดาบจะฟันก็คือพระธิดาองค์โปรดของพระองค์เอง ทว่าในจังหวะนั้น ลูกสาวซึ่งกลัวความตายได้ยกแขนขึ้นมาบังคมดาบของพ่อ จนโดนดาบฟันแขนขาดทันที ฝ่ายพ่อบังเกิดเกล้า เมื่อเจอภาพสะเทือนใจน่าเวทนาเช่นนั้นจึงเข่าอ่อน ไม่กล้าลงดาบสอง ต้องปล่อยให้ลูกทุกข์ทรมานอยู่อย่างนั้น ก่อนที่ตัวเองจะไปผูกคอตายและเสด็จสู่ปรโลก


ฉากนี้น่ากลัวใช้แสง สี ได้แบบอินกับฉากมาก รูปที่ถ่ายมาก็มีสีมืดไปหน่อยเลยใช้แสงปรับให้มันสว่าง เลยเป็นแบบนี้


Photobucket



จบแล้วเลยมาฉายเดี่ยวข้างนอก
Photobucket

Photobucket



ด้านหน้าพิพิธภัณฑ์
Photobucket


ดอกไม้ที่อยู่ข้างหน้าเหมือนกัน สวย ๆ
Photobucket



ลานน้ำพุใหญ่
Photobucket



จบแล้วสำหรับพิพิธภัณฑ์หุ่นขี้ผึ้งวันนี้ ต่อไปเราจะไปโรงงานบัวหิมะกันตามมา ๆ ๆ

ตอนต่อไปค่ะ คลิ๊กเลย



Create Date : 11 กรกฎาคม 2552
Last Update : 10 มิถุนายน 2553 17:03:41 น. 0 comments
Counter : 5145 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

j230i
Location :
ชลบุรี Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




Group Blog
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add j230i's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.