Healing home - healing at home
 
แพทยสภายังธำรงความยุติธรรมอยู่หรือ - ข้อแนะนำแก่ประชาชนทั่วไปในกรณีที่ไม่พอใจในการรักษาของแพทย์



วันก่อนได้ชมรายการถึงลูกถึงคนเรื่องเกี่ยวกับการเสริมสร้างความสัมพันธ์ระหว่างแพทย์กับผู้ป่วย (doctor-patient relationship) ที่คุณสรยุทธได้เชิญ อ.สมศักดิ์ โล่ห์เลขา, อ.ประสบศรี อึ้งถาวร, และอาจารย์อีกท่านจำชื่อไม่ได้ แม้จะรู้สึกตะขิดตะขวงใจเกี่ยวกับเรื่องมารยาทของพิธีกรอยู่บ้างแต่ก็คิดว่าประชาชนทั่วไปคงได้ประโยชน์และมีการกระเพื่อมของคลื่นสังคมบ้าง

วันก่อนได้รับวารสารวงการแพทย์ อ่านไปพบบทความของ พญ. สุรัญญา บรรจงภาค ซึ่งท่านเป็นอดีตกรรมการแพทยสภา และประชาสัมพันธ์ชมรมแพทย์เพื่อวิชาชีพแพทย์ ได้เขียนเกี่ยวกับวิธีการพิจารณาคดีของคณะอนุกรรมการจริยธรรมของแพทยสภาเอาไว้ได้น่าสนใจมาก จึงได้ขออนุญาตินำเฉพาะหัวข้อที่น่าสนใจสำหรับประชาชนมาให้ชาว bloggang ได้อ่านกันครับ เผื่อจะได้ประโยชน์ในการสร้างสรรค์วงการสาธารณสุขกันบ้าง



แนวทางแก้ไขถ้าประชาชนคิดว่าไม่ได้รับความยุติธรรมเพียงพอ

1. ขอนำทนายความ หรือตัวแทนเข้าไปให้รายละเอียดเพิ่มเติมในขั้นตอนของคณะอนุกรรมการจริยธรรมและคณะอนุกรรมการสอบสวนได้

2. ถ้าผลตัดสินถึงที่สุดแล้ว สามารถขอคำชี้แจงจากแพทยสภาได้

3. ไม่พอใจกับการตัดสิน ร้องเรียนไปยังศาลปกครอง ศาลแพ่ง หรือศาลอาญา กรณีนี้อยากให้ประชาชนกรุณาทบทวนให้ดี ๆ อีกครั้ง เพราะสร้างผลกระทบกระเทือนต่อความมุ่งมั่น และความตั้งใจของแพทย์ที่ดีทั้งหลายจะรู้สึกหวาดกลัวไม่กล้าให้การรักษาพยาบาลแก่ผู้ป่วยที่ยุ่งยาก ซับซ้อน และมีโรครุนแรง ผลเสียก็จะย้อนกลับมายังตัวผู้ป่วยเอง ผลที่ตามมาอาจทวีความรุนแรงมากขึ้น ถ้าตกลงทำความเข้าใจประนีประนอมน่าจะเป็นทางออกที่ดีกว่า




ข้อแนะนำแก่ประชาชนทั่วไปในกรณีไม่พอใจในการรักษาของแพทย์

1. ถ้ากรณีแพทย์เป็นข้าราชการ หากจะฟ้องเรียกค่าสินไหมทดแทน ท่านต้องฟ้องหน่วยงานของรัฐตามพระราชบัญญัติความรับผิดชอบทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ ไม่ใช่ตัวแพทย์

2. กรณ๊ผู้ป่วยรับการรักษาในโครงการหลักประกันสุขภาพ (30 บาทรักษาทุกโรค) ถ้าต้องการเงิน หรือค่าชดเชยในกรณีการรักษาที่มีผลแทรกซ้อนเกิดความเสียหาย ให้ร้องเรียนต่อสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติสาขาจังหวัดนั้น ๆ ถ้าฟ้องแพทยสภาจะไม่ได้รับค่าตอบแทนหรือค่าชดเชยใด ๆ ทั้งสิ้น แต่จะเป็นการตรวจสอบจริยธรรมของแพทย์

3. ถ้าคาดหวังให้มีการพัฒนาในวงการแพทย์ โดยไม่ต้องการเรียกร้องเงินทอง ขั้นตอนที่ควรทำคือ

3.1 คุยกับแพทย์ที่ดูแลโดยตรง อย่าคุยกับพยาบาล เจ้าหน้าที่เพียงอย่างเดียว ถ้าสงสัยพาญาติที่เข้าใจมาพูดคุยสอบถาม

3.2 ถ้าไม่ได้รับความกระจ่าง ขั้นต่อไปคือ เข้าพบผู้อำนวยการคุยสอบถามให้เข้าใจ

3.3 ถ้ายังไม่มั่นใจอีก ร้องเรียนไปยังแพทยสภา ให้ข้อมูลแก่แพทยสภาอย่างตรงไปตรงมา


เพื่อเป็นการจรรโลงให้วงการแพทย์รับใช้ประชาชนอย่างมีคุณภาพด้วยความเอื้ออาทรต่อกัน และเพื่อให้วงการแพทย์พัฒนาคุณภาพเพื่อสังคมในอนาคตอันยาวนานต่อไป แพทย์และประชาชนควรช่วยกันเสริมสร้างระบบที่ดี และมีการตรวจสอบในแนวทางที่เหมาะสม อย่าก่อให้เกิดความหวามดกลัววิตกกังวลขึ้นในบุคลากรสาธารณสุข จะทำให้การบริการรักษาพยาบาลบิดเบือน เป้าหมายที่ถูกต้องทางการแพทย์ไป แต่จะมีการปฏิบัติเพื่อให้ถูกต้องตามกฎหมาย เป็นการป้องกันตนเอง เพื่อให้ผู้ป่วย - ญาติผู้ป่วยพึงพอใจโดยไร้ซึ่งเหตุผลอันควรเพียงเพื่อลดปัญหาฟ้องร้องและร้องเรียน อาจนำมาซึ่งความเสียหายต่อประเทศชาติโดยรวมได้


Create Date : 25 มกราคม 2549
Last Update : 25 มกราคม 2549 13:19:09 น. 2 comments
Counter : 313 Pageviews.  
 
 
 
 
ผ่านมา..เลยแวะมาเยี่ยมเจ้าค่ะ..
 
 

โดย: ระเบียงไม้ วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2549 เวลา:10:51:23 น.  

 
 
 
สนใจการฟ้องร้องแพทย์ในปัจจุบันมาก มีข้อมูลมั้ยคะ
 
 

โดย: ประภาศรี IP: 124.121.175.145 วันที่: 19 มิถุนายน 2552 เวลา:12:50:54 น.  

Name
Opinion
*ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก

cK
 
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




almost all can abbreviate at your home
[Add cK's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com