Healing home - healing at home
 
ผลกระทบของการฟ้องร้องแพทย์ต่อสุขภาพของประชาชน

ปัจจุบันความตระหนักในการรักษาพยาบาลมีมากขึ้น การเข้าถึงการรักษาของประชาชนทำได้ง่ายขึ้น (ด้วยระบบ 30 บาท, ประกันสังคม ฯลฯ) ความคาดหวังของประชาชนมากขึ้น (บางครั้งอาจมากเกินความเป็นจริง) ทำให้มีการฟ้องร้อง ร้องเรียนบุคลากรทางการแพทย์มากขึ้น แต่การกระทำเหล่านั้นอาจส่งผลกระทบที่ใหญ่หลวงมากขึ้นก็ได้นะครับ

บทความต่อไปนี้เป็นของ ศ.นพ.สมศักดิ์ โล่ห์เลขา (อีกครั้ง) นะครับ ผมไปอ่านเจอแล้วพบว่ามีประโยชน์มาก จึงนำมาให้เพื่อน ๆ ได้อ่านกันครับ เพื่อสร้างความเข้าใจที่ดีต่อบุคลากรสาธารณสุขมากขึ้น ไม่ได้ออกมาปกป้องพวกพ้อง หรือบิดเบือนความจริงใด ๆ ทั้งสิ้น

ในช่วงสองปีเศษที่ผ่านมามีคดีที่ผู้ป่วยฟ้องร้องกระทรวงสาธารณสุขอยู่ 30 คดี ศาลชั้นต้นตัดสินแล้วสองคดี ปรากฎว่ากระทรวงสาธารณสุขแพ้แล้วทั้งสองคดี ขณะที่ในสหรัฐอเมริกาแพทย์แพ้เพียงร้อยละ 6 เท่านั้น ที่น่าสนใจคือทั้งสองคดีแพทยสภาตัดสินโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญกว่า 40 ท่านมีความเห็นว่าแพทย์ไม่ผิด

ในรายแรกผู้ป่วยแพ้ยาลดไข้ที่ไม่เคยแพ้มาก่อน แพทยสภามีความเห็นว่าถ้าผู้ป่วยเคยแพ้ยาตัวนี้มาก่อนแล้วแพทย์ยังให้ถือว่ามีความผิด ถ้าผู้ป่วยไม่เคยแพ้มาก่อน ผู้ป่วยและแพทย์ต่างก็ไม่รู้มาก่อน ถ้าเกิดแพ้ขึ้นถือว่าเป็นเรื่องสุดวิสัย ส่วนเรื่องการวินิจฉัยในวันแรกความจริงบอกไม่ได้ว่าจะมีอาการรุนแรงหรือไม่ เมื่อผ่านไปแล้วสองสามวันอาการจึงจะชัด ส่วนเรื่องการรักษาก็ยังไม่มีการสรุปว่าการให้ dexamethazone (ยา steroid ชนิดหนึ่ง) มีประโยชน์หรือมีโทษ การสรุปว่าไม่ให้ dexamethazone ถือเป็นความผิดยังไม่เป็นที่ยอมรับในวงการแพทย์ แพทยสภามีความเห็นว่าการรักษาของแพทย์นั้นยอมรับได้ไม่ผิดมาตรฐาน

อีกรายหนึ่งแพทย์ที่โรงพยาบาลชุมชนผ่าตัดไส้ติ่งโดยการฉีดยาชาเข้าไขสันหลังเพื่อให้ส่วนต่ำกว่าสะดือลงมามีอาการชา ในปัจจุบันทราบดีว่าการให้ยาชาโดยวิธีนี้ในสหรัฐอเมริกา แคนาดา และฝรั่งเศส พบว่ามีโอกาสที่จะทำให้หัวใจหยุดเต้นได้ประมาณ 1 ใน 2000 หรือสูงกว่านั้น การจะช่วยเหลือได้จะต้องมีเจ้าหน้าที่พร้อม ต้องมีเครื่องตรวจคลื่นหัวใจ วัดความดันโลหิต และวัดออกซิเจนในเลือดได้ตลอดเวลา ถ้าหัวใจเต้นช้าลงต้องรีบแก้ไขทันที เพราะถ้าหัวใจหยุดเต้นแล้วแก้ไขยาก ในโรงพยาบาลชุมชนไมท่มีวิสัญญีแพทย์ ไม่มีเครื่องบมือที่ทันสมัย แพทย์ต้องทำหน้าที่ให้ยาาและผ่าตัดด้วย แพทย์เคยผ่าตัดไส้ติ่งอักเสบหายกว่าร้อยรายโดยไม่มีรางวัล ผู้ป่วยที่รอดชีวิตหารายได้ก็ไม่เคยเอารายได้มาแบ่งให้แพทย์ แต่ถ้าแพทย์โชคร้ายมาพบผู้ป่วยที่มีปัญหาเข้า แพทย์เพียงหนึ่งหรือสองคนไม่มีทางช่วยผู้ป่วยในสถานการณ์เช่นนั้นได้ แพทยสภามีความเห็นว่าแพทย์ได้ทำอย่างดีที่สุดในสถานการณ์เช่นนั้น ไม่ถือว่าเป็นความผิด ถ้าแพทย์ทำอย่างดีที่สุดแล้วแต่ผลการรักษาไม่ดีจนกลายเป็นความผิด ต่อไปจะไม่มีใครยอมรักษาผู้ป่วยอีก

ผลจากการตัดสินของศาลทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในวงการแพทย์อย่างมาก การเปลี่ยนแปลงนี้จะกระทบมาสู่ผู้ป่วยอย่างไม่ต้องสงสัย ห้องผ่าตัดในโรงพยาบาลชุมชนขนาดเล็กจะต้องปิดหมดเพราะไม่มีวิสัญญีแพทย์ เครื่องมือไม่พร้อม ไม่มีธนาคารเลือด ถ้าผ่าตัดช่วยชีวิตผู้ป่วยได้ไม่มีรางวัล แต่ถ้าผลไม่ดีถูกฟ้อง แพทย์หมดกำลั้งใจส่งผู้ป่วยไปยังโรงพยาบาลใหญ่ดีกว่า ไม่ต้องรับผิดชอบ ส่วนโรงพยาบาลใหญ่ก็จะมีผู้ป่วยหนักเข้ามามากทำให้งานหนั้กขึ้น เวลาดูแลผู้ป่วยและเวลาพักผ่อนน้อยลง รายได้เท่าเดิมเลยตัดสินใจลาอก ผู้ป่วยมาถึงโรงพยาบาลใหญ่ที่ไม่มีแพทย์ดูแล แพทย์ออกไปอยู่ภาคเอกชนงานน้อยกว่า รายได้มากกว่า มีเวลาดูแลผู้ป่วยมากกว่า สามารถส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการด้วยเครื่องมือทันสมัยโดยไม่ต้องกังวลเนื่องจากผู้ป่วยต้องจ่าย ถ้าผู้ป่วยไม่มีเงินสำหรับการตรวจ แพทย์ก็จะบันทึกไว้ว่าได้แนะนำแล้วแต่ผู้ป่วยปฏิเสธ ส่วนโรงพยาบาลรัฐถ้าแนะนำมากโรงพยาบาลต้องจ่ายเอง ไม่กล้าตรวจทางห้องปฏิบัติการมาก เมื่อไม่ตรวจก็มีโอกาสผิดพลาดจนถูกฟ้องร้องได้ การรักษาโรคที่มีโอกาสเกิดโรคแทรกซ้อนสูงก็ไม่มีใครอยากรักษา ถ้ารักษาหายก็เสมอตัว เช่น ผ่าตัดที่กระดูกต้นคอ ถ้าพลาดเพียงเล็กน้อยอาจทำให้เป็นอัมพาตได้ ในสมัยก่อนแพทย์หวังดีพยายามพูดจูงใจให้ผู้ป่วยทำการผ่าตัด แต่ในปัจจุบันแพทย์จะพยายามอธิบาายถึงโรคแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้น ถ้าผู้ป่วยแสดงความลังเลแพทย์จะให้ผู้ป่วยเซ็นไม่ยินยอมทันที แพทย์ไม่ต้องมาเหนื่อยและกังวลเรื่องผลการผ่าตัด แพทย์ไปนอนพักผ่อนได้สบาย ในสมัยก่อนเวลามีผู้ป่วยหนักนห้องฉุกเฉินแพทย์ที่เดินผ่านมาจะวิ่งเข้าไปช่วยแต่ระยะหลังไม่มีใครอยากเข้าไปช่วยเพราะกลัวว่าจะติดร่งาแหถ้าผู้ป่วยอาการไม่ดีขึ้น ไม่มีใครอยากแกว่งเท้าไปหาเสี้ยน คนเรียนเก่งเริ่มไปเรียนวิชาอื่น ไม่อยากเรียนแพทย์เหมือนในอดีต จำนวนคนเข้าเรียนเหมือนเดิมแต่คุณภาพต่ำลง รัฐบาลอากได้แพทย์ทั่วไปรักษาได้ทุกโรค แต่เวลาเกิดการฟ้องร้องกลับหาว่าไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญรักษาไม่ได้มาตรฐาน แพทย์จบใหม่ก็ต้องเรียนให้เป็นผู้เชี่ยวชาญที่สุด ดูผู้ป่วยหลังสุดเพราะจะปลอดภัยจากการฟ้องร้องมากที่สุด ในอดีตบริษัทยาประกาศรับสมัครแพทย์มาดูเรื่องการวิจัยแล้วไม่มีใครสมัคร แต่ปัจจุบันมีแพทย์สมัครเป็นร้อยเพราะทุกคนต้องการหนีจากการดูแลรักษาผู้ป่วย เวลาแพทยสภาเรียกแพทย์จบใหม่ที่ถูกร้องเรี่ยนมาสอบสวน ปรากฎว่าเขาไม่สนใจว่าจะลงโทษอย่างไรเพราะเขาได้เปี่ยนวิชาชีพไปทำธุรกิจแล้ว ผู้ป่วยเรียกร้องค่าเสียหายหลายสิบล้านชนิดที่แพทย์ขายบ้าน ขายรถ เอาลูกออกจากโรงเรียนและทำงานอีกยี่สิบปียังไม่พอจ่าย หลายคนคิดว่าทำงานมาหลายสิบปีถ้าถูกฟ้องร้องครั้งเดียวเงินที่เก็บไว้จุหมดทันที คิดแล้วไม่คุ้มที่จะเป็นแพทย์ต่อไป เมื่อผู้ป่วยเรียกร้องค่าเสียหายมาก แพทย์อาจต้องมีการทำประกันค่าเบี้ยประกันจะสูงขึ้นทุกปี่จนไม่คุ้มที่จะทำงาน เช่น ในสหรัฐอเมริกา เบี้ยประกันของสูติแพทย์สูงถึงปีละแปดล้านบาท แพทย์หลายคนย้ายไปจนบางรัฐไม่มีสูติแพทย์ เบี้ยประกันนี้แพทย์ก็ต้องผลักภาระไปให้ผู้ป่วย การรักษาพยาบาลก็จะแพงขึ้นไปอีก แม้ใช้กองทุนของรัฐบาลถ้าจ่ายให้ผู้เสียหายมาก เงินที่จะนำไปใช้ในการรักษาผู้ป่วยรายอื่นก็จะน้อยลงเพราะเป็นกองทุนเดียวกัน

ในประเทศไทยมีการฟ้องร้องแพทย์ในคดีอาญาจากการรักษาพยาบาล คงมีอยู่ไม่กี่ประเทศในโลกที่ทำเช่นนี้ ในประเทศที่พัฒนาแล้วเขาถือว่าแพทย์ไม่มีเจตนาทำร้ายหรือฆ่าผู้ป่วย จะฟ้องเป็นคดีอาญาไม่ได้ ในประเทศไทยถ้ารักษาแล้วตายผู้ป่วยแจ้งจับแพทย์ แม้ผู้พิพากษาจะกล่าวว่าไม่มีผู้พิพากษาคนใดจะจับแพทย์เข้าคุกจากการให้การรักษาผู้ป่วย แต่คดีอาญานั้นเป็นคดีส่วนตัว รัฐบาลไม่ช่วยแพทย์ต้องไปจ้างทนายเอง เสียเงิน เสียเวลา และเสียกำลังใจ ไม่มีแพทย์คนใดอยากดูผู้ป่วยหนักที่มีความเสี่ยงสูง หัตถการที่มีความเสี่ยงสูงจะไม่มีใครยอมทำ ถ้าไม่มีการแก้ไขโดยเร็ว ผู้ป่วยหนักจะไม่มีใครให้การรักษา ผู้ป่วยจะถูกส่งต่อไปรอคิวที่โรงพยาบาลใหญ่ แพทย์จะลาออกจากภาครัฐมากขึ้น คุณภาพของแพทย์จะลดลงเพราะคนเรียนดีไม่ยอมเรียนแพทย์ ค่ารักษาพยาบาลจะแพงขึ้น แพทย์จะทำการรักษาแบบป้องกันตนเองมากขึ้น เราจะแก้ไขได้อย่างไร

1. ต้องออกกฎหมายห้ามฟ้องร้องแพทย์เป็นคดีอาญาจากการรักษาพยาบาลเช่นเดียวกับประเทศที่พัฒนาแล้ว

2. ต้องมีเพดานการเรียกค่าเสียหาย ห้ามเกินรายได้ของแพทย์หนึ่งปี หรือห้ามเกินร้อยเท่าของค่ารักษาพยาบาล เป็นต้น

3. มีที่ปรึกษาทางกฎหมายหรือทนายให้แพทย์เวลาเกิดการฟ้องร้องทางการแพทย์

4. จัดระบบการต่อสู้ในศาลของกระทรวงสาธารณสุขใหม่ ที่ผ่านมาไม่มีคนรับผิดชอบ

5. โรงพยาบาลจะต้องมีทีมงานดูแลเรื่องความเสี่ยงที่เข้าไปช่วยแพทย์ตั้งแต่ต้น

6. ต้องให้มีการเจรจาไกล่เกลี่ยนโดยคนที่เป็นกลางก่อน ไม่ใช่ผู้คุ้มครองผู้บริโภคที่ไม่เป็นกลาง

7. มีองค์กรของรัฐรับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมดเหมือนในอังกฤษโดยไม่มีการไล่เบี้ยในภาคเอกชนก็ต้องให้หน่วยงานใหญ่รับผิดชอบ

8. มีองค์กรหรือมูลนิธิรับผิดชอบช่วยเหลือผู้ป้วยที่ได้รับความเดือดร้อนจริงโดยที่แพทย์ไม่ผิด

9. ศาลจะต้องฟังความเห็นของผู้เชี่ยวชาญเป็นองค์คณะ ไม่ใช่แพทย์หนึ่งหรือสองคนที่ไม่เคยรักษาผู้ป่วย ถ้าไม่มีการคุ้มครองแพทย์ ระบบสาธารณสุขจะล่มทั้งระบบ

ชักจะสาระเยอะไปหน่อยละ เดี๋ยวคราวหน้าจะเอาสูตร aromatherapy มาฝากกันนะครับ


Create Date : 11 มกราคม 2549
Last Update : 11 มกราคม 2549 15:33:34 น. 10 comments
Counter : 1012 Pageviews.  
 
 
 
 
อ่านแล้วเห็นใจผู้เป็นแพทย์นะคะ

น่าจะมีมาตราการหรือหน่วยงานของรัฐเข้ามาดูแลอย่างจริงๆจังๆในกรณีที่แพทย์ถูกกล่าวหาและฟ้องร้อง เพื่อให้ได้ความยุติธรรม
 
 

โดย: jingsija วันที่: 11 มกราคม 2549 เวลา:16:31:41 น.  

 
 
 
อ่านแล้วเห็นใจเช่นกันค่ะ

ขอให้กำลังใจแพทย์ทุกท่านนะคะ
เพราะยังไงประชาชนตาดำๆ ก้อยังต้องพึ่งท่านค่ะ
 
 

โดย: นมัสเต วันที่: 11 มกราคม 2549 เวลา:16:47:43 น.  

 
 
 
ถูกต้องที่สุดค่ะ
เห็นใจแพทย์มากๆๆๆ
ต่อไปผู้ให้การรักษาหลายๆคนจะมีความคิดเปลี่ยนไป
กลายเป็นว่าถ้าทำแล้วเสี่ยงก็ไม่ทำดีกว่า ส่งต่อดีกว่า
ทำดีก็เสมอตัว
ถ้าพลาดก็หาว่าทำไม่ดี แถมฟ้องอีก

อยากให้สังคมไทยเป็นแบบสมัยก่อน
ประนีประนอมกัน
เพราะต้องเข้าใจว่าแพทย์ได้พยายามที่สุดแล้ว
ถ้าแพทย์ผิดก็ว่าไปตามผิด
แต่ถ้าแพทย์ไม่ผิด เพราะเป็นเหตุสุดวิสัยก็น่าจะรับฟังกัน
ไม่อยากให้เอาวัฒนธรรมฟ้องร้องมาใช้ในบ้านเมืองเราเลย
ต่อไปไม่รู้จะเป็นยังไงน้อ



 
 

โดย: fakeplasticgirl วันที่: 11 มกราคม 2549 เวลา:17:53:39 น.  

 
 
 
ผมเรียนแพทย์อยู่คับ พึ่งปี2 แต่บอกได้เลยว่าผมเองก็กลัวเรื่องนี้มากๆเหมือนกัน สังคมมองแพทย์เปลี่ยนไปมากเลย เด๋วนี้มีปัญหาอะไรนิดหน่อยก็ฟ้องจะเอาเงินอย่างเดียว อยากให้รู้ว่าแพทย์ไม่ใช่พระเจ้าหรือเทวดา เป็นคนที่มีจิตใจ มีความรู้สึเหมือนกัน เป็นอย่างนี้ต่อไปคงแย่แน่ๆ รัฐบาลช่วยให้ความเป็นธรรมกันด้วยนะคับ~
 
 

โดย: medicine IP: 58.8.193.187 วันที่: 6 กุมภาพันธ์ 2551 เวลา:23:45:16 น.  

 
 
 
ถ้าแพทย์รักประชาชน ประชาชนก็รักแพทย์เช่นกัน
ขอให้ทุกคนทุกอาชีพมีความรักจริงใจต่อกัน ไม่เห็นแก่ประโยชน์ส่วนตนแล้วปัญหาก็จะไม่เกิด ที่มีปัญหาทุกวันนี้เพราะทุกฝ่ายเห็นแก่ตัวกันทั้งนั้น
ความรักเท่านั้นที่จะทำให้ปัญหาหมด
 
 

โดย: โปรด IP: 125.25.195.19 วันที่: 8 เมษายน 2551 เวลา:10:03:34 น.  

 
 
 
ปัจจุบันการดูแลรักษามีความเครียดทั้งแพทย์และพยาบาล
อยากฝากทุกท่านไว้ว่า ไม่มีการรักษาใดที่จะรอดหรือหาย 100% ทุกอย่างมีความเสี่ยงแม้ท่านจะเดินบนถนนเฉยๆ ก็อาจมีสิทธิ์เสียชีวิตได้ ทีมสุขภาพทุกคนมีเจตนาดีหวังให้หายและทุกคนพึงพอใจ แต่การตอบแทนบางครั้งมันเจ็บปวด จนอยากทิ้งวิชาชีพไปทำอย่างอื่นแทน ปัจจุบันพยาบาลมีไม่เพียงพอ เพราะเหนื่อยทั้งกายและใจ ทำงานได้ 2-3 ปี ก็ลาออกกันหมดแล้วค่ะ ไปขายยา ไปทำวิจัยสบายใจกว่ากันเยอะเลย
 
 

โดย: nurse 2531 IP: 124.120.234.37 วันที่: 24 เมษายน 2551 เวลา:22:30:19 น.  

 
 
 
เห็นด้วยมากมากเลย
 
 

โดย: xx IP: 161.200.255.162 วันที่: 11 สิงหาคม 2551 เวลา:9:20:35 น.  

 
 
 
หนูอยากเป็นหมอ และตอนนี้ก็ยังตั้งใจอย่างเดิม อาชีพนี้เป็นอาชีพที่ต้องเสียสละอย่างมาก ขอให้กำลังใจด้วยคนนะคะ ^^
 
 

โดย: pin IP: 125.26.25.169 วันที่: 27 ตุลาคม 2551 เวลา:21:36:54 น.  

 
 
 
ใช่ครับมีผลต่อกำลังใจ คนทำงาน คนที่จะเข้ามาเรียน มากๆๆ

ต้องรีบแก้คับ
 
 

โดย: Toto IP: 202.28.35.3 วันที่: 9 มีนาคม 2552 เวลา:11:54:24 น.  

 
 
 
ไม่จริง แพทย์ไม่มีจรรยาบรรณก็มี อย่างเช่น แพทย์บอกเลิกการรักษา ทั้ง ๆที่คนไข้ยังอาการหนัก และอายุมาก ไม่มีการดำเนินการดูแลคนไข้ให้ดีเท่าทีควรจะเป็น จะทำอย่างไรกับหมอที่ถือเอาอารมย์เป็นใหญ่ ไม่มีการแยกแยะ ความไม่พอใจส่วนตัว ดับความเป็นความตายของคนไข้
 
 

โดย: TOY IP: 125.24.102.62 วันที่: 14 พฤศจิกายน 2553 เวลา:12:19:36 น.  

Name
Opinion
*ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก

cK
 
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




almost all can abbreviate at your home
[Add cK's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com