สวัสดีคะ ยินดีต้อนรับเพื่อนๆทุกท่านคะ
ขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมบล็อก ขอให้ทุกท่านเพลิดเพลินในบล็อกนี้และหวังว่าคุณจะมีรอยยิ้มหลังออกจากบล็อกนี้นะคะ
ภาษา ข้อต่อพัฒนาการ

หน้าต่างแห่งโอกาสที่สำคัญของลูกวัย 1-2 ปีนี้ที่ต้องขีดเส้นใต้เอาไว้เลยก็คือ "พัฒนาการทางภาษา" เพราะเป็นตัวสะท้อนถึงพัฒนาการทางสมองที่เริ่มสลับซับซ้อนมากขึ้น จากที่เคยอ้อแอ้ในขวบปีแรก ก็เริ่มจะอืออา หือหา เข้าใจมากขึ้น ภาษาของลูกวัยนี้จึง เปรียบเสมือนข้อต่อของพัฒนาการที่จะนำไปสู่พัฒนาการด้านอื่นๆตามมา
--------------------
จริงๆแล้วเด็กๆทุกคนมีความสามารถในการเรียนรู้ภาษาติดตัวมาตั้งแต่เกิดแล้ว ล่ะค่ะ ไม่ใช่ว่าถ้าพ่อแม่ไม่สนใจแล้วลูกจะพูดไม่ได้ หรือไม่เข้าใจความหมายเสียทีเดียว แต่สิ่งสำคัญคือว่า สิ่งแวดล้อมที่ดีจะช่วยกระตุ้นการเรียนรู้และทำให้การพัฒนาของภาษาเป็น ไปด้วยดี สำหรับวัยนี้สิ่งแวดล้อมที่สำคัญของลูกก็คือพ่อแม่นั่นเอง เสียงที่ลูกได้ยิน หน้าตาท่า ทางที่ลูกเห็น คุณคือคนสำคัญของแกทั้งนั้น
โอกาสดีๆแบบนี้ คงต้องติดตามกันล่ะค่ะว่าเราจะหาจังหวะแทรกแซงสนับสนุน พัฒนาการของลูกในช่วงไหนได้บ้าง

13 เดือน..รู้ภาษาเพราะ"เลียนแบบ"
*เพราะวัยนี้เป็นช่วงที่พัฒนาการทางกายน่าตื่นเต้นสำหรับลูกพอสมควร เช่น อยู่ๆหนูก็ยืนได้ดีแล้วและกำลังจะหัดก้าวเดิน แบบนี้ทำให้ลูกอาจพะวักพะวงกับเรื่องนี้ทำให้ การพัฒนาทางภาษาไม่ค่อยพุ่งปรี๊ดให้เห็นชัดนัก ส่วนใหญ่แล้วก็เป็นลักษณะที่ลูกเข้าใจรับรู้ แต่ยังพูดไม่ได้ หรือถ้าพูดได้ก็เป็นคำสั้นๆ เช่น หม่ำๆ ปะ(ไป) ฯลฯ ภาษาของลูกวัยนี้จะ เป็นการเลียนแบบเสียสวนใหญ่ การเลียนแบบทางภาษาของลูก เช่น ทำเสียงสูงต่ำตาม หรือหัวเราะตาม ทำท่าทางตาม ตอนนี้อยากได้อะไรก็จะชี้นิ้วไปพลางๆก่อน ความเข้าใจ ภาษาของลูก เช่น ลูกจะเอาโทรศัพท์มาแนบหู ทำเสียงอืออากับโทรศัพท์ เป็นการเลียน แบบผู้ใหญ่ แต่ในการเลียนแบบนี้ก็สะท้อนให้เห็นว่าลูกเข้าใจความหมายด้วย ลูกรู้ว่า โทรศัพท์ใช้งานยังไงมีไว้สำหรับทำอะไร

หัวใจการพัฒนา
*เพราะลูกเริ่มที่จะเข้าใจความหมายและพยายามที่จะพูด พ่อแม่จึงต้องอาศัยโอ กาสอันดีนี้ช่วยส่งเสริมด้วยการ พูดคุยกับลูกบ่อยๆ สอนให้รู้จักสิ่งของภายในบ้านในลักษณะที่ ชี้ให้เห็นภาพในขณะที่พูดถึงสิ่งนั้น เพราะลูกจะเรียนรู้ได้ดีหากมีภาพหรือท่าทางแสดงความ รู้สึกประกอบคำพูดนั้น ใช้ภาษาง่ายๆ ชัดเจน อย่าหัวเราะกับภาษาที่ฟังไม่ได้ศัพท์ของลูก และไม่จำเป็นที่คุณต้องทำเป็นพูดไม่ชัดเหมือนกับลูก ควรให้แกได้เรียนรู้ภาษาและการออก เสียงที่ถูกต้องจะดีกว่า

14 เดือน..บอกด้วย...ท่าทาง
*เพราะยังพูดไม่ได้ทุกคำที่อยากพูด การพูดของลูกวัยนี้จึงยังเป็นคำๆอยู่ เพียงแต่ ร่างกายที่แข็งแรงและมีพัฒนาการที่ดีขึ้นกว่าเดือนก่อนจะช่วยทำให้แกสามารถต้วมเตี้ยมไปชี้ บอกถึงสิ่งที่ต้องการได้

หัวใจการพัฒนา
*อาศัยโอกาสความอยากรู้อยากเห็นของลูกฝึกด้านการพูดและการรับรู้เก็บข้อมูล คำศัพท์ต่างๆไปพร้อมๆกันได้เลยค่ะ เช่น ถ้าลูกชี้บอกความต้องการ คุณก็ควรพูดย้ำให้แก รู้ว่าสิ่งที่แกต้องการเรียกว่าอะไร นอกจากนั้นไม่ว่าจะทำอะไรให้ลูกก็ควรจะใช้คำพูด อธิบายความหมายให้สัมพันธ์กับการกระทำนั้นๆ เช่น อาบน้ำให้ ป้อนข้าวให้ เพื่อลูกจะ ได้เชื่อมโยงความหมายและสิ่งที่แกเห็นและกำลังกระทำได้ถูกต้อง

15 เดือน..รู้จักพูด...รู้จักคิดและจินตนาการ
*ตอนนี้ลูกรู้จักใช้คำพูดแสดงความต้องการมากกว่าการแสดงท่าทางแล้วล่ะค่ะ เพราะเริ่มพูดเก่งขึ้นแม้จะเป็นคำสั้นๆอยู่ เริ่มสนใจอยากทำความรู้จักกับชื่ออวัยวะส่วน ต่างๆของพ่อแม่และของตัวเอง รู้จักเล่นสมมติโดยอาศัยจินตนาการเป็นตัวกำหนดแม้จะยัง ไม่ชัดเจนหรือซับซ้อนมากนัก แต่การนอนกอดตุ๊กตาแทนที่จะดึงทึ้งหรือกัด การหยิบช้อนของ เล่นมาป้อนและพูดว่า "หม่ำ หม่ำ" แค่นี้ก็บ่งบอกถึงการรู้จักใช้จินตนาการของลูกแล้วล่ะ

หัวใจการพัฒนา
*เล่นกับลูกให้มากสักนิดในช่วงนี้เพื่อช่วยเพิ่มจินตนาการ โดยเฉพาะเล่นสมมติ เช่น เล่นทำกับข้าว เล่นป้อนนมให้น้อง และเปิดโอกาสให้ลูกได้สำรวจสิ่งต่างๆรอบตัวมาก ขึ้น พาไปเดินเล่น ไปเที่ยวในที่ต่างๆมากขึ้น ช่วงเวลาแบบนี้แกจะได้เรียนรู้คำศัพท์และ ความหมายไปในตัว ชวนลูกฟังและทำความรู้จักกับเสียงต่างๆ เช่น เสียงเพลง เสียงนก ร้อง เสียงหมาเห่า ฯลฯ

16 เดือน..รู้จักเข้าสังคม
*ตอนนี้ลูกขยับขยายการเรียนรู้และฝึกปรือพัฒนาการไปที่คนแวดล้อมตัวที่มาก กว่าพ่อแม่และพี่เลี้ยง สังเกตได้ว่าลูกจะรู้จักโบกมือ บ๊ายบาย ยิ้ม เล่นจ๊ะเอ๋กับคนอื่นอย่าง สนุกสนาน บางทีก็เข้าไปร่วมวงกับเด็กคนอื่นแม้จะเป็นรุ่นน้องหรือรุ่นพี่ก็ไม่หวั่น แต่ยังไงลูก วัยนี้ก็ยังวางตัวเองเป็นศูนย์กลางกับทุกๆเรื่องอยู่ดี บางทีจึงดูเหมือนแกจะไม่มีเหตุผลเอา เสียเลย ลูกวัยนี้ยังสนุกกับการเลียนแบบผู้ใหญ่อยู่ทั้งท่าทางและภาษา พูดได้มากขึ้น บางที ก็รู้จักฮัมเพลง หรือเต้นสนุกประกอบจังหวะ ที่สำคัญอยากจะขอมีส่วนร่วมไปซะทุกเรื่อง

หัวใจการพัฒนา
*ช่วยพัฒนาความเชื่อมั่นให้ลูก ด้วยการลองให้แกทำอะไรเองที่พอจะทำได้ แต่ สิ่งไหนที่ต้องห้าม ก็ต้องเริ่มสอนให้เข้าใจ และให้โอกาสลูกแสดงอารมณ์ความรู้สึก ขณะ เดียวกันก็ให้แกได้เรียนรู้อารมณ์ความรู้สึกของคุณด้วยเช่นกัน เช่น เมื่อแกเล่นแรงหรือตี เจ็บๆ การที่แม่ปิดหน้าทำเสียงเหมือนร้องไห้ และบอกว่าเสียใจ ลูกก็จะได้เรียนรู้ถึง พฤติกรรมที่ตนเองทำเชื่อมโยงกับท่าทางและคำพูดของแม่ พัฒนาภาษาของลูกด้วยการเลือก นิทานที่ภาพประกอบเยอะๆอ่านให้ลูกฟัง ชี้ให้รู้จักชื่อของภาพแต่ละภาพ

17 เดือน ..ออกคำสั่งเป็นแล้วนะ
*จริงๆวัยนี้พัฒนาการทางภาษาด้านการพูดของเด็กจะแตกต่างกัน บางคนเริ่มพูด เป็นคำชัดเจนขึ้น บางคนยังอือๆอาๆอยู่ แต่ส่วนใหญ่แล้วจะเข้าใจความหมายมากกว่าใน เดือนก่อนๆ รู้จักออกคำสั่งบอกความต้องการ รู้จักปฏิเสธ เช่น อุ้ม ไม่เอา แต่รวมๆแล้ว การพูดก็ยังไม่เด่นชัดเท่าความเข้าใจ เพราะฉะนั้นถ้าเห็นลูกหงุดหงิดเกรี้ยวกราด อาจ เป็นเพราะแกอึดอัดใจที่แม้จะเข้าใจแค่ไหนก็ยังพูดไม่ได้อย่างใจต้องการ

หัวใจการพัฒนา
*หมั่นพูดคุยกับลูกบ่อยๆและพยายามทำความเข้าใจกับสิ่งที่ลูกต้องการบอก การ ให้ความสำคัญกับลูกในด้านนี้จะช่วยลดความคับข้องใจของลูกได้ ภาวะที่จะพัฒนาไปเป็นเด็ก อารมณ์ร้าย ขี้หงุดหงิดก็จะไม่เกิดขึ้น นอกจากนั้นเวลาจะหัดให้ลูกรู้จักคำศัพท์ใหม่ๆ พยายามพูดคำสั้นๆที่ให้ความหมายตรงๆ เช่น นอน อาบน้ำ ลูกบอล ไม่ต้องพูดเป็นประโยค ยาวๆยืดเยื้อเพราะจะยิ่งทำให้ลูกสับสนและจำยาก การได้พูดคุยตั้งคำถามคำศัพท์ต่างๆที่ลูก รู้จักไปแล้ว เป็นการทบทวนประสบการณ์ที่ผ่านมาและช่วยตอกย้ำความจำให้ลูกได้ดี

18 เดือน..ขยายขอบเขต ความเข้าใจ
*นอกจากคำศัพท์ใหม่ๆที่ลูกจะเรียนรู้ได้เพิ่มมากขึ้นในแต่ละวัน ลูกยังมีความเข้า ใจทางภาษาที่ซับซ้อนมากขึ้น เช่น เดือนก่อนๆ ลูกรู้จักคำว่านม แต่สำหรับเดือนนี้ลูกเข้า ใจความหมายต่อไปอีก เช่น เมื่อนมหมด แกก็รู้ว่าหมายถึงในขวดนมนั้นไม่มีน้ำนมเหลืออยู่ แล้ว และแกก็จะบอกคุณถึงสิ่งที่แกเห็น นอกจากนั้นในวัยนี้แกจะทำความรู้จักและจดจำคน อื่นๆได้ดี เช่น ชี้ไปที่ลุง ป้า พี่ หรือสัตว์เลี้ยงในบ้านได้ถูกต้อง แสดงว่าแกเชื่อมโยงชื่อกับ ลักษณะของบุคคลแต่ละคนหรือสัตว์ชนิดต่างๆได้ถูกต้อง วัยนี้ลูกเริ่มเข้าใจเรื่องเวลา โดย เข้าใจความหมายของคำว่า "เดี๋ยวนี้" "ตอนนี้" แล้ว และที่สำคัญคุณจะได้ยินคำว่า "ไม่" เสมอๆ ทั้งๆที่บางทีก็ไม่ได้หมายความอย่างที่พูด เพียงแต่แกคุ้นชินและบางครั้งพอไม่รู้จะ ใช้คำใดสื่อสารกับคุณก็นึกถึงคำนี้ไว้ก่อน

หัวใจการพัฒนา
ช่วงนี้การเคลื่อนไหวอวัยวะที่เกี่ยวข้องกับการพูด เช่น ลิ้น ริมฝีปาก ฯลฯ พัฒนาไปด้วยดี การกระตุ้นหรือหาเรื่องราวพูดคุยกับลูกบ่อยๆจะยิ่งช่วยส่งเสริมพัฒนาการ เหล่านี้ เกมหรือการเล่นกับลูกในช่วงนี้จึงน่าจะเน้นไปที่การได้พูดคุย ทายหรือเรียกชื่อสิ่ง ของเล่านิทานภาพให้แกฟังบ้าง ร้องเพลงหรือกลอนสัมผัสคำคล้องจองง่ายๆ

19 เดือน..เรียนและรู้มากขึ้น
*หลังจากที่ผ่านมาแกได้ทำความรู้จักและจดจำสิ่งต่างๆรอบตัวมากมาย ตอนนี้แก เริ่มนำคำพูดเหล่านี้มาใช้ ทบทวนความเข้าใจของตัวเองบ้างแล้ว บางทีก็เรียกชื่อสิ่งนั้น และหันไปขอความมั่นใจจากพ่อแม่ พ่อแม่พูดอะไรก็จะพูดตาม นอกจากนั้นยังพูดสื่อความ หมายได้มากขึ้นด้วย

หัวใจการพัฒนา
*ในเมื่อลูกรู้จักคำต่างๆมากขึ้นแล้ว ก็ถึงเวลาที่พ่อแม่จะต้องเพิ่มคำศัพท์อื่นๆที่ เกี่ยวข้องกับคำนั้นๆด้วย เช่น เมื่อลูกรู้จักลูกบอล ก็อาจสอนให้แกรู้ลักษณะลูกบอลมากกว่า นั้น เช่น เตะลูกบอล โยนลูกบอล ลูกบอลกลมๆ ลูกก็จะได้รู้คำศัพท์มากกว่าเดิมโดยมีฐาน ความเข้าใจเดิมเป็นหลัก(แม้จะยังพูดคำศัพท์ได้ไม่เต็มประโยคก็ตาม) และถ้าลูกพูดคำ ศัพท์คำไหนผิดหรือพูดไม่ชัดก็ต้องสอนแกให้พูดคำที่ถูกต้อง นอกจากนั้นอาจทดสอบว่าลูกเข้า ใจความหมายได้มากแค่ไหนด้วยการ ทดลองให้ลูกทำตามคำสั่งต่างๆดู เช่น "โยนลูกบอล มา" "หอมน้องตุ๊กตาหน่อย"

20-24 เดือน..พูดเก่งแล้วนะ
*ช่วงเดือนที่20 นี้คุณจะได้ยินคำถาม "นี่อะไร นั่นอะไร" จากลูกบ่อย ขึ้นเพราะตอนนี้แกรู้แล้วว่าทุกอย่างในโลกกว้างนี้มีชื่อเรียกทั้งนั้น ตอนนี้แกจะไม่เรียกพ่อ เรียกแม่แล้วล่ะค่ะ แต่จะเรียกชื่อแทน เข้าใจสีหน้าท่าทางของคนอื่นได้ดีแล้วว่ากำลังรู้สึก อย่างไร ความสามารถทางภาษาของลูกจะพัฒนาไปเป็นลำดับขั้นพร้อมๆกับความจำที่จะมี มากขึ้นด้วย ใกล้ๆจะสองขวบเต็มลูกจะชี้ภาพในหนังสือที่แกคุ้นเคยและเรียกชื่อได้ถูกต้อง รู้ จักใช้คำพูดแสดงอารมณ์และความรู้สึกเป็นแล้ว(จากที่เคยร้องให้อย่างเดียว)เช่น ร้อน เปียก หิว ไม่รัก ฯลฯ วัยนี้ลูกจะชอบพูดคนเดียวเป็นที่สุด

หัวใจการพัฒนา
*เมื่อลูกเป็นเด็กช่างถาม พ่อกับแม่ก็ต้องปรับตัวให้กลายเป็นผู้ใหญ่ช่างตอบ ไปโดยปริยาย เพราะวิธีนี้จะช่วยเพิ่มการเรียนรู้คำศัพท์ให้ลูก พาลูกไปเที่ยวสถานที่ต่างๆ และพูดคุยแนะนำสิ่งรอบตัวให้มากขึ้น สอนให้ลูกรู้จักแยกแยะเสียงต่างๆ เช่น เสียงน้ำไหล เสียงเครื่องบิน เสียงนกร้อง และการที่แกรู้จักคำและความหมายของคำที่บอกความรู้สึก ต่างๆ ช่วงนี้จึงควรสอนคำศัพท์เกี่ยวกับความรู้สึกต่างๆเพิ่มมากขึ้น เช่น เจ็บ เบื่อ เกลียด เบา หนัก เย็น สบาย ชอบจัง สนุก ฯลฯ เพราะเป็นวิธีที่ลูกจะได้ระบายความรู้สึก ช่วย ลดความอึดอัดและความคับข้องใจได้

----------------------
แม้จะดูเหมือนในวัยขวบปีที่สองนี้ ลูกจะยังไม่ใช่นักจ้อ แต่การค่อยๆฝึกหัดสั่งสม ประสบการณ์การได้ยินได้เห็นสิ่งรอบตัวมากเท่าไหร่ ก็จะเป็นผลดีในช่วงวัย 2 ขวบไปแล้ว ซึ่งถึงตอนนั้น ลูกจะเป็นนักจ้อตัวจริงเลยล่ะค่ะ
-------------------------
*เด็กที่ไม่ได้รับการกระตุ้นเรื่องภาษาตั้งแต่เล็ก ก็อาจจะมีปัญหาในเรื่องของ ภาษาตามมา และอาจจะไม่สามารถที่จะเกิดพัฒนาการทางภาษาได้ เพราะพัฒนาการทาง ภาษาเริ่มต้นขึ้นอย่างรวดเร็วมาก ไม่ว่าจะอยู่สถานการณ์ใดหรือเกมการเล่นแบบใดก็ล้วน แล้วแต่ช่วยพัฒนาภาษาทั้งสิ้น การสื่อสารของพ่อแม่ เสียงหรือท่าทีในการหยอกล้อ พูดคุย เล่นกับลูกจะเป็นการกระตุ้นให้สมองส่วนภาษาเตรียมพร้อมและพัฒนาไปในทันทีทันใด
ข้อมูลจาก : นิตยสาร ฉบับที่ 70 เดือนสิงหาคม พ.ศ.2544



Create Date : 19 มกราคม 2552
Last Update : 19 มกราคม 2552 0:22:55 น. 0 comments
Counter : 227 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

zakana7884
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




เพื่อนสำคัญเสมอ ฉันจะรักษามิตรภาพระหว่าง
เพื่อนให้ดีที่สุด และคุณคือเพื่อนของฉันในตอนนี้

เกี่ยวกับฉัน..ฉันชอบอ่านหนังสือ ท่องเที่ยว
ท่องโลกอินเตอร์เน็ต แลกเปลี่ยนความคิดเห็น
เพื่อเปิดโลกทรรศในมุมมอง 360 องศา
เมื่อใดที่ฉันว่างเว้นสิ่งอื่นใด ก็จะเข้าสู่สภากาแฟฯ
แห่งนี้ บ้างอ่าน บ้างแสดงความคิดเห็น แล้วแต่
โอกาสจะอำนวยคะ

ขอบคุณโลกออนไลน์ที่ทำให้เราเป็นเพื่อนกันได้

lozocat
free counters
Group Blog
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add zakana7884's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.