สวัสดีคะ ยินดีต้อนรับเพื่อนๆทุกท่านคะ
ขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมบล็อก ขอให้ทุกท่านเพลิดเพลินในบล็อกนี้และหวังว่าคุณจะมีรอยยิ้มหลังออกจากบล็อกนี้นะคะ
แม่ เพื่อนคนแรกของลูก

แม่ เพื่อนคนแรกของลูก
เมื่อลูกเกิดมา แม่เป็นผู้ดูแลให้ลูกได้รับความสุขสบายกายใจ อบอุ่นปลอดภัย ซึ่งลูก รับรู้ได้จากน้ำเสียงของแม่ การสัมผัส การตอบสนองของแม่ ไม่ช้าลูกก็จะเรียนรู้ว่าคนคน นี้แหละที่จะคอยตอบสนองความต้องการของเขา คนคนนี้แหละที่เขาไว้วางใจได้ ยามใดที่ เขาหิว เขาร้อง คนคนนี้แหละที่จะเข้ามาหาและทำให้เขาอิ่ม ทำให้สบาย
ความไว้วางใจที่แม่สร้างให้เกิดในใจลูกนี่ละ เป็นพื้นฐานที่มั่นคงที่สุดสำหรับการ พัฒนาลูกให้มีทักษะทางสังคมที่ดี เพราะการที่เราจะสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับใครได้นั้น เรา จะต้องเกิดความไว้วางใจคนคนนั้นเสียก่อน ดังนั้นถ้าแม่สร้างประสบการณ์ให้ลูกเกิดความ รู้สึกไว้วางใจ ลูกก็จะมีความไว้วางใจต่อมนุษย์ด้วยกัน และคนที่สามารถสร้างความรู้สึกนี้ ให้เกิดกับลูกเป็นคนแรกคือแม่นั่นเอง
ผู้เชี่ยวชาญหลายท่านเห็นพ้องต้องกันว่า ความรู้สึกไว้วางใจในมนุษย์ด้วยกันนี้ถ้า ไม่สร้างเสียตั้งแต่แรกเริ่มชีวิต จะไม่สามารถสร้างขึ้นมาภายหลังได้
เพราะฉะนั้นแม้ว่าแม่จะต้องกลับไปทำงานหลังครบวันลาคลอด 3 เดือนแล้วก็ ตาม แต่หากแม่ได้สร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับลูก ทำให้ลูกเกิดความรู้สึกไว้วางใจได้แล้ว ก็ถือ ว่าได้สร้างพื้นฐานที่ดีให้ลูกแล้ว ซึ่งผลที่เห็นได้ชัดในเวลาอันใกล้ก็คือลูกจะมีพัฒนาการทาง ด้านภาษารุดหน้า และแน่นอนว่าลูกสามารถที่จะมีทักษะทางสังคมที่ดีในอนาคตด้วย
ปฏิสัมพันธ์ที่แม่ลูกมีต่อกันจะมีความหมายหากแม่สามารถอ่านความต้องการของลูก ออกและตอบสนองตรงความต้องการของลูก แม้ว่าอาจเป็นความต้องการให้แม่หยุดเล่น เพราะลูกเบื่อจะเล่นแล้วก็ตาม ถ้าแม่เข้าใจและหยุดเล่นกับลูก ก็ถือว่าการสื่อสารนี้มี ความหมาย เพราะทำให้ลูกเรียนรู้ว่า แม่เข้าใจสิ่งที่เขาสื่อออกไป ก็เหมือนกับที่เรามี เพื่อนรู้ใจนั่นแหละค่ะ ซึ่งทำให้เราและเพื่อนผูกพันมีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน แต่ถ้าเราต้อง การมีปฏิสัมพันธ์กับลูกโดยไม่ฟังความต้องการของลูกเลย ปฏิสัมพันธ์นี้ย่อมทำให้ลูกเกิดความ รู้สึกไม่ดี จะให้ผลในทางลบมากกว่าค่ะ

พ่อ ความสัมพันธ์อีกรูปแบบหนึ่ง
หลังจากลูกมีความผูกพันกับแม่แล้ว ลูกก็พร้อมที่จะสร้างสัมพันธ์กับคนอื่น ซึ่งคนต่อ มาจะเป็นใครไปไม่ได้ คือพ่อนั่นเอง เพราะพ่อเป็นบุคคลที่ใกล้ชิดลูกมากที่สุดรองจากแม่ ความสัมพันธ์ระหว่างพ่อลูกสามารถทำให้ลูกเกิดความรู้สึกไว้วางใจเพื่อนมนุษย์ได้เหมือน กัน แต่ด้วยความรู้สึกที่แตกต่างกัน ทั้งจากหน้าตาท่าทาง น้ำเสียง สัมผัส หรือแม้แต่กลิ่นกาย ในขณะที่แม่ให้ความรู้สึกนุ่มนวล อ่อนโยน อบอุ่น พ่อจะให้ความรู้สึกสนุกสนาน ตื่นเต้น เป็น เพื่อนเล่นคนโปรดของลูกทีเดียวค่ะ ซึ่งทำให้ลูกได้เรียนรู้วิธีสร้างความสัมพันธ์อีกรูปแบบ หนึ่งที่แตกต่างออกไป
สิ่งแวดล้อมในบ้านก็สำคัญ
หัวใจสำคัญที่จะทำให้เด็กเรียนรู้วิธีสร้างความสัมพันธ์และการอยู่ร่วมกับคนอื่น ยังรวมถึงสิ่งแวดล้อมในครอบครัวด้วยค่ะ เด็กๆเรียนรู้วิธีสร้างความสัมพันธ์จากการเฝ้าดู คนรอบข้างปฏิบัติต่อกัน ไม่ว่าจะเป็นวิธีที่พ่อปฏิบัติกับแม่ คนในครอบครัวปฏิบัติต่อกัน หรือวิธี ที่แต่ละคนปฏิบัติต่อตัวลูกเอง ลูกจะซึมซับและจะนำวิธีการเหล่านี้ไปลองมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น ถ้าคุณเลี้ยงดูลูกให้เรียนรู้ รู้จักเห็นอกเห็นใจผู้อื่น และให้โอกาสลูกได้เรียนรู้ความสนุกสนานที่เกิดจากการเล่นกับคนอื่น เด็กก็จะสามารถเข้าสังคม อยู่ร่วมกับคนอื่นได้ง่าย และรู้จักสร้างมิตรภาพที่แท้จริงขึ้นมาได้

ส่งเสริมลูกขวบแรกให้มีทักษะสังคม
ให้เวลาพูดคุยกับลูกบ่อยๆตั้งแต่ช่วงแรกเริ่มของชีวิต ลูกจะรู้สึกสนุกสนานกับการ ทำหน้าตาแบบต่างๆของคุณ สนุกกับการมีปฏิสัมพันธ์ตอบโต้กับพ่อแม่
พาลูกไปเยี่ยมเพื่อนญาติมิตร นอกจากพ่อแม่แล้ว ลูกควรได้มีโอกาสเรียนรู้สร้างความสัมพันธ์กับคนอื่นด้วย เริ่มจากญาติพี่น้องใกล้ตัวและที่อยู่ห่างไกล ให้ลูกได้เล่นกับญาติพี่น้องที่เป็นเด็กด้วยกันหรือผู้ใหญ่ก็ตาม
ช่วยลูกเมื่อลูกอยู่ในช่วงวัย"กลัวคนแปลกหน้า" ถ้าลูกกำลังมีอาการกลัวคนแปลกหน้า พ่อแม่อย่าพลอยเป็นกังวลไปด้วย หรือรู้สึกอายเมื่อลูกไม่ยอมให้ใครอุ้ม อาจจะอุ้มลูก กลับมาให้สงบสักพัก แล้วค่อยให้ผู้ใหญ่เล่นกับลูกในขณะที่คุณอุ้มหรืออยู่กับเขาจะดีกว่า ค่อยๆ ให้ผู้ใหญ่สร้างความคุ้นเคยกับลูกทีละน้อย เมื่อเห็นว่าลูกคุ้นเคยดีแล้วก็ส่งลูกให้คนอื่นอุ้มในช่วงเวลาสั้นๆโดยที่คุณยังอยู่ใกล้ๆด้วย ถ้าลูกไม่มีอาการกลัวคนแปลกหน้าแล้ว และสามารถเล่นกับคนอื่นได้บ้างแล้ว คุณอาจจะหลบออกมาให้พ้นสายตาลูกสักพัก ถ้าลูกยังร้องหาคุณค่อยลองใหม่ภายหลัง หรือบางครั้งอาจเดินเข้าเดินออกจากห้อง เพื่อให้ลูกมั่นใจว่าถึงแม้แม่ไม่อยู่ แต่เดี๋ยวก็กลับมา


เมื่อไรที่ควรกังวล
ถ้าลูกอายุครบขวบแล้วยังไม่สนใจจะสร้างความสัมพันธ์หรือมีปฏิสัมพันธ์กับใคร เลย นอกจากพ่อแม่ ไม่ว่าจะพาลูกไปให้คุ้นเคยกับผู้คนมากเพียงใด หรือหากลูกไม่สนใจที่จะมีปฏิสัมพันธ์กับพ่อแม่ ควรพาลูกไปพบกุมารแพทย์เพื่อตรวจดูว่ามีความผิดปกติทางพัฒนาการบ้างหรือเปล่า
หรือลูกวัย 1 ขวบขึ้นไปแสดงความก้าวร้าวมาก และดูเหมือนว่าไม่สามารถอยู่ หรือเล่นร่วมกับเด็กอื่นได้เลย ถ้าให้เข้าร่วมกลุ่มก็จะทำร้ายเขา เช่น กัด ตี ผลักเด็กอื่น อย่างนี้ก็ควรปรึกษากุมารแพทย์เหมือนกันค่ะ โดยปกติแล้วเด็กๆ อาจจะทำร้ายคนอื่นบ้าง แต่ก็เป็นบางเวลาบางสถานการณ์ เช่น แย่งของเล่นกัน แต่เป็นเรื่องไม่ปกติแน่ถ้าลูกก้าวร้าวใส่คนอื่นตลอดเวลา
อีกกรณีหนึ่งที่ควรปรึกษาแพทย์ ถ้าลูกกลัว มีความวิตกกังวลอย่างมากเมื่อพ่อแม่ไม่อยู่ด้วยแม้เพียงชั่วครู่ หรือถึงวัยที่น่าจะผ่านช่วงกลัวคนแปลกหน้าแล้วก็ยังกลัวผู้คน ไม่ยอมคุ้นเคยกับใครเลย

ข้อมูลจาก : นิตยสาร รักลูก ฉบับที่ 220 เดือนพฤษภาคม พ.ศ.2544



Create Date : 18 มกราคม 2552
Last Update : 18 มกราคม 2552 23:30:09 น. 0 comments
Counter : 297 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

zakana7884
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




เพื่อนสำคัญเสมอ ฉันจะรักษามิตรภาพระหว่าง
เพื่อนให้ดีที่สุด และคุณคือเพื่อนของฉันในตอนนี้

เกี่ยวกับฉัน..ฉันชอบอ่านหนังสือ ท่องเที่ยว
ท่องโลกอินเตอร์เน็ต แลกเปลี่ยนความคิดเห็น
เพื่อเปิดโลกทรรศในมุมมอง 360 องศา
เมื่อใดที่ฉันว่างเว้นสิ่งอื่นใด ก็จะเข้าสู่สภากาแฟฯ
แห่งนี้ บ้างอ่าน บ้างแสดงความคิดเห็น แล้วแต่
โอกาสจะอำนวยคะ

ขอบคุณโลกออนไลน์ที่ทำให้เราเป็นเพื่อนกันได้

lozocat
free counters
Group Blog
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add zakana7884's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.