<<< a_somjai a_somjai's blog === อ่านเขียนบล็อก อ่านเขียนโลก <<<== a_somjai อ่านเขียนบล็อก a_somjai a_somjai's blog
Group Blog
 
All Blogs
 
รัฐประหารซ้ำซาก จากพ่อของพ่อ ถึงลูกของลูก (5): "ชนชั้นนำและปัญญาชนผู้จงรักภักดีในตำนาน"

LINKS for 2006-11-28
  • คอลัมน์ ซอยสวนพลู ทรรศนะ/โดย หม่อมราชวงศ์ คึกฤทธิ์ ปราโมช ตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์รายวัน สยามรัฐ ฉบับประจำวันที่ 11 มีนาคม 2530 และถูกนำมาโพสต์ซ้ำที่ pantip.com โต๊ะ/ห้องราชดำเนิน กระทู้ P4915570 โดยคุณ : konkruad - [ 28 พ.ย. 49 07:26:30 A:124.26.39.62 X: ]


  • ความจริงผมไม่อยากจะเขียนเรื่องที่จะเขียนต่อไปนี้เลย แต่เมื่อได้พิจารณาดูโดยรอบคอบแล้ว เห็นว่า จำเป็นต้องเขียนเพราะถ้าไม่เขียนแล้วอาจเกิดผลเสียหายใหญ่โตต่อไปได้

    จะกระเทือนใครบ้างผมก็ไม่สนใจละครับ เพราะผมคิดเสียว่า ถ้าผมกระเทือนใครคนนั้นเป็นคนควรกระเทือนหรือกระเทือนอยู่แล้ว

    มีข่าวออกมาว่า ในหลวงมีพระราชดำรัสกับคนหนังสือพิมพ์ที่จังหวัดเชียงใหม่ในทำนองว่าระบอบประชาธิปไตยในเมืองไทยนั้นยุ่งยากเพราะเราต้องลอกแบบฝรั่งเอามาใช้ ถ้าทำแบบไทยๆ ก็คงจะยุ่งยากน้อยลง พระราชดำรัสนี้มีขึ้นในโต๊ะเสวยขณะที่มีพระราชปฏิสันถารกับคนหนังสือพิมพ์ ซึ่งเป็นธรรมดาของพระราชดำรัสในโต๊ะเสวยก็จะต้องมีพระราชกระแสอื่นๆ มาก่อนหน้านี้ หรือคนหนังสือพิมพ์กราบบังคมทูลถามอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่าง และเมื่อมีพระราชกระแสที่เป็นข่าวนี้แล้ว ก็จะต้องมีพระราชกระแสอื่นๆ ต่อไปอีก

    การที่จะนำพระราชกระแสในโต๊ะเสวยมาบอกเล่าให้คนนอกทราบนั้น ก็ไม่บังควรอย่างยิ่งอยู่แล้ว

    แต่ถ้าจะบอกเล่า ก็ควรจะบอกให้หมดว่า พระราชกระแสก่อนนั้นมีมาอย่างไร และพระราชกระแสต่อไปมีอย่างไร การที่รัฐบาลจงใจเชิญพระราชกระแสมาแต่ประโยคเดียว แล้วสั่งให้เผยแพร่ต่อไปนั้น เป็นการไม่บังควรอย่างยิ่ง แม้จะเป็นคำพูดของคนอื่นก็ไม่ควร เพราะไม่เป็นธรรมแก่ผู้พูด

    ความจริง คนหนังสือพิมพ์ที่เฝ้าฯอยู่ในโต๊ะเสวยนั้น มีอยู่หลายคน ไปจากหนังสือพิมพ์หลายฉบับ แต่มีอยู่เพียงฉบับเดียวหรือสองฉบับเท่านั้น ที่ได้นำมาลงเป็นข่าว แต่ก็เป็นข่าวเล็กๆ มิได้ถือว่าเป็นข่าวใหญ่ข่าวสำคัญ หนังสือพิมพ์ส่วนใหญ่นั้นมิได้เอ่ยถึงเลย

    ทั้งนี้แสดงให้เห็นว่าหนังสือพิมพ์ไทยนั้นถึงจะจ้วงจาบใครต่อใครให้เกิดโทสะ เคียดแค้นได้อยู่เสมอ แต่ก็รู้ที่ต่ำที่สูง บูชาคนที่ควรบูชาและมีความจงรักภักดีอันมั่นคงแข็งแรงอยู่ พูดง่ายๆ ก็คือ หนังสือพิมพ์ไทยยังเป็นผู้ดีอยู่ไม่กำเริบ

    ผมก็ไม่เข้าใจว่า ทำไมนายกรัฐมนตรีเปรม ติณสูลานนท์ จึงได้ตื่นเต้นถึงกับบอกคณะรัฐมนตรีให้ช่วยกันเผยแพร่ข่าวนี้ให้สะพัดออกไป และย้ำแล้วย้ำอีกว่า อยากให้คนรู้กันทั่ว

    ที่คุณเปรมอ้างว่าจงรัก ภักดีต่อพระกรุณายิ่งกว่าใครนั้น น่าจะต้องเอามาผ่านห้องทดลองเพื่อวิเคราะห์กันใหม่เสียแล้วกระมัง? สิ่งสำคัญที่สุดที่จะต้องคิดก็คือ คำว่า ประชาธิปไตยแบบไทยๆ นั้น หมายความว่าอย่างไร โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ความหมายของคำนี้ในขณะที่มีพระราชดำรัสนั้นเป็นอย่างไร เรื่องนี้ไม่มีใครรู้ ผมเองก็ไม่รู้

    คุณเปรมเป็นอะไรมาจึงจะเข้าไปหยั่งรู้ในพระราชหฤทัยได้?

    เพียงแต่คิดว่าตัวรู้ก็ออกจะเป็นคนไม่น่าติดต่อด้วยเสียแล้ว

    เรื่องประชาธิปไตยแบบไทยๆ นี้ ผมได้ยินพูดกันมาช้านานแล้วคนโน้นพูดบ้างคนนี้พูดบ้าง ฟังดูก็เห็นตรงกันแต่ศัพท์ที่ใช้เรียก

    ส่วนวิธีการที่อ้างว่าเป็นวิธีการแบบไทยๆ นั้น ไม่เห็นตรงกันสักราย เมื่อต่างคนต่างคิดในเรื่องเดียวกันนี้ ต่างคนต่างก็มีวิธีการของตนแตกต่างกันไป บ้าบ้าง บอบ้าง บิ่นบ้าง หาอะไรเป็นแก่นสารและเอาเป็นที่ยุติไม่ได้

    เมื่อคุณเปรมตื่นเต้นใน ระบอบประชาธิปไตยแบบไทยๆ อย่างนี้ ก็พอจะเข้าใจได้ว่า คุณเปรมเองก็ต้องการและมีวิธีการของระบอบประชาธิปไตยแบบไทยๆ ของตนเอง

    หมายถึง การเป็นนายกฯ โดยไม่ต้องสมัครผู้แทนฯให้เหนื่อยกาย เหนื่อยใจ ใช่ไหม?

    หมายถึงการที่เป็นนายกฯคนเดียวตลอดไปใช่ไหม?

    หมายถึงนายกฯคนที่ชื่อเปรมนั้นไม่ต้องรับผิดในสิ่งใดและต่อใครใช่ไหม?

    หมายถึงนายกฯคนที่ชื่อเปรมจะต้องอยู่เหนือคำวิพากษ์วิจารณ์ ใครแตะต้องไม่ได้ ใช่ไหม?

    หมายถึง ความเป็นนายกฯ นั้นมีแต่เสวยสุข ไม่มีทุกข์กับใคร ใช่ไหม? ได้อยู่บ้านหลวง ใช้น้ำหลวง ไฟหลวง ใช่ไหม?

    จะไปไหนก็ใช้รถหลวง เรือหลวง หรือหลวงออกค่าโดยสารเครื่องบินให้ยกโขยงกันไปเที่ยวต่างประเทศได้ ใช่ไหม?

    จะไปไหนก็มีคนมาเรียงรายคอยต้อนรับ บางแห่งถึงกับก้มลงกราบกับพื้นดิน ใช่ไหม?

    ความคิดเหล่านี้ก่อให้เกิดตัณหาอุปาทาน อันเป็นต้นเหตุของอกุศลมูล คือ โลภะ โทสะ โมหะ โลภะ ทำให้เกิดความอยากเห็นความคิดของตนเป็นผลจริงจังขึ้นมา เพื่อทุกอย่างที่ตนปรารถนาจะให้เกิดขึ้นจะได้เกิดขึ้น

    และเห็นจะเป็นเพราะความอยากนั้นเอง ที่ทำให้คนเหมาเอาคำว่า ประชาธิปไตยแบบไทย ๆ ในพระราชดำรัสนั้นตรงกับความหมายที่ตนคิดไว้ ถึงกับดีอกดีใจสั่งให้เผยแพร่ต่อ ๆ ไป เป็นการตู่พระราชดำรัสโดยแท้

    ในหลวงนั้น ทรงเป็นล้นพ้นในทุกกรณี ไม่ควรที่ใครจะไปเหมาเอาว่า พระราชดำริใด ๆ ตรงกับความคิดของตนเองได้

    เพราะฉะนั้นต่อไปนี้ หากคุณเปรมหรือรัฐบาลคุณเปรม ไม่ว่าจะเป็นเปรม 5 เปรม 6 ไปจนถึงเปรม 432 จะกระทำสิ่งใดโดยอ้างว่า เพื่อเป็นประชาธิปไตยแบบไทย ๆ แล้ว จะต้องถือว่าการกระทำนั้นเป็นความคิดของคุณเปรมเองแต่ผู้เดียว ไม่ใช่ตามความหมายในพระราชดำรัส

    ใครไม่เห็นด้วยก็อาจแย้งได้ คุณเปรมไม่มีสิทธิ์ที่จะอ้างว่า ทำไปตามพระราชดำรัสเพื่อปกป้องคุ้มกันตนเอง เมื่อมีอะไรเสียหายเกิดขึ้น คุณเปรมจะต้องรับผิดด้วยตนเอง จะไปซัดความผิดให้แก่ใครไม่ได้ จะอ้างว่าทำไปด้วยความจงรักภักดีก็ไม่ได้เด็ดขาด

    คุณสมัคร สุนทรเวช ได้พูดเรื่องนี้ขึ้นมาก่อน แต่แทนที่ใครจะได้สติ คุณสมัครกลับถูกโจมตีมากมายทางวิทยุและทางอื่น ๆ

    ผมได้อ่านคำชี้แจงของคุณสมัครในหนังสือพิมพ์เดลิมิเลอร์ เกี่ยวกับเรื่องที่คุณสมัครถูกโจมตีนี้แล้ว รู้สึกจับใจในความรู้จักประมาณตนของคุณสมัครมาก ไม่เสียทีที่คุณสมัครเกิดมาในตระกูลข้าราชสำนัก มีบรรพบุรุษเคยใกล้ชิดพระองค์มาก่อน รู้ต่ำรู้สูง รู้สิ่งใดควรพูดสิ่งใดไม่ควร

    คึกฤทธิ์ ปราโมช




  • Ultra-royaliste กับการฟื้นฟูและล่มสลายของกษัตริย์ฝรั่งเศส ทรรศนะ/โดย ปิยบุตร แสงกนกกุล โพสต์ที่เวปไวต์ onopen.com/ ตีพิมพ์ออนไลน์ : November 10, 2006


  • Ultra-royaliste หรือที่ปรีดี พนมยงค์ แปลว่า “ผู้เกินกว่าราชา” คือ กลุ่มการเมืองที่มีแนวคิดนิยมเจ้าอย่างสุดโต่งในฝรั่งเศส มุ่งหมายจะรื้อฟื้นสถาบันกษัตริย์กลับมาใหม่ ต้องการให้กษัตริย์มีอำนาจมากทั้งในทางความเป็นจริงและในทางสัญลักษณ์ มุ่งให้อภิสิทธิ์แก่พวกขุนนางรายล้อมกษัตริย์ มองประชาชนเป็นเพียง “ข้าแผ่นดิน” (Sujet) มากกว่าเป็น “พลเมือง” (Citoyen) หลายกรณี พวก Ultra-royaliste เรียกร้องอำนาจและอภิสิทธิ์ให้กษัตริย์มากกว่าที่กษัตริย์ต้องการเสียอีก

    (......................................................................)

    ................

    นับแต่ปฏิวัติ ๑๗๘๙ ฝรั่งเศสเหมือนห้องทดลองระบอบการปกครอง กลุ่มการเมืองหลายกลุ่มต่อสู้แย่งชิงอำนาจเพื่อให้ได้มาซึ่งระบอบการปกครองที่ตนปรารถนา Ultra-royaliste ก็เป็นกลุ่มหนึ่งซึ่งเข้ามามีบทบาทสำคัญกับการอุ้มชูสถาบันกษัตริย์ให้กลับมาสู่อำนาจหลายครั้ง แต่ด้วยนโยบายไม่ประนีประนอม ไม่เปิดพื้นที่ทางการเมืองให้ผู้มีรสนิยมแตกต่างกัน ไม่ปรับตัวเข้ากับยุคสมัย ทำให้ระบบกษัตริย์ต้องล่มไป กลุ่ม Ultra-royaliste ต่อสู้จนระบบกษัตริย์กลับมาได้ แต่แล้วด้วยพฤติกรรมแบบเดิมๆ มุ่ง “อำนวยการ” โดยอาศัย “กษัตริย์” บังหน้า ทำให้ระบบกษัตริย์ล่มไปอีก เป็นเช่นนี้ซ้ำแล้วซ้ำเล่า จนกระทั่งในท้ายที่สุด ความพยายามครั้งสุดท้ายในการฟื้นฟูกษัตริย์แบบมีอำนาจมาก ก็ทำให้กษัตริย์ไม่ได้ปรากฏในฝรั่งเศสอีกเลย

    ไม่ว่า Ultra-royaliste จะเจตนาหรือไม่ก็ตาม ประวัติศาสตร์ฝรั่งเศสบอกเราว่าสถาบันกษัตริย์กลับมามีอำนาจก็ด้วย Ultra-royaliste และสถาบันกษัตริย์ต้องล่มสลายไปตลอดกาลก็ด้วย Ultra-royaliste อีกเช่นกัน

    ที่เล่ามาทั้งหมดเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นแล้วใน “ฝรั่งเศส”

    <<<อ่านบทความนี้ฉบับเต็ม---- Read More>>>





    posted by a_somjai on November 28, 2006





    Updated: 2007-02-22

    LINKS
    ประชาไทย: สัมภาษณ์ สุธาชัย : ประวัติศาสตร์ที่เฉลยอนาคต และเรื่องที่ควรถกเถียงเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญ

    รศ.ดร.สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ เป็นอาจารย์ประจำภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ทำงานวิจัยเรื่อง “การเคลื่อนไหวทางการเมืองที่ต่อต้านรัฐบาลสมัยจอมพล ป. พิบูลสงคราม (พ.ศ. 2491-2500)” เคยเขียนงานเรื่อง “อาชญากรรมรัฐในวิกฤตการเปลี่ยนแปลง” ร่วมกับ รศ.ใจ อึ๊งภากรณ์ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์ ซึ่งจัดพิมพ์โดยของคณะกรรมการรับข้อมูลและสืบพยานเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 และเมื่อไม่นานมานี้ รศ.ดร.สุธาชัย ได้เขียนบทความลงในหนังสือ “รัฐประหาร 19 กันยา : รัฐประหารเพื่อระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข" ในงานเขียนเรื่อง “ฐานะทางประวัติศาสตร์ของการรัฐประหาร 19 กันยายน 2549”

    ล่าสุด รศ.ดร.สุธาชัย เขียนบทความส่งตรงมายังประชาไท เรื่อง ประเด็นหลักในรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ที่มีเนื้อหาว่าด้วยข้อเสนอในรัฐธรรมนูญฉบับที่กำลังร่างอยู่ นักประวัติศาสตร์ท่านนี้ ชวนให้ตั้งคำถามและย้อนดูประวัติศาสตร์การเมืองไทย เช่นเรื่องพัฒนาการประชาธิปไตยไทยเป็นมาอย่างไร อะไรสำคัญกว่ากันระหว่างความเป็นปึกแผ่นหนึ่งเดียวของรัฐไทยกับความหลากหลาย ใครคือเจ้าของและเป็นผู้ใช้อำนาจอธิปไตย ทำอย่างไรไม่ให้กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพกลายเป็นเครื่องมือทางการเมือง

    นักประวัติศาสตร์รัฐประหาร ยังตั้งคำถามถึงความจำเป็นของการกำหนดสถาบันองคมนตรีไว้ในรัฐธรรมนูญ และย้ำถึงความสำคัญของสถาบันรัฐสภาในฐานะตัวแทนของประชาชนว่า จำเป็นต้องมีบทบาทตัดสินในเรื่องสำคัญของประเทศ และด้วยสถานะที่เป็นตัวแทนของประชาชนทั้งประเทศนั้น สภาผู้แทนฯ หรือรัฐสภาน่าจะเป็นองค์กรอย่างเป็นทางการที่มีหน้าที่ให้คำปรึกษาต่อพระมหากษัตริย์ รวมถึงเรื่องการสืบสันตติวงศ์ ก็ต้องประกอบด้วยความเห็นชอบของรัฐสภาด้วย

    ==> READ MORE อ่าน <==




    Create Date : 28 พฤศจิกายน 2549
    Last Update : 22 กุมภาพันธ์ 2550 11:56:20 น. 7 comments
    Counter : 711 Pageviews.

     
    www.pantip.com/cafe/rajdumnern/topic/P4970994 "ว่าด้วยกรณี เปรม-สมัคร, ปริญญา, ธีรยุทธ และปัญหาทางประวัติศาสตร์ของ "องคมนตรี"" จากคุณ : หนุมานมาเอง - [ 17 ธ.ค. 49 18:26:53 A:222.123.14.48 X: ]

    ดร.สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล
    ภาควิชาประวัติศาสตร์
    คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

    ใ ครที่ตามข่าวสมัครวิจารณ์เปรม (และข่าวต่อเนื่อง) ในขณะนี้ น่าที่อดจะรู้สึกถึง irony บางอย่างไม่ได้ ไม่เพียงกรณีสมัครกับเปรมโดยตรง ซึ่งผมกำลังจะพูดถึง แต่รวมถึงข่าวต่อเนื่อง เช่น ทหารบางคนเป็นฝ่ายเสนอให้ปลดรายการสมัครออกจากช่อง 5 เสียเอง หลังจากกลุ่มที่เรียกว่า "ภาคประชาชน" พยายามเสนอแบบเดียวกันนี้หลายครั้ง ผมเชื่อว่า หลายคนคงคิดว่า ที่สมัคร "กินดีหมี" (คำของปริญญา) มาวิจารณ์เปรมครั้งนี้ เพราะความที่ "หลุด" คือ มัวแต่คิดจะปกป้องรัฐบาล เลย "ด่าแหลก" ต่อทุกคนที่มีท่าทีเชิงวิจารณ์รัฐบาลไม่ว่าจะโดยอ้อมอย่างไร (ในกรณีนี้คือเปรม) แต่ผมเชื่อว่า มีคำอธิบายเรื่องนี้มากกว่านั้น (เรื่องปกป้องรัฐบาลคงเป็นคำอธิบายหนึ่งแต่ไม่ใช่ทั้งหมด) นั่นคือ ผมขอเสนอว่า ท่าทีของสมัคร มีส่วนเกิดจากการที่สมัครมี "ความทรงจำทางประวัติศาสตร์" บางอย่างเกี่ยวกับเปรมอยู่ ซึ่งเป็นความทรงจำที่แม่นยำกว่าหลายๆคน สิ่งที่หลายคนอาจจะไม่ตระหนัก (จำไม่ได้ ไม่ได้จำ) คือ สมัยที่เปรมเป็นนายกฯนั้น สมัครเป็นฝ่ายค้านคนหนึ่ง และเป็นคนที่ออกมาวิจารณ์เปรมแรงๆเสมอ ความสัมพันธ์ระหว่างทั้งคู่สมัยนั้นเป็นความสัมพันธ์ที่ bitter ไม่น้อย ผมคิดว่า ท่าทีของสมัครต่อเปรมคราวนี้ นอกจากเรื่องเฉพาะหน้าขณะนี้แล้ว ยังน่าจะเป็นผลมาจากการที่สมัคร "มอง" เปรม ในลักษณะที่ต่างจากคนอื่นในขณะนี้ คือ ไม่ได้ "รู้สึก" ถึง "aura" ของเปรม มากเท่ากับคนอื่นๆ อันเนื่องมาจาก "ประวัติศาสตร์" ความสัมพันธ์ระหว่างทั้งคู่เมื่อ 20 ปีก่อนด้วย ในแง่นี้ ผมเสนอว่า เป็นที่น่าสนใจที่จะดูข่าวเรื่องสมัครนี้คู่กับอีกข่าวหนึ่ง ที่คนของทักษิณคนหนึ่ง (ผมจำไม่ได้เสียแล้วว่าใคร) ออกมาพูดเมื่อไม่กี่วันก่อน ทำนองเปรียบเทียบทักษิณกับเปรมว่า สมัยเปรมเป็นนายกฯถูกโจมตีอย่างหนัก ตอนหลังกลายมาเป็นที่ยกย่องอย่างในปัจจุบัน นัยยะคือ คนที่โจมตีทักษิณมากๆตอนนี้ ในอนาคตจึงจะเข้าใจความดีของทักษิณ อะไรประมาณนั้น (ผมเสียดายที่ไม่ได้ save ข่าวนี้ไว้ เมื่อครู่พยายาม search หาเท่าไร ก็หาไม่พบ) สำหรับผม ด้านที่เป็น irony มากที่สุดของกรณีสมัคร-เปรมนี้ (หรือข่าวที่เพิ่งพูดถึง) คือ สมัครมีความทรงจำทางประวัติศาสตร์ ดีกว่าฝ่าย "ภาคประชาชน" (ปริญญา, ธีรยุทธ)!

    ผมเองเป็นคนที่ "ความจำยาว" คนหนึ่ง จึงขอทบทวนความจำทางประวัติศาสตร์บางอย่างเกี่ยวกับเปรมในที่นี้ (ขณะนี้มีนิสิต ป.โทประวัติศาสตร์จุฬาท่านหนึ่ง กำลังเริ่มทำ วพ.เกี่ยวกับยุคเปรม ผมได้แต่หวังว่า จะเป็นงานที่ช่วยสนับสนุนให้ความทรงจำของหลายคนต่อยุคนั้นดีขึ้นบ้าง)
    เ ปรมขึ้นสู่อำนาจได้ด้วยการ (พูดตามภาษาการเมือง) "หักหลัง" เกรียงศักดิ์ ซึ่ง "ดัน" เปรมขึ้นมาอย่างกระทันหัน จากแม่ทัพภาคมาเป็น ผช.ทบ. แล้วเป็น ผบ.ทบ. โดย "เด้ง" เสริม ณ นคร ผบ.ทบ.ขณะนั้น ไปเป็น ผบ.สูงสุด, แต่ในระหว่างเกิดวิกฤติทางการเมืองต้นปี 2523 เปรมก็หันไปร่วมมือกับ "ยังเติร์ก" บีบเกรียงศักดิ์ ลาออกกลางสภา (เดิมตั้งใจจะยุบสภา) ไม่กี่เดือนหลังเป็นนายกฯ เปรมอายุครบ 60 ก็มี "หน้าม้า" ออกมาทำการรณรงค์ขอให้ต่ออายุราชการเปรม นับเป็นผู้นำทหาร/นายกฯ คนแรก หลัง ถนอม-ประภาส ที่ทำเช่นนั้น ทำให้เกิดการประท้วงอย่างกว้างขวาง ทั้งขบวนการนักศึกษาในขณะนั้น และพรรคประชาธิปัตย์ (รูปแบบรณรงค์ของพวก "หน้าม้า" เปรมตอนนั้น ก็ไม่ต่างกับที่บรรดาพวกทำให้ทักษิณตอนนี้นัก เพียงแต่ตอนนั้นไม่มีสื่อสาร digital ที่สำคัญจึงใช้การ "เขียนไปรษณีย์บัตร") กลุ่มที่ต่อต้านก็ทำการวิพากษ์ต่อต้านอย่างแรงมาก ถึงขนาดว่า ในที่สุดแล้ว ต้องใช้ "อำนาจ" อันใหญ่หลวง มา "เบรก" การเคลื่อนไหวคัดค้านนั้น ซึ่งเป็นที่รู้จักกันในนาม "ข้อมูลใหม่" (คำนี้มาจากการที่ จู่ๆพรรคประชาธิปัตย์ก็ประกาศหยุดการเคลื่อนไหวคัดค้าน โดยให้เหตุผลว่า "ได้รับข้อมูลใหม่" หลังจากนั้นไม่นาน มีใบปลิวแจกทั่วกรุงเทพ เล่าว่า "ข้อมูลใหม่" ดังกล่าวคืออะไร) จนกลายเป็นเรื่อง "ฮือฮา" มาก สรุปว่า เปรมได้ต่ออายุราชการ หลังจากนั้น ตลอดเวลา 8 ปี ที่เปรมเป็นนายกฯ แม้ว่าในช่วงแรกๆ จะสามารถ "ดึง" นักวิชาการชื่อดังไปทำงานให้ (ที่ดังที่สุดคือ ชัยอนันต์ กับ เสน่ห์ นั่นเอง ผมยังจำการสนทนาเรื่องนี้กับอ.ชาญวิทย์ในคืนวันหนึ่ง - ผมกับอ.อานันท์ กาจนพันธ์ ติดรถอ.ชาญวิทย์ไปนอนค้างบ้านอ.ชาญวิทย์ หลังเบียร์หลายขวด (พวกเขาไม่ใช่ผม) - ที่ชาญวิทย์พูดเรื่องนี้ เพราะตอนนั้นเป็นเรื่องใหญ่มาก การที่ปัญญาชน "ทวนกระแส" จะทำงานให้รัฐบาล ชาญวิทย์ ยืนยันในความเคารพต่อเสน่ห์ว่า แม้จะทำงานให้รัฐบาล แต่ไม่ได้ "ขาย" (เขาบอกว่า ยกย่องปัญญาชน 2 คนที่ "ยังไงก็ไม่ขาย") ในระหว่างที่เสน่ห์เป็นที่ปรึกษาให้เปรม ได้ผลิตงานวิจัยชุดหนึ่ง ชื่อ "ชนบทไทย" เรื่องนี้เป็น landmark เกี่ยวกับ "ชนบทนิยม" ในหมู่ปัญญาชนไทย ซึ่งงานของ ยุกติ "ตกหล่น" ไป) แต่ "ระบอบเปรม" เต็มไปด้วยความขัดแย้ง และถูกโจมตีจากวงการเมืองทั้งในและนอกรัฐบาล ที่สำคัญคือ รัฐประหารที่ไม่สำเร็จ 2 ครั้ง (ไม่นับ การเกือบๆจะรัฐประหารอีกหลายครั้ง) ในช่วงท้ายๆ (หลายปี ไม่ใช่เฉพาะ 1-2 ปี) ของ "ระบอบเปรม" เรียกได้ว่า แทบไม่มีใครอยากเอาเปรมเป็นผู้นำอีก แต่ปัจจัยสำคัญอย่างหนึ่งที่ทำให้เขาอยู่ในตำแหน่งได้นาน คือ เป็นที่เข้าใจกันว่า เขาได้รับการไว้วางพระราชหฤทัย ซึ่งหลายครั้ง ได้ save เขาไว้ในลักษณะ intervention ตรงๆ ไม่เพียงกรณีกบฏ 1-3 เมษา (ซึ่ง Royal Family อพยพไปอยู่โคราช ซึ่งเป็นศูนย์กลางต่อต้านกบฏ และถ้าผมจำไม่ผิด (น่าจะไม่ผิด) จากการบอกเล่าของอาทิตย์ กำลังเอก เอง ซึ่งเป็นกำลังหลักในการปราบกบฏ ในปาฐกถาที่มีชื่อเสียงมาก เล่าว่า สมเด็จพระนางเจ้าฯ ทรงโทรศัพท์ไปยังบ้านสี่เสา ขณะที่ฝ่าย "ยังเติร์ก" กำลังจะจับตัวเปรมเป็นประกันอยู่แล้ว และทรงรับสั่งว่า ถ้าไม่ให้เปรมออกมา ท่านจะทรงเสด็จฯไปรับเอง ปาฐกถานี้ มีการตีพิมพ์ในนิตยสารที่ชัชรินทร์ เป็น บ.ก.) แต่ยังรวมถึงวิกฤติในช่วงหลังจากนั้นอีกหลายครั้ง โดยเฉพาะ เมื่ออาทิตย์ เริ่มเป็นใหญ่ขึ้นมาถึงขั้นอันตรายต่ออำนาจเปรม ดูเหมือน ครั้งหนึ่ง สมเด็จพระบรมฯถึงกับทรงขับรถจากสนามบินไปส่งเปรม (ที่กลับจากเชียงใหม่) ถึงบ้านสี่เสา และสมเด็จพระนางเจ้าฯทรงแสดงพระกรุณาฯให้เปรมร่วมเดินชมสวนดอกไม้ร่วมกับพระ องค์ (ที่เชียงใหม่) และมีพระราชดำรัสเกียวกับการที่ผู้นำที่ดีต้องมีความอ่อนโยนด้วย นัยยะคือ เปรมดีกว่าอาทิตย์ ซึ่งมีสไตล์โผงผางไม่อ่อนโยน ฯลฯ) แต่ intervention เหล่านี้ ไม่ได้ทำให้เปรมกลายเป็นที่นิยมในหมู่คนที่สนใจการเมืองขณะนั้นไปได้ บรรดา นสพ.ถึงกับตั้ง "ฉายา" เขาว่า "เตมีย์ใบ้" เพราะชอบทำตัว "ลอย" อยู่เหนือความขัดแย้ง ถามอะไรก็ไม่ตอบ คือไม่ยอมออกมาแสดงความรับผิดชอบใดๆทางการเมือง เช่น ถ้ามีปัญหา ขึ้นราคาน้ำมัน ค่าครองชีพแพง ฯลฯ ก็โยนให้เป็นเรื่องของรัฐมนตรี (ซึ่งสังกัดพรรคการเมือง ตัวเขาเองไม่สังกัด) เป็นผู้รับผิดชอบ (รับการถูกด่าไป) แทน บางครั้งนักการเมืองและนสพ.ถึงกับท้าให้เปรมลงเลือกตั้ง เพื่อพิสูจน์ว่า ประชาชนต้องการเขาจริงๆ (สมัยนั้น discourse ของปัญญาชนไทย ยังไม่มีด้านที่ anti "เลือกตั้งธิปไตย" อย่างสมัยนี้) ครั้งหนึ่ง ผมจำได้ว่า เปรม "บ่น" อย่างที่ชอบทำเสมอๆว่า ไม่อยากเป็นนายกฯอีกต่อไป ฯลฯ Bangkok Post ไปพาดหัวตัวโตว่า "then quit, PM told" (อาจจะเป็นสมัครด้วยซ้ำที่เป็นคนให้สัมภาษณ์ให้เปรม "ออกไปสิ ถ้าเบื่อน่ะ" แต่จำได้ว่า มีคนจำนวนมากที่เสนอเช่นนี้ รวมทั้งพวกที่อาจเรียกว่าเป็น "ภาคประชาชน" ของสมัยนั้นด้วย)
    เมื่อหวนรำลึกถึงเหตุการณ์ที่เล่ามาเหล่า นี้ กระแสเข้าหาเปรมพร้อมการด่าทักษิณในปัจจุบัน จึงเป็นเรื่องชวนให้รู้สึกถึง irony อย่างยิ่ง ไม่เพียงสมัคร (ถ้าทฤษฎีผมถูก) แต่คนของทักษิณที่ผมพูดถึง มี "ความจำทางประวัติศาสตร์" ดีกว่า พวก "ภาคประชาชน" ที่ชอบอ้าง "ประวัติศาสตร์" (14 ตุลา, 6 ตุลา)

    (มีต่อ)


    โดย: a_somjai IP: 124.157.205.40 วันที่: 17 ธันวาคม 2549 เวลา:23:11:06 น.  

     
    (ต่อ)

    ผ มนึกขึ้นได้อย่างหนึ่งว่า ตอนที่เปรม กำลังเป็นที่ถูกโจมตีนั้น ปริญญาเองคงเด็กเกินกว่าจะมีความจำเช่นกัน เพราะปริญญาน่าจะอายุประมาณ 10 กว่าขวบเท่านั้น นี่ต้องนับเป็นความล้มเหลวอย่างมากของการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ในหมู่ "ภาคประชาชน" .... (ไหนๆก็พูดเรื่องนี้ ขอพูดอีกนิดหน่อย เมื่อ 2-3 ปีก่อน ผมเคยฟัง สุริยะใส อภิปรายเรื่อง 6 ตุลา เขาพูดทำนองวิจารณ์คนไทยไม่เรียนรู้ประวัติศาสตร์ ฯลฯ แต่เห็นได้ชัดว่า เวลาเจ้าตัวพูดเรื่อง 6 ตุลาเองนี่ แทบไม่มีความรู้อะไรแสดงให้เห็นเลย นอกจากคำประเภท "คำขวัญ" เล็กๆน้อยๆเท่านั้น... ผมฟัง "ผู้นำ" ของ "ภาคประชาชน" ท่านนี้ทีไร นึกถึงนักการเมืองประเภทที่ถูกเรียกกันว่า นักเลือกตั้ง ทุกที รู้สึก "มาด" คล้ายกันมาก)

    ที่ปริญญาไม่มีความ จำเรื่องเปรมโดยตรง อาจจะพอเข้าใจได้ แต่ในฐานะนักกฎหมาย คำให้สัมภาษณ์ถึงเปรมอย่างที่ปริญญาทำ นับเป็นเรื่องน่าผิดหวังและน่าเศร้าอย่างยิ่ง

    ในฐานะนักกฎหมาย ปริญญาควรตระหนักว่า ระบบ "องคมนตรี" อย่างที่มีในประเทศไทย ขัดกับหลักการกฎหมายของประชาธิปไตยสากล เพราะในระบอบประชาธิปไตย ผู้ที่ทำหน้าที่ "ที่ปรึกษา" ของกษัตริย์คือคณะรัฐมนตรีนั่นเอง กษัตริย์ไม่มีความจำเป็นต้องมี "คณะที่ปรึกษา" หรือมี "กลไก" การทำงานแยกต่างหาก เพราะถือว่า พระมหากษัตริย์ทำอะไรไม่ได้ และต้องไม่ทำอะไร เพราะตามหลักการประชาธิปไตย ("อำนาจทางปกครองมาจากประชาชน")ถ้าทำอะไรได้ คือมี "อำนาจทางการปกครอง" ก็แปลว่าต้องมี "การให้ตรวจสอบได้" ควบคู่กันไปด้วย (power and accountibility ชื่อบทความของ หยุด แสงอุทัย ที่ผมเคยโพสต์ก่อนหน้านี้) กษัตริย์ในระบอบประชาธิปไตยสากลนั้น ทำอะไรไม่ได้ เพราะไม่ได้รับการเลือกตั้งมาจากประชาชน การได้รับการเลือกตั้ง หมายความว่า มี accountibility คือสามารถถูกวิจารณ์ได้ ตรวจสอบได้ ไม่เลือกก็ได้ หรือ เลือกให้ออกได้ แต่สถาบันกษัตริย์เป็นสิ่งที่ตรงข้ามกับ accountibility เหล่านี้โดยธรรมชาติของสถาบัน (เปลี่ยนโดยสันตติวงศ์ ไม่ใช่โดย popular vote) ดังนั้น ในระบอบประชาธิปไตย เมื่อไม่มี accountibility ก็ต้องไม่มี power ด้วย แต่ประเทศไทย ด้วยเหตุผลทางประวัติศาสตร์ทำให้พระมหากษัตริย์ทรงทำอะไรได้หลายอย่าง โดยมี power แต่ไม่ต้องมี accountibility ซึ่งพลอยทำให้เกิด "กลไก" บางอย่างในการกำกับดูแลของพระมหากษัตริย์เอง (องคมนตรี, สำนักงานทรัพย์สินฯ) แยกต่างหากจากคณะรัฐมนตรี แต่ถึงกระนั้น ระบบกฎหมาย ซึ่งอย่างน้อยก็ยังยอมรับความเป็นรัฐ "หลังสมบูรณาญาสิทธิราช" post absolutism โดยพื้นฐานหลายประการ ก็ยังไม่ถึงกับมีบทบัญญัติปกป้องกลไกที่ล้อมรอบพระมหากษัตริย์เหล่านั้นแบบท ี่มีกับองค์พระมหากษัตริย์และราชวงศ์บางพระองค์ ซึ่งได้รับการปกป้องไว้ โดยการคงกฎหมายสมัยสมบูรณาญาสิทธิราชบางอย่างไว้ และโดยการเขียนรัฐธรรมนูญบางมาตรา (รธม. มาตรา 8 และ ป.อาญา มาตรา 112 ในปัจจุบัน) ดังนั้นในแง่กฎหมาย "กลไก" ที่ล้อมรอบพระมหากษัตริย์เหล่านี้ หาได้มี power without accountibility ตามไปด้วย แต่อย่างใด เช่น องคมนตรีไม่ได้ถูก protect ไว้ด้วย ป.อาญา 112 เป็นต้น

    คำให้สัมภา ษณ์ของ "นักกฎหมาย" อย่างปริญญา จึงเป็นเรื่องเศร้า ด้วยการอ้างว่าสมัครไม่ควรวิจารณ์องคมนตรีเพราะเป็นที่ปรึกษาพระมหากษัตริย์ ราวกับว่า กฎหมายที่ protect กษัตริย์ "ขยาย" มาถึงองคมนตรีด้วย (แต่นี่คือความจริงที่กำลังเกิดขึ้นมากขึ้นทุกที ด้วยการให้ความเห็นของ "นักกฎหมาย" อย่างปริญญา นี่แหละ)
    ระบบ "องคมนตรี" เกิดขึ้นครั้งแรกในรัฐธรรมนูญ 2492 ซึ่งพวกนิยมเจ้าร่างขึ้น และต้องถือว่าเป็น ความพ่ายแพ้ของอุดมการแบบ "คณะราษฎร 2475" อันเป็นผลต่อมาจากการแตกสลายของ "คณะราษฎร" ระหว่าง ปรีดี กับ พิบูล ในช่วงก่อนและระหว่างสงครามโลก (ในปี 2490 พวกนิยมเจ้าโดยการร่วมมือยินยอมของคณะทหาร ได้สร้างองค์กร "อภิรัฐมนตรี" ขึ้นมา ในรัฐธรรมนูญ "ใต้ตุ่ม" แต่ได้เลิกไปในรัฐธรรมนูญ 2492) ต้องมองว่า การปรากฏตัวของ "องคมนตรี" เป็นหนึ่งในความสำเร็จของพวกนิยมเจ้าที่ "พลิกกลับทางประวัติศาสตร์" verdict ("คำตัดสิน") ของ 2475 เช่นเดียวกับ อีกกรณีหนึ่งคือเรื่องสำนักงานทรัพย์สินฯ ซึ่งผมกำลังเขียนอยู่

    อย ่างไรก็ตาม แม้ว่า การเกิดขึ้นขององคมนตรี ต้องถือเป็นชัยชนะของพวกนิยมเจ้า ที่สร้างกลไกเฉพาะให้กับกษัตริย์นอกจากคณะรัฐมนตรี (และจากนี้ - เช่นเดียวกับกรณีสำนักงานทรัพย์สินฯ - ก็แยกให้กษัตริย์เป็นอิสระจากการควบคุมขององค์กรที่เป็น "ตัวแทนประชาชน" กลายเป็น "สถาบัน" อิสระขึ้นมาได้) แต่ตลอดเวลากว่า 50 ปี จนถึงช่วงทศวรรษ 2540 นี้เอง ต้องจัดว่า องคมนตรี พยายามรักษา ลักษณะของการอยู่ "เบื้องหลัง" (ให้คำแนะนำ โดยไม่ออกหน้า) แม้แต่องคมนตรีที่มีบทบาทมากอย่าง Prince รังสิต และ ธานี ก็ไม่ได้ออกหน้ามาโดยตรง อาจกล่าวได้ว่า เพิ่งสมัยเปรมเป็นประธานองคมนตรีนี้เอง นอกจากมีตึกที่ทำการใหญ่โตกลางเมืองแล้ว ที่องคมนตรีได้ออกมามีบทบาทอย่างมาก ไม่เพียงในแง่การแสดงความเห็น (เช่นกรณีเปรมขณะนี้) แต่ที่สำคัญรวมถึงการ "screen" (พิจารณาก่อน) เรื่องต่างๆที่ถวายไปยังพระมหากษัตริย์ (เช่น กม.ต่างๆ หรือ กรณีอย่าง "คุณหญิงจารุวรรณ") นี่เป็นพัฒนาใหม่ที่สำคัญและชวนให้คิดอย่างยิ่ง ในความเห็นของผม

    ในฐานะนักกฎหมาย ปริญญาสมควรจะรู้ดีว่า สภาวะเช่นนี้ raise ปัญหาทางกฎหมาย (การเมือง) ที่สำคัญมากๆ เพราะ ดังที่กล่าวแล้ว องคมนตรี ไม่ได้ถูก protect ด้วยกฎหมายที่ใช้ protect กษัตริย์และราชวงศ์บางองค์ ขณะเดียวกัน ก็ไม่ได้รับการเลือกตั้งจากประชาชน ปัญหาในเชิง accountibility จะให้ทำอย่างไร? (นอกจากตัวอย่างที่เพิ่งพูดไปในย่อหน้าที่แล้ว ขอให้ลองนึกกรณีพิจิตรให้สัมภาษณ์สนับสนุนโทษประหารชีวิต เมื่อไม่กี่ปีก่อน ถ้าเป็นคนในวงการเมืองที่มี accountibility การแสดงความเห็นเช่นนี้ย่อมสามารถถูกวิจารณ์ได้) หรือปริญญาและคนอื่นๆ จะเริ่มสร้างระบบกฎหมายและประเพณีที่ "ขยาย" สถานะ power without accountibility ของพระมหากษัตริย์และราชวงศ์บางองค์ไปสู่ "กลไก" อื่นๆที่ล้อมรอบด้วย? ในฐานะนักกฎหมาย ปริญญาสมควรจะตระหนักว่า วิธีคิดหรือทิศทางการพัฒนาแบบนี้เป็นเรื่องอันตรายเพียงไร จะให้ขยายถึงใครบ้าง? ทุกคนที่เป็นองคมนตรี? ทุกคนที่ร่วมใน "โครงการตามพระราชดำริ" เป็นต้น?


    โดย: a_somjai IP: 124.157.205.40 วันที่: 17 ธันวาคม 2549 เวลา:23:12:55 น.  

     
    วันนี้เช็ดยอดคนเข้ามาเยี่ยมชม blog ของเราสูงผิดปกติ
    (จากปกติประมาณ 20+ ต่อวัน, ที่สุง ๆ หน่อยก็ 60-70-80 ต่อวัน)

    วันนี้ (22 ส.ค. 2550) สังเกตเมืองตอนบ่าย ๆ ก็มีคนเข้าblog มา online เวลาเดียวกันกันถึง 10 รายเราก็เอ๊ะใจแล้วแต่ไม่คิดอะไร

    ว่างเข้ามาอีกตอน เวลาสี่ทุ่ม มีคนเข้ามาถึง 464 visits และดู pages ถึง 596 หน้า

    เลยต้องตามไปดู ปรากฏว่า เขาแห่เข้ามา บล็อกโพสต์เรื่องนี้กัน (หน้านี้แหละ)

    แกะรอย site meter ไปพบว่า เขา.. referrence .... link มาจากแถวห้องราชดำเนินพันทิพนี้เอง

    //www.pantip.com/cafe/rajdumnern/topic/P5740125/P5740125.html

    กระทู้ P5740125 ชื่อ Link....ต้องอ่านที่คอมเมนต์ถัดไปครับ >>>>>




    โดย: a_somjai วันที่: 22 สิงหาคม 2550 เวลา:22:15:00 น.  

     
    Linkมาจาก....กระทู้ห้องราชดำเนิน P5740125 " ศึกษาประวัติศาสตร์ เปรม VS สมัคร + ปริญญา+ใส" ผ่านอาจารย์ภาควิชาประวัติศาสตร์ หนุมานมาเอง (19 - 22 ส.ค. 50 16:54)

    " ศึกษาประวัติศาสตร์ เปรม VS สมัคร + ปริญญา+ใส" ผ่านอาจารย์ภาควิชาประวัติศาสตร์
    เก่าหน่อย และยาว แต่ถ้าอ่านจบจะทราบความเป็นมาว่าทำไมสมัครไม่กลัวเปรม ผมเคยเอามาลงครั้งนึงแล้ว ลองอ่านดูนะครับ


    ดร.สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล
    ภาควิชาประวัติศาสตร์
    คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

    ใครที่ตามข่าวสมัครวิจารณ์เปรม (และข่าวต่อเนื่อง) ในขณะนี้ น่าที่อดจะรู้สึกถึง irony บางอย่างไม่ได้ ไม่เพียงกรณีสมัครกับเปรมโดยตรง ซึ่งผมกำลังจะพูดถึง แต่รวมถึงข่าวต่อเนื่อง เช่น ทหารบางคนเป็นฝ่ายเสนอให้ปลดรายการสมัครออกจากช่อง 5 เสียเอง หลังจากกลุ่มที่เรียกว่า "ภาคประชาชน" พยายามเสนอแบบเดียวกันนี้หลายครั้ง

    ผมเชื่อว่า หลายคนคงคิดว่า ที่สมัคร "กินดีหมี" (คำของปริญญา) มาวิจารณ์เปรมครั้งนี้ เพราะความที่ "หลุด" คือ มัวแต่คิดจะปกป้องรัฐบาล เลย "ด่าแหลก" ต่อทุกคนที่มีท่าทีเชิงวิจารณ์รัฐบาลไม่ว่าจะโดยอ้อมอย่างไร (ในกรณีนี้คือเปรม) แต่ผมเชื่อว่า มีคำอธิบายเรื่องนี้มากกว่านั้น (เรื่องปกป้องรัฐบาลคงเป็นคำอธิบายหนึ่งแต่ไม่ใช่ทั้งหมด)

    นั่นคือ ผมขอเสนอว่า ท่าทีของสมัคร มีส่วนเกิดจากการที่สมัครมี "ความทรงจำทางประวัติศาสตร์" บางอย่างเกี่ยวกับเปรมอยู่ ซึ่งเป็นความทรงจำที่แม่นยำกว่าหลายๆคน สิ่งที่หลายคนอาจจะไม่ตระหนัก (จำไม่ได้ ไม่ได้จำ) คือ สมัยที่เปรมเป็นนายกฯนั้น สมัครเป็นฝ่ายค้านคนหนึ่ง และเป็นคนที่ออกมาวิจารณ์เปรมแรงๆเสมอ ความสัมพันธ์ระหว่างทั้งคู่สมัยนั้นเป็นความสัมพันธ์ที่ bitter ไม่น้อย ผมคิดว่า ท่าทีของสมัครต่อเปรมคราวนี้

    นอกจากเรื่องเฉพาะหน้าขณะนี้แล้ว ยังน่าจะเป็นผลมาจากการที่สมัคร "มอง" เปรม ในลักษณะที่ต่างจากคนอื่นในขณะนี้ คือ ไม่ได้ "รู้สึก" ถึง "aura" ของเปรม มากเท่ากับคนอื่นๆ อันเนื่องมาจาก "ประวัติศาสตร์" ความสัมพันธ์ระหว่างทั้งคู่เมื่อ 20 ปีก่อนด้วย ในแง่นี้ ผมเสนอว่า เป็นที่น่าสนใจที่จะดูข่าวเรื่องสมัครนี้คู่กับอีกข่าวหนึ่ง ที่คนของทักษิณคนหนึ่ง (ผมจำไม่ได้เสียแล้วว่าใคร) ออกมาพูดเมื่อไม่กี่วันก่อน ทำนองเปรียบเทียบทักษิณกับเปรมว่า


    สมัยเปรมเป็นนายกฯถูกโจมตีอย่างหนัก ตอนหลังกลายมาเป็นที่ยกย่องอย่างในปัจจุบัน นัยยะคือ คนที่โจมตีทักษิณมากๆตอนนี้ ในอนาคตจึงจะเข้าใจความดีของทักษิณ อะไรประมาณนั้น (ผมเสียดายที่ไม่ได้ save ข่าวนี้ไว้ เมื่อครู่พยายาม search หาเท่าไร ก็หาไม่พบ) สำหรับผม ด้านที่เป็น irony มากที่สุดของกรณีสมัคร-เปรมนี้ (หรือข่าวที่เพิ่งพูดถึง) คือ สมัครมีความทรงจำทางประวัติศาสตร์ ดีกว่าฝ่าย "ภาคประชาชน" (ปริญญา, ธีรยุทธ)!

    ผมเองเป็นคนที่ "ความจำยาว" คนหนึ่ง จึงขอทบทวนความจำทางประวัติศาสตร์บางอย่างเกี่ยวกับเปรมในที่นี้ (ขณะนี้มีนิสิต ป.โทประวัติศาสตร์จุฬาท่านหนึ่ง กำลังเริ่มทำ วพ.เกี่ยวกับยุคเปรม ผมได้แต่หวังว่า จะเป็นงานที่ช่วยสนับสนุนให้ความทรงจำของหลายคนต่อยุคนั้นดีขึ้นบ้าง)


    เ ปรมขึ้นสู่อำนาจได้ด้วยการ (พูดตามภาษาการเมือง) "หักหลัง" เกรียงศักดิ์ ซึ่ง "ดัน" เปรมขึ้นมาอย่างกระทันหัน จากแม่ทัพภาคมาเป็น ผช.ทบ. แล้วเป็น ผบ.ทบ. โดย "เด้ง" เสริม ณ นคร ผบ.ทบ.ขณะนั้น ไปเป็น ผบ.สูงสุด, แต่ในระหว่างเกิดวิกฤติทางการเมืองต้นปี 2523 เปรมก็หันไปร่วมมือกับ "ยังเติร์ก" บีบเกรียงศักดิ์ ลาออกกลางสภา (เดิมตั้งใจจะยุบสภา) ไม่กี่เดือนหลังเป็นนายกฯ เปรมอายุครบ 60 ก็มี "หน้าม้า" ออกมาทำการรณรงค์ขอให้ต่ออายุราชการเปรม นับเป็นผู้นำทหาร/นายกฯ คนแรก หลัง ถนอม-ประภาส ที่ทำเช่นนั้น



    ทำให้เกิดการประท้วงอย่างกว้างขวาง ทั้งขบวนการนักศึกษาในขณะนั้น และพรรคประชาธิปัตย์ (รูปแบบรณรงค์ของพวก "หน้าม้า" เปรมตอนนั้น ก็ไม่ต่างกับที่บรรดาพวกทำให้ทักษิณตอนนี้นัก เพียงแต่ตอนนั้นไม่มีสื่อสาร digital ที่สำคัญจึงใช้การ "เขียนไปรษณีย์บัตร") กลุ่มที่ต่อต้านก็ทำการวิพากษ์ต่อต้านอย่างแรงมาก ถึงขนาดว่า ในที่สุดแล้ว ต้องใช้ "อำนาจ" อันใหญ่หลวง มา "เบรก" การเคลื่อนไหวคัดค้านนั้น ซึ่งเป็นที่รู้จักกันในนาม "ข้อมูลใหม่" (คำนี้มาจากการที่ จู่ๆพรรคประชาธิปัตย์ก็ประกาศหยุดการเคลื่อนไหวคัดค้าน โดยให้เหตุผลว่า "ได้รับข้อมูลใหม่" หลังจากนั้นไม่นาน มีใบปลิวแจกทั่วกรุงเทพ เล่าว่า "ข้อมูลใหม่" ดังกล่าวคืออะไร)


    จนกลายเป็นเรื่อง "ฮือฮา" มาก สรุปว่า เปรมได้ต่ออายุราชการ หลังจากนั้น ตลอดเวลา 8 ปี ที่เปรมเป็นนายกฯ แม้ว่าในช่วงแรกๆ จะสามารถ "ดึง" นักวิชาการชื่อดังไปทำงานให้ (ที่ดังที่สุดคือ ชัยอนันต์ กับ เสน่ห์ นั่นเอง ผมยังจำการสนทนาเรื่องนี้กับอ.ชาญวิทย์ในคืนวันหนึ่ง - ผมกับอ.อานันท์ กาจนพันธ์ ติดรถอ.ชาญวิทย์ไปนอนค้างบ้านอ.ชาญวิทย์ หลังเบียร์หลายขวด (พวกเขาไม่ใช่ผม) - ที่ชาญวิทย์พูดเรื่องนี้ เพราะตอนนั้นเป็นเรื่องใหญ่มาก การที่ปัญญาชน "ทวนกระแส" จะทำงานให้รัฐบาล ชาญวิทย์ ยืนยันในความเคารพต่อเสน่ห์ว่า แม้จะทำงานให้รัฐบาล แต่ไม่ได้ "ขาย" (เขาบอกว่า ยกย่องปัญญาชน 2 คนที่ "ยังไงก็ไม่ขาย")


    ในระหว่างที่เสน่ห์เป็นที่ปรึกษาให้เปรม ได้ผลิตงานวิจัยชุดหนึ่ง ชื่อ "ชนบทไทย" เรื่องนี้เป็น landmark เกี่ยวกับ "ชนบทนิยม" ในหมู่ปัญญาชนไทย ซึ่งงานของ ยุกติ "ตกหล่น" ไป) แต่ "ระบอบเปรม" เต็มไปด้วยความขัดแย้ง และถูกโจมตีจากวงการเมืองทั้งในและนอกรัฐบาล ที่สำคัญคือ รัฐประหารที่ไม่สำเร็จ 2 ครั้ง (ไม่นับ การเกือบๆจะรัฐประหารอีกหลายครั้ง) ในช่วงท้ายๆ (หลายปี ไม่ใช่เฉพาะ 1-2 ปี) ของ "ระบอบเปรม" เรียกได้ว่า แทบไม่มีใครอยากเอาเปรมเป็นผู้นำอีก แต่ปัจจัยสำคัญอย่างหนึ่งที่ทำให้เขาอยู่ในตำแหน่งได้นาน คือ เป็นที่เข้าใจกันว่า เขาได้รับการไว้วางพระราชหฤทัย ซึ่งหลายครั้ง ได้ save เขาไว้ในลักษณะ intervention ตรงๆ


    ไม่เพียงกรณีกบฏ 1-3 เมษา (ซึ่ง Royal Family อพยพไปอยู่โคราช ซึ่งเป็นศูนย์กลางต่อต้านกบฏ และถ้าผมจำไม่ผิด (น่าจะไม่ผิด) จากการบอกเล่าของอาทิตย์ กำลังเอก เอง ซึ่งเป็นกำลังหลักในการปราบกบฏ ในปาฐกถาที่มีชื่อเสียงมาก เล่าว่า สมเด็จพระนางเจ้าฯ ทรงโทรศัพท์ไปยังบ้านสี่เสา ขณะที่ฝ่าย "ยังเติร์ก" กำลังจะจับตัวเปรมเป็นประกันอยู่แล้ว และทรงรับสั่งว่า ถ้าไม่ให้เปรมออกมา ท่านจะทรงเสด็จฯไปรับเอง ปาฐกถานี้ มีการตีพิมพ์ในนิตยสารที่ชัชรินทร์ เป็น บ.ก.) แต่ยังรวมถึงวิกฤติในช่วงหลังจากนั้นอีกหลายครั้ง โดยเฉพาะ เมื่ออาทิตย์ เริ่มเป็นใหญ่ขึ้นมาถึงขั้นอันตรายต่ออำนาจเปรม


    ดูเหมือน ครั้งหนึ่ง สมเด็จพระบรมฯถึงกับทรงขับรถจากสนามบินไปส่งเปรม (ที่กลับจากเชียงใหม่) ถึงบ้านสี่เสา และสมเด็จพระนางเจ้าฯทรงแสดงพระกรุณาฯให้เปรมร่วมเดินชมสวนดอกไม้ร่วมกับพระ องค์ (ที่เชียงใหม่) และมีพระราชดำรัสเกียวกับการที่ผู้นำที่ดีต้องมีความอ่อนโยนด้วย นัยยะคือ เปรมดีกว่าอาทิตย์ ซึ่งมีสไตล์โผงผางไม่อ่อนโยน ฯลฯ) แต่ intervention เหล่านี้ ไม่ได้ทำให้เปรมกลายเป็นที่นิยมในหมู่คนที่สนใจการเมืองขณะนั้นไปได้ บรรดา นสพ.ถึงกับตั้ง "ฉายา" เขาว่า "เตมีย์ใบ้" เพราะชอบทำตัว "ลอย" อยู่เหนือความขัดแย้ง ถามอะไรก็ไม่ตอบ คือไม่ยอมออกมาแสดงความรับผิดชอบใดๆทางการเมือง เช่น ถ้ามีปัญหา ขึ้นราคาน้ำมัน ค่าครองชีพแพง ฯลฯ ก็โยนให้เป็นเรื่องของรัฐมนตรี (ซึ่งสังกัดพรรคการเมือง ตัวเขาเองไม่สังกัด) เป็นผู้รับผิดชอบ (รับการถูกด่าไป) แทน บางครั้งนักการเมืองและนสพ.ถึงกับท้าให้เปรมลงเลือกตั้ง เพื่อพิสูจน์ว่า ประชาชนต้องการเขาจริงๆ (สมัยนั้น discourse ของปัญญาชนไทย ยังไม่มีด้านที่ anti "เลือกตั้งธิปไตย" อย่างสมัยนี้)


    ครั้งหนึ่ง ผมจำได้ว่า เปรม "บ่น" อย่างที่ชอบทำเสมอๆว่า ไม่อยากเป็นนายกฯอีกต่อไป ฯลฯ Bangkok Post ไปพาดหัวตัวโตว่า "then quit, PM told" (อาจจะเป็นสมัครด้วยซ้ำที่เป็นคนให้สัมภาษณ์ให้เปรม "ออกไปสิ ถ้าเบื่อน่ะ" แต่จำได้ว่า มีคนจำนวนมากที่เสนอเช่นนี้ รวมทั้งพวกที่อาจเรียกว่าเป็น "ภาคประชาชน" ของสมัยนั้นด้วย)


    เมื่อหวนรำลึกถึงเหตุการณ์ที่เล่ามาเหล่า นี้ กระแสเข้าหาเปรมพร้อมการด่าทักษิณในปัจจุบัน จึงเป็นเรื่องชวนให้รู้สึกถึง irony อย่างยิ่ง ไม่เพียงสมัคร (ถ้าทฤษฎีผมถูก) แต่คนของทักษิณที่ผมพูดถึง มี "ความจำทางประวัติศาสตร์" ดีกว่า พวก "ภาคประชาชน" ที่ชอบอ้าง "ประวัติศาสตร์" (14 ตุลา, 6 ตุลา)

    มีต่อ...

    แก้ไขเมื่อ 22 ส.ค. 50 11:23:58

    จากคุณ : หนุมานมาเอง - [ 22 ส.ค. 50 11:18:54 A:124.157.148.243 X: ]


    ---------------------------------
    ความคิดเห็นที่ 11

    อ่านตามนี้เลยครับ มีหลายเรื่องที่น่าอ่าน ขอบคุณเจ้าของบ้านที่เก็บบทความนี้ไว้ด้วยนะครับ

    https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=esanlanna&date=28-11-2006&group=9&gblog=23


    จากคุณ : หนุมานมาเอง - [ 22 ส.ค. 50 12:56:38 A:124.157.148.243 X: ]



    โดย: a_somjai วันที่: 22 สิงหาคม 2550 เวลา:22:26:12 น.  

     
    UPdated: 2010-04-23

    LINK : เวบไซต์ thaipost.net // เรื่อง ปก // 1 พฤศจิกายน 2552
    'ต้องรักษาสถาบัน' ส.ศิวรักษ์


    "สถาบันไม่ใช่วิเศษที่สุด ยังมีอะไรบกพร่อง แต่ต้องรักษาเอาไว้ เหมือน ต้นไม้บ้านผม ผมรักษาเอาไว้ เราได้ร่มได้เย็น คุณดู อินโดนีเซียสิ ดูประเทศที่มีประธานาธิบดีสิ เป็นอย่างไรบ้าง มันเลวร้ายกว่าทั้งนั้น"

    นักเคลื่อน ไหวทางสังคมอาวุโส ผู้ประกาศตัวชัดเจนว่าเป็น Royalist แต่ กล้าวิพากษ์วิจารณ์ จนกระทั่งต้องข้อหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพมาหลายต่อหลายครั้ง แต่ไม่เคยต้องโทษสักครั้ง อาจจะเพราะหลายฝ่ายรู้แก่ใจว่า ส.ศิวรักษ์ วิพากษ์วิจารณ์ด้วยความจงรักภักดีอย่างจริงใจ

    ---<<<อ่านบทสัมภาษณ์นี้>>>---


    โดย: a_somjai วันที่: 23 เมษายน 2553 เวลา:11:02:47 น.  

     
    Mind Map บ้าของ ศอฉ. ออกมาเพื่อดิสเครดิตเสื้อแดง

    27 เมษายน 2553 เวลา 19:04 น.
    View 12717 : comment 0




    โดย: a_somjai วันที่: 29 เมษายน 2553 เวลา:8:51:33 น.  

     
    สวัสดีน๊าาา ทักทายจ้า สปาชา sparsha A Moment of Bride เจ้าสาว เสริมจมูก ศัลยกรรมเสริมจมูก ศัลยกรรมจมูก สลายไขมันด้วยความเย็น ลดเซลลูไลท์ Leg Squeezing ผิวเปลือกส้ม FIS หน้าท้องใหญ่ ตัวเล็กแต่มีพุง Body Contouring ลดสัดส่วนทั้งตัว ลดปีกด้านหลัง เนื้อปลิ้นรักแร้ เนื้อปลิ้น Build Muscle สร้างกล้ามเนื้อ กล้ามเนื้อหน้าท้อง สลายไขมันหนา สลายไขมัน ลดไขมัน Lock Shape รักษารูปร่าง สลายไขมัน ลดสัดส่วน Oxy Peel ทำความสะอาดหน้า ทำความสะอาดหน้าแบบล้ำลึก ยกกระชับ Ulthera ปรับรูปหน้า ปัญหาผิวหย่อนคล้อย Beauty Shape สลายไขมันแบบเร่งด่วน ลดไขมัน ลดเซลลูไลท์ ผิวเปลือกส้ม สลายไขมันสะโพก กระชับผิว Sexy Mama แม่หลังคลอด รอยแตกลาย ปรับรูปร่าง กำจัดขน Hair Removal กำจัดขนถาวร สลายไขมันเหนียงด้วยความเย็น สลายไขมัน สลายไขมันเหนียง IV Drip ฟื้นฟูร่างกาย เสริมภูมิต้านทาน Bye Bye Panda Eye ลดรอยหมองคล้ำใต้ดวงตา ลดริ้วรอยใต้ตา นวดกระชับหน้าอก หน้าอกกระชับ อกหย่อนคล้อย Beauty Breast Lifting Enlarge Beauty Breast นวดอกเล็กให้ใหญ่ หน้าอกเล็ก ยกกระชับหน้า รักแร้ขาว รักแร้ดำ เลเซอร์รักแร้ขาว ผิวใต้วงแขน Love Fit กระชับช่องคลอด เลเซอร์กระชับช่องคลอด แก้ไขปัสสาวะเล็ด Meso Shine ผลักวิตามิน บำรุงผิว สวยด้วยเลือด รักษาผิว หนวดเครา กำจัดขนหนวด กำจัดขน กำจัดขนเครา เลเซอร์ขน เลเซอร์ขนถาวร กำจัดขนถาวร เลเซอร์เครา เลเซอร์หนวด กำจัดขน ยกกระชับ ร้อยไหม Thread Lift การดูดไขมัน ดูดไขมัน ศัลยกรรมตา 2 ชั้น ตา 2 ชั้น ศัลยกรรมตา สปาน้ำนม เพิ่มความชุ่มชื่น แก้ผิวแห้ง นวดผ่อนคลาย การนวดผ่อนคลาย Rest Time Aroma Massage Aroma Massage Acne Body Mist ลดรอยสิว ลดจุดด่างดำ ลดรอยดำ เลเซอร์ขนรักแร้ถาวร เลเซอร์ขน กำจัดขนรักแร้ กำจัดขนรักแร้ถาวร Former Lift ยกกระชับผิว ปรับรูปหน้า กำจัดขน บราซิลเลี่ยน กำจัดขนบราซิลเลี่ยน เลเซอร์ขน กำจัดขนที่ลับ กำจัดขนน้องสาว กำจัดขน เลเซอร์กำจัดขน เลเซอร์กำจัดขนบิกินี่ กำจัดขนบิกินี่ เลเซอร์ขนน้องสาวถาวร เลเซอร์ขนน้องสาว เลเซอร์ขนร่องก้น ฆ่าเชื้อสิว Acne Clear ปัญหาสิว เลเซอร์รักษาสิว Supreme White Lucent รักษาฝ้า ฝ้า กระ จุดด่างดำ ด็อกเตอร์ไลฟ์ doctorlife ศัลยกรรมเสริมจมูก ศัลยกรรมจมูก เสริมจมูก Cellulysis สลายไขมัน ulthera ยกกระชับ Acne Clear รักแร้ขาวเนียน เลเซอร์กำจัดขนถาวร กำจัดขน ร้อยไหม Freeze V Lift กำจัดไขมันด้วยความเย็น PRP ผิวหน้า PRP ผมบาง ผมร่วง เลเซอร์กระชับช่องคลอด กระชับช่องคลอด Love Fit สลายไขมันด้วยความเย็น Cell Repair ผิวขาวใส ลดสัดส่วน ปรับรูปร่าง Perfect Shape สลายไขมันแบบเร่งด่วน ฟิลเลอร์ Filler รักษาหลุมสิว Dual Yellow เลเซอร์หน้าใส Love Fit ปัญหาปัสสาวะเล็ด ปัสสาวะเล็ด Oxy Bright ทำความสะอาดรูขุมขน Bye Bye Fat ลดไขมัน Luminous แสงสีฟ้า รักษาสิว ฆ่าเชื้อสิว ABO Active 3D Toxin IV Drip เพื่อสุขภาพและความงาม ยกกระชับผิว hifu ให้ใจ สุขภาพ


    โดย: สมาชิกหมายเลข 6386494 วันที่: 31 พฤษภาคม 2564 เวลา:16:24:07 น.  

    ชื่อ :
    Comment :
      *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
     

    a_somjai
    Location :
    เชียงใหม่ Thailand

    [Profile ทั้งหมด]

    ฝากข้อความหลังไมค์
    Rss Feed
    Smember
    ผู้ติดตามบล็อก : 2 คน [?]




    Friends' blogs
    [Add a_somjai's blog to your web]
    Links
     

     Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.