กรรมเก่า คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ.เป็นเจ้าบทบาทเดิม จากนั้น การศึกษาอาศัยปรโตโฆสะ ซึ่งมีคติว่า "คนเป็นไปตามสภาพแวดล้อมที่ปรุงปั้น" และโยนิโสมนสิการ ซึ่งมีคติย้อนกลับว่า "ถ้าเป็นคนรู้จักคิด แม้แต่ฟังคนบ้าคนเมาพูด ก็อาจสำเร็จเป็นพระอรหันต์"
space
space
space
<<
พฤษภาคม 2567
 
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
262728293031 
space
space
1 พฤษภาคม 2567
space
space
space

พุทธพจน์แสดงวิธีปฏิบัติ



- อย่ายึดติดตัวอักษร   11 กท. ตย. คนยึดติดตัวอักษร  https://pantip.com/topic/42692602


235 พุทธพจน์แสดงวิธีปฏิบัติ

       เบื้องแรก  พึงทราบวิธีปฏิบัติตามแนวพุทธพจน์ ดังนี้

        "ภิกษุทั้งหลาย   อานาปานสติ   เจริญอย่างไร   ทำให้มากอย่างไร   จึงจะมีผลมาก มีอานิสงส์มาก ? 

            ภิกษุในธรรมวินัยนี้

       ก. ไปสู่ป่า ก็ดี ไปสู่โคนไม้ ก็ดี ไปสู่เรือนว่าง ก็ดี*

       ข. นั่งคู้บัลลังก์  ตั้งกายตรง  (นั่งตัวตรง)  ดำรงสติเฉพาะหน้า  (= เอาสติมุ่งต่อกรรมฐาน คือ ลมหายใจที่กำหนด)

       ค. เธอมีสติหายใจเข้า  มีสติหายใจออก

     หมวดสี่ ที่ ๑ ใช้บำเพ็ญกายานุปัสสนาสติปัฏฐานได้

        ๑) เมื่อหายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่าหายใจออกยาว

             เมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้ชัดว่าหายใจเข้ายาว

        ๒) เมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่าหายใจออกสั้น

             เมื่อหายใจเข้าสั้น ก็รู้ชัดว่าหายใจเข้าสั้น

        ๓) สำเหนียกว่า จักเป็นผู้รู้ตลอดกายทั้งหมด หายใจออก

             สำเหนียกว่า จักเป็นผู้รู้ตลอดกายทั้งหมด หายใจเข้า

        ๔) สำเหนียกว่า จักเป็นผู้ระงับกายสังขาร หายใจออก

             สำเหนียกว่า จักเป็นผู้ระงับกายสังขาร หายใจเข้า

     หมวดสี่ ที่ ๒ ใช้บำเพ็ญเวทนานุปัสสนาสติปัฏฐานได้

        ๕) สำเหนียกว่า จักเป็นผู้รู้ชัดปีติ หายใจออก

             สำเหนียกว่า จักเป็นผู้รู้ชัดปีติ หายใจเข้า

        ๖) สำเหนียกว่า จักเป็นผู้รู้ชัดซึ่งสุข หายใจออก

             สำเหนียกว่า จักเป็นผู้รู้ชัดซึ่งสุข หายใจเข้า

        ๗) สำเหนียกว่า จักเป็นผู้รู้ชัดซึ่งจิตสังขาร หายใจออก

             สำเหนียกว่า จักเป็นผู้รู้ชัดซึ่งจิตสังขาร หายใจเข้า

        ๘) สำเหนียกว่า  จักเป็นผู้ระงับจิตสังขาร หายใจออก

            สำเหนียกว่า จักเป็นผู้ระงับจิตสังขาร หายใจเข้า

    หมวดสี่ ที่ ๓ ใช้บำเพ็ญจิตตานุปัสสนาสติปัฏฐานได้

        ๙) สำเหนียกว่า จักเป็นผู้รู้ชัดซึ่งจิต หายใจออก

             สำเหนียกว่า จักเป็นผู้รู้ชัดซึ่งจิต หายใจเข้า

        ๑๐) สำเหนียกว่า จักยังจิตให้บันเทิง หายใจออก

              สำเหนียกว่า จักยังจิตให้บันเทิง หายใจเข้า

        ๑๑) สำเหนียกว่า จักตั้งจิตมั่น หายใจออก

              สำเหนียกว่า จักตั้งจิตมั่น หายใจเข้า

        ๑๒) สำเหนียกว่า จักเปลื้องจิต หายใจออก

              สำเหนียกว่า จักเปลื้องจิต หายใจเข้า

     หมวดสี่ ที่ ๔ ใช้บำเพ็ญธรรมานุปัสสนาสติปัฏฐานได้

        ๑๓) สำเหนียกว่า จักพิจารณาเห็นว่าไม่เที่ยง หายใจออก

               สำเหนียกว่า จักพิจารณาเห็นว่าไม่เที่ยง หายใจเข้า

       ๑๔) สำเหนียกว่า จักพิจารณาเห็นความคลายออก หายใจออก

               สำเหนียกว่า จักพิจารณาเห็นความคลายออก หายใจเข้า

        ๑๕) สำเหนียกว่า จักพิจารณาเห็นความดับไป หายใจออก

              สำเหนียกว่า จักพิจารณาเห็นความดับไป หายใจเข้า

        ๑๖) สำเหนียกว่า จักพิจารณาเห็นความสลัดเสียได้ หายใจออก

               สำเหนียกว่า จักพิจารณาเห็นความสลัดเสียได้ หายใจเข้า*



* เรือนว่าง แปลจาก “สุญญาคาร” แต่ วิสุทฺธิ.๒/๕๗ ให้แปลว่าที่ว่าง (= ที่ว่างจากเรือน) ได้แก่ เสนาสนะ ๗ อย่าง นอกจากป่าและโคนไม้

  * อานาปานสติครบกระบวนอย่างนี้   อรรถกถาเรียกว่า  โสฬสวัตถุกอานาปานสติกรรมฐาน (อานาปานสติกรรมฐาน มีวัตถุคือหัวข้อ ๑๖)  แยกออกเป็นจตุกกะ (หมวดสี่) ๔ หมวด ดังได้แสดงแล้ว ดู วิสุทฺธิ.๒/๕๒

     ปราชญ์บางท่านชี้ให้สังเกตความแตกต่าง  ระหว่างอานาปานสติ กับ  วิธีฝึกหัดเกี่ยวกับลมหายใจของลัทธิอื่นๆ  เช่น  การบังคับควบคุมลมหายใจของโยคะ  ที่เรียกว่า ปราณยาม เป็นต้น ว่าเป็นคนละเรื่องกันทีเดียว  โดยเฉพาะว่า อานาปานสติ  เป็นวิธีฝึกสติ ไม่ใช่ฝึกหายใจ คือ อาศัยลมหายใจ เป็นเพียงอุปกรณ์สำหรับฝึกสติ  ส่วนการฝึกบังคับลมหายใจนั้น  บางอย่างรวมอยู่ในวิธีบำเพ็ญทุกรกิริยา   ที่พระพุทธเจ้าเคยทรงบำเพ็ญ  และละเลิกมาแล้ว

235  สำเหนียก (- เหฺนียก) ก. ฟัง, คอยเอาใจใส่, กำหนดจดจำ
 



  - ขั้นปฏิบัติ คือ ลงมือกำหนดลมหายใจ

       พระอรรถกถาจารย์   ได้เสนอวิธีการเพิ่มเติม   เช่น   การนับ  เข้ามาเสริมการปฏิบัติตามพุทธพจน์ที่ยกมาแสดงข้างต้นแล้วด้วย  มีความที่ควรทราบ ดังนี้


ก. การนับ (คณนา)

     เริ่มแรก ในการกำหนดลมหายใจเข้า-ออก ยาว-สั้นนั้น  ท่านว่าให้นับไปด้วย เพราะการนับจะช่วยตรึงจิตได้ดี  การนับแบ่งเป็น ๒ ตอน

     235 ช่วงแรก   ท่านให้นับช้าๆ  การนับมีเคล็ดหรือกลวิธีว่า  อย่านับต่ำ กว่า ๕ แต่อย่าให้เกิน ๑๐ และให้เลขเรียงลำดับ อย่าโจนข้ามไป   (ถ้าต่ำกว่า ๕ จิตจะดิ้นรนในโอกาสอันแคบ ถ้าเกิน ๑๐ จิตจะไปพะวงที่การนับ แทนที่จะจับอยู่กับกรรมฐาน คือลมหายใจ ถ้านับขาดๆ ข้ามๆ จิตจะหวั่นจะวุ่นไป)

     ให้นับที่หายใจเข้า-ออกอย่างสบายๆ เป็นคู่ๆ คือ ลมเข้าว่า ๑ ลมออก ว่า ๑ ลมเข้าว่า ๒ ลมออกว่า ๒ อย่างนี้เรื่อยไป จนถึง ๕,๕ แล้วตั้งต้นใหม่ ๑,๑ จน ถึง ๖,๖ แล้วตั้งต้นใหม่ เพิ่มทีละคู่ไปจนครบ ๑๐ คู่ แล้วกลับย้อนที่ ๕ คู่ใหม่ จนถึง ๑๐ คู่ อย่างนั้นเรื่อยไป
  
     พอจะเขียนให้ดูได้   ดังนี้ 

๑,๑ ๒,๒ ๓,๓ ๔,๔ ๕,๕

๑,๑ ๒,๒ ๓,๓ ๔,๔ ๕,๕ ๖,๖

๑,๑ ๒,๒ ๓,๓ ๔,๔ ๕,๕ ๖,๖ ๗,๗

๑,๑ ๒,๒ ๓,๓ ๔,๔ ๕,๕ ๖,๖ ๗,๗ ๘,๘

๑,๑ ๒,๒ ๓,๓ ๔,๔ ๕,๕ ๖,๖ ๗,๗ ๘,๘ ๙,๙

๑,๑ ๒,๒ ๓,๓ ๔,๔ ๕,๕ ๖,๖ ๗,๗ ๘,๘ ๙,๙ ๑๐,๑๐

๑,๑ ๒,๒ ๓,๓ ๔,๔ ๕,๕

๑,๑ ๒,๒ ๓,๓ ๔,๔ ๕,๕ ๖,๖

ฯลฯ

     235 ช่วงสอง ท่านให้นับเร็ว กล่าวคือ เมื่อลมหายใจเข้าออกปรากฏแก่ใจชัดเจนดีแล้ว (จิตอยู่กับลมหายใจ โดยลมหายใจช่วยตรึงไว้ได้ ไม่ส่าย ฟุ้งไปภายนอก) ก็ให้เลิกนับช้าอย่างข้างต้นนั้นเสีย เปลี่ยนเป็นนับเร็ว

     คราวนี้ ไม่ต้องคำนึงถึงลมเข้าใน หรือออกนอก กำหนดลมที่มาถึงช่องจมูก นับเร็วๆ จาก ๑ ถึง ๕ แล้วขึ้นใหม่ ๑ ถึง ๖ เพิ่มทีละหนึ่งเรื่อยไป จน ๑ ถึง ๑๐ แล้วเริ่ม ๑ ถึง ๕ ใหม่อีก จิตจะแน่วแน่ด้วยกำลังการนับ เหมือนเรือตั้งลำแน่วในกระแสน้ำเชียวด้วยอาศัยถ่อ

     เมื่อนับเร็วอย่างนั้น กรรมฐานก็จะปรากฏต่อเนื่อง เหมือนไม่มีช่องว่าง พึงนับเร็วๆ อย่างนั้นเรื่อยไป ไม่ต้องกำหนดว่าลมเข้าในออกนอก เอาสติกำหนด ณ จุดที่ลมกระทบ คือที่ปลายจมูก หรือริมฝีปากบน (แห่งใดแห่งหนึ่ง แล้วแต่ที่ใดรู้สึกชัด) เท่านั้น

     เขียนให้ดูกันได้ ดังนี้

๑ ๒ ๓ ๔ ๕

๑ ๒ ๓ ๔ ๕ ๖

๑ ๒ ๓ ๔ ๕ ๖ ๗

๑ ๒ ๓ ๔ ๕ ๖ ๗ ๘

๑ ๒ ๓ ๔ ๕ ๖ ๗ ๘ ๙

๑ ๒ ๓ ๔ ๕ ๖ ๗ ๘ ๙ ๑๐

๑ ๒ ๓ ๔ ๕

๑ ๒ ๓ ๔ ๕ ๖

ฯลฯ

     กำหนดนับอย่างนี้เรื่อยไป จนกว่าเมื่อใด แม้ไม่นับแล้ว สติก็ยังตั้งแน่วอยู่ได้ในอารมณ์ คือ ลมหายใจเข้าออกนั้น  (วัตถุประสงค์ของการนับ ก็เพื่อให้สติตั้งแน่วอยู่ได้ในอารมณ์ ตัดความคิดฟุ้งซ่านไปภายนอกได้นั่นเอง)


235 นี่วิธีเจริญสมถะ (สมาธิ) ล้วน จะใช้พุท-โธ ธัม-โม สัง-โฆ หรืออื่นๆนอกนี้  ก็เป็นการเจริญสมาธิ (สมถะ) เพียวๆ  ยังไม่เป็นสติปัฏฐาน ๔  และยังเป็นขั้นเตรียมเสบียงเดินทางให้พร้อมก่อน 9   ยังไม่ทันลงบันไดบ้านออกเดินทาง ซึ่งขณะเขาเดินทางยังต้องประสบอุปสรรคขวางหนามทั้งสุขทั้งทุกข์สารพัด   สุขก็สุขเหลือล้นอย่างที่ไม่เคยพบมาก่อนเลยในชีวิต  ทุกข์ก็ทุกข์ปางตาย     121   หลายรายญาติต้องพาส่งโรงพยาบาล  9   

 


Create Date : 01 พฤษภาคม 2567
Last Update : 7 พฤษภาคม 2567 7:37:06 น. 0 comments
Counter : 80 Pageviews.
(โหวต blog นี้) 

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 
space

สมาชิกหมายเลข 6393385
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
ผู้ติดตามบล็อก : 9 คน [?]






space
space
[Add สมาชิกหมายเลข 6393385's blog to your web]
space
space
space
space
space