รู้สึกตัว ผ่อนคลาย เฉย ๆ สบาย ๆ **กรุณา .อย่า.ได้บริจาคเงินให้ blog ผม ทาง e-wallet ครับ** **ผมขอสงวนสิทธิการเป็นเจ้าบ้านของ blog ลบข้อเขียนใดๆ ก็ได้ใน blog นี้ตามที่ผมเห็นสมควร**
Group Blog
 
<<
ธันวาคม 2557
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
28293031 
 
30 ธันวาคม 2557
 
All Blogs
 
ธรรมชาติ คือ อะไร

มีนักภาวนาถามผมว่า มีคำกล่าวจากครูบาอาจารย์บางท่าน ได้กล่าวว่า การภาวนานั้น เพื่อให้เข้าถีงความเป็นธรรมชาติ

คำถามอาจมีว่า แล้วอะไรคือ ธรรมชาติทีให้เข้าถีงจากการภาวนา

ในพรไตรปิฏก ไม่ได้กล่าวว่า การภาวนาเพื่อให้เข้าถีงธรรมชาติ แต่ในพระไตรปิฏกได้กล่าวถีงคำสอนของพระพุทธองค์ทีว่า อริยสัจจ์ 4 คือ แก่นแท้ของพุทธศาสนา ซี่งแก่นแท้นี้ จะนำพาให้สัตว์พ้นไปจากกองทุกข์ได้

อริยสัจจ์ 4 ข้อที 1 มีว่า ทุกข์ให้รู้
อริยสัจจ์ 4 ข้อที 2 มีว่า ตัณหา คือ เหตุแห่งทุกข์ ให้ละเสีย
อริยสัจจ์ 4 ข้อที 3 มีว่า นิโรธ คือ สภาวะแห่งการไม่ทุกข์ ให้ทำให้แจ้งขึ้นมา คือ ทำให้ปราฏกถีงความไม่ทุกข์ขึ้นมา
อริยสจจ์ 4 ข้อที 4 มีว่า มรรค คือ การปฏิบัติพื่อการพ้นไปจากทุกข์ ซี่งก็คือ มรรค 8

ในอริยสัจจ์ 4 ถ้าเกี่ยวเนื่องด้วยธรรม จะมีได้ 2 อย่าง คือ

1..สังขตธรรม (ธรรมทีแปรเปลี่ยนเป็นไตรลักษณ์ได้) ซี่งได้แก่ อริยสัจจ์ 4 ข้อที่ 1 ซี่งก็คือ ทุกข์

2..อสังขตธรรม (ธรรมทีไม่แปรเปลี่ยนเป็นไตรลักษณ์ ) ซี่งได้แก่ อริยสัจจ์ 4 ข้อที 3 ซี่งก็คือ นิโรธ สภาวะทีไม่ทุกข์

โดยส่วนตัว ผมไม่อาจจะรู้ได้แน่ชัดว่า คำกล่าวทีว่า การภาวนาเพื่อให้เข้าถีงธรรมชาตินั้น ผู้พูดเจตนาจะหมายถีงอะไร แต่ถ้าจะให้ผมเดา ผมเดาว่า ผู้พูดคงคงเจตนาจะบอกว่า ธรรมชาติ คือ นิโรธ สภาวะทีไม่ทุกข์

แต่ในเนื้อแท้แห่งธรรมในพุทธศาสนานั้น ถ้ากล่าวถีงธรรม จะต้องมีทั้ง สังขตธรรม คือ ธรรมทีแปรเปลี่ยนได้ และ อสังขตธรรม คือ ธรรมทีไม่แปรเปลี่ยน ถ้าจะตัดสังขตธรรมทิ้งไป ก็คงไม่ถูกต้องตามคำสอนแห่งอริยสัจจ์ 4

สำหรับสังขตธรรมนั้น เป็นทีแน่ชัด ก็คือ ขันธ์ 5
ส่วนอสังขตธรรมนั้นเล่า คือ นิโรธ หรือ นิพพาน

ผมคงไม่ต้องกล่าวถีง ขันธ์ 5 ท่านทีอ่าน blog ผม ผมเชื่อว่า ทุกท่านรู้แล้วว่า อ่านมามากแล้วว่า ฟังมามากแล้วว่า ขันธ์ 5 คืออะไร

สำหรับ นิโรธ หรือ นิพพาน นั้น ในตำรามีกล่าวว่า คือ สภาวะของการไม่มีทุกข์ สภาวะของการไม่กิเลส สภาวะของการสิ้นไปของตัณหา ซี่งตำรากล่าวไว้ถูกต้อง แต่คนอ่านอ่านแล้วก็ไม่รู้จักหน้าตาของนิพพานอยู่ดี

เพื่อจะเข้าใจสภาวะของ นิโรธ หรือ นิพพาน ได้นั้น ท่านสมควรเข้าใจสภาวะของทุกข์ และ ตัณหา เสียก่อนว่าเป็นอย่างไร

ในขันธ์ 5 นั้น ส่วนทีเป็น อายตนะ จะทำงานตลอดเวลา ถ้าคนยังไม่ตาย บางท่านอาจแย้งผมว่า ตอนนอน อายตนะ ไม่ทำงาน ซี่งผมไม่แย้งท่าน มันเป็นสิทธิของท่านทีจะเชื่อแบบนั้น แต่สิทธิของผม ก็คือ ถีงแม้จะนอน อายตนะ ก็ทำงานเสมอ ดังทีคนนอนต้องพลิกตัว เพราะเมื่อยขบ นี่เพราะอายตนะทำงาน คนถีงรู้ได้ว่า เมื่อยต้องพลิกตัว ถีงแม้หลับอยู่ก็ตามที

เมื่ออายตนะทำงาน แล้วไปรับรู้อายตนะภายนอกเข้ามา ถ้าจิตมีอวิชชาอยู่ จิตจะสร้างขั้นธ์ตัวอื่นขึ้นมาอีก คือ สัญญาขันธ์ และ สังขารขันธ์ ยกตัวอย่างเช่น พอตาเห็นดอกกล้วยไม้ ท่านก็จะรู้ว่าสิ่งทีเห็นคือกล้วยไม้ ดอกสวยดี ท่านก็ชอบใจ นี่คือ การเกิดขึ้นของสังขารขันธ์ และ สัญญาขันธ์ พอท่านชอบใจ ตัณหาก็เกิดขึ้น การยีดติดก็ตามมา นีคือ ขบวนการเกิดของทุกข์ทีเป็นธรรมชาติแบบนี้

ผมจะสรุปให้ท่านเห็นว่า ขบวนการเกิดของสังขตธรรมนั้น จะมี อายตนะ > ผัสสะ > ตัณหา1 > สัญญาขันธ์ > สังขารขันธ์ > ตัณหา2 > อุปาทาน

ตัวแสบของขบวนการข้างต้นจะมี 2 จุด

.......จุดแรกคือ ตัณหา2
เพราะมีตัณหาเกิด อุปาทานจึงเกิดตามมา
ถ้าขบวนการข้างบน ตัณหา2 ไม่เกิดซะอย่าง อุปาทาน ก็จะไม่เกิดขี้น
ในขบวนการทีจะหยุดตัณหาได้ ก็คือ สัมมาสมาธิ จิตตั้งมั่น

ถ้านักภาวนา มีสัมมาสมาธิ จิตตั้งมั่นเสียแล้ว ตัณหาจะถูกละด้วยสัมมาสมาธิ
ซี่งวิธีนี้คือ การดับทุกข์ด้วยสมาธิ

สิ่งทีทำให้เกิดอย่างนี้ได้ คือ การฝีกฝนสัมมาสมาธิทีตรงตามมรรค 8
ซี่งถ้าท่านฝีกได้ตรงตามมรรค 8 สักวัน สัมมาสมาธิของท่านย่อมแก่กล้า ทีละตัณหา2 ได้



.....จุดทีสองคือ ตัณหา1
ขบวนการดับทุกข์ของจุดทีสอง คือ ถีงแม้อายตนะทำงาน แต่ขบวนการเหล่านี้ไม่เกิดขึ้น คือ การเกิดของ ตัณหา1 > สัญญาขันธ์ >สังขารขันธ์

ท่านอาจแย้งผมว่า เป็นไปไม่ได้ ทีอายตนะทำงานแล้ว สัญญาขันธ์ จะไม่เกิดขึ้น
ซ๊่งเรื่องนี้ เป็นจริงได้ ดังทีมีกล่าวไว้ในพระไตรปิฏก คือ พาหิยะสูตร

ถีงแม้อายตนะทำงานได้อยู่ แต่พอสัญญาขันธ์ไม่เกิดขึ้น สังขารขันธ์ ก็ไม่เกิดขึ้น ตัณหา2ก็ไม่เกิดขึ้น ซี่งในพาหิยะสูตรได้กล่าวโดยย่อว่า เห็นสักแต่ว่าเห็น ได้ยินสักแต่ว่าได้ยิน.....

การดับทุกข์แบบนี้ คือ การดับทุกข์ด้วยปัญญา ทีไม่มีตัณหา1 ไปสร้างขันธ์ทีเป็นสัญญาขันธ์ และ สังขารขันธ์ ขึ้นมา

นักภาวนาจะเข้าถีงระดับนี้ได้ คือ การไม่มีตัณหา1 นั้นนักภาวนาต้องฝีกตามมรรค 8
ผ่านแบบการละตัณหา 2 ได้ก่อนอย่างชำนาญ จนจิตเห็นไตรลักษณ์ของขันธ์ 5
แล้วไปเห็นการสร้างขันธ์ด้วยตัณหา1 อย่างแจ้งชัด

เมื่อจิตเห็นการสร้างขันธ์ได้ จิตก็จะทราบว่า ทีแท้ ขันธ์นั้นถูกสร้างมาจากจิตด้วยตัณหา1
จิตเกิดการรู้แจ้ง ทำลายอวิชชา เกิดวิชชา อาสวักขยญาณ ขึ้นมาแทนอวิชชา

***************
สรุป ตามทีผมเข้าใจดังนี้

1..ธรรมชาตินั้นจะมี 2 อย่าง คือ สังขตธรรม และ อสังขตธรรม
2..การดับทุกข์ด้วยสมาธิ คือการดับตัณหา2 โดยทีมีสัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ ทำงานอยู่
การดับตัณหา2 ได้ก็มาจากการฝีกฝนสัมมาสมาธิทีถูกตามมรรค 8 จนจิตมีกำลังสมาธิตั้งมั่น
3..การดับทุกข์ด้วยปัญญา คือ การดับตัณหา1 แต่อายตนะทำงานอยู่ตามปรกติ แต่จิตหยุดสร้างสัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ขึ้น จึงเป็นสภาวะของนิโรธ หรือ นิพพาน
4..การละทุกข์จะต้องมาจากการละตัณหาให้ได้ ซี่งก็คือ สัมมาสมาธิ จิตตั้งมั่นนั่นเอง

หมายเหตุ ในสภาวะของนิโรธ หรือ นิพพาน นั้น
จิตจะไม่สร้างสัญญาขันธ์ขึ้นมา เพราะจิตไร้ตัณหา1
และ จิตไม่มีอวิชชาครอบงำ
เมื่อจิตไม่มีอวิชชาครอบงำ จิตก็จะเป็นสุญญตา หรือ ความว่างเปล่าขึ้นมา
นักภาวนาจะพบนิพพานได้ ก็คือ การพบกับสภาวะแห่งสุญญตาของตัวจิตและการหยุดสร้างขันธ์ของจิตเอง

สภาวะแห่งสุญญตานั้น ทำให้เกิดขึ้นไม่ได้ เพียงแต่นักภาวนามี ญาณเห็นจิต เกิดขึ้น
และจิตไร้ตัณหาเท่านั้น ก็จะพบกับสุญญตาสภาวะได้ทันที
สิ่งทียาก จะมี 2 อย่างคือ
1..ญาณเห็นจิต เกิดขึ้นแก่นักภาวนาหรือยัง
2..สัมมาสมาธิตั้งมั่นหรือยังจนเกิดจิตไร้ตัณหา1 จนจิตหยุดสร้างขันธ์ขึ้น
มี 2 สิ่งเกิดพร้อมกัน นิพพาน ก็พบได้เอง





Create Date : 30 ธันวาคม 2557
Last Update : 30 ธันวาคม 2557 20:31:13 น. 0 comments
Counter : 1450 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะ VIP Friend
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

นมสิการ
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 142 คน [?]




หลักปฏิบัติ ...รู้สึกตัว ผ่อนคลาย เฉย ๆ สบาย ๆ

มากกว่า 20 ปีที่ไปหลงทำสมถภาวนาแบบสมาธิแบบฤาษีโดยที่ไม่รู้จักกับคำว่า อะไรคือสัมมาสติ สัมมาสมาธิ ผลที่ได้คือความสงบขณะกำลังนั่งสมาธิจนตัวนิ่งแข็งเป็นก้อนหิน แต่ผลข้างเคียงตามมาก็คือการเป็นคนเจ้าโทสะอย่างรุนแรงขณะเวลาไม่ได้นั่งสมาธิ และ ที่อยู่ในชีวิตประจำวัน....

จนได้พบกัลยณมิตรแดนไกล ที่ได้ชักนำให้มารู้จักวิธีปฏิบัติแบบหลวงพ่อเทียน จนได้พบกับพระอาจารย์ในสายหลวงพ่อเทียน ที่ผมได้เรียนการปฏิบัติจากท่าน จนเข้าใจว่า สัมมาสติ สัมมาสมาธิ คืออะไร แล้วลงมือฝึกฝน การปฏิบัติก็รุดหน้าและได้ลิ้มรสสิ่งบริสุทธิในจิตใจอันเป็นผลจากการปฏิบัติด้วยเวลาเพียง 5 ปี

ธรรมปฏิบัติจากฆราวาสเขียนเป็นสิ่งที่ยอมรับได้ยากในสังคมไทย ผมรู้ได้จากที่เขียนใน blog ผมได้พบกับการก่อกวนใน blog การเขียนเหน็บแนม กระแหนะกระแหน ตำหนิการการปฏิบัติที่ผมเขียนใน blog ว่าผิดทาง เขียนแบบคาดเดาเอา ไม่รู้จริง ให้ผมหยุดเขียนแนวนี้ได้แล้ว และไปโมทนาสาธุแนะนำการปฏิบัติสมาธิแบบฤาษีให้กับผมอีกว่านี่คือทางที่ถูกต้อง ...

บทความใน blog จึงเกิดขึ้นมา เพื่อแบ่งปันประสบการณ์ในการภาวนา
แก่ผู้อื่นที่กำลังเดินทางในสายแห่งอริยมรรคนี้

เมื่อท่านได้เข้ามาอ่านข้อเขียนใน blog กรุณาอย่าได้เชื่อผมจนกว่า ท่านได้ทดลองปฏิบัติแล้วและพิสูจน์ด้วยตัวท่านเอง

**กรุณา .อย่า.ได้บริจาคเงินให้ blog ผมทาง e-wallet ครับ **

******
บทความต่าง ๆ ใน blog นี้
ขอสงวนสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537
ห้ามนำไปดัดแปลง ลอกเลียน หรือนำส่วนหนึ่งส่วนใดไปใช้โดยไม่ได้รับอนุญาต

****
New Comments
Friends' blogs
[Add นมสิการ's blog to your web]
Links
 
MY VIP Friend


 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.