การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรสังเกตุ คำเตือนบนฉลากก่อนดื่มทุกครั้ง
Group Blog
 
All Blogs
 

Sell in May and Go Away ใช้ได้กับการลงทุนในตลาดหุ้นเอเชีย?

ในช่วงตั้งแต่ต้นเดือน พ.ค. ที่ผ่านมา นักเคราะห์หลายสำนักทางฝั่งยุโรป และอเมริกา ไม่ว่าจะเป็น Goldman Sachs ไล่ไปจนถึง JPMorgan และ Zurich ต่างออกมาให้ความเห็นว่า “Sell in May and Go Away” นั้นก็หมายถึง ทำกำไรซะช่วงนี้ แล้วไปนั่งรอให้ตลาดปรับฐานลงมาจนถึงเดือน ก.ค. แล้วค่อยกลับไปซื้ออีกครั้งในเดือน ส.ค. หรือ ก.ย. แทน

ส่วนใหญ่ให้เหตุผลคล้ายๆกันว่า 1Q11 อาจเป็นไตรมาสที่มี Surprise ใน Earnings ของบริษัทจดทะเบียนมากที่สุดในปีนี้ (หมายถึง Surprise ด้านบวกนะครับ ไม่ได้หมายถึงตัว Earnings จริงๆ) ซึ่งเมื่อดูจากการเคลื่อนไหวของราคาดัชนีในตลาดหุ้นฝั่งอเมริกาและยุโรปแล้ว ก็ดูเหมือนจะจริงอย่างที่ว่า นั้นคือ เมื่อย้อนไปดูตั้งแต่ต้นปี Dow Jones บวกไปแล้ว 9.17%, S&P500 +6.56% ส่วนทางฝั่งยุโรป DJ Euro STOXX บวกไป 5.31% ในขณะที่ DAX ของเยอรมัน บวกไปแล้ว 8.36% ลองหันมาดูตลาดหุ้นฝั่งเอเชียกันบ้าง ตลาดที่ให้ผลตอบแทนดีที่สุดในเอเชียคือ KOSPI ของเกาหลีใต้ YTD บวกไป 4.70% นี่ดีที่สุดแล้วนะ ส่วนตลาดอื่นๆเฉลี่ยแล้วบวกราวๆ 1% เท่านั้น มีที่อาการหนักเลยก็คือ SENSEX ของอินเดีย ถือเป็น Worst Performer ของเอเชียเลยที่เดียว ลบไป -9.70%

อีกมุมมองหนึ่งที่เชื่อมโยงกับ Earnings ที่อาจพลาดเป้าจากที่นักวิเคราะห์ไว้ และสนับสนุนมุมมองว่า “Sell in May and Go Away” อาจเป็นทางเลือกที่ดี ก็คือ Developed Market โดยเฉพาะกลุ่ม EU กำลังจะเผชิญกับ Inflation ในช่วงครึ่งปีหลัง ซึ่งจะทำให้นโยบายการเงินของประเทศฝั่งนี้เริ่มรัดกุมมากขึ้น อย่างที่เราเห็นแล้วว่า ECB เริ่มส่งสัญญาขึ้นดอกเบี้ย ถึงแม้จะไม่ขึ้นแรงแบบ Aggressive เท่ากับเอเชียก็ตาม แต่ก็ทำให้มีแนวโน้มว่าเศรษฐกิจของกลุ่ม EU จะโตในอัตราที่ชะลอตัวลงใน 2H11 ด้วยเหตุผลนี้ กำไรก็ได้มาเยอะพอสมควรแล้วในช่วง 4 เดือนแรกของปีนี้ ก็เป็นการดีที่จะคิดถึงการลดพอร์ตไว้บ้าง

แต่... กับตลาดหุ้นฝั่งเอเชียละ จำเป็นต้อง “Sell in May and Go Away” ด้วยไหม?

อย่างที่บอกครับ ตลาดหุ้นเอเชียในช่วง 4 เดือนแรก แทบไม่ได้ไปไหน แถมบางตลาดอย่าง ดัชนี SENSEX ยังลงแรงด้วยซ้ำ แล้วจะไปหากำไรที่ไหนมาขายออก จะลดพอร์ตตอนนี้ก็ต้องขายขาดทุนสิ ใครจะกล้า?

พาไปดูข้อมูลย้อนหลัง Breakdown เป็นรายประเทศตั้งแต่ปี 1993-2010 ครับ


จะเห็นว่า ตลาดหุ้นในเอเชีย ไม่ได้มีลักษณะ หรือรูปแบบใดๆที่บ่งบอกว่า เดือน พ.ค. เป็นเดือนที่ตลาดหุ้นในเอเชียจะลงพร้อมกัน แต่จุดน่าสนใจอยู่ตรงที่ ตลาดหุ้นอินโดฯ เป็น Best Performer ในช่วงไตรมาสที่ 2 มาตลอด รวมถึงตลาดหุ้นจีนเองก็ให้ผลตอบแทนที่ดีในเดือน พ.ค. และเดือน มิ.ย. ด้วยซ้ำไป

ลองดูข้อมูลแบบ Seasonality ในแต่ละเดือน ย้อนหลังไปตั้งแต่ปี 1980 จนถึง 2010 ครับ


เดือนที่ส่วนใหญ่ให้ Negative Return จะอยู่ที่เดือน ส.ค. และเดือน ก.ย. ซึ่งตรงกับที่นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่มองกันไว้ว่า ให้กลับไปซื้อหุ้นอีกครั้งในเดือน ส.ค. หรือ ก.ย. แทน แต่ที่ไม่ตรงกันก็คือ ข้อมูลย้อนหลัง 30 ปีที่ผ่านมา ไม่ได้บ่งบอกว่า เดือน พ.ค. จะเป็น Top Cycle ของรอบ หากแต่เป็นเดือน ก.ค. มากกว่า ที่ควรลดพอร์ตลง เพราะเดือน ส.ค. ตลาดในเอเชียจะเจอแรงขายค่อนข้างหนัก

เหตุผลด้านสถิติย้อนหลัง เรารู้ไปแล้ว ว่าแต่ ทำไมในช่วง 4 เดือนแรก ตลาดหุ้นเอเชียไม่ยอมไปไหนซะที

1. สองปีที่ผ่านมา ตลาดหุ้นเอเชีย Outperform ภูมิภาคอื่นมาตลาด ดังนั้นแรงขาย การทำกำไรในช่วงต้นปีจะกดดันราคาหุ้นให้ขยับตัวไปได้ยาก
2. Inflation และการอ่อนค่าของ USD กดดันให้รัฐบาลของกลุ่มประเทศฝั่งเอเชียต้อง Tightening Policy เพื่อรักษาเสถียรภาพของระบบเศรษฐกิจ แต่ทางอ้อมก็คือ ทำให้ Growth โดยรวมชะลอตัวลงด้วย
3. หลายๆอุตสาหกรรม ใช้จังหวะในช่วงที่ Local Currency อ่อนค่าในการเพิ่ม CAPEX เพื่อเตรียมตัวขยายกำลังการผลิตใน Phase ต่อไป ซึ่ง CAPEX เหล่านี้ ปกติจะเห็นผลก็อย่างน้อยๆต้อง 6 เดือนขึ้นไป เพราะฉะนั้นในช่วงต้นปี บริษัทส่วนใหญ่อาจโชว์ Sales Volume ที่ยังคงอยู่ในระดับสูง แต่ Net income ออกมาดันกลายเป็นลดลง เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า สาเหตุก็เพราะเกิด Cost ขึ้นใน CAPEX นั้นเอง

มองเฉพาะเหตุผลในข้อที่ 3 เรื่องการเพิ่ม CAPEX ในไตรมาส 2 นี้อาจจะยังไม่เห็นผล แต่น่าจะเป็นปัจจัยบวกต่อผลการดำเนินงานของบริษัทจดทะเบียนในช่วงไตรมาส 3 เป็นต้นไป เป็นไปได้ว่า 2H11 ของปีนี้ ตลาดหุ้นเอเชียน่าจะกลับมาทำผลการดำเนินงานได้ดีกว่ายุโรปและอเมริกาโดยเปรียบเทียบ

คำถามสุดท้าย... ตลาดหุ้นจะหมดรอบกระทิง และกลายเป็นตลาดหมี เร็วๆนี้ไหม?

คำตอบคือ The time for concern about equity markets is when investors no longer worry and euphoria prevails …ตอนนี้เรากังวลไหมครับ? ถ้ามีความกังวลอยู่ ก็แสดงว่า เรายังห่างไกลจากคำว่า “Bear Market” ครับ

------------------------
โชคดีในการลงทุนครับ




 

Create Date : 10 พฤษภาคม 2554    
Last Update : 10 พฤษภาคม 2554 11:47:58 น.
Counter : 5335 Pageviews.  

ตลาดหุ้นจีนจะกลับมาเฉิดฉายในปีนี้?

เมื่อช่วงก่อนสงกรานต์ Derivatives Team ของ Citi ได้ออก Paper มาว่ากลับมาชื่นชอบจีนอีกครั้ง โดยเน้นเหตุผลไปที่ Surprise Inflation ใน EM จะเริ่มลดลง ทำให้ธนาคารกลางใน EM โดยเฉพาะเอเชีย จะกลับมาใช้นโยบายการเงินแบบผ่อนคลายได้ (ชะลอการขึ้นดอกเบี้ย) ซึ่งถือเป็นผลดีต่อเงินลงทุนที่สามารถไหลเข้ามาได้ในระยะกลาง ประกอบกับปัญหาหนี้ยุโรป ความเสี่ยงในการโดน Downgrade ลงของ US จากมุมมองของ S&P ก็สนับสนุนให้ Fund Flows อาจมีการเคลื่อนย้ายอีกครั้ง และที่ๆจะไป Citi ก็เชื่อว่า ไปหา EM และหนึ่งใน EM ที่น่าจับตา ก็คือ “จีน”

ในไตรมาส 2 นี้ ตลาดหุ้นจีนมีความน่าสนใจมากขึ้นจากอะไร?
· GDP Growth ยังโตต่อเนื่อง โดย Citi คาดว่าน่าจะอยู่ที่ระดับ 9.2% สำหรับปีนี้
· หมด QE2 ในช่วงเดือน มิ.ย. อเมริกาไม่น่าจะต่อ QE3 เนื่องจากเศรษฐกิจมีแนวโน้มฟื้นแล้ว และหากสร้างหนี้มากกว่านี้ อาจทำให้ปัญหาขาดดุลยิ่งเร่งตัวขึ้น ซึ่งการที่ QE2 หมดลง จะส่งผลให้ ประเทศในกลุ่ม EM จะ Import Inflation ลดลง แรงกดดันด้านเงินเฟ้อก็น่าจะชะลอตัวลงด้วย
· เงินเฟ้อ (Inflation) ของจีน เอง Citi คาดว่าจะลดลงในช่วงกลางปีนี้
· ช่วงเดือน 5-6 จะเป็นช่วงฤดูเก็บเกี่ยวข้าว และผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรอีกหลายอย่าง เม็ดเงินจำนวนมหาศาลจะไหลเข้า Household ในชนบทของจีนในช่วงนี้อย่างมีนัยมาตลอด 4-5 ปีที่ผ่านมา
· Earnings growth ของบริษัทจดทะเบียนที่มี Momentum ในเชิงบวกมาตั้งแต่ต้นเดือน เม.ย. จะยังคงอยู่ต่อไปอีกระยะหนึ่ง
· CAPEX Expansion ในช่วงปี 2009-2010 ใน Consumer Staples Sector และ Information Technology โตถึง 104% และ 64% ตามลำดับ น่าจะทำให้ธุรกิจสามารถดำเนินงานได้ในช่วงตั้งแต่ไตรมาส 3 ปีนี้ด้วยกำลังการผลิตที่เพิ่มขึ้น และทำให้ Earnings ทั้งปี 2011 นี้ออกมาดีขึ้น

ความเสี่ยงที่อาจจะเจอหากสนใจลงทุนในจีนและหวังผลตอบแทนที่ดีใน 6-12 เดือนข้างหน้า
· Inflation ของจีนอาจยังเร่งตัวสูงขึ้นต่อหากเกิดภัยธรรมชาติต่อเนื่อง
· หากอเมริกาต้องการออก QE3 ก็อาจทำให้ Inflation ในจีนยังคงสูงขึ้นต่อ ซึ่งไม่เป็นผลดี

แล้ว Citi มองเป้าหมายการลงทุนครั้งนี้ยังไง?
· ปัจจุบัน Shanghai A Share อยู่ที่ระดับ 3,000 จุด Citi ให้เป้าภายใน 6 เดือนข้างหน้าที่ 3,670 จุด หรือคิดเป็น Upside Potential >20%
· ปัจจุบัน Hang Seng อยู่ที่ระดับ 23,500 จุด Citi ให้เป้าภายในสิ้นปีนี้ที่ 26,500 จุด คิดเป็น Upside Potential ~8.5%
· ปัจจุบัน Hang Seng China Enterprise Index (H Share) อยู่ที่ระดับ 13,200 จุด Citi ให้เป้าปลายปีที่ 14,600 จุด คิดเป็น Upside Potential อยู่ที่ ~10%

------------------------
โชคดีในการลงทุนครับ




 

Create Date : 20 เมษายน 2554    
Last Update : 20 เมษายน 2554 23:27:36 น.
Counter : 2849 Pageviews.  

Global Emerging Markets Strategy

Update ตลาดโลกคราวที่แล้วไปตั้งแต่ต้นเดือน ก.พ. ที่ผ่านมา กลับไปตามอ่านอีกทีได้ที่นี้ครับ
//www.bloggang.com/viewblog.php?id=mrmessenger&date=09-02-2011&group=7&gblog=30
ประเด็นสำคัญจากการ Update ครั้งนั้น เราเห็น Developed Market วิ่งแรง (Outperform) มากกว่า Emerging Market ก็คือ

1) ไม่ DM ต้องลงแรงๆให้ Gap เท่ากับข้อมูลในอดีต (ถ้าตลาดเป็นขาลง)
2) 2) EM ต้องวิ่งขึ้นมาแทรง DM ในอนาคต (ถ้าตลาดเป็นขาขึ้น)

ทั้งนี้เพราะ EM มีค่า Beta สูงกว่า DM ทำให้ตอนที่ตลาดปรับตัวเด้งขึ้นมา EM จะ Rebound แรงกว่า DM ได้ทุกครั้ง เช่นเดียวกัน ถ้าขาลง ก็ลงแรงกว่าในบางช่วงนะ

ผ่านเข้าเดือนมี.ค. เหตุการณ์ที่ไม่มีใครอยากให้เกิดขึ้นก็เกิดกับประเทศญี่ปุ่น และฉุดให้หุ้นทั่วโลกดิ่งลงมา และการดิ่งลงมาครั้งนี้ หากพิจารณาดูจะพบว่า “DM ลงมาแรงกว่า EM” ตามรูปครับ จะเห็นว่า EM เคย Underperform สูงถึง -12.3% แต่มาตอนนี้เหลือ -8.1% แล้ว


ที่น่าจับตาก็คือ เหตุการณ์แผ่นดินไหว และการเกิดสึนามิที่ญี่ปุ่นในครั้งนี้ จะส่งผลอะไรต่อตลาดหุ้นใน Emerging Markets ในระยะยาวหรือเปล่า ไปดูกันครับ
อย่างแรก ไปดูตลาดหุ้น DM และ EM เทียบกับ TOPIX ของญี่ปุ่นในช่วงที่เกิดแผ่นดินไหวที่เมืองโกเบ ตอนปี 1995 จะเห็นว่า การที่ EM ลงแรง ถือเป็น Buying Opportunity เพราะถ้านับจากจุดต่ำสุดของการลง เปรียบเทียบกัน 3 ดัชนีแล้ว EM ให้ผลตอบแทนดีที่สุดเมื่อนับจากจุดต่ำสุด สาเหตุที่ตลาด EM ยังไปได้ต่อเพราะญี่ปุ่นต้องสั่งซื้อสินค้าและเครื่องจักรจากจีน หรือประเทศอื่นๆในเอเชียเพื่อสร้างงาน เพื่อฟื้นฟูประเทศ จึงเป็นผลดีต่อประเทศคู่ค้า และ Citi เชื่อว่าครั้งนี้ก็ไม่น่าจะแตกต่างไป



อย่างที่สอง ทำไม CITI ไม่คิดว่าเหตุการณ์ภัยธรรมชาติดังกล่าวจะส่งผลให้เงินลงทุนใน EM บางส่วนจะถูกขายออกไปและกลับไปอยู่ในสกุลเยน (JPY)
ในช่วง 5 วันทำการแรกหลังเกิดเหตุ ค่าเงินในประเทศ EM ลดลงเฉลี่ยถึง 6% เมื่อเทียบกับค่าเงินเยน ก่อนที่จะ Rebound กลับอย่างรวดเร็ว หลังจากที่กลุ่ม G7 มีมติเข้าแทรกแซงค่าเงินเยนในวันที่ 18 มี.ค. ที่ผ่านมา ซึ่งทำให้ค่าเงินเยน เมื่อเทียบกับสกุลหลักๆในกลุ่ม G7 มีแนวโน้มแข็งค่า >> และทำให้ค่าเงิน USD อ่อนค่าลง สิ่งนี้กดดันให้ กลุ่ม EM อาจชะลอการใช้นโยบายการเงินแบบตึงตัว (ขึ้นดอกเบี้ย) เพราะจะเป็นการเชื้อเชิญให้เงิน USD ไหลเข้า EM เหมือนช่วง Q3-Q4 ปีที่แล้วที่กดดันค่าเงินบาทลงไปถึง29.5 บาท/USD

แต่ทีม CITI Strategist ก็ให้ข้อสังเกตไว้ว่า
• บริษัทประกันยักษ์ใหญ่ในญี่ปุ่นแทบไม่ค่อยมีสัดส่วนการลงทุนในญี่ปุ่นเท่าไหร่ (เช่นเดียวกับ Pension Fund) ดังนั้นการขายหลักทรัพย์จากกลุ่มบริษัทประกันออกจาก EM น่าจะมีจำนวนไม่มาก และน่าจะจบไปแล้วตั้งแต่สัปดาห์แรกหลังจากเกิดเหตุแผ่นดินไหว
• สำหรับนักลงทุนรายย่อยในญี่ปุ่นที่ต้องการหลักทรัพย์เพื่อเพิ่มสภาพคล่อง มีแนวโน้มว่าการขายหลักทรัพย์จะมาจาก DM มากกว่าที่จะเป็น EM เนื่องจาก Long Term Projection ในมุมมองทางเศรษฐกิจ ยังให้อัตรการเติบโตของตลาดเกิดใหม่ที่สูงกว่าตลาดหุ้นในกลุ่มประเทศที่พัฒนาแล้ว
ด้วยสองเหตุผลข้าง ทำให้แรงเทขายในตลาด EM มีน้อย และเมื่อดูจากปัจจัยอื่นๆแล้ว กลับทำให้เงินลงทุนส่วนใหญ่ในโลกไหลเข้า EM มากกว่าในช่วงที่ผ่านมาด้วยซ้ำ


กลยุทธ์หลักจากผ่านเหตุการณ์ไปหลายอย่างในรอบ 3 เดือนที่ผ่านมา
1. จากเหตุการณ์ในอดีต เมื่อญี่ปุ่นได้รับผลกระทบจากแผ่นดินไหวครั้งก่อนหน้า ปีนั้นทำให้ GDP ของญี่ปุ่นชะลอตัวลงอย่างมีนัย แต่กลับทำให้ EM ดีขึ้น
2. DM เริ่มชะลอการ Outperform ลงหลักจากผ่านไป 3 เดือน เพราะมีแรงเทขายจากความไม่แน่นอน แต่เรายังไม่เห็นการ Rally ใน EM เลยนับตั้งแต่ US ประกาศแผน QE2 เมื่อเดือน พ.ย.
3. เราเชื่อว่า EM จะกลับมาชนะ DM ได้ในที่สุดใน 1-2 ปีข้างหน้า ยังคงคำแนะนำ “ทยอยสะสม”




 

Create Date : 31 มีนาคม 2554    
Last Update : 31 มีนาคม 2554 9:44:40 น.
Counter : 3121 Pageviews.  

ลงทุนยากจริงๆช่วงนี้ จะเล่นสั้นก็กลัวไม่คุ้ม Fee จะยาวก็ไม่แน่ใจว่าควรลงอะไร

Strategy Playbook ของ Citi Wealth Management เดือน ก.พ. ออกมา ปรากฏว่า นักวิเคราะห์ของเรายังคงแนะนำ Portfolio Recommendation แบบ 50:50 (50% ในหุ้น และ 50% ในตราสารหนี้) โดยก่อนหน้านี้ในช่วง Q4 ที่ผ่านมา แนะนำให้ลดพอร์ตหุ้นลด และเพิ่มน้ำหนักในตลาดตราสารหนี้แทน ด้วยสาเหตุที่ว่า พอร์ตการลงทุนในหุ้นกลุ่มตลาดเกิดใหม่เมื่อปีที่แล้ว ให้ผลตอบแทนเป็นที่น่าพอใจ และตลาดหุ้นฝั่งเอเชียและตลาดเกิดใหม่ทั้งหลายตกเป็นเป้าขายทำกำไรหลังจากนั้น (สังเกตได้จากตลาดหุ้นในกลุ่ม TIPs อินเดีย และแม้กระทั่ง A-Share ของจีน ที่เริ่มดูซึมๆ)


สาเหตุที่กลับมาคงพอร์ตแบบ Balance อีกครั้ง มาจากการให้เพิ่มพอร์ตระยะสั้นเข้าไปในภูมิภาคยุโรป (โดยให้น้ำหนักเฉพาะฝรั่งเศสและเยอรมัน) และอีกแห่งหนึ่งก็คือ ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งเป็นตลาดหุ้นที่ Underperform มากๆเมื่อเทียบกับกลุ่ม G10 ด้วยกัน

ตอนนี้ไปดูกันหน่อย ว่าทำไม Citi กลับมาชอบยุโรปและญี่ปุ่นตั้งแต่เดือน ม.ค. ที่ผ่านมา
• Valuation ของตลาดโดยรวมในยุโรปยังถือว่าถูก เมื่อเปรียบเทียบกับข้อมูลในอดีตย้อนหลังไป 10 ปี
• เมื่อเทียบ Valuation ของยุโรปกับอเมริกา ผลปรากฏว่า ยุโรปก็ยังถูกกว่าโดยเปรียบเทียบ ดังนั้น Upside Risk จึงสูงกว่าอเมริกาด้วย เช่นเดียวกันกับญี่ปุ่น ถึงแม้ Outlook ทางเศรษฐกิจไม่ดี แต่ตัวเลขเศรษฐกิจหลายๆตัวส่งสัญญาณว่าเจอ Bottom ไปแล้ว
แล้ว Emerging Markets หรือตลาดหุ้นฝั่งเอเชียล่ะ?• Citi กังวลว่า GDP Growth ของจีนจะลดลงในปี 2011 นี้ ซึ่งการลดลงในปีนี้ Citi มองว่าน่าจะกระทบกับการขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศในเอเชียด้วย
• Citi มองว่า Inflation Expectation ของประเทศในเอเชียมีน้อยเกินไป และเริ่มเห็นสัญญาณว่า Inflation มีอัตราเร่งที่สูง ซึ่งจะกดดันให้ประเทศเหล่านี้ขึ้นดอกเบี้ยต่อเนื่อง และการขึ้นดอกเบี้ยก็น่าจะทำให้เศรษฐกิจชะลอตัวลงเมื่อเทียบกับปี 2010


อย่างนี้ แปลว่า นักลงทุนคนไหนไม่มีพอร์ตในตลาด Developed Markets จำเป็นต้องเพิ่มเลยหรือเปล่า?
- ก่อนจะถามว่าควรเพิ่มหรือไม่ควรเพิ่มก็คือ คุณเชื่อ Citi หรือเปล่า? (แล้วส่วนใหญ่ก็ตอบเป็นเสียงเดียวว่า “ไม่”) ถ้าตอบว่าไม่ ก็ต้องกลับมาดูในมุมของ Technical และ Fundamental แล้วไปเลือกกันเอาเองอีกทีว่าสมควรลด/เพิ่มอะไรในพอร์ต แต่ถ้าเชื่อ ข้างล่างนี้ คุณไม่จำเป็นต้องอ่านให้ลังเลครับ เพิ่มเข้าไปได้เลย
- เชื่อบ้างไม่เชื่อบ้าง งั้นไปลองดู ในมุมมองเรื่อง Timing ว่า สมควรเพิ่ม Developed Markets ในพอร์ตตอนนี้เลยไหม ก็ขอให้ลองมาดูกราฟ


ดูดัชนี Dow Jones World Stock เราเริ่มเห็นกราฟพยายามสร้างรูปแบบ Bearish Divergence ในช่วง 1-2 เดือนที่ผ่านมา ซึ่งเมื่อมองในมุมของ Technical แล้ว Risk/Reward ของการลงทุน ณ จุดนี้ อาจไม่คุ้มเสี่ยง แต่รูปแบบการขึ้นแบบนี้ ก็เคยเกิดขึ้นมาแล้วในช่วงเดือน ก.ค. ถึง ธ.ค. ของปี 2009 แล้วค่อยมาปรับฐานทีเดียว ~10% ในช่วงต้นปี 2010 (ใช่ว่าจะลงอย่างเดียว) แต่ก็ล้างที่สะสมมาตั้งแต่เดือน ก.ย. หมดเลย แล้วค่อยนับใหม่ สรุปคือ เข้าตอนนี้ มีโอกาสได้กำไรไหม? ก็ต้องบอกว่ามีโอกาสครับ แต่ถึงเวลาต้องออก ก็ออกกันให้ทันด้วยก็แล้วกันจ้า

สมมติว่า ไม่เอา Developed Markets เข้าพอร์ตแล้วก็ได้ แต่ Emerging Markets นี่ ดูไม่น่ากลัวกว่าหรอ ข่าวร้ายชุกชม ไหนจะนโยบายของจีน ไหนจะเงินเฟ้อ ไหนจะพันธมิตร !
- Albert Einstein บอกไว้กันเราว่า “จินตนาการสำคัญกว่าความรู้” ตอนนี้อยากให้ลองจินตนาการดูก่อนนะครับว่า
o ตลาดหุ้นทั่วโลกสลับกันขึ้นระหว่าง EM กับ DM แต่สุดท้ายยังไม่มีตลาดไหนปรับฐานแรงๆเกิน 10% ให้เราเห็นเลย คิดว่าการขึ้นแบบนี้ไปเรื่อยๆ เป็นเรื่องที่ยั่งยืนไหม?
o หากตลาดหุ้นมีการปรับฐานในอนาคตอันใกล้ จะปรับตัวได้แรงถึงขั้นเหมือนช่วง Subprime ตอนปี 2008 ไหม?
สองคำถามนี้สำคัญครับ เพราะมันหมายถึง Roadmap การลงทุนของเราในปีนี้ทั้งปี และอาจมากกว่านั้นด้วย แต่สำหรับคำถามของ Citi เรายืนยันชัดเจน (ตรงนี้ต้องทำเสียงหล่อนิดเนิง ฮาๆ) ว่า โลกผ่านช่วง Recession ไปแล้ว และโอกาสเกิด Double Dips น้องมากๆ (ตลาดหุ้นตกลงไปแรงๆเหมือนปี 2008 ไม่น่าเกิดขึ้นอีก) หลังจากนี้ไป Fund Flows เงินลงทุนในโลก อาจวิ่งไปวิ่งมาสับสนหน่อย แต่ก็เป็นเพราะแสวงหาผลตอบแทนที่สูงขึ้น ไม่ใช่เพราะกลัวความเสี่ยง หรือกลัว Crisis อย่างแต่ก่อนครับ


ดูกราฟข้างบนนะครับ EM/DM Relative (เส้นสีดำ) ถ้าเส้นกราฟวิ่งขึ้น ก็แปลว่า Developed Markets วิ่งแรงและ Outperform ตลาดฝั่ง Emerging Markets ซึ่งล่าสุดช่วงเดือน ม.ค. ที่ผ่านมา EM แพ้อยู่ 6.6% เมื่อเทียบกับ 4 ครั้งที่มีการปรับฐาน EM เคยแพ้อยู่ที่ -14.5%, -14.9%, -10.3% และ -32.5% (ช่วง Subprime Crisis) ตามลำดับ

ถ้าอ้างอิงจากข้อมูลในอดีต ก็แปลได้สองทางครับ 1) ไม่ EM ต้องลงแรงๆให้ Gap เท่ากับข้อมูลในอดีต ก็ต้อง 2) DM ยังต้องเป็นเทรนขึ้นต่อไปโดยที่ EM อาจเทรดแบบ Sideway อยู่ตรงนี้ หรือเอาเร็วๆก็คือ EM ปรับตัวลง และ DM ยังวิ่งขึ้นไปพร้อมๆกัน แต่ EM จะลงแรง แล้วกลับมายากไหม ข้อมูลสถิติย้อนหลังบอกเราว่า EM ซึ่งมีค่า Beta สูงกว่า DM ตอนที่เด้งขึ้นมา EM ก็ Rebound แรงกว่า DM ได้ทุกครั้งครับ

ไปดูภาพสุดท้าย ข้อมูลย้อนหลังตั้งแต่ปี 1990 (ย้อนหลังไป 20 ปี) ในช่วงที่ตลาดหุ้นทั่วโลกเป็นขาขึ้น EM ให้ผลตอบแทนดีกว่า DM เสมอมา (ยกเว้นแต่ปี 1996 ปีนั้นปีเดียว ที่ตลาดหุ้นเริ่มเทรดด้วย Internet ในอเมริกาก่อน คนเลยให้ความสนใจกับตลาดหุ้นโน้นกันเยอะ)



นับตั้งแต่ปี 1999 เป็นต้นมา ปีไหนที่ตลาดหุ้นเป็นขาขึ้น ไม่มีปีไหนเลยที่ Emerging Markets แพ้ Developed Markets ครับ ไม่เชื่ออย่าลบหลู่ เพราะฉะนั้นที่ผมถ้าไปสองข้อว่า คิดว่าการขึ้นของตลาดหุ้นที่แบบนี้ไปเรื่อยๆ เป็นเรื่องที่ยั่งยืนไหม? และ หากตลาดหุ้นมีการปรับฐานในอนาคตอันใกล้ จะปรับตัวได้แรงถึงขั้นเหมือนช่วง Subprime ตอนปี 2008 ไหม? สาเหตุก็เพื่อให้นักลงทุนมองภาพจากจินตนาการกันก่อนครับว่า ถ้าเราคิดว่าตลาดหุ้นยังเป็นเทรนขาขึ้น ยังไงเสีย EM ก็ควรจะกลับมาชนะ DM ได้ และหากตลาดหุ้นทั่วโลกมีการปรับฐานลงมาแรงๆพร้อมกัน DM หรือ EM ที่เราควรเลือกลงทุน ลองคิดกันดู

ไว้คราวหน้า จะเขียนถึง Emerging Markets ว่า จะไปเลือกลงทุนที่ไหนดี วันนี้เยอะแล้ว พอก่อนน้อ...




 

Create Date : 09 กุมภาพันธ์ 2554    
Last Update : 9 กุมภาพันธ์ 2554 23:30:45 น.
Counter : 3110 Pageviews.  

S&P 500 ทำ New High แต่หุ้นไทยยังขอลีลา

ไม่ได้ Update ซะนานเลย ขอซักหน่อยครับ วันนี้ว่างพอดีๆ

S&P 500 ของอเมริกา เมื่อคืนนี้ปิดตลาดไปที่ 1,240 จุด ถือเป็นจุดสูงสุดตั้งแต่เดือน ก.ย. 2008 เลยทีเดียว หลักๆแล้วน่าจะมาจากความคาดหวังว่าเศรษฐกิจอเมริกาจะดีขึ้นในปี 2011 ที่จะถึง ด้วยสองเหตุผลคือ

1. โอบาม่า ตัดสินใจต่อมาตรการลดหย่อนภาษีไปอีก 2 ปี - มาตรการนี้ Goldman Sachs วิเคราะห์ว่า น่าจะทำให้ GDP ของปี 2011 ดีขึ้นราวๆ 0.5%-1.0% ทำให้มีการปรับประมาณการณ์ GDP ปีหน้าขึ้นมาจากเดิมราวๆ 2.0% เป็น 2.7%
- แต่ก็มีหลายฝ่ายมองกันว่า การต่ออายุมาตรการคงจะมีผลในระยะสั้นๆเท่านั้น และการทำเช่นนี้ จะทำให้รัฐฯสูญเสียรายได้ต่อเนื่อง อาจทำให้ Debt/GDP ไม่ลดลง นำมาซึ่ง Cost of Fund ที่สูงในระยะยาว

2. Trade Deficit ลดลงในเดือน ต.ค. มาอยู่ที่ $38.7 billion จากเดือน ก.ย. $44.6 billion คิดเป็น -13.2% ถือว่าเป็นข่าวดีที่มาช่วยสนับสนุน และลดแรงกดดันจากการตัดสินใจต่อมาตรการลดหย่อนภาษี (ที่ผ่านมา อเมริกาประสบปัญหาขาดดุลมายาวนานจากการเป็น Importer สินค้าหลายประเภทจากฝั่งเอเชีย)

ไปดูมุมมองทางเทคนิคผ่านกราฟรายวันกันบ้าง


ในรอบหนึ่งปีที่ผ่านมา ดัชนี S&P 500 ไม่เคยเทรดห่างจาก SMA15 ไปไกล ดังนั้นเราอาจเห็นการชะลอตัว (sideway) หรือ ปรับฐานย่อย ในกราฟราย ชม. ภายในวันจันทร์ถึงวันพุธที่จะถึง เพื่อรอให้ SMA15 วัน วิ่งมาทันแท่งเทียนแท่งสุดท้าย แนวรับระยะสั้นคือ แถวๆ 1,225 จุด High เดิมของคลื่นลูกที่แล้วครับ

ไปดูตลาดหุ้นฝั่ง Emerging Markets ผ่าน iShares MSCI Emerging Markets Fund จะเห็นว่า การขึ้นรอบหลังนี้ Underperform เมื่อเทียบกับ S&P 500 ซึ่งทำ New High ไปแล้ว สาเหตุมาจากความกังวลเรื่องเงินเฟ้อของจีน ซึ่งอาจนำไปสู่การขึ้นดอกเบี้ย และมีผลต่อตลาด Commodities ตามมา ซึ่งล่าสุด เช้าวันเสาร์นี้ ทางการจีนประกาศ ตัวเลข CPI เดือน พ.ย. ขึ้นมาที่ 5.1% ถือว่าสูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ และยังเป็นตัวเลขที่สูงสุดในรอบ 2 ปีทีเดียว ต้องมาดูกันว่า ตลาดจะยังกังวลเรื่องการขึ้นดอกเบี้ยอยู่ไหม หลังจากเพิ่งขึ้น RRR เป็นครั้งที่ 6 ในรอบ 1 ปี เมื่อวันศุกร์


กราฟ iShares MSCI Emerging Markets Fund ถึงแม้ MACD จะให้ Buy Signal ไปแล้วแต่ SMA15 ยังไม่ตัด SMA50 ก็ยังไม่ confirm ว่าตลาดจะขึ้นไปได้นะครับ ถ้าสัปดาห์หน้าตลาดเล่นทางลง ในเชิงกลยุทธ์น่าลดพอร์ตหุ้นลง เพื่อลดความเสี่ยง มากกว่าจะทยอยเพิ่มพอร์ต

เมื่อไปพิจารณาผ่าน Dollar Index แล้วก็จะไม่สงสัยว่าทำไมEmerging Markets ไม่วิ่งตาม S&P 500 ในรอบนี้ สาเหตุเพราะ Fund Flows ส่วนใหญ่ไหลกลับเข้า USD ไปก่อน หลังจากได้รับข่าวดีจากความคาดหวังเศรษฐกิจที่ดีขึ้นในปีหน้า ยิ่งไปดูตลาด Bond จะเห็นการ Sell Off ในพันธบัตรระยะกลาง และระยะยาว เพื่อปรับพอร์ตเข้า Risky Asset ในประเทศ เป็นอย่างนี้ ตลาดเกิดใหม่ อาจต้องพึ่งแรงซื้อจากสถาบันในประเทศแทนในเดือนสุดท้ายของปี


มาต่อกันที่หุ้นไทย
จากสถิติย้อนหลัง 2-3 ปีที่ผ่านมา กองทุน LTF&RMF เป็นตัวผยุงตลาดในช่วงสิ้นปีมาตลอด (สถาบันซื้อสุทธิมาตลอด 3 ปีให้หลัง) ปีนี้ก็เหมือนจะลุ้นได้อีก แต่ความเสี่ยงคือ ถึงแม้ต่างชาติจะกลับมาซื้อสุทธิ 6 วันทำการติดต่อกัน แต่ค่าเงินบาทก็แข็งค่าไม่มากนัก เมื่อเทียบกับเม็ดเงินลงทุนเข้าตลาดหุ้นไทยในช่วงก่อนหน้า แถมเพื่อนบ้านอย่าง Indonesia และ Philippines ก็ชะลอตัวตาม

แต่มองทางเทคนิคแล้ว หลังจากทำ W-Sharp ผ่าน 1,020 ขึ้นมาได้ ก็น่าลุ้นให้ SET Index ทะลุ 1,050 ก่อนสิ้นปี แต่หาก Pattern นี้เสีย (SET Index ขยับลงมาปิด Gap 1,020 จุด ก็ต้องรอปีหน้าแทนครับ) จุด Cut Loss คือ ต่ำกว่า 1,015 จุดลงมาโดยดู Emerging Markets ประกอบ


ส่วนตัวแล้ว ผมยังไม่เพิ่มพอร์ต ณ เวลานี้ เพราะ Fund Flows หยุดทำงาน และจุดซื้อครั้งสุดท้ายก็ไม่ห่างจากตรงนี้มากนัก มีแต่อยากจะลดความเสี่ยงลงยิ่งขึ้น ยิ่งขาย มากกว่า ^^

------------------------
โชคดีในการลงทุนครับ

ปล. วิเคราะห์ไว้เมื่อวันเสาร์ ใช้ข้อมูลเดิมของคืนวันศุกร์ พอดี Bloggang Server ล่มเลยไปดึงจาก google มาใหม่ครับ




 

Create Date : 13 ธันวาคม 2553    
Last Update : 13 ธันวาคม 2553 23:33:25 น.
Counter : 3375 Pageviews.  

1  2  3  4  5  6  7  

Mr.Messenger
Location :
กรุงเทพ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 61 คน [?]




Head, Investment Consultants Citigold Citibank N.A. (Thailand)
free hit counter
click here
free hit counter
Friends' blogs
[Add Mr.Messenger's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.