โลกนี้มีมาก่อนผู้คน แต่โลกจะทนอยู่ได้นานสักเท่าใด

ถ้าเงินหมื่นแสนล้านถูกผลาญไป ใช้สร้างอาวุธมายัดใส่มือคน
 
SA-15 ทอร์ ระบบป้องกันทางอากาศชนิดแม่นมาก

9K-330 Tor หรือ SA-15(รหัสนาโต้) เป็นระบบป้องกันทางอากาศระยะใกล้ชนิดอัตตาจร มีชุดเรดาห์และท่อยิงอาวุธบนรถรวมเป็น1ระบบ ใช้ป้องกันพื้นที่ระดับกองพล ก่อนเข้าถึงระยะปตอ.ระยะใกล้อีกแบบคือ9K-33ทังกุสก้า
Image
ทอร์ออกช่วงท้ายทศวรรษที่1970 โดยกำหนดรหัสว่า 9K-330 โดยเน้นภารกิจทำลายเป้าหมายทางอากาศจำพวก อากาศยาน ลูกระบิดทิ้งจากอากาศยาน อากาศยานไร้คนขับ ขีปนาวุธร่อน หัวรบจากขีปนาวุธพิสัยใกล้ เรียกว่าทำลายเป้าหมายทุกชนิดที่อยู่ในระยะยิงด้วยความแม่นยำสูงสุด ตอบสนองเป้าหมายสูงสุด การตรวจจับสูงสุด แต่ยังไม่ได้ระบุถึงขั้นทำลายระดับกระสุนปืนใหญ่มาตราฐาน155มม.ลงมาถึงระดับปืนค.

ให้สารภาพตรงๆผมเองก็ยังไม่เข้าใจเมื่อเห็นภาพทอร์เป็นครั้งแรกๆ เพราะมันไม่มีท่อยิงจรวดหรือลูกจรวดให้เห็นมองเผินๆเหมือนฐานเรดาห์ซะมากกว่า
Image
ทอร์มีทั้งหมด3รุ่นคือรหัส9K-330/331/332หรือ Tor-M/M1/M2 ส่วนรุ่นใช้งานทางเรือคือ9K-95หรือSA-N9 และรุ่นที่ผลิตในจีนชื่อHQ-17
ทอร์ถูกออกแบบให้ทดแทน SA-8 เก็คโค่ ที่เป็นอัตตาจรเช่นกันแต่ไม่ค่อยได้เรื่องในประสิทธิภาพเมื่อเจอเป้าหมายที่มีประสิทธิภาพสูงและในช่วงปี1970-1980หลายประเทศ(กลุ่มนาโต้)เริ่มพัฒนาระเบิดนำวิถี(PGM)เข้ามาใช้อย่างกว้างขวาง
จึงมีข้อกำหนดในการพัฒนาระบบ ทอร์ ออกมาดังนี้
1.อาวุธพร้อมยิงในระยะเวลา3-5วินาที
2.ลูกจรวดพร้อมยิงไม่ต่ำกว่า10นัด
3.หัวรบรุนแรงพอที่จะทำลายระเบิดนำวิถีและหัวรบได้
4.ค่าใช้จ่ายของลูกจรวดใน1นัดต้องไม่แพงกว่าระเบิดนำวิถีหรือหัวรบที่จะเข้าทำลาย(คือให้มันสมราคาหน่อย)
5.ลูกจรวดทดแรงจีได้สูงมากถึง10จี
ข้อกำหนดที่ออกมาจึงทำให้ ทอร์ เป็นระบบแรกๆที่เน้นการทำลายระเบิดร่อนและหัวรบมากกว่าอากาศยานโดยตรง

คณะรัฐมนตรีของโซเวียตจึงพิจารณาโครงการในปี1975-1983 เพื่อพัฒนาระบบทอร์ทั้งของกองทัพบกและกองทัพเรือ
ระบบทอร์ เป็นระบบป้องกันทางอากาศอัตตาจรขนาดกลาง เน้นความสามารถในการข้ามภูมิประเทศ โดยตัวรถรุ่นGM-335 โดยยานรบ1ระบบจะมี
Image
1.TAR เรดาห์สำหรับค้นหาเป้าหมาย
2.TTR เรดาห์สำหรับเกาะติดเป้าหมาย
3.กล้องTVสำหรับเกาะติดเป้าหมายอัตโนมัติ(สำรอง)
4.ความพิวเตอร์ประมวลผลความเร็วสูง ระบบข้อมูลดาวเทียม
5.จอแสดงผลข้อมูลสำหรับผบ.รถ ศูนย์อำนวยการยิง
6.อุปกรณ์สร้างรหัสคลื่นวิทยุหลายช่องทาง
7.ซองบรรจุลูกจรวดจำนวน8นัด ช่องล่ะ4นัด
8.เครื่องกำเหนิดไฟฟ้าสำรองเครื่องยนต์แก๊สเทอร์ไบน์ ( ทอร์ M-1 )
จึงทำให้ทอร์ สามารถกำหนดเลือกเป้าหมาย ยิงเป้าหมาย ในขณะที่แท่นยิงเคลื่อนที่อยู่ได้

TAR เป็นเรดาห์ครอปโกเปอร์ เรดาห์ค้นหาเป้าหมายมีมุมกวาดทางกว้าง ในเวลา1วินาที โดยหมุน1รอบกวาดทางสูง4มุม 4องศาแบ่งเป็น8ระดับรวม32องศา โดยเน้นความละเอียดในการค้นหาเป้าหมายในทุก4องศาไล่ระดับลงมา และมุมค้นหาสูงสุด64องศา
Image
MTIเกาะติดเป้าหมายทั้งความเร็วสูงและต่ำในครั้งเวลาเดียวกัน(ไม่เกิน10เมตร/วินาที) โดยแยกเกาะติดเป้าหมายต่างกัน ในขณะเดียวกันยังป้องกันการก่อกวนระบบเรดาห์ เมืื่อเรดาห์ค้นหาเป้าหมาและแยกแยะเป้าหมายออกจากกันแล้วคอมพิวเตอร์จะทำการประเมินภัยคุกคาม จากทิศทางและความเร็วที่เข้ามาในระยะตรวจจับของเรดาห์ โดยในระยะ18-22ก.ม. ค้นหาเป้าหมายRCS 0.1m2 แต่ความละเอียดก็ขึ้นอยู่กับความเร็วเป้าหมายโดยจะละเอียดสุดที่ระยะ12ก.ม.
ในรุ่น M-1 อัพเกรดในปี1991 เกาะติดเป้าหมายได้พร้อมกัน4เป้าหมายแล้วเลือกยิงทำลาย หรือเกาะติดเป้าหมายอัตโนมัติ ขณะสลับโหมดจะมีการสแกนเกาะติดเป้าหมายความละเอียดในระดับความสูงทุก7องศาและทางกว้าง3องศา
โดยการเกาะติดเป้าหมายของจรวดที่ยิงไปยังเป้าหมายนั้นมีการสั่งการชุดแรกที่แท่นยิงและตัวลูกจรวดผ่านจอมอนิเตอร์ภายในรถ และการเกาะติดแบบที่สองด้วยจอทีวีที่เกาะติดเป้าหมายอัตโนมัติ เพื่อเพิ่มความเร็วในการสลับระบบเกาะติดเป้าหมาย โดยมีใช้ในรุ่น M-1
Image

M-1 ใช้เวลาในการต่อต้านเป้าหมาย3.4-10.6วินาที(ต่างจากความต้องการที่วางไว้3-5วินาที) ขึ้นอยู่กับสภาวะอากาศและการต่อต้านทางอิเล็คทรอนิคที่รุนแรงระดับใด ซึ่งจะใช้เวลาเพิ่มขึ้นราว2วินาที ในการสลับโหมดเพื่อเน้นค้นหาเป้าหมายทุก8องศา
ทอร์ M-1 มีรุ่นที่เป็นรถลากเรียกว่า9A332/9A331MK พัฒนาโดยเบราลุส ใช้รถบรรทุก MZKT-6922 6x6 เพื่อตอบสนองเรื่องความคล่องตัวและความสามารถในการป้องกันพลประจำรถ
Image
และรถตัวนี้ยังนำมาใช้เป็นฐานให้รุ่น M2 ซึ่งรัสเซียก็สนใจไปติดตั้งบนรถKAMAZ เช่นกันเพื่อลดค่าใช้จ่ายที่ต่ำกว่่า
Image
ภาพด้านบน ทอร์ M-1T ใช้รถบรรทุกลาก
ระบบ ทอร์ M-1 มีระบบแผนที่ดาวเทียมในการเคลื่อนที่ ระบบคอมพิวเตอร์ประมวลผลและมีช่องทางในการค้นหาและประมวลแยกจากกันเพื่อเสริมความเร็วในการเกาะติดและทำการยิงเป้าหมาย

Image
SA-15D หรือ 9K-332 ทอร์ M-2/M-2E(ส่งออก) เป็นรุ่นปรับปรุงใหม่ใช้เรดาห์PESAR คอมพิวเตอร์ใหม่ โดยยังมีแท่นยิงเป็นรถบรรทุกล้อยางหรือรถสายพานก็ได้ ซึ่ง ทอร์ M-2 นั้นเป็นรุ่นที่เทพสุดในขณะนี้ก็ว่าได้สำหรับภารกิจป้องกันทางอากาศแบบสแกนละเอียดทุกองศาในรัศมี22ก.ม. เพดาน6ก.ม. คงจะเหลือแต่กระสุนปืนใหญ่ ปืนค. เท่านั้นที่ไม่ได้กล่าวถึง

Image
Image
เรดาห์PESA ของJSC พลาโทซอน ที่รุ่น M-2 ใช้นั้นสามารถเกาะติดเป้าหมายสูงสุด48เป้าหมาย เลือกเกาะติดเป้าหมายสำคัญที่อันตรายสูงสุด10เป้าหมายเพื่อยิงทำลาย เสริมด้วยระบบElectro-Optical

ลูกจรวด9M-330 เอกลักษ์เฉพาะคือแท่นปล่อยเรียกบ้านๆคือดีดให้ลอยสูงจากท่อยิงในแนวดิ่ง ขึ้นไป21เมตรแล้วทำการจุดระเบิด เหตุที่โซเวียตใช้การยิงลักษณะนี้เพื่อเพิ่มความเร็วในการต่อตีเป้าหมาย
Image
Image

ลูกจรวดบรรจุในซองยิงจำนวน4นัด รถยิง1คันจะมีซองบรรจุ2ซองรวม8นัด รูปทรงจรวดเหมือน 9เค-33 ใช้เชื้อเพลิงแข็งในการขับเคลื่อน
เมื่อทำการยิงหมดต้องใช้เวลาถึง18นาที ในการบรรจุใหม่
Image

ระบบทอร์นั้น ถ้าวางเป็นชุดยิงเต็มระบบ ทอร์ จะมี4แท่นยิงกระจายกำลังทั่วพื้นที่ป้องกันหน่วยกองพล รถเติม/ลำเลียงลูกจรวด3คัน รถบังคับการ1คัน รถทหารช่างอีก3คัน และสนับสนุนด้วยรถรถเรดาห์กำลังสูงสำหรับวางกำลังป้องกันอีกอย่างล่ะ1คัน

รุ่นต่างๆของระบบ Tor
-ZK95 Dagger หรือ SA-N 9
Image
เปิดตัวในราวปี1986 ระยะยิง12ก.ม. เกาะติดเป้าหมายได้พร้อมกัน4เป้าหมายและ1แท่นยิงมี8นัด
ระบบเรดาห์และควบคุมการยิง9R-95 สามารถควบคุมปืนAKM-630 เพื่อยิงทำลายเป้าหมายในระยะประชิดได้ ระยะตรวจจับ45ก.ม.ที่ความสูง3.5ก.ม.

-9K-330 Tor M
Image
รุ่นที่เปิดตัวในปี1986และได้ชื่อว่าเป็นระบบยิงทางดิ่งแบบแรกของโลก

-9K-331 Tor-M1
Image
รุ่นที่เข้าประจำการในกองทัพโซเวียตในช่วงปี1991ปรับปรุงระบบเรดาห์ใหม่ คอมพิวเตอร์ใหม่

9K-331 Tor-M1TA
Image
เป็นรุ่นลากจูงโดยใช้ตัวรถ ยูราล5323 เป็นรถบังคับการและเทรเลอร์ลากแท่นยิง

9K-331 Tor-M1B
Image
เป็นแท่นลากแยกห้องควบคุมการยิงและแท่นยิงออกจากกัน

9K-331 Tor-M1TS
Image
เป็นรุ่นสำหรับวางกำลังป้องกันสถานที่

9K-331 Tor-M1/2U
รุ่นที่เปลี่ยนเครื่องยนต์ใหม่

9K-332 Tor-M2
ใช้เรดาห์PESAR คอมพิวเตอร์ควบคุมการยิงแบบใหม่ ขีดความสามารถในการเกาะติดเป้าหมายสูงขึ้น48เป้าหมาย ลำดับเป้าหมายอันตรายสุดได้10เป้าหมายและทำการยิงทำลายได้พร้อมกัน4เป้าหมาย
Image
Tor-M2E รุ่นส่งออกและเปลี่ยนเป็นรถบรรทุกล้อยาง รวมถึงจรวด9M-334รุ่นใหม่
Tor-M2K รุ่นปรับปรุงตัวรถจากM2E โดยMZKTของเบลารุส

Tor-M2KM
Image
เป็นรุ่นติดตั้งบนรถบรรทุก TATA เป็นตัวที่อินเดียในปี2013 เน้นความคล่องตัวในการเคลื่อนที่เพื่อป้องกันเขตอุตสาหกรรมและเขตเมือง

สรุปได้ว่าระบบทอร์เป็นระบบป้องกันทางอากาศของดีแบบหาตัวจับยากในการป้องกันชนิดที่ยิงทำลายแบบพลาดเป้าไม่ได้ ที่รัสเซียก็ไม่ค่อยเปิดเผยข้อมูลออกมามากนัก


Create Date : 21 ตุลาคม 2557
Last Update : 21 ตุลาคม 2557 13:23:58 น. 0 comments
Counter : 4358 Pageviews.  
 
Name
* blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Opinion
*ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet

ลิงน้อยเอ็นจอยเขียน
 
Location :
กรุงเทพ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 10 คน [?]






" ผมไม่ได้บ้าฝรั่ง แต่ผมชอบในความมีอารยะของเขา แต่ฝรั่งเลวๆผมก็เกลียดเป็นเท่าตัวเหมือนกัน "



New Comments
[Add ลิงน้อยเอ็นจอยเขียน's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com