เมษายน 2558
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
2627282930 
 
20 เมษายน 2558
 

20 เมย.เตือนให้รำลึกถึงท่านอ.หม่อมคึกฤทธิ์ ปราโมช

    20 เมย.เตือนให้รำลึกถึงท่านอ.หม่อมคึกฤทธิ์ ปราโมช

                                                  เตือนใจ เจริญพงษ์

“ 20 เมษายน ” เวียนมาอีกครั้ง

หวนระลึกถึง“ท่านอาจารย์หม่อมคึกฤทธ์ ปราโมช “

ปราชญ์ผู้ทรงอัจฉริยะหาใครเทียบ

อีกทั้งเป็นปูชนียบุคคลของไทยและของโลกที่ทรงคุณค่ายิ่ง

........................................................................................................

วันนี้เป็นวันคล้ายวันเกิดของท่าน

และทุกปีในอดีต ถนนทุกสายจะมุ่งตรงไปยังบ้านสวนพลู

เหตุเพราะท่านเป็น…นักปราชญ์

…..นักเขียน

  ……นักการเมือง

…… ศิลปินแห่งชาติ

จะมีนักการเมืองสักกี่คน

ที่ได้รับยกย่อง ว่าเป็น “ เสาหลักประชาธิปไตย”

สไตล์การทำงานและผลงานของราชนิกูลท่านนี้

มักเป็นปฏิปักษ์ต่อการเผด็จการทุกรูปแบบ

คำพูดประโยคหนึ่งที่ประกาศก้องท่ามกลางบรรยากาศ

เผด็จการเหล่านั้น…..ก็คือ "กูไม่กลัวมึง" นั่นเอง

.......................................................................................................

ท่านเป็นน้องชายแท้ ๆของ หม่อมราชวงศ์เสนีย์ปราโมช

อดีตนายกรัฐมนตรี 4 สมัย

สื่อมวลชนจึงนิยมเรียกทั้งคู่ว่า"หม่อมพี่ หม่อมน้อง"

ท่านเป็นผู้ก่อตั้พรรคก้าวหน้า ต่อมาได้ยุบรวมกับพรรคประชาธิปัตย์ในปีถัดมา

ต่อมาก่อตั้งหนังสือพิมพ์สยามรัฐ และก่อตั้งพรรคกิจสังคม เมื่อ พ.ศ. 2517

ดำรงตำแหน่งเป็น นายกรัฐมนตรี คนที่ 13 ของประเทศไทยเมื่อ พ.ศ.2518

โดยสามารถเป็นแกนนำตั้งรัฐบาลทั้งที่มีจำนวน ส.ส.ในมือเพียง 18 คน

รัฐบาลคึกฤทธิ์ในครั้งนั้นมี นายบุญชู โรจนเสถียร ผู้ร่วมก่อตั้งพรรคกิจสังคมเป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง มีนโยบาย "เงินผัน"

เป็นที่รู้จักเลื่องลือทั่วไปในสมัยนั้น

.................................................................................................................................

ก่อนดำรงตำแหน่ง นายกรัฐมนตรี

หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช เคยรับบทเป็นนายกรัฐมนตรี 

ของประเทศแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ประเทศหนึ่ง

 ชื่อว่าประเทศ สารขัณฑ์ ในภาพยนตร์เรื่อง TheUgly American (1963)

คู่กัมาร์ลอน แบรนโด เมื่อ ปี พ.ศ. 2506

.................................................................................................................................

ระหว่างการเล่นการเมือง หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ 

มีบุคลิกที่โดดเด่นเป็นตัวของตัวเองที่ทุกคนรู้จักดี

คือ..... วาทะศิลป์ 

......และบทบาทเป็นที่ชวนให้จดจำ เช่น 

การผวนพูดเล่นชื่อของตัวเองเมื่อมีผู้ถามว่าหมายถึงอะไร 

โดยตอบว่า "คึกฤทธิ์ ก็คือ คิดลึก" เป็นต้น

..............................................................................................................................

หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ได้รับฉายาจากนักการเมือง และสื่อมวลชนมากมาย

เช่น

......... "เฒ่าสารพัดพิษ" 

..........."ซือแป๋ซอยสวนพลู"

................................................................................................................................

ภายหลังเมื่อมีอาวุโสสูงวัยจนสามารถแสดงความเห็นทางการเมือง

ได้อย่างตรงไปตรงมา โดยไม่ต้องเกรงกลัวอิทธิพลใดๆ

จึงได้รับฉายาว่า "เสาหลักประชาธิปไตย"

................................................................................................................................

คิดว่าหลายท่านยังจดจำการเปรียบเปรย “นโยบายเงินผัน” อันโด่งดังของท่าน 

ที่ว่า…

“เปรียบไปก็เหมือนกับที่รัฐบาล

พยายามเอาน้ำใส่ถังมาตั้งให้ราษฎรที่ศาลากลางจังหวัด

เพื่อให้ราษฎรมาหามมาหิ้วเข้าไปยังหมู่บ้านของตนเอง

เป็นเรื่องไม่แปลกที่น้ำจะหกตามรายทางกว่าถึงหมู่บ้านบ้าง

แต่ว่าน้ำที่หกนั้นราดรดลงบนผืนแผ่นดินของประเทศนี้ 

พืชผักก็จะงอกงามเขียวขจี เอาเป็นว่าพวกข้าราชการจำนวนไม่น้อยนั้น

คอร์รัปชั่นมาตลอดทั้งชีวิต รัฐบาลของจะให้ราษฎรคอร์รัปชั่นบ้างจะเป็นอะไรไป”

.................................................................................................................................

ผลงานของท่านชนิดที่ใครหยิบอ่านแล้ว แทบไม่อยากวาง

เพราะมีอรรถรสอันเลอเลิศเหลือหลาย

ได้แก่ สี่แผ่นดิน ไผ่แดง ซูสีไทเฮา สามก๊กฉบับนายทุน ราโชมอน หลายชีวิต

นายทุน กาเหว่าที่บางเพลง เป็นต้น (อยากให้เด็ก เยาวชน รุ่นใหม่ได้อ่านกัน)

รวมทั้งงานเขียนคอลัมม์ของท่าน

…ซอยสวนพลูหนังสือพิมพ์สยามรัฐ 

....ชาวกรุง

ที่ผู้คนยุคนั้นติดตามอ่านกันทุกวัน

ถือเป็นการกำหนด agenda ที่สำคัญของการเมืองก็ว่าได้

จนได้รับการเชิดชูเป็นศิลปินแห่งชาติสาขาวรรณศิลป์ประจำ พ.ศ. 2528 

.................................................................................................................................

เมื่อครั้งที่ท่านเป็นนายกรัฐมนตรี

ได้เปิดสัมพันธไมตรีทางการทูตกับจีนแผ่นดินใหญ่

โดยท่านได้จับมือกับท่านประธานเหมาผู้ยิ่งใหญ่

และได้รับการต้อนรับจากจีนอย่างสมเกียรติจริงๆ

ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมชป่วยด้วยโรคหัวใจต้องเข้ารับการผ่าตัด

ที่สหรัฐอเมริกา เมื่อพ.ศ. 2530 และเข้ารับการรักษาพยาบาลเรื่อยมาเป็นระยะๆ 

จนกระทั้งถึงแก่อสัญกรรม ณ โรงพยาบาลสมิติเวช กรุงเทพฯ 

เมื่อวันที่ 9 ตุลาคม พ.ศ.2538

................................................................................................................................

ผู้เขียนเป็นแฟนตัวยงที่หลงใหลงานเขียนของท่าน

ทั้งหนังสือ บทความ ข้อคิดเห็นต่างๆเสมอมา

ดีใจเป็นที่สุดที่ในชีวิตได้มีโอกาสปรึกษาข้อราชการกับท่านที่บ้านสวนพลู

และได้สนทนางานอีกครั้งที่กรุงปักกิ่ง ประเทศจีน

ขอคารวะคุณงามความดีของท่านที่ได้อุทิศให้กับชาติบ้านเมืองมาโดยตลอด

.................................................................................................................................

ผศ.ดร.สมหมาย จันทร์เรือง

ผู้ช่วยอธิการบดี และคณบดีคณะนิติศาสตร์ ม.สยาม

เผยแพร่มติชน 21 เมย.2558 ดังนี้












ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช นับเป็นปราชญ์ท่านหนึ่ง

ที่มีความรอบรู้หลากหลายสาขา โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านการเมืองการปกครองและการศาสนา

 หากนำแนวคิดทั้งสองด้านนี้มาบูรณาการย่อมเกิดประโยชน์ต่อสังคมไทยอย่างกว้างขวาง 

กอปรกับเป็นวันรำลึกถึงท่าน คือวันที่ 20 เมษายน 2558 (วันคล้ายวันเกิด) 

สมควรนำแนวคิดเหล่านี้มาเสนอหรือกระตุ้นสำนึกทางการเมือง 

และแนวคิดทางการเมืองทั้งปัจจุบันและในอนาคต

ความเป็นมาของการเมืองแนวพุทธ

พุทธศาสนามีความเจริญรุ่งเรืองมากในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช 

หลังจากนั้นพุทธศาสนาได้เลือนหายไปทีละสาย 

แม้ประเทศศรีลังกาที่พุทธศาสนามีรากฐานมั่นคง

ในยุคนั้น ก็เสื่อมสลายลง เหลือที่มั่นสุดท้ายในแผ่นดินสุวรรณภูมิอันเป็นผลงานการวางรากฐาน

ของพระธรรมทูตต่างประเทศ โดยมีพระโสณะและพระอุตตระเป็นหัวหน้า 

แต่พุทธศาสนาในแผ่นดินสุวรรณภูมิ ในลาว กัมพูชา หรือเมียนมาร์(พม่า) 

เริ่มเสื่อมถอยลง เพราะการเมืองของประเทศนั้นๆ 

และการเปลี่ยนแปลงของโลกสมัยใหม่จนพุทธศาสนาเหลือปราการสุดท้ายบนผืนแผ่นดินไทย 

ที่เป็นที่พึ่งของสังคมและแนวคิดทางการเมืองไทยมาทุกยุคทุกสมัย

เมื่อย้อนไปพุทธศตวรรษที่ 19 สยามได้รับอิทธิพลจากพุทธศาสนานิกายลังกาวงศ์

 เกิดคติที่ถือว่าพระมหากษัตริย์ทรงเป็นจักรพรรดิ หรือธรรมราชา 

พระมหากษัตริย์ทรงเป็นผู้นำให้คนทั้งหลายประพฤติตนตามหลักธรรมทางพุทธศาสนา 

พระมหากษัตริย์หรือพระราชา คือผู้ซึ่งทำให้คนทั้งหลายยินดี หรือปกครองให้ราษฎรมีความสุข 

ดังนั้น จึงต้องทรงถึงพร้อมด้วยทศพิธราชธรรม ถึงพร้อมในการทำหน้าที่ผู้ปกครองรัฐ

ตามหลักสังคหวัตถุ มีหลักการของจักรพรรดิที่เป็นใหญ่เหนือกษัตริย์อื่น 

และการสร้างสัมพันธไมตรีกับกษัตริย์ที่ปกครองเมืองขึ้นเมืองออกอย่างชัดเจน 

ในเรื่องเหล่านี้ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช ได้อรรถาธิบายและเสนอแนวคิดทางการเมืองการปกครอง

ที่น่าสนใจหลายประเด็น

ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช กับแนวคิดทางพุทธศาสนา มีการเขียนวิพากษ์วิจารณ์เรื่องราวต่างๆ 

แล้วนำมาเปรียบเทียบกับหลักธรรมที่อธิบายให้เข้าใจได้ง่ายๆ 

จึงอาจกล่าวได้ว่าท่านเป็นนักเขียนไทยคนเดียวที่นำหลักธรรมทางพุทธศาสนา

มาเขียนเป็นบทความและนวนิยายได้มากกว่านักเขียนคนอื่นๆ ในประเทศไทย

 นอกจากนี้ท่านได้เป็นคนแรกที่นำความคิดการสอนวิชาพุทธศาสนาเข้าไปเป็นวิชาที่

นักศึกษาชั้นปีที่หนึ่งของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ต้องเรียนก่อนไปเรียนวิชาเฉพาะทางของ

แต่ละคณะวิชา ซึ่งในระยะแรกนั้นได้นิมนต์สมเด็จพระญาณสังวรก่อนเป็นพระสังฆราช

สอนวิชาพุทธศาสนาคู่กับ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช

ภาพรวมแห่งชีวิตของ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช ถือเป็นพุทธมามกะคนหนึ่ง

ที่ได้นำหลักธรรมมาใช้มาปฏิบัติ และมาสอนแก่ผู้อื่นได้อย่างเหมาะสมแก่กาลเทศะตลอดมา 

เพราะท่านเชื่อว่าหลักธรรมของพระพุทธเจ้านั้นเป็นอกาลิโก คือ 

จริงแท้แน่นอน ไม่เปลี่ยนแปลงไปด้วยกาลเวลา

งานเขียนเกี่ยวกับพุทธศาสนาหลายชิ้นได้ให้สติแก่สังคม 

ให้สติแก่กิจกรรมทางการเมืองและบทบาททางการเมืองของท่าน

ในช่วงที่ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนที่ 13 (พ.ศ.2518-2519)

 ย่อมมีหลักธรรมทางพุทธศาสนาหรือการบริหารงานแนวพุทธอยู่เป็นอันมาก

ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช กับการเมืองแนวพุทธ

แนวคิดทางการเมืองแนวพุทธของ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช 

ปรากฏชัดเจนในวรรณกรรม ธรรมแห่งอริยะŽ ซึ่งได้พิมพ์เป็นตอนๆ 

ในหนังสือพิมพ์สยามรัฐรายวัน ตั้งแต่วันที่ 25 สิงหาคม 2512 ถึงวันที่ 10 มกราคม 2513 

แล้วจึงพิมพ์รวมเล่มครั้งแรกเมื่อเดือนเมษายน 2537 

เนื้อหากล่าวถึงความเจริญและวัฒนธรรมของชนเผ่า อริยะŽ หรือ อารยะŽ 

ซึ่งสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็ได้ถือชาติกำเนิดในชนเผ่านี้

ในการปกครองของชนเผ่าอริยะ ปกครองด้วยหลักธรรมแห่งพุทธศาสนา 

ซึ่งมีความเจริญรุ่งเรืองมากในยุคการปกครองของพระเจ้าอโศก 

หรือที่ศาสนาพุทธเรียกว่าพระเจ้าศรีธรรมาโศกราช หลักการปกครองของพระเจ้าอโศก

เป็นผลของคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าโดยตรง คำสอนหลักธรรมแห่งการปกครองมี 2 ระบอบ 

คือ

1.ระบอบสาธารณรัฐ หรือวาหิกคณะ ใช้ อปริหานียธรรมŽ

 คือ ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความไม่เสื่อม 7 ประการ 

เป็นหลักธรรมะที่ปรากฏอยู่ในมหาปรินิพพานสูตร และอรรถกถาสุมังคลวิลาสินี ทีฆานิกายมหาวรรค


 หลักธรรมข้อนี้ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช มิได้อธิบายขยายความไว้ในวรรณกรรมธรรมแห่งอริยะ

2.ราชาธิปไตย หรือธรรมราชา คือ ธรรมแห่งพระเจ้าแผ่นดิน 

ได้แก่ ทศพิธราชธรรม 10 ประการ สังคหวัตถุ 4 ประการ 

และจักรวรรดิวัตร 12 ประการ ซึ่ง ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช 

ได้อรรถาธิบายการปกครองของพระเจ้าอโศกที่ใช้หลักธรรมทั้งสามนี้เป็นส่วนใหญ่

ภูมิหลังและแนวคิดทางการเมือง

ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช มีความพร้อมในการเป็นปราชญ์ เพราะมีปัจจัยเอื้อหลายประการ 

กล่าวคือ ชาติกำเนิดเป็นราชนิกุล มีการศึกษาขั้นสูงจากสถาบันต่างประเทศที่มีชื่อเสียง

ในการสร้างผู้นำมีไหวพริบ ฉลาด มีความรู้ด้านหลักธรรมทางพุทธศาสนา 

มีความสามารถด้านวรรณกรรม เป็นนักหนังสือพิมพ์ และมีประสบการณ์ทางการเมือง 

ทำให้มีอัตลักษณ์หลากหลายที่ถือเป็นแบบอย่างแก่สังคมไทย 

จึงขออภิปรายตามกรอบการวิเคราะห์ของ 

ผศ.ทวี สุขฤทธิกุล สาขาวิชารัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช (2547 : 408-416)

(1) ความเป็นพวกกษัตริย์นิยม (royalist) และพวกหัวเก่า (conservatist)

แนวคิดทางการเมืองแนวพุทธ คือ ธรรมราชา และการปกครองแบบราชาธิปไตย 

จากการวิเคราะห์วรรณกรรมธรรมแห่งอริยะ ที่ยกหลักการปกครองของพระพุทธเจ้า 

ซึ่งทรงสั่งสอนธรรมแห่งการปกครองสองระบอบ คือ อปริหานียธรรม สำหรับ สาธารณรัฐŽ 

หรือ วาหิกคณะŽ และธรรมแห่งพระเจ้าแผ่นดิน คือ ทศพิธราชธรรม 10 สังคหวัตถุ 5 

และจักรวรรดิวัตถุ 12 ปรากฏเนื้อหาเป็นธรรมแห่งพระเจ้าแผ่นดินโดยไม่ได้กล่าวถึง

สาระของการปกครองระบอบสาธารณรัฐ และยังยกตัวอย่างการปกครองของพระเจ้าอโศก

ที่เป็นธรรมราช ซึ่งปกครองในแบบราชาธิปไตย โดยเชื่อมโยงมาถึงการปกครองสมัยอยุธยา

ที่รับแบบแผนการปกครองของอินเดียตามคติความเชื่อของศาสนาพราหมณ์-ฮินดู

มาเป็นกฎระเบียบการปกครอง เรียกว่า พระธรรมศาสตร์Ž แสดงความเป็นพวกกษัตริย์นิยม 

และพวกหัวเก่าอย่างชัดเจนของ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช

(2) ความเป็นพวกหัวก้าวหน้า หรือเสรีนิยม (progressive or liberalist)

มีความคิดเป็นอิสระเสรี เชื่อมั่นในตัวเองสูง ไม่ยึดติดรูปแบบเดิม มีนโยบายบริหารที่แปลกใหม่ 

และมีความกล้าหาญในการตัดสินใจ มีเหตุผล ยืนยันจากการเปิดสัมพันธไมตรี

กับประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีนที่ให้การสนับสนุนพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย 

การนำคณะรัฐมนตรีไปเยือนปักกิ่งเป็นครั้งแรกท่ามกลางความขัดแย้งทางการเมือง

และเสียงคัดค้านจากบางกลุ่ม นับเป็นความกล้าหาญและเชื่อมั่นในตนเอง

ของ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช

อย่างไรก็ตาม ในวรรณกรรมธรรมแห่งอริยะ ได้กล่าวถึงการใช้หลักธรรมทางพุทธศาสนา

ของพระเจ้าอโศก ซึ่งเปิดสัมพันธไมตรีกับประเทศเอกราชต่างๆ มีการส่งราชทูตไปเจริญ

ทางพระราชไมตรีเช่นเดียวกับการดำเนินรัฐประศาสโนบายของ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช 

เมื่อสมัยเป็นนายกรัฐมนตรี

(3) ความเป็นพวกปฏิบัตินิยม (pragmatistic)

มุ่งผลสำเร็จมากกว่าการยึดติดกรอบหรืออุดมการณ์ใดๆ 

ได้แก่ การกำหนดคำขวัญของพรรคกิจสังคมในสมัยที่เป็นรัฐบาลว่า เราทำได้Ž 

เน้นผลงานตามคำแถลงนโยบาย ทำให้เกิดผลที่ประจักษ์หลายโครงการ 

ได้แก่ เงินผันประกันราคาพืชผล สภาตำบล กองทุนหมู่บ้าน 

ซึ่งเป็นนโยบายและโครงการที่รัฐบาลต่อไปนำไปเป็นตัวอย่างจนกลายเป็นนโยบายประชานิยมในปัจจุบัน

(4) ความเป็นพวกประชาธิปไตย (democratist) เคารพศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์

 แม้ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช เป็นราชนิกุล หรือชนชั้นสูงทางสังคม 

แต่เข้าใจความเป็นอยู่ของคนระดับล่าง ไม่เลือกชนชั้น สามารถประสานความต้องการ

ของกลุ่มต่างๆ ที่หลากหลายจากการเป็นรัฐบาลผสม และรับฟังเสียงข้างน้อย 

ใช้การประนีประนอมที่เน้นประโยชน์ส่วนรวมเป็นหลักการในประเทศ

จุดเด่นที่สำคัญ คือ ประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขสอดคล้อง

กับความเป็นกษัตริย์นิยมของ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช ทำให้การปกครองของไทย

ในสมัยต่อมาเป็นประชาธิปไตยที่มีค่านิยมเทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์ตราบถึงปัจจุบัน

(5) ความเป็นพวกสังคมนิยม (socialist)

มุ่งกระจายความเสมอภาคในทางเศรษฐกิจและสังคมแก่ประชาชน 

โดยเฉพาะอย่างยิ่งชาวนาและเกษตรกรนี้เป็นประชากรส่วนใหญ่ 

โดยถืออุดมการณ์ว่า ทุกข์ของชาวนา คือ ทุกข์ของแผ่นดินŽ 

ถ้าจะให้ประเทศไทยก้าวสู่การพัฒนาต้องแก้ไขปัญหาของชาวนาเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้น นโยบายสำคัญ คือ เงินผันจึงเป็นจุดเด่นของรัฐบาลพรรคกิจสังคม

และ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช รวมถึงการประกันราคาพืชผลการเกษตร 

การจัดตั้งสภาตำบล ซึ่งต่อมามีบทบาทอย่างมากสำหรับการปกครองท้องถิ่น 

อันเป็นการกระจายความเสมอภาคทางเศรษฐกิจที่เป็นรูปธรรม 

และเป็นตัวอย่างของการบริหารประเทศในรัฐบาลชุดต่อมา

(6) ความเป็นพวกอำนาจนิยม (authoritarianism)

เนื่องจาก ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช มีความเชื่อมั่นในตนเองสูง 

จึงมีความเด็ดขาดจนถูกมองว่าเป็นคนอารมณ์ร้าย และถือความคิดตนเองเป็นใหญ่ 

(Autocracy) แต่มีหลักธรรมทางพุทธศาสนาในการดำเนินชีวิต รู้จักระงับอารมณ์ใช้สติ

ความมีเหตุผล และมีอารมณ์ขัน ทำให้ภาพลักษณ์ที่สาธารณชนพบเห็นยอมรับได้ 

เมื่อเปรียบเทียบกับความเป็นปราชญ์และความศรัทธาจากสังคม

(7) ความเป็นพุทธหรือพุทธนิยม (Buddhism)

มีความรอบรู้เข้าใจหลักธรรมทางพุทธศาสนาในลักษณะของโลกียธรรมอย่างดี 

ถ่ายทอดให้ผู้อื่นเข้าใจได้ เมื่อเข้าสู่การเมืองและมีบทบาทบริหารประเทศ

จึงเกิดแนวคิดทางการเมืองแนวพุทธ ทั้งในวรรณกรรมการนำใช้ชีวิตประจำวัน

และการเป็นนายกรัฐมนตรี

อนึ่ง ความเป็นพุทธนิยมของ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช 

ยังแสดงออกถึงแนวคิดการปกป้องพุทธศาสนาจากข้อเขียน

และการวิจารณ์ในบทความของหนังสือพิมพ์สยามรัฐถึงความเชื่อที่งมงาย 

ความเชื่อไสยศาสตร์ และการแสดงพฤติกรรมไม่เหมาะสมของภิกษุสามเณร 

ตลอดจนแสดงความเห็นโต้ตอบพระภิกษุที่มีบทบาทเป็นที่นิยมรับของพุทธศาสนิกชน

 เช่น ท่านพุทธทาสภิกขุ เป็นต้น

ธรรมราชากับราชาธิปไตย

ดังได้กล่าวมาแล้วถึงแนวคิดทางการเมืองของ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช 

ที่เป็นกษัตริย์นิยม (royalism) และพุทธนิยม (Buddhism) 

ซึ่งตรงกับคุณลักษณะของ ธรรมราชาŽ คือ พระราชา 

หรือพระมหากษัตริย์ที่ทรงใช้หลักธรรมในการปกครองอาณาประชาราษฎร์ 

อันเป็นผู้นำการปกครองประเทศไทยมาแต่โบราณ

ด้านอำนาจอธิปไตย คือ อำนาจสูงสุดในการปกครองประเทศ 

เมื่ออดีตเป็นพระราชอำนาจของพ่อขุน (สมัยสุโขทัย) พระราชา (สมัยอยุธยา) 

และพระมหากษัตริย์ (สมัยรัตนโกสินทร์) ซึ่งมีพระราชอำนาจสิทธิขาดแต่เพียงพระองค์เดียว 

เรียกว่า สมบูรณาญาสิทธิราชย์Ž การปกครองลักษณะนี้คือ การปกครองแบบ ราชาธิปไตยŽ 

ที่คนไทยยอมรับมาเป็นเวลานาน จนเป็นวัฒนธรรมทางการเมืองของไทย 

ยังผลให้สถาบันพระมหากษัตริย์ หรือพระราชาอยู่ในฐานะที่ควรเทิดทูน 

ผู้ใดจะละเมิดมิได้ แม้เปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบอบประชาธิปไตย 

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรทุกฉบับเน้นชัดเจนถึงการปกครองประเทศไทย 

คือการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

ความโดดเด่นของธรรมราชากับราชาธิปไตยยังคงอยู่ในระบบการเมืองการปกครองปัจจุบัน

มีปัจจัยสำคัญจากวัฒนธรรมการปกครองของไทย 

ความมีพระปรีชาสามารถของพระมหากษัตริย์ไทยที่คนไทยส่วนใหญ่เชื่อว่า

เป็นผู้มีบุญบารมีเหนือคนทั่วไปทั้งปวง เช่นเดียวกับราชานักปราชญ์ (Philosopher King) 

ตามแนวคิดทางการเมืองของเพลโต้ (Plato)

ดังนั้นไม่ว่าการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองจะเป็นอย่างไร 

พรรคการเมืองใดเป็นรัฐบาล มีการยึดอำนาจเป็นเผด็จการ 

หรือเกิดวิกฤตทางการเมืองในกรณีใดๆ พระมหากษัตริย์ 

หรือพระราชาจะเข้ามามีส่วนได้รับการกล่าวถึงหรืออ้างอิงเสมอ

กล่าวโดยสรุป

แนวคิดทางการเมืองแนวพุทธของ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช

 คือการปกครองที่ใช้หลักธรรมทางพุทธศาสนาในการปกครอง 

ได้แก่ ทศพิธราชธรรม สังคหวัตถุ และจักรวรรดิวัตร 

ซึ่งสามารถนำมาใช้กับการเมืองการปกครองและการบริหารของไทยในปัจจุบัน

 โดยเฉพาะอย่างยิ่งทศพิธราชธรรม ได้นำมาประยุกต์กับการบริหารองค์การภาครัฐ

และภาคเอกชนอย่างกว้างขวาง

สำหรับการปกครองของประเทศไทยด้วยระบอบประชาธิปไตย

อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขสอดคล้องกับหลักธรรมราชาหรือราชาธิปไตย

 ที่ผู้นำการปกครองต้องกอปรด้วยคุณธรรมจริยธรรมตามหลักธรรมทางพุทธศาสนา 

โดยความซื่อสัตย์สุจริตและความกล้าหาญเป็นคุณสมบัติที่สังคมไทยต้องการมากที่สุด

นอกจาก ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช 

ได้นำเสนอแนวคิดทางการเมืองแนวพุทธผ่านทางนวนิยาย

และบทความในหนังสือพิมพ์แล้ว ยังได้แสดงบทบาทดำรงตน

และดำรงความเป็นผู้นำทางการเมืองตามหลักธรรมทางพุทธศาสนา 

อันถือเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับนักการเมืองและการบริหารบ้านเมืองไทยใ

นทุกยุคทุกสมัย/จบ

 ขอขอบคุณมติชน 

และผศ.ดร.สมหมาย จันทร์เรืองผู้ช่วยอธิการบดี และคณบดีคณะนิติศาสตร์ ม.สยาม


......................................................................................................................................




Create Date : 20 เมษายน 2558
Last Update : 19 กันยายน 2558 5:55:48 น. 0 comments
Counter : 1335 Pageviews.  
 
Name
* blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Opinion
*ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet

justice0009
 
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 7 คน [?]




[Add justice0009's blog to your web]

MY VIP Friend

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com