bloggang.com mainmenu search



เมื่อคราวที่ลงเรื่อง วัดเจดีย์ปล่อง

ท่านที่ใช้หนามแฝงว่า หนานเตอะ แนะนำว่า

ว่าง ๆ ช่วยไปถ่ายรูป เจดีย์วัดกู่เต้า มา ลงบ้างก้อดี

และวัดนี้ก็ตั้งใจจะไปนานแล้ว เพิ่งมีโอกาสแวะ









เป็นวัดที่อยู่ติดสนามกีฬาจังหวัดเชียงใหม่

ซึ่งเดิมเป็นที่จัดงานฤดูหนาว

คนที่เกี่ยวข้องกับการจัดงานจะมีบัตรให้เข้าไปจอดรถที่วัดนี้

งานฤดูหนาวกับวัดกู่เต้าในความรู้สึกของเราจึงเป็นของคู่กัน








งานฤดูหนาวเชียงใหม่เริ่มต้น พ.ศ. 2471

จัดขึ้นเพื่อ แสดงผลิตผลของนักเรียน โรงเรียนฝึกหัดครูช้างเผือก

หรือมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ในปัจจุบัน

เรียกว่า "งานแสดงพืชผล"

จัดงานที่ สนามโรงเรียนยุพราชวิทยาลัย เป็นเวลา 7 วัน

พ.ศ. 2474 การจัดงานดังกล่าวได้ชะงักไป

พระยาอนุบาลพายัพกิจ (ปุ่น อาสนจินดา) ปลัดมณฑลพายัพ

ได้จัดงานขึ้นใหม่และเปลี่ยนมาเป็นงานฤดูหนาว

ให้เป็นงานรื่นเริงประจำปีของชาวเชียงใหม่

กำหนดวัตถุประสงค์ในการจัดงานไว้ 3 ประการ

1 เพื่อหาเงินบำรุงด้านการศึกษา

2 เพื่อหาเงินช่วยเหลือด้านการสาธารณสุขโดยเฉพาะเด็กกำพร้า

3 เพื่อหาเงินสนับสนุนการเพาะปลูก สัตว์ พาหนะและปศุสัตว์

จัดงานที่เดิมคือ สนามโรงเรียนยุพราชวิทยาลัย

ในวันที่ 31 ธันวาคม - 6 มกราคม

จนปี พ.ศ. 2493 เปลี่ยนสถานที่จัดงานเป็นสนามกีฬาจังหวัดเชียงใหม่

Pictuer Trails งานฤดูหนาวเชียงใหม่ คลิก

แล้วย้ายมาจัดด้านหลังศาลากลางปัจจุบัน ตั้งแต่เมื่อ ?








ทวนให้เพื่อลำดับเวลา

พระเจ้าติโลก (ราชวงศ์มังรายลำดับที่ 9 )

ทรงมีพระโอรสชื่อท้าวบุญเรือง ซึ่งเป็นพระราชบิดาของพระยอดเชียงราย

ท้าวบุญเรืองถูกใส่ความโดยนางหอมุขสนมเอกพระเจ้าติโลกว่าจะก่อกบฎ

พระเจ้าติโลกจึงให้ปลงพระชนม์

แล้ว ให้พระยอดเชียงรายเป็นพระอุปราชและครองเชียงรายแทน

เมื่อพระเจ้าติโลก สวรรคต

พระเจ้ายอดเชียงรายได้ถวายพระเพลิงที่วัดเจ็ดยอด

และสร้างเจดีย์บรรจุกระดูกไว้ที่นั่น


จาก เจดีย์วัดกู่เต้ามีลักษณะคล้าย เจดีย์ปล่อง

ซึ่งจะปรากฏในรัชกาลของพระเจ้ายอดเชียงรายเท่านั้น

จากเรื่อง เจดีย์ล้านนานี่น่าสนใจจริง ... เจดีย์ปล่อง ... เชียงใหม่ คลิก ทั้งสามเจดีย์มี 7 ชี้น

สันนิษฐานว่า เดิมอาจคล้ายเจดีย์ปล่อง 5 ชั้น

และคงได้มีการบูรณะอย่างต่อเนื่อง

จนกลายเป็นมีรูปร่างคล้ายบาตรพระหรือผลแตงโมซ้อนลดหลั่นขึ้นไป 5 ชั้น

... บะเต้า แปลว่า แตงโม , บะน้ำ แปลว่าน้ำเต้า เจ้า ...








จากตำนานว่า

พระเจ้าอโนรธาเมงสอ หรือ เจ้าฟ้าสารวดี

ปฐมราชวงศ์ของชาวพม่าที่พระเจ้าบุเรงนองราชบิดา

ส่งมาปกครองแคว้นล้านนา (พ.ศ. 2121 - 2150)

พ.ศ. 2127 สมเด็จพระนเรศวรมหาราช

ทรงประกาศอิสรภาพจากพม่า

ทรงตีอาณาจักรล้านนา เจ้าฟ้าสารวตีต่อสู้มิได้

จึงทรงสวามิภักดิ์ในปี พ.ศ. 2139

และสมเด็จพระนเรศวรมหาราช

ก็ทรงให้เจ้าฟ้าสารวตีแห่งราชวงศ์พม่าปกครอง

จนสิ้นพระชนม์ที่เมืองเชียงใหม่ในปี พ.ศ. 2156

พระมหามังชวยเทา พระอนุชาได้จัดถวายเพลิงพระศพ

และโปรดให้สร้างสถูปเจดีย์กู่เต้าเพื่อบรรจุอัฐิและพระอังคารธาตุ

ในบริเวณดงก่อใผ่ จึงได้ชื่อว่าวัดเวฬุวันกู่เต้า หรือ วัดกู่เต้า

ปัจจุบันมีชื่อเป็นทางการว่า วัดเวฬุวันวนาราม




















ด้านตะวันออก พระพุทธรูปปูนปั้นปางมารวิชัย ศิลปแบบมัณฑเล








เจดีย์

ตั้งอยู่บนฐานเขียงสี่เหลี่ยม








ถัดขึ้นไปเป็นฐานแปดเหลี่ยม ย่อมุม เพื่อให้รับกับเรือนธาตุทรงกลม








เรือนธาตุมีลักษณะทรงกลม คล้ายแตงโม ซ้อนลดหลั่นกัน 5 ชั้น

ในแต่ละด้านมีซุ้มประดิษฐานพระพุทธรูป

เหนือซุ้มมีลายวงกลม ซึ่งศิลปแบบตะวันตก

ที่แพร่มาดินแดนล้านนาในสมัยพม่าทำไม้สัมปทานกับ อังกฤษ


























เหนือเรือนธาตุเป็นองค์ระฆังขนาดเล็ก ประดับลวดลายกระจก และยอดฉัตร







พระพุทธรูปที่ประดิษฐานในซุ้มในรูปเก่า

ปัจจุบันไม่แน่ใจว่าเป็นองค์ไหนในวิหสารชั้นล่าง














ที่วิจิตรมาก








วิหาร














เสาไม้สีแดง




















พระประธาน ... ชั้นบนวิหาร








พระอุโบสถ








สรุปว่าวัดกู่เต้ามีเจดีย์เก่า

ส่วนอื่นที่สร้างใหม่ก็วิจิตร น่าชมมาก








จากคอมเม้นท์ของอ้ายหนานเตอะ

เล่าว่า

มีนิทานเกี่ยวกับตอนสร้างเจดีย์นี้เป็นมุโขโลกนะ ว่า

สมัยหนึ่งมีข้าศึกต่างเมืองอาจเป็นเมืองฮ่อมารบกับเชียงใหม่และเข้มแข็งมาก

จนเจ้าเมืองเชียงใหม่เห็นจะสู้ไม่ได้

จึงใช้ทูตเจรจามาแข่งกันสร้างเจดีย์

ถ้าใครสร้างเสร็จก่อนก็เป็นผู้ชนะจะได้เมืองไป

แรกๆ ก็ก่อสร้างไปเรื่อยพอสร้างเลยจากฐานขึ้นมา

ทางเชียงใหม่เห็นจะนานเกินไป

จึงใช้ไม้ไผ่สานเป็นรูปน้ำเต้าแล้วทาด้วยปูนขาว จนถึงยอด

แล้วประดับด้วยฉัตรจึงแล้วเสร็จอย่างรวดเร็ว

ส่วนเมืองฮ่อ นั้นได้สร้างที่บริเวณ"หนองฮ่อ"

ซึ่งปรากฏมีซากเมืองเก่าและฐานเจดีย์อยู่

เมื่อเมืองฮ่อ มาเห็นเจดีย์กู่เต้าของทางเชียงใหม่เสร็จแล้ว

ดังนั้นก็อยอมแพ้และยกทัพกลับไป

นี้เป็นคำเล่าของผู้เฒ่าผู้แก่เล่าให้ลูกหลานฟังเป็นนิทานรอบกองไฟ

เมื่อเมืองฮ่อยกทัพกลับไปแล้ว

เจ้าเมืองเชียงใหม่จึงสร้างเจดีย์ด้วยของจริง

ในรูปแบบดังสานด้วยไม้ไผ่ดังที่เห็น


... ขอบคุณอ้ายหนานเตอะ เจ้า ...



Create Date :07 พฤศจิกายน 2557 Last Update :2 มิถุนายน 2565 15:04:36 น. Counter : 625 Pageviews. Comments :37