bloggang.com mainmenu search
 

 


  อ่านตอนที่ 2 : หนีห่าว ต้าหลี่
อ่านตอนที่ 4 : แชงกรีล่า .... ตามมาจากนิยายดัง


 
ลังจากที่เราได้เที่ยวชมเมือต้าหลี่ไปแล้ว เรามีโปรแกรมเดินทางไกลเพื่อไปพักที่แชงกรีล่า หรือ Deqen ทางตะวันตกเฉียงเหนือของต้าหลี่ ซึ่งระยะทางที่จต้องไปไกลอยู่พอควร ถ้าดูตามแผนที่ที่ได้จาก Google ก็ 344 กม. แต่เขาบอกเดินทาง 7 ชม. เลยทีเดียว

วันนั้นเราเดินทางเพื่อให้ถึงแชงกรีล่า โดยแวะพักทานอาหารตรงทางที่เราแยกจากแม่น้ำแยงซีขึ้นไปตามแม่น้ำอีกสายหนึ่ง ที่ไหลมาจากแชงกรีล่า หลังจากนั้นก็แวะไปชมหุบเขาเสือกระโจนแล้วเดินทางต่อเข้าแชงกรีล่าเลย ... แต่ในบล๊อกนี้ผมเอาโค้งแรกของแม่น้ำแยงซีเข้ามาเขียนไว้ด้วยกันกับหุบเขาเสือกระโจน หรือ ช่องแคบเสือกระโจน เพราะเป็นการเดินทางไปทางเดียวกัน เผื่อว่าท่านใดมีโอกาสเดินทางไปเที่ยวด้วยตัวเอง จะได้ลำดับสถานที่ได้ถูกต้อง ส่วนเวลาที่เรามาชมโค้งแรกของแม่น้ำแยงซีก็คือในวันต่อมาครับ


 



 


แผนการการเดินทางในวันที่ 3



2 จุดที่จะเที่ยวในบล๊อกนี้



 
เส้นทางจากต้าหลี่ไปลี่เจียง เป็นทางไฮท์เวย์แบบ 4 ช่องจราจร ที่ทางการจีนเพิ่งเปิดใช้มาไม่กี่ปี เส้นทางนี้ทำขึ้นมาเพื่อการท่องเที่ยวโดยเฉพาะเลยก็ว่าได้ครับ ฉะนั้นการเดินทางจากคุนหมิง-ต้าหลี่-ลี่เจียง ในปัจจุบันจึงสะดวกสะบายมาก แถมบนทางด่วนนี้ยังปรับปรุงห้องน้ำห้องท่าเข้าขั้นมาตรฐานอีกด้วย (เสียอยู่นิดคือระบบรักษาความสะอาด ยังคงต้องปรับปรุง)

วันนั้นเราเดินทางตามเส้นทางหมายเลข G5611 ไปจนถึงทางแยกเข้าลี่เจียงแล้วเดินทางต่อตามเส้นทาง G214 ซึ่งตอนนี้เหลือเป็นทาง 2 เลนส์ รถวิ่งสวนกันไปมา โดยวิ่งเลียบแม่น้ำแยงซี ขึ้นไปทางตะวันตกเฉียงเหนือ (ดูแผนที่ประกอบครับ) ... แม่น้ำแยงซีช่วงนี้ไม่กว้างนัก เป็นต้นน้ำแบบทางเหนือของแม่น้ำปิงในบ้านเรา ตลอดแนวแม่น้ำผ่านจะมีคนตั้งถิ่นฐานอยู่เป็นระยะๆครับ



 


แม่น้ำแยงซีจะไหลอ้อมเขาตรงปลายภาพก่อนจะไหลขึ้นมาทางที่ยืนถ่ายภาพ (ทิศเหนือ)


 
แม่น้ำแยงซี มีต้นกำเนิดอยู่ใต้ธารน้ำแข็งทางทิศตะวันตกของภูเขาเก้อลาตานตง มณฑลชิงไห่ แม่น้ำแยงซีไหลผ่านไปฝั่งตะวันออกของมณฑลชิงไห่ และไหลลงไปทางใต้สู่หุบเขาที่ลึกตามแนวเส้นแบ่งเขตแดนระหว่างมณฑลเสฉวน กับ ทิเบต แล้วไหลเข้าสู่มณฑลหูหนาน หรือ ฮูนาน ซึ่งเส้นทางไหลเลาะ ลาด ตามหุบเขานั้นได้ลดระดับความสูงของแม่น้ำจากมากกว่า 5000เมตร สู่ระดับที่ต่ำกว่า 1000เมตร


 


ภาพมุมสูงโค้งแรกกของแม่น้ำแยงซี (Cr: วิกิพีเดีย)


 
โค้งแรกแม่น้ำแยงซีเกียง (Changjiangdiyiwan)

อยู่ห่างจากเมืองลี่เจียง 53 กิโลเมตร ระหว่างทางลี่เจียง-จงเตี้ยน แม่น้ำแยงซี (หรือที่คนจีนเรียกว่า แม่น้ำฉางเจียง) ที่ไหลลงมาจากที่ราบสูงชิงไห่-ทิเบต มากระทบกับภูเขาไห่หลอ ทำให้ทิศทางของแม่น้ำหักโค้งไปทางทิตะวันออกเฉียงเหนือ จนเกิดเป็นโค้งน้ำที่สวยงาม แม่น้ำแยงซีที่ไหลผ่านเมืองลี่เจียงช่วงนี้มีชื่อว่า จินซา หรือเรียกเต็มๆว่า จินซาเจียง แปลว่าแม่น้ำทรายทอง จุดนี้เองที่แม่น้ำได้หักโค้งข้อศอกเป็นโค้งแรก ทำให้ไหลแยกจากแม่น้ำสาละวินและแม่น้ำโขง ไปทางทิศตะวันออก ก่อให้เกิดอารยธรรมจีนที่ยิ่งใหญ่เมื่อหลายพันปีมาแล้ว กล่าวกันว่าถ้าไม่มีโค้งนี้ก็อาจไม่มีอารยธรรมจีนอันเกรียงไกร อีกทั้งจุดนี้ยังเป็นจุดยุทธศาสตร์ที่ขบวนทัพของขงเบ้ง และกองทัพกุบไลข่าน ใช้เป็นจุดข้ามแม่น้ำแยงซีไปทำศึก และเหมาเจ๋อตงเดินทัพทางไกล หนีการล้อมปราบของพวกก๊กมินตั๋ง


 


ชุมชนริมแม่น้ำแยงซี



 






วิวแม่น้ำแยงซี



 


แวะพักทานมื้อเที่ยงที่ร้านนี้



 


รถโดยสารที่เดินทางไปแชงกรีล่า


 
หลังมื้อเที่ยงที่อาหารอุดมไปด้วยความมัน ผัก และไข่เจียวแผ่นบางๆ แต่มีชาข้าวบาร์เลย์เสริฟ ... สงสัยเช่นกันว่าชาแบบนี้ดียังไง? ก็ได้คำตอบจากการสอบถามไกด์ว่า เพราะเขตนี้เป็นพื้นที่อากาศหนาวเย็นตลอดทั้งปี เขาจึงพยามหาอะไรที่มาเพิ่มความอบอุ่นให้ร่างกาย ข้าวบาร์เลย์ก็เป็นสิ่งหนึ่งที่เป็นคำตอบครับ

เราเดินทางออกจากร้านอาหารข้ามสะพานของแม่น้ำที่ไหลมาจากทางแชงกรีล่า (จำไม่ได้ว่าเขาเรียกว่า แม่น้ำแชงกรีล่าหรือเปล่า) เข้าสู่แยงซีที่เมืองนี้ ไปตามไหล่เขาด้านตะวันตกของแม่น้ำ ยิ่งขับลึกเข้าไปโตรกเขาก็ยิ่งสูง รวมทั้งฝั่งแม่น้ำด้วย ทำให้นั่งรถด้วยความหวาดเสียว ... ไม่นานเราก็มาถึงอุปโมง มีลานจอดรถกว้างขวาง มองเห็นแม่น้ำแยงซีแคบๆลึกลงไปมากอยู่ตรงหน้า



 


บริเวณลานจอดรถเหนือช่องแคบเสือกระโจน หรือ หุบเขาเสือกระโจน


 
จัดแจงเรื่องการเข้าห้องน้ำห้องท่าให้เรียบร้อย แล้วเตรียมพลังที่จะเดินลงไปชมหุบเขาเสือกระโจนที่มองเห็นลิบๆอยู่ด้านล่าง ไกด์เราบอกว่าเดินขึ้น-ลง ก็ต้องผ่านบันไดกว่า 1000 ขั้นล่ะครับ .... แต่เขาจะทำที่ให้นั่งพักเป็นระยะๆ ไม่ต้องกลัว ... เอาน๊า ภูกระดึงก็ปีนมาแล้วนี่นา นี่มีบันไดอีกต่างหาก สู้ๆๆ ขาลงไม่เท่าไหร่ แต่ขาขึ้นนี่สิ..


 


ถ้าเดินลงไม่ไหวก็มีเสลี่ยงคันหามให้เช่า 800 หยวน


 


ยืนถ่ายภาพที่ชั้นนี้ก่อน



 




บันไดขึ้น-ลง น่าจะ 1000 ขั้นทั้งลงและขึ้น



 


วิวแม่น้ำแยงซีช่วงที่จะถึงโขดหินเสือกระโจน (ถนนที่เห็นจะอยู่ฝั่งลี่เจียง)


 
ช่องแคบเสือกระโจน (Hutiao Gorge)

ซึ่งตั้งอยู่ระหว่างทางแยกของเมืองลี่เจียงและเมืองจงเตี้ยน เป็นหุบเขาในช่วงที่แม่น้ำแยงซีไหลลงมาจากจินซาเจียง (แม่น้ำทรายทอง) น้ำบริเวณนี้ไหลเชี่ยวมาก ช่วงที่แคบที่สุดมีความกว้างเพียง 30 เมตร ตามตำนานเล่าว่า ในอดีตช่องแคบนี้มีเสือกระโดดข้ามไปยังฝั่งตรงข้ามได้ เนื่องจากกลางแม่น้ำบริเวณนี้มีหินที่เรียกว่า “หินเสือกระโดด” ซึ่งก้อนหินมีความสูงกว่า 13 เมตร จึงเป็นที่มาของชื่อ “ช่องแคบเสือกระโจน” ช่องเขาเสือกระโจนเป็นหนึ่งในหุบเขาเหนือแม่น้ำที่ลึกที่สุดในโลก ผู้อยู่อาศัยในบริเวณนี้มีจำนวนเพียงเล็กน้อย ส่วนใหญ่เป็นชนพื้นเมืองชาวหน่าซี โดยจะอาศัยอยู่ในหมู่บ้านเล็กๆบริเวณใกล้เคียง และหาเลี้ยงชีพโดยการเพาะปลูกและรับจ้างนำทางคนต่างถิ่น


 




เรื่องเล่าว่าเสือกระโจนเหยียบหินก้อนใหญ่นั้นก่อนข้ามลำน้ำแยงซีเพื่อหนีการล่า



 



 


มีระเบียงให้ยืนดูใกล้ๆหินก้อนใหญ่ด้วย


 
สภาพทั่วไปนับว่าสวยงามตามธรรมชาติครับ น้ำในแม่น้ำช่วงนี้ใสจนเห็นเป็นสีเขียวเลยล่ะ ส่วนหน้าผานั้นสูงชันมาก บริเวณนี้ไม่มีผู้คนอาศัย นอกจากชาวพื้นเมืองที่คอยรับจ้างนำทาง ส่วนอากาศค่อนข้างเย็น แม้จะเป็นช่วงบ่ายก็ตาม .... โขดหินใหญ่นั้นหน้าน้ำหลากก็จะจมหายไปครับ

ระหว่างยอดเขาเราจะเห็นหิมะบนยอดเขามังกรหยกด้วย (ลี่เจียงจะอยู่อีกด้านของเขา) .... ฝั่งแม่น้ำทางตะวันออก หรืทางลี่เจียง จะมีทางเดินจากที่จอดรถเข้ามาถึงที่ชมหุบเขาเสือกระโจนนี้ประมาณ 3 กม. (ไป-กลับ ก็ 6 กม.) แต่ไม่ต้องปีนบันไดเหมือนด้านนี้ครับ แตผู้คนก็นิยมฝั่งที่ปีบันไดมากกว่า


 




วิวแม่น้ำแยงซีช่วงแคบๆ



 
เราใช้เวลาในการชม และถ่ายภาพตรงนี้พอสมควร ก่อนเดินทางกลับทางเดิม เพื่อเข้าทางหลวงหมายเลข G214 เลียบภูเขาที่สูงขึ้นเรื่อยๆ เพื่อเข้าสูง Deqen หรือแชงกรีล่า ซึ่งมีความสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลางประมาณ 3 พันกว่าเมตร ส่วนถนนก็เป็นถนนระฟ้า สูงจนไม่กล้าจะมองข้างทางที่รถผ่าน ... ซึ่งเราจะพาท่านไปชมความงานของแชงกรีล่า ในบล๊อกต่อไป



 
ขอบคุณที่ติดตามครับ



 


ลาด้วยภาพนี้ครับ





 
_____________





 
Create Date :11 พฤษภาคม 2558 Last Update :2 มิถุนายน 2563 9:32:30 น. Counter : 9915 Pageviews. Comments :13