bloggang.com mainmenu search





อ่านตอนที่ 1 : การเดินทางสู่ เสียมเรียบและโตนเลสาบ
อ่านตอนที่ 2 : มหัศจรรย์ของโลก นครวัด-นครธม


ล๊อกนี้เป็นบล๊อกสุดท้ายของการเดินทางไปเยี่ยมชมปราสาท นครวัด-นครธม ที่เมืองเสียมเรียบ ประเทศกัมพูชาครับ หลังจากที่สองบล๊อกก่อนหน้าเราพาคุณๆไปชมเมืองเสียมเรียบและนครวัด-นครธม มาแล้ว...ที่จริงเราไปชมปราสาทบันทายศรีในช่วงเช้าก่อนหน้าที่เราจะไปชมนครธมและนครวัด โดยเราซื้อบัตรเข้าชมปราสาทต่างเป็นแบบเหมารวม คือชมได้ทุกที่ในวันเดียวกันครับ



จากที่จอดรถต้องเดินผ่านอาคารที่ทำการนี้




จากลานจอดรถเราจะต้องเดินเข้าไปอีกประมาณ 400 - 500 เมตร ผ่านอาคารบริการนักท่องเที่ยว และการแสดงไร่นาสาธิตประมาณนั้น...นักท่องเที่ยวที่มาจากเมืองที่ไม่ทำนาแบบบ้านเราก็จะตื่นเต้นกันพอประมาณ ลงไปถ่ายภาพกับแปลงนาข้าวที่กำลังเขียวได้ที่ บางกลุ่มก็ถ่าแบบเอานาข้างเป็นแบคกราวนด์ ... จากตรงนั้นเดินตามถนนลูกรังเข้าไปสู่ตังปราสาทอีก การเข้าชมปราสาทสามารถใช้บัตรรวมที่เราซื้อเป็นแบบหนึ่งวันได้ครับ




ต้องเดินผ่านทางลูกรังเข้าไป




ปราสาทบันทายศรี (Banteay Srei)

ตามจารึกที่ปราสาทบันทายศรีกล่าวว่าปราสาทแห่งนี้สร้างใน พ.ศ. 1510 โดยยัชญวราหะ ซึ่งเป็นพราหมณ์นักปราชญ์ เมื่อพระเจ้าราเชนทรวรมันที่ 2 เสด็จสวรรคต พระเจ้าชัยวรมันที่ 5 ซึ่งเป็นราชโอรสจึงขึ้นครองราชย์แทน เนื่องจากพระเจ้าชัยวรมันที่ 5 ยังทรงพระเยาว์อยู่ พราหมณ์ยัชญวราหะ จึงได้ทำหน้าที่เป็นทั้งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์และเป็นพระอาจารย์ให้กับพระเจ้าชัยวรมันที่ 5 ไปพร้อมๆ กัน พราหมณ์ยัชญวราหะได้ทูลขอที่ดินแปลงหนึ่งจากพระเจ้าชัยวรมันที่ 5 เพื่อมาสร้างปราสาทเพื่อบูชาพระศิวะ และเป็นศูนย์รวมจิตใจของราษฎรและเป็นที่น่าสังเกตว่าปราสาทที่พระเจ้าแผ่นดินสร้าง กับปราสาทที่เสนาบดีหรือข้าราชการชั้นสูงสร้างจะต่างกันที่ฐาน ปราสาทที่พระเจ้าแผ่นดินสร้าง จะสร้างอยู่บนฐานที่ทำเป็นชั้นสูง หรือสร้างบนเนินเขาดังเช่น นครวัด ที่ส่วนปรางค์ประธานจะต้องตั้งอยู่ฐานชั้นสูงหรือที่พนมบาแค็ง ที่ปราสาทสร้างอยู่บนเนินเขา สำหรับปราสาทบันทายศรี ผู้สร้างเป็นราชครู จึงต้องสร้างปราสาทบนเนินดินอาจทำเป็นฐานเตี้ยๆ ยกพื้นขึ้นเพื่อรองรับตัวปราสาทเท่านั้น




ถึงแล้วถ่ายกะป้ายหน่อย




ปราสาทบันทายศรี เป็นเทวสถานขนาดเล็ก แต่มีความงามทางด้านลวดลายเป็นเลิศ ศิลปะมีลักษณะพิเศษจนต้องจัดเป็นศิลปะสมัยหนึ่งโดยเฉพาะ ศิลปะแบบบันทายศรีถูกจัดให้อยู่ในยุคราว พ.ศ. 1510-1550 ก่อสร้างด้วยหินทรายสีชมพู เนื้อละเอียด การสลักลวดลายดูอ่อนช้อย ลายคมชัด ดูมีชีวิตชีวา

ปราสาทบันทายศรี (ปราสาทบันทายสรี)

ปีที่สร้าง : สร้างในต้นพุทธศตวรรษที่ 16
รัชสมัย : รัชสมัยของพระเจ้าราเชนทรวรมันที่ 2 และพระเจ้าชัยวรมันที่ 5 ศิลปะ : เป็นศิลปะแบบบันทายสรี
ศาสนา : ศาสนาฮินดู ไศวนิกาย (บูชาพระศิวะ)




นักท่องเที่ยวกำลังฟังบรรยายจากไกด์






เก็บภาพไว้เป้นความทรงจำ





รอยแกะสลักที่ยังคงอยู่







ด้วยจำนวนนักท่องเที่ยวที่มาชมมากมายในแต่ละวัน






ทึ่งในความสามารถของคนสมัยก่อน





ทับหลัง





ผู้เขียนกับผู้ช่วย




โดยรวมแล้วปราสาทมีส่วยปรักหักพังไปตามกาลเวลา แต่รอยแกะสลักที่ค่อนข้างละเอียดอ่นยังคงสภาพให้เราได้ศึกษา ถ้าเรามาที่เสียมเรียบ ปราสาทบันทายศรีนี้น่าจะต้องแวะเข้ามาชมให้ได้นะครับ ... สำหรับเรื่องราวของที่นี้คงหาอ่านเพิ่มเติมได้ไม่ยาก

เราออกจากตัวปราสาทผ่านร้านค้าก่อนที่จะไปที่จอดรถ เพื่อเดินทางต่อเข้าเสียมเรียบกัน





จากรอบนอก








ตัดภาพมาที่ตัวเมืองเสียมเรียบ ซึ่งเป็นภาพของอีกวันที่เราเอามาลงในบล๊อกนี้ คือเป็นวันที่จะกลับเมืองไทยแล้ว (วันที่ 3 ของการมาเที่ยวเสียมเรียบ)

วันนี้เราจะไปชมศูนย์หัตถกรรมพื้นเมืองของชาวเสียมเรียบ และตามด้วยการเดินทางไปหาซื้อของฝากที่ตลาดซาจ๊ะ (Psah Chas) กัน ตามไปชมภาพได้เลยครับ








เยี่ยมชมศูนย์หัตถกรรม




ในศูนย์หัตถกรรม หรือ ศูนย์ฝึกวิชาชีพ (Les Artisans d’Angkor) สถานที่นี้เป็นศูนย์สอน วิชาชีพแทบทุกสาขา เช่น การทอผ้า การแกะสลักหิน แกะสลักไม้ และผลงานของนักเรียนก็จะมีวางจำหน่ายภายในร้านค้าของศูนย์ ... ราคาก็แพงพอควรครับ ที่สวยมากๆที่ จขบ. ชอบ คือภาพเขียนนางอัปสร อยากด้เช่นกันแต่เมื่อเหลือบดูราคาแล้วหนักเอาการสำหรับคนกระเป๋าเบาแบบเรา

ที่ตั้งก็เป็นซอยเล็กๆ แต่เมื่อเข้าไปด้านในก็มีที่จอดรถพอประมาณ ณ ที่ตรงนี้คงเป็นหนึ่งในไฟท์บังคับที่รถทัวร์จะต้องแวะมา




ภาพนางอัปสร Popular มากๆสำหรับที่เสียมเรียบ





เก็บความน่ารักมาฝาก









เมืองเสียมเรียบยามบ่าย




ก่อนกลับจากเสียมเรียบเพื่อเดินทางต่อไปที่ด่านช่องจอม สุรินทร์ เขาพาเราไปช้อปที่ตลาดซาจ๊ะ (Psah Chas) ... น่าจะใช่นะ ที่เป็นแหล่งขายของฝากจากเขมรทั้งหลาย

ตลาดพวกนี้ก็เหมือนๆกันกับที่เราไปเห็นๆกันมา ไม่ว่าจะดองบาที่เวียตนาม หรือตลาดแถวๆย่างกุ้ง พม่า ... คือชอบบอกราคาสูงไว้ก่อน เพื่อให้คนต่อรอง แต่ที่เขมรหนักไปกว่านั้นคืออยากได้เงินบาทอย่างเดียว เมื่อไหร่ที่เราจ่ายเป็นเงินเรียลก็จะแพงกว่าปกติ (คิดจากอัตราแลกเปลี่ยนนะ) .... นี่ถ้าการพัฒนาเราไม่หยุดชะงัก เป็นไปได้มากทีเดียวที่เงินบาทจะถูนำมาใช้จ่ายในอาเซียน




ตลาดซาจ๊ะ (Psah Chas Market)




ตลาดซาจ๊ะนี้สินค้าไม่แพงครับ เดินชมและดูราคาดีๆนะครับ และใช้วิชาต่อรองกันพอสมควร ... แม่ค้าที่นี้จะเสนอราคาเราเป็นเงินบาท เช่นผ้าพันคอแบบเขมร 6 ผืนร้อยอย่างนี้เป็นต้น แต่ก่อนซื้อถ้าท่านมีเวลาก็ควรเดินสืบราคาดูก่อน หรือถามจากเพื่อนๆที่ไปซื้อมาก่อนก็ได้ว่าซื้อที่ไหน ได้ราคาเท่าไหร่

สินค้าหลายอย่งมักจะทำให้ลงตัวเป็น 20 บาท 100 บาท (ไม่รับเหรียญ) แต่ถ้าเราอยากจะจ่ายเป็นเงินเรียลของเขมร หน้าตาแม่ค้าก็จะไม่สบายซักเท่าไหร่ และราคาก็จะแพงขึ้นอีกด้วย

จขบ.ก็งงนะว่าจ่ายเป็นบ้านตัวเองแท้ๆ ไงไม่สบายใจ .... ถามไปถามมาได้ความว่า เมื่อต้องการจะซื้อของที่ฝั่งไทย ต้องเอาเงินเรียลไปแลกเป็นเงินบาทอีกที อัตราแลกเปลี่ยนก็ไม่แน่นอน ฉะนั้นจึงเรียกสูงไว้ก่อน วันนั้นเราจึงได้กินเม็ดบัวสดๆในราคาพวงละ 20 บาทมีอยู่ 4-5 ฝักในพวงเผลอๆแพงกว่าบ้านเราด้วยซ้ำ แต่ก็ถือว่าเราเผื่อแผ่ให้ผู้ด้อยโอกาสกว่าก็แล้วกันครับ




แม่ค้า





ขายไอศครีม (ไอติม)





ขายฝักบัว





เดินทางแบบนี้ในกัมพูชา




ส่งท้าย

กัมพูชา โดยเฉพาะที่เมืองเสียมเรียบ ได้รับการพัฒนาอย่างเร่งรีบ สังเกตจากโรงแรมและที่พักที่เพิ่มขึ้นอย่างมากมาย เพื่อให้การบริการแก่นักท่องเที่ยวที่นับวันจะเดินทางมาที่นี่มากขึ้นเรื่อยๆ ... ที่เสียมเรียบมีสนามบินนานนาชาติให้เครื่องจากต่างประเทศมาลงที่นี่ได้โดยตรง ส่วนการเดินทางในประเทศโดยทั่วไปยังไม่สะดวกนัก ถามไกด์ก็บอกว่าถนนที่ได้มาตรฐานก็มีเพียงสายหลักๆที่เกี่ยวข้องกับแหล่งท่องเที่ยวเท่านั้น พื้นที่บริเวณรอบนอกเมืองของประเทศยังเต็มไปด้วยวัตถุระเบิดที่ยังเก็บกู้ไม่หมด ฉะนั้นเมื่อเราเข้าไปท่องเที่ยวก็ควรจะอยู่ในเส้นทางที่กำหนด .... เมืองเสียมเรียบคือแหล่งรายได้หลักจากการท่องเที่ยวในประเทศ

ผู้คนในกัมพูชามีอัธยาศัยที่ดีกับนักท่องเที่ยว สามารถสื่อสารเป็นภาษาอังกฤษได้ ร้านอาหารหลายๆแห่ง (ที่รับนักท่องเที่ยว) ได้มาตรฐาน รสชาตอาหารใกล้เคียงกับบ้านเราครับ




ลาด้วยภาพมุมกว้างปราสาทบันทายศรี




_____________






Create Date :30 พฤษภาคม 2559 Last Update :30 พฤษภาคม 2559 8:46:54 น. Counter : 7226 Pageviews. Comments :15