bloggang.com mainmenu search


ผมเก็บไว้นานแล้ว ไม่แน่ใจว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงอะไรบ้าง แล้วนะครับ .....

องค์กรที่ให้บริการปรึกษาและทำงานด้านเอดส์

• การส่งต่อเพื่อรับการช่วยเหลืออย่างต่อเนื่องแก่ผู้ติดเชื้อและครอบครัว

1. ศูนย์ปรึกษาสุขภาพแอคเซส
บริการ
1. บริการปรึกษาทางโทรศัพท์ 245-0004-5 ทุกวัน 16.00 - 21.00 น.
2. การปรึกษาที่ศูนย์ โดยมีการนัดหมายล่วงหน้า และจะให้ความช่วยเหลือหรือส่งต่อหน่วยงาน ต่าง ๆ
3. เยี่ยมบ้าน
4. บริการตรวจสุขภาพ และให้คำแนะนำการดูแลรักษาสุขภาพ
คลินิคแอคเซส : วันอาทิตย์ 13.00 - 19.00 น.

2. มูลนิธิดวงประทีป
บริการ
1. บริการปรึกษาทุกวัน 08.00 - 17.00 น.
2. เยี่ยมบ้าน
3. ประสานงานกับโรงพยาบาลกรณีส่งต่อคนไข้ (รพ. บำราศนราดูร, ราชวิถี)
4. กองทุนสงเคราะห์อาชีพ
ติดต่อ
คุณนิตยา พร้อมพอชื่นบุญ
34/4 มูลนิธิดวงประทีป ถ. อาจณรงค์ คลองเตย กรุงเทพฯ 10110
โทร. 249 - 3553, 249 - 4880, 249 - 8842, 671- 4045-8, Fax 5254

3. ศูนย์ตรวจและป้องกันโรคภูมิคุ้มกันบกพร่องเพื่อชุมชน (ACT CENTER)
บริการ
1. ตรวจเลือด HIV ฟรี (เวลา 13.00 - 17.00 น.)
2. บริการปรึกษาก่อนแต่งงานและหลังตรวจเลือด (เวลา 13.00 - 17.00 น.)
3. คลินิกรักษาโรคทั่วไป (เวลา 17.30 - 09.30 น.)
4. กองทุนสงเคราะห์
- ด้านอาชีพ ขึ้นอยู่กับความถนัดของแต่ละบุคคล อุปกรณ์ทุนหมุนเวียน ไม่เกิน 6,000 บาท
- ให้นมเด็กในช่วง 6 เดือนแรก
5. เยี่ยมบ้าน
6. ประสานงานกับโรงพยาบาลกรณีส่งต่อคนไข้ (รพ.จุฬา)
ติดต่อ
คุณสุพจน์ บุญเต็ม
แฟลต 14 ชั้นล่าง ถ. อาจณรงค์ คลองเตย กทม. 10110 โทร. 249 - 5250
หรือสาขาเชียงใหม่ ติดต่อ คุณปราโมทย์ หรือคุณหมอพล (053) 214 - 648

4. CHRITIAN OUTREACH (คริสเตียนเอาท์รีช)
บริการ
1. เยี่ยมบ้าน
2. นมผงสำหรับเด็ก (ตามพัฒนาการของเด็กจนถึงขวบครึ่ง)
3. ประสานงานกับกรมสวัสดิการแรงงาน และกรมประชาสงเคราะห์
ติดต่อ
คุณมยุรี บุญยสมภพ
808 ซ. วิจิตรชัย ถ. ประชาอุทิศ ห้วยขวาง กทม. 10310
โทร. 276 - 8660, 691 - 0348

5. ศูนย์บรรเทาใจ
บริการ
1. บริการปรึกษาทางโทรศัพท์ ทุกวัน ตลอด 24 ชั่วโมง
2. บ้านพักชั่วคราว (ระยะเวลาขึ้นอยู่กับประเด็นของปัญหา)
3. กองทุนส่วนตัว
ติดต่อ
คุณวิบูลชัย วันอังคาร - เสาร์ 09.00 - 17.00 น.
124/96 หมู่ 4 ซ. เรวดี 24 ต.ตลาดขวัญ อ. เมือง จ.นนทบุรี 11000
โทร. 580 - 7032 Fax 580 - 7549

6. บ้านพักใจ
บริการ
1. บ้านพักชั่วคราว
- คนที่มาโรงพยาบาลหรือพบแพทย์ กำหนดให้ 7 วัน
- คนที่อยู่ระยะยาว มี 3 เดือน, 5 เดือน, 1 ปี โดยต้องให้เปอร์เซ็นต์ของเงินเดือน เป็นค่าเช่า
2. บริการปรึกษาทางโทรศัพท์ และพบที่ศูนย์ จันทร์ - ศุกร์ (08.00 - 16.00 น. )
ติดต่อ
- คุณคมคาย ตู้ ปณ. กลาง 2878 บางรัก กรุงเทพฯ 10500
โทร. 243 - 2381, 234 - 8258
- บ้านพักใจ จ. อุดรธารี ติดต่อ คุณรัตกุล ตู้ ปณ. 2 อ. เมือง จ. อุดรธารี
โทร. 234 - 2381, 234 - 8258
- บ้านพักใจ จ. หนองคาย ติดต่อ คุณสายสุนี ตู้ ปณ. 31 อ. เมือง จ. หนองคาย
โทร. (042) 412 - 349

7. บ้านพักฉุกเฉิน
บริการ
1. ที่พักสำหรับหญิงที่ประสบปัญหาครอบครัวและที่อื่น ๆ
2. ฝึกอาชีพ
3. บริการนอกสถานที่ (จะมีโต๊ะบริการที่หมอชิต และหัวลำโพง)
ติดต่อ
- นักสังคมสงเคราะห์
501/1 หมู่ 3 ถ.เดชุตุงคะ แขวงทุ่งสีกัน เขตดอนเมือง กรุงเทพฯ 10210
โทร. 566-1564
- สมาคมส่งเสริมสถานภาพสตรี โทร. 566 - 2288

8. โครงการธรรมรักษ์นิเวศ (บ้านพักผู้ป่วยระยะสุดท้าย)
บริการ
1. บ้านพักผู้ป่วย
2. สถานพยาบาล
3. กิจกรรมอื่น ๆ สำหรับผู้ที่ติดเชื้อ เช่น สวดมนต์ เดินจงกรม โยคะ ออกกำลังกายต่าง ๆ
เงื่อนไขของผู้เข้ารับบริการ
1. ต้องมีใบรับรองจากทางโรงพยาบาลว่าป่วยจริง
2. สำเนาทะเบียนบ้านและสำเนาบัตรประชาชน
3. ที่อยู่ที่แน่นอน และสามารถติดต่อได้
โครงการธรรมรักษ์นิเวศจะพิจารณาผู้ป่วยเข้ารับการรักษาในจำนวนที่จำกัด เนื่องจากมีเพียง 15 - 16 เตียง
โดยพิจารณาจากการเรียงคิวไว้ในการขอเข้ารับบริการรักษา หรือในกรณีที่ป่วยหนักมากจะดูว่า ขณะนั้นมีเตียงว่างอยู่หรือไม่ และมีการประสานงานกับ โรงพยาบาลพบุรี และ โรงพยาบาลอนันทมหิดล หลังจากดูแลรักษา ถ้ามีผู้ป่วยมีอาการดีขึ้นจะให้กลับบ้านได้ หรือในกรณีของผู้ป่วยที่ไม่มีญาติ และมีความ ประสงค์ จะอยู่ต่อก็จะให้เป็นอาสาสมัคร พร้อมกับประเมินพฤติกรรมเป็นรายเดือนไปว่า มีความเหมาะสมมากน้อยเพียงใดในการให้อยู่ต่อ
ติดต่อ
โครงการธรรมรักษ์นิเวศ วัดพระบาทน้ำพุ ตู้ ปณ. 83 อ. เมือง จ. ลพบุรี
โทร. (01) 942 - 5479 (ฝ่ายเลขา)
(01) 353 - 3154 (ฝ่ายโรงพยาบาล)
(01) 495 - 3838 (ฝ่ายธุรการ) Fax (036) 413 - 805

9. สวนสันติธรรม
บริการ
1. บ้านพักผู้ป่วยระยะสุดท้าย (ทั้งชายและหญิง)
2. ประสานงานกับโรงพยาบาลบำราศนราดูร, โรงพยาบาลจุฬาฯ
ติดต่อ
คุณกมล สีชมพู
48 หมู่ 9 ต.ลำลูกกา จ. ปทุมธานี 12150
โทร. 563 - 1202

10. COMUNITA IN CONTRO (คอมมูนนิต้า อิน คอนโทรล)
บริการ
เป็นที่ดักและให้การช่วยเหลือผู้ติดเชื้อที่ติดยาเสพติด (เฉพาะเพศชายเท่านั้น)
ติดต่อจันทร์ - เสาร์ เวลาเช้า 08.00 - 12.00 น. เวลาบ่าย 15.30 - 18.30 น.
ติดต่อ โดยตรงที่ศูนย์ ใกล้ส่วนสันติธรรม โทร. 563 - 1006 - 09

11. ศูนย์พัฒนาสุขภาพและอนามัย
บริการ
1. บริการปรึกษา วันจันทร์ - ศุกร์ เวลา 08.00 - 18.00 น.
2. ฝึกอาชีพ
3. เยี่ยมบ้าน
4. ประสานงานกับโรงพยาบาลเพื่อส่งต่อคนไข้
ติดต่อ
คุณประภัทรภร แซ่เจี่ยม
100/11 ถ. ดำรงลัทธพิพัฒน์ เคหะคลองเตย 4 กรุงเทพฯ 10110
โทร. 671 - 5313

12. บ้านพระคุณ
บริการ
1. ให้ความช่วยเหลือด้านอาหาร เครื่องนุ่งห่ม ที่พัก แก่หญิงที่ตั้งครรภ์นอกสมรส สามีทอดทิ้ง, ผู้ไม่ต้องการเปิดเผยการตั้งครรภ์ จำนวนจำกัด (ไม่เกิน 7 คน)
2. ประสานงานกับโรงพยาบาลนพรัตน์เพื่อส่งต่อคนไข้
ติดต่อ
คุณสุดใจ นาคเพียร, คุณจิราภรณ์ เผือกหลวง, คุณขวัญทอง ชัยสิทธิ์ ทุกวันตลอด 24 ชั่วโมง
34/294 หมู่บ้านโอสถิต 5 ลาดพร้าว 53 โชคชัย 4 บางกะปิ กทม. 10310
โทร. 538 - 8875

• กรณีที่เด็กเกิดจากแม่ติดเชื้อและถูกทอดทิ้ง
บ้านธารน้ำใจ
- เป็นสถานที่เลี้ยงดูทารกที่คลอดจากมารดาที่ติดเชื้อเอดส์ และถูกทอดทิ้งไว้ตามโรงพยาบาลต่าง ๆ
- ดูแลให้ความอบอุ่นแก่ทารกที่คลอดจากแม่ที่ติดเชื้อเอดส์แล้วทอดทิ้ง
- จัดหาครอบครัวให้แก่เด็กที่ไม่ติดเชื้อจากแม่ หลังจากอายุ 18 เดือนแล้ว และผลการตรวจเลือดยืนยันว่าไม่ติดเชื้อจากมารดา
- เพื่อแบ่งเบาภาระการเลี้ยงดูทารก เนื่องจากโรงพยาบาลต่าง ๆ มีทารกที่ถูกทิ้งไว้เป็นจำนวนมาก และไม่สามารถดูแลให้ความอบอุ่นได้เพียงพอ
บ้านธารน้ำใจดำเนินการโดยสมาคมพัฒนาประชากรและชุมชน (PDA) ซึ่งจะสนับสนุนด้านสื่อเกี่ยวกับเอดส์ กามโรค และไวรัสตับอักเสบบีในราคา 200 บาท โดยทราบผลทันที มีบริการปรึกษาทั้งก่อนตรวจ และหลังตรวจเลือดและส่งต่อผู้ใช้บริการ ให้กับคลินิกนิรนามสภากาชาดไทย (PDA) มีคุณมัชัย วีรไวทยะ เป็นประธาน ได้รับความร่วมมือจากกรมประชาสงเคราะห์ และสภากาชาดไทย
ติดต่อ
เลขที่ 8 สุขุมวิท 12 กทม. 229 - 4611 - 2
หมายเหตุ
กรณีจะต้องส่งต่อผู้รับบริการเพื่อเข้ารับบริการของบ้านธารน้ำใจ กรุณาติดต่อ บ้านราชวิถี กรมประชาสงเคราะห์
กรณีตั้งครรภ์และติดเชื้อ HIV สามารถส่งต่อไปยังแผนกสูตินรีเวช ของโรงพยาบาลรัฐบาล และเอกชน ตามความสะดวก และความพร้อมของผู้บริการ
กรณีตั้งครรภ์ ติดเชื้อ HIV และมีความต้องการทำแท้ง นัดหมายให้ผู้รับบริการมาพบเจ้าหน้าที่เพื่อรับบริการปรึกษาโดยตรงที่ศูนย์ก่อน กรณีแม่ที่ติดเชื้อและมีบุตรระหว่างแรกเกิด - 5 ขวบ ต้องการพาบุตรไปตรวจ HIV หรือตรวจรักษาสามารถพาไปยังสถานพยาบาลต่าง ๆ ได้ดังต่อไปนี้
1. โรงพยาบาลศิริราช ชั้น 3 ซึ่งกรณีนี้แม่ที่ติดเชื้อสามารถที่จะรับการตรวจสุขภาพหรือรักษาพยาบาลได้ในขณะเดียวกัน ที่คลินิก 447 ชั้น 4 ตึกผู้ป่วยนอก ซึ่งจะสะดวกมากถ้าแม่ที่ติดเชื้อ จะทำการติดต่อและทำบัตรที่
2. โรงพยาบาลเด็ก ชั้น 2 ตึกผู้ป่วยนอกเฉพาะวันอังคาร - พุธ เวลา 13.00 - 16.00 น.
3. โรงพยาบาลจุฬาฯ ชั้น 9 ตึกผู้ป่วยนอก วันจันทร์ - ศุกร์ เวลา 08.00 - 12.00 น.
(เด็กจะสามารถตรวจเลือดเพื่อดูว่าติดเชื้อจากแม่ได้ หลังจากเด็กอายุ 1 ปี ครึ่งไปแล้ว)

• กรณีให้คำปรึกษาด้านอื่น ๆ
มีศูนย์ที่ให้บริการปรึกษาทางโทรศัพท์ ในกรณีที่มีปัญหาทางด้านจิตเวช คิดฆ่าตัวตาย เศร้า เหงา ปัญหาคู่สมรส ปัญหาวัยรุ่น ดังนี้

1. สมาริตันส์
บริการ
จันทร์ - พฤหัสบดี เวลา 14.00 - 22.00 น.
ศุกร์ - เสาร์ เวลา 14.00 - 07.00 น.
ติดต่อ
สมาริตันส์ มีองค์กรแม่อยู่ที่ประเทศอังกฤษ ตั้งมาได้ 42 ปี และมีสาขาอื่น ๆ อยู่ทั่วโลก สำหรับในประเทศไทยตั้งมาได้ 17 ปี นายแพทย์อุดมศิลป์ ศรีแสงนาม เป็นนายกสมาคมร่วมมือก่อตั้งองค์กรกับชาวต่างชาติ สมาริตันส์ในประเทศไทย มีสาขาอยู่ที่เชียงใหม่แห่งหนึ่ง ลักษณะการให้บริการปรึกษาจะเน้นปัญหา การฆ่าตัวตาย ให้บริการ วันอังคาร พุธ เสาร์ เวลา 18.00 - 22.00 น.

2. ศูนย์ฮอทไลน์
บริการ
จันทร์ - ศุกร์ เวลา 12.00 - 19.00 น.
เฉพาะวันเสาร์ เวลา 10.00 - 19.00 น.
ติดต่อ
67/55 ถ.สุขาภิบาล 1 บึ่งกุ่ม กรุงเพทฯ 10240
โทร. 375 - 4955, 377 - 0073
ฮอทไลน์ มีคุณอรอนงค์ อินทรวิจิตร เป็นผู้อำนวยการ มีสาขาต่างจังหวัดที่เชียงใหม่ หาดใหญ่ ของแก่น
“บ้านพักของวันพรุ่งนี้” โดยรับผู้หญิง เด็ก แม่และเด็กที่มีปัญหาถูกล่อลวง ข่มขืน การอพยพใช้แรงงาน ปัญหาผู้ติดเชื้อเข้าอยู่ มีการประสานงานกับกรมประชาสงเคราะห์ จังหวัดในการให้งานทำกับผู้ที่เข้าไปใช้บริการ เช่น เย็บผ้า งานฝีมือ และมีการจัดหาตลาดให้

3. ศูนย์โฮปไลน์
บริการ
จันทร์ - ศุกร์ เวลา 12.00 - 20.00 น.
เฉพาะวันเสาร์ เวลา 10.00 - 19.00 น.
ติดต่อ
67/55 ถ.สุขาภิบาล 1 บึ่งกุ่ม กรุงเทพฯ 10240
โทร. 375 - 4955, 377 - 0073
โฮปไลน์ มีอาจารย์ อนุกูล เป็นที่ปรึกษา เกิดขึ้นโดยการรวบรวมนักศึกษาที่จบทางด้านจิตวิทยา มาเป็นเจ้าหน้าที่ อาสาสมัคร โดยมีการอบรมกับจิตแพทย์ คือ นายแพทย์ประยุกต์ เสรีเสถียร จากโรงพยาบาลสมเด็จเจ้าพระยา

4. สายด่วนวัยรุ่น
บริการ
จันทร์ - ศุกร์ เวลา 09.00 - 21.00 น.
ติดต่อ
โทร. 275 - 6993 - 9
สายด่วนวัยรุ่น เป็นองค์การเยาวชนไทย เพื่อพระคริส มีอาจารย์นิติเชต สุดุดีวงษ์ เป็นผู้อำนวยการ มีเจ้าหน้าที่ให้บริการปรึกษา นอกจากนี้มีการส่งต่อกับหน่วยงานอื่น ๆ เช่น กามโรค ACT CENTER คลินิกนิรนาม
5. ศูนย์ปรึกษาสุขภาพจิต (โรงพยาบาลสมเด็จเจ้าพระยา)
บริการ
จันทร์ - ศุกร์ เวลา 18.30 - 13.00 -06.00 น.
ติดต่อ
โทร. 437 - 7061

• กองทุนสงเคราะห์สำหรับผู้ติดเชื้อและครอบครัว

1. ทุนประกอบอาชีพ (ทุนประกอบอาชีพของรัฐบาล) กรมสวัสดีการและคุ้มครองแรงงาน
บริการ
ช่วยเหลือครอบครัวผู้ใช้งาน โดยมีเงื่อนไขดังนี้ คือ
1. ตรวจเลือดที่โรงพยาบาลพบว่ามีเชื้อ
2. เขียนแบบฟอร์มขอทุนด้วยตนเอง
3. ให้ทางโรงพยาบาลยืนยันเกี่ยวกับผลเลือด
ติดต่อ
กรมประชาสงเคราะห์
โทร. 2230-01689, 221 - 6871
กรณีต่างจังหวัด สำนักคุ้มครองแรงงานและสวัสดีภาพจังหวัด
โทร. 281 - 0969, 281 - 3199 ต่อ 6301 - 8 ในวันเวลาราชการ
2. บริการฝึกอาชีพและแหล่งงาน
2.1 สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน ถนนมิตรไมตรี ดินแดง กทม. 10400 โทร. 245 - 1704
โดยผู้ขอใช้บริการต้องมีอายุระหว่าง 15 - 25 ปี จบการศึกษาระดับประถมศึกษากรณีต้องการอาชีพสามารถติดต่อได้โดยตรงที่สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงานกลาง ในวัน เวลาราชการ
2.2 กองการจัดหางาน (กระทรวงแรงงาน) ถนนมิตรไมตรี ดินแดน กทม. 10400 โทร. 246 - 2992 หรือที่หน่วยงานใหญ่ โทร. 245 - 1823 ในวันเวลาราชการ นอกจากนี้ยังมีบริการอยู่ตามเขตต่าง ๆ โดยทั่วไป


• กรณีปัญหาทางกฎหมาย การละเมิดสิทธิ์

1. ศูนย์คุ้มครองสิทธิ์ด้านเอดส์
บริการ สำหรับผู้ติดเชื้อเอดส์ และครอบครัวที่ถูกละเมิดสิทธิสำหรับประชาชนทั่วไปที่ได้รับความเดือดร้อนจากผู้ติดเชื้อ ผู้ป่วยเอดส์
ติดต่อ คุณศิริพรรณ ปฏิมานุเกษม โทร. 245 - 8700, 246 - 8701

2. เพื่อนหญิง
บริการ ให้ความช่วยเหลือด้านกฎหมาย สำหรับหญิงที่ถูกข่มขืน ถูกทารุณกรรมและปัญหาครอบครัว
ติดต่อ โทร. 270 - 0928 จันทร์ - ศุกร์ เวลา 09.00 - 17.00 น.

3. มูลนิธิผู้หญิง
บริการ ให้ความช่วยเหลือด้านกฎหมาย สำหรับหญิงที่ถูกข่มขืน ถูกทารุณกรรมและปัญหาโสเภณี
ติดต่อ 433 - 5149 จันทร์ - ศุกร์ เวลา 09.00 - 17.00 น.

4. ศูนย์พิทักษ์สิทธิเด็ก
บริการ
1. ให้การช่วยเหลือเด็กที่มีอายุตั้งแต่แรกเกิด - 18 ปี สำหรับเด็กที่ถูกทารุณกรรม ถูกล่วงเกินทางเพศ การใช้
แรงงานเด็ก โสเภณีเด็ก และกรณีอื่น ๆ
2. บ้านพักมีการตรวจสุขภาพและร่างกายทั่วไป ประสานงานกับโรงพยาบาลศิริราช
3. อาชีพ
4. ฟื้นฟูสภาพจิตใจ
ติดต่อ
ฝ่ายช่วยเหลือ 184/16 ถนนจรัลสนิทวงศ์ 122 แขวงท่าพระ เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพฯ 10110
โทรสาร 4122 - 9833

*************************


1663 สายด่วนปรึกษาเอดส์และท้องไม่พร้อม
https://www.facebook.com/1663telephonecsg/

เปิดศูนย์ “1663 สายด่วนปรึกษาเอดส์” หวังคนเข้าถึงบริการด้านเอชไอวี/เอดส์ มากขึ้น
28 Jul 2012

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ร่วมกับศูนย์วิจัยโรคเอดส์ สภากาชาดไทย และมูลนิธิเข้าถึงเอดส์ เปิดศูนย์ “1663 สายด่วนปรึกษาเอดส์” วันที่ 31 พฤษภาคม 2555 ณ ที่ทำการศูนย์ “1663 สายด่วนปรึกษาเอดส์” มูลนิธิเข้าถึงเอดส์ โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข นายวิทยา บุรณศิริ ให้เกียรติเป็นประธานเปิดงาน

นายวิทยา บุรณศิริ กล่าวว่า การมีศูนย์ “1663 สายด่วนปรึกษาเอดส์” นี้ นับว่าเป็นสิทธิประโยชน์ด้านสุขภาพของประชาชนที่รัฐบาลเห็นความสำคัญและจัดบริการให้เพื่อคลี่คลายสถานการณ์ปัญหาเรื่องเอชไอวี/เอดส์ เพราะเมื่อประชาชนเข้าถึงบริการปรึกษาและได้รับการรักษาโดยเร็วก็จะช่วยให้เกิดการป้องกันซึ่งจะช่วยลดจำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่ ในขณะเดียวกันผู้ที่ติดเชื้อแล้วก็จะเข้าถึงบริการรักษาได้อย่างทันท่วงที ไม่เจ็บป่วย ไม่เสียชีวิต

ดังนั้น ศูนย์ “1663 สายด่วนปรึกษาเอดส์” จึงถือเป็นช่องทางสำคัญที่จะช่วยให้ประชาชนเข้าถึงบริการตรวจรักษาเรื่องเอชไอวี/เอดส์ได้เร็วขึ้น อย่างไรก็ตาม ในการคลี่คลายปัญหาเอดส์ให้ลุล่วงและสอดคล้องกับความต้องการของประชาชน หน่วยบริการต่างๆ ทั้งในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติและกระทรวงสาธารณสุขจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องประสานความร่วมมือ รับช่วงต่อจากศูนย์ “1663 สายด่วนปรึกษาเอดส์” ในการให้บริการประชาชน และพัฒนาระบบการรับและส่งต่อผู้รับบริการที่ได้รับการปรึกษาจากศูนย์ 1663 แล้วให้มีความสะดวกรวดเร็วในการเข้าถึงการตรวจรักษา รวมถึงพัฒนาบุคลากรในหน่วยงานให้มีความรู้ ความเข้าใจ ให้บริการด้วยความเป็นมิตรและรักษาความเป็นส่วนตัวของผู้รับบริการเพื่อให้ประชาชนเข้าถึงบริการด้วยความสะดวกรวดเร็วและสบายใจ

นายแพทย์พรเทพ ศิริวนารังสรรค์ อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า ศูนย์ “1663 สายด่วนปรึกษาเอดส์” เกิดขึ้นจากแนวคิดและความร่วมมือขององค์กร หน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน รวมถึงคนทำงานด้านเอดส์ ที่ต้องการให้ประชาชนข้าถึงบริการปรึกษาเรื่องเอชไอวี/เอดส์เพื่อลดปัญหาดังกล่าวในระดับประเทศ ทั้งนี้ สถานการณ์เรื่องเอดส์ในประเทศไทยพบว่า ไทยมีผู้ติดเชื้อที่ยังมีชีวิตอยู่ราว 500,000 ราย แต่มีเพียง 2 แสนรายเท่านั้นที่เข้าถึงบริการด้านสาธารณสุข ในขณะที่อีก 3 แสนรายที่ยังไม่เข้าสู่ระบบการรักษานั้นมีทั้งกลุ่มคนที่ไม่ทราบว่าตัวเองมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อเอชไอวี กลุ่มคนที่อาจจะประเมินได้ว่าตัวเองมีความเสี่ยงแต่ไม่กล้าไปรับบริการปรึกษาและตรวจเลือดที่หน่วยบริการ และกลุ่มคนที่อาจจะทราบผลเลือดของตัวเองแล้วแต่ไม่มีข้อมูลเรื่องการดูแลรักษา ดังนั้น การมีศูนย์ “1663 สายด่วนปรึกษาเอดส์” จึงจะช่วยให้ประชาชนทั้งสามกลุ่มมีทางออกในการจัดการปัญหาและวางแผนดูแลสุขภาพของตัวเองได้ไม่ว่าจะติดเชื้อเอชไอวีหรือไม่ก็ตาม

ศาสตราจารย์กิตติคุณ นายแพทย์ประพันธ์ ภานุภาค ประธานกรรมการศูนย์ “1663 สายด่วนปรึกษาเอดส์” ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า ศูนย์ “1663” เปิดให้บริการทุกวันตั้งแต่ 10.00 -20.00 น.เป็นบริการไม่ถามชื่อ และเมื่อผู้รับบริการได้รับการปรึกษาและมีความประสงค์จะตรวจเลือดเพื่อหาการติดเชื้อเอชไอวีก็สามารถนำรหัสที่ได้จากศูนย์ 1663 ไปรับบริการยังหน่วยบริการได้โดยที่หน่วยบริการจะประเมินความพร้อมเบื้องต้นต่อจากที่ศูนย์ 1663 อีกครั้ง ซึ่งในอนาคตทางศูนย์จะประสาน ช่วยลดความซ้ำซ้อนในการให้บริการปรึกษาเพื่อเพิ่มความสะดวกให้แก่ผู้รับบริการและเจ้าหน้าที่ในหน่วยบริการซึ่งทำให้ประชาชนเข้าถึงบริการเรื่องการตรวจรักษาเอชไอวี/เอดส์มากขึ้น


https://www.thaiplus.net/?q=node/30

..............................................

เอดส์ ( AIDS)

https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=26-03-2008&group=4&gblog=27

ข้อควรรู้ก่อนการตรวจโรคเอดส์

https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=26-03-2008&group=4&gblog=26

แนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับโรคเอดส์ ... ของแพทย์ ... แต่ ประชาชน ก็ควรรู้

https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=09-09-2012&group=4&gblog=96

องค์กรที่ให้บริการปรึกษาและทำงานด้านเอดส์

https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=26-03-2008&group=4&gblog=28


Create Date :26 มีนาคม 2551 Last Update :18 เมษายน 2561 22:42:56 น. Counter : Pageviews. Comments :0