bloggang.com mainmenu search

นำมาจากของคุณหมอ ในเฟสบุ๊ก นะครับ .. ถ้าใครสนใจอ่านฉบับเต็ม มีรูปภาพประกอบสวยงาม ก็แวะไปได้ที่

//www.facebook.com/note.php?note_id=159491650750574&id=153027324709017&ref=share



โรคที่ต้องระวังในภาวะน้ำท่วม

โดย DrCarebear Samitivej

ณ วันที่ 20 ตุลาคม 2010 เวลา 20:44 น.





ในภาวะน้ำท่วมอาจมีความเสี่ยงในการเกิดโรคต่อไปนี้เพิ่มมากขึ้น ได้แก่

* โรคติดต่อเนื่องจากน้ำไม่สะอาด ได้แก่ ไทฟอยด์ อหิวาห์ โรคฉี่หนู และไวรัสตับอักเสบ เอ

* โรคติดต่อเนื่องจากมีแมลงเป็นพาหะ ได้แก่ ไข้มาลาเรีย ไข้เลือดออก
* อุบัติเหตุ และการบาดเจ็บต่าง ๆ เช่นการจมน้ำ




โรคติดต่อเนื่องจากน้ำไม่สะอาด Water-borne diseases

ภาวะน้ำท่วม จะสัมพันธ์กับความเสี่ยงในการติดเชื้อที่เพิ่มขึ้น ยิ่งถ้าเกิดขึ้นในชุมชนใหญ่ หรือขาดแคลนน้ำสะอาด เนื่องจากน้ำดื่มที่ไม่สะอาดและติดเชื้อ น้ำที่ไม่สะอาดอาจจะทำให้เกิดการติดเชื้อได้ ไม่ว่าจะเป็นผิวหนังอักเสบ แผลติดเชื้อ ตาอักเสบ หรือการติดเชื้อทางเดินอาหาร

เชื้อโรคที่สามารถติดต่อทางน้ำได้แก่

1. เชื้อไวรัส เช่น เชื้อไวรัสตับอักเสบ A หรือเชื้อโปลิโอ
2. เชื้อแบคทีเรีย เช่น เชื้อ อหิวาต์ ไทฟอยต์ เชื้อ Coliform ที่ทำให้มีอาการท้องเสีย
3. เชื้อโปรโตซัว เช่น cryptosporidiosum, amebae, giardia

ส่วนใหญ่แล้วการติดต่อเชื้อโรคจะมาจากการดื่มน้ำที่ไม่สะอาด แต่มีบางโรคที่สามารถระบาดได้มากโดยการติดต่อทางการสัมผัสทางผิวหนังเช่น โรคฉี่หนู leptospirosis ซึ่งเป็นแบคทีเรียชนิดหนึ่งที่สามารถติดต่อผ่านทางผิวหนังหรือเยื่อของร่าง กายที่สัมผัสกับน้ำที่ปนเปื้อนจากฉี่หนูหรือสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่ติด เชื้อ แบบที่เคยมีการระบาดในประเทศไทยในปี 2000



Leptospirosis หรือโรคฉี่หนู

เป็นโรคติดเชิ้อที่เกิดจากเชื้อชื่อ leptospira ซึ่งหากติดเชื้อคนไข้จะมีอาการไข้สูง ปวดหัวมาก ปวดเมื่อยตามตัว ถ้าเป็นรุนแรงอาจจะมีอาการตัวเหลืองตาเหลือง ตับวาย ไตวาย หรือระบบทางเดินหายใจล้มเหลวได้ หากมีอาการดังกล่าวควรรีบไปพบแพทย์โดยด่วน

ผู้ได้รับเชื้ออาจจะมีอาการหลังได้รับเชื้อ 2 – 4 วันอาการที่เริ่มต้นอาจจะมีไข้เฉียบพลัน ระยะแรกจะมีอาการไข้ หนาวสั่น ปวดหัว ปวดตามตัว คลื่นไส้ และท้องเสีย อาการอาจจะดีขึ้นได้เอง และจะกลับมามีอาการอีกรอบและรุนแรงขึ้นหากไม่ได้รับการรักษา อาการจะมีได้ตั้งแต่ไม่กี่วันจนถึงเป็นเดือน บางคนอาจจะหายได้เอง แต่ใช้เวลาเป็นเดือน แต่ถ้ามีอาการรุนแรงอาจจะถึงแก่ชีวิตได้

การรักษาคือการให้ยาแก้อักเสบเช่น Doxycycline หรือ penicillin ฉีดเข้าเส้นเลือด

ดังนั้นหากมีไข้ควรรีบพบแพทย์เพื่อทำการตรวจและให้การรักษา





ไวรัสตับอักเสบ A

เป็น โรคที่มีอาการอักเสบของตับ เกิดจากการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ A จากการรับประทานอาหารหรือน้ำที่ปนเปื้อน ระยะฟักตัวประมาณ 15-45 วันก่อนจะมีอาการ

อาการเริ่มต้นจะมีอาการปวดเมื่อยตามตัว ไม่อยากอาหาร คลื่นไส้ ไข้ต่ำ ๆ อุจจาระสีซีด และปัสสาวะสีเข้ม มีอาการตัวเหลืองตาเหลืองดีซ่าน

แพทย์จะทำการตรวจเลือดเพื่อยืนยันการติดเชื้อ และให้การรักษาโดยการพัก ให้น้ำเกลือ หลีกเลี่ยงแอลกอฮอล์และอาหารมัน การพักฟื้นอาจจะใช้เวลาประมาณ 3-6 เดือน สำหรับไวรัสตับอักเสบ A สามารถป้องกันได้โดยการฉีดวัคซีน



การป้องกันโรคติดเชื้อที่มาจากน้ำ

ส่วนใหญ่แล้วโรคกลุ่มนี้จะมาจาการปนเปื้อนของอาหารและน้ำ ดังนั้นการป้องกันคือการพยายามดื่มน้ำที่สะอาด และต้องพยายามดื่มน้ำให้เพียงพอเพื่อป้องกันร่างกายขาดน้ำ

* ดื่มน้ำที่สะอาด
* ใช้น้ำที่ต้มสุก หรือผ่านคลอรีน
* ถ้ามีอาการท้องเสียขาดน้ำ ควรดื่มน้ำเกลือแร่เสริม
* หากมีอาการไข้ หรืออาการผิดปกติควรพบแพทย์
* สามารถใช้ยาลดไข้ บรรเทาอาการไข้ได้
* ล้างมือให้สะอาดด้วยสบู่และน้ำสะอาด
* ทำความสะอาดอาหารและปรุงอาหารให้สุกทุกครั้ง




โรคติดต่อที่เกิดขึ้นจากแมลงเป็นพาหะ Vector-borne diseases

ภาวะน้ำท่วมจะทำให้แมลงที่เป็นพาหะของโรคต่าง ๆ เพิ่มจำนวนมากขึ้น เช่นยุงลาย ทำให้เสี่ยงต่อการระบาดของไข้เลือดออก หรือในป่า มียุงก้นป่อง ที่ทำให้เกิดไข้มาลาเรียซึ่งอาจจะเกิดขึ้นหลังจากการเกิดน้ำท่วมประมาณ 6 สัปดาห์

สำหรับเรื่องไข้เลือดออก สามารถอ่านรายละเอียดได้ในบทความที่หมอหมีเคยเขียน

ตาม link นี้นะครับ //www.facebook.com/note.php?note_id=150783751621364



โรคอื่น ๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นได้ในภาวะน้ำท่วม

* เรื่อง ของอุบัติเหตุ ไม่ว่าจะเป็นการจมน้ำ หรืออุบัติเหตุการบาดเจ็บอื่น ๆ ถ้ามีบาดแผลอย่าลืมฉีดวัคซีนป้องกันบาดทะยัก และรับยาแก้อักเสบเพื่อป้องกันการติดเชื้อ

* ภาวะอุณหภูมิในร่างกาย ต่ำผิดปกติ hypothermia มักจะพบในเด็กเล็ก ถ้าติดอยู่ในน้ำเป็นเวลานาน ๆ และทำให้เสี่ยงต่อการติดเชื้อทางเดินหายใจมากขึ้น




We Care



Dr.Carebear Samitivej



Create Date :25 ตุลาคม 2553 Last Update :25 ตุลาคม 2553 20:08:25 น. Counter : Pageviews. Comments :7