bloggang.com mainmenu search
ระบบป้องกันภาพสั่นไหว

ทำไมภาพเบลอ ?

การสั่นไหวของภาพ หรือที่เรียกกันว่าภาพเบลอนั้น เป็นปัญหาที่คงพบเจอกันทุกคน แต่มาลองคิดถึงคำนิยามเหล่านี้ดู

1.ภาพสั่นไหว
2.ภาพเคลื่อนไหว

แตกต่างกันอย่างไร ?

ภาพสั่นไหว

เป็น ภาพที่ไม่ชัดโดยเราไม่ตั้งใจให้เกิดขึ้น ซึ่งอาจจะเกิดจากหลายๆส่วน ได้แก่ สภาพแสงในบริเวณนั้น, การตั้งค่าที่ไม่เหมาะสม, ไม่ได้ใช้ขาตั้งกล้อง, มือสั่น, พื้นไม่มั่นคง เป็นต้น



ภาพเคลื่อนไหว

เป็น ภาพที่เราตั้งใจให้เห็นแนวเส้น ลีลา ความต่อเนื่องภายในภาพๆหนึ่ง โดยอาศัยการควบคุมกล้องให้เข้ากับหลายๆปัจจัยทั้งภายในกล้องและภายนอกกล้อง เช่น การแพนกล้อง, ภาพน้ำตกที่เป็นสาย, ภาพการแสดงที่ตั้งใจแสดงถึงการเคลื่อนไหวในภาพ



มาพูดถึงภาพสั่นไหวกันต่อ....

ภายในกล้องดิจิตอลจะมีระบบป้องกันการสั่นไหวอยู่สองแบบใหญ่ๆด้วยกัน โดยบางรุ่นจะมีแบบเดี่ยว บางรุ่นจะมีสองแบบอยู่ด้วยกัน

ระบบกันสั่นในกล้อง(Stabilizer) แบ่งได้สองอย่างหลักๆคือ

Software Stabilizer

เป็นการเร่งค่า ISO ให้สูงขึ้นเพื่อทำให้ speed shutter สูงขึ้นตาม เพื่อให้วัตถุในภาพนั้นหยุดนิ่ง งานนี้กล้องจัดการให้ทั้งหมด คล้ายกับการใช้ Auto แต่เน้นเร่งความเร็วชัตเตอร์ให้สูงขึ้น สิ่งที่ตามมาคือ ภาพไม่เรียบเนียนเพราะการเพิ่ม ISO สูงจะทำให้ภาพนั้นเป็น noise ขึ้นได้มากตาม

Hardware Stabilizer

Image sensor shift เป็นการปรับเลื่อน Image sensor เพื่อให้สอดคล้องกับการเคลื่อนไหว หรือกล้องบางตัวจะมีการติดตั้ง Lens shift เป็นระบบป้องกันการสั่นไหวที่เลนส์แทน โดยแบบ Hardware นี้สามารถลดการสั่นไหวได้ประมาณ 2-3 stop เช่น ภาพที่ถ่ายด้วยความเร็ว 1/30 sec ถ้าเปิดระบบนี้ ภาพที่ถ่ายได้ จะเป็นภาพที่เหมือนกับถ่ายด้วยความเร็ว 1/120 sec ถึง 1/250 sec(ตามการทดลองของแต่ละบริษัท เอามาใช้จริงมันจะไม่เหมือนกันซะทีเดียว )

กล้องระดับล่างจะมี Software Stabilizer ถ้าระดับสูงขึ้นมาจะมีทั้ง Software Stabilizer และ Hardware Stabilizer แต่ราคากล้องดิจิตอลในปัจจุบันถูกลงเรื่อยๆ คงไม่ใช่ปัญหาสำคัญแล้ว..

การมีระบบป้องกันภาพสั่นไหว ช่วยให้ตากล้องอุ่นใจได้ในระดับนึง มีมากดีกว่ามีน้อย  ถามว่ากล้องมีระบบป้องกันภาพสั่นไหว ทำให้ภาพไม่เบลอ 100% ได้จริงหรือเปล่า?

คำตอบคือ ไม่จริง ไม่มีอะไรเป็น 100% ในโลกนี้

แล้วอะไรที่มันจะช่วยได้อีกล่ะ????????........

หมายเหตุ : speed shutter คือ ค่าความเร็วที่ใช้ในการถ่ายภาพ โดยทั่วไปจะอยู่ที่ B 1 1/2 1/4 1/8 1/15 1/30 1/60 1/125 1/250 1/500 1/1000 1/2000 1/4000 s....โดย B จะเป็นการกำหนดค่าความเร็วชัตเตอร์ด้วยตัวเอง, ช่วงของ speed shutter จะมากกว่าหรือน้อยกว่าขึ้นกับกล้องแต่ละรุ่น โดยแต่ละค่าจะมีความห่างกัน 1 stop ( 1/4 s เร็วกว่า 1/2 s อยู่ 2 เท่า คือ 1/4 s ห่างจาก 1/2 s อยู่ 1 stop, 1/2 s เร็วกว่า 1 s อยู่ 2 เท่า คือ 1/2 s ห่างจาก 1 s อยู่ 1 stop เป็นต้น)



ตัวช่วยของคุณ.....

1.การจับถือกล้องถ่ายภาพ

การถือกล้องได้กระชับและถนัดมือทำให้การสั่นไหวลดลงได้

2.ขาตั้งกล้อง

หลายๆ คนสงสัยเลยล่ะว่า ขาตั้งกล้องจำเป็นด้วยหรือ  กล้องนี้มันมีระบบป้องกันการสั่นไหวอยู่แล้ว โฆษณาก็ไปในแนวไม่ต้องใช้ขาตั้งกล้องก็ได้ภาพแจ่มแมว แต่จริงๆแล้วขาตั้งกล้องมีความจำเป็นมากถ้าต้องการภาพที่ได้คุณภาพจริง และสำคัญอย่างยิ่งตอนกลางคืนมืดตื๋อ เนื่องจากระบบการสั่นไหวของกล้องอย่างมากก็ลดการสั่นไหวได้ 2-3 stop แล้วการสั่นไหวมันมากกว่านั้นก็ต้องใช้ขาตั้งกล้อง หรืออาจใช้การวางกล้องบนสิ่งของที่มั่นคงก็ได้

3.เลือกใช้ทางยาวโฟกัสสั้นๆ

หลัก การง่ายๆเหมือนกับสูตรการเลือกใช้ ความเร็วชัตเตอร์ที่ดี เท่ากับ 1/ทางยาวโฟกัส(แบบเทียบเท่าสำหรับกล้องดิจิตอลคอมแพค) ความมืดตื๋อทำให้ความเร็วชัตเตอร์ลดลง ดังนั้นการปรับไปใช้ทางยาวโฟกัสที่ช่วงกว้างหรือเทเลโฟโต้ต้นๆจึงดีกว่าการ ใช้เทเลโฟโต้ที่สูง เลือกใช้ทางยาวโฟกัสที่เหมาะสมแล้วให้ขยับตัวเข้าสิ่งที่จะถ่ายจะดีกว่า

4.เลือกใช้รูรับแสงกว้าง

รูรับแสงที่กว้าง(เลขที่แสดงในจอ LCD เลขน้อยๆ) จะทำให้ปริมาณแสงเข้าสู่ตัวรับภาพได้มากขึ้น ทำให้ความเร็วชัตเตอร์สูงขึ้น

5.การเพิ่ม ISO

ISO ยิ่งมากขึ้น จะทำให้ speed shutter เพิ่มขึ้น แต่ต้องระมัดระวัง noise ที่ตามมาว่าจะยอมรับได้หรือเปล่า โดยทั่วไปกล้อง digtal compact ค่า ISO 400 คุณภาพของไฟล์ยังอยู่ในเกณฑ์ที่พอรับได้

6.เปิดไฟ, ใช้แฟลช

แสง สว่างที่น้อย ทำให้ภาพเบลอเพราะความเร็วชัตเตอร์ที่ไม่เพียงพอ การเปิดแฟลชช่วยให้ความเร็วชัตเตอร์สูงขึ้น แต่ถ้าจะให้ดี ย้ายตัวแบบไปในที่ที่มีแสงสว่างมากขึ้นร่วมด้วยก็ช่วยได้(เลือกเปิด-ปิดแฟลช ตามสะดวก)

หากไม่ครบถ้วนประการใด สามารถเพิ่มเติมและแสดงความเห็นได้เลย หวังว่าคงเป็นประโยชน์สำหรับหลายๆคน


ตากล้อง |ช่างภาพ |ชมรมกล้อง |ชมรมคนรักกล้อง |ชมรมถ่ายภาพ|เว็บบอร์ดกล้อง| เว็บกล้อง|กล้องมือสอง |กล้องมือสอง | ราคากล้อง| ราคากล้องดิจิตอล
Create Date :22 กุมภาพันธ์ 2555 Last Update :22 กุมภาพันธ์ 2555 1:12:28 น. Counter : Pageviews. Comments :0