อวสานนักเขียนไทย



อวสานนักเขียนไทย



ตอนนี้เป็นยุคที่น่าเจ็บปวดของนักสร้างสรรค์วรรณกรรมไทย เพราะไหนจะเรื่องของคู่แข่งขันในการสร้างสรรค์ผลงานรุ่นใหม่ๆ ที่ผลุดกันขึ้นมาอย่างกับดอกเห็ด หรือเรื่องของแนวการเขียนที่ถูกลิดรอนแปรเปลี่ยนไปตามความนิยมชมชอบของสังคม จนเหล่าบรรดานักเขียนรุ่นเก่าๆที่ยังไม่สามารถปรับตัวรับกระแสสังคมได้ต้องม้วยมอดดับแสงกันไปเป็นแถวๆ จนไปถึงแม้กระทั่งเรื่องของสำนักพิมพ์ต่างๆที่นับวันจะยิ่ง “เขี้ยว” เรื่องการ พิจารานา ผลงานเพื่อการตีพิมพ์ทางการค้ามากขึ้นทุกขณะ เพียงแค่เหตุผลที่ยกขึ้นมากล่าวเป็นตัวอย่างลอยๆ มันก็มากพอแล้วที่จะทำให้ชนชั้นนักเขียนจำนวนมากถึงกับต้องพากันจำใจยอมแขวนปากกากันเป็นแถว

เรื่องของอุปสรรคภายนอกที่เป็นตัวลิดรอนชีวิตนักเขียนเหล่านั้น อันที่จริงมันเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นมานานมากแล้ว บางทีปัญหาที่ว่ามันอาจจะเกิดขึ้นมาพร้อมๆกับการกำเนิดธุรกิจการพิมพ์เพื่อธุรกิจในประเทศไทยเลยก็เป็นได้ แต่ในช่วงแรกๆปัญหาพวกนี้ยังนับว่ายังมีผลกระทบที่อ่อนมาก เนื่องจากในยุคแรกๆมีนักเขียนอยู่น้อยถึงขนาดนับนิ้วได้ จึงทำให้การต่อสู้แย่งชิงแข่งขันในตลาดวรรณกรรมไม่ได้รุนแรงเหมือนในปัจจุบัน

แต่ในปัจจุบันที่ตลาดของการแข่งขันได้ขยายตัวขึ้นกว่าสิบๆเท่านั้น การต่อสู้แย่งชิงกันของบรรดาพลพรรคนักเขียนกลับทวีความรุนแรงมากขึ้นทุกขณะ สภาพของวงการนี้ในปัจจุบันเหมือนจะกลายเป็นระบบของสงครามทุนนิยมที่มาแรงแซงโค้ง เข้ากวาดล้างเอาระบบฝีมือไปแทบจะสิ้นซาก หนังสืออ่านเล่นที่มีโครงเรื่องซ้ำซากเพ้อฝัน หาสาระมีไม่เริ่มรุกคืบยึดครองทุกชั้นวางของร้านขายหนังสือไปจนแทบจะกำชัยได้เด็ดขาด ชนิดสามารถประกาศได้เต็มปากเต็มคำว่า “เหล่านักเขียนอุดมการณ์” นั้น ในปัจจุบันได้พ่ายแพ้ปราชัยไปเรียบร้อยแล้ว

ยิ่งในปัจจุบันวงการวรรณกรรมไทยก้าวหน้าไปมาก เนื่องจากมีสื่อใหม่อย่างอินเทอร์เน็ทถือกำเนิดขึ้นมา ทำให้ในตอนนี้โลกของเรากลายเป็นยุคแห่งการสื่อสารไร้พรมแดน อินเทอร์เน็ทจึงกลายเป็นสนามทดสอบฝีมือชั้นดีของบรรดา “นักอยากเขียน” ที่จะได้ลองความสามารถในเชิงวรรณกรรมของตนเองว่าอยู่ในขั้นใด

ดังนั้นยุคของใครใคร่จะเขียน... ก็เขียน ใครใคร่จะอ่าน..ก็อ่าน จึงมาเยือนจนได้!

ตอนนี้วงการวรรณกรรมเลยยิ่งปั่นป่วนหนักเข้าไปอีก เพราะไม่รู้ว่าในปัจจุบันมีนักเขียนถือกำเนิดขึ้นมาในโลกไซเบอร์นี้มากเท่าไหร่ และมีคนอ่านมากแค่ไหน!?

การงานวรรณกรรมลงในโลกไซเบอร์นั้นหากคิดในแง่ดีก็นับว่าดี เพราะในส่วนของสนามการฝึกฝนนี้อาจจะช่วยสรรสร้างนักเขียนรุ่นใหม่ๆขึ้นมาประดับวงการได้ แต่หากคิดในอีกแง่มุมแล้ว เรากลับพบว่าปัญหามันมีมากกว่าข้อดีหลายเท่า ทั้งเรื่องของผลงานที่ไม่มีคุณภาพ,ผลงานที่ไร้ซึ่งเหตุผล และความรับผิดชอบ ไปจนถึงกระทั่งผลงานที่หมิ่นเหม่ต่อการถูกฟ้องร้อง

ในเรื่องของปัญหาเหล่านั้น เรื่องที่อันตรายที่สุดสำหรับเหล่านักเขียนรุ่นเยาว์ต้องระวัง และอันตรายมากที่สุด แต่กลับทำเป็นไม่สนใจนั้น คงหนีไม่พ้นเรื่องของ “การละเมิดลิขสิทธิ์”

ยิ่งมีนักเขียนเกิดขึ้นมากซักเท่าไหร่ แนวความคิด และแนวการเขียนใหม่ๆก็ยิ่งจะบีบตัวเลือกให้น้อยลงทุกขณะ การสร้างสรรค์ผลงานใหม่ๆจะค่อยๆถูกกรอบจากเรื่องราวที่คนอื่นเคยได้นำเสนอไปแล้วบีบอัดเข้ามา หากเป็นนักเขียนที่เจนสนามแล้วคงจะสามารถรับความกดดันในส่วนนี้ได้ แต่หากเป็นนักเขียนใหม่ๆในโลก ไซเบอร์แล้ว ความบีบคั้นทางอารมณ์ตรงนี้มันยากเกินกว่าที่พวกเขาจะรับได้ ยิ่งโดยเฉพาะสำหรับนักเขียนใหม่ที่มีผลงานได้รับการยอมรับ และมีแฟนผลงานติดตามอ่านงานอยู่เป็นประจำ มันยิ่งจะเป็นการทวีแรงกดดันหนักเข้าไปอีก สุดท้ายเมื่อไม่สามารถหาทางออกได้ นักเขียนคนนั้นก็จะหาทางออกโดยการ “ลอก”เอาส่วนหนึ่งของผู้อื่นมาตัดแปะงานของตัวเองให้รอดพ้นไปวันๆ

การกระทำเช่นนั้น ถือว่าเป็นเพียงการ “ขายผ้าเอาหน้ารอด” ไปวันๆ สุดท้ายแล้วหากมีคนจับได้ แม้แต่ชื่อเสียงที่เคยสร้างสมมา ก็จะถูกทำลายจนป่นปี้อีกต่างหาก

นั่นเป็นเพียงกรณีหนึ่งของการกระบวนการเริ่มสู่การละเมิดลิขสิทธิ์ในงานเขียนของผู้อื่นเท่านั้น ยังมีอีกกรณีหนึ่งที่นับได้ว่าน่าประณามที่สุดในทุกๆกรณี มีหลายครั้งที่ผมได้มีโอกาสเข้าไปอ่านผลงานของนักเขียนในโลกอินเทอร์เน็ทตามเว็บไซต์ต่างๆที่เอื้ออำนวยในการลงผลงานเหล่านี้ และหลายครั้งเช่นกันที่ผมได้พบกับผลงานที่มีประโยค และการดำเนินเรื่องราวเหมือนๆกัน ต่างกันเพียงแค่สลับตำแหน่งการวางประโยค และชื่อเรื่องเท่านั้น ขนาดตัวผมเองที่เป็นเพียงผู้อ่านคนหนึ่งยังรู้สึกฉุนกึกแทนเจ้าของผลงานที่ถูกลอกเลียน เพราะเรื่องราวที่เขาสรรสร้างขึ้นนั้น ต้องใช้ความคิด ประสบการณ์ และความทุ่มเทมากมายจึงได้งานแต่ละบรรทัดขึ้นมา แต่ยังมีกลุ่มคนที่เห็นว่าความเพียรพยายามเหล่านั้นเป็นเรื่องตลก แล้วหยิบฉวยนำไปใช้ได้อย่างหน้าด้านๆเพื่อชื่อเสียงของตน

นักเขียนในโลกอินเทอร์เน็ทคนหนึ่งที่ผมรู้จัก ถึงกับเลิกเขียนงานอีกต่อไปเมื่อพบว่าผลงานของตนเองถูกคัดลอกไป มิหนำซ้ำคนคัดลอกยังไร้ยางอายถึงขนาดนำผลงานชิ้นนั้นไปเปลี่ยนชื่อ แล้วใส่กลับลงไปในเว็บไซต์เดิมในนามของตนเอง การกระทำแบบนั้นสำหรับคนที่คัดลอกไปอาจจะเห็นเป็นเรื่องสนุก ที่ใช้เวลาในการคัดลอกเพียงไม่ถึงหนึ่งนาทีก็สามารถสร้างชื่อเสียงให้กับตนเองได้ แต่... มันกลายเป็นการดูหมิ่นจิตวิญญาณของเจ้าของผลงานอย่างที่สุด

การกระทำดังกล่าวใช่ว่าเป็นเรื่องที่ชอบธรรม มันเป็นเรื่องที่ผิดตั้งแต่กฎจิตสำนึกของการเป็นมนุษย์ และกฎหมาย ซึ่งกำหนดขอบเขตสิทธิไว้อย่างชัดเจนว่า

“ลิขสิทธิ์งานเขียนจะมีตลอดอายุของนักเขียนผู้นั้นนับแต่สร้างสรรค์ผลงาน และต่อไปอีก 50 ปี นับตั้งแต่นักเขียนผู้นั้นเสียชีวิต”

กล่าวโดยง่าย คือ ไม่ว่าใครก็ตามที่สร้างสรรค์ผลงานขึ้นมาแล้ว ต่อให้ไม่ต้องจดทะเบียนกับกรมทรัพย์สินทางปัญญา ก็ยังได้รับสิทธิ์ในการคุ้มครองโดยชอบทางกฎหมาย และหากนักเขียนคนนั้นมั่นใจว่าตนเองถูกคัดลอกผลงาน และมีหลักฐานว่าอีกฝ่ายกระทำการคัดลอกจริง ก็สามารถที่จะดำเนินการทางกฎหมายได้ทั้งทางอาญา และทางแพ่ง ต่อให้ผลงานที่ถูกคัดลอกไปนั้นเป็นประโยคเพียงบรรทัดเดียวเท่านั้น โทษที่ได้ก็ไม่ได้ต่างกัน

ดังนั้น... สำหรับคนที่เคยคัดลอก กับ คนที่กำลังคิดจะคัดลอก โปรดไต่ตรองให้ถี่ถ้วน และชั่งใจให้หนักว่าแน่ใจแล้วหรือ ที่จะเอาอนาคต และชื่อเสียงของตนเอง กับวงศ์ตระกูลไปเสี่ยงกับการกระทำที่ผิดกฎหมายเต็มประตูเช่นนี้

ขอวิงวอนให้ความคิดเห็นของผมนี้จงไปถึงเหล่าชนชั้นนักเขียนที่ยังมีจิตสำนึกเหลืออยู่ ศักดิ์ศรีของนักเขียนเป็นเรื่องที่ยิ่งใหญ่ ผลงานของใคร ใครก็รัก หากคิดสร้างสรรค์ผลงานออกมาเองได้ ผลประโยคนั้นก็จักตกสู่ตัวท่านเองหาใช่ผู้อื่นไม่ แต่.. ถ้ามืดบอดประสบซึ่งทางตัน ขอท่านจงอ่านหนังสือให้หนัก และตรึกตรองเปิดใจให้กว้างมองดูสิ่งรอบข้าง แล้วกำแพงที่มืดบอดนั้นจักพังทลายลงไปเอง

โปรดอย่าให้ประวัติศาสตร์แห่งวรรณกรรมไทย ได้จารึกไว้เลยว่า ยุคของเรานี้ล่ะ เป็นยุคแห่งการล่มสลายของนักเขียนไทยเลย..

*************************************

ข้อมูล : สำนักลิขสิทธิ์ กรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์



Create Date : 08 สิงหาคม 2550
Last Update : 10 สิงหาคม 2550 23:01:56 น.
Counter : 814 Pageviews.

6 comments
: กะว่าก๋าแนะนำหนังสือ - หล่นไปในสมมุติ : กะว่าก๋า
(24 มิ.ย. 2568 04:11:57 น.)
อำนาจของพุทโธ นาฬิกาสีชมพู
(23 มิ.ย. 2568 19:24:08 น.)
: กะว่าก๋าแนะนำหนังสือ - ความสุขโดยสังเกต : กะว่าก๋า
(22 มิ.ย. 2568 05:29:20 น.)
แจกภาพปฏิทินประจำวัน ครั้งที่ 4 (22-30 มิถุนายน 2568) ทองกาญจนา
(21 มิ.ย. 2568 08:29:32 น.)
  
นักเขียนไม่มีวันตายหรอก ถ้าคนอ่านยังสนุกในการอ่านงานของนักเขียน
สหาย ข้าคิดว่านักเขียนไทยเกิดผิดที่ เพราะเมืองไทยเป็นเมืองที่คนอ่านหนังสือกันน้อย
โดย: สุภาพบุรุษสุรา (communist ) วันที่: 10 สิงหาคม 2550 เวลา:22:52:13 น.
  
อ่านแล้วเกิดอาการเครียดเล็กน้อยถึงปานกลาง ว่าแล้วต่อไปจะทำมาหากินอะไรดีน้อ
โดย: ผัสสะ วันที่: 11 สิงหาคม 2550 เวลา:0:21:34 น.
  

คุณธรรม
ตัวกำหนด....
"พฤติกรรมมนุษย์"
ไม่มีอะไรที่วิเศษไปมากกว่านี้
โดย: คุณครูตัวกลม (คุณครูตัวกลม ) วันที่: 14 สิงหาคม 2550 เวลา:17:00:52 น.
  
ตราบใดที่หมึกในปากกายังไม่หมด

ดินสอยังไม่หมดแท่ง

นักเขียนจะยังคงยืนหยัดอยู่ ไม่ว่ากาลเวลาจะแปรเปลี่ยนไปสักแค่ไหน
โดย: reaction วันที่: 14 สิงหาคม 2550 เวลา:17:59:02 น.
  
^
^^
^^^

Me too REACTION
โดย: jaa (- จอมจุ้น - ) วันที่: 27 สิงหาคม 2550 เวลา:22:19:41 น.
  
=ชีวิตต้องเดินต่อ.................
โดย: พเนจร IP: 117.47.80.246 วันที่: 24 ธันวาคม 2550 เวลา:17:11:35 น.
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

Sleepsheep.BlogGang.com

อัจฉริยะมืด
Location :
ขอนแก่น  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]