เมื่อ "เจ้านาย" ถูกตัดสินประหารชีวิตในสมัยประชาธิปไตย ตอนที่ 4 "ประหารชีวิต" " ฉันตายแล้ว ฉันจะไปเฝ้าพระพุทธเจ้าหลวงท่านได้อย่างไร ท่านอุ้มมาพระราชทานฉันกับพระหัตถ์เองทีเดียว เมื่อ 12 วัน แท้ๆ" พระราชดำรัสของสมเด็จพระพันวัสาอัยยิกาเจ้า เจ้าพระยาพิชเยนทรโยธิน (อุ่ม อินทรโยธิน) ท่านนี้ สืบเชื้อสายมาจากเจ้าฟ้าทองอินทร พระราชโอรสในสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ได้รับแต่งตั้งให้เป็น 1 ในคณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์เมื่อวันที่ 20 สิงหาคม 2478 ภายหลังจากพระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นอนุวัตรจาตุรนต์ ประธานคณะผู้สำเร็จราชการฯ ปลงพระชนม์พระองค์เอง ซึ่งนายปรีดี พนมยงค์เคยกล่าวว่าท่านผู้นี้ได้รับความเคารพนับถือมากในหมู่คณะราษฎร เมื่อการเจรจาระหว่างสมเด็จพระพันวัสสาฯ กับรัฐบาลเพื่อให้ปล่อยตัวพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนชัยนาทฯ (พระยศในขณะนั้น) ไม่ประสบผลสำเร็จ พระองค์จึงต้องถูกพิจารณาโดยศาลพิเศษที่รัฐบาลเป็นผู้ตั้งขึ้น และไม่ว่าจะเห็นชอบหรือถูกบังคับก็ตาม 2 ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ซึ่งได้แก่ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาทิตย์ทิพอาภา และเจ้าพระยาพิชเยนทรโยธิน ได้เป็นผู้ลงนามในพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลพิเศษ ซึ่งศาลนี้ถูกตั้งขึ้นเพื่อใช้สำหรับพิจารณาคดีของผู้ที่ถูกกล่าวหาว่าเป็นปฏิปักษ์กับรัฐบาลโดยเฉพาะ โดยไม่อนุญาติให้จำเลยมีทนายแก้ต่างในศาล คณะกรรมการศาลพิเศษ ที่ทำหน้าที่เป็นผู้พิพากษา ประกอบไปด้วยเพื่อนและคนใกล้ชิดของพลตรี หลวงพิบูลสงคราม เช่น พ.อ. หลวงพรหมโยธี พ.อ. พระประจัญปัจจนึก พ.อ. พระขจรเนติยุทธ เป็นต้น ศาลพิเศษ เป็นสัญลักษณ์แห่งความด่างพร้อยของประวัติศาสตร์ประชาธิปไตย ไม่เพียงแต่การพิจารณาคดีที่ไม่เป็นไปตามกระบวนการยุติธรรมเท่านั้น แต่ยังมีการสร้างหลักฐานและพยานเท็จมากมาย เพื่อให้บุคคลที่รัฐบาลสงสัยว่าเป็นปฏิปักษ์ได้รับโทษ เมื่อเวลาผ่านไปประมาณ 10 เดือน การพิจารณาคดีของศาลพิเศษจึงสิ้นสุดลง ในวันที่มีการพิพากษานั้น ม.ร.ว. นิมิตรมงคล นวรัตน์ 1 ในนักโทษการเมืองทั้ง 51 คน ได้กล่าวว่านักโทษเกือบทุกคนมั่นใจว่าตัวเองจะพ้นผิดจากข้อกล่าวหา ทุกคนเดินเข้าสู่ห้องพิจารณาคดีด้วยใบหน้าที่ยิ้มแย้ม ไม่มีใครคิดว่าตนเองจะถูกประหารชีวิต หรือจำคุกตลอดชีวิตแต่งอย่างใด เพราะต่างก็มั่นใจในความบริสุทธิ์ของตนเอง พิพากษา คดีเป็นอันฟังได้ว่า จำเลยทั้งหมดในดีนี้นอกจาก ได้สบคบกันกระทำการประทุษร้ายเพื่อทำลายรัฐบาล มีความผิดฐานกบฏตามกฎหมายลักษณะอาญา มาตรา 101 อาศัยเหตุดังกล่าวแล้ว จึงต้องพิพากษาให้ประหารชีวิต แต่นายพลโท พระยาเทพหัสดินทร กรมขุนชัยนาทนเรนทร และพันเอก หลวงชำนาญยุทธศิลป จำเลยทำความดีมาก่อน ประกอบกับเมื่อได้ระลึกถึงเหตุผลที่ว่าๆ ไปแล้ว ควรได้รับความปรานี จึงลดโทษให้ 1 ใน 3 ตามมาตรา 59 และมาตรา 37 (1) คงให้จำเลยทั้ง 3 นี้ ไว้ตลอดชีวิต การพิจารณาในครั้งนี้ได้ตัดสินประหารชีวิตนักโทษการเมือง 21 คน และมี 3 คนที่ได้รับการลดโทษ คือ พระยาเทพหัสดินทร กรมขุนชัยนาทนเรนทร หลวงชำนาญยุทธศิลป เคยมีผู้สัมภาษณ์จอมพล ป. พิบูลสงครามว่าทำไมไม่ขออภัยโทษให้กับนักโทษที่ถูกตัดสินให้ประหารชีวิต เมื่อท่านอยู่ในฐานะที่ทำได้ ซึ่งจอมพล ป. ได้อ้างว่าหลวงอดุลเดชจรัส อธิบดีกรมตำรวจ ไม่ยินยอม ท่านสามารถขอได้เพียง 3 คนเท่านั้น แต่ก็มีผู้เย้งว่าจอมพล ป. โยนความรับผิดชอบนี้ของตนให้เป็นความผิดคนอื่น เมื่อถูกพิพากษาตัดสินให้จำคุกตลอดชีวิตแล้ว พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนชัยนาทฯ จึงถูกเชิญเสด็จไปกักขัง ณ เรือนจำกลางบางขวาง และยิ่งนำความเสียพระราชหฤทัยของสมเด็จพระพันวัสสามากยิ่งขึ้นเมื่อคณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์มีพระราชโองการถอดฐานันดรศักดิ์ และเรียกคืนเครื่องราชอิสริยาภรณ์ทั้งหมด โดยให้ออกนามใหม่ว่า นักโทษชายรังสิต ขอบคุณมากครับสำหรับประวัติศาสตร์ที่ผมไม่เคยรู้
![]() โดย: ตะเกียงลาน
![]() ขอบคุณที่เอามาให้อ่านนะครับ
ปล. สิ่งที่สำคัญในการเผยแพร่เรื่องราวทางประวัติศาสตร์ให้แก่ผู้อื่น ทั้งนี้เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่ต้องการศึกษาขยายผลต่อไป น่าจะมีการอ้างอิงที่ถึงแหล่งที่มาของข้อมูลด้วยครับ ![]() โดย: T_Ang
![]() วันที่ ๑๒ พฤศจิกายน นี้
จะเป็นวันครบรอบวันประสูติครบ ๑๒ ทศวรรษของสมเด็จกรมพระยาชัยนาทฯพอดีครับ โดย: ดนย์
![]() ชอบอ่านมากค่ะเก่งจังเลยนะค่ะที่รู้เรื่องเยอะดี
โดย: Puk IP: 81.76.23.220 วันที่: 11 พฤศจิกายน 2548 เวลา:18:41:02 น.
กรรมใดใครก่อ..
ขอบคุณที่นำมาเล่าให้อ่านค่ะ โดย: ju IP: 203.114.115.58 วันที่: 13 พฤศจิกายน 2548 เวลา:10:54:54 น.
ไม่เคยอ่านในส่วนรายละเอียดปลีกย่อยมาก่อนเลยครับ ขอบคุณมาก
![]() โดย: EE.Jump
![]() I feel really sorry for everyone who died by this dictator and even more sorry for our present king's grandmother.
โดย: Nicky from Australia IP: 58.105.59.181 วันที่: 9 มกราคม 2549 เวลา:3:34:04 น.
เป็นแบบนี้เกือบทุกประเทศที่ล้มระบอบสมบูรณาญาสิทธิราช ทำให้นึกถึง ช่วง รัชสมัยของ รัชกาลที่ 7 มีความรู้สึกบอกไม่ถูกค่ะ แต่ขอยกย่องพระองค์ที่ยอมทำทุกอย่าง เพราะไม่อยากให้ประชาชนของพระองค์รบกันเอง รกพระองค์ค่ะ
โดย: คนที่พอฯ IP: 66.56.79.25 วันที่: 4 มีนาคม 2549 เวลา:11:53:10 น.
บางครั้งสิ่งที่ถูกต้องก็คือ สิ่งที่ถูกใจ
โดย: บี้ IP: 58.64.103.8 วันที่: 13 มิถุนายน 2549 เวลา:9:45:11 น.
ครับ..ก็เพราะคนที่อยากได้อำนาจ ทำให้บ้านเมืองเข้าทางตัน การทะเลาะกันนั้น ก็เพราะผลประโยชน์ทั้งนั้น เสียดายระบอบการเมืองไทย นึกถึงบารมีพระเจ้าแผ่นดิน ที่พระองค์ท่านบริหารมาด้วยความ สงบสุขมาตลอด..เสียดายครับ
โดย: คนไท IP: 125.24.166.76 วันที่: 26 มิถุนายน 2550 เวลา:15:17:27 น.
คนที่ถูกตัดสินไม่ว่าผลออกมาจะถูกหรือผิด แต่เขายังเป็นผู้ที่ไม่อยู่เฉย ต่างกับคนที่ไม่ทำอะไรเลยไม่ผิด-ไม่ถูกยังคิดละอายใจอยู่ไหม
โดย: ปาณัท panat_ae@yahoo.co.th IP: 58.8.152.210 วันที่: 29 สิงหาคม 2550 เวลา:13:01:42 น.
ผมเคยคิดว่านอกจากพระเจ้าอยู่หัวแล้วคงไม่มีผู้ใดสามารถถอดพระยศเจ้านายชั้นสูงได้ใครทราบช่วยชี้แจงด้วยครับ เจ้านายชั้นสูงหลายพระองค์ในสมัยนั้นคงจะลำบากในการลี้ภัยทางการเมืองในข้อหากบฎแผ่นดินในการกล่าวหาน่าจะมีหลักฐานแน่นอนไม่ใช่ตั้งสมมุติฐานเอาเองทำให้ไม่เป็นการเคารพต่อพระราชวงค์และเจ้านายทรงอยู่กันไม่สมพระเกียรติเจ้านายชั้นสูงและทรงลำบากไม่สมเหตุผลต้องทรงลี้ภัยการเมืองกันทั้งที่ทำคุณประโยชน์ให้บ้านเมืองมามาก
![]() โดย: ชาติชายชาญ IP: 58.136.51.231 วันที่: 18 พฤษภาคม 2551 เวลา:2:39:10 น.
|
บทความทั้งหมด
|