TSR.2 ก้าวข้างหน้าของอุตสาหกรรมการบินอังกฤษ และ โศกนาฏกรรมของอุตสาหกรรมการบินอังกฤษ TSR.2 ก้าวข้างหน้าของอุตสาหกรรมการบินอังกฤษ และ โศกนาฏกรรมของอุตสาหกรรมการบินอังกฤษ
All modern aircraft have four dimensions: span, length, height and politics. TSR.2 simply got the first three right. เครื่องบินสมัยใหม่ทุกแบบ ประกอบไปด้วยมิติทั้ง4 คือ กว้าง,ยาว,สูง และการเมือง TSR.2 มีทั้ง3มิติแรก เบื้องหลังการกำเนิด TSR.2 TSR.2 เกิดจากความต้องการที่จะทดแทนบ.โจมตี/ทิ้งระเบิดเบา แบบEnglish Electric Canberra (หรือเวอร์ชั่นอเมริกาคือB-57 ) เนื่องจากการพัฒนาอาวุธปล่อยพื้น-สู่-อากาศรุ่นใหม่ๆ ซึ่งทำให้เครื่องบินทิ้งระเบิดที่บินทิ้งระเบิดในระดับสูงตกเป็นเป้าได้อย่างง่ายดาย ซึ่งเครื่องบินเหล่านี้ได้แก่ B-52, Avro Vulcan(หรือตระกูลv-bombersอื่นๆ) จึงมีความต้องการบ.ทิ้งระเบิด/โจมตีทางลึก ที่บินระดับต่ำมากได้ดี และมีความเร็วเหนือเสียง เนื่องจากการบินะดับต่ำจะเป็นการหลบหลีกเรดาร์ หรืออย่างน้อยก็ช่วยร่นระยะทางที่เรดาร์จะตรวจพบเจอบ.ให้น้อยลง ยกตัวอย่างเช่น บ.ที่บินระดับต่ำกว่า300ฟุต เรดาร์จะสามารถตรวจจับได้ที่ระยะทางราวๆ 25ไมล์ ซึ่งถ้าบ.มีความสามารถในการบินระดับต่ำด้วยความเร็วใกล้เสียง เวลาที่อาวุธปล่อยพื้น-สู่-อากาศจะทำการต่อตี จะลดลงเหลือไม่ถึง2นาที ซึ่งคุณลักษณะการบินระดับต่ำ ด้วยความเร็วสูงนั้น ไม่มีในบ.แบบแคนเบอร์ร่า
GOR 339 (General Operation Requirement No.339) ประกาศความต้องการคุณสมบัติทั่วไปหมายเลข 339 ) ประกาศนี้ได้ประกาศอย่างเป็นทางการเมื่อปี 1957 โดยกำหนดคุณลักษณะของบ.ที่กองทัพอากาศอังกฤษต้องการไว้ดังนี้ เป็นบ.ที่บินด้วยความเร็วเหนือเสียง ปฏิบัติการบินได้ทุกกาลอากาศ และบ.นี้จะต้องมีความสามารถในการบรรทุกและโจมตีด้วยอาวุธนิวเคลียร์ โดยมีพิสัยการบินไกล ความเร็ว ณ เพดานบินสูง ต้องไม่ต่ำกว่า 2เท่าของความเร็วเสียง และที่ระดับต่ำ ต้องมีความเร็วไม่น้อยกว่า 1.2เท่าของความเร็วเสียง อีกทั้งยังต้องปฏิบัติการได้จากทุกสนามบิน แม้แต่สนามบินที่ขรุขระ โดยมีคุณลักษณะในการบินขึ้นและลงโดยใช้ทางวิ่งสั้น(STOL) รวมถึงยังประกาศคุณลักษณะเพิ่มเติมอีกเช่น -ทำการบรรทุกและต่อตีด้วยอาวุธนิวเคลียร์ในระดับต่ำได้ ในทุกกาลอากาศ -ทำการตรวจการณ์ถ่ายภาพทางอากาศ ในเพดานปานกลางและต่ำทั้งกลางวันและกลางคืน -สามารถทำการตรวจการณ์ทางอิเล็กโทรนิคส์ได้ -สามารถนำส่งอาวุธนิวเคลียร์ ณ เพดานบินปานกลางได้ แม้ในสภาพอากาศปิด ทั้งกลางวันและกลางคืนได้ -ทำการโจมตีด้วยระเบิดและจรวดธรรมดาได้ โดยกำหนดว่า ความสามารถในการบินเพดานบินต่ำนั้น จะต้องไม่สูงกว่า 1000ฟุต(300เมตร) และ ต้องบินขึ้นโดยใช้ทางวิ่งยาวไม่เกิน 900เมตร พิสัยบินไม่ต่ำกว่า 1000ไมล์ คุณสมบัติเหล่านี้ เมื่อประกาศออกมา ทำให้บ.ผลิตอากาศยานของอังกฤษถึงกับปวดหัว เนื่องจากเป็นความต้องการ ที่น่าจะเกินความสามารถของเทคโนโลยีในยุคนั้น เรียกว่าเกินกว่าคำว่าล้ำยุคไปมาก หนึ่งในบ.ที่แข่งขันกันเพื่อตอบสนองต่อGOR339 นั้นคือ Supersonic Buccaneer จาก บ.แบล็กเบิร์น โดยSupersonic Buccaneer คือบ.แบบบัคคาเนียร์ ปรับปรุงติดเครื่องยนต์SPEY พร้อมระบบAfterburner ( ซึ่งย.Spey ภายหลัง ได้ติดตั้งในบ.แบบ Phantom FG1/2) แต่Supersonic Buccaneer ไม่ประทับใจทอ. อังกฤษ เนื่องจากประสิทธิภาพในย่านความเร็วเหนือเสียงนั้นไม่ดีเท่าที่ควร ดังนั้นจึงยังต้องรอบ.ต่างๆมายื่นแบบมาประกวดต่อไป หลังจากประกาศออกไป บ.เครื่องบินในอังกฤษหลายแห่งได้ยื่นแบบมาประกวดกันอย่างคึกคัก บางบ.ออกแบบแนวอวกาศ หรือสตาร์วอร์ไปนู่น แต่บ.ที่ประทับใจทอ.อังกฤษคือ แบบของอิงลิชอิเล็กทริค P-17A และ ซูเปอร์มารีน 571 แต่ในขณะเดียวกัน ก็ถูกใจคอนเซปท์ของบ.วิคเกอร์สเช่นกันและในที่สุด เมื่อปี 1959 เดือนมกราคม รัฐบาลอังกฤษ ได้ประกาศ บ.แบบใหม่ ในชื่อ Tactical Strike and Reconnaissance 2 หรือ TSR.2 โดยนำดีไซน์ของ วิคเกอร์ส-อาร์มสตรอง มาผสมผสานกับแบบของ บ.อิงลิชอิเล็กทริค โดยจะเป็นโปรเจ็คท์ร่วมกันของทั้ง2บริษัท และพร้อมกันนี้ได้ประกาศความต้องการทางปฏิบัติการแบบ 343 หรือ Operational Requirement 343 (OR 343) ซึ่งนำเอาGOR339 มาดัดแปลง เช่นเพิ่มคุณสมบัติการบินระดับต่ำ โดยสามารถบินด้วยความเร็วใกล้เสียงได้ ที่เพดานบิน 200ฟุตหรือต่ำกว่า และเพดานบินสูงต้องมีความเร็วไม่ต่ำกว่า2เท่าของความเร็วเสียง ดีไซน์และคุณลักษณะ TSR.2 ได้รับแรงบันดาลใจ (ซึ่งใช้บ่อยๆในวงการคอมพิวเตอร์ อย่างเช่นไมโครซอฟท์ ได้แรงบันดาลใจในการออกแบบวินโดวส์วิสต้า มาจาก OSX ของแอปเปิ้ล) มาจากA-5 Vigilante ซึ่งเป็นบ.ในแบบคล้ายๆกัน TSR.2 มีห้องนักบินและนักนำร่อง แบบ2ที่นั่งเรียงกัน ปีกเป็นแบบปีกสูงและลู่หลัง โดยมีปลายงอลง เพื่อประสิทธิภาพในการหมุนตัว ปีกนั้นสามารถงอโค้งได้ เพื่อลดอาการสั่น และยืดอายุโครงสร้างลำตัว การออกแบบปีกนี้ ต่างจากบ.ในยุคใกล้ๆกันอย่างF-111 (หรือขณะนั้นคือ TFX) ซึ่งใช้ปีกแบบ ปรับมุมลู่ปีกได้ หรือ Variable Geometry Wings . อีกทั้งยังออกแบบ ให้ลมที่ดูดจากเครื่องยนต์ มาเป่าที่แฟล็ป เพื่อลดความเร็วร่วงหล่น และเพิ่มประสิทธิภาพในการวิ่งขึ้น ซึ่งช่วยให้TSR.2 บินขึ้นได้โดยใช้ทางวิ่งเพียง 460ม.! ส่วนหางนั้น เป็นแบบทั่วไป แต่แพนหางดิ่งนั้นสามารถเคลื่อนที่ได้ทั้งชิ้น เครื่องยนต์นั้น ใช้เครื่องยนต์ แบบ บริสทอล&ซิดเดลลี โอลิมปัส 22 อาร์ มาร์ค320 ซึ่งเป็นเครื่องยนต์ที่มีพื้นฐานมาจากเครื่องยนต์ตระกูล โอลิมปัส ของเครื่องบินทิ้งระเบิดแบบแอฟโร วัลแคน มีกำลังขับสูงสุด 33000ปอนด์ต่อเครื่อง TSR.2 สามารถบรรทุกอาวุธภายในห้องสรรพาวุธได้ 6000ปอนด์ ซึ่งบรรทุกได้ทั้งอาวุธธรรมดาหรืออาวุธนิวเคลียร์ และยังบรรทุกอาวุธ/ถังน้ำมันที่จุดติดอาวุธ4แห่ง ใต้ปีก น้ำหนักรวมกัน 4000ปอนด์ ในภารกิจโจมตีด้วยอาวุธนิวเคลียร์ TSR.2 สามารถบรรทุกระเบิดนิวเคลียร์แบบRed Beard อานุภาพขนาด 25กิโลตัน ได้1ลูก ในห้องสรรพาวุธในลำตัว หรือ ลูกระเบิดนิวเคลียร์ทางยุทธวิธีแบบWE.177 ในลำตัวได้2ลูก และใต้ปีก2ลูก (แรงระเบิดเทียบเท่าTNT 0.5กิโลตัน /1ลูก) หรือในภารกิจโจมตีโดยใช้อาวุธธรรมดา สามารถติดอาวุธปล่อยแบบAJ.168Martel ที่จุดติดอาวุธภายนอกได้ หรือจะติดลูกระเบิดอื่นๆ รวมถึงถังน้ำมันได้อีกด้วย TSR.2 ติดเก้าอี้ดีดตัวแบบมาร์ติน-เบเคอร์ มาร์ค8 ซึ่งเป็นแบบ 0-0 (Zero-Zero Ejection ซึ่งสามารถดีดตัว ณ ความเร็ว0กม./ชม. และที่เพดานบิน 0 ฟุต ) และยังรับรองว่าสมารถดีดตัวได้ที่ความเร็วมัค2
TSR.2 ผู้บุกเบิกสู่อนาคต ระบบอวิโอนิคส์ทั้งหลายในเครื่องบินแบบTSR.2 ล้วนแต่เป็นเทคโนโลยีล้ำสมัยมากในยุคนั้น โดยเฉพาะระบบนำร่องอัตโนมัติที่นำสมัยมากหรืออาจจะมากที่สุดในยุคนั้น โดยระบบนี้ดัดแปลงมาจากระบบออโต้ไพล็อทแบบ Autonetics Verdan ซึ่งใช้ในบ.โจมตี/ทิ้งระเบิดแบบA-5 vigilante ของกองทัพเรือสหรัฐ โดยนำมาปรับปรุงโดยบ. Elliot Flight Automation ซึ่งดัดแปลงให้เหมาะกับภารกิจที่บินในระดับต่ำ ระบบนี้จะทำการวิเคราะห์ข้อมูลจากหลายด้าน ทั้งข้อมูลความสูงจากเรดาร์วัดความสูง , เรดาร์เกาะภูมิประเทศแบบ Fernanti ,ระบบนำทางด้วยแรงเฉื่อย , ระบบเดินอากาศ ,ระบบนำร่องด้วยวิทยุ แล้วประมวลรวมเข้าด้วยกันกับข้อมูลที่ป้อนให้ล่วงหน้า ผ่านระบบกระดาษเจาะรู (Punch Card,สมัยนั้นคงยังไม่มีDVD ) ซึ่งทำให้ TSR.2 สามารถบินได้ด้วยตัวเอง ไปยังเป้าหมาย ได้ในทุกกาลอากาศ โดยข้อมูลการบินทั้งหมดจะปรากฏบนจอHUD ซึ่งตัวเครื่องบินเองสามารถหลบหลีกภูมิประเทศหรือแม้แต่เสาไฟฟ้า เสาโทรศัพท์ ในกรณีที่ระบบล้มเหลว เครื่องบินจะเร่งเครื่องบินไปยังเพดานบินสูง เพื่อให้นักบินมีโอกาสสลับปุ่มจากอัตโนมัติ มาเป็นระบบแมนวล นอกจากนี้แล้วยังติดตั้งระบบอวิโอนิคส์อันล้ำสมัยอีกหลายอย่าง ทั้งระบบIFF ,ILS และ วิทยุแบบUHF/VHF TSR.2 ยังเป็นบ.ไม่กี่แบบในสมัยนั้นที่มีระบบAPU ติดตั้งในลำตัว
สวัสดีครับพี่icy สบายดีไหมครับ รอพี่อัพบล็อกตั้งนานครับ อยากไห้พี่อัพบ่อยๆ นะครับ บล็อกพี่ไห้ความรู้ดีมากเลยครับ สวัสดีครับ
โดย: sherlork (prasopchai ) วันที่: 5 พฤษภาคม 2551 เวลา:6:38:03 น.
It is a long-waiting moment and now you gives your blog an updated article. On this very special occasion, we would like to take this opportunity to express our thankfulness and gladness for your continuing effort to share the knowledge for the betterment of our community.
กรั่ก ๆ ๆ ๆ ๆ ปล. ประชดเล่นนะท่าน icy ขอบคุณสำหรับบทความครับ ปล. 2 ผมซ้อมเอาไว้ เผื่อต้องไปขอบคุณลูกค้า โดย: Skyman (Analayo ) วันที่: 5 พฤษภาคม 2551 เวลา:7:41:31 น.
สวัสดีครับพี่โย thankfulness แปลว่าอะไรหรือครับพี่โย แล้วบล็อกต่อไปของพี่โยจะอัพเกี่ยวกับอะไรหรือครับ ขอบคุณครับ
โดย: sherork (prasopchai ) วันที่: 5 พฤษภาคม 2551 เวลา:8:36:13 น.
|
บทความทั้งหมด
|