วิเคราะห์ระบบป้องันภัยทางอากาศแบบเอส-300แบบถึงแก่น ตอนจบ
Almaz S-300PMU-2 Favorit
Самоходный Зенитный Ракетный Комплекс С-300ПМУ-2 'Фаворит'
อัลมาส เอส-300พีเอ็มยู-2 “ฟาโวริต”



การพัฒนาต่อมาของระบบอาวุธปล่อยพื้นสู่อากาศแบบเอส-300 คือ เอส-300พีเอ็มยู2 /เอสเอ-10อี ฟาโวริต(ออกเสียงแบบรัสเซีย) ซึ่งออกแบบมาเพื่อแข่งขันกับระบบ S-300V ของอานเทีย(Antey)และระบบแพทริออต แพค2/3 ของสหรัฐฯ ในด้านระบบป้องกันภัยจากขีปนาวุธ เอส-300พีเอ็มยู2 ได้รับการอัพเกรดโดยเริ่มจากระบบเรดาร์ ที่มีการอัพเกรดเป็นรุ่น 30N6E2 แฟลปลิด, 64N6E2 บิ๊กเบิร์ดและยังเพิ่มระบบเรดาร์เตือนภัยล่วงหน้า/เรดาร์ตรวจจับเบื้องต้น แบบ96L6 อีกด้วย ลูกจรวดเดิมแบบ48N6 ยังคงอยู่ แต่เพิ่มลูกจรวดแบบ48N6E2 ที่เพิ่มพิสัยยิงเข้าไปเป็น108ไมล์ทะเล
ระบบเอส-300พีเอ็มยู2 ยังเพิ่มประสิทธิภาพของการบัญชาการด้วยรถบัญชาการเคลื่อนที่แบบ 54K6E2 โดยมีความสามารถควบคุมดืทั้งระบบเอส-300พีเอ็มยู/พีเอ็มยู-1/พีเอ็มยู-2 และยังควบคุมระบบเก่าอย่างS-200VE/SA-5
ระบบเอส-300พีเอ็มยู2 ได้รับการปรับปรุงอย่างมากในระบบภายใน และรวมถึงพิสัยยิง
โดยผู้พัฒนาระบบ บ.อัลมาส และผู้ผลิตลูกจรวด บ.ฟาเคล ได้อ้างว่าในการทดสอบที่สนามทดสอบคาปูสติน ยาร์ สามารถทำลายส่วนหัวรบของขีปนาวุธแบบสกั๊ดได้ทุกครั้ง ในการทดสอบปี ค.ศ.1995


64N6E2 ขณะกาง










Almaz S-400 Triumf
Самоходный Зенитный Ракетный Комплекс С-400 'Триумф'
อัลมาส เอส-400 ตรีอุมฟ์

อัลมาสเอส-400ตรีอุมฟ์ หรือเอสเอ-21เอได้รับการพัฒนาจาก เอส-300พีเอ็มยู2 ซึ่งได้ทดสอบไปเมื่อปีค.ศ.1999 ชื่อเอส-400นั้น เป็นชื่อเมื่อออกสู่ตลาด โดยก่อนหน้านี้ ได้ชื่อว่าเอส-300พีเอ็มยู-3 มีรายงานว่า ทุนรอนบางส่วนในการพัฒนาระบบเอส-400นี้ได้รับการสนับสนุนจาก กองทัพปลดปล่อยประชาชน(PLA )ของจีน

ข้อแตกต่างหลักๆที่แยกเอส-400 จากรุ่นพี่ของมันนั้น ได้แก่ เรดาร์และซอฟท์แวร์ที่ถูกรีดประสิทธิภาพออกมาให้สูงที่สุด และการเพิ่มลูกจรวดใหม่3แบบเข้าไปจากเดิม ทำให้โดยรวมแล้ว ระบบเอส-400เป็นระบบที่สามารถปรับให้เข้ากับสถานการณ์การรบได้อย่างอ่อนตัวซึ่งจะกล่าวต่อไป


แท่นยิงของระบบ S-400แบบ 5P85SE พร้อมท่อยิงของลูกจรวดแบบ 9M96E(ท่อยิงเล็ก4ท่อ)


ลูกจรวดแบบแรกที่ถูกนำมาเพิ่มคือ 48N6DM (Dalnaya – พิสัยไกล)มีพิสัยยิง 215ไมล์ทะเล ออกแบบมาเพื่อจัดการกับเป้าหมายที่สำคัญอย่างAWACS(เครื่องบินเตือนภัยล่วงหน้าและควบคุมทางอากาศ) JSTARS(เครื่องบินติดเรดาร์ตรวจการณ์ภาคพื้น) หรือเป้าหมายอื่นๆที่สำคัญ

ลูกจรวดแบบที่ 2 และ3 คือลูกจรวดแบบ 9M96E และ 9M96E2 ซึ่งมีความสามารถเทียบเท่ากับลูกจรวดรุ่นล่าสุดของระบบแพทริออตอย่าง ERINT/PAC-3 มีพิสัยยิง 21.6และ 64.8ไมล์ทะเลตามลำดับ สามารถสกัดกั้นเป้าหมายที่เพดานบินต่ำสุด15ฟีตเหนือพื้นดิน หรือ สูงสุดที่1แสนฟุต(30กม.)เหนือพื้นดิน

48N6E2, 9M96E และ 9M96E2



ภาพการทดสอบยิง(ภาพจาก Almaz-Antey)


ลูกจรวดแบบ9M96E นั้นออกแบบมาเพื่อการสกัดกั้นแบบปะทะโดยตรง (ชนเป้าหมาย แทนที่จะฉียดเป้าหมายแล้วระเบิด) ใช้ปีกคานาร์ด และท่อท้ายปรับทิศแรงขับ เพื่อที่จะเพิ่มความคล่องแคล่ว ทำให้มันดูเหมือนคล้ายอาวุธปล่อยนำวิถีอากาศ-อากาศแบบR-73/AA-11 อาร์เชอร์ที่ขยายใหญ่ขึ้นแต่จริงๆแล้วค่อนข้างแตกต่างโดยสิ้นเชิง ลูกจรวดนำวิถีแบบแอคตีฟโฮมมิ่ง แต่นำวิถี/อัพเดทข้อมูลเป้าหมายระหว่างบินเข้าสู่เป้าหมายด้วยเรดาร์แบบ30N6E แฟลปลิด หัวรบนั้นหนัก54ปอนด์แบบระเบิดแรงสูงพร้อมสะเก็ดระเบิด
ลูกจรวดที่เล็กลงนี้ สามารถทำให้ใส่ได้4ลูกในท่อท่อยิงของลูกจรวดแบ 48N6E/5V55K/R นั่นหมายถึง ใน1แท่นยิงสามารถติดตั้งลูกจรวดแบบ9M96Eได้ถึง16ลูก หรือจะผสมตามสูตรดังนี้ 3 x 48N6 / 4 x 9M96E/E2, 2 x 48N6 / 8 x 9M96E/E2 หรือ 1 x 48N6 / 12 x 9M96E/E2 โดยลูกจรวดแบบ9M96Eออกแบบเพื่อการสกัดกั้นทั้งอากาศยาน อาวุธปล่อยนำวิถี โดยมีโชคในการยิงถูก 70%สำหรับอาวุธปล่อยนำวิถีขนาดฮาร์พูน และ90%กับอากาศยาน







Almaz S-400M Samodyerzhets
Самоходный Зенитный Ракетный Комплекс С-400M 'Самодержец'
อัลมาสเอส-400เอ็ม ซาโมเดอเซทส์

อาวุธปล่อยรุ่นล่าสุดของซีรี่ส์เอส-300 นั่นคือเอส-400เอ็ม /เอสเอ-21บี ซึ่งเป็นการรวมเทคโนโลยีในการสกัดกั้นขีปนาวุธของเอส-300วีเอ็ม(ซึ่งใช้ในกองทัพบกรัสเซีย) เข้ากับระบบเรดาร์อันทันสมัยของเอส-400 ข้อมูลของระบบนี้ยังมีไม่มากนัก ทางเจนส์(Jane’s)ได้คาดว่า ระบบเอส-400เอ็มจะใช้ลูกจรวดของเอส-300วีเอ็ม แบบ 9M82M(พิสัยยิง 108ไมล์ โชคในการยิงเป้าหมายที่เป็นขีปนาวุธพิสัยกลาง98%) ผนวกกับระบบเรดาร์ของเอส-400เอ็ม แผนภาพข้างล่างนี้เกิดจากการคาดการณ์ตามข้อมูลของJane’s




Create Date : 04 มกราคม 2551
Last Update : 4 มกราคม 2551 12:57:32 น.
Counter : 3020 Pageviews.

5 comments
“ปลาออร์ฟิช” ปลาวันสิ้นโลก สมาชิกหมายเลข 4149951
(20 ส.ค. 2567 12:46:13 น.)
สรุปวิชาเคมีชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.4) เรื่องตรางธาตุ นายแว่นขยันเที่ยว
(12 มิ.ย. 2567 00:03:51 น.)
น้ำฝนทั่วโลกปนเปื้อน ‘สารก่อมะเร็ง’ สมาชิกหมายเลข 4313444
(7 พ.ค. 2567 20:25:22 น.)
สรุปวิชาโลกดาราศาสตร์และอวกาศชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.5) เรื่องทรัพยากรธรณี นายแว่นขยันเที่ยว
(28 ก.พ. 2567 00:03:41 น.)
  
ซึ๊งใจ ที่ชาตินี้ ได้มีโอกาสเห็นท Icy อัพปล็อก


โดย: Skyman (Analayo ) วันที่: 4 มกราคม 2551 เวลา:14:33:41 น.
  
พี่ช่วยลบคอมเม้นท์ข้างบนหน่อยดิ หนูจะเจิม
โดย: นางน่อยน้อย วันที่: 5 มกราคม 2551 เวลา:6:18:08 น.
  
^
^
^

... ใจร้ายที่สุดเลย
โดย: Skyman (Analayo ) วันที่: 6 มกราคม 2551 เวลา:16:54:35 น.
  
Vote Bloggang นาทีสุดท้าย ..... ผมโหวตให้แล้วนะครับ
โดย: Skyman (Analayo ) วันที่: 6 มกราคม 2551 เวลา:16:55:57 น.
  
อยากทราบราคาครับชุดละกี่บาทครับ....
โดย: jone IP: 125.25.168.150 วันที่: 19 มีนาคม 2551 เวลา:15:14:28 น.
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

Nanasarawithicy-cmu.BlogGang.com

icy_CMU
Location :
ชลบุรี  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]

บทความทั้งหมด