สักกายทิฐิ

               

         เวลาฟังธรรมแล้วไม่บรรลุก็เพราะขาดสมาธิ ถ้ามีสมาธิต้องบรรลุได้ ถ้าจิตยังไม่รวม จะเข้าไม่ถึงฐานของจิต ไม่ถึงรากของกิเลสตัณหา ไม่ถึงพระอริยสัจ ๔  ถ้าจิตรวมลงแล้ว เวลาได้ยินได้ฟังธรรม จะถอดถอนกิเลสได้ทันที อย่างพระปัญจวัคคีย์ทั้ง ๕ ที่ได้บำเพ็ญศีลสมาธิมาเต็มที่แล้ว แต่ท่านไม่มีปัญญา ไม่รู้ไตรลักษณ์ คืออนิจจังทุกขังอนัตตา เพราะไม่มีใครรู้ไม่มีใครสอนมาก่อน พอพระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรม ว่าทุกสิ่งทุกอย่างเป็นไตรลักษณ์ เป็นอนิจจังทุกขังอนัตตา สักกายทิฐิที่เป็นกิเลสฝังลึกอยู่ในใจ ก็จะถูกถอนขึ้นมาทันที สักกายทิฐิคือการเห็นว่าขันธ์ ๕ คือร่างกาย เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เป็นตัวเราของเรา พอทรงแสดงว่าขันธ์ ๕ เป็นอนิจจัง ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ถ้าไปยึดไปติด เป็นทุกข์ในอริยสัจ คือทุกข์ที่เกิดจากตัณหาความอยาก อยากให้ขันธ์ ๕ เที่ยง อยากให้ขันธ์ ๕ เป็นไปตามความปรารถนา พอไม่ได้เป็นก็จะเกิดความทุกข์ใจขึ้นมา นี่เป็นทุกข์ในอริยสัจ ไม่ใช่ทุกข์ในขันธ์ ไม่ใช่ทุกข์ในร่างกาย ไม่ใช่ทุกข์ในเวทนา แต่เป็นทุกข์ที่เกิดจากตัณหาความอยาก ที่มีอวิชชาเป็นผู้ผลักดัน คืออวิชชา ปัจจยา สังขารา อวิชชาคือความไม่รู้ว่าขันธ์ ๕ เป็นอนิจจังทุกขังอนัตตา ไม่ใช่ตัวเราของเรา เป็นเพียงสภาวธรรม ที่เกิดขึ้นตั้งอยู่แล้วดับไป รูปขันธ์ก็คือการเกิดขึ้นตั้งอยู่แล้วดับไป ของธาตุ ๔ ดินน้ำลมไฟ นามขันธ์คือสภาวธรรมที่เกิดขึ้นแล้วดับไปภายในใจ ไม่มีตัวไม่มีตน พอได้ยินได้ฟังก็จะเข้าใจทันที
 
ถ้ามีสมาธิมีจิตที่สงบ จะเห็นอริยสัจ ๔ ปรากฏขึ้นในใจ เวลามีความอยากให้ร่างกาย เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เป็นอย่างนั้นอย่างนี้ พอเกิดความอยากขึ้นมา ซึ่งเป็นสมุทัยต้นเหตุของความทุกข์ ก็เกิดความทุกข์ใจขึ้นมา อันนี้ไม่ใช่ทุกข์กาย ไม่ใช่ทุกขเวทนา พอคิดถึงความแก่ ความเจ็บ ความตาย ใจก็ทุกข์ขึ้นมา ทุกข์ด้วยอำนาจของสมุทัย ที่ไปคิดว่าร่างกาย เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เป็นตัวเราของเรา ก็อยากจะให้สุข ไม่ให้ทุกข์ ถ้าสุขก็อยากให้สุขไปนานๆ ถ้าทุกข์ก็อยากจะให้หายไปเร็วๆ อยากให้ร่างกายอยู่ไปนานๆ ไม่เจ็บไข้ได้ป่วย อย่างนี้เป็นตัณหาความอยาก เป็นสมุทัย ต้นเหตุของความทุกข์ใจ เวลาบรรลุธรรมก็บรรลุตรงนี้ ตรงที่เห็นอริยสัจ ๔ ภายในใจอย่างชัดเจน ได้เห็นทุกข์ ได้เห็นสมุทัย ถ้าเคยได้ยินได้ฟังธรรมคือมรรค ที่พระองค์ทรงสอนว่าขันธ์ ๕ เป็นอนิจจังทุกขังอนัตตา พอเห็นว่าเป็นอนิจจังทุกขังอนัตตา ก็จะละอุปาทานละตัณหาความอยากให้ขันธ์ ๕ เป็นอย่างนั้นอย่างนี้ได้ เพราะรู้ว่าไม่สามารถฝืนความจริงของขันธ์ ๕ ได้ เป็นอย่างไรก็ต้องยอมรับ พอยอมรับความจริงทุกข์ที่มีอยู่ในใจก็ดับไปทันที เพราะสมุทัยหยุดทำงาน หยุดอยากไม่แก่ไม่เจ็บไม่ตาย ปล่อยให้เป็นไปตามความจริง  จะเป็นอย่างไรก็สักแต่ว่ารู้  รู้ด้วยสติรู้ด้วยปัญญา รู้ว่าเป็นไตรลักษณ์  รู้ว่าต้องปล่อยวาง พอปล่อยวางได้ ความทุกข์ใจก็หายไป
 
นี่คืออริยมรรคอริยผล การเห็นอริยสัจ ๔ ขั้นต่างๆ ขั้นแรกก็ต้องเห็นสักกายทิฐิ ที่ทำให้เกิดความทุกข์ใจขึ้นมา สักกายทิฐิคือความเห็นผิดเป็นชอบ  เห็นกงจักรเป็นดอกบัว เห็นว่าขันธ์ ๕ เป็นตัวเราของเรา แล้วก็เกิดอุปาทานความยึดติดในขันธ์ ๕ เกิดตัณหาความอยากให้ขันธ์ ๕ เป็นไปตามความปรารถนาของตน ก็จะเกิดทุกข์ขึ้นมา เป็นทุกข์ในอริยสัจ ๔ ทุกข์ที่อยู่ในใจ จะเห็นทุกข์นี้ได้ ต้องมีจิตที่สงบ จิตต้องรวมเข้าสู่ฐาน เป็นเอกัคคตารมณ์ พอออกมาจากความสงบ ก็จะมีความคิดปรุงแต่ง ขณะที่อยู่ในสมาธิจะไม่มีความคิดปรุงแต่ง จะไม่มีทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค มีแต่นิโรธคือความดับทุกข์ชั่วคราว ที่เกิดจากกำลังของสมาธิ เพราะตอนนั้นสัญญาสังขารไม่ได้ทำงาน ไม่ได้ปรุงแต่งไปในทางสมุทัย แต่พอออกมาจากสมาธิแล้ว พอจิตเริ่มคิดถึงรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ก็จะเกิดความอยากให้เป็นอย่างนั้นอย่างนี้ ก็จะเกิดความทุกข์ใจขึ้นมา ถ้ามีสติมีปัญญารู้ว่ารูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ  เป็นอนิจจังทุกขังอนัตตา ก็จะระงับความอยาก ทำใจให้เฉยๆ เป็นอย่างไรก็ได้ พอทำใจให้เฉยๆได้ ความทุกข์ใจที่เกิดจากความอยากก็จะหายไป เพราะรู้ว่าเป็นเรื่องธรรมดาของขันธ์ มีการเกิดย่อมมีการดับไปเป็นธรรมดา ถ้ารู้อย่างนี้ก็ปล่อยวางได้ ตัดความอยากคือสมุทัยได้ เป็นอย่างไรก็ต้องยอมรับโดยถ่ายเดียว ค้านไม่ได้ ความจริงเป็นสิ่งที่ไม่มีใครค้านได้ นี่แหละคือการบรรลุธรรม ต้องมีสมาธิก่อน มีจิตที่สงบก่อน ต้องเข้าไปถึงรากฐานของกิเลสตัณหา ที่อยู่ในฐานของจิต การปฏิบัติจึงต้องเข้าไปในฐานของจิต เพื่อขุดเอารากของกิเลสตัณหาออกมา คือความเห็นผิดทั้งหลายคือโมหะ เช่นสักกายทิฐิเป็นความเห็นผิดข้อที่ ๑
 
ข้อที่ ๒ คือวิจิกิจฉา ความลังเลสงสัยในพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ พอเห็นพระอริยสัจ ๔ ในฐานของจิต ก็จะหายสงสัยว่าพระพุทธเจ้ามีจริงหรือไม่ ถึงแม้จะไม่เคยเห็นมาก่อน พอรู้ว่าพระอริยสัจ ๔ เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้า เป็นพระธรรมคำสอน ก็จะไม่สงสัยว่าพระธรรมคำสอนเป็นคำสอนที่จริงหรือไม่ ถูกต้องตามหลักความจริงหรือไม่ จะไม่สงสัยในพระสงฆ์ ผู้เห็นพระพุทธเจ้า เห็นพระธรรม พระสงฆ์ก็คือผู้มีดวงตาเห็นธรรมนี่เอง  คือพระโสดาบัน ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ผู้ที่ได้ทำจิตให้ดิ่งเข้าสู่ฐาน แล้วก็เห็นอริยสัจ ๔ คือการทำงานของทุกข์สมุทัยนิโรธและมรรคอย่างชัดเจน เรื่องพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ก็จะไม่ลังเลสงสัยอีกต่อไป ไม่ต้องเดินทางไปประเทศอินเดีย เพื่อนมัสการสังเวชนียสถาน ๔ ผู้ที่ต้องไปเพราะยังไม่เห็นพระพุทธพระธรรมพระสงฆ์ที่แท้จริงภายในใจ อย่างน้อยก็ขอให้ได้เห็นซากของสถานที่ที่พระพุทธเจ้าเคยประทับอยู่ เช่นสถานที่ประสูติ ตรัสรู้ แสดงพระธรรมครั้งแรก และเสด็จดับขันธปรินิพพาน จะได้เกิดศรัทธาวิริยะฉันทะที่จะเจริญรอยตามพระพุทธบาท ก็จะหมั่นศึกษาพระธรรมคำสอน และปฏิบัติตาม จนกว่าจะบรรลุอริยมรรคอริยผล ก็จะเข้าถึงพระพุทธพระธรรมพระสงฆ์ที่แท้จริง ต้องเริ่มจากการทำบุญให้ทาน รักษาศีลให้บริสุทธิ์ แล้วก็เจริญสติ เพื่อทำจิตให้รวมลงเป็นสมาธิ พอออกมาจากสมาธิ ก็พิจารณารูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ว่าเป็นไตรลักษณ์ ก็จะสามารถเห็นพระอริยสัจ ๔ ได้ เห็นทุกข์สมุทัยนิโรธมรรค ที่ทำงานอยู่ในใจ นี่คืออานิสงส์ที่เกิดจากการฟังเทศน์ฟังธรรม
 
ก่อนที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้และประกาศพระธรรมคำสอน ไม่มีใครรู้เรื่องของสักกายทิฐิ เรื่องของไตรลักษณ์ อนิจจังทุกขังอนัตตา พอพระพุทธเจ้าได้ทรงตรัสรู้ ทรงเห็นพระอริยสัจ ๔ ในพระทัยของพระองค์ ทรงเห็นสักกายทิฐิ แล้วนำเอามาเผยแผ่สั่งสอนให้แก่ผู้อื่น ถ้าผู้ฟังมีฐานะที่จะรับธรรมนี้ได้ ก็จะบรรลุธรรมได้ทันที ถ้าไม่บรรลุทั้งๆที่ได้ยินเรื่องพระอริยสัจ ๔ ได้ยินเรื่องขันธ์ ๕ ว่าเป็นอนิจจังทุกขังอนัตตามานานแล้ว แต่ใจยังเป็นเหมือนเดิมอยู่ ยังมีสักกายทิฐิอยู่ ยังเห็นว่าร่างกายเวทนาสัญญาสังขารเป็นตัวเราของเราอยู่ นั่นก็เป็นเพราะว่ายังไม่ได้เข้าไปในฐานของจิต คือจิตยังไม่ได้รวมเป็นหนึ่ง เป็นเอกัคคตารมณ์ เพราะที่นั่นเป็นที่ฝังรากของสักกายทิฐิ วิจิกิจฉา และสีลัพพตปรามาส คือการไม่เห็นว่าสุขทุกข์ดีชั่วอยู่ที่การกระทำของตนเอง พอทำดีมีศีล ก็จะไม่ทุกข์ไม่วุ่นวายใจ เวลาทุกข์วุ่นวายใจ ก็ไม่ได้มาแก้ที่ใจ ก็คือมารักษาศีล แต่ไปแก้ด้วยวิธีการสะเดาะเคราะห์ต่างๆ เปลี่ยนชื่อเปลี่ยนนามสกุล เปลี่ยนทรงผม ทำพิธีต่างๆ บูชาสิ่งต่างๆ ที่ไม่ได้ดับความทุกข์ภายในใจ ที่เกิดจากการกระทำบาป ทุกครั้งที่ทำอะไรไม่ดี คิดร้ายพูดร้ายทำร้าย จะไม่สบายใจ พอได้เห็นพระอริยสัจ ๔ ก็จะไม่สงสัยเรื่องของการรักษาศีล เพราะเวลาทำผิดศีลใจจะทุกข์ เพราะเกิดสมุทัยความไม่อยากรับผลของการทำบาปนั้นเอง เวลาทำบาปทำแล้วไม่อยากจะถูกลงโทษ ก็เลยทุกข์ใจ  ถ้าได้เข้าสู่ฐานของจิตแล้ว จะเห็นว่าความทุกข์ความสุขในใจ เกิดจากความคิดดีหรือคิดร้าย ถ้าคิดดีใจจะไม่ทุกข์ ถ้าคิดไม่ดีใจจะทุกข์ ก็จะมาแก้ทุกข์ที่ใจ ก็จะละสีลัพพตปรามาสได้
 
นี่คือสังโยชน์ที่ผูกมัดใจให้ติดอยู่ในกองทุกข์ ถ้ามีสักกายทิฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส ก็จะทุกข์ ถ้าดับสังโยชน์ทั้ง ๓ นี้ได้ ความทุกข์ใจจะเบาบางลงไปในระดับหนึ่ง แต่ก็ยังมีสังโยชน์อีก ๒ ที่อยู่ในกลุ่มของสังโยชน์เบื้องต่ำ คือกามราคะและปฏิฆะที่ต้องละให้ได้ กามราคะคือความกำหนัดยินดีในกามนี้เอง โดยเฉพาะการร่วมหลับนอนร่วมเพศ ส่วนปฏิฆะก็คือความหงุดหงิดรำคาญใจ เวลาเกิดกามราคะก็จะหงุดหงิด ถ้ายังไม่ได้ร่วมเพศ พอได้ร่วมเพศแล้วความหงุดหงิดก็จะหายไปชั่วคราว เพราะกามราคะได้หยุดไปชั่วคราว หลังจากที่ได้ไปร่วมหลับนอนได้ร่วมเพศแล้ว หลังจากนั้นก็จะเกิดกามราคะขึ้นมาใหม่ ก็จะหงุดหงิดใจอีก  การที่จะละกามราคะและปฏิฆะได้  ต้องเจริญอสุภกรรมฐาน พิจารณาส่วนที่ไม่สวยงามของร่างกาย ส่วนที่สวยงามนี้เราเห็นกันอยู่ตลอดเวลา เพราะเราชอบเอาส่วนที่สวยงามออกมาโชว์กัน ถ้ายังไม่ได้อาบน้ำอาบท่า หวีเผ้าหวีผม แต่งเนื้อแต่งตัว จะไม่กล้าออกจากบ้านกันถ้าตื่นนอนลุกขึ้นจากเตียงขับรถออกไปทำงานเลย จะมีใครทำบ้าง ถ้าทำก็ไม่ต้องเจริญอสุภะกันให้เหนื่อย เพราะเห็นอสุภะกันตลอดเวลา แต่พวกเราไม่ชอบเอาอสุภะมาอวดกัน  ชอบเอาแต่สุภะความสวยงามมาอวดกัน ก็เลยทำให้เกิดกามราคะความกำหนัดยินดีขึ้นมา เกิดการข่มขืนกันฆ่ากัน ข่มขืนแล้วก็ต้องฆ่าปิดปาก ถ้าทุกคนเอาอสุภะมาอวดกัน จะไม่มีการข่มขืนกัน ไปไหนก็จะปลอดภัย กลับไม่ชอบอวดกัน ชอบทำตัวให้เป็นเหยื่อล่อพวกอาชญากร ถ้าไม่อยากจะถูกข่มขืน ก็เอาอสุภะออกมาอวดกัน จะไม่มีใครมาข่มขืน แต่งกายเหมือนคนขอทาน ใส่เสื้อผ้าขาดๆมีกลิ่นเหม็น จะปลอดภัย ไม่ถูกข่มขืนชำเรา พวกเราไปสร้างเหตุโดยไม่รู้สึกตัว ด้วยการแต่งตัวไม่ปกปิดร่างกายให้มิดชิด สวมใส่เสื้อผ้าตัวนิดเดียว ที่วัดต้องจัดโสร่งไว้คอยต้อนรับ ให้คนที่แต่งกายไม่สำรวมใส่โสร่งคลุมร่างกายไว้ ก่อนจะเข้าไปในสถานที่ศักดิ์สิทธิ์
 
ถ้าต้องการละกามราคะก็ต้องเจริญอสุภกรรมฐาน ต้องดูส่วนที่ไม่สวยไม่งามของร่างกาย ให้นึกถึงตอนที่เพิ่งตื่นขึ้นมา ผมเผ้ายังไม่ได้หวี ฟันยังไม่ได้แปรง เวลาไปขับถ่ายในห้องน้ำ ดูอวัยวะต่างๆที่อยู่ภายใต้ผิวหนัง มองด้วยปัญญา คือให้นึกถึงภาพของอวัยวะต่างๆที่ซ่อนอยู่ภายใต้หนัง เช่นโครงกระดูก หัวใจ ตับ ไต ลำไส้ ถ้าดูอย่างนี้อยู่เรื่อยๆ เวลามองร่างกายก็จะมองอย่างสมดุล มองทั้งสองด้าน ด้านนอกก็เห็น ด้านในก็เห็น ก็จะระงับกามราคะได้ หรือจะดูสภาพที่ตายไปแล้วก็ได้ ก็เป็นร่างกายอันเดียวกัน ร่างกายที่เราชอบเรารัก สักวันหนึ่งก็จะต้องกลายเป็นซากศพไป ศพ ๓ วันเป็นอย่างไร ศพ ๗ วันเป็นอย่างไร ศพ ๑๕ วันเป็นอย่างไร ในสมัยก่อนเขาทิ้งศพไว้ในป่าช้า เวลามีแร้งกามากัดมากินเป็นอย่างไร เวลามีหนอนมีแมลงมีสัตว์ต่างๆมาแทะกินจะเป็นอย่างไร ให้ดูอย่างนี้บ้าง เพื่อจะได้เห็นความจริงของร่างกายว่าสวยจริงหรือไม่สวยจริง ถ้าดูอย่างนี้อย่างต่อเนื่อง เวลาเห็นร่างกายปั๊บไม่ว่าจะแต่งกายให้สวยขนาดไหนก็ตาม มีรูปร่างหน้าตาสวยงามขนาดไหนก็ตาม อสุภะที่ได้พิจารณาอยู่เรื่อยๆจะออกมาเตือนว่า ไม่ได้สวยงามอย่างที่เห็นด้วยตา ส่วนที่ไม่สวยที่ไม่เห็นก็มีอยู่ด้วย
 
นี่คือการเจริญอสุภกรรมฐาน ถ้าเจริญได้ประมาณสักครึ่งหนึ่ง ก็จะทำให้กามราคะเบาบางลงไป จะมีความเบื่อๆอยากๆ บางครั้งก็อยากถ้าเผลอ ไม่ได้คิดถึงอสุภะ เวลาใดที่นึกถึงอสุภะเวลานั้นก็จะเบื่อ ขั้นนี้เป็นขั้นของพระสกิทาคามี ได้ทำให้กามราคะและปฏิฆะเบาบางลงไป แต่ยังไม่หมด ถ้าเจริญอสุภะได้อย่างต่อเนื่องตลอดเวลา มองครั้งใดก็จะเห็นอสุภะทันที ดับสุภะทันที อย่างนี้ก็จะเบื่อตลอดเวลา ไม่มีกามราคะไม่มีปฏิฆะหลงเหลืออยู่ภายในใจ ใจก็จะหมดความวุ่นวายไปกับเรื่องของร่างกาย จะเห็นร่างกายทุกสัดทุกส่วน เห็นตั้งแต่สักกายทิฐิมา ว่าเกิดแล้วต้องแก่ ต้องเจ็บ ต้องตาย เป็นธรรมดา เป็นดินน้ำลมไฟ เป็นอสุภะ เป็นปฏิกูล ถ้าเห็นอย่างนี้แล้วก็บรรลุขั้นอนาคามี   อนาคามีแปลว่าผู้ไม่กลับมาเกิดในกามภพ ไม่ต้องการร่างกายเป็นเครื่องมือในการหาความสุขอีกต่อไป จะหาความสุขจากความสงบภายในใจ จะไม่ต้องเกิดในกามภพ คือไม่เกิดเป็นเทพเป็นมนุษย์ แต่ยังต้องเกิดเป็นพรหมจนกว่าจะสามารถละสังโยชน์เบื้องบนที่มีอยู่ ๕ ข้อได้ คือ ๑. รูปราคะ ความติดใจในรูปฌาน ๒. อรูปราคะ ความติดใจในอรูปฌาน ๓. มานะ การถือตัว ๔. อุทธัจจะ ความฟุ้งซ่าน ๕. อวิชชา ความไม่รู้พระอริยสัจ ๔ ที่ละเอียด  อุทธัจจะเป็นความฟุ้งซ่านของจิตที่ละเอียด ต่างจากความฟุ้งซ่านของนิวรณ์ ที่เป็นชนิดหยาบ เป็นความฟุ้งซ่านชนิดละเอียด ที่เกิดจากการทำงานของมหาสติมหาปัญญา ที่เลยขอบเขต ไม่หยุดไม่หย่อน ไม่รู้จักพักผ่อน ก็เลยทำให้เกิดความฟุ้งซ่านขึ้นมา พอเข้าถึงจุดนี้แล้ว สติปัญญาจะทำงานอย่างอัตโนมัติ จะขุดคุ้ยค้นหากิเลสหาสังโยชน์ ที่ยังสร้างความทุกข์ให้กับจิตอยู่ อย่างไม่หยุดไม่หย่อน ก็เลยทำให้เกิดความฟุ้งซ่านขึ้นมา ถ้าหยุดพักจิตในสมาธิ หยุดความคิดปรุงแต่ง ให้อยู่ในความสงบ ความฟุ้งซ่านก็จะหายไป พอออกมาจากสมาธิก็จะพิจารณาขุดคุ้ยหากิเลสหาสังโยชน์ต่อ เพื่อกำจัดให้หมดสิ้นไป



 
......................................................



ขอขอบคุณที่มาจาก : 
 เว็บ พระธรรมเทศนา

 
ภาพประกอบจาก : วัดหงส์รัตนาราม



Create Date : 08 เมษายน 2567
Last Update : 8 เมษายน 2567 11:07:04 น.
Counter : 291 Pageviews.

16 comments
(โหวต blog นี้) 
: รูปแบบของความว่าง : กะว่าก๋า
(18 เม.ย. 2567 04:00:35 น.)
: รูปแบบของชีวิต : กะว่าก๋า
(17 เม.ย. 2567 04:37:20 น.)
: รูปแบบของการค้นพบตนเอง : กะว่าก๋า
(16 เม.ย. 2567 06:05:58 น.)
: หยดน้ำในมหาสมุทร 36 : กะว่าก๋า
(14 เม.ย. 2567 06:17:30 น.)

ผู้โหวตบล็อกนี้...
คุณกะว่าก๋า, คุณปรศุราม, คุณฟ้าใสวันใหม่, คุณอาจารย์สุวิมล, คุณสายหมอกและก้อนเมฆ, คุณทนายอ้วน, คุณหอมกร, คุณปัญญา Dh, คุณtoor36, คุณhaiku, คุณสองแผ่นดิน, คุณนายแว่นขยันเที่ยว, คุณtanjira, คุณmultiple, คุณSweet_pills, คุณโฮมสเตย์ริมน้ำ, คุณnonnoiGiwGiw, คุณnewyorknurse, คุณดอยสะเก็ด, คุณเนินน้ำ

  
สาธุธรรมครับ

โดย: กะว่าก๋า วันที่: 8 เมษายน 2567 เวลา:11:47:51 น.
  
สวัสดี จ้ะ น้องเอ็ม

มาอ่านข้อคิดและธรรมะดี ๆ จากบล็อกน้องเอ็ม
โหวดหมวด ข้อคิดและธรรมะ
โดย: อาจารย์สุวิมล วันที่: 8 เมษายน 2567 เวลา:16:02:13 น.
  
สวัสดีครับคุณเอ็ม
โดย: ทนายอ้วน วันที่: 8 เมษายน 2567 เวลา:20:27:16 น.
  
อนุโมทนาบุญวันพระขึ้น 8 ค่ำจ้า

โดย: หอมกร วันที่: 8 เมษายน 2567 เวลา:21:06:14 น.
  
มันต้องมีสักวันแหละครับ เพียงแต่จะเมื่อไหร่เท่านั้น สำคัญที่ความเพียรของเรา จริงๆ แค่ฟังผ่านๆ มันก็ได้ประโยชน์แล้วล่ะครับ
โดย: คุณต่อ (toor36 ) วันที่: 8 เมษายน 2567 เวลา:21:07:46 น.
  
สาธุ
โดย: สองแผ่นดิน วันที่: 8 เมษายน 2567 เวลา:22:46:37 น.
  
สวัสดียามเช้าครับ

โดย: กะว่าก๋า วันที่: 9 เมษายน 2567 เวลา:6:05:51 น.
  
สวัสดีค่ะคุณเอ็ม

สาธุธรรมค่ะ
โดย: tanjira วันที่: 9 เมษายน 2567 เวลา:6:42:40 น.
  
โอ้ กามราคะนี่ เป็นสาเหตุ แห่งความวุ่นวาย
จริงๆเลยนะครับ ผัวเมีย ครอบครัวแตกแยกก็เพราะเรื่องนี้แยะมากเลยนะครับ

โดย: multiple วันที่: 10 เมษายน 2567 เวลา:1:49:57 น.
  
สวัสดีครับ

ขอบคุณกำลังใจครับ
โดย: ปัญญา Dh วันที่: 10 เมษายน 2567 เวลา:14:18:47 น.
  


สาธุค่ะ
โดย: Sweet_pills วันที่: 11 เมษายน 2567 เวลา:0:18:23 น.
  
ขอบคุณที่แวะไปนะค้าาา
โดย: nonnoiGiwGiw วันที่: 11 เมษายน 2567 เวลา:15:38:24 น.
  


ขอบคุณคุณพีสำหรับกำลังใจค่ะ
โดย: Sweet_pills วันที่: 12 เมษายน 2567 เวลา:23:38:57 น.
  
มาทักทายและส่งกำลังใจค่ะ
โดย: เนินน้ำ วันที่: 13 เมษายน 2567 เวลา:16:37:59 น.
  
❤ ประโยชน์บางประการของศาสนาอิสลาม 💙

💙 ประตูสู่สรวงสวรรค์ชั่วนิจนิรันดร

❤ การช่วยให้พ้นจากขุมนรก

💙 ความเกษมสำราญและความสันติภายในอย่างแท้จริง

❤ การให้อภัยต่อบาปที่ผ่านมาทั้งปวง

💙 สิทธิมนุษยชนและความยุติธรรมในศาสนาอิสลาม

❤ านภาพของสตรีในศาสนาอิสลามเป็นอย่างไร?

💙 ครอบครัวในศาสนาอิสลาม

❤ ชาวมุสลิมปฏิบัติต่อผู้สูงอายุอย่างไร?

💙 ชาวมุสลิมมีความเชื่อเกี่ยวกับพระเยซูอย่างไร?


https://justpaste.it/b790p
โดย: ศาสนาอิสลาม IP: 172.96.161.170 วันที่: 15 เมษายน 2567 เวลา:5:12:12 น.
  
สวัสดีวันสงกรานต์ค่ะคุณเอ็ม
โดย: tanjira วันที่: 15 เมษายน 2567 เวลา:6:43:50 น.
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

Mp5.BlogGang.com

**mp5**
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ผู้ติดตามบล็อก : 88 คน [?]

บทความทั้งหมด