Overload คืออะไร มีหน้าที่อะไร ทำไมการคำนวณกำลังไฟฟ้าจึงสำคัญ

Overload คืออุปกรณ์สำคัญที่จะช่วยป้องกันไม่ให้มอเตอร์ต่าง ๆ โดยเฉพาะในเครื่องจักรเสียหายหากเกิดเหตุการณ์กระแสไฟฟ้าเกินพิกัด หากเกิดความเสียหายขึ้นกับมอเตอร์ไฟฟ้าคงจะเป็นเรื่องใหญ่ไม่ใช่น้อย เนื่องจากมอเตอร์ไฟฟ้านั้นเป็นองค์ประกอบสำคัญของเครื่องจักรในโรงงาน ดังนั้นการเลือกอุปกรณ์ป้องกันมอเตอร์ที่เหมาะสมและได้มาตรฐานจึงสำคัญเป็นอย่างมาก บทความนี้จะพาคุณไปรู้จักกับ Overload คืออะไร ทำหน้าที่แบบไหน มีความสำคัญกับมอเตอร์อย่างไร หาคำตอบได้จากบทความนี้ 


Overload คืออะไร

ในโรงงานอุตสาหกรรมที่ต้องใช้เครื่องจักรมักมีการป้องกันกระแสเนื่องจากเกิดภาระกระแสเกินในงานมอเตอร์ไฟฟ้าอยู่บ่อยครั้ง โดยส่วนใหญ่จะมาจากการใช้งานมอเตอร์เกินพิกัดจนทำให้มอเตอร์เกิดความร้อนสูงส่งผลให้มอเตอร์เกิดความเสียหายได้ นอกจากจะต้องเลือกใช้ฟิวส์หรือเบรกเกอร์ที่มีพิกัดกระแสสูงแล้ว ยังต้องมีการติดตั้งโอเวอร์โหลดรีเลย์เพิ่มเพื่อทำหน้าที่ป้องกันมอเตอร์หากมีการใช้โหลดเกินอีกด้วย

โอเวอร์โหลดรีเลย์ (Over Load Relay) หรือ Overload คืออุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ป้องกันมอเตอร์ไฟฟ้าไม่ให้เกิดความเสียหายเมื่อมีกระแสไฟฟ้าไหลเกินพิกัดในการทำงานของโหลด หรือเรียกกันว่าอุปกรณ์ป้องกันไฟฟ้าเกินกำลัง โดยโอเวอร์โหลดรีเลย์นั้นมีอยู่ 2 แบบด้วยกัน ได้แก่ โอเวอร์โหลดแบบธรรมดา และ โอเวอร์โหลดแบบอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งโอเวอร์โหลดทั้ง 2 ชนิดนี้นั้นมีการทำงานที่แตกต่างกัน

สำหรับโอเวอร์โหลดแบบธรรมดาจะมีขดลวดความร้อน (Heater) พันอยู่กับแผ่นไบเมทัลหรือแผ่นโลหะเชื่อมติดกันอยู่ เมื่อได้รับความร้อนแผ่นโลหะนั้นจะโก่งตัวขึ้นดันให้หน้าสัมผัสปิด NC ของโอเวอร์โหลดที่ต่ออนุกรมอยู่กับแผงควบคุมไปเปิดวงจร และตัดกระแสไฟฟ้าจากคอยล์แม่เหล็กของคอนแทคเตอร์ทำให้หน้าสัมผัสหลักของคอนแทคเตอร์ปลดมอเตอร์ออกจากแหล่งจ่ายไฟเพื่อป้องกันมอเตอร์เสียหายนั่นเอง ส่วนหลักการทำงานของโอเวอร์โหลดแบบอิเล็กทรอนิกส์ มีความแตกต่างจากแบบแรกคือ ภายในโอเวอร์โหลดจะมีวงจรอิเล็กทรอนิกส์คอยตรวจสอบกระแสไฟฟ้าเพื่อไม่ให้มีกระแสไฟฟ้าเกินกำหนด โดยใช้ระบบไมโครโปรเซสเซอร์แบบ Fail Safe ที่จะตัดวงจรเมื่อเกิดความผิดพลาด มีความแม่นยำสูงอีกทั้งยังสามารถวัดค่ากระแสที่เกิดขึ้นได้อีกด้วย

เครื่องสำรองไฟเกิดอาการโอเวอร์โหลด (Overload) 

นอกจากมอเตอร์ในเครื่องจักรที่มีความสำคัญและสามารถเกิดการโอเวอร์โหลดได้บ่อยครั้งแล้ว เครื่องสำรองไฟก็เป็นอีกหนึ่งอุปกรณ์ชิ้นสำคัญที่สามารถเกิดการโอเวอร์โหลดได้เช่นกัน ซึ่งการที่เครื่องสำรองไฟเกิดอาการโอเวอร์โหลดนั้นหมายถึงการที่เครื่องสำรองไฟเกิดภาระโหลดเกิน โดยมีอุปกรณ์ที่ต่ออยู่กับเครื่องสำรองไฟ (UPS) ใช้พลังงานไฟฟ้ามากกว่าแรงดันไฟฟ้าที่สามารถจ่ายให้ได้เมื่อเกิดกระแสไฟฟ้าเกินพิกัด (Overload) 

กล่าวคือเมื่อมีอุปกรณ์ไฟฟ้าจำนวนมากเชื่อมต่ออยู่และใช้งานอยู่ในเวลาเดียวกัน ยกตัวอย่างเช่น เครื่องสำรองไฟตัวที่คุณใช้อยู่อาจจะมีกำลังวัตต์อยู่ที่ 500 วัตต์ แต่คุณใช้งานอุปกรณ์ที่ต้องการไฟสำรองอยู่ที่ 600 วัตต์ ทำให้เกินกำลังวัตต์ที่ตัวเครื่องสำรองไฟสามารถรองรับได้ จึงเกิดเหตุการณ์โอเวอร์โหลด เป็นต้น ดังนั้น หากคุณต้องการเลือกซื้อเครื่องสำรองไฟ อย่าลืมดูรายละเอียดกำลังวัตต์ที่เครื่องสำรองไฟสามารถรองรับได้ รวมถึงควรคำนึงถึงกำลังวัตต์ที่เครื่องใช้ไฟฟ้าหรือเครื่องจักรชิ้นนั้น ๆ ต้องการใช้งาน เพื่อความปลอดภัย 

การคำนวณกำลังไฟฟ้าที่เหมาะสมสำหรับการใช้งาน

อย่างที่เกริ่นไปข้างต้นว่าเราควรคำนวณกำลังไฟฟ้าที่เหมาะสมในการเลือกซื้อเครื่องสำรองไฟที่จะนำมาใช้กับอุปกรณ์ไฟฟ้าต่าง ๆ ที่คุณต้องการ มาดูกันว่าเราสามารถมีวิธีคำนวณหากำลังไฟฟ้าที่เหมาะสมได้อย่างไร 

ในการเลือกกำลังไฟที่เหมาะสม กำลังไฟฟ้าที่อุปกรณ์ใช้นั้นจะต้องไม่สูงไปกว่ากำลังไฟฟ้าที่ UPS หรือเครื่องสำรองไฟสามารถจ่ายได้ ดังนั้นคุณจึงต้องคำนวณการใช้พลังงานของอุปกรณ์ให้ถูกต้อง โดยใช้สูตร VA = Voltage (RMS) x Current (RMS) หรือ VA = Watt x 1.4 มากไปกว่านั้น หากมีการใช้งานอุปกรณ์มากกว่า 1 ชิ้น หรือหลายอุปกรณ์ต่อเครื่องสำรองไฟหนึ่งเครื่องให้คุณนำค่า VA ของแต่ละอุปกรณ์มารวมกัน แล้วเลือกใช้ UPS ที่จ่ายไฟได้มากกว่าอย่างน้อย 20 เปอร์เซ็นต์ของผลรวมอุปกรณ์เหล่านั้น

สัญญาณเตือนเครื่องสำรองไฟเกิดอาการโอเวอร์โหลด (Overload) มีอะไรบ้าง

แน่นอนว่าการที่เครื่องสำรองไฟโอเวอร์โหลดนั้นย่อมไม่เป็นผลดี แต่เราจะรู้ได้อย่างไรว่าเครื่องสำรองไฟที่เราใช้อยู่นั้นเริ่มมีการโอเวอร์โหลด การส่งสัญญาณหรือแสดงอาการเตือนว่าไฟฟ้าโอเวอร์โหลดของเครื่องสำรองไฟแต่ละรุ่นนั้นไม่เหมือนกัน โดยคุณจะต้องศึกษาข้อมูลหรือรายละเอียดต่าง ๆ จากข้อมูลการใช้งานของ UPS แต่ละรุ่นโดยละเอียด หรือติดต่อเราเพื่อสอบถามข้อมูลการใช้งานเพิ่มเติม 

อย่างไรก็ตาม สำหรับเครื่องสำรองไฟ Smart UPS (SUA Product Family) จาก Schneider Electric คุณสามารถอ่านคู่มือรวบรวมสัญญาณเตือนความผิดปกติได้ทางลิงก์นี้ และสำหรับเครื่องสำรองไฟ Back UPS สามารถดูคู่มือได้ที่นี่




Create Date : 23 พฤศจิกายน 2565
Last Update : 23 พฤศจิกายน 2565 18:04:40 น.
Counter : 10114 Pageviews.

1 comments
อาทิตย์ที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2568 Turtle Came to See Me
(18 มี.ค. 2568 03:39:15 น.)
23 มีค.68 โรงมหรสพศาลาเฉลิมกรุง เชิญมาชมคอนเสิร์ต คิดถึง Miss you ไกรวิทย์ พุ่มสุโข อุ้มสี
(7 มี.ค. 2568 01:50:38 น.)
MDCU MedUMORE “The Trident Voyage” ทะยานสู่ยุคใหม่แห่งการเรียนรู้ทางการแพทย์ตลอดชีพ อุ้มสี
(4 มี.ค. 2568 06:21:09 น.)
DIOR Gold House @ Central Chidlom haiku
(28 ก.พ. 2568 22:59:44 น.)
  
ขอสอบถามครับ คือที่บ้านผม เวลามีรดน้ำมาเปิดปั๊มน้ำขึ้น จะทำให้ ไฟบ้านหรือว่า อุปกรณ์ใช้ไฟฟ้าในบ้าน ดรอปลง อย่างเช่นพัดลม ก็จะหมุนช้าลงนิดนึง ไฟก็สว่างน้อยลง คอมแอร์ก็เบาลง วิธีแก้ไม่ให้กระแสไฟลดลงทำไงครับ
โดย: Thanakorn Anusurain IP: 1.47.148.132 วันที่: 30 กันยายน 2567 เวลา:14:38:08 น.
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

Kate2020.BlogGang.com

สมาชิกหมายเลข 6633279
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]

บทความทั้งหมด