PLC Software ฟีเจอร์, การใช้งาน, และการประยุกต์ใช้งาน

PLC Software คืออุปกรณ์ที่ได้รับความนิยม และมีความสำคัญต่ออุตสาหกรรมต่างๆ เป็นอย่างมาก เพราะเป็นตัวช่วยควบคุมเครื่องจักรให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ โรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ จึงให้ความสำคัญกับการเลือกและติดตั้ง PLC Software จากบริษัทที่ไว้ใจได้ บทความนี้จะพาคุณไปรู้จักกับ PLC Software อุปกรณ์นี้คืออะไร และมีส่วนช่วยพัฒนาโรงงานได้อย่างไร ติดตามไปพร้อมกันได้จากบทความนี้

PLC Software คืออะไร?

PLC Software หรือ Programmable Logic Control Software คืออุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของเครื่องจักรรวมไปถึงกระบวนการทำงานต่างๆ ภายในโรงงาน โดย PLC นี้สามารถสั่งการเครื่องจักรได้ด้วยไมโครโพรเซสเซอร์ (Microprocessor) ภายในที่ทำหน้าที่เปรียบเสมือนมันสมองของอุปกรณ์นี้นั่นเอง

มากไปกว่านั้น PLC Software นี้เป็นอุปกรณ์ที่มีการทำงานแบบเฉพาะกิจ หรือ Special Purpose Computer ที่ต้องได้รับการออกแบบให้ควบคุมเฉพาะการทำงานใดงานหนึ่งเท่านั้น ซึ่งโดยทั่วไปจะใช้ในงานควบคุม และงานอุตสาหกรรมที่ต้องการการประมวลผลที่รวดเร็วและต้องการตรวจสอบอุปกรณ์อินพุตอย่างต่อเนื่อง และ PLC ก็จะดำเนินการตามคำสั่งโปรแกรมเพื่อควบคุมสถานะของอุปกรณ์เอาต์พุต

PLC เหมาะกับอุตสาหกรรมใด?

อย่างที่กล่าวไปข้างต้นว่า PLC Software นั้นเหมาะกับการนำมาใช้ในอุตสาหกรรมที่ต้องการการประมวลผลอย่างรวดเร็ว จึงนิยมถูกนำมาใช้กันอย่างแพร่หลายในอุตสาหกรรมและโรงงานต่างๆ ทั้งในภาคส่วนของกรรมการผลิต ระบบอัตโนมัติ และการควบคุมกระบวนการ นอกจากนี้ PLC ยังเหมาะสำหรับการใช้งานที่ต้องการการควบคุม และตรวจสอบเครื่องจักรที่แม่นยำ โดยอุตสาหกรรมทั่วไปที่ใช้ PLC Software ได้แก่ อุตสาหกรรมยานยนต์ อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ อุตสาหกรรมอาหาร/เครื่องดื่ม/ยา อุตสาหกรรมด้านพลังงาน รวมไปถึงภาคเกษตรกรรม เป็นต้น

นอกจากนี้ การใช้งานระบบ PLC นั้นยังมีประโยชน์และความสำคัญต่อโรงงานอุตสาหกรรมในหลายด้าน ดังนี้

  • ด้านความยืดหยุ่น: PLC ให้ความยืดหยุ่นในระบบอัตโนมัติ โดยสามารถตั้งโปรแกรมใหม่และแก้ไขได้อย่างง่ายดายเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงในกระบวนการผลิต 

  • ความเร็วและความแม่นยำ: PLC สามารถดำเนินการตามคำสั่งได้เร็วกว่าระบบควบคุมแบบรีเลย์แบบเดิมมาก ซึ่งช่วยให้มีเวลาตอบสนองเร็วขึ้น นำไปสู่การปรับปรุงประสิทธิภาพและความแม่นยำของกระบวนการในงานต่างๆ เช่น การเก็บข้อมูล การตรวจสอบ และการควบคุมเครื่องจักร

  • ด้านความคุ้มค่า: PLC ช่วยประหยัดต้นทุนได้กล่าวคือใช้อุปกรณ์น้อยลงเมื่อเทียบกับระบบควบคุมแบบเดิม ซึ่งช่วยลดต้นทุนการติดตั้ง และบำรุงรักษา 

  • การบันทึกและการวิเคราะห์ข้อมูล: PLC สามารถรวบรวมและจัดเก็บข้อมูลเกี่ยวกับกระบวนการต่างๆ ได้ โดยสามารถนำมาวิเคราะห์อย่างละเอียดนำไปสู่การเพิ่มประสิทธิภาพในกระบวนการผลิตได้ มากไปกว่านั้น ข้อมูลนี้ยังสามารถนำมาใช้เพื่อระบุปัญหา ปรับปรุงประสิทธิภาพ และทำการตัดสินใจได้อย่างมีข้อมูลเพื่อการปรับปรุงที่ถูกต้อง

  • การบูรณาการกับระบบอื่นๆ: PLC สามารถนำมาใช้งานเข้ากับระบบและอุปกรณ์อื่นๆ ได้อย่างง่ายดาย เช่น ระบบอินเทอร์เฟซระหว่างมนุษย์กับเครื่องจักร (HMI) ระบบการควบคุมดูแลและการได้มาซึ่งข้อมูล (SCADA) และซอฟต์แวร์ระดับองค์กรต่างๆ ทำให้สามารถสื่อสารและควบคุมได้อย่างราบรื่น

หลักการใช้งาน PLC Software

สำหรับหลักการใช้งานของซอฟต์แวร์ PLC นั้นจะมีความเกี่ยวข้องกับการพัฒนาโปรแกรมที่ใช้ควบคุมการทำงานของ PLC เป็นหลัก ซึ่งโปรแกรมนี้จะประกอบด้วยชุดคำสั่งที่กำหนดวิธีตอบสนองของ PLC ต่ออินพุต เอาต์พุต และเงื่อนไขต่างๆ โดยซอฟต์แวร์นี้จะช่วยให้ผู้ใช้สามารถสร้าง แก้ไข และจัดการปัญหาโปรแกรม ตลอดจนตรวจสอบประสิทธิภาพของ PLC ได้ตลอดเวลา

อย่างไรก็ตาม PLC เป็นระบบที่นิยมนำมาใช้ในหลากอุตสาหกรรมตามที่ได้กล่าวไปข้างต้น เนื่องจาก PLC นี้เป็นโปรแกรมที่มีความยืดหยุ่นและเสถียรภาพสูง สามารถนำมาปรับให้เหมาะสมกับการใช้งานได้อย่างอิสระ เช่น นำมาใช้งานแบบเดี่ยว สำหรับอุตสาหกรรมที่ไม่มีไลน์การผลิตที่ซับซ้อน หรือนำมาใช้แบบเชื่อมต่อกันหลายตัวให้เป็นระบบ Network ที่เหมาะสำหรับโรงงานอุตสาหกรรมที่มีกระบวนการซับซ้อนมากขึ้น เป็นต้น

ส่วนประกอบของ PLC Software

เมื่อได้รู้จักกับ PLC กันไปแล้ว ต่อมาเรามาดูกันบ้างว่าอุปกรณ์นี้ประกอบไปด้วยอะไรบ้างที่ทำให้สามารถควบคุมการทำงานของเครื่องจักรได้งานมีเสถียรภาพ โดยทั่วไปส่วนประกอบของซอฟต์แวร์ PLC จะประกอบด้วย:

Control Processing Unit: CPU

Control Processing Unit หรือ CPU คือหน่วยประมวลผลควบคุม ที่ทำหน้าที่เป็นสมองของ PLC รับผิดชอบในการทำให้โปรแกรมทำงาน รวมไปถึงเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ทั้งหมดในการดำเนินงานของระบบ PLC

Input-Output: I/O

Input Output หรือ อินพุต/เอาต์พุต (I/O) คืออินเทอร์เฟซที่ PLC ใช้โต้ตอบกับอุปกรณ์และเซนเซอร์ภายนอก โดยอินพุตจะรับสัญญาณจากเซนเซอร์หรือสวิตช์ ในขณะที่เอาต์พุตจะส่งสัญญาณไปยัง activator หรืออุปกรณ์ควบคุมให้เครื่องจักรทำงานนั่นเอง

Programming Device

Programming Device หรือ อุปกรณ์การเขียนโปรแกรม เป็นอุปกรณ์ที่ใช้เพื่อสร้างและแก้ไขโปรแกรมที่ทำงานบน PLC โดยอาจเป็นอุปกรณ์การเขียนโปรแกรมเฉพาะ คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลพร้อมซอฟต์แวร์พิเศษ หรืออาจเป็นแผงควบคุมอินเทอร์เฟซระหว่างมนุษย์กับเครื่องจักร (HMI)

PAC and PLC Programming Software จาก ชไนเดอร์ อิเล็คทริค

PAC และ PLC จาก ชไนเดอร์ อิเล็คทริค เป็นชุดเครื่องมือล้ำสมัยที่ออกแบบมาเพื่อเพิ่มศักยภาพให้กับวิศวกร และโปรแกรมเมอร์ในด้านระบบอัตโนมัติทางอุตสาหกรรม เราเป็นผู้นำด้านอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ได้รับความนิยมจากโรงงานอุตสาหกรรมหลากหลายทั่วโลก หากคุณกำลังมองหา PLC Software นึกถึง PAC และ PLC ของ ชไนเดอร์ อิเล็คทริค ที่จะช่วยปลดล็อกศักยภาพ ปรับปรุงประสิทธิภาพ และเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสูงสุด ด้วยอินเทอร์เฟซที่ใช้งานง่าย คุณจึงไม่ต้องกังวลเรื่องการทำงานระบบต่างๆ ภายในโรงงาน หากสนใจสามารถติดต่อสอบถาม และสั่งซื้อได้ที่ www.se.com

ติดตามเรื่องราวดีๆ จาก ชไนเดอร์ อิเล็คทริค ได้ที่

เว็บไซต์: www.se.com

Facebook: Schneider Electric

Instagram: schneiderelectric_th

LinkedIn: Schneider Electric

Lazada: Schneider Electric

Shopee: Schneider Electric official

LINE Official: ชไนเดอร์ อิเล็คทริค




Create Date : 25 ตุลาคม 2566
Last Update : 25 ตุลาคม 2566 13:01:45 น.
Counter : 401 Pageviews.

0 comments
มีนา…หน้าร้อน แอ่วเหนือมุมใหม่ แบบ ”อยู่-เย็น-เป็น-สุข”คลายร้อนกับ “สีสัน..แอ่วเหนือหน้าร้อน นกสีเทา
(4 มี.ค. 2568 10:00:00 น.)
บรรยากาศ Happy Birthday อวยพรวันเกิดคุณครูลิโอ และออกงานของโขนจิ๋ว นายแว่นขยันเที่ยว
(3 มี.ค. 2568 01:13:27 น.)
Gripen on the Road babyL'
(28 ก.พ. 2568 00:06:09 น.)
ตักบาตรพระ ครบรอบ 743 ปี นครน่าน Turtle Came to See Me
(26 ก.พ. 2568 20:51:29 น.)
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

Kate2020.BlogGang.com

สมาชิกหมายเลข 6633279
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]

บทความทั้งหมด